3’Orn Co-living ธีสิสหอพักย่านสะพานเหลืองที่อยากลดค่าครองชีพให้ชาว First Jobber

หนึ่งในปัญหาใหญ่ของวัยเริ่มทำงานคือ การต้องตัดสินใจเลือกระหว่างที่พักที่เดินทางไปทำงานสะดวกในราคาสูง หรือลดราคาที่พักลงมาแต่ต้องแลกกับการเดินทางที่ค่อนข้างลำบาก ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว สุดท้ายอาจไม่คุ้มกันอยู่ดี  จะดีกว่าไหม ถ้ามีที่อยู่อาศัยที่ทั้งใกล้ขนส่งมวลชน เดินทางง่าย ห้องพักอยู่สบาย และราคาเหมาะสมที่ไม่ถึงกับต้องตัดค่าใช้จ่ายบางส่วนทิ้งไป ‘อัน-อรวรา เวโรจน์วิวัฒน์’ นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มองเห็นปัญหานี้ รวมไปถึงปัญหาการล่มสลายของชุมชนอยู่อาศัยดั้งเดิมในเมืองชั้นใน ซึ่งเกิดจากความต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองที่เพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่เมืองชั้นในถูกรื้อ ส่งผลให้ผู้คนในชุมชนย้ายออก ร้านค้าซบเซา มีจำนวนตึกว่างให้เช่าหรือขายเพิ่มขึ้นในพื้นที่ชุมชน  เธอจึงนำมันมาเป็นไอเดียสำหรับการทำธีสิสในหัวข้อ ‘โครงการพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยสะพานเหลืองเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชากรวัยทำงานตอนต้นและผู้อาศัยดั้งเดิม’ และไม่ใช่แค่การออกแบบผ่านโครงงานจนได้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี 2562 เท่านั้น แต่ธีสิสหัวข้อนี้ยังกลายเป็น ‘หอพัก 3’Orn Co-living’ ที่เปิดให้คนเข้าพักได้จริงในย่านสะพานเหลือง ตรงกับความตั้งใจของผู้ออกแบบที่ต้องการทำที่อยู่อาศัยราคาเข้าถึงได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กลุ่ม First Jobber อย่างตัวเอง First Jobber และปัญหาค่าครองชีพในเมือง “ด้วยความที่เราเป็นเด็กต่างจังหวัดเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ได้รับเงินค่ากินอยู่เป็นรายเดือน ทำให้เป็นกังวลต่อการแบ่งค่าใช้จ่าย ค่ากิน ค่าอยู่ ยิ่งตอนปี 5 ใกล้จะเรียนจบ ก็เริ่มคิดว่าเราจะไปทำงานที่ไหน จะอยู่ยังไง จะจัดการค่าใช้จ่ายยังไง ซึ่งคาบเกี่ยวพอดีกับช่วงที่ทำธีสิส เราเลยเอาความกังวลและคำถามเหล่านั้นไปศึกษาต่อ  “จริงๆ ทำเพื่อตอบคำถามให้ตัวเองแหละ […]

สัมผัสวิถีชนบทในเมืองหลวงที่ ‘ชุมชนวัดจำปา’

