สำรวจนิยามครอบครัวหลากหลายผ่าน 5 รสชาติไอศกรีมที่ Diversity Cafe

ช่วงสัปดาห์ส่งท้ายเดือน Pride Month เราขอชวนทุกคนไปค้นหานิยามครอบครัวในแบบฉบับของตัวเองที่ ‘Diversity Cafe’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่อง ‘ครอบครัวหลากหลาย’ ภายใต้รูปแบบคาเฟ่ไอศกรีม เพื่อส่งเสริมสิทธิของทุกคนและทุกเพศอัตลักษณ์กับการสร้างครอบครัวในรูปแบบของตัวเอง นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้ชิมไอศกรีม 5 รสชาติใหม่ๆ ที่สะท้อนรูปแบบครอบครัวในฝันของแต่ละคนแล้ว ภายในงานยังเล่าเรื่องของ 6 ครอบครัวที่มีนิยามแตกต่างกันเพื่อสะท้อนความหลากหลายในสังคมไทย รวมไปถึงปัญหาเชิงนโยบายและค่านิยมของสังคมที่มองคำว่าครอบครัวในนิยามของพ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น นิทรรศการ Diversity Cafe จัดโดย Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการนโยบาย ก่อตั้งโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) สยามพิวรรธน์ วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย และแสนสิริ จุดแรกที่นิทรรศการธีมคาเฟ่ไอศกรีมเตรียมไว้ต้อนรับเราคือ พื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘ครอบครัวยุคใหม่ในนิยามของฉัน’ ที่พาไปสำรวจนิยามของครอบครัวยุคปัจจุบันที่ไม่ได้จำกัดแค่พ่อ-แม่-ลูกเหมือนแต่ก่อน แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น บางครอบครัวผูกพันกันทางสายเลือด ขณะที่บางครอบครัวอาจเป็นคู่รักเพศหลากหลายที่กฎหมายยังไม่รองรับ ครอบครัวที่อยู่กับเพื่อน ครอบครัวที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ตัวเราคนเดียวก็เป็นครอบครัวให้ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย เช่น จำนวนคนอยู่คนเดียวที่เพิ่มสูงขึ้น คนไทยอายุยืนขึ้น คนไทยแต่งงานช้าลง คนไทยมีลูกน้อยลง ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]

‘กลาสโกว์’ สู่การเป็น ‘เมืองเฟมินิสต์’ แห่งแรกของสหราชอาณาจักร ที่ออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม

เมือง ‘กลาสโกว์’ ประเทศสกอตแลนด์ คือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะเป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา มีแหล่งช้อปปิงและร้านค้ากระจายอยู่ทั่ว ที่สำคัญยังเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร ที่มาพร้อมความเจริญเกือบทุกด้าน ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ จนทำให้กลาสโกว์มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทว่าความก้าวหน้าของกลาสโกว์ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น เพราะล่าสุดเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ตั้งใจจะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นศูนย์กลางของการวางผังเมืองในทุกมิติ เพราะรัฐบาลของเมืองเชื่อว่า ‘การออกแบบเมืองที่ดีสำหรับผู้หญิง คือการออกแบบเมืองที่ดีสำหรับทุกคน’ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปทำความเข้าใจว่า ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ หรือ ‘Feminist City’ หน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมเจาะลึกถึงแผนการสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์แห่งแรกของสหราชอาณาจักร และท้ายที่สุดมูฟเมนต์นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กลาสโกว์ในมิติไหนบ้าง จุดเริ่มต้นของการออกแบบเมืองเพื่อผู้หญิง เส้นทางสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์ของกลาสโกว์เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 หลังจากสภาเทศบาลเมืองกลาสโกว์มีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นหัวใจสำคัญของการวางผังเมืองทุกมิติ โดยผู้ยื่นข้อเสนอนี้คือ ฮอลลี บรูซ (Holly Bruce) สมาชิกสภาจากพรรคกรีน (Green) ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์กลายเป็นเมืองแรกในสหราชอาณาจักรที่จะโอบรับ ‘แนวคิดการออกแบบเมืองแบบสตรีนิยม’ หรือ ‘Feminist Urbanism’ Feminist Urbanism หมายถึงการออกแบบเมืองที่ส่งเสริมการไม่แบ่งแยก และการรวมความหลากหลายของคนทุกกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน […]

7 สารคดีว่าด้วย ‘เซ็กซ์’ ที่ไม่ให้แค่ความเสียว แต่บอกเล่าความเชื่อ วัฒนธรรม และสังคมด้วย

เมื่อพูดถึง ‘เซ็กซ์’ หลายคนคงนึกถึงกิจกรรมทางเพศที่เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางร่างกายของมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์ยังอาจเชื่อมโยงกับอารมณ์ ความรู้สึก ค่านิยม วัฒนธรรม ฯลฯ มากไปกว่านั้น เซ็กซ์ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในแวดวงธุรกิจอย่างการผลิตหนังโป๊และสื่อลามกอนาจาร ที่สร้างรายได้มหาศาลและกระตุ้นความกระสันให้ผู้ชมนับล้าน คอลัมน์ Urban’s Pick รวบรวม 7 สารคดีดูสนุกว่าด้วยเรื่องเซ็กซ์แบบเน้นๆ ที่จะพาทุกคนไปเปิดโลกเรื่องเพศที่ไม่ได้มีแค่เรื่องลามก แต่ยังลงลึกถึงประวัติศาสตร์และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพศศึกษา อิทธิพลของเซ็กซ์ต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไปจนถึงเบื้องหลังอุตสาหกรรมหนังโป๊ที่ไม่ได้สนุกและเร้าใจเหมือนเบื้องหน้าเสมอไป 01 | Hot Girls Wanted (2015) ชีวิตที่ไม่ง่ายของดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น แม้ว่าปัจจุบันสังคมจะเริ่มยอมรับอาชีพ ‘Sex Creator’ มากขึ้น แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเบื้องหลังอุตสาหกรรมสื่อลามกก็ยังเต็มไปด้วยปัญหาสังคมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กสาวที่ตัดสินใจก้าวเข้าสู่วงการนี้เยอะขึ้นเรื่อยๆ ‘Hot Girls Wanted’ คือสารคดีที่บอกเล่าถึงความขื่นขมในอุตสาหกรรมหนังโป๊ขนาดเล็ก ที่ดึงดูดผู้หญิงวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยเข้ามาเป็น ‘ดาราหนังโป๊มือสมัครเล่น’ เพราะทำไม่ยากและรายได้ดี โดยเรื่องนี้จะพาผู้ชมไปดูตั้งแต่การเปิดรับสมัครเด็กสาวมาเล่นหนังโป๊ จนถึงช่วงที่พวกเธอเข้าวงการและเริ่มถ่ายทำหนังโป๊เป็นครั้งแรก มากไปกว่านั้น ตลอดเวลา 84 นาทีของสารคดียังพาไปทำความเข้าใจความคิดของเหล่าดาราหนังโป๊มือใหม่ รวมถึงตีแผ่ความยากลำบากที่พวกเธอต้องเผชิญ เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำหนังโป๊ ความบาดหมางกับสมาชิกในครอบครัว การโดนบุลลี่จากคนรอบตัว ฯลฯ รับชม Hot […]

ดราม่าหลังกล้อง และความเสวที่ไม่ได้บิลด์กันง่ายๆ ของ ‘ครูแพรว’ แอ็กฯ เสวที่คนตามหลักแสน

