‘สวีเดน’ ตัดต้นไม้เยอะยังไง ให้เป็นตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อม

วันที่ได้รับโจทย์จากกองบรรณาธิการ Urban Creature ให้ตามหาคำตอบว่า ‘ประเทศไหนตัดต้นไม้เยอะ แต่ยั่งยืนที่สุด’ ไม่ทันได้กดเสิร์ชกูเกิล ก็ใช้ความรู้ (เท่าที่มี) ตัดสินไปแล้วว่า ‘ไม่มี’  แต่เอาเข้าจริงพอนั่งค้นคว้าหามรุ่งหามค่ำ สารพัดตัวเลขและข้อมูลถาโถมจนระบบปฏิบัติการสมองเกือบ Error ก็พบข้อมูลที่น่าสนใจจนอยากค้นต่อ  “สวีเดนเป็นเจ้าแห่งการส่งออกไม้เป็นอันดับ 3 ของโลก”  แต่สวีเดนก็เป็นประเทศที่สิ่งแวดล้อมดีจนติดท็อปของโลกเหมือนกัน สรุปแล้วรักษ์โลกจริงหรือเปล่าวะ  เพราะจำได้ว่าสมัยเรียนหนังสือคุณครูสอนว่าอย่าตัดต้นไม้ทำลายป่า เพราะสัตว์ป่าจะไร้ที่อยู่อาศัย ทำลายความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งปัญหาที่ตามมาอาจใช้เวลาแก้มากกว่าการปลูกต้นไม้ขึ้นมาใหม่ จนเข้าใจว่า ‘คน’ และ ‘ป่าไม้’ ต้องแยกขาดออกจากกันเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ไว้ให้ธรรมชาติยังคงอยู่แบบเดิม แล้วทำไมสวีเดนถึงยิ่งตัดต้นไม้เท่าไหร่ ยิ่งกอดตำแหน่งตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ตัดต้นไม้ ≠ ทำลายป่า เสมอไป ก่อนไปดูแนวคิดการสร้างป่าของสวีเดน เราขอเสนอความน่าสนใจเล็กๆ ของประเทศสวีเดนให้ฟัง นั่นคือ การใช้อุตสาหกรรมป่าไม้เป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งสร้างงานให้กับประชากรในประเทศ และสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากการส่งออก แต่ลองค้นต่อไปอีกสักนิด เราพบว่าสวีเดนมีพื้นที่ประเทศทั้งหมด 40.8 ล้านเฮกตาร์ แต่มีพื้นที่ป่าไม้ครอบคลุมมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และมีต้นไม้ประมาณ […]

Leonardo DiCaprio แท็กทีมกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เปย์งบ $43M เพื่อฟื้นฟูหมู่เกาะกาลาปากอส

(ไม่) แก่ ใจดี สปอร์ต USA! ต้องยกตำแหน่งบุคคลแห่งการเปย์ให้ ‘Leonardo DiCaprio’ เจ้าของบทบาท ‘แจ๊ก ดอว์สัน’ จากภาพยนตร์เรื่องไททานิก และยังเป็นสปอนเซอร์ที่ให้เงินช่วยเหลือโครงการสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ฯ โดยรอบนี้ เขากลับมาแท็กทีมกับมูลนิธิและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระดมทุน 43 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 1,350 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูสัตว์ป่าในหมู่เกาะกาลาปากอส การทุ่มเงินจำนวนมหาศาลของ Leonardo ไม่ได้ให้เพราะเงินเหลือใช้ แต่เป็นความมุ่งมั่นที่อยากอนุรักษ์ธรรมชาติเอาไว้ก่อนสายเกินไป เขามองว่าตอนนี้สัตว์ป่าทั่วโลกกำลังลดลง เพราะมนุษย์ใช้พื้นที่ป่าไปกว่า 3 ใน 4 ของโลก ทำให้สัตว์มากกว่าหนึ่งล้านชนิดต้องสูญพันธุ์  Leonardo จึงเริ่มก่อตั้งองค์กรที่ชื่อว่า Re: wild โดยให้หมู่เกาะกาลาปากอส สถานที่ขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นสนามแรกที่พวกเขาต้องการฟื้นฟู แน่นอนว่า Leonardo ดึงเหล่าสมาชิกมากฝีมือ ไปจนถึงกลุ่มชาวบ้านของเอกวาดอร์เข้าร่วมทีมด้วย  โดยจำนวนเงินทั้งหมดถูกจัดสรรออกไป ไม่ว่าจะเป็นโครงการรื้อฟื้นสัตว์สูญพันธุ์ในท้องถิ่น 13 ชนิด โครงการเพาะพันธุ์สัตว์ เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของ ‘อีกัวนาสีชมพู’ หรือเพิ่มการดูแลและปกป้องทรัพยากรทางทะเลจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของมนุษย์ รวมถึงฟื้นฟูเกาะฟลอรีนา […]

