ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมือง อย่างเช่น ‘ชุมชนสามย่าน’ บริเวณถนนพระราม 4 การพัฒนาทำให้พื้นที่บริเวณสามย่านมีค่าเช่าสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนแบกรับไม่ได้
ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มากว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนประสบการณ์และความทรงจำที่มีกับชุมชนในสามย่านซึ่งพยายามปรับตัวให้ทันระบบทุนนิยมและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ‘ทำไมเราถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ ในงานนิทรรศการแสร้งเสมือนจริง ‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’
นิทรรศการนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวให้ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการผ่านกระบวนการดิจิทัล คล้ายๆ การเล่นเกมที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงจริงๆ สอดแทรกอยู่
นับเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศิลปินกับศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) เจ้าของพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ในสามย่าน
นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมในเว็บไซต์ faamai.wpcomstaging.com/home/ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน นี้
RELATED POSTS
‘สามย่านมิตรทาวน์’ 5 ปีของการเป็นพื้นที่แห่งความเป็นมิตรของคนเมือง และพร้อมเติบโตคู่ชุมชนสามย่าน
เรื่อง
Urban Creature
การพัฒนาของเมืองไม่มีวันหยุดนิ่ง เพราะทุกๆ ส่วนของเมืองมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นย่านเก่าหรือย่านใหม่ ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปในสักวัน เพียงแต่การพัฒนาโครงการต่างๆ นั้นจะทำอย่างไรให้ตัวพื้นที่ยังคงอยู่คู่กับประวัติศาสตร์พื้นที่ต่อไปได้พร้อมๆ กับการเข้ามาของสิ่งอำนวยความสะดวกรูปแบบใหม่ๆ เหมือนที่ ‘Frasers Property’ ออกแบบโครงการที่มาเติมเต็มย่านสามย่านให้สมบูรณ์แบบ โดยที่ยังไม่ทิ้งความเป็น ‘สามย่าน’ ไป ‘สามย่านมิตรทาวน์’ คือ Mixed-use ที่เต็มไปด้วยความพร้อมในการให้บริการหลากหลายรูปแบบ จัดสรรให้ครบทุกความสะดวกสบายที่ชาวเมืองต้องการ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นสามย่านในอดีตเอาไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของโครงการแห่งนี้ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา สามย่านมิตรทาวน์ได้มอบประสบการณ์มากมายให้กับผู้คนที่เข้าไปใช้บริการ คอลัมน์ Re-desire ขอพาทุกคนย้อนกลับไปดูจุดตั้งต้นของโครงการมิกซ์ยูสแห่งนี้ ที่ทำให้ที่นี่เป็นเมืองแห่งมิตรที่เติบโตมาในย่านเก่าแก่ แต่ยังคงความเป็นสามย่านเอาไว้ได้ สามย่าน ย่านเก่าที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและความคึกคัก หากพูดถึงสามย่าน นอกจากความเป็นย่านเก่าแล้ว เรายังนึกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบของชุมชนที่เต็มไปด้วยความคึกคักจาก ‘ตลาดสามย่าน’ ตลาดใหญ่ที่เชื้อเชิญให้เหล่าพ่อบ้านแม่บ้านมาเลือกซื้อสินค้าทั้งอาหารสดและอาหารแห้ง รวมถึงผู้คนที่ตบเท้ากันมาอุดหนุนร้านอาหารภายในตลาด เพราะเมื่อตลาดสดปิด ตลาดอาหารก็จะเปิด ทำให้พื้นที่แห่งนี้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นการสร้างจุดเด่นและสีสันให้กับตลาดสามย่านได้เป็นอย่างดี ในพื้นที่นี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตลาดที่ทำให้ย่านมีผู้คนเดินกันขวักไขว่เท่านั้น แต่ยังแวดล้อมไปด้วยภัตตาคารชื่อดัง โรงภาพยนตร์ โรงเรียน ธนาคาร คาเฟ่ และอีกหลายสถานที่ที่อยู่กับสามย่านมาอย่างยาวนาน ด้วยความที่การเดินทางสะดวกสบาย ก็ยิ่งตอกย้ำความคึกคักของสามย่านที่เปิดรับผู้คนจากทั่วทุกพื้นที่ให้เข้ามาใช้บริการต่างๆ ภายในย่าน และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ภายในย่านมีการพัฒนาพื้นที่ให้ทันสมัยมากขึ้น […]
‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ จากแหล่งกระจายเครื่องเทศสู่แหล่งท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมอาหาร
เรื่อง
Urban Creature
นอกจากพลอยและผลไม้ที่เป็นของขึ้นชื่อจังหวัด ‘จันทบุรี’ แล้ว ‘อาหาร’ ก็เป็นอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งมีความโดดเด่นทั้งตัววัตถุดิบและการปรุง จนทำให้หลายคนติดใจในรสชาติ อยากแวะกลับมาอีกครั้ง มีหลายแหล่งไม่น้อยที่เชื่อว่าจุดเริ่มต้นอาหารของชาวจันทบุรีมาจาก ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์พื้นที่และประวัติศาสตร์อาหาร โดยในอดีตเคยเป็นแหล่งซื้อขายและกระจายเครื่องเทศที่สำคัญ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่รุ่มรวย ทำให้สร้างสรรค์เมนูอาหารที่หลากหลายได้ ซึ่งในปัจจุบันชุมชนก็ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองจันทบุรี คอลัมน์ Neighboroot ครั้งนี้ขอพาไปเดินท่องชุมชนริมน้ำจันทบูร โดยมี ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เป็นคนนำทางไปชมวิถีชีวิตในชุมชนริมน้ำจันทบูร พร้อมเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจในพื้นที่นี้ให้ฟัง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ชุมชนเก่าแก่ แหล่งกระจายเครื่องเทศของจันทบุรี จันทบุรีอาจเป็นจังหวัดที่ไม่ได้มีแหล่งท่องเที่ยวมากเท่าไรนัก แต่เพราะว่าเป็นจังหวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง จึงมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจซ่อนตัวอยู่ รอให้เราเข้าไปค้นหา โดยเรื่องราวเหล่านั้นเริ่มต้นพร้อมกับชุมชนเก่าแก่ที่มีมานานกว่า 300 ปีอย่าง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ที่ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ไม่ใช่แค่อยู่มานาน แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ อย่างในจันทบุรี “ถนนที่เรากำลังเดินอยู่นี้เป็นถนนเส้นแรกของจังหวัด เมื่อก่อนชื่อถนนเลียบนที จนมาถึงรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนชื่อเป็นสุขาภิบาล” พี่หมูพาเราเดินชมชุมชนริมน้ำตลอดระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร พร้อมเล่าถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ กับการเป็นศูนย์กลางการค้า เป็นทำเลที่เหมาะสม สะดวกสบายต่อการเดินทาง เนื่องจากอยู่ติดริมแม่น้ำซึ่งเป็นเส้นทางการคมนาคมของคนสมัยก่อน ทำให้มีทั้งคนไทย คนจีน […]
ฟื้นตลาดเก่าเศร้าซึมให้สดใสภายใต้โครงการสังกะสีสตรีทอาร์ท โดยความร่วมมือของชาวบ้านและศิลปินจากชุมชนตลาดเก่าแม่กลอง
เรื่อง
Urban Creature
หากใครได้ไปเยือน ‘ตลาดเก่าแม่กลอง’ หรือ ‘ตลาดเก่าริมน้ำเพชรสมุทรฯ’ ชุมชนย่านการค้าบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม จะเห็นแผ่นสังกะสีสีเขียวล้อมรอบพื้นที่ตลาดเก่าบางส่วน ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารจอดรถ 5 ชั้น ทำให้พื้นที่ตรงนั้นดูรกร้างและไม่ปลอดภัย ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้ตลาดเก่าแม่กลองดูเงียบเหงาจนพ่อค้าแม่ค้ารู้สึกเศร้าซึมตามไปด้วย ‘มานะชัย ทองยัง’ ทันตแพทย์ที่เติบโตมาในชุมชนแม่กลองที่เห็นปัญหาดังกล่าว