ชัชชาติจับมือกับ Traffy Fondue เปิด LINE Chatbot ให้ประชาชนแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยทั่วกรุงเทพฯ

‘การแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอย’ คือหนึ่งในนโยบายที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะปัญหาใกล้ตัว เช่น ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุมบ่อ น้ำท่วมขัง ถนนเปลี่ยว และขยะสะสม คือสิ่งที่กระทบการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในทุกๆ วัน เพราะเหตุนี้ ทีมงาน ‘เพื่อนชัชชาติ’ จึงนำเทคโนโลยี ‘Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู)’ ที่พัฒนาขึ้นมาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนทุกคนรายงานปัญหารอบตัวที่พบเจอในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ทันที Traffy Fondue คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot เพื่อรับแจ้งปัญหาแบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมืองและผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา ที่สำคัญ AI จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและส่งปัญหาไปยังผู้รับผิดชอบโดยตรง วิธีแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยมีดังต่อไปนี้ 1) แอดไลน์เพื่อนชัชชาติได้ที่ t.ly/SNxL 2) เมื่อเจอปัญหาของเมือง ผู้ใช้งานรายงานผ่านไลน์เพื่อนชัชชาติ โดยคลิกที่ ‘รายงานปัญหาเส้นเลือดฝอย’ หลังจากนั้นลิงก์จะโยงไปที่ไลน์ของ ‘Traffy Fondue’ สำหรับระบุรายละเอียดปัญหา ส่งรูปภาพ และส่งพิกัด 3) ระบบหลังบ้านจะทำการรวบรวมปัญหา […]

เฉลิมฉลอง Pride Month ที่กรุงเทพฯ ไพรด์พาเหรด BANGKOK NARUEMIT PRIDE จากวัดแขกสู่สีลม 5 มิ.ย. 65

เดือนมิถุนายนคือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ที่ผ่านมา มีหลายประเทศที่จัดงานเฉลิมฉลอง ‘Pride Month’ ในรูปแบบของขบวนพาเหรด และกิจกรรมอื่นๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางเพศ ในไทยเองก็มีความเคลื่อนไหวและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศอย่างเข้มข้น ซึ่งพิจารณาแล้วดูมีทิศทางที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปีนี้ ได้มีกลุ่มคนและเครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อความหลากหลายทางเพศ จัดไพรด์พาเหรดอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นในกรุงเทพฯ โดยใช้ชื่อว่า BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 (บางกอกนฤมิตไพรด์) ในวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 19.00 น. โดยเริ่มตั้งขบวนพาเหรดหน้าวัดแขกมุ่งหน้าสู่ถนนสีลม  จุดยืนของ BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 คือขบวนที่ต้องการสร้างสังคมใหม่ที่ผู้คนต่างร้อยเรียงอยู่ด้วยกันภายใต้การเคารพความหลากหลาย โดยขบวนพาเหรดจะเกิดขึ้นผ่านการร้อยเรื่องราวตามเฉดสีรุ้งที่เป็นธงสัญลักษณ์แห่งความหลากหลายทั่วโลก ผู้เข้าร่วมสามารถออกแบบป้ายรณรงค์ และชุดเครื่องแต่งกายตามที่บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง แล้วร่วมเดินไปกับขบวนแยกตามประเด็นและเฉดสีได้ โดยในขบวนจะมีการแบ่งสีช่วงขบวน เพื่อร่วมแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศ และสื่อสารถึงประเด็นที่ผู้เข้าร่วมไพรด์พาเหรดอยากสนับสนุน ยกตัวอย่าง ขบวนสีแดงคือพื้นที่ของคนที่อยากขับเคลื่อนกฎหมายเพื่อชุมชนคนเพศหลากหลาย ขบวนสีส้มคือพื้นที่ของคนที่อยู่เคียงข้างและภาคภูมิใจที่จะสนับสนุนสวัสดิการเพื่อชาว LGBTQIAN+ ขบวนสีเหลืองสำหรับภาคธุรกิจ พรรคการเมือง ตัวแทนจากกลุ่มอาชีพ และผู้ปกครอง ที่ต้องการมายืนยันโอกาสในการมีอนาคตที่สดใสของเด็กๆ และเยาวชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี […]

Make Bangkok Liveable Again จำลองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ตามนโยบายของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