ภาพจำของหลายคนที่มองมายังกรุงเทพฯ คือเหล่าตึกสูงระฟ้า รถราติดหนึบ และมลพิษจากย่านใจกลางเมือง แต่จริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ ยังมีส่วนของชานเมืองรอบนอกที่ยังคงสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นชาวสวนผลไม้ที่ผูกพันกับสายน้ำลำคลอง อากาศสดชื่น และบรรยากาศที่แทบไม่ต่างอะไรกับต่างจังหวัด  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ตลิ่งชัน’ หนึ่งในเขตชานเมืองทางฟากตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจคุ้นหูจากการเป็นทางผ่านลงภาคใต้ทางถนนเพชรเกษม หรืออาจพอได้ยินมาบ้างจากการเป็นแหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารบนถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์ แต่ถัดเข้ามาจากถนนใหญ่หลายสายที่ตัดผ่านเขตนี้ ยังมีชุมชนเล็กๆ กลางสวนและบ้านจัดสรร ที่ยังคงเสน่ห์และวิถีชีวิตดั้งเดิมมากว่าร้อยปี จากเงาของตึกสูงที่ตกลงมาบนถนนใหญ่ใจกลางเมือง เปลี่ยนเป็นร่มเงาต้นไม้ที่ทาบลงบนถนนสายเล็กๆ ของชุมชนและบนผิวน้ำในคลองที่ใสสะอาด เรือหางยาววิ่งเสียงดังลั่นคุ้งน้ำเป็นสัญญาณต้อนรับ เหนือยอดไม้แทบไม่เห็นตึกสูง ฉากหลังของบ้านเรือนไทยเป็นท้องฟ้าสีสดใส ไร้ทัศนะอุจาดรบกวนเหมือนในเมือง ท่ามกลางเสียงจากธรรมชาติที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เชื่อหรือไม่ว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ด้วยการเดินทางจากในเมืองมาไม่นานนัก บรรยากาศของที่นี่ไม่ต่างอะไรจากสวนที่พบเจอได้ในจังหวัดอื่นๆ ผิดแต่ว่าที่นี่อยู่ในเขตของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศที่นับวันจะหาพื้นที่สีเขียวได้ยากขึ้นทุกที หลักฐานความเจริญของย่านตลิ่งชันที่ ‘วัดจำปา’  เราเดินเข้าสู่รั้ววัดจำปา พบกับ ‘พี่ดุ่ย-ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์’ ตามนัดหมาย ประธานชุมชนวัดจำปาต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิต ก่อนนำเราตรงไปยังอุโบสถวัดจำปา พร้อมทั้งเล่าสารพัดเรื่องราวของวัดโบราณคู่ชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะเหล่าของดีมีราคา และของจากในราชสำนัก “หน้าบันอุโบสถประดับอ่างล้างหน้างานยุควิกตอเรีย สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนนี้พบสองที่คือวัดจำปากับพระนครคีรี ที่นู่นสีเขียว ที่นี่สีชมพู อาจจะก่อนหรือหลังรัชกาลที่ 4” พี่ดุ่ยชวนเราเงยหน้ามองที่สิ่งอันซีนอย่างแรก เมื่อเข้าไปด้านในอุโบสถก็พบกับของอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือลูกกรงเหล็กสีทองด้านหน้าพระประธานในอุโบสถ […]

เยือนย่านสามเสน บ้านเขมร บ้านญวน ชุมชนชาวคริสต์ในกรุงเทพฯ

ถ้าค้นเรื่องสืบรากไปในพื้นที่บางกอกที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน จะพบว่าก่อร่างมาจากการผสมปนเปของกลุ่มคนหลากเชื้อชาติหลายศาสนาที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากหลักฐานมากมายทั้งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ อาหารการกินนานาชาติ หรือเชื้อสายบรรพบุรุษของหลายๆ คน ที่เชื่อแน่ว่าจริงๆ แล้ว ต้นตอแทบไม่มีอะไรเป็นไทยแท้ ‘สามเสน’ เป็นอีกย่านหนึ่งที่เราอยากชวนมาสำรวจด้วยกัน เพราะถ้ามองผิวเผินแล้วอาจเห็นเป็นเพียงย่านที่เต็มไปด้วยส่วนราชการ ชุมชนเมือง และโรงเรียนชื่อดัง แต่ความจริงแล้วที่นี่เป็นอีกชุมชนริมแม่น้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์และภาพความหลากหลายของกลุ่มคนที่อพยพมาจากภายนอกหลายช่วงเวลา ทั้งบ้านเขมร บ้านญวน แถมมีโบสถ์คริสต์เก่าที่ตั้งอยู่เคียงกันถึง 2 หลัง แวดล้อมด้วยชุมชนชาวคริสต์ขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและอัตลักษณ์น่าสนใจ ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรงนี้มีการกล่าวถึงอยู่ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่บอกเล่าว่าสามเสนนี้เพี้ยนมาจากคำว่าสามแสน ตามตำนานที่เล่าขานมาแต่อดีต ถึงเหตุการณ์ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมา จนต้องใช้กำลังคนถึงสามแสนคนมาช่วยกันฉุดชักลากขึ้นฝั่ง จนกลายเป็นชื่อย่านสามแสนและเพี้ยนมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะข้อสรุปในเรื่องคำว่า ‘สามเสน’ นี้ยังไม่เป็นอันยุติ มาถึงย่านสามเสนทั้งที เราขอเริ่มรูตนี้ที่วัดสำคัญประจำย่านอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ ‘ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ’ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยจำพรรษาอยู่ในขณะที่ทรงผนวช และก่อนหน้าพระองค์ ก็เคยมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัดที่เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมยุติกนิกาย ก็ยังคงความเป็นพื้นที่วัดอรัญวาสี (อรัญวาสี แปลว่าป่า) ที่มีความสงบผ่านบรรยากาศครึ้มด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วคล้ายวัดป่าตามต่างจังหวัดไม่น้อย เมื่อสืบประวัติลึกลงไป จะพบว่าจริงๆ แล้ว วัดแห่งนี้ไม่ได้เพิ่งเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก่อนหน้านี้ วัดราชาธิวาสฯ […]

