‘สิงคโปร์’ กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศด้วยการเป็นฮับความบันเทิงของเอเชีย

ไหนใครวางแพลนไปคอนเสิร์ตวง Coldplay หรือ Taylor Swift ที่จัดกันแบบจุใจถึง 6 รอบที่สิงคโปร์บ้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นคนรอบตัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวพักผ่อนด้วยตัวเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เพื่อผลักดันให้สิงคโปร์ขึ้นเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ เบื้องหลังความสำเร็จของแผนพัฒนานี้คืออะไร สิงคโปร์ดำเนินงานอย่างไรถึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คอลัมน์ City in Focus จะพาไปหาคำตอบ ประเทศเกิดใหม่ มองหาจุดขายเรื่องการท่องเที่ยว หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของประเทศ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ได้ไม่นาน จากการแยกตัวออกจากมาเลเซียมาเป็นประเทศอิสระที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 1965 ในช่วงแรกที่ตั้งประเทศ สิงคโปร์ต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศเปิดใหม่ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากนัก และครั้นจะไปตามหามรดกทางวัฒนธรรมเดิมหรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะคนในประเทศมีความหลากหลายทางเชื้อชาติจนยากจะหาวัฒนธรรมร่วม จุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเป็นการสร้างแผนนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศให้เติบโตด้วยเทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมภายในเมือง เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาแทน ทั้งหมดนี้นำมาสู่การพยายามผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ (The Events and Entertainment Capital of Asia) ครั้งแรกในปี 2007 ที่ผลิดอกออกผลอย่างเด่นชัดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลผลักดันประเทศผ่านการวางนโยบาย แต่การจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชียได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการวางนโยบายที่ดีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน […]

Coldplay วงป็อปร็อกจากอังกฤษที่ทัวร์คอนเสิร์ตสุดกรีน และผลักดันความยั่งยืนแบบรอบด้าน

ถ้าถามถึงวงดนตรีสากลที่คอเพลงชื่นชอบที่สุด เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยต้องมีชื่อวงป็อปร็อกสัญชาติอังกฤษอย่าง Coldplay ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของลิสต์แน่ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแนวดนตรีที่มีเมโลดี้สุดยูนีก เนื้อเพลงความหมายลึกซึ้งที่ฟังเมื่อไหร่ก็รีเลตได้ทันที จึงไม่แปลกใจที่ผลงานของ Coldplay ช่วยปลอบประโลมและเยียวยาจิตใจของแฟนๆ ทั่วโลกได้นานถึง 26 ปี แต่ในปี 2022 วงดนตรีระดับโลกเจ้าของ 7 รางวัลแกรมมี่ (Grammy Awards) และ 9 รางวัลบริต (BRIT Awards) ไม่ได้หยุดอยู่แค่การถ่ายทอดความสุขให้แฟนเพลงผ่านเสียงดนตรีเท่านั้น แต่ยังยกระดับตัวเองให้เป็นแนวหน้าของวงการเพลงระดับโลกที่เปลี่ยนทัวร์คอนเสิร์ตให้มี ‘ความยั่งยืน’ และ ‘เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ย้อนไปเมื่อปี 2019 Coldplay ได้ประกาศยกเลิกเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมตอัลบั้ม Everyday Life เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่โลกของเรากำลังเผชิญ โดยทางวงให้เหตุผลว่าจะใช้ช่วงเวลาที่หยุดพักหาแนวทางการทัวร์คอนเสิร์ตที่ยั่งยืน ดีต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างผลกระทบทางบวกให้สังคม สองปีผ่านไป วงดนตรีจากเมืองผู้ดีคัมแบ็กพร้อมคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ด้วยการประกาศทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มใหม่ Music of the Spheres World Tour 2022 ที่มีเป้าหมายปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) รวมถึงแนวทางที่ส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนอีกเพียบ ครอบคลุมเกือบทุกมิติของการจัดคอนเสิร์ตที่วงดนตรีวงหนึ่งจะทำได้ […]