จึงหาวิธีปรับปรุงทัศนียภาพของพื้นที่โดยใช้ศิลปะผลักดันการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการ ‘สังกะสีสตรีทอาร์ท’ ที่รับสมัครนักศิลปะอาสามาแต่งแต้มสีสันให้สังกะสีที่ล้อมรอบไซต์ก่อสร้างในพื้นที่ตลาดเก่าแม่กลอง “เราเคยมีโอกาสทำงานอีเวนต์กับเยาวชนร่วมกับองค์กรในจังหวัดอยู่บ้าง และเห็นการใช้ศิลปะในการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น การออกแบบมาสคอตปาป้า-ทูทู่ การจัดกิจกรรมภาพถ่ายและจัดแสดง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี จึงลองหยิบศิลปะมาช่วยแก้ปัญหาและคลายข้อกังวลของชาวบ้าน” มานะชัยกล่าวถึงจุดเริ่มต้นโครงการของเขา กิจกรรมสังกะสีสตรีทอาร์ทเริ่มด้วยการให้ศิลปินที่เคยร่วมกิจกรรมภาพวาดและงานศิลปะอื่นๆ มาพูดคุยกับคนในชุมชนว่า อยากให้อัตลักษณ์ของชุมชนถูกสื่อสารออกมาเป็นภาพแบบไหน และหวังว่างานศิลปะบนสังกะสีเหล่านี้จะกลายเป็นจุดเช็กพอยต์ของนักท่องเที่ยวตลอดช่วงเวลาที่มีการก่อสร้าง มานะชัยเล่าว่า ชาวบ้านหลายคนรู้สึกสนุกและตื่นเต้นที่จะได้ร่วมพัฒนาพื้นที่กับศิลปิน อีกทั้งยังพร้อมสนับสนุนโครงการเต็มที่ เช่น การสนับสนุนอาหาร โดยบางส่วนก็มาร่วมลงแรงทาสีด้วย “อยากให้โครงการนี้สะท้อนให้เห็นคุณค่าของงานสร้างสรรค์กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยต้องมีคนในชุมชนเป็นตัวหลักในการดำเนินการ ไม่ใช่การคิดแทนและดำเนินการโดยส่วนกลางอย่างเดียว” เขาเล่า ทั้งนี้ สังกะสีสตรีทอาร์ทได้ผ่านกระบวนการพูดคุยระหว่างศิลปินและชาวบ้านเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างรอดำเนินการลงพื้นที่ระบายสีสังกะสี แต่เพื่อความปลอดภัยของศิลปินและคนในชุมชน ทางผู้รับเหมาโครงการอาคารจอดรถได้ขอชะลอโครงการให้เริ่มขึ้นหลังลงเสาเข็มอาคารก่อน ติดตามความคืบหน้าโครงการหรือสนับสนุนสีและอุปกรณ์ทาสีได้ที่ Facebook : Manachai Na
ชมภาพถ่าย ตามเรื่องเล่า ย่านเก่าพิษณุโลก กับนิทรรศการ ‘เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ’ วันนี้ – 18 ส.ค. ที่ย่านตลาดใต้
เรื่อง
Urban Creature
‘ตลาดใต้-ประตูมอญ’ คือย่านค้าขายเก่าแก่ที่อยู่คู่จังหวัดพิษณุโลกมานมนาน นอกจากจะเปี่ยมด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาหารรสโอชา สถาปัตยกรรมทรงคุณค่า และผู้คนที่โอบอ้อมอารี ย่านนี้ยังอัดแน่นด้วยประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตอันมีเสน่ห์ ที่รอคอยให้ทุกคนได้มาสัมผัส ถ้าใครอยากรู้จักย่านตลาดใต้-ประตูมอญมากขึ้น คงไม่มีโอกาสไหนดีกว่าการได้ไปนิทรรศการภาพถ่าย ‘เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ’ ในตอนนี้อีกแล้ว นิทรรศการภาพถ่าย เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับเทศบาลนครพิษณุโลก ชุมชนพุทธบูชา ชุมชนพญาเสือ และนักสร้างสรรค์ในและนอกพื้นที่ งานนี้เกิดจากเวิร์กช็อปสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่ได้คนในชุมชนและศิลปินภายนอกมาเรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นนิทรรศการที่เสนอเอกลักษณ์ของย่านในรูปแบบ ‘คนในอยากบอก คนนอกอยากเล่า’ แสดงภาพถ่ายที่สะท้อนมุมมองจากคนในชุมชนเองและคนนอกชุมชน ทำให้คนที่มาแวะชมได้ชื่นชมเรื่องราวของย่านอย่างรอบด้าน ค้นพบความงามและเสน่ห์ของย่านตลาดใต้-ประตูมอญไปด้วยกันที่นิทรรศการภาพถ่าย ‘เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ’ นิทรรศการจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ – 18 สิงหาคม 2567 ที่ถนนสุรสีห์ ย่านตลาดใต้ ในสี่พื้นที่ด้วยกันคือ อาคารบ้านก๋ง (โอฬาร ลานสร้างสรรค์), หน้าโรงงิ้ว ศาลเจ้าปุนเถ้ากง, Treat Tea House และชั้น 2 Finally Coffee Co. […]