ย้อนรอยตลาดเก่าแก่กลางพระนคร ก่อน ‘ท่าเตียน’ จะเปลี่ยนแปลง

‘ท่าเตียน’ ย่านที่คุ้นหูของคนมาแทบทุกรุ่น อย่างคนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะรู้จักว่าเป็นตลาดค้าส่ง ส่วนคนรุ่นหลังมาน่าจะนึกถึงพวกของทะเลแปรรูปที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ทุกวันนี้ท่าเตียนกลายเป็นเพียงทางผ่านของนักท่องเที่ยวและท่าเรือข้ามฟาก  แต่จริงๆ แล้วที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานพอๆ กับกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลแทบจะใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของอาคารแบบตะวันตกสีเหลืองอายุกว่าร้อยปี ที่เรียงแถวโดดเด่นคู่กับพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จนหลายคนยามได้ไปเดินทอดน่องเตร็ดเตร่โซนเมืองเก่า อาจจะเดินผ่านไปมาโดยไม่รู้ว่ามีตลาดและบ้านเรือนอยู่ด้านใน ในวันที่กระแสการพัฒนาและความเจริญถาโถมเข้าสู่ย่านเมืองเก่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ท่าเตียนเป็นหนึ่งในย่านที่สายลมนั้นพัดผ่าน เราเดินลัดเลาะเข้าตรอกเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชาวท่าเตียนที่เกิดและโตที่นี่ พาสำรวจร้านค้าต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่คู่กับตลาดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของร้านกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้-วันที่ท่าเตียนกำลังเผชิญการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ย่านการค้าเก่าแก่ ผู้คนจอแจเดินขวักไขว่ การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือที่มาจากทั่วสารทิศ เป็นภาพที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ทันเห็น แต่ความทรงจำนี้ยังแจ่มชัดอยู่ในความนึกคิดของชาวท่าเตียน ‘เฮียหมึก-พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์’ คือหนึ่งในประจักษ์พยานที่ทันเห็นท่าเตียนในเวอร์ชันดั้งเดิม วันที่ตลาดยังไม่เงียบเหงา และการค้ายังไม่ซบเซาเช่นทุกวันนี้ “ตอนผมเด็กๆ ทุกแผงมีการค้าหมด ไม่ได้เงียบๆ แบบนี้ ขายสารพัด ทั้งผักผลไม้ ของอุปโภคบริโภค” รองประธานชุมชนท่าเตียนชวนย้อนวันเวลา ตรงตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนแต่เดิมนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนและญวนมาตั้งแต่ก่อนหน้าจะสร้างกรุงเทพฯ ด้วยที่ตั้งที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ทำให้สินค้าจากที่ต่างๆ มาลงตรงนี้ ก่อนพัฒนาเป็นตลาดค้าส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ทว่าท่าเตียนในวันนี้มีเพียงซอยเดียวที่ยังมีการค้าขาย ลูกค้าที่มาซื้อก็บางตา แผงที่เหลือปิดไปเยอะเกินครึ่ง บ้างถูกใช้เป็นที่เก็บของ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนรอบๆ […]