สำหรับคนที่ Follow เธออยู่แล้ว เรารู้กันดีว่าช่อง ‘ครูแพรว’ ไม่ใช่ช่องสอนหนังสือ เราไม่ได้ติดตามครูแพรวในฐานะครู แต่คือ Porn Creator ทรานส์เจนเดอร์ยอดนิยม เจ้าของแอ็กเคานต์ OnlyFans ที่มีจำนวน Subscribers จากทั่วโลกหลักพัน และมียอด Followers ในช่องทางอื่นๆ เรือนแสน สารภาพตามตรง เราเคยคิดว่าชื่อแอ็กเคานต์เป็นแค่กิมมิกให้จำง่ายเฉยๆ แต่พอได้นั่งคุยกับ ‘แพรว-แพรวไพลิน กสิวัฒนา’ แบบตัวต่อตัวกันในบ่ายวันนี้ เราถึงรู้ว่าเธอเป็นครูจริงๆ นอกจากบทบาทคนทำคลิปเสียว ครูแพรวคือหนึ่งในหุ้นส่วนและครูของโรงเรียนสอนแต่งหน้า กันคิ้ว และสอนบุคลิกภาพแห่งหนึ่งในขอนแก่น แถมเธอยังเป็นนางงามที่เพิ่งคว้ามงกุฎ Miss Trans Thailand มาหมาดๆ เมื่อปี 2022 และกำลังปลุกปั้นช่องยูทูบที่ทำคอนเทนต์เมาท์มอยและไลฟ์สไตล์ของตัวเองขึ้นมาอย่างมุ่งมั่น เส้นทางชีวิตก่อนหน้านี้ของเธอก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ตั้งแต่รู้ว่าอยากใช้ชีวิตแบบไหน ครูแพรวก็ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตแบบนั้น แต่ชีวิตก็คือชีวิต มันไม่มีอะไรง่ายและไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนครูแพรวมาทบทวนเส้นทางที่ผ่านมา แล้วสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากชีวิตและการทำงานในฐานะ Porn Creator กับอีกสารพัดบทบาทของเธอให้เราฟัง นี่คือบทเรียนที่เธอไม่เคยเล่าหน้ากล้อง ไม่เปิดเผยบน […]

Omegaverse โลกสมมติที่ผู้ชายท้องได้ เมื่อหยิบมานำเสนอ ทำไมถึงเป็นปัญหา

การหยิบเอา ‘นวนิยาย’ หรือ ‘วรรณกรรม’ มาดัดแปลงเป็นละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมวงการบันเทิง ไม่ว่าจะที่ต่างประเทศหรือในไทยเองก็ตาม แน่นอนว่ามีหลายเรื่องที่ดังเป็นพลุแตก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่โดนวิพากษ์วิจารณ์ จนเกิดกระแสแง่ลบตามมาทันทีหลังเริ่มฉาย หรือกระทั่งถูกตั้งข้อกังขาตั้งแต่ยังไม่เริ่มผลิตผลงานออกสู่สายตาของผู้ชมด้วยซ้ำ อาจเป็นเพราะความคาดหวังของแฟนวรรณกรรม ตัวเนื้อเรื่องที่เป็นปัญหา รวมไปถึงบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาก็เป็นได้ ล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสต่อต้านการหยิบเอานวนิยายมาทำเป็นซีรีส์อีกครั้ง หลังจากผู้จัดซีรีส์เจ้าหนึ่งได้ประกาศเตรียมสร้างซีรีส์เรื่องใหม่โดยหยิบเอานิยายเรื่อง ‘อย่าบอกป๊านะม๊า Midnight Fortune’ ที่มีบริบทเป็น ‘โอเมกาเวิร์ส (Omegaverse)’ มาทำเป็น ‘ซีรีส์วาย (BL Series)’ ทำเอาหลายคนที่ไม่รู้จักจักรวาลโอเมกาเวิร์สถึงกับงงไปตามๆ กัน ส่วนฟากคนที่รู้จักนั้นก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำสิ่งนี้เป็นสื่อกระแสหลัก Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโอเมกาเวิร์ส ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ และทำไมการหยิบเอาแนวคิดนี้มาทำเป็นซีรีส์ที่คนแสดงถึงอาจกลายเป็นปัญหาในสังคมของเรา จุดเริ่มต้นของโอเมกาเวิร์ส ก่อนจะไปรู้จักกับจักรวาลโอเมกาเวิร์สในนิยายวาย เรามาปูพื้นฐานเกี่ยวกับนิยายวายกันก่อนดีกว่า แม้ว่านิยายวายส่วนใหญ่จะใช้เรียกรวมแนวการเขียนที่มีตัวเอกของเรื่องเป็น ‘คู่ชายรักชาย’ แต่ความจริงแล้วคำว่า ‘วาย’ เป็นคำเรียกที่ย่อมาจากคำในภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ ‘Yaoi’ ที่หมายถึงชายรักชาย และ ‘Yuri’ ที่ใช้เรียกหญิงรักหญิง โดยปัจจุบันคำเรียกนี้ถูกเปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘Boy’s […]

พาทัวร์อีเวนต์ไพรด์ Bangkok Pride: Rainbowtopia 17 – 19 มิ.ย. 65 ที่ BACC และ Siam Square

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ได้มีการเดินไพรด์พาเหรดในงาน ‘นฤมิตไพรด์’ เฉลิมฉลองความหลากหลาย และเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียมทางเพศไปอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ คราวนี้ถึงคิวของ ‘Bangkok Pride 2022: Rainbowtopia’ อีเวนต์ไพรด์อีกงานที่จัดเต็มทั้งศิลปะ เวิร์กช็อป เสวนา มาร์เก็ต และคอนเสิร์ต เพื่อร่วมเฉลิมฉลองคอมมูนิตี้ LGBTQ+  เทศกาลนี้จัดขึ้นโดย SPECTRUM ทีมสื่อที่ทำงานและสื่อสารเรื่องเพศมาอย่างยาวนาน โดยร่วมมือกับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักกิจกรรม กลุ่มผู้ทำงานศิลปะ คลินิกสุขภาพทางเพศ วงการภาพยนตร์ หรือศิลปินนักดนตรี โดยมีเป้าหมายที่จะเห็นโลกแห่งความเท่าเทียมที่ทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน ธีมของงานใช้ชื่อว่า ‘Rainbowtopia’ เนื่องจากต้องการชวนทุกคนมาวาดฝันและจินตนาการถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ที่คนทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ และทุกช่วงวัย ได้มีพื้นที่ปลอดภัยในเป็นตัวของตัวเอง รวมถึงได้รับสิทธิ สวัสดิการอย่างเท่าเทียมกัน  ภายในงานได้มีการแบ่งโซนกิจกรรมออกเป็นหลากหลายรูปแบบตามธีมย่อยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีทั้ง 6 บนธงไพรด์ โดยแบ่งพื้นที่จัดกิจกรรมออกมาเป็น 2 แห่ง ได้แก่ ภายในหอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ (BACC) และ สยามสแควร์ บล็อก I  บรรยากาศงานเป็นยังไงบ้าง สนุกสุดต๊าชแค่ไหน มีกิจกรรมใดที่ไม่ควรพลาด Urban Creature […]

โปรแกรมหนัง Pride Month ดูหนัง 15 เรื่องฉลองความหลากหลาย ตลอดเดือน มิ.ย. ที่ House Samyan

ในเดือนมิถุนายนที่เป็น Pride Month ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีในการหยิบยกสื่อที่บอกเล่าและสนับสนุนความหลากหลายทางเพศมาฉายซ้ำหรือพูดถึงอีกครั้ง อย่างโรงหนัง House Samyan เองก็จัด Pride Month Program โปรแกรมพิเศษรวมหนังเฉลิมฉลองประเด็นนี้ด้วย ในโปรแกรมหนัง Pride Month นี้ มีทั้งหมด 15 เรื่อง ประกอบด้วยภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ โดยเนื้อหามีตั้งแต่เรื่องสิทธิของการข้ามเพศ การได้ค้นพบตัวตน การได้รักและถูกรัก ชีวิตของคู่รักเพศเดียวกัน ไปจนถึงการปลดปล่อยตัวเองจากกรอบของเพศและสังคม รายชื่อภาพยนตร์ทั้ง 15 เรื่อง มีดังนี้ – About Ray (2015) – Ammonite (2020) – CompartMent NO.6 (2021)– Dew ดิวไปด้วยกันนะ (2019)– Disobedience (2017)– Girl (2018)– Happy Together (1997)– Love of Siam รักแห่งสยาม (2007)– Malila the […]