‘กรุงเทพฯ’ ในฝันตามแบบฉบับของ ‘ชัชชาติ’ จะเป็นแบบไหนกันนะ หนึ่งในบุคคลที่กระแสแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ผู้คว้าชัยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 อย่างถล่มทลาย สูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ หรือกว่า 1,386,769 คะแนน (คะแนนอย่างไม่เป็นทางการ) ช่วงหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติยังเป็นขวัญใจของคนหลายกลุ่ม จากภาพลักษณ์ธรรมดาๆ เข้าถึงง่าย วิธีหาเสียงที่คำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสโลแกน ‘กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ มาพร้อมนโยบายกว่า 214 ข้อที่เกิดจากการลงพื้นที่ฟังเสียงของชาว กทม. นานกว่า 2 ปี โดยรวบรวมให้ทุกคนอ่านอย่างละเอียดที่ www.chadchart.com คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองและออกแบบเมืองกรุงเทพฯ ให้ทุกคนเห็นว่า หากชัชชาติพัฒนาเมืองตามนโยบายเหล่านี้ได้จริง เมืองน่าอยู่ในสายตาของเขาจะมีหน้าตาประมาณไหน โดยเราได้หยิบยกไอเดียมาจากนโยบายที่น่าสนใจ ครอบคลุมบริบทของเมืองกรุงเทพฯ หลากมิติ เช่น พื้นที่สาธารณะ ระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย […]

5 ข้อที่ต้องรู้โค้งสุดท้าย ก่อนไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เปลี่ยนกรุงเทพฯ 22 พ.ค. 65

ผ่านมา 9 ปีเต็มๆ ในที่สุดชาวกรุงเทพฯ (ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านกรุงเทพฯ) ก็ได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เสียที หลังจากต้องอยู่กับผู้ว่าฯ ที่มาจากการแต่งตั้งอยู่นานแสนนาน อย่างที่ทุกคนเห็นว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้มีบรรยากาศที่คึกคักเป็นพิเศษ ตั้งแต่จำนวนผู้สมัครที่มากเป็นประวัติการณ์ ไหนจะการหาเสียงที่ถือเป็นสนามประลองกึ๋นเรื่องเมืองย่อมๆ ของผู้สมัคร และการดีเบตที่เรียกว่ามีให้ดูทุกสัปดาห์เลยก็ว่าได้ ในที่สุดการรอคอยก็จบสิ้น เพราะวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ ชาวกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจะได้เดินเข้าคูหากากบาทเลือกผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ที่ชอบแล้ว แต่ก่อนถึงช่วงเวลาสำคัญนั้น เราขออาสารวมสิ่งที่ต้องรู้ก่อนไปเลือกตั้งมาให้ทุกคนศึกษาในโค้งสุดท้ายนี้ ก่อนอื่น ใครที่ยังไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่าจะเลือกใครมาทำหน้าที่ดูแลเขตและเมืองของเราดี ชวนทำความรู้จักผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. และค้นหาสมาชิกสภา กทม. ในเขตของคุณได้ที่ bkkelection2022.wevis.info/candidate/ เพราะเว็บไซต์นี้รวมมาให้หมดแล้วทั้งข้อมูลพื้นฐานของผู้สมัคร ไปจนถึงนโยบาย วิสัยทัศน์ การตอบคำถาม ฯลฯ ถ้าไม่มีเวลาไปไล่ดูทุกการสัมภาษณ์และการดีเบต ศึกษาที่นี่ที่เดียวก็ครบจบกระบวนความ ต่อมาเป็นข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ดังนี้ – การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ […]

BKK Follow Up แพลตฟอร์มจาก WeVis ชวนสำรวจปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ส่องงบประมาณ และนับจำนวนครั้งที่น้ำท่วม

