ชวนนักออกแบบคิดเพื่อโลก ตอบโจทย์ชุมชน ส่งประกวดเวที AYDA AWARDS 2024 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค. 2567

AYDA Awards 2024 เป็นเวทีที่ ‘นิปปอนเพนต์’ เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้โชว์ทักษะการออกแบบ และสัมผัสประสบการณ์การทำงานจริงกับนักออกแบบชั้นนำของประเทศและเอเชีย นับเป็นปีที่ 17 ของเวทีนี้แล้วที่เปิดรับสมัครเหล่านักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายใน มาโชว์ศักยภาพและแสดงความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้คอนเซปต์ Converge : Glocal Design Solutions หรือ การรวมกันเป็นหนึ่งจากแนวคิดวิถีท้องถิ่นสู่ระดับโลก ผ่านการออกแบบที่คำนึงถึงผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของโลก เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดถึง 100,000 บาท พร้อมโปรแกรมออกแบบ Sketchup Studio Education Software 2024 เป็นเวลา 1 ปี และโอกาสสำคัญในการเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมแข่งขันในงาน AYDA Awards International Summit ที่ประเทศญี่ปุ่น  นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ชนะระดับเอเชีย จะได้เข้าร่วมหลักสูตรพิเศษ Design Discovery Program ที่ Harvard Graduate School of Design ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ด้านการออกแบบอย่างเข้มข้นเป็นเวลา […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤษภาคม 2567

ของพวกนี้ดีไซน์แล้วหรือยังเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองในช่วงไม่นานมานี้ หลังจากเริ่มเผยแพร่ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์อันแสนน่าอัศจรรย์ใจที่พบเจอตามริมทางท้องถนนเมืองไทยมาสักพักใหญ่ ทั้งผ่านช่องทางส่วนตัวหรือกับทาง Urban Creature เอง ตอนผมเรียนในโรงเรียนออกแบบ โดยทั่วไปอาจารย์มักสอนกันว่า เวลาสร้างผลงานใดๆ เราจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสิ่งที่เราดีไซน์กันอยู่ให้ได้ 3 เรื่อง ได้แก่1) ฟังก์ชันการใช้งาน2) ตอบโจทย์แก้ปัญหา3) ความสวยงาม แต่เมื่อเรามีประสบการณ์ทำงานดีไซน์ไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะพบกันว่า ไอ้ข้อที่ 3 ที่ว่าเรื่องความสวยงาม เริ่มกลายเป็นเรื่องรองมากขึ้น เพราะในสังคมปัจจุบัน ความสวยงามเป็นเรื่องของปัจเจกสูง มีความแล้วแต่บุคคลจะมอง เทสใครเทสมัน ทำให้ยุคหลังๆ นักออกแบบหลายคนในหลายวงการโฟกัสผลงานดีไซน์ไปที่เรื่องฟังก์ชันและการแก้ปัญหาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะงานออกแบบที่สวยงามมากๆ แต่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก็อาจไม่เรียกว่างานดีไซน์ที่ดีได้เช่นกัน กลับมาที่สิ่งประดิษฐ์จากคนธรรมดาผู้ไม่ได้เรียนออกแบบที่เราพบเจอได้ตามท้องถนน แล้วของพวกนี้มันดีไซน์แล้วหรือยัง มันอาจจะดีไซน์แล้วมั้ง-เพราะมีฟังก์ชันและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมากๆ แต่หน้าตาก็ดูแปลกๆ หรือมันยังไม่ได้ดีไซน์-เพราะหน้าตาแย่เกินไปกว่าที่เราควรจะไปชื่นชมมัน หรือต้องเป็นของที่ผ่านมือนักออกแบบเท่านั้นถึงจะเรียกว่าดีไซน์ บอกเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ เพราะเมื่อได้พบเจอกับของพวกนี้ชิ้นใหม่ๆ ทุกครั้ง ผมจะรู้สึกว้าวอยู่ตลอด มันชวนตั้งคำถามและท้าทายอาชีพนักออกแบบอยู่เสมอๆ ว่าพวกเราสามารถคิดวิธีออกแบบได้ดีเท่านี้ไหม แล้วเพื่อนๆ ทุกท่านคิดว่าของเหล่านี้ถูกดีไซน์แล้วหรือยัง หากยังไม่แน่ใจในคำตอบแบบเดียวกับผม ก็ขอชวนมาดูภาพของเหล่านี้กันเพลินๆ อีกครั้ง ที่ผมคัดสรรมาให้โดยเฉพาะกับคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอ ประจำเดือนนี้ได้เลย Table + Height Adjustment ระดับความสูงของโต๊ะอ่างล้างจานมาตรฐานบ้านเรามักจะอยู่ที่ […]

