เดี๋ยวนี้จะไปที่ไหนก็ต้อง “กด กด ล้าง” เพื่อความปลอดภัยของเราและคนรอบข้าง
และเมื่อไปที่ศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนา เราก็จะเห็นมีการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือแบบออร์แกนิกจากแบรนด์ Patom Organic Living ผู้ริเริ่มโครงการสามพรานโมเดล และเป็นผู้นำด้านเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มนำร่องแล้ววันนี้ ที่ เซ็นทรัล ศรีราชา และ เซ็นทรัล อยุธยา และ เตรียมขยายต่อยอดให้ได้ 13 สาขาทั่วประเทศ
ไม่รอช้า เราจึงหาโอกาสเข้าพูดคุยกับ ‘คุณเลิศวิทย์ ภูมิพิทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริการทรัพย์สิน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)’ “เมื่อเราคิดถึงลูกค้า คิดถึงชุมชน คิดถึงสิ่งแวดล้อม เราจึงเลือกสิ่งนี้ออกมา” ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ช่วยให้ดิน น้ำ อากาศปลอดภัย ชุมชนเกษตรก็มีรายได้ เมื่อเห็นว่ามีรายได้ เขาก็จะผลิตแต่สิ่งดีๆ ออกมามากขึ้น และลูกค้าที่มาใช้บริการศูนย์การค้าก็ยังได้ใช้ผลิตภัณฑ์ดีๆ ให้กับตัวเอง
ความคิดถึงชุมชน สิ่งแวดล้อม และตัวเราที่ว่าของเซ็นทรัลพัฒนาเป็นอย่างไร ติดตามต่อในคลิปนี้เลย!
#CPN #Patom #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #FYI
RELATED POSTS
‘Loopme’ เทคโนโลยีจากกลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์กรุ๊ป ที่นำเศษฝ้ายจากการผลิตมารีไซเคิล ช่วยลดขยะ ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
เรื่อง
Urban Creature
การผลิตเส้นด้ายแต่ละครั้ง นอกจากจะได้วัตถุดิบหลักนำไปถักทอเสื้อผ้าแล้ว ระหว่างทางยังเกิดขยะจากเศษด้ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งขยะที่ได้มานั้นสามารถนำไปสร้างมูลค่า รวมถึงนำกลับไปทำเสื้อผ้าได้อีกครั้งจากการรีไซเคิล ผ่านกระบวนการย้อนกลับจากการนำเศษด้ายมาเปลี่ยนให้เป็นเส้นใยฝ้ายแทน ทีม Urban Creature ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกระบวนการผลิตเส้นด้ายของ ‘กลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์’ และทำความรู้จักเทคโนโลยี ‘Loopme’ ที่เป็นการนำเศษผ้าฝ้ายที่เหลือจากกระบวนการผลิตมารีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ผลิตเป็นผ้าใหม่อีกครั้ง นับเป็นวิธีการลดขยะจากอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย เปลี่ยนขยะให้กลับมาเป็นเส้นใย Loopme เริ่มต้นจากโครงการที่ทางบริษัทสนับสนุนให้พนักงานสร้างสรรค์นวัตกรรมของตนเอง โดย ‘อี๋-พิชัย สุวรรณทอง’ Technical Center Division Manager ‘หนึ่ง-ภัคพงศ์ ท้าวเพชร’ Technical Center Department Manager และทีม Technical Center ได้ร่วมกันคิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาจากการเห็น Yarn Waste หรือเศษด้ายที่เกิดจากการผลิตเส้นด้าย ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า จะทำอย่างไรให้ของเหลือทิ้งเหล่านี้กลับมาเป็นเส้นใยฝ้ายเพื่อนำไปใช้ใหม่ได้ ในเส้นทางการผลิตเส้นด้าย วัตถุดิบที่ใช้คือฝ้ายดิบที่จะผ่านกระบวนการปั่นด้ายประมาณ 8 – 13 ขั้นตอน กว่าจะได้เป็นเส้นด้ายที่ส่งต่อไปยังกระบวนการทอผ้าต่อไป ซึ่งในกระบวนการทำเส้นด้ายที่มีความซับซ้อนแบบนี้ย่อมตามมาด้วยการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตอยู่แล้ว เหตุผลเพราะกว่าจะได้ด้ายแต่ละหลอดที่จะนำไปใช้งานจริงนั้น ต้องผ่านกระบวนการตัดต่อจากเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเส้นด้ายในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งหากเจอส่วนของเส้นด้ายที่ไม่ได้คุณภาพก็จะตัดส่วนเหล่านั้นออก เพื่อให้ได้เส้นด้ายคุณภาพดีที่สุด และแม้ว่าในการตัดทิ้งแต่ละครั้งจะได้เศษด้ายความยาวเพียงหนึ่งคืบ ทว่าเมื่อรวมกันก็ทำให้เกิดเป็นขยะปริมาณมหาศาล […]
ออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับผึ้งและผองเพื่อน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้ดีต่อผึ้งและดีต่อใจเรา
เรื่อง
พนิดา มีเดช
เวลาที่ไปสวนแล้วเห็นต้นไม้หรือดอกไม้สวยๆ เรารู้สึกอย่างไรบ้าง แล้วเคยสังเกตกันไหมว่า ในชีวิตประจำวันเราพบเห็นแมลงชนิดไหนบ้าง พบเห็นผึ้งหรือผีเสื้อบ้างไหม และเพื่อนตัวน้อยเหล่านั้นทำอะไรอยู่ ผึ้งเป็นเพื่อนตัวเล็กๆ ที่มีอิทธิพลมากต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและต้นไม้ ซึ่งให้อากาศบริสุทธิ์ น้ำสะอาด และอาหารที่เรากิน จากภาวะโลกเดือด ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้จำนวนประชากรผึ้งและแมลงผสมเกสรลดลง และการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวส่งผลให้ถิ่นที่อยู่ของแมลงและสัตว์ต่างๆ ลดน้อยลง ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวนและชนิดของแมลงก็ลดลงตามไปอีก อีกทั้งยังทำให้ความหลากหลายทางอาหารลดลงอีกเช่นกัน เป็นวงจรที่กำลังดำเนินไป และเรากำลังเผชิญกับผลกระทบเหล่านั้น จากคำกล่าวที่ว่า ‘ถ้าไม่มีผึ้งจะไม่มีเราอีกต่อไป’ ดูจะไม่ไกลเกินจริงซะแล้ว ในโอกาสวันผึ้งโลกที่เพิ่งผ่านพ้นไป และวันนี้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก คอลัมน์ Urban Sketch อยากชวนเพื่อนๆ มาดูกันว่า เราจะสามารถออกแบบเมืองและสิ่งแวดล้อมใกล้ๆ ตัวเราอย่างไร ให้เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนตัวน้อยนักผสมเกสรของเรา และยังสร้างความเพลิดเพลินใจให้เราด้วย มาเปิดใจให้เหล่าผองผึ้งและแมลงตัวนั้นตัวนี้ ให้เราได้รักรักมันทุกตัวกัน ปลูกดอกไม้และต้นไม้ที่หลากหลายให้ผองผึ้ง ดอกไม้และต้นไม้บางชนิดเป็นแหล่งอาหารที่โปรดปรานของผึ้ง การออกแบบสวนที่มีดอกไม้ ผัก และต้นไม้ที่ให้เรณูเกสรและน้ำหวานแก่ผึ้ง ผีเสื้อ และแมลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่าง สวนสาธารณะ สวนในบ้าน สวนริมทางเท้า หรือ Pocket Park ลองเพิ่มต้นไม้ผลไม้เข้ามา สลับกับไม้พุ่มให้ดอก ผักที่กินผล และดอกไม้หอมที่ล่อแมลงและผึ้งอย่างต้นไม้วงศ์ส้ม […]
เรียนรู้สิ่งแวดล้อมในเมืองผ่านการปฏิบัติในงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ ฉลองครบรอบ 20 ปี ค่ายเพาเวอร์กรีน ถอดบทเรียนจากเสวนาเรื่องพลังงาน ส่งต่อความรู้และความรักษ์โลก ร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมความยั่งยืน
เรื่อง
Urban Creature