มาเช็กกันว่าละแวกบ้านเราน้ำท่วมมาแล้วกี่ครั้ง! ฤดูฝนมาเยือนทีไร ชาวกรุงเทพฯ ต่างต้องเตรียมตัวเตรียมใจเจอปัญหา ‘น้ำท่วมถนน’ ที่ทำให้การจราจรในหลายพื้นที่หยุดชะงัก หลายคนต้องยืนรอน้ำระบายอยู่หลายชั่วโมงถึงจะเดินทางกลับบ้านได้ จะพูดว่าชาวกรุงหลายคนชินชากับปัญหา ‘ฝนตก รถติด น้ำท่วม’ แล้วก็คงไม่ผิด เพราะพวกเขาต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมขังมานานนับ 10 ปีแล้ว แต่ทำไมเราต้องเจอปัญหาน้ำรอการระบายซ้ำซาก ทั้งที่กรุงเทพมหานครมีอำนาจในการบริหารงบประมาณและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพราะเหตุนี้ WeVis องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านข้อมูลทางการเมือง ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงสร้างเว็บไซต์รวบรวม ‘ข้อมูลน้ำท่วมถนน’ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2555 – 2564) เพื่อให้ประชาชนเข้าใจปัญหาน้ำท่วมขังในเขตต่างๆ รวมไปถึงจำนวนงบประมาณที่ กทม. เคยใช้แก้ไขปัญหานี้ ถ้าอยากรู้ว่าละแวกบ้านเราน้ำท่วมมาแล้วกี่ครั้ง สามารถย้อนดูปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้ที่ bkkfollowup.wevis.info/dashboard/น้ำท่วมถนน แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ผู้คนเห็นภาพรวมของปัญหาน้ำท่วมถนนผ่านข้อมูลของแต่ละปีที่ระบุ ‘จำนวนครั้งที่น้ำท่วมขังถนน’ และ ‘ระดับน้ำท่วมบนถนนโดยเฉลี่ย’ ของแต่ละเขตทั่ว กทม. ตัวอย่างเช่น ในปี 2555 เขตที่เจอน้ำท่วมถนนมากที่สุดถึง 99 ครั้งก็คือ ‘ราชเทวี’ โดยมีระดับน้ำท่วมบนถนนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 80 – […]

ชวนอ่านกรุงเทพฯ ในจินตนาการ ผ่านเรื่องราวโดย 10 นักเขียนไทยในรวมเรื่องสั้น Dream Bangkok

ลองจินตนาการตามว่า ถ้าวันหนึ่ง กรุงเทพฯ ไม่ใช่กรุงเทพฯ แบบที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ แต่เป็นกรุงเทพฯ ในเวอร์ชันที่ผู้คนไม่ต้องขวนขวายจะถูกลอตเตอรี่ เพราะชีวิตไม่ได้ลำบากอะไร จะเดินทางไปไหนมาไหนก็สะดวก มีสวนสาธารณะให้พักผ่อนหย่อนใจ มีห้องสมุดเมืองทันสมัยขนาดใหญ่ที่ใครเข้าไปใช้งานก็ได้ เป็นเมืองที่คนพิการสามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกสบาย เด็กๆ และคนหนุ่มสาวไม่ประสบปัญหาที่ทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ ใช้ชีวิตด้วยพลังที่เต็มเปี่ยม มีความหวังกับอนาคต แค่ได้วาดฝันเท่านี้ก็อยากให้กรุงเทพฯ ไปถึงวันนั้นจะแย่ แต่หนังสือรวมเรื่องสั้น ‘Dream Bangkok’ ที่ happening, มูลนิธิฟรีดริช เนามัน และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ร่วมกันจัดทำ กลับพาจินตนาการเราไปไกลกว่านั้น ด้วยการสร้างเรื่องราวในรูปแบบ 10 เรื่องสั้นจาก 10 นักเขียนที่จินตนาการถึง ‘กรุงเทพฯ’ ในฝัน และตัวละครกับเรื่องราวที่ ‘เมือง’ จะเป็นไปได้ในเมืองแห่งนั้น ‘เมืองเลือนละลาย’ โดย วีรพร นิติประภา, ‘ห้องสมุด’ โดย วิภว์ บูรพาเดชะ, ‘ดีไหม มารี’ โดย จิราภรณ์ วิหวา และ ‘อภิเชษฐ์’ โดย ภาณุมาศ […]