ส่องความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยที่สะท้อนถึงปัญหาการใช้ชีวิตในเมือง ผ่านหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ นักอ่านคนไหนที่ชื่นชอบเรื่องเมืองแล้วยังไม่รู้ว่าจะซื้อเล่มไหนดี Urban Creature ขอแนะนำรวมบทความที่มีชื่อว่า ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของ ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกและนักเขียนเจ้าของหนังสือ ‘อาคิเต็กเจอ’ (และคอลัมนิสต์ของ Urban Creature) โดยภายในจะเป็นการบันทึกเรื่องราวสั้นๆ พร้อมภาพสเก็ตช์ 4 สี สิ่งของรอบตัวที่เห็นได้เรี่ยรายรอบเมือง ซึ่งเกิดจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ที่ดีไอวายสิ่งของเหล่านี้มาเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตจริง ในโปรเจกต์นี้ชัชวาลตั้งใจใช้เวลาหนึ่งปีวาดภาพสิ่งของและงานดีไซน์ไทยๆ ก่อนพบว่าเมืองที่อาศัยอยู่นี้มีปัญหาของผู้คนทาบทับอยู่ตามตึกรามบ้านช่องและสิ่งของที่เดินเจอในทุกวัน ตามไปซื้อหนังสือสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดได้ที่บูท Salmon Books งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ store.minimore.com/salmonbooks/items/365Days  นอกจากนี้ ผู้อ่านยังติดตามคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ของชัชวาลได้ทุกเดือนทางเพจ […]

Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

‘โกเบ’ เมืองแห่งการออกแบบที่เติบโตได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์

‘เมืองโกเบ’ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นแค่แหล่งผลิตเนื้อวัวเกรดพรีเมียมชื่อดังระดับโลกอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นมาช้านาน และเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของแดนปลาดิบ เท่านั้นไม่พอ โกเบยังนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน ทำให้ยูเนสโกประกาศให้เมืองท่าแห่งนี้เป็น ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ (City of Design) ในปี 2018 โดยโกเบตั้งใจใช้การออกแบบสร้างเมืองที่ส่งเสริมคนทุกกลุ่มให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่การออกแบบที่เรากำลังพูดถึงไม่ได้มีแค่สีสันและโครงสร้างของเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้คนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ด้วย แนวทางการพัฒนาเมืองตามแบบฉบับของโกเบเป็นแบบไหน คอลัมน์ City in Focus ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน การพัฒนาทิวทัศน์ของเมือง มิติแรกของการออกแบบในเมืองโกเบที่อยากพูดถึงคือ ‘ภาพทิวทัศน์ของเมือง’ หรือ ‘Cityscape’ ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่แปลกตา และอยู่ใกล้ทั้งท้องทะเลและภูเขา โดยโกเบได้พัฒนา Cityscape ผ่าน 4 แนวทางหลักๆ ได้แก่ 1) การปรับปรุงย่านซันโนะมิยะ : ซันโนะมิยะ (Sannomiya) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนประตูสู่เมืองโกเบ ที่สำคัญย่านนี้ยังมีกิจกรรมมากมาย เป็นที่ตั้งของเส้นทางรถไฟหลายสาย ทั้งยังอยู่ติดกับท้องทะเลและมีบรรยากาศของภูเขาเป็นฉากหลัง โกเบได้พัฒนาย่านซันโนะมิยะใหม่ เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าตื่นเต้นและสะดวกสบายสำหรับผู้อยู่อาศัยมากขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่น โปรเจกต์ภาพถ่าย ‘1000 SMiLE Project’ ที่รวบรวมรอยยิ้มและภาพฝันที่ชาวโกเบอยากเห็นในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสี่แยกซันโนะมิยะ (Sannomiya […]

FYI

‘LIVE OUR WAY อยากอยู่อย่างนี้…ด้วยกัน’ แคมเปญจากบุญถาวร ที่อยากให้สมาชิกในบ้านเห็นภาพบ้านใหม่ตรงกัน

