ถอด 7 ประเด็นน่ารู้เรื่องการพัฒนาเมืองจากนโยบาย Car Free Day ที่ กทม. พยายามผลักดัน

แนวคิด Car Free หรือแนวคิดปลอดรถยนต์ คือการลดการขับขี่รถยนต์ เพื่อลดปัญหารถติด มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางเสียง รวมถึงเป็นการคืนพื้นที่ถนนให้คนเมือง ด้วยการใช้การเดินทางในรูปแบบการเดินเท้า ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็นำมาใช้งานกับเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จนได้ผลที่น่าพอใจไปแล้วไม่น้อย ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เองมีความพยายามผลักดันนโยบาย Car Free มาตลอด อาจจะเป็นรูปแบบของการเชิญชวนบ้าง การรณรงค์บ้าง หรือการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานบ้าง แต่ในปีนี้ แนวคิด Car Free ดูจะเป็นรูปเป็นร่าง มีการนำมาทำให้เห็นภาพมากขึ้นจากกิจกรรม Car Free Day ที่ กทม.ร่วมมือกับภาคีเปลี่ยนถนนบรรทัดทองในระยะทาง 350 เมตรให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมอื่นๆ ให้คนเมืองได้ออกมาพักผ่อนหย่อนใจ และมองเห็นความเป็นไปได้ของการลดพื้นที่ถนน แล้วนำมาสร้างความเป็นไปได้อื่นๆ ในการพัฒนาเมือง หลังจบกิจกรรม แน่นอนว่าย่อมมีเสียงสะท้อนที่หลากหลายจากคนเมือง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย Urban Creature จึงนัดคุยกับ ‘วันพัฒน์ มาตังคะ’ และ ‘ศิรดา ดาริการ์นนท์’ สถาปนิกผังเมืองอาวุโสของ Healthy Space […]

รู้จัก Heat Wave คลื่นความร้อนตัวร้าย กับวิธีการรับมือและนโยบายป้องกันประชากรจากทั่วโลก

“เขาว่ากันว่า ประเทศไทยมีสามฤดูคือ ร้อน ร้อนมาก ร้อนที่สุด” นี่คือคำพูดประชดประชันที่สะท้อนถึงความร้อนระอุของอากาศประเทศไทยที่เราไม่อยากชินชา แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปีนั้นไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เนื่องจากปัญหาอากาศร้อนสามารถส่งผลต่ออารมณ์และสภาพสังคม ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ‘Heat Wave’ หรือคลื่นความร้อน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อนว่า ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน แน่นอนว่าในบรรดาประเทศที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ล้วนได้รับผลกระทบมากมายจากความร้อนที่สะสมในพื้นที่ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชียที่เกิดความผิดปกติของอุณหภูมิอากาศค่อนข้างมาก ทำให้ในแต่ละปีจะมีผู้คนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Heat-related Illness) เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันได้ ทำให้ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน ประชาชนในหลายพื้นที่มีอัตราการใช้พลังงานสูงขึ้น เพราะต้องใช้เครื่องปรับอากาศทำความเย็น จนส่งผลให้บางพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งปัญหาคลื่นความร้อนยังส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายในปริมาณมาก รวมถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์อีกด้วย  จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อผู้คนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องประกาศนโยบายและแนวทางการแก้ไขเพื่อรับมือกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นทุกปีๆ นโยบายมาตรการรับมือคลื่นความร้อนจากทั่วโลก คลื่นความร้อนสร้างปัญหาให้เมืองมากกว่าแค่ทางความรู้สึก เพราะมันส่งผลถึงทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ รวมไปถึงปัญหาด้านพลังงาน ทำให้หลายประเทศสร้างแผนรับมือคลื่นความร้อน ซึ่งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ ยกตัวอย่าง ประเทศฝรั่งเศส ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งการสร้างอาคารทนความร้อน โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะ เช่น […]

‘การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน’ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยกระบวนการคิดและนวัตกรรมนโยบาย

‘ขอนแก่น’ คือหนึ่งในเมืองที่หลายฝ่ายจับตามอง เพราะที่นี่เปรียบเสมือน ‘ศูนย์กลางความเจริญ’ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือแม้แต่ความหลากหลายของวัฒนธรรมอีสาน แต่การเติบโตของเมืองย่อมตามมาด้วยปัญหาที่ซับซ้อน โดยเฉพาะการหลั่งไหลเข้ามาของประชากรที่ก่อให้เกิดความท้าทายอื่นๆ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย การแย่งงานของคนในพื้นที่และคนต่างถิ่น รวมถึงความเหลื่อมล้ำและคนจนเมือง เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเมืองโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Thailand Policy Lab ร่วมกับ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation Journey’ หรือ ‘เส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4’ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่อำเภอเมืองขอนแก่น เพื่อนำเสนอ ‘นวัตกรรมนโยบาย’ ให้แก่นักวางแผนนโยบายระดับท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การจัดทำเส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4 นี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในจังหวัดขอนแก่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ที่มาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อบจ. อบต. ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชนจากทั่วภาคอีสาน เครื่องมือนโยบายที่ Thailand Policy Lab […]