FYI

ผลิตภัณฑ์ดีๆ ที่มีแต่ความคิดถึง | FYI

“เมื่อเราคิดถึงลูกค้า คิดถึงชุมชน คิดถึงสิ่งแวดล้อม เราจึงเลือกสิ่งนี้ออกมา” ผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก ออร์แกนิกเป็นสารอินทรีย์ จะช่วยให้ดิน น้ำ อากาศปลอดภัย ชุมชนเกษตรก็มีรายได้

กาดเกรียงไกรมาหามิตร การกลับมาของโรงงานกระเทียมดองเก่าแก่เพื่อเป็นกาดช่วยชุมชนแม่ริม

“ว่ากันว่าใครก็ตามที่มีโอกาสเคยได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกินกว่าครึ่ง ถ้าได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่อื่นจะต้องอยากกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่อีกครั้ง” นี่คือประโยคของ ตุ้ย-เนรมิต สร้างเอี่ยม นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย อดีตผู้บริหารบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการคอนโดมิเนียมแบรนด์ยูดีไลท์ โครงการบ้านบ้าน วิภาวดี 20 ที่ได้รับรางวัลโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อคุณภาพชีวิตดีเด่น ประจำปี 2562 ที่ไม่กี่ปีมานี้เขาเลือกที่จะวางตำแหน่งของเขาลง และย้ายชีวิตของเขากลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ แถมยังเข้าซื้อกิจการโรงงานผักและผลไม้ดองเก่าแก่ของอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยอดขายกำลังซบเซา …เขาคิดอะไรของเขาอยู่ ไม่นานมานี้ตุ้ยได้ตอบข้อสงสัยนั้นด้วยการประกาศเปิดตัว ‘กาดเกรียงไกรมาหามิตร’ ตลาดของฝากที่รวมงานคราฟต์ สินค้ายะด้วยใจ๋ (ทำด้วยใจ) ของผู้คนในอำเภอแม่ริม ซึ่งตอนนี้กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก จนกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่ผู้คนต้องแวะเมื่อมีโอกาสมาเที่ยวที่อำเภอแม่ริม แถมการอุดหนุนสินค้าต่างๆ ของที่นี่ยังทำให้คุณได้มีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมชุมชนต่างๆ ในอำเภอแม่ริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย  คุณเนรมิตสามารถเนรมิตโรงงานผักและผลไม้ดองที่กำลังซบเซาให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งอย่างไร วันนี้ตุ้ยจะพาคุณทำความรู้จักกับตลาดแห่งนี้ทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่หน้าตลาดจนถึงท้ายตลาดที่เป็นเบื้องหลังการเกิดขึ้นของกาดเกรียงไกรมาหามิตร กรุงเทพฯ-เชียงใหม่นิยาย ความตาย ความรัก เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นจากความรู้สึกอยากกลับมาอยู่ที่เชียงใหม่… “เดิมผมเป็นคนกรุงเทพฯ สมัยเป็นนักเรียนผมจะต้องนั่งรถข้ามสะพานพุทธทุกวันเพื่อไปโรงเรียน เวลาข้ามสะพานผมจะเห็นตึกต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำ ก็เกิดความคิดกับตัวเองขึ้นมาว่าสักวันถ้าเรามีลูกแล้วได้บอกลูกว่าตึกนี้พ่อเป็นคนทำมันคงจะรู้สึกดีนะ หลังจากนั้นเลยทำให้ผมตัดสินใจที่จะเลือกเรียนด้านวิศวะ และต้องเป็นวิศวะโยธาเท่านั้น “ทีนี้ผมเคยอ่านนิยายเล่มหนึ่งเกี่ยวกับความรักนักศึกษาในรั้วมหา’ลัยที่ดังมากๆ เป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเขียนบรรยาย มช. ไว้ได้โรแมนติกมากๆ เราไม่เคยเห็นหรอกตอนนั้น แต่จินตนาการภาพตามจากตัวหนังสือ เลยทำให้ตอนสอบเข้าผมตัดสินใจเลือกสมัครที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไว้ด้วย ซึ่งพอได้เข้าไปเรียน มช. ก็โรแมนติกจริงๆ […]

Chiangmai Food Bank ขออาหารค้างตู้ที่ยังกินได้ ส่งต่อ 3 กลุ่มเพื่อหยุดความหิวโหย

ขอเวลาคนละ 10 นาที สำรวจตู้เย็น ตู้กับข้าว พอมีอาหารเหลือทิ้งที่ยังกินได้อยู่หรือเปล่า เพราะอาหารค้างตู้ของคุณ อาจกลายเป็นอาหารอีกมื้อของคนที่ขาดแคลนในตอนนี้!