‘Airo’ รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน ไม่เปลืองน้ำมัน ไม่ปล่อยควันดำ แถมใจดีมีระบบกรองมลพิษจากรถข้างๆ ให้ด้วย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอากาศที่เราใช้หายใจเข้า-ออกอยู่ทุกวันนี้ มีมลพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพปนเปื้อนอยู่เต็มไปหมด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากยานพาหนะที่เราใช้กันอยู่นั่นเอง IM Motors แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าน้องใหม่ของจีนได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า ‘Airo’ ซึ่งเป็นผลงานดีไซน์จาก Heatherwick Studio สตูดิโอออกแบบในลอนดอน โดยคุณสมบัติพิเศษของ Airo นอกจากไม่ปล่อยมลพิษในอากาศแล้ว มันยังมีระบบกรองอากาศประสิทธิภาพสูงจาก HEPA-filter รุ่นล่าสุด ที่จะช่วยดูดมลพิษจากรถยนต์รอบข้างมากรองให้สะอาดในขณะขับเคลื่อนอีกด้วย ภายในตัวรถถูกออกแบบให้เป็นเหมือนห้องอเนกประสงค์ มีเก้าอี้หมุนได้รอบทิศ มีโต๊ะตรงกลาง และมีหน้าจอไว้สำหรับดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกม สามารถปรับที่นั่งให้เป็นเตียงนอน ที่สำคัญมีทั้งโหมดควบคุมโดยคนขับ และโหมดควบคุมอัตโนมัติที่จะทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ในห้องมากกว่าอยู่ในรถ นอกจากนี้ Heatherwick Studio ยังได้ออกแบบสถานีชาร์จที่สร้างขึ้นจากเหล็กผุกร่อนและมีลวดพับเก็บได้สำหรับชาร์จไฟ ทั้งนี้คาดว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคันนี้จะเข้าสู่กระบวนการผลิตในปี 2023 Sources :Dezeen | https://bit.ly/2QkV10WHeatherwick | https://bit.ly/3v5uzHo 

10 ธุรกิจดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ฟื้นฟูโลก

ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หลายครั้งที่เรามักโฟกัสกับนโยบายระดับประเทศ แต่ในขณะเดียวกันยังมีคนอีกมากที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นองค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนและเข้าร่วมขบวนรักษ์โลก

Starboard แบรนด์กีฬาทางน้ำของแชมป์โลก Windsurf ที่ผลิตบอร์ดจากขยะทะเล ขยะครัวเรือน

ท่ามกลางฤดูกาลที่เงียบสงบสองฟากฝั่งของทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามันกำลังเฝ้ารอวันที่คลื่นลมจะหวนกลับมา เพื่อต้อนรับนักเซิร์ฟจากทั่วทุกสารทิศให้กลับมาวาดลวดลายบนปลายคลื่นอีกครั้ง  ในฐานะกีฬาที่ต้องเอาร่างกายออกไปปะทะสายน้ำ จึงทำให้ความนิยมของกีฬาประเภทนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับแนวคิดเรื่องการปกปักรักษาธรรมชาติ  เมื่อสองปัจจัยผสานกันไปราวกับเกลียวคลื่นเราเลือกที่จะเดินทางไปพูดคุยกับ สเวน รัสมุสเซ่น (Svein Rasmussen) อดีตนักกีฬาวินด์เซิร์ฟแชมป์โลก ผู้ก่อตั้ง Starboard ผู้ผลิตเซิร์ฟบอร์ดและอุปกรณ์กีฬาทางน้ำที่ไม่คิดจะทำ CSR แต่มีภารกิจหลักเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เคยเก็บขยะบนชายหาดตั้งแต่บางแสนถึงสัตหีบ ปลูกต้นโกงกางเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นับ 650,000 ต้น แถมยังคิดภาษีให้ตัวเองเมื่อจำเป็นต้องใช้พลาสติก จนไม่ได้หยุดความนิยมอยู่ที่นักโต้คลื่น แต่กลายเป็นที่รักของทุกคนที่มีใจให้สิ่งแวดล้อม  แบรนด์ที่กำเนิดท่ามกลางดวงดาว  ย้อนกลับไปในปี 1994 ริมชายหาดแห่งหนึ่งของฮาวายในวันที่ฟ้าเปิดและมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจน นักกีฬาวินด์เซิร์ฟที่ประสบความสำเร็จระดับโลกในวัย 30 ปี กำลังมองหาคลื่นลูกใหม่ให้กับชีวิตหลังเกษียณ  แม้จะมีไอเดียอยู่เต็มหัว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชายที่เอาจริงเอาจังเรื่องกีฬาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้สนใจเรื่องโรงเรียนแม้แต่น้อยที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง  “ตั้งแต่เด็กกีฬาเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เลือดลมของผมสูบฉีด ผมไม่ได้รู้อะไรมากนักเพราะไม่เคยทุ่มเทให้การเรียน เพราะฉะนั้น คงไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้แน่ๆ สิ่งที่แน่นอนคือเวลานี้เหมาะที่สุดในการจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ และผมรู้ดีมากเกี่ยวกับวินด์เซิร์ฟ ตอนนั้นไอเดียเกี่ยวกับธุรกิจอัดแน่นอยู่เต็มหัว สิ่งเดียวที่ผมยังไม่แน่ใจคือจะเรียกมันว่าอะไรดี “คืนนั้นผมนั่งอยู่ที่ฮาวาย พยายามค้นหาชื่อที่เหมาะ ในขณะที่คำตอบยังไม่ออกมาให้เห็นก็มองดูดวงดาวไปเรื่อยเปื่อย พร้อมคิดไปด้วยว่าดาวแต่ละดวงต้องการจะบอกอะไรเรา  “ผมชอบดาราศาสตร์ จึงพอรู้ว่าดาวแต่ละดวงมีความหมายในตัวเอง ตอนนั้นเองผมคิดว่าชื่อ Star (ดวงดาว) ก็เป็นอะไรที่โอเคแล้ว แต่ในเมื่อดวงดาวมันเรียงกันเป็นแนว (Border) และเรากำลังจะผลิตบอร์ด (Board) ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่าแบรนด์นี้ต้องชื่อ […]