ร่วมออกแบบนโยบายเพื่อยกระดับ ‘การท่องเที่ยวชุมชนของสระบุรี’ ให้เป็นเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

‘สระบุรี’ คือจังหวัดเมืองรองในภาคกลางที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก มีพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่ภูเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมผสมผสานกับพื้นที่การเกษตร ทว่านอกจากเป็นเมืองทางผ่านที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศแล้ว สระบุรียังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์กระจายตัวอยู่มากมาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักของสระบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นมาไม่น้อยกว่า 150 ปี ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทยวน ลาวเวียง พวน มอญ และจีน ทำให้สระบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ที่กำลังรอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สระบุรีและอีก 3 จังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา กลับต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการท่องเที่ยวชุมชนในมิติต่างๆ เช่น ชุมชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือภาคธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การเปลี่ยนกรอบความคิดของคนในชุมชน การสร้างผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนามาตรฐานของสินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น เพื่อยกระดับและพัฒนา ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ ของสระบุรีให้กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทาง Thailand Policy Lab และ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation […]

สำรวจนิยามครอบครัวหลากหลายผ่าน 5 รสชาติไอศกรีมที่ Diversity Cafe

ช่วงสัปดาห์ส่งท้ายเดือน Pride Month เราขอชวนทุกคนไปค้นหานิยามครอบครัวในแบบฉบับของตัวเองที่ ‘Diversity Cafe’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่อง ‘ครอบครัวหลากหลาย’ ภายใต้รูปแบบคาเฟ่ไอศกรีม เพื่อส่งเสริมสิทธิของทุกคนและทุกเพศอัตลักษณ์กับการสร้างครอบครัวในรูปแบบของตัวเอง นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้ชิมไอศกรีม 5 รสชาติใหม่ๆ ที่สะท้อนรูปแบบครอบครัวในฝันของแต่ละคนแล้ว ภายในงานยังเล่าเรื่องของ 6 ครอบครัวที่มีนิยามแตกต่างกันเพื่อสะท้อนความหลากหลายในสังคมไทย รวมไปถึงปัญหาเชิงนโยบายและค่านิยมของสังคมที่มองคำว่าครอบครัวในนิยามของพ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น นิทรรศการ Diversity Cafe จัดโดย Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการนโยบาย ก่อตั้งโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) สยามพิวรรธน์ วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย และแสนสิริ จุดแรกที่นิทรรศการธีมคาเฟ่ไอศกรีมเตรียมไว้ต้อนรับเราคือ พื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘ครอบครัวยุคใหม่ในนิยามของฉัน’ ที่พาไปสำรวจนิยามของครอบครัวยุคปัจจุบันที่ไม่ได้จำกัดแค่พ่อ-แม่-ลูกเหมือนแต่ก่อน แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น บางครอบครัวผูกพันกันทางสายเลือด ขณะที่บางครอบครัวอาจเป็นคู่รักเพศหลากหลายที่กฎหมายยังไม่รองรับ ครอบครัวที่อยู่กับเพื่อน ครอบครัวที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ตัวเราคนเดียวก็เป็นครอบครัวให้ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย เช่น จำนวนคนอยู่คนเดียวที่เพิ่มสูงขึ้น คนไทยอายุยืนขึ้น คนไทยแต่งงานช้าลง คนไทยมีลูกน้อยลง ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]

เจาะลึกนโยบายพัฒนาเมือง กับนักผังเมืองพรรคก้าวไกล | Unlock the City EP.28

เมื่อพรรคก้าวไกลคือพรรคที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะได้จัดตั้งเป็นรัฐบาล Urban Creature ชวนนักผังเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ‘ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์’ ว่าที่ ส.ส. เขต 21 กรุงเทพฯ มาคุยกันถึงเรื่องนโยบายผังเมืองให้ประชาชนเห็นภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาพใหญ่ของพรรค และนโยบายภาพย่อยของเขต

เปิดนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมือง เลือกตั้ง ปี 2566

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง 66 แล้ว เพราะเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ก็จะถึงช่วงเวลาตัดสินชะตาชีวิตคนไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอจุดยืนและนโยบายของเหล่าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านค่าครองชีพ มาเยอะแล้ว Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองที่มีชื่อติดโพลใหญ่ๆ และน่าจับตามองกันบ้าง เพราะเราคงมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้แน่ๆ หากผู้มีอำนาจไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และปล่อยให้ประชาชนใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองหม่นๆ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต พรรคภูมิใจไทย เบอร์ 7 ประเดิมด้วยพรรคแรกกับการไล่จากเลขเบอร์น้อยไปยังเลขมาก กับ ‘พรรคภูมิใจไทย’ ซึ่งนำโดย ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ ที่ปัจจุบันนั่งแท่นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‘พูดแล้วทำ’ คือสโลแกนที่พรรคภูมิใจไทยนำมาชูสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และเมื่อเราเข้าไปดูข้อมูลนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็พบว่า ตัวพรรคไม่ได้เซตนโยบายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจนนัก แต่มีนโยบายที่เกี่ยวกับพลังงานเข้ามาแทน นั่นคือ นโยบายพลังงานสะอาด ลดรายจ่ายประชาชน เพราะมองว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าคือภาระใหญ่หลวงที่ประชาชนต้องแบกรับ และกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้ยังก่อให้เกิดมลภาวะ อากาศพิษ ทำร้ายสุขภาพประชาชน และเป็นต้นเหตุของโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน พรรคภูมิใจไทยจึงเสนอนโยบายผ่าน 2 โครงการ นั่นคือ ประชาชนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการใช้หลังคาบ้านติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในบ้านเรือนตัวเอง คิดเป็นกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 450 […]

สนทนาถึงปัญหาสัตว์จรจัดกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ แห่งบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’

ในขณะที่คนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์เลี้ยง’ แทนการมี ‘ลูก’ มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่สามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตัวเองได้ แต่จากการพูดคุยกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ เจ้าของบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’ หรือหลายคนอาจคุ้นหูมากกว่าในชื่อเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ ช่องทางที่ให้ความช่วยเหลือแมวและสัตว์จรจัดมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี เรากลับพบว่าการที่คนให้ความสนใจในการเลี้ยงสัตว์มากขึ้นแต่ขาดความเข้าใจและความรับผิดชอบ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดสัตว์จรจัดไม่ต่างจากในอดีต แถมยังเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำในช่วงโรคระบาด จากสาเหตุนี้เอง ทำให้ Catster by Kingdomoftigers หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าบ้านพักพิงแมวจร ที่รับดูแลตั้งแต่การปรับนิสัย ปรับพฤติกรรม รักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของแมวเพื่อรอการหาบ้าน มีแมวจรจัดต่อคิวเข้าอยู่เป็นจำนวนมาก “ปัจจุบันคนรักสัตว์มีเยอะขึ้น แต่คนที่ไม่รักและมองว่าสัตว์ไม่ควรได้รับความช่วยเหลือก็ยังมีอยู่ เราอยากให้คนมีความรู้เกี่ยวกับแมวจรมากขึ้น เพราะเวลาสัตว์เป็นอะไรนิดๆ หน่อยๆ คนจะเริ่มกังวลและไม่ดูแล เอาไปทิ้งก็เยอะ” จากเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ กลายมาเป็น ‘Catster by Kingdomoftigers’ ได้อย่างไร จุดเริ่มต้นของ Catster by Kingdomoftigers มาจากการที่เราทำเพจทูนหัวของบ่าวมาประมาณ 10 กว่าปี และพบว่าแม้เราจะพยายามช่วยเหลือสัตว์จรจัด […]

เส้นทางสู่ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ ให้ผู้คนกินดี อยู่ดี ชีวิตเป็นสุขจังฮู้

เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]

กรุงเทพฯ ติดอันดับ 5 เมือง ‘Work ไร้ Balance’ ของโลก

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์เจองานด่วน ต้องแก้เดี๋ยวนี้! หรือโดนทักไลน์มาตอนสามทุ่ม ช่วยทำงานให้พี่นิดหนึ่งได้ไหม แน่นอนละว่าจังหวะนี้คงปฏิเสธไม่ได้ พร้อมเปิดคอมฯ ทำงานงกๆ จนเงยหน้ามาอีกที อ้าว! เที่ยงคืนแล้ว ทำไมเรายังไม่นอน ไม่กินข้าว และยังไม่ได้พักผ่อนเลย รู้ตัวอีกทีก็หมดวันซะแล้ว บางคนอาจจะมองว่า การทำงานหนัก ทำงานเกินเวลานิดหน่อยคงไม่เป็นไร ไม่ว่าจะที่ไหนก็เป็นกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วกรุงเทพฯ ติดอันดับรั้งท้าย 5 เมืองสุดท้ายที่มี ‘Work-life Balance’ หรือเมืองที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต อ้างอิงข้อมูลจาก Kisi บริษัทให้คำปรึกษาด้านการทำงานในปี 2022 โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 ประเทศทั่วโลก และกรุงเทพฯ ได้อันดับที่ 96  สำหรับอันดับที่ 1 คือ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ 100 คะแนนเต็ม อันดับที่ 2 เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ 99.46 คะแนน และอันดับที่ 3 คือ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ […]