Park-PFI โปรเจกต์ดิ้นรนหาสเปซสีเขียวของญี่ปุ่น เกาะพื้นที่ไม่มากแต่ประชากรหนาแน่นมาก

รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว

เมื่อมังงะ ดวงรายเดือน พระ ทำให้รั้วไซต์ก่อสร้างเป็นมากกว่าที่กั้นและเซฟแบบคาวาอี้

นักท่องเที่ยวสายเสพงานศิลป์ เวลามาญี่ปุ่นน่าจะพุ่งไปงานนิทรรศการกรุบกริบต่างๆ ตามมิวเซียมเก๋อย่าง Mori Art Museum หรือ 21_21 DESIGN SIGHT จริงๆ แล้วถ้าสังเกตให้ดี ในเมืองแอบมีงานศิลปะน้อยใหญ่ซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ มากมาย และจุดที่คนน่าจะมองข้ามกันมากที่สุดคือ ‘ไซต์ก่อสร้าง’ ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นมาหลายปี ไม่มีวันไหนที่ออกจากบ้านแล้วไม่เจอการก่อสร้าง ภาพที่เห็นจนชินตามาพร้อมกับความชื่นชมเรื่องความสะอาด ความเงียบ และความเอาใจใส่ชุมชนรอบๆ เช่น มีการใช้แผ่นชีตเก็บเสียง เครื่องเก็บฝุ่น และล้างล้อรถที่ใช้ในการก่อสร้างทุกครั้ง เพื่อกันไม่ให้ความสกปรกหลุดออกมาภายนอก และมีพี่ รปภ. คอยโบกอำนวยความสะดวกให้ผู้สัญจร และในช่วงหลายปีมานี้ ไซต์ก่อสร้างพัฒนาความกรุบกริบด้วยการเติมความคาวาอี้ในหลายจุด จนต้องหยุดเดินหันมาถ่ายรูป ความเก๋ที่ว่านั้นมีหลากหลาย เช่น ผ้าใบลายเดียวกับสิ่งที่กำลังสร้าง รั้วกั้นเขตลายการ์ตูน (คนไทยน่าจะเคยเห็น AKIRA, ART OF WALL รั้วก่อสร้างลาย Akira ที่ชิบุยะ ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จก็จัดนิทรรศการแสดงผลงานเหล่านั้นต่อ แล้วเอารั้วก่อสร้างมาทำของเล่นขายด้วย) ผนังรั้วก่อสร้างผลงานออกแบบของศิลปิน รวมไปถึงกรวยเรืองแสง ไฟกะพริบลายดอกซากุระ บางครั้งเลยเถิดถึงขั้นเอาดวงรายเดือนตามราศีมาให้อ่านที่กำแพงด้วย แม้แต่ไซต์ก่อสร้างก็ยังคาวาอี้ ความเวรี่เจแปนนีสนี้มีที่มาอย่างไร ไปสำรวจที่มาความน่ารักเหล่านั้นกัน Animal Guard […]

‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการที่ชวนตั้งคำถามถึงการพัฒนาสามย่านที่สวนทางกับชุมชน

ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมือง อย่างเช่น ‘ชุมชนสามย่าน’ บริเวณถนนพระราม 4 การพัฒนาทำให้พื้นที่บริเวณสามย่านมีค่าเช่าสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนแบกรับไม่ได้ ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มากว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนประสบการณ์และความทรงจำที่มีกับชุมชนในสามย่านซึ่งพยายามปรับตัวให้ทันระบบทุนนิยมและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ‘ทำไมเราถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ ในงานนิทรรศการแสร้งเสมือนจริง ‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวให้ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการผ่านกระบวนการดิจิทัล คล้ายๆ การเล่นเกมที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงจริงๆ สอดแทรกอยู่  นับเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศิลปินกับศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) เจ้าของพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ในสามย่าน  นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมในเว็บไซต์ faamai.wpcomstaging.com/home/ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน นี้

