Park-PFI โปรเจกต์ดิ้นรนหาสเปซสีเขียวของญี่ปุ่น เกาะพื้นที่ไม่มากแต่ประชากรหนาแน่นมาก

รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว

เมื่อมังงะ ดวงรายเดือน พระ ทำให้รั้วไซต์ก่อสร้างเป็นมากกว่าที่กั้นและเซฟแบบคาวาอี้

นักท่องเที่ยวสายเสพงานศิลป์ เวลามาญี่ปุ่นน่าจะพุ่งไปงานนิทรรศการกรุบกริบต่างๆ ตามมิวเซียมเก๋อย่าง Mori Art Museum หรือ 21_21 DESIGN SIGHT จริงๆ แล้วถ้าสังเกตให้ดี ในเมืองแอบมีงานศิลปะน้อยใหญ่ซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ มากมาย และจุดที่คนน่าจะมองข้ามกันมากที่สุดคือ ‘ไซต์ก่อสร้าง’ ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นมาหลายปี ไม่มีวันไหนที่ออกจากบ้านแล้วไม่เจอการก่อสร้าง ภาพที่เห็นจนชินตามาพร้อมกับความชื่นชมเรื่องความสะอาด ความเงียบ และความเอาใจใส่ชุมชนรอบๆ เช่น มีการใช้แผ่นชีตเก็บเสียง เครื่องเก็บฝุ่น และล้างล้อรถที่ใช้ในการก่อสร้างทุกครั้ง เพื่อกันไม่ให้ความสกปรกหลุดออกมาภายนอก และมีพี่ รปภ. คอยโบกอำนวยความสะดวกให้ผู้สัญจร และในช่วงหลายปีมานี้ ไซต์ก่อสร้างพัฒนาความกรุบกริบด้วยการเติมความคาวาอี้ในหลายจุด จนต้องหยุดเดินหันมาถ่ายรูป ความเก๋ที่ว่านั้นมีหลากหลาย เช่น ผ้าใบลายเดียวกับสิ่งที่กำลังสร้าง รั้วกั้นเขตลายการ์ตูน (คนไทยน่าจะเคยเห็น AKIRA, ART OF WALL รั้วก่อสร้างลาย Akira ที่ชิบุยะ ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จก็จัดนิทรรศการแสดงผลงานเหล่านั้นต่อ แล้วเอารั้วก่อสร้างมาทำของเล่นขายด้วย) ผนังรั้วก่อสร้างผลงานออกแบบของศิลปิน รวมไปถึงกรวยเรืองแสง ไฟกะพริบลายดอกซากุระ บางครั้งเลยเถิดถึงขั้นเอาดวงรายเดือนตามราศีมาให้อ่านที่กำแพงด้วย แม้แต่ไซต์ก่อสร้างก็ยังคาวาอี้ ความเวรี่เจแปนนีสนี้มีที่มาอย่างไร ไปสำรวจที่มาความน่ารักเหล่านั้นกัน Animal Guard […]

‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการที่ชวนตั้งคำถามถึงการพัฒนาสามย่านที่สวนทางกับชุมชน

ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมือง อย่างเช่น ‘ชุมชนสามย่าน’ บริเวณถนนพระราม 4 การพัฒนาทำให้พื้นที่บริเวณสามย่านมีค่าเช่าสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนแบกรับไม่ได้ ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มากว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนประสบการณ์และความทรงจำที่มีกับชุมชนในสามย่านซึ่งพยายามปรับตัวให้ทันระบบทุนนิยมและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ‘ทำไมเราถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ ในงานนิทรรศการแสร้งเสมือนจริง ‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวให้ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการผ่านกระบวนการดิจิทัล คล้ายๆ การเล่นเกมที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงจริงๆ สอดแทรกอยู่  นับเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศิลปินกับศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) เจ้าของพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ในสามย่าน  นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมในเว็บไซต์ faamai.wpcomstaging.com/home/ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน นี้

