ไม่มีเทพสร้าง ไม่มีอัศวินม้าขาวช่วย แต่กรุงเทพฯ มี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“ประมาณหกโมงเช้าไปวิ่งมา แล้วก็ออกไปดูพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นข้ามไปหนองแขมเพื่อดูปัญหาในชุมชนและเดินตลาดต่อ”  ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบอกกับเรา บริเวณใต้ร่มร้านขายของชำใกล้สวนสาธารณะเขตบางบอน วันเสาร์นั้นแดดจัด ช่วงใกล้เที่ยง พระอาทิตย์ส่องจ้ากลางหัว เขาโดยสารรถสองแถวหลังคาสูงมาพร้อมทีมงานที่สวมเสื้อดำสกรีนคำเขียวเข้มสะท้อนแสง ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’  ช่วงนี้เขาออกวิ่งทุกวันเสาร์ ตระเวนวิ่งในแต่ละเขตทั่วกรุง เราสะดุดตาที่วันนี้ชัชชาติสวมรองเท้าวิ่งข้างหนึ่งสีขาว อีกข้างสีดำ เขาเล่าข้อมูลเขตบางบอนที่ศึกษามาว่า “เขตบางบอนเป็นเขตที่พื้นที่มีความยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทำสวน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเข้ามา คนมาอาศัยในเขตนี้มากขึ้น ตอนนี้มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคน”  ตลอดเส้นทางที่สัญจรมาที่นี่ เราขับรถผ่านถนนสองเลนที่ตัดผ่านย่านชุมชน ผ่านเส้นทางรถไฟ และ สถานี ‘รางโพธิ์’ สถานีหลักประจำพื้นที่ซึ่งเป็นสถานีหมุดหมายของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะวิ่งผ่านในอนาคต ชัชชาติชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการคมนาคมและขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเขตบางบอน เขาเล่าประสบการณ์การเดินทางในช่วงเช้าก่อนมาเจอเราว่า “รถติดมาก เส้นเอกชัย-บางบอน หรือถนนบางบอน 3 หรือ 5 และขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดี รถไฟก็เป็นแบบท้องถิ่นที่มีความถี่น้อย ประชาชนจึงต้องใช้รถส่วนตัว”  ถ้าลองเปิดแผนที่ดู เขตบางบอนคือพื้นที่ขอบกรุงเทพฯ ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมประมง มีแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานในพื้นที่อาศัยอยู่เยอะ ทำให้มีอีกโจทย์ตามมาว่าจะพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติ และประชากรในพื้นที่อย่างไรไม่ให้อยู่อย่างแออัด นี่คือความหลากหลายและความซับซ้อนของสิ่งที่ต้องจัดการจากพื้นที่เพียงหนึ่งเขต เพราะความเป็นจริง กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 50 เขต […]

ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ

ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]

Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

No one can save Bangkok? อ้าวเฮ้ย! เมื่อ ‘อัศวิน’ อาจไม่ได้ขี่ม้าขาวมากู้ กทม. อย่างที่คุยกันไว้นี่นา

ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ดีและลงตัว จริงๆ หรือยัง? ถ้ามองอย่างเที่ยงตรง เรามั่นใจว่า คำตอบคนส่วนมากคือ ‘ไม่’ เพราะกรุงเทพฯ ยังคงเผชิญกับปัญหาที่สะสมมานาน ทั้งการจราจรติดขัด ฝนตกแล้วน้ำท่วมขังในย่านต่างๆ การจัดการขยะที่ไม่เป็นระบบ ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ไม่ตอบโจทย์ผู้อาศัยจริงๆ สักที ทำให้การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ เป็นไปอย่างยากลำบาก เหมือนผจญด้านโหดในเกม Adventure ทุกวันเลยทีเดียว เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาในเมืองกรุง ก็ต้องย้อนกลับไปที่ ‘ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาเมือง และการบริหารราชการของเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยปกติแล้ว ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเมืองหลวงจะได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กันทุก 4 ปี เพื่อเป็นตัวแทนของคนกรุง เข้าไปพัฒนาเมืองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบด้าน ว่าแต่…จำได้หรือเปล่าว่าชาวกรุงเทพฯ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? เพราะตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว ที่อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งนอกจากจะอยู่ในวาระนานกว่ากำหนดแล้ว เขายังมาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยไม่ผ่านการเลือกจากประชาชนด้วย อัศวินในตำแหน่งผู้ว่าฯ และผลงานของเขา จึงไม่ต่างอะไรกับมรดกที่คณะรัฐประหารทิ้งไว้ให้ชาวกรุงเทพฯ นโยบายหลายข้อไม่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหา แถมเมกะโปรเจกต์หลายโครงการยังไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนและไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ทุ่มไปด้วย ทำไมจึงเป็นแบบนี้ […]

ย้อนดูประวัติศาสตร์ผู้ว่าฯ กทม. ก่อนความหวังครั้งใหม่ที่ปลายปากกา

ปี 2563 ที่ผ่านมา ในต่างจังหวัดมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน คอยทำหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกด้านการดำรงชีวิต อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  แต่เมื่อหันมามองที่กรุงเทพมหานคร ก็คิดว่า เมื่อไรจะมีการเลือกตั้งกับเขาสักที? คำถามนี้สะท้อนว่า เราไม่ได้เลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำงานเป็นปากเสียงให้มานานมากแล้ว หลังจากอยู่กับปัญหาสะสมเรื้อรังมากมาย ตั้งแต่ อากาศเป็นพิษ รถติดยาวเหยียด ทางเท้าพัง เหยียบแล้วชุ่มโชก รถเมล์ที่มาช้า กะเวลาไม่ได้ น้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตก รถไฟฟ้าราคาครึ่งร้อย หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจว่า จะใช้ชีวิตยังไงให้รอดในแต่ละวัน ฯลฯ  จริงๆ แล้วประเด็นพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เป็นคนพื้นที่ และคนที่เข้ามาเรียน ทำงาน หรือเหตุผลอื่นๆ ต้องเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วปัญหาที่อยู่รอบตัวเราในทุกๆ วันแบบนี้ จะแก้ไขหรือจัดการอะไรได้บ้าง ซึ่งหนทางแก้คงหนีไม่พ้นการกลับไปสำรวจว่า คนที่มีอำนาจกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองเป็นอย่างไร งบประมาณก้อนต่างๆ จำนวนมหาศาลที่ได้รับจากภาษีที่ทุกคนจ่ายๆ กันแต่ละปีจัดสรรไปกับอะไรบ้าง ใช้มันคุ้มค่าหรือเปล่า และที่สำคัญคือ เรามีสิทธิ์ ‘เลือก’ ‘ออกแบบ’ หรือ […]

ผลนิด้าโพล ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นำโด่งจากสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งล่าสุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สำนักนิด้าโพลได้เผยผลการสำรวจประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแล้วในหัวข้อ ‘อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.’ เป็นครั้งที่ 10 ซึ่งถือเป็นครั้งล่าสุด หลังจากที่นิด้าจัดทำโพลนี้ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า ผลลัพธ์ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ยังเป็นแคนดิเดตที่มีคะแนนนำลิ่วเป็นอันดับที่ 1 ทิ้งห่าง ‘สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ตามมาเป็นอันดับที่ 2 และ อันดับที่ 3 ตามมาติดๆ คือ ‘อัศวิน ขวัญเมือง’ เจ้าของตำแหน่งผู้ว่าฯ คนล่าสุดที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การสำรวจโพลโดยสำนักนิด้าครั้งล่าสุดนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้คนระหว่างช่วงวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2565 จากกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ โดยมีกลุ่มคนทุกระดับชั้นการศึกษา หลากอาชีพ และมีรายได้ที่แตกต่างกัน รวมเป็นจำนวนทั้งหมดถึง 1,324 ตัวอย่าง  ครั้งนี้ Urban Creature ขอเลือกนำเสนอเพียง […]

ฟอนต์ทน ฝั่งธนฯ ป้ายเก่า – ฟอนต์ทน – ย่านธนบุรี

‘ฟอนต์ทน ฝั่งธนฯ’ คือผลิตผลของนิสัยความชอบสแนป (snap) ทุกทีที่เจอ ‘ฟอนต์ไทย’ บนป้ายนั่นนี่ระหว่างทาง แล้วสิ่งนี้ก็ทำให้พบว่าฝั่งธนบุรี แถบคลองสาน วงเวียนใหญ่ ตลาดพลู มีบรรดาป้ายเก่า ฟอนต์สวย และบางครั้งก็มีเรื่องราวที่ไม่เคยรู้มาก่อนซ่อนอยู่ในนั้นด้วย

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน

ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี  ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก  ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข  แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ  ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]

เฉาจัง! 10 เขตที่มีพื้นที่ต้นไม้ต่อคนน้อยที่สุดใน กทม.

สารพัดโครงการชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ของกรุงเทพมหานครผุดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ชวนปลูกต้นไม้หนึ่งแสนต้น มากไปจนถึงล้านกล้าสู่ล้านต้น เพื่อสร้างกรุงเทพฯ เมืองสีเขียวให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามปี 2563 กรุงเทพฯ กลับมีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐาน 9 ตารางเมตรต่อคนที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ‘พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง’ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครจึงตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงเทพฯ 10 ตารางเมตรต่อคนให้ได้ ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะปลูกเท่าไหร่ ต้นไม้ที่ควรจะเติบโตละลานตาเต็มกรุงเทพฯ ก็ยังกระจายไปไม่ครบทุกเขตเสียที เพราะต้นไม้มีความสำคัญกับเมืองและคนอยู่ จึงมีหลายภาคส่วนศึกษาเรื่องพื้นที่ต้นไม้ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้พอหายใจ และทีม mor and farmer เป็นหนึ่งในนั้น สี่สถาปนิกรั้วธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยีในการคิด วิเคราะห์ และออกแบบสื่อเพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และผู้คน ได้วิเคราะห์พื้นที่ต้นไม้ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครปลายปี 2560 จนถึงต้นปี 2561 ด้วยเครื่องมือ Machine Learning สำหรับหาพื้นที่ต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้เพียง 227 ตารางกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.