“หลาดเก่า” ตะกั่วป่า เงียบงันแต่ไม่เงียบเหงา

“หลาดเก่า” (ตลาดเก่า) หรือเมืองเก่าตะกั่วป่า คือชุมชนเก่าแก่ของอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เดิมที่นั่นคึกคักด้วยผู้คน แต่เมื่อโควิด-19 มาเยือนกลับเหงาลงถนัดตา แม้หลายสิ่งที่เคยเคลื่อนไหวค่อยๆ หยุดลง หากแต่การดำเนินชีวิตของชาวตะกั่วป่าก็ยังคงดำเนินไปอยู่ทุกวัน  เด็กตะกั่วป่าอย่างเราจึงขอชวนทุกคนมาสัมผัสหลาดเก่าผ่านภาพถ่าย ที่แม้จะเงียบงันไปเสียหน่อย แต่ก็ไม่เงียบเหงาซะทีเดียว ด้วยความตื่นเต้นที่จะไปเดินหลาดเก่า เราเลยตื่นเช้าเป็นพิเศษ เพราะกลัวจะพลาดเจอผู้คนที่ออกมาหาอะไรกินตอนเช้า เราฝากท้องที่ ‘ร้านโกปี๊’ ในตรอกเล็กๆ มีเพียงคุณลุงท่านหนึ่งนั่งดื่มโกปี๊อยู่เพียงลำพัง กับคุณป้าเจ้าของร้านที่กำลังเตรียมของอยู่ในร้าน มองแล้วชวนนึกถึงวันวาน ในทุกๆ เช้าจะมีแต่ความคึกคัก เสียงทักทายผู้คนที่ผ่านไปมาและเสียงพูดคุยของเหล่าคอกาแฟวัยเก๋า เมื่อเสร็จจากมื้อเช้า ถึงเวลาออกเดินเก็บภาพ ซึ่งตรงข้ามร้านโกปี๊เป็นที่ตั้งของ ‘ศาลเจ้าพ่อกวนอู ซิ่นใช่ตึ๋ง’ หรือที่คนในชุมชนเรียกกันว่า “อ๊ามใต้” ส่วนใหญ่คนหลาดเก่านั้นเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่นี่เลยเป็นอีกสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในละแวกนี้ ซึ่งจะคึกคักมากในช่วงเทศกาลกินเจ ก่อนจะไปต่อ บังเอิญหันไปเห็นน้องๆ นักเรียนกำลังเดินเรียงแถวหิ้วดอกไม้และปิ่นโตไปทำบุญที่วัด ทำให้นึกถึงสมัยประถมฯ ที่เราต้องเข้าค่ายอบรมจริยธรรม เดินไปเรื่อยๆ บนถนนศรีตะกั่วป่า ถนนสายหลักที่รายล้อมด้วยบ้านเรือนมีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งก่อนนี้คึกคักไปด้วยผู้คน แต่ตอนนี้กลับเบาบางลงถนัดตา จากที่เคยเห็นผู้คนนั่งอยู่หน้าบ้าน พร้อมกับทักทายคนไปมาหาสู่กันได้ง่าย แต่วันนี้หน้าบ้านส่วนใหญ่เหลือเพียงม้านั่งที่ว่างเปล่า มีแต่ภาพวาด เด็กจริงๆ กลับไม่เห็น ท่ามกลางความเงียบเหงาที่ไม่ค่อยจะชินตาสักเท่าไร คงมีแต่บรรดาร้านรวงต่างๆ ซึ่งยังคงเปิดรอคอยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยสินค้ากันตามปกติ […]

เมื่อชาวสถาปนิกชวนชุมชนมาร่วมสร้าง ‘ลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน’ พื้นที่ในฝันที่ทุกคนเป็นผู้ออกแบบ

การจะประกอบสร้างสังคมให้น่าอยู่นั้น สิ่งสำคัญคือต้องวางรากฐานให้ ‘คนและชุมชน’ มีความมั่นคงและแข็งแรง ผ่านการพัฒนาชุมชน และกระบวนการส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น โดยคนในชุมชนเป็นผู้ริเริ่มหรือให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.