ร่วมฉลอง Pride Month กับเสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชันพิเศษ มอบรายได้ให้องค์กรเพื่อ LGBTQIA+

ใครอยากร่วมสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ เราขอชวนทุกคนสั่งซื้อเสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชัน ‘Pride Month (Limited Edition)’ ที่ออกแบบโดย ศรัณยา ตั้งวรเชษฐ์ พัฒนามาจากข้อความที่สกรีนอยู่บนเสื้อยืดของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ต้นฉบับออกแบบโดย ศุภวิชญ์ ถิตตยานุรักษ์  เสื้อยืดคอลเลกชันพิเศษนี้ผลิตโดย ‘Better Bangkok’ หรือ ‘ชมรมกรุงเทพฯ น่าอยู่กว่าเดิม’ กลุ่มคนที่รวมตัวกันภายใต้เป้าหมายขับเคลื่อนและผลักดันประเด็นทางสังคมที่เชื่อมโยงกับ ‘คน’ และ ‘เมือง’ เพื่อร่วมมือกันทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน ทีมงาน Better Bangkok จะมอบรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายเสื้อยืดรุ่น Pride Month ให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเรื่องความหลากหลายทางเพศ โดยเสื้อยืดล็อตแรกจะพร้อมจัดส่งรอบแรกในวันที่ 10 มิถุนายน 2565 และจะพร้อมจัดส่งรอบถัดไปในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 เสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชัน Pride Month มีจำหน่ายไซซ์ S […]

เพราะโลกนี้มีหลายเฉดสี! ชัชชาติสนับสนุนให้ข้าราชการ กทม. แต่งกายตามเพศวิถี ขอแค่ทำงานดีก็พอ

1 มิถุนายน 2565 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมงาน ‘Samyan Mitr Pride 100% Love เพราะความรักมีหลากหลาย’ ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองให้กับ ‘เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ’ หรือ ‘Pride Month’ ชัชชาติให้สัมภาษณ์ภายในงานว่า การตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศคือเรื่องสำคัญ ในอดีตสังคมอาจไม่ค่อยยอมรับเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนไปแล้ว การยอมรับความหลากหลายทางเพศจะทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจกัน ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างเรื่องอื่นๆ มากขึ้นด้วย ที่สำคัญ ชัชชาติยังพูดถึงการยอมรับให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งกายตามเพศวิถี โดยย้ำว่าความชอบส่วนบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขอให้บริการประชาชนได้เต็มที่ ทำงานให้ดี ไม่บกพร่องก็พอ เพราะเรื่องการแต่งกายเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น โดย กทม. จะต้องทบทวนกฎระเบียบปัจจุบันอีกครั้งว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ซึ่งชัชชาติมองว่าการแต่งกายตามเพศวิถีคือเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุน มากไปกว่านั้น ชัชชาติยังพูดถึงการส่งเสริมความต้องการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น บริการด้านสาธารณสุข บริการด้านจิตวิทยา ความปลอดภัย และห้องน้ำสาธารณะ รวมไปถึงการให้ความรู้ในโรงเรียน การจัดงาน และการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ กทม. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สังคมเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ชัชชาติระบุว่า “ทั่วโลกยอมรับเรื่องความหลากหลายกันแล้ว ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว โลกไม่ใช่ศูนย์กับหนึ่ง ไม่ใช่มีแค่ขาวกับดำ ผมคิดว่ามันมีสเปกตรัม […]

