Kempegowda International Airport อาคารผู้โดยสารในสวน ประเทศอินเดีย สร้างความยั่งยืนและเพิ่มธรรมชาติในสนามบิน

ปัจจุบันธุรกิจการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูกโจมตีเรื่องการสร้างมลภาวะทั้งในอากาศและจากตัวสนามบินเอง นี่จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ธุรกิจฟากนี้พยายามลดมลพิษที่ปล่อยออกมา ในขณะเดียวกัน หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาด ผู้คนกลับมาเดินทางกันมากขึ้น ทางเมืองเบงกาลูรู ประเทศอินเดีย ก็หวังเพิ่มความจุผู้โดยสารต่อปีขึ้น 25 ล้านคน และต้องการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในหลากหลายรูปแบบ โดยตระหนักถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมืองเบงกาลูรูจึงขยับขยายพื้นที่ ‘Kempegowda International Airport’ โดยเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารที่ 2 ซึ่งเน้นการออกแบบที่ผสมผสานกับการปลูกต้นไม้ภายในอาคาร โอบล้อมอาคารด้วยสวนภายนอก ใช้วัสดุธรรมชาติ พร้อมกับตกแต่งด้วยไม้ไผ่และกระจก โดยอาคารผู้โดยสารในสวนแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อเสียงของเมืองเบงกาลูรูในฐานะ ‘อุทยานนคร’ หรือเมืองที่ให้ความสำคัญต่อพื้นที่สีเขียว นอกจากความเป็นธรรมชาติในสนามบินแล้ว ความยั่งยืนยังเป็นจุดเด่นของที่นี่ ด้วยการรับรอง LEED Platinum และ IGBC Platinum ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวระดับสากล ว่าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีความยั่งยืนทั้งการออกแบบและสถาปัตยกรรม โดยโครงสร้างของอาคารมีการใช้พลังงานหมุนเวียน สามารถบำบัดและนำน้ำฝนจากทั่วสนามบินมาใช้ใหม่ อาