ผ่าแผนเดินเกมของปารีส​ โอลิมปิก 2024 เพื่อพิชิตเส้นชัยโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด

การจัดงานโอลิมปิกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟังแล้วช่างเหนือจริง เพราะงานโอลิมปิกคือมหกรรมกีฬาระดับโลกที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นกว่าหลายร้อยรายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมหลักหมื่น มีผู้ชมมาเกาะติดขอบสนามกันหลักล้าน การจัดงานระดับยักษ์แบบนี้ หลีกหนีไม่พ้นต้องเผาผลาญทรัพยากรมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับมวลมหาประชาชนที่หลั่งไหลมา แต่เพราะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน การหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเลยเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เมื่อปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 เมืองน้ำหอมจึงตั้งปณิธานว่า โอลิมปิกครั้งนี้จะเป็นโอลิมปิกที่เป็นมิตรกับโลกที่สุด มีการประเมินไว้ว่า งานโอลิมปิกในกรุงรีโอเดจาเนโร ปี 2016 และกรุงลอนดอน ปี 2012 ปล่อยคาร์บอนออกมากว่า 3.5 ล้านตัน สำหรับโอลิมปิกครั้งนี้ ปารีสตั้งเป้าสุดทะเยอทะยานไว้ว่าจะหั่นตัวเลขเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 1.75 ล้านตัน น้อยกว่างานโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียวซึ่งจัดในช่วงล็อกดาวน์ และปล่อยก๊าซออกมา 1.9 ล้านตันเสียด้วยซ้ำ งานนี้ปารีสพร้อมเดินเกมทุกวิถีทาง ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างการก่อสร้าง การเดินทาง ไปจนถึงเรื่องเล็กอย่างอาหารการกิน มาเรียนรู้ไปด้วยกันว่าปารีสวางแผนไว้อย่างไร เพื่อพิชิตเส้นชัยการเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด ไม่เน้นสร้างใหม่ เน้นใช้สถานที่เดิม 95 เปอร์เซ็นต์ของการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมดจะจัดขึ้นในสนามกีฬาที่มีอยู่เดิม หรือในแลนด์มาร์กของเมืองที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น กีฬาฟันดาบและเทควันโด ที่จะประชันกันในอาคาร Grand Palais ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1897 หรือกีฬาขี่ม้า ปัญจกีฬา […]

‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีสได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ รวมถึงเพิ่มเลนจักรยานทั่วเมือง […]

ชวนดูเตียงรักษ์โลกในโอลิมปิก 2024 เตียงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนอนหลับสบาย

อีกไม่นาน งานโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ในกรุงปารีส ก็จะปะทุตัวขึ้นแล้ว ความพิเศษของโอลิมปิกครั้งนี้คือการมุ่งเป้าเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ลง 50 เปอร์เซ็นต์จากการจัดงานครั้งก่อนๆ เพราะฉะนั้นเราเลยเห็นกลยุทธ์มากมายที่ผู้จัดงานงัดมาเพื่อให้ถึงเส้นชัยอันแสนทะเยอทะยาน และความยั่งยืนก็เริ่มต้นตั้งแต่เตียงนอนของนักกีฬา เตียงนอนนี้เป็นเตียงจากบริษัทเครื่องนอนญี่ปุ่น ‘Airweave’ ซึ่งเคยทำเตียงมาให้ก่อนแล้วในงานโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียว เตียงนอนกว่า 16,000 หลัง ประกอบด้วยเฟรมเตียงนอนกระดาษแข็ง พร้อมด้วยผ้าปูเตียงและฟูกที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล ฟูกใช้เส้นใยพิเศษชื่อ airfiber® ที่นำไปล้างทำความสะอาดได้โดยไม่เสียสภาพการใช้งาน หลังมหกรรมกีฬาปิดฉากลง เฟรมกระดาษแข็งจะถูกนำไปรีไซเคิลต่อ ส่วนผ้าปูและฟูกจะถูกส่งต่อไปยังองค์กรต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส ไม่ได้มีดีแค่ความรักษ์โลก Airweave ยังคิดดีเทลของฟูกมาเป็นอย่างดีเพื่อให้นักกีฬาหลับเต็มตื่น แต่ละเตียงจะมีฟูกสามบล็อก และแต่ละด้านของบล็อกฟูกจะมีความนุ่มแข็งต่างกัน นักกีฬาสามารถสลับสับเปลี่ยนฟูก พลิกด้าน เพื่อให้ได้ที่นอนอุดมคติของตัวเอง ทาง Airweave ยังมีนวัตกรรมให้นักกีฬาป้อนข้อมูลน้ำหนัก เพศ อายุ และข้อมูลร่างกาย เพื่อให้ได้ฟูกที่เข้ากับตัวเองอีกด้วย ส่วนเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าเตียงออกแบบมาไม่ให้นักกีฬามีเซ็กซ์ เพราะรับน้ำหนักคนได้เพียงคนเดียว ต้องขอบอกว่าเป็นเฟกนิวส์ เพราะ ‘Motokuni Takaoka’ ผู้ก่อตั้ง Airweave ออกมาโต้ในตอนเปิดตัวเตียงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 ว่าเตียงนี้แข็งแรงพอที่จะรองรับ ‘คนหลายคนบนเตียงได้’ […]

