เปิดมาตรการรับมือ ‘ฝุ่นภาคเหนือ’ ตั้งแต่ต้นปี 2563 - Urban Creature

12 ปีคือจำนวนระยะเวลาที่ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้สักทีของภาคเหนือ โดยเฉพาะช่วงหลายปีหลังที่ค่าฝุ่นยิ่งทวีความหนาแน่นจนพุ่งสูงติดอันดับ 1 ของโลกก็เคยมาแล้ว ล่าสุดวันนี้ที่กรมควบคุมมลพิษ และกระทรวงทรพยากรธรรมชาติรายงานค่าฝุ่น PM 2.5 โดยรวมของภาคเหนือ ซึ่งตรวจวัดจาก 27 สถานีพบว่า มีค่าฝุ่นระหว่าง 31-234 ไมโครกรัมต่อลูกบาสก์เมตร จากค่ามาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาสก์เมตร ทำให้ทุกจังหวัดในภาคเหนือตกอยู่ในพื้นที่ทีแดง ซึ่งมีค่าฝุ่นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่  เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง ลำพูน น่าน ตาก แพร่ โดย ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ครองแชมป์สุงสุดในประเทศอยู่ที่ 241 ไมโครกรัมต่อลูกบาสก์เมตร มีค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) 351 ทั้งยังติดขึ้นอันดับ 1 ของโลกเมื่อเช้านี้


โดยผศ.ดร. สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าถึงสาเหตุของฝุ่นภาคเหนือไว้ว่า  เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเผาในที่โล่งในช่วงฤดูแล้ง เผาป่า เผาพื้นที่เกษตรกรรม   การเผาจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงอากาศนิ่งทำให้ฝุ่นควันสะสมจนค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐานนั่นเอง อย่างไรก็ตามปัญหาฝุ่นฟุ้งภาคเหนือก็ยังคงทวีความรุนแรงไม่หยุดหย่อน เราจึงชวนมาดูมาตรการที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยใช้รับมือกับฝุ่นภาคเหนือตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 ที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเผาพื้นที่โล่ง

– ประสานการทำงานกับ 9 จังหวัดทั่วภาคเหนือเพื่อป้องกันปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
– มาตรการ “งดเผา” 61 วันในเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 มี.ค. – 30 เม.ย. พ.ศ. 2563
– จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตาม และประเมิณคุณภาพอากาศอย่างใกล้ชิด
– ดำเนินมาตรการควบคุมการเผาอย่างเคร่งครัด
– บังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบจุดไฟเผาพื้นที่เกษตรกรรม
– ประกาศเขตห้ามเผา พร้อมส่งเสริมการจัดทำแนวกันไฟ
– รณรงค์การไถกลบแทนการเผา
– จัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงให้พร้อมปฏิบัติการ


นอกจากนี้ยังประกาศให้ประชาชนหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ขัยรถอย่างระมัดระวัง เพราะฝุ่นควันทำให้การมองเห็นลดลง ทั้งยังสามารถติดต่อสายด่วนนิรภัย 1784 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งข้อมูลและดำเนินการแก้ไข แล้วมารอดูกันต่อไปว่า มาตรการที่กำหนดข้างต้นจะใช้แก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 หรืออนาคตจะมีมาตรการอื่นอะไรออกมารองรับเพิ่มเติม



Sources : https://www.bbc.com/thai/thailand-47550696
https://www.thaipost.net/main/detail/32164
ฐานข้อมูลเพื่อการรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมประเทศไทย : https://bit.ly/3aiUNfK

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.