ปัจจุบัน การชุบชีวิตบ้านหลังเก่าด้วยการรีโนเวทกลายเป็นเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่หลายคนสนใจ ด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภาระในชีวิตก็หลากหลาย การจะตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ก็อาจไม่คุ้มค่าเท่ากับการรีโนเวทบ้านที่อยู่มาตั้งแต่เด็ก เพราะถ้าไม่นับเรื่องค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการย้ายบ้าน การอยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความทรงจำของคนหลายรุ่นนั้นถือเป็นตัวเลือกที่ดี แต่นั่นแหละคือประเด็น มีคนหลายคนอยู่ในบ้าน และทุกคนล้วนมีความทรงจำของตัวเอง การจะเปลี่ยนหน้าตา ฟังก์ชั่น และบรรยากาศของบ้านที่เคยสร้างความทรงจำเหล่านั้นถือเป็น ‘เรื่องใหญ่’  หนึ่งในปัญหาสุดคลาสสิกที่ครอบครัวส่วนมากต้องเผชิญเมื่อยามต้องรีโนเวทบ้านคือ ความต้องการและภาพในหัวของคนในบ้านแต่ละคนไม่เหมือนกัน  บางคนอาจหวงพื้นที่ ไม่อยากให้ทำอะไรกับบ้านที่ตัวเองอยู่มาทั้งชีวิต บางคนอยากให้เหลือเค้าโครงของบ้านไว้แล้วเปลี่ยนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้ตามใจ หรือบางคนก็อยากให้ทุบห้อง เปลี่ยนใหม่หมดเลย อุปสรรคใหญ่ที่เปรียบเหมือนกำแพงสูงคือการสื่อสารกันของคนในบ้าน บางครั้งการหาตรงกลางของความต้องการเหล่านั้นก็เป็นเรื่องไม่ง่าย เมื่อการสื่อสารกันกลายเป็นเรื่องยาก คนในบ้านก็อาจไม่ได้ข้อสรุปสักที สุดท้ายการรีโนเวทจึงกลายเป็นหัวข้อที่ทำให้ทุกคนไม่อยากคุยกันอีก เพราะเป็นแบรนด์ที่ให้บริการรีโนเวทบ้านแบบครบวงจร อยู่เป็นเพื่อนคนรักบ้านมายาวนานกว่า 40 ปี บริษัท บุญถาวรวัสดุภัณฑ์ จำกัด จึงเข้าใจ Pain Point เรื่องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยอย่างทะลุปรุโปร่ง พวกเขาเห็นปัญหาการเห็นภาพบ้านใหม่ไม่ตรงกันของสมาชิกในบ้าน และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานั้นด้วยแคมเปญ LIVE OUR WAY อยากอยู่อย่างนี้…ด้วยกัน   บุญถาวรอยากให้ทุกบ้านได้อยู่อย่างที่อยาก มากกว่านั้นคืออยากกระตุ้นให้สมาชิกในบ้านคุยกันมากขึ้น ในแคมเปญนี้พวกเขาจึงสร้างเว็บไซต์แนวอินเทอร์แรกทีฟที่ชวนให้คนอยากรีโนเวทบ้านมานั่งหน้าคอมพ์ (หรือถ้ามาพร้อมกันทั้งบ้านได้ยิ่งดี) แล้วตอบคำถาม ‘ผีในบ้าน’ เกี่ยวกับที่อยู่ในฝัน เพื่อนำไปออกแบบหน้าตาของบ้านใหม่จากคำตอบเหล่านั้น ความพิเศษคือจะได้รับ Door […]

ผลักดันคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด กับงานแฟร์ ‘CHANGE 2023’ วันที่ 1 – 2 ส.ค. 66 ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

ช่วงหลังมานี้วงการสร้างสรรค์คึกคักขึ้นมาก นอกจากงานศิลปะที่หลากหลายขึ้นแล้ว แวดวงดีไซน์ที่รวมไปถึงการออกแบบคาแรกเตอร์ก็เริ่มมีที่ทางขึ้นมาก ซึ่งคาแรกเตอร์ที่ว่านี้ก็นำไปต่อยอดได้มากมาย ตั้งแต่การเป็นหน้าตาของแบรนด์ คอลแลบกับโปรเจกต์สนุกๆ หรือกลายไปเป็นอาร์ตทอยน่าเก็บสะสม หลังจากพยายามผลักดันการสร้างคาแรกเตอร์ (Character Design) มาพักใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ก็ขอจัดงาน ‘CHANGE 2023 : งานแฟร์อึกทึกคึกคักรักคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด’ เพื่อสนับสนุนครีเอเตอร์ผู้สร้างสรรค์คาแรกเตอร์ไทยสุดน่ารัก รวมถึงเปิดเผยเบื้องหลังการทำงานและการสร้างรายได้จากงานออกแบบนี้ ภายในงานเราจะได้พบกับคาแรกเตอร์กว่า 30 ตัวผ่านการจัดแสดงสินค้า จัดจำหน่าย และกิจกรรมเสวนา เพื่อขยายโอกาสต่อยอดทางธุรกิจให้ครีเอเตอร์ไทยด้วยคาแรกเตอร์สุดเจ๋งให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ให้แก่ครีเอเตอร์ใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีการเล่าถึงเบื้องหลังการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยมีเวทีเสวนาหลากหลายหัวข้อ เช่น ต่อยอดผลงานสร้างสรรค์ด้วยคาแรกเตอร์ไทย, แบรนดิ้งให้สินค้าเกษตรด้วยคาแรกเตอร์ไทย และคาแรกเตอร์ไทย : สัญลักษณ์เมืองแห่งศตวรรษนี้ เป็นต้น งาน ‘CHANGE 2023 : งานแฟร์อึกทึกคึกคักรักคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด’ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2566 ที่ห้องอเนกประสงค์ ชั้น […]

‘แพรรี่ ธัญพิชชา’ Set Designer คนไทยในฮอลลีวูดที่ได้ออกแบบฉากให้ซีรีส์ Netflix

ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพหญิงสาวผู้สวมแว่นตาที่นั่งอยู่หน้าคอมฯ บนหน้าจอเต็มไปด้วยภาพทำเนียบขาวของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมคำอธิบายประกอบอย่างละเอียด เร็วเท่าความคิด, ภาพทำเนียบขาวที่เธอดีไซน์ในหัวปรากฏขึ้นในพื้นที่ว่างเปล่าข้างตัว…ถ้าเรื่องราวดำเนินในยุคนี้ มีตัวละครหลักเป็นคนนิสัยแบบนี้ ทำเนียบขาวควรจะมีหน้าตาเป็นยังไง…เธอออกแบบตั้งแต่ข้างนอกตึกไปจนถึงพื้นที่ภายใน ชั้นที่ 1 ถึง 5 เจาะลงไปถึงรายละเอียดเล็กๆ กระทั่งสีผนังและกลอนประตู นี่คือสิ่งที่ ‘แพรรี่-ธัญพิชชา ไตรวุฒิ’ ต้องทำในซีรีส์ใหม่ของ Netflix เรื่อง The Residence ซึ่งว่าด้วยคดีฆาตกรรมในทำเนียบขาว ย้อนกลับไปราวต้นปี 2023 เธอได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมนักออกแบบฉาก (Set Designer) ประจำโปรเจกต์นี้ ความเจ๋งคือเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่เป็นทีมงานเบื้องหลัง และเท่าที่เรารู้ เธอเป็นคนไทยหนึ่งในไม่กี่คนที่มีโอกาสได้ทำงานให้หนังและซีรีส์ฮอลลีวูด ไม่เคยฝันว่าจะมาถึงตรงนี้ได้เหมือนกัน-เธอสารภาพกับเราในเช้าที่เราวิดีโอคอลคุยกัน ก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องราวอดีตเด็กสาวช่างฝันผู้รักศิลปะ ผู้ที่กว่าจะค้นพบว่าตัวเองชอบออกแบบฉากก็ตอนได้ทำละคอนถาปัดในรั้วจามจุรี ก่อนจะตัดสินใจเดินตามฝันในวัยใกล้ 30 จนสำเร็จ แน่นอนว่าหลังจากฟังเธอเล่าจบ ภาพจำที่เรามีต่อฉากในหนังหรือซีรีส์ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซีนแรกกรุงเทพฯ, 2011 ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพเด็กหญิงธัญพิชชาในโรงภาพยนตร์ หน้าจอปรากฏภาพจากหนังในตำนานอย่าง Star Wars และ Jurassic Park เด็กหญิงหัวเราะคิกคัก สนุกสนานไปกับเรื่องราว ไม่รู้หรอกว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโลกในจอ […]