“หลาดเก่า” ตะกั่วป่า เงียบงันแต่ไม่เงียบเหงา

“หลาดเก่า” (ตลาดเก่า) หรือเมืองเก่าตะกั่วป่า คือชุมชนเก่าแก่ของอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เดิมที่นั่นคึกคักด้วยผู้คน แต่เมื่อโควิด-19 มาเยือนกลับเหงาลงถนัดตา แม้หลายสิ่งที่เคยเคลื่อนไหวค่อยๆ หยุดลง หากแต่การดำเนินชีวิตของชาวตะกั่วป่าก็ยังคงดำเนินไปอยู่ทุกวัน  เด็กตะกั่วป่าอย่างเราจึงขอชวนทุกคนมาสัมผัสหลาดเก่าผ่านภาพถ่าย ที่แม้จะเงียบงันไปเสียหน่อย แต่ก็ไม่เงียบเหงาซะทีเดียว ด้วยความตื่นเต้นที่จะไปเดินหลาดเก่า เราเลยตื่นเช้าเป็นพิเศษ เพราะกลัวจะพลาดเจอผู้คนที่ออกมาหาอะไรกินตอนเช้า เราฝากท้องที่ ‘ร้านโกปี๊’ ในตรอกเล็กๆ มีเพียงคุณลุงท่านหนึ่งนั่งดื่มโกปี๊อยู่เพียงลำพัง กับคุณป้าเจ้าของร้านที่กำลังเตรียมของอยู่ในร้าน มองแล้วชวนนึกถึงวันวาน ในทุกๆ เช้าจะมีแต่ความคึกคัก เสียงทักทายผู้คนที่ผ่านไปมาและเสียงพูดคุยของเหล่าคอกาแฟวัยเก๋า เมื่อเสร็จจากมื้อเช้า ถึงเวลาออกเดินเก็บภาพ ซึ่งตรงข้ามร้านโกปี๊เป็นที่ตั้งของ ‘ศาลเจ้าพ่อกวนอู ซิ่นใช่ตึ๋ง’ หรือที่คนในชุมชนเรียกกันว่า “อ๊ามใต้” ส่วนใหญ่คนหลาดเก่านั้นเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่นี่เลยเป็นอีกสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในละแวกนี้ ซึ่งจะคึกคักมากในช่วงเทศกาลกินเจ ก่อนจะไปต่อ บังเอิญหันไปเห็นน้องๆ นักเรียนกำลังเดินเรียงแถวหิ้วดอกไม้และปิ่นโตไปทำบุญที่วัด ทำให้นึกถึงสมัยประถมฯ ที่เราต้องเข้าค่ายอบรมจริยธรรม เดินไปเรื่อยๆ บนถนนศรีตะกั่วป่า ถนนสายหลักที่รายล้อมด้วยบ้านเรือนมีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งก่อนนี้คึกคักไปด้วยผู้คน แต่ตอนนี้กลับเบาบางลงถนัดตา จากที่เคยเห็นผู้คนนั่งอยู่หน้าบ้าน พร้อมกับทักทายคนไปมาหาสู่กันได้ง่าย แต่วันนี้หน้าบ้านส่วนใหญ่เหลือเพียงม้านั่งที่ว่างเปล่า มีแต่ภาพวาด เด็กจริงๆ กลับไม่เห็น ท่ามกลางความเงียบเหงาที่ไม่ค่อยจะชินตาสักเท่าไร คงมีแต่บรรดาร้านรวงต่างๆ ซึ่งยังคงเปิดรอคอยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยสินค้ากันตามปกติ […]

เมื่อชาวสถาปนิกชวนชุมชนมาร่วมสร้าง ‘ลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน’ พื้นที่ในฝันที่ทุกคนเป็นผู้ออกแบบ

การจะประกอบสร้างสังคมให้น่าอยู่นั้น สิ่งสำคัญคือต้องวางรากฐานให้ ‘คนและชุมชน’ มีความมั่นคงและแข็งแรง ผ่านการพัฒนาชุมชน และกระบวนการส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น โดยคนในชุมชนเป็นผู้ริเริ่มหรือให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน

FYI

มารู้จักองค์กรลับ ‘เซ็นทรัล ทำ’ โครงการเพื่อสังคมที่เน้น ‘ทำ’ มากกว่าพูด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นผลพวงมาจากระบบทุนนิยม ซึ่งสร้างช่องว่างของรายได้ที่แตกต่างกันมาก ระหว่างคนรวยที่รวยเอา ส่วนคนจนก็จนลงและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติที่เรานำมาใช้ก็ร่อยหรอลงไปทุกที รวมไปถึงกระบวนการผลิตที่สร้างมลพิษมาทำร้ายโลกมากขึ้นทุกวัน

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.