เฉลิมฉลอง Pride Month ที่กรุงเทพฯ ไพรด์พาเหรด BANGKOK NARUEMIT PRIDE จากวัดแขกสู่สีลม 5 มิ.ย. 65

เดือนมิถุนายนคือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ที่ผ่านมา มีหลายประเทศที่จัดงานเฉลิมฉลอง ‘Pride Month’ ในรูปแบบของขบวนพาเหรด และกิจกรรมอื่นๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางเพศ ในไทยเองก็มีความเคลื่อนไหวและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศอย่างเข้มข้น ซึ่งพิจารณาแล้วดูมีทิศทางที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปีนี้ ได้มีกลุ่มคนและเครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อความหลากหลายทางเพศ จัดไพรด์พาเหรดอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นในกรุงเทพฯ โดยใช้ชื่อว่า BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 (บางกอกนฤมิตไพรด์) ในวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 19.00 น. โดยเริ่มตั้งขบวนพาเหรดหน้าวัดแขกมุ่งหน้าสู่ถนนสีลม  จุดยืนของ BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 คือขบวนที่ต้องการสร้างสังคมใหม่ที่ผู้คนต่างร้อยเรียงอยู่ด้วยกันภายใต้การเคารพความหลากหลาย โดยขบวนพาเหรดจะเกิดขึ้นผ่านการร้อยเรื่องราวตามเฉดสีรุ้งที่เป็นธงสัญลักษณ์แห่งความหลากหลายทั่วโลก ผู้เข้าร่วมสามารถออกแบบป้ายรณรงค์ และชุดเครื่องแต่งกายตามที่บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง แล้วร่วมเดินไปกับขบวนแยกตามประเด็นและเฉดสีได้ โดยในขบวนจะมีการแบ่งสีช่วงขบวน เพื่อร่วมแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศ และสื่อสารถึงประเด็นที่ผู้เข้าร่วมไพรด์พาเหรดอยากสนับสนุน ยกตัวอย่าง ขบวนสีแดงคือพื้นที่ของคนที่อยากขับเคลื่อนกฎหมายเพื่อชุมชนคนเพศหลากหลาย ขบวนสีส้มคือพื้นที่ของคนที่อยู่เคียงข้างและภาคภูมิใจที่จะสนับสนุนสวัสดิการเพื่อชาว LGBTQIAN+ ขบวนสีเหลืองสำหรับภาคธุรกิจ พรรคการเมือง ตัวแทนจากกลุ่มอาชีพ และผู้ปกครอง ที่ต้องการมายืนยันโอกาสในการมีอนาคตที่สดใสของเด็กๆ และเยาวชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี […]

ตามหาตัวตนและรักหมดใจใน Heartstopper ซีรีส์วัยรุ่นฟีลกู้ดที่บอกว่าใครก็มีความรักดีๆ ได้