8 อีเวนต์ทั่วกรุงเทพฯ ที่น่าเที่ยว ชม ช้อป ตลอด มี.ค. – เม.ย. 65

หน้าร้อนนี้ ใครอยากออกจากบ้านไปเที่ยว ชม ช้อปในหลายบรรยากาศบ้าง? Urban Creature อยากชวนทุกคนไปใช้ชีวิตนอกบ้านกับ 8 อีเวนต์ หลายหมวดกิจกรรมที่เราได้คัดสรรมา มีตั้งแต่งานแฟร์ใหญ่ๆ เอาใจคนรักการอ่านและการออกแบบ เช่น งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ บ้านและสวนแฟร์ ไปจนถึงงานแสดงศิลปกรรมไฟประจำปีของ Time Out ที่จะพาทุกคนเดินดูแสงไฟยามราตรี และซึมซับสถาปัตยกรรมของย่านเก่าที่เรารัก ตั้งแต่เจริญกรุง ตลาดน้อย เยาวราช ไปจนถึงซอยนานา มากไปกว่านั้น เรายังรวบรวมนิทรรศการที่จะพาคุณไปทำความรู้จักศิลปะ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอย่างหลากมิติ มีทั้งการจัดแสดงงานศิลปะต่อต้านสงคราม ศิลปะสะท้อนชีวิตและสังคมในชายแดนใต้ กิจกรรมจำลองการแต่งงานเกาหลีแบบโบราณ และกิจกรรมบรรยายพิเศษเกี่ยวกับตลาดศิลปะดิจิทัล (NFT) รับรองว่าในแต่ละงาน คุณจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่แบบไม่ซ้ำกันแน่นอน อีเวนต์ที่เราเลือกมามีทั้งงานที่เริ่มจัดแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ใครสนใจงานไหนตามไปอ่านรายละเอียดและปักหมุดไว้ได้เลย! 01| งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 20 ไม่ต้องกลัวว่าปีนี้จะล่ม เพราะได้รับการยืนยันมาแล้วว่างานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ จัดแน่นอน! ใครที่คิดถึงกลิ่นอายของงานสัปดาห์หนังสือฯ ไม่ว่าจะเป็นการเดินเลือกหนังสือท่ามกลางบูทหนังสือมากมายที่มีแทบทุกสำนักพิมพ์ในประเทศไทยในงานเดียว การหยุดนั่งพักเปิดหนังสือที่เพิ่งซื้อมา ก่อนที่จะรวบรวมพลังแล้วเดินหยิบหนังสือเข้ากระเป๋าอีก […]

Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

The Fence Craft Beer Bar บ้านริมคลองของคนชอบคราฟต์เบียร์ พาย SUP และรักกาแฟ

การจะหาที่พักผ่อนในกรุงเทพฯ ที่ไม่ต้องแย่งกันกินแย่งกันเที่ยวไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งถ้าอยากได้ความร่มรื่น อยู่ท่ามกลางบรรยากาศสงบๆ และอยู่ใกล้เมืองแล้วยิ่งตัวเลือกน้อยลงเข้าไปอีก  จาก Pain Point ของคนเมืองที่ลำบากกับการหากิจกรรมวันหยุดและหาสถานที่พักผ่อน ทำให้เราได้รู้จักกับบ้านริมน้ำหลังหนึ่งชื่อ The Fence Craft Beer Bar คอมมูนิตี้ย่านตลิ่งชันที่รวมหลายกิจกรรมเอาไว้ในที่เดียว ทั้งพายซัปบอร์ด ดูวิถีชีวิตริมคลองกับ SUP Talingchan ดื่มกาแฟ Specialty ที่ Huto.Co (ฮูโต๋) และปิดท้ายวันด้วยคราฟต์เบียร์ดีๆ และอาหารอร่อยๆ จาก The Fence Craft Beer Bar ในบรรยากาศริมคลองที่เหมาะกับการนั่งรับลมเย็นใต้ร่มไม้ตลอดทั้งวัน คอมมูนิตี้นี้คือการรวมตัวของเพื่อนที่ชอบอะไรต่างกัน แต่อยู่รวมกันแล้วลงตัวได้ดี แถมยังให้ชุมชนรอบข้างมีสีสันมากขึ้น เริ่มต้นมาจาก The Fence Craft Beer Bar ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเพื่อนที่ชอบดื่มคราฟต์เบียร์เป็นชีวิตจิตใจ โดยมีหุ้นส่วน 4 คนคือ อ้น-ศิรสิทธิ์ กลิ่นสุวรรณ, อู๋-จารุกิตติ์ ธเนศอนุกุล, อ๊อบ-อรรถพล ธเนศอนุกุล และฤทธิ์-ณรงค์ฤทธิ์ เอนกสุวรรณมณี […]