The Body Shop แบรนด์สกินแคร์สายกรีน ลมหายใจเฮือกสุดท้ายกับจิตวิญญาณที่ยืนหยัดเพื่อสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องประทินผิวหลายแบรนด์ต่างให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เห็นได้จากการรณรงค์งดใช้กลิตเตอร์ผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อลดการเกิดขยะไมโครพลาสติก หรือการยกเลิกการทารุณกรรมสัตว์จากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องประทินผิวและเครื่องสำอาง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ที่ผ่านมามีแบรนด์เครื่องประทินผิวแบรนด์หนึ่งที่ยึดมั่นและมุ่งมั่นทำเพื่อสิ่งแวดล้อมมาก่อนกาล จนต้องพบเจอกับโศกนาฏกรรมทางธุรกิจ ล้มพับหน้าร้านในหลายประเทศทั่วโลกไป หลายคนคงเคยได้ยินหรือคุ้นตากับแบรนด์ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ชื่อดังจากสหราชอาณาจักร The Body Shop ที่วางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศไทยและทั่วโลก แต่หลังจากที่บริษัทประกาศล้มละลายไปเมื่อต้นปี 2024 ทำให้ต้องปิดสาขากว่า 198 สาขาในสหราชอาณาจักร และปัจจุบันในประเทศไทยก็ไม่มีสาขาเหลืออยู่แล้ว จะหาซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น ในช่วงเวลาที่ผู้คนหันมาใส่ใจความโปร่งใสเรื่องความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น Urban Creature ขอพาไปสำรวจที่มาที่ไปของแบรนด์ที่เป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจรักษ์โลกมาช้านาน และสิ่งที่พวกเขาพยายามขับเคลื่อนพร้อมกับการทำธุรกิจ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ขนาดนี้ล้มละลาย The Body Shop แบรนด์สกินแคร์ที่แคร์โลก ย้อนกลับไปเมื่อปี 1976 ร้าน The Body Shop แห่งแรกได้ถือกำเนิดขึ้นริมถนนเมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ โดย ‘แอนนิตา ร็อดดิก’ (Anita Roddick) ผู้ขับเคลื่อนวงการเครื่องสำอางในยุคนั้น แอนนิตามีแนวคิดที่อยากมอบทั้งความงามจากภายในสู่ภายนอก ไปพร้อมๆ กับให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพราะเธอเชื่อมั่นว่า การทำธุรกิจนั้นสามารถเป็นแรงผลักดันไปสู่สิ่งดีๆ ได้ ภายใต้อุดมการณ์ ‘การค้าปลีกอย่างมีจริยธรรม’ (Ethical Retailing) ว่าด้วยการสร้างแบรนด์ที่เป็นธรรม ยึดถือความซื่อสัตย์และซื่อตรงต่อลูกค้าในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ […]

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เวทีของนักทำหนังรุ่นใหม่ที่เชื่อว่าหนังโลกร้อนไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ

เพราะเกิดและเติบโตที่จังหวัดเชียงใหม่ เราจึงมีประสบการณ์ตรงกับฤดูฝุ่นควันที่แวะเวียนมาทุกปี จำไม่ได้แล้วว่าครั้งแรกที่คัดจมูกเพราะฝุ่นควันคือเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เรารู้แน่ๆ คือทุกครั้งที่ฤดูฝุ่นเวียนมาถึง มันจะรุนแรงขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอุณหภูมิในเมืองที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ วัดได้จากหน้าหนาวที่ไม่ได้หนาวเท่าเดิม สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาที่น่ากลัว และไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเรา เช่นเดียวกับ ‘บุษกร สุริยสาร’ ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาโครงการ Changing Climate, Changing Lives (CCCL) Film Festival ใครหลายคนอาจรู้จัก CCCL ในชื่อ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2563 และจัดต่อเนื่องมาทุกปี เทศกาลนี้ไม่ได้เป็นเทศกาลฉายหนังสั้นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเวทีที่เปิดให้นักทำหนังอิสระรุ่นใหม่จากภูมิภาคเอเชียได้เสนอโปรเจกต์ขอทุนทำหนังของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็เปิดรับหนังสั้นจากคนทำหนังทั่วโลก เมื่อพูดถึงหนังสั้นหรือคอนเทนต์ใดๆ เกี่ยวกับโลกร้อน เรามักจะนึกถึงการให้ข้อมูลแบบตรงไปตรงมาหรือสารคดีน่าเบื่อ แต่ CCCL ไม่เชื่อเช่นนั้น พวกเขาเชื่อว่าหนังสั้นที่สื่อสารประเด็นจริงจังก็มีความหลากหลาย ดูสนุก และครีเอทีฟได้เหมือนกัน เรานัดพบกับบุษกรและ ‘นคร ไชยศรี’ ผู้ออกแบบกิจกรรมและเทศกาล เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างเฟสติวัล Edu-tainment ในบ่ายวันหนึ่งที่เราได้ยินข่าวว่าฤดูฝุ่นของเชียงใหม่กลับมารุนแรงอีกครั้ง ก่อนจะจบบทสนทนาด้วยความหวังเต็มเปี่ยมหัวใจว่าในปีต่อไปเราจะได้ยินข่าวดีบ้าง ทุกอย่างเริ่มจากการตระหนักรู้ว่าโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราได้เรียนรู้เช่นนั้น โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เพราะเคยทำงานให้ UN และติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกมาตลอด […]

‘สรรพสิ่งล้วนถูกกัดเซาะไปตามคลื่นลม’ สำรวจกรอบและเขตแดนที่กางกั้นใน Solids by the Seashore

ปกติแล้วหนังที่มีประเด็นใหญ่ๆ ชัดๆ มักจะนำเสนอเรื่องราวโดยให้ตัวละครชี้ไปยังปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ชมเห็นสถานการณ์เหล่านั้นอย่างชัดเจน ก่อนจะพยายามนำพาให้ตัวละครชักจูงผู้ชมไปหาหนทางต่อสู้แก้ปมปัญหานั้นๆ ทว่าสำหรับภาพยนตร์ ‘Solids by the Seashore’ หรือ ‘ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ ผลงานกำกับของ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ ที่ก็ดูเป็นหนังไทยที่เต็มไปด้วยหัวข้อประเด็นใหญ่ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกำแพงกันคลื่นของรัฐ ความแตกต่างทางศาสนาไทยพุทธและมุสลิม และความสัมพันธ์ของหญิงสาวทั้งสอง ซึ่งแตะทั้งมิติการเมือง ศาสนา เพศสภาพ ที่เป็นเรื่องอ่อนไหว เล่าด้วยน้ำเสียงที่เป็นกลางค่อนข้างยาก และยากที่จะจับประเด็นทั้งหมดมาเล่าพร้อมกันให้ออกมากลมกล่อม กลับไม่ได้พยายามตะโกนป้อนข้อมูลเหล่านี้ให้แก่ผู้ชมเลยสักนิด ทั้งที่ประเด็นต่างๆ ทับซ้อนเกาะเกี่ยวกันมากมาย แต่การเล่าเรื่องก็เป็นไปดั่งชื่อ ‘ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ หนังเพียงแค่ทำหน้าที่พาผู้ชมไปจับจ้องคลื่นลมทะเล หาดทราย ภูมิลำเนาของจังหวัดสงขลาผ่านตัวละครทั้งสอง จนไม่แปลกใจที่หลายคนจะรู้สึกว่าเป็นหนังส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด เนื่องจากฉายภาพวิวทิวทัศน์ความสวยงามของหาดทราย สถานที่ต่างๆ ในจังหวัด มากกว่าการถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่นั่นแหละ การค่อยๆ จับจ้องความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งจากธรรมชาติที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปอยู่แล้ว สิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยจุดประสงค์บางอย่าง รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อแบบเก่า และความคิดแบบใหม่ที่ค่อยๆ ผ่านเข้ามา ก็เป็นวิธีการบอกเล่าที่เรียบง่ายและทำให้คนเห็นปัญหาต่างๆ ได้ชัดเจนเช่นกัน สิ่งปลูกสร้างของภาครัฐที่ยับยั้งความเป็นไปของธรรมชาติ […]

สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวชุมชนแห่งแดนสตูล 

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่คนไทยให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นการเดินทางที่ไม่ได้ให้แค่ความสนุกหรือการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว แต่ยังเป็นการพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมความยั่งยืนให้กับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย ถึงอย่างนั้นความท้าทายสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้คือการออกแบบพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนทุกคนล่องใต้ไปที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี (SCG Foundation) เพื่อสัมผัสอีกหนึ่งเมืองรองของไทยที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชุมชนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้ยังเกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด จนหลายๆ คนกลายเป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน ‘ต้นกล้าเป็ด’ จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่นักจัดการท่องเที่ยวชุมชน ความพิเศษของการเดินทางครั้งนี้คือ เรามีไกด์ท้องถิ่นที่พาไปสัมผัสธรรมชาติและวัฒนธรรมของสตูลตามแบบฉบับคนท้องถิ่น นั่นคือ ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตอนนี้หันมาทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มตัว โดยปัจจุบันเป็ดเป็นประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน มากไปกว่านั้น เป็ดยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ‘ต้นกล้าชุมชน’ จากโครงการ ‘Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด’ แนวคิดจากมูลนิธิเอสซีจีที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น เป็ดเล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นลูกหลานชาวประมงที่เกิดและโตในพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย บ้านหลอมปืน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เขาเริ่มทำงานชุมชนตามรอยพ่อในงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น […]

‘วนวน’ แพลตฟอร์มรวมร้านซ่อมใกล้บ้าน ที่อยากให้คนหันมาซ่อมและใช้ของที่มีอยู่วนไป

เวลามีเสื้อผ้าชำรุด ซื้อชุดมาแล้วเอวใหญ่กว่าที่คิด ขายาวกว่าที่คาด ทุกคนจัดการกับปัญหานี้ยังไงบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงคิดถึงช่างซ่อมริมทางหรือร้านรับซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ที่เดินผ่านก็บ่อย คิดอยากใช้บริการอยู่หลายครั้ง แต่พอโอกาสมาถึงก็เกิดกลัวขึ้นมาว่าจะซ่อมได้ไม่ถูกใจ หรือแม้แต่เริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเข้าไปใช้บริการยังไงดี สุดท้ายกลายเป็นว่าต้องเก็บเสื้อผ้ารอซ่อมเหล่านั้นเข้าตู้ไปเหมือนเดิม เราอยากแนะนำคนที่มีปัญหานี้ให้รู้จักกับ ‘วนวน’ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวมข้อมูลความถนัดของร้านซ่อมน้อยใหญ่ พร้อมพิกัดที่อยู่และรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการซ่อม และกลุ่มคนที่ทำวนวนขึ้นมาไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ตามไปพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’, ‘พั้นช์-พิมพ์นารา สินทวีวงศ์’, ‘หวาย-ณ.ดี กังวลกิจ’ และ ‘วาดเขียน ภาพย์ธิติ’ ตัวแทนทีมงานผู้พัฒนาวนวนขึ้นมา ถึงความตั้งใจที่อยากทำให้การซ่อมเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนจะคิดถึง และมีวนวนเป็นหนึ่งหนทางช่วยสนับสนุนช่างเย็บกลุ่มเปราะบางทั้งในและนอกพื้นที่เมืองหลวง “แม้กระทั่งคนในทีมเองยังรู้สึกเลยว่าการซ่อมเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก ถ้ามีเสื้อผ้าชำรุดสักตัว คนอาจจะเลือกซื้อใหม่เลยง่ายกว่า เพราะหลายครั้งเราอาจลืมนึกถึงร้านซ่อมใกล้ตัว ไม่รู้ข้อมูลว่าเขามีบริการซ่อมอะไรบ้าง เราเลยอยากทำแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้บริโภคกับช่างซ่อมขึ้นมา รวบรวมร้านซ่อมที่อยู่ในซอกซอยมาไว้ในแพลตฟอร์มเพื่อให้คนรู้สึกว่าการซ่อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว”  หวายผู้เป็น Product Manager ของเว็บแอปพลิเคชันนี้บอกให้ฟังว่า ไอเดียของวนวนคล้ายกันกับสมุดหน้าเหลืองเล่มหนาที่เป็นตัวช่วยรวบรวมข้อมูลร้านค้าและบริการไว้ในเล่มเดียว คนที่สนใจสามารถกดหาร้านซ่อมในละแวกบ้านของตัวเอง พร้อมอ่านข้อมูลการบริการ เบอร์โทร ที่อยู่ วิธีการจ่ายเงิน หรือกระทั่งรีวิวจากผู้ใช้จริงได้ “วนวนไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อบอกว่ามีร้านซ่อมอยู่ใกล้ตัวเยอะแค่ไหน แต่มีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ณ โมเมนต์ที่คนต้องการจะซ่อม […]

จาก ‘เด็กหญิงดอกไม้’ ถึง ‘มาลัยพวงสุดท้าย’ การเดินทางของศิลปิน Behind The Smile

สวัสดีมิตรรักแฟนเพลงทุกท่าน กลับมาอีกครั้งกับคอลัมน์แกะเพลง วันนี้เป็นคิวของศิลปินจากหาดทรายรี จังหวัดชุมพร หากเอ่ยชื่อออกไปหลายคนคงคุ้นหูในบทเพลงของเขา และมีอีกมากที่อาจยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง ก่อนจะเอ่ยนาม เราขอหมุนเวลาย้อนไปเล่าเรื่องของเขาให้ฟังสักนิดพอให้ได้ทำความรู้จักกันสักหน่อย ตั้งแต่ช่วงประถมฯ จุดเริ่มต้นเส้นทางดนตรีของเขามาจากพี่ชายสองคน คนหนึ่งเป็นแนวเพื่อชีวิต ส่วนอีกคนเป็นสายเฮฟวี น้องคนสุดท้องอย่างเขาจึงมีกีตาร์เป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ได้ลองหัดและมีบทเพลงมากมายที่หลั่งไหลเข้ามาให้ได้ฟัง ต่อมาอาจารย์ที่สอนอยู่โรงเรียนแถวบ้านได้มองเห็นแววดนตรีของเขา จึงเปิดประตูสู่เส้นทางดนตรีให้ชายหนุ่ม หาเพลงแปลกใหม่ให้ฟัง พาไปดูเวทีประกวด แลกเปลี่ยนวิถีชีวิตศิลปิน และชวนไปเรียนต่อในระดับมัธยมฯ ทำให้เขาได้กลายเป็นนักดนตรีประจำวงดุริยางค์และวงสตริงของโรงเรียนในตำแหน่ง ‘มือกลอง’ “บ้านอยู่หัวกรู๊ดด ชอบฟังยูสสเอฟเอ็ม ชอบฟังดีเจจุ๊บบแจง เก้าสิบสองจู๊ดดเจ็ดห้า ที่ยูสสเอฟเอ็ม” สิ้นสุดช่วงวัยเรียน ดนตรีทำให้เขาได้ทำสิ่งที่ชอบ ได้รับรางวัล และยังทำให้ได้งานที่คลื่นวิทยุแห่งหนึ่งในตัวเมืองหัวหิน ซึ่งจิงเกิลคือหนึ่งในผลงานที่ทำให้รายการวิทยุ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการแต่งเพลงของเขา เขาทำงานที่คลื่นวิทยุเป็นเวลา 10 ปี บางครั้งที่ดีเจไม่ว่างก็ต้องรับหน้าที่แทน ทำให้มีโอกาสสัมภาษณ์ศิลปินชื่อดังในยุคนั้น เขาเริ่มได้ยินเสียงตัวเองมากขึ้น ได้ใช้ไมค์ ได้ทำสปอตโฆษณา คุ้นเคยกับการอ่านข้อมูลหลายๆ หน้าและย่อความให้เหลือเป็นสคริปต์พูด 30 วินาที ฯลฯ ในเวลาเดียวกันนั้นเขาเริ่มเล่นดนตรีกลางคืน จากมือกลองวงโรงเรียนก้าวไปเล่นดนตรีหลายแนวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพลงร็อก เร็กเก้ สการ์ โซล ฟังกี้ แจ๊ส ฯลฯ และการเดินทางของเวลาก็นำพามาให้พบกับเหล่ามิตรสหายนักเรียนดนตรีจากกรุงเทพฯ […]

Sustainable Tourism Goals เปลี่ยนการท่องเที่ยวไทยให้สนุกและยั่งยืน กับแคมเปญ ‘STGs เที่ยว 4 ดี’

การท่องเที่ยวของคนยุคนี้ไม่ได้นึกถึงแค่ความสนุกและความสวยงามของจุดหมายปลายทางเหมือนแต่ก่อนแล้ว เพราะการพักผ่อนหย่อนใจที่ได้มาต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อโลกของเราด้วย ข้อมูลจาก World Travel & Tourism Council ปี 2023 เปิดเผยว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ช่วยยืนยันว่า ‘การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ (Sustainable Tourism) ได้กลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ การรณรงค์การท่องเที่ยวที่แคร์สิ่งแวดล้อมจึงถือเป็นความท้าทายที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อพาประเทศไทยก้าวสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอันดับต้นๆ ของโลกให้ได้ นี่คือเหตุผลที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดเป้าหมายที่จะยกระดับและสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ‘Sustainable Tourism Goals: STGs’ และจัดทำโครงการ ‘STGs เที่ยว 4 ดี ดีต่อโลก ดีต่อเรา’ ขึ้นมา แคมเปญนี้จะช่วยสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร คอลัมน์ Green Insight ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนด้วยแนวคิด STGs การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษให้กับโลกของเราไม่น้อย เพราะมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ราว 8 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากทั่วโลก โดยปริมาณหลักๆ มาจากการเดินทาง การบริโภคสินค้าและบริการ ซึ่งรวมถึงอาหารและที่พัก เพื่อทำให้ประเทศไทยพร้อมเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน […]

8 วิธีที่ทำให้การอยู่อาศัยในคอนโดฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน

คนเมืองยุคนี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น เนื่องจากทำเลตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตอบโจทย์การเดินทาง สะดวกสบาย ดูแลง่าย และมีราคาที่จับต้องได้มากกว่าการซื้อบ้านเป็นหลัง แต่พอเป็นคอนโดฯ ที่มีพื้นที่จำกัด ก็อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยทำอะไรกับพื้นที่ห้องไม่ได้มากนัก ไม่เหมือนกับบ้านที่เราอาจตกแต่ง ปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมส่วนสีเขียว เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัยมีชีวิตชีวา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงอย่างนั้น การอยู่อาศัยในคอนโดฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะกรีนไม่ได้ เพราะยังมีอีกหลายวิธีให้เราปรับเปลี่ยนหรือเสริมนิดๆ หน่อยๆ เพื่อทำให้ห้องเล็กๆ ของเราดีต่อใจ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนหลอดไฟเป็นไฟ LED ไฟ LED มีข้อดีกว่าหลอดไส้ทั่วไป เนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่ามากสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ อายุการใช้งานทนทานถึง 20 ปี มีขนาดเล็กและสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย จึงเหมาะกับการเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายๆ ในคอนโดฯ ของเรา ตกแต่งคอนโดฯ ด้วยวัสดุเหลือใช้ ทุกคนน่าจะเคยได้รับของตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย หรือมีเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้ใช้หรือไม่อินแล้ววางอยู่ แต่ไม่รู้จะทำยังไง แทนที่จะใช้เฟอร์นิเจอร์และสิ่งของประดับที่ซื้อใหม่มาตกแต่งบ้าน ลองเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นแทน หรือถ้าไม่สปาร์กจอย จะลองทาสีตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูสนุกสนานและใหม่ขึ้น เพื่อช่วยลดของเสียที่จะถูกทิ้งในกองขยะ และยังเป็นการเพิ่มอายุการเก็บรักษาของวัสดุเหล่านี้ อีกทั้งการใช้ของเก่ามาตกแต่งจะช่วยเพิ่มกลิ่นอายการตกแต่งที่น่าสนใจให้ห้องหับของเราได้ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ แน่นอนว่าพฤติกรรมรักโลกที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้านที่คนนึกถึงเป็นอย่างแรกๆ คือ การกินอาหารออร์แกนิก […]

Sustrends 2024 เสวนา 50 เทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนโลกจากทุกหน่วยงานด้านความยั่งยืน

ทิศทางเรื่องความยั่งยืนในอนาคตมีอะไรบ้าง และเราจะขับเคลื่อนทุกองคาพยพให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร งาน Sustrends 2024 รวบรวมคำตอบไว้หมดแล้ว วันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมาคือครั้งแรกของการจัดงาน Sustrends 2024 เวทีสัมมนาความยั่งยืนแนวใหม่ที่รวบรวม 50 เทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนโลกจาก 20 วิทยากรตัวจริงของทุกหน่วยงานด้านความยั่งยืน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และหน่วยงานไม่แสวงหากำไรบนเวทีเดียวกัน เพื่อส่งต่อองค์ความรู้และเทรนด์ต่างๆ หวังชวนทุกคนออกเดินทางหาสมดุลให้กับตัวเองและโลกใบนี้ โดยตัวอย่างวิทยากรที่ร่วมเวทีนี้ ได้แก่ ‘เรอโน เมแยร์’ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กับหัวข้อบทบาทของ UNDP ในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากภาพรวมของโลกสู่การทำงานในประเทศไทย โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมย้ำถึงการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมสามารถมีส่วนร่วมเพื่อทำให้เกิดขึ้นจริงได้ ‘ผศ.ชล บุนนาค’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับหัวข้อการบรรยายเปิดเหตุผลของการปรับปัญหาความยั่งยืนจาก 17 เป้าหมายของ SDGs ให้กลายเป็น 6 กลุ่มปัญหา ได้แก่ คุณภาพชีวิตและศักยภาพของมนุษย์, ทรัพยากรร่วมทางธรรมชาติของโลก, เศรษฐกิจที่เป็นธรรมและยั่งยืน, ระบบอาหารที่ยั่งยืนและโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ, การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและการเข้าถึงถ้วนหน้า […]

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.