ถ้าตอนเด็กๆ คุณเคยดูหนังรักวัยรุ่นแล้วอินจนอยากมีความรักบ้าง เราคือเพื่อนกัน และถ้าตอนเด็กๆ คุณรู้ว่านั่นเป็นได้แค่ฝัน ความจริงแล้วคุณนึกภาพตัวเองมีความรักแบบตัวละครไม่ออกเพราะคุณกับพวกเขาไม่ ‘เหมือน’ กันเลยสักนิด เราขอยกมือตบบ่าอย่างเข้าใจ ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ เราเติบโตมากับหนังและซีรีส์โรแมนติกที่ตัวเอกเป็นชาย-หญิงที่รักเพศตรงข้าม หากจะมีเรื่องที่เล่าชีวิตรักของคนในคอมมูฯ ก็มักจะจบไม่สวย เต็มไปด้วยภาพชีวิตอันยากลำบากของชาวเพศหลากหลายที่สมจริงแต่ก็หดหู่ จนบางครั้งก็ทำให้เราในวัยเด็กดูแล้วตั้งคำถามว่า เกิดมาชอบเพศเดียวกันแล้วฉันจะมีความรักใสๆ มีโมเมนต์ใจเต้นตึกตักหรือความรู้สึกว่ามีผีเสื้อบินในท้องแบบเด็กคนอื่นไม่ได้เลยเหรอ หลายปีผ่านไปจนเลยวัยเด็กมาไกล ไม่เคยมีหนังหรือซีรีส์เรื่องไหนตอบคำถามนั้นได้ จนกระทั่งเรารู้จัก Heartstopper เพื่อนคนพิเศษ  อันที่จริง ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อ Heartstopper ไม่ใช่ซีรีส์ แต่เป็นคอมิกขายดีของ Alice Oseman นักเขียนชาว LGBTQ+ ที่ได้รับความนิยมมากจน Netflix หยิบมาทำซีรีส์  Heartstopper เริ่มต้นเรื่องราวที่โรงเรียนชายล้วนทรูแฮม ในวันเปิดเทอมหลังเทศกาลปีใหม่ ชาร์ลี (รับบทโดย Joe Locke) เด็กหนุ่มขี้อายผู้เปิดตัวว่าเป็นเกย์คนเดียวในโรงเรียน นัดพบกับ เบน (รับบทโดย Sebastian Croft) เด็กหนุ่มคนรักในความลับเพื่อมาจู๋จี๋กัน เป็นเรื่องปกติสำหรับชาร์ลีไปแล้วที่จะมาเจอเบนในเวลากับสถานที่ที่อีกฝ่ายสะดวก เพราะเบนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่มีแผนจะเปิดตัวกับใคร และใช่ว่าชาร์ลีพูดอะไรไปแล้วเบนจะสนใจ เขาแค่มาหาในเวลาที่อยากกอดจูบกับผู้ชายเท่านั้น แม้ภายนอกจะยิ้มแย้มแจ่มใส […]

สื่อไทยต้องกล้าเปลี่ยน : ‘พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ’ สื่อมวลชนที่อยากผลักดันเพศเท่าเทียม

กรกฎาคม 2021 Thaipublica.org รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตซีรีส์วายมากถึง 40 เรื่อง และในปีเดียวกันนั้น คาดว่าจะมีซีรีส์มากถึง 90 เรื่อง มองเผินๆ คุณคงคิดว่า ประเทศนี้เฟรนด์ลี่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอามากๆ แต่เปล่าเลย นี่เป็นเพียงฟิกชันในหนังสือ และสื่อเพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ใช่เรื่องจริง  เช่นเดียวกับมายาคติ ‘ไทยคือสรวงสวรรค์ของ LGBTQ+’ ที่ผลิตซ้ำพร่ำเพรื่อ แต่ในชีวิตจริงคือขั้วตรงข้าม คู่รักเพศเดียวกันยังลงเอยทางกฎหมายไม่ได้ มิหนำซ้ำชุมชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญอคติ ถูกลิดรอนสิทธิซ้ำๆ โดยไม่มีกฎหมายหรือนโยบายมารองรับสิทธิที่ควรจะเป็น จนทุกวันนี้ สังคมไทยยังสะสมการกดทับนานหลายเจเนอเรชัน มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมประเด็นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความเท่าเทียมทางเพศไม่มีจริง การเรียกร้องเรื่องซ้ำๆ จึงเป็นสัจธรรมของรัฐแห่งการเพิกเฉย นั่นคือเหตุผลที่ผลักให้ อั้ม-พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สื่อมวลชนรุ่นใหม่ เดินหน้านำเสนอประเด็นซัปพอร์ตสิทธิความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์ อั้มเคยเขียนบทความสิทธิมนุษยชนจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่อง ประเทศไทย : ดินแดนสวรรค์ (หลอกๆ) ที่คนข้ามเพศถูกผลักออกได้ทุกวินาที จนได้รับรางวัล Writers that Matters : นัก (อยาก) เขียน […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.