เวลาได้ยินเรื่องสิ่งแวดล้อม เรามักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะคาร์บอนไดออกไซด์เอย ไหนจะก๊าซเรือนกระจกเอย มนุษย์ตัวเล็กๆ ในเมืองจะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนโลกที่กว้างใหญ่ได้กันนะ แต่บ้านปูไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะตลอด 20 ปีที่ผ่านมา บ้านปูร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพาเวอร์กรีน หรือ Power Green Camp ภายใต้แนวคิด ‘วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม-เรียนรู้สู่การปฏิบัติ’ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้เด็กๆ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อค่ายนี้กันมาบ้าง เพราะเป็นโครงการที่จัดมาตั้งแต่ปี 2549 และในสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ ค่ายเพาเวอร์กรีนได้พัฒนาผู้นำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 1,200 คนแล้ว เพื่อเฉลิมฉลอง 20 ปีของโครงการเพาเวอร์กรีน บ้านปูได้จัดงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ (Decarb Festival) โดยเปิดพื้นที่ให้เยาวชนเพาเวอร์กรีนตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นปัจจุบันมาร่วมแสดงพลังผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เวิร์กช็อปรักษ์โลกจากเยาวชนเพาเวอร์กรีน รวมทั้งมีเวทีทอล์กจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เยาวชนค่ายเพาเวอร์กรีน และอินฟลูเอนเซอร์สายกรีน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนวัตกรรมช่วยโลก ทั้งแบตเตอรี่ที่สามารถกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งานในบ้าน เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) และห้องทดลองโมเดลจำลองพลังงานทดแทนในสวน ถ้าอยากรู้ว่าทำไมโครงการนี้ถึงดำเนินการมายาวนานถึง 20 […]
ห้องเรียนโรงเรียนบ้านป่าก้าง เชียงใหม่ ที่สร้างด้วยถุงพลาสติกกว่า 850,000 ใบ
เรื่อง
Urban Creature
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้กับอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านป่าก้าง จังหวัดเชียงใหม่ จนโครงสร้างอาคารเสี่ยงต่อการพังถล่ม แต่ตอนนี้ Green Road ได้เนรมิตถุงวิบวับจำนวนมหาศาลให้กลายเป็นห้องเรียนอเนกประสงค์เพื่อคืนพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กๆ #ถุงวิบวับคืออะไร ถุงวิบวับ หรือถุงพลาสติกหลายชั้น (Multilayer) คือถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้บรรจุสินค้าต่างๆ อย่างกาแฟ อาหาร และเครื่องสำอาง ด้วยคุณสมบัติที่ป้องกันความชื้นและแสงแดดได้ดี ทำให้ถุงเหล่านี้ได้รับความนิยมมาก แต่ด้วยโครงสร้างหลายชั้นนี้เองกลับเป็นอุปสรรคในการรีไซเคิล เนื่องจากต้องแยกแต่ละชั้นออกจากกันซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง #เปลี่ยนถุงวิบวับให้เป็นห้องเรียน หลังจากที่ Green Road ได้รับบริจาคถุงเหล่านี้จากทั่วประเทศ ก็ได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ บล็อกปูพื้น และวัสดุก่อสร้าง และล่าสุดด้วยความร่วมมือช่วยกันบริจาคของประชาชน ทีม Green Road ได้รวบรวมถุงวิบวับมากถึง 850,000 ถุง หรือประมาณ 2,500 กิโลกรัม และนำมาสร้างห้องเรียนอเนกประสงค์ให้กับโรงเรียนบ้านป่าก้างที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวได้สำเร็จ ทีม Green Road เล่าให้เราฟังว่า ขั้นตอนในการเปลี่ยนถุงวิบวับเป็นห้องเรียนมีกระบวนการที่คล้ายกับการทำโต๊ะเก้าอี้ทั่วๆ ไป เพียงแต่จะอัดในรูปแบบขนาดเล็กให้กลายเป็นฝาบ้าน #โครงการเปลี่ยนขยะถุงพลาสติกให้ใช้ประโยชน์ได้ […]