สวยด้วยนะ รักโลกด้วยนะ ถูกใจมากๆ ‘Absolut Vodka’ ออกแบบขวดกระดาษที่ทั้งสวยงามและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไร้สีในขวดแก้วใสคือภาพจำของวอดก้าที่สายดื่มคุ้นชิน แต่ล่าสุด ‘Absolut Vodka’ ได้ออกแบบขวดวอดก้ารูปแบบล่าสุดที่มีความโดดเด่น สวยงาม และเป็นมิตรกับธรรมชาติ เพราะทำจากกระดาษ 57 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นขวดพลาสติกรีไซเคิล 43 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ขวดวอดก้าถูกออกแบบให้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกับกล่องน้ำผลไม้ ไม่ใช่รูปแบบเดิมๆ ที่เป็นขวดแก้ว ขวดกระดาษนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง Paper Bottle Company (Paboco), Coca-Cola Company, Carlsberg, P&G และ L’Oréal โดยผ่านการทดสอบครั้งแรกที่งานเทศกาลต่างๆ ในสหราชอาณาจักรและสวีเดน และพร้อมวางจำหน่ายในเทสโก้ 22 แห่งทั่วมหานครแมนเชสเตอร์ในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อดูว่าขวดรูปแบบใหม่ส่งผลต่อตลาดอย่างไร ขวดรูปแบบใหม่ที่สร้างขึ้นยังคงออกแบบภายใต้รูปทรงเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยขวดมีขนาด 500 มิลลิลิตร ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะเป็น 5 เปอร์เซ็นต์แบบเครื่องดื่ม Absolut Mixt พร้อมดื่ม และจำหน่ายในราคาประมาณ 690 บาท ที่สำคัญขวดนี้ยังมีน้ำหนักเบากว่ากระจกถึง 8 เท่า ทำให้ง่ายต่อการพกพาและขนส่ง อีกทั้งยังนำขวดไปรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับกระดาษและขยะอื่นๆ ทั่วไปในบ้าน […]

ไม่ต้องตบก้นขวดอีกต่อไป Heinz ดีไซน์ขวดที่มีฝาปิดสองฝั่ง บีบซอสมะเขือเทศได้หมดจนหยดสุดท้าย

สาวกซอสมะเขือเทศคงรู้ดีว่า การเทซอสออกจากขวดนั้นต้องใช้เทคนิคสารพัด ทั้งการเขย่าขวดครั้งแล้วครั้งเล่าก่อนเปิดฝาครั้งแรก ไปจนถึงการตบก้นขวดหรือเขย่าแรงๆ เพื่อเทซอสที่เหลืออยู่ก้นขวดให้ไหลออกมา ซึ่งวิธีนี้มักทำให้ซอสกระเด็นและหกเลอะเทอะไปทั่ว เป็นปัญหาน่าหงุดหงิดใจที่คนชอบกินซอสต้องเจอ แบรนด์ซอสมะเขือเทศระดับโลก Heinz จึงปิ๊งไอเดีย คิดค้น ‘Heinz Ketch-Up & Down Bottle’ ซอสมะเขือเทศรุ่นพิเศษที่มีฝาปิดอยู่สองฝั่งตรงข้ามกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเทซอสได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นไอเดียที่ต่อยอดจากซอสขวดคว่ำที่ทางแบรนด์เคยเปิดตัวเมื่อปี 2010 ทาง Heinz เปิดเผยว่า แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาความชอบและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยทางแบรนด์พบว่าลูกค้าแต่ละคนมีวิธีการใช้สินค้าที่แตกต่างกันไป บางคนชอบบีบขวดแรงๆ ขณะที่บางคนอาจชอบเขย่าขวดซอสก่อนใช้ ส่วนวิธีจัดเก็บก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เพราะบางคนอาจวางขวดให้ตั้งตรง คว่ำ หรือตั้งตะแคง “จากความสำเร็จของขวดซอสกลับหัวที่เปิดตัวเมื่อปี 2010 เรามองเห็นโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ผู้บริโภคหลายคนของ Heinz เผชิญอยู่ หากแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น เราอาจพลิกโฉมการทานซอสมะเขือเทศให้ผู้บริโภคก็เป็นได้” Passant El Ghannam หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Heinz กล่าว ตอนนี้ Heinz Ketch-Up & Down Bottle เป็นเพียงแนวคิดต้นแบบเท่านั้น ยังไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่ายจริง แต่ถ้าทาง Heinz […]

Robarts Library ความอบอุ่นสบายตาในสเปซที่แข็งกร้าว โซนอ่านหนังสือรีโนเวตใหม่ในห้องสมุดสไตล์ Brutalist

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย คือหนึ่งในสถานที่พักผ่อนและใช้ประโยชน์มากมายของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นที่เรียน อ่านหนังสือ ติว นั่งเรื่อยเปื่อย หรือกระทั่งที่สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้นอกจากพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักศึกษาแล้ว ดีไซน์และการออกแบบภายในก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ในประเทศแคนาดา ได้มีการปรับปรุงโซนห้องอ่านหนังสือในห้องสมุด ‘Robarts’ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งที่นี่ถือเป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมแนว Brutalist ที่โดดเด่น สถาปัตยกรรมแนว Brutalist คือสิ่งก่อสร้างที่มีภาพจำเป็นคอนกรีตเปลือย กระจก เหล็ก ที่ให้ภาพลักษณ์แข็งกร้าวทะมึนขึงขัง โดยโปรเจกต์รีโนเวตห้องอ่านหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูห้องสมุดที่สำคัญของมหาวิทยาลัยโทรอนโต และอาคารห้องสมุดวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา ‘Superkül’ สตูดิโอผู้รับผิดชอบโปรเจกต์นี้ได้ปรับปรุงพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้แบบร่วมสมัยของนักศึกษาและคณาจารย์ ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความเคารพกับสถาปัตยกรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดก นอกจากการเชื่อมต่อโครงสร้างแนว Brutalist ที่มีอยู่ดั้งเดิมกับส่วนต่อขยายของโถงห้องสมุดที่อยู่ติดกันแล้ว ยังมีการเพิ่มมุมเรียนรู้ในพื้นที่ห้องขนาด 1,886 ตารางเมตรที่เพดานสูงสองชั้น ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง สบาย ภายในสเปซนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่เรียนรู้ส่วนบุคคล สถานีการเรียนรู้แบบดิจิทัล ห้องให้คำปรึกษา และโซนแสงบำบัด (Light Therapy) อีกสองโซน อีกทั้งยังมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้งานเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับอาคารคอนกรีต รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการเรียนรู้ ผ่านมุมเรียนรู้ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับความสูงโต๊ะ กำหนดค่าที่นั่ง และปรับแสงตามต้องการได้ นอกจากนี้ ตัวสตูดิโอยังทำงานกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความรู้เรื่องเสียงในการสร้างระบบลดเสียง โดยใช้แผ่นไม้เจาะรูและแผ่นโลหะที่ออกแบบมาอย่างกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมภายใน ช่วยให้เสียงของกลุ่มคนที่ต้องสนทนากันไม่ไปรบกวนนักศึกษาคนอื่นๆ “เพื่อเป็นเกียรติแก่รูปทรงเรขาคณิตและวัสดุอันโดดเด่นที่ทำให้ห้องสมุด Robarts […]

12 โปรแกรมไฮไลต์ภายใต้ธีม ‘เมือง-มิตร-ดี’ จากเทศกาล Bangkok Design Week 2023

สุดสัปดาห์นี้จะเข้าสู่สัปดาห์ของ ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023)’ เทศกาลสุดสร้างสรรค์ระดับโลกที่นำเสนอผลงานสุดครีเอทีฟและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้กรุงเทพฯ เติบโตและกลายเป็นเมืองที่ดีขึ้น Bangkok Design Week ครั้งที่ 6 มาในธีม ‘urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี’ ที่เน้น ‘การออกแบบ’ เพื่อพัฒนา ‘คุณภาพชีวิต’ ของผู้คน โดยอาศัยหลักการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคน และสร้างคนที่เป็นมิตรต่อเมือง ผ่าน 6 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความหลากหลาย คนเดินทาง ธุรกิจ และชุมชน  งานครั้งนี้จัดขึ้นใน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมกิจกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเมืองกว่า 550 โปรแกรม เช่น นิทรรศการ การบรรยาย เวิร์กช็อป ตลาดนัดสร้างสรรค์ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ฯลฯ เพราะรู้ว่าผู้อ่านคงไปไม่ครบทุกกิจกรรมแน่ๆ คอลัมน์ Urban’s Pick อาสาคัดเลือก 12 […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.