บัตรคอนเสิร์ตราคาแพงขึ้น 30% แฟนเพลงจ่ายไหวไหม

แม้จะดีใจทุกครั้งเวลาศิลปินที่ชื่นชอบมาจัดการแสดงที่ไทย แต่ก็แอบเศร้าทุกทีที่เห็นบัตรคอนเสิร์ตราคาแรงขึ้นจนต้องคิดหนักตอนกดจ่ายเงิน เพราะทุกวันนี้ราคาบัตรคอนเสิร์ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 ช่วงก่อนเกิดโควิด ยกตัวอย่าง KCON งานคอนเสิร์ตสไตล์เกาหลี K-pop ปี 2019 จัดที่ประเทศไทย มีราคาที่นั่งแพงสุด 6,000 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง ปัจจุบันปี 2022 ราคาที่นั่งแพงสุด 8,900 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง หมายความว่าค่าบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ราคาบัตรพุ่งจนฉุดไม่อยู่ คอลัมน์ Curiocity ขอเชิญทุกคนไปหาคำตอบด้วยกัน อัตราเงินเฟ้อสูง เหตุการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งที่ตามมาคือ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงมากกว่าเดิม และผลกระทบจากสงครามและวิกฤตทางการเมือง ที่ทำให้ราคาสินค้า การผลิต และการขนส่งต่างๆ ปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมคอนเสิร์ตก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ‘ญาณกร อภิราชกมล’ กรรมการบริหาร บริษัท ครีเอท อินเทลลิเจ้นซ์ จำกัด ผู้จัดงานคอนเสิร์ตและเทศกาลไทยให้สัมภาษณ์กับ The Standard Wealth ว่า […]

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

The Town of Music เมื่อกรุงเทพฯ อยากเป็นเมืองคอนเสิร์ต แต่…

ใครๆ ก็บอกว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ต ไม่ว่าศิลปินจะมาจากไหน เมื่อเจอแฟนคลับชาวไทยที่ร้องตามทุกคำ แอดลิปได้ทุกโน้ตเข้าไป ก็ติดใจวนกลับมาเล่นคอนเสิร์ตที่ไทยเกือบทุกปี ยิ่งหลังจากปิดประเทศไป 2 ปี คอนเสิร์ตทั้งไทยและเทศต่างพากันจ่อคิวยาวล้นไปถึงต้นปีหน้า เราจึงไม่แปลกใจที่กรุงเทพฯ จะมีอีกฉายาว่า ‘กรุงเทพฯ เมืองคอนเสิร์ต’ แต่พอมาขบคิดดูดีๆ แล้วเมืองกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับจัดคอนเสิร์ตจริงหรือ เพราะเมื่อมองย้อนกลับไปดูการจัดคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง เราต่างพบหลากหลายปัญหาที่มักถูกพูดถึง แต่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือสนับสนุนอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่เดินทางลำบาก ค่าบัตรที่ค่อนข้างสูง ไหนจะระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยเอื้อให้คนที่อยากทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีสักเท่าไหร่ จะดีกว่าไหมถ้าเมืองนี้จะไม่ใช่แค่สถานที่จัดคอนเสิร์ต แต่สนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศทางดนตรีให้ยั่งยืน 01 | Concert Live in Bangkok (แค่ในนาม)สถานที่จัดไกล การเดินทางไม่ครอบคลุม ปัจจุบันมีหลายคอนเสิร์ตที่จัดในประเทศไทยแล้วใช้ชื่อต่อท้ายว่า ‘Live in Bangkok’ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นแค่กรุงเทพฯ เฉพาะในนาม เพราะไม่ว่าจะเป็นอิมแพ็ค อารีน่า และ ธันเดอร์โดม ที่เมืองทองธานี, แจ้งวัฒนะ ฮอลล์ ที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ต่างตั้งอยู่ที่จังหวัด ‘นนทบุรี’ ด้วยกันทั้งนั้น […]

จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อย Carbon Footprint 400,000 ตัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างตื่นตัว เพราะสภาพแวดล้อมทุกวันนี้อยู่ในช่วงวิกฤต โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนัก (Climate Change) ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตามๆ กัน คำว่า ‘ทั่วโลกตื่นตัว’ ในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใหญ่ระดับชาติที่เหล่าผู้นำประเทศกังวลเท่านั้น แต่มันยังลงลึกไปถึงหน่วยย่อยในทุกอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการผลิต การบริการ หรือสิ่งบันเทิงอย่าง ‘คอนเสิร์ต’ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อนไม่แพ้กัน ยิ่งหลังผ่านพ้นช่วงกักตัว คอนเสิร์ตก็กลับมาจัดขึ้นบ่อยครั้ง และมีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เพราะทุกคนต่างโหยหากิจกรรมและความบันเทิงนอกบ้านที่ห่างหายไปนานหลายปี ในทางกลับกัน ปัญหาโลกร้อนยังคงมีอยู่และเกิดสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหนักจากฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400,000 ตัน ปัจจุบันหลายองค์กรในอุตสาหกรรมพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องมีค่ากลางในการประเมิน และเกิดการจัดทำ ‘Carbon Footprint’ หนึ่งวิธีการวัดและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยขององค์กร โดยคิดตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการกำจัดของเสีย คำนวณออกมาเป็นตัวเลขหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตัน เพื่อนำผลลัพธ์ไปจัดการและบริหารการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในองค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รายงาน Tyndall […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.