ส่องนโยบายสิ่งแวดล้อมโลกปี 2021

ปฏิทินหมุนเข้าปี 2021 เข็มชีวิตเดินไปข้างหน้าในขณะที่นาฬิกาโลกกำลังนับถอยหลัง ในปีที่ผ่านมาการละลายของแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่กรีนแลนด์เดินเข้าสู่จุดที่ไม่มีวันหวนกลับ ภัยธรรมชาติหลายอย่างกำลังรุมเร้าจนสถานการณ์ของโลกตั้งอยู่ในความไม่แน่นอน   แม้ธรรมชาติกำลังสะสมขุมกำลังเพื่อเดินหน้าเข้าโจมตี แต่ทั่วโลกกำลังหาทางหยิบยื่นสันติ ถึงสถานการณ์ระหว่างประเทศจะเต็มไปด้วยข้อขัดแย้ง แต่นานาชาติเห็นไปในทางเดียวกันว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรอไม่ได้ ในปี 2021 นี้คืออีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในการแก้ปัญหาโลก ก่อนที่จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าจะลงเอยเช่นไรในปี 2030 ตามไปดูนโยบายสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในปีหน้า ที่ขยับเขยื้อนกันตั้งแต่ระดับโลกไปจนถึงเอกชน  THE WORLD AGREEMENT : ทั่วโลกลงนามเพื่อสิ่งแวดล้อม ย้อนกลับไปในปี 2015 ท่ามกลางสนามการค้าที่คุกรุ่นและระอุไม่ต่างจากอุณหภูมิของโลกที่ค่อยๆ สูงขึ้น หลายประเทศต่างลงนามเพื่อเข้าร่วม ‘ข้อตกลงปารีส’ (Paris Agreement) ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อหวังว่าสถานการณ์ของโลกจะดีขึ้น  นับจากการบังคับใช้ข้อตกลงปารีสในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2016 เพื่อหวังให้สิ่งแวดล้อมพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น สถานการณ์ของโลกกลับย่ำแย่ราวตลกร้าย จนผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่าข้อตกลงปารีสไม่เพียงพอจะป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ก่อนยุคอุตสาหกรรม หรือขีดจำกัดที่ 2 องศาเซลเซียส ตามคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ แต่ทิศทางของแต่ละประเทศในอนาคตเต็มไปด้วยความน่าสนใจหลังจากเวลา 5 ปีที่ผ่านมายังไม่เห็นผล   นอกจากในปี 2030 จะครบกำหนดสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงปารีส สำหรับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 […]

‘ฝุ่นเยอะ รถติด ไม่ปลอดภัย’ เมืองที่อาศัยทำให้เราเป็นบ้าได้ไหม ?

จิตใจที่ผิดปกติที่ถูกกระตุ้นมาจากสภาพแวดล้อมตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วมีที่มาอย่างไร ธรรมชาติสามารถผ่อนคลายความกดดันนี้ได้หรือไม่ มาร่วมกันพิจารณาหาคำตอบให้กับตัวเองกัน

1 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.