สัตว์เลี้ยงกับนโยบายเมืองที่ต้องปรับตัว กับ จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์ | Unlock the City EP.08

หมาแมวไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน โดยเฉพาะหมาแมวจรจัดที่เป็นปัญหาเรื้อรังของเมือง เรื่องสัตว์ในเมืองไม่ใช่หัวข้อใหม่ในสังคม แต่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้น ยิ่งในยุคที่คนฮิตเลี้ยงสัตว์เสมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลี้ยงสัตว์ตามกระแสนิยมแล้วปล่อยสัตว์ที่เลี้ยงให้เร่ร่อน เพิ่มปริมาณสัตว์จรจนกลายเป็นปัญหาที่เพิ่มพูน  แต่เมื่อรัฐได้พยายามกำหนดนโยบาย และออกกฎการควบคุมสัตว์เลี้ยงกับสัตว์จรขึ้นมา ก็มักตามมาด้วยดราม่าใหญ่โตทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนสัตว์เลี้ยง หรือกระทั่งวิธีการควบคุมปริมาณสัตว์จรด้วยการฉีดยาให้หลับ ยังไม่นับรวมความเข้มข้นของกฎหมายคุ้มครองสัตว์ และการนำสัตว์มาใช้ประโยชน์ ที่ประชาชนมักหยิบมาถกเถียงกันให้เห็นเนืองๆ ชวนทำความเข้าใจกับ ‘จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์’ อาจารย์สัตวแพทย์ประจำคลินิกพฤติกรรมสุนัขและแมว โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความเป็นไปของปัญหานี้ที่ไม่เคยแก้ไขได้ในบ้านเรา ไปจนถึงการออกแบบเมืองกับนโยบายเกี่ยวกับการจัดการควบคุมสัตว์ที่ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในเมือง ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://bit.ly/3PN7rHQ Spotify : https://spoti.fi/3R2EcCp Apple Podcasts : https://apple.co/3KiDXR5 Podbean : https://bit.ly/3PJQ6PN

เพราะโลกนี้มีหลายเฉดสี! ชัชชาติสนับสนุนให้ข้าราชการ กทม. แต่งกายตามเพศวิถี ขอแค่ทำงานดีก็พอ

1 มิถุนายน 2565 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมงาน ‘Samyan Mitr Pride 100% Love เพราะความรักมีหลากหลาย’ ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองให้กับ ‘เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ’ หรือ ‘Pride Month’ ชัชชาติให้สัมภาษณ์ภายในงานว่า การตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศคือเรื่องสำคัญ ในอดีตสังคมอาจไม่ค่อยยอมรับเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนไปแล้ว การยอมรับความหลากหลายทางเพศจะทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจกัน ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างเรื่องอื่นๆ มากขึ้นด้วย ที่สำคัญ ชัชชาติยังพูดถึงการยอมรับให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งกายตามเพศวิถี โดยย้ำว่าความชอบส่วนบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขอให้บริการประชาชนได้เต็มที่ ทำงานให้ดี ไม่บกพร่องก็พอ เพราะเรื่องการแต่งกายเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น โดย กทม. จะต้องทบทวนกฎระเบียบปัจจุบันอีกครั้งว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ซึ่งชัชชาติมองว่าการแต่งกายตามเพศวิถีคือเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุน มากไปกว่านั้น ชัชชาติยังพูดถึงการส่งเสริมความต้องการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น บริการด้านสาธารณสุข บริการด้านจิตวิทยา ความปลอดภัย และห้องน้ำสาธารณะ รวมไปถึงการให้ความรู้ในโรงเรียน การจัดงาน และการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ กทม. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สังคมเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ชัชชาติระบุว่า “ทั่วโลกยอมรับเรื่องความหลากหลายกันแล้ว ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว โลกไม่ใช่ศูนย์กับหนึ่ง ไม่ใช่มีแค่ขาวกับดำ ผมคิดว่ามันมีสเปกตรัม […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.