Glamping in the City แพ็กกระเป๋า สตาร์ทรถ ออกไปแคมป์สุดหรูใจกลางเมือง

ลมหนาวพัดผ่านมาและผ่านไปอย่างรวดเร็วสายแคมป์ปิ้งบางคนก็อาจยังไม่ทันได้เตรียมตัวออก ต่างจังหวัดสัมผัสอากาศดีๆ กันเลย แถมโอกาสเที่ยวในวันหยุดยาวช่วงต้นเดือนหายวับ! เป็นที่ เรียบร้อย เพราะงานที่กรูเข้ามาพอดี แต่ไม่เป็นไร ใช่ว่าการไปแคมป์จะต้องออกต่างจังหวัดค้างหลายคืนเสมอไป ในกรุงเทพฯ ก็มีพื้นที่ให้ เราอินการแคมป์เพียงแค่ 1 วันได้เช่นเดียวกัน…อย่ามัวรอช้า แพ็กกระเป๋า สตาร์ทรถคู่ใจ Mitsubishi Outlander PHEV ขับสบายฟังเพลงชิลๆ มุ่งหน้าสู่ Kamaboko Coffee Camp กัน! ถ้าแต่งตัว แพ็กกระเป๋ากันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะพาชาว Urban Creature สตาร์ทวันไปกับรถคู่ใจ Mitsubishi Outlander PHEV ออกไปแคมป์สุดหรูใจกลางเมืองที่ Kamaboko Coffee Camp ซึ่งความพิเศษในทริปนี้ เราจะเดินทางแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ Mitsubishi Outlander PHEV เป็นรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด ที่สามารถผสานการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน จะใช้ไฟฟ้า เพียงอย่างเดียว100%ก็วิ่งได้ไกลถึง55กม.ขับในเมืองหรือออกต่างจังหวดัได้สบายมีอัตราการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่้าที่ 43 กรัม /กม. (รถยนต์ทั่วไปปล่อยอยู่ที่ประมาณ 100 กรัม/กม.ขึ้นไป) […]

MuvMi รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเจ้าแรกในไทย ผู้อยู่รอดในสมรภูมิแชร์ริงที่มีแต่คนล้มหายตายจาก

“จะแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ยังไงดี”  คำถามคาใจที่หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว เราเป็นใครถึงจะเข้าไปแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่าคำถามเดียวกันนี้เป็นคำถามเดียวกันที่ MuvMi เคยตั้งไว้เป็นโจทย์ในการแก้ไข  เพื่อหา Solution ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ จนพบจุดที่น่าสังเกตของกรุงเทพฯ ว่าเป็นเมืองที่มีรถไฟฟ้าก็จริง แต่ผู้คนยังประสบปัญหาการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้าอยู่ดี จากคำถามเล็กๆ นี้ได้นำมาสู่การคิดค้นและให้บริการขนส่งสาธารณะรูปแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ภายใต้แนวคิด Microtransit หรือการขนส่งและบริการขนาดเล็กที่ยืดหยุ่น และกลายเป็นทางเลือกให้คนกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการได้ทุกวัน และมีส่วนสำคัญในการคืนชีวิตให้ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนขับรถตุ๊กตุ๊ก รวมถึงยกระดับให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น หลังจากเปิดให้บริการมา 3 ปี MuvMi มียอดการใช้งานไปแล้วมากกว่า 1 ล้านทริปในกรุงเทพฯ และยังอยู่รอดได้ท่ามกลางธุรกิจแชร์ริงที่ล้มหายตายจาก Urban Creature ชวน ตี้-ศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ คุยถึงก้าวต่อไปของผู้ที่ยืนยันว่าตัวเองไม่ใช่ผู้ให้บริการตุ๊กตุ๊ก (ทั้งที่มีรถวิ่งทั่วเมือง) พวกเขาแตกต่างจากผู้ให้บริการประเภทอื่นด้วยอะไร ทำไมถึงตอบโจทย์สำหรับคนกรุง แก้ปัญหารถติดได้หรือยัง และจะมูฟไปทางไหนต่อ มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันดีกว่าครับ  3 ล้อของ MuvMi MuvMi บอกว่า จริงๆ แล้วปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากการเดินทางสาธารณะที่มารองรับการใช้งานขนส่งสาธารณะหลักยังไม่ตอบโจทย์เพียงพอ ไม่เชื่อมต่อและไม่ครอบคลุม พวกเขาจึงอยากเชื่อมคนกับขนส่งสาธารณะหรือการเดินทางไมล์สุดท้าย (First Miles, Last Miles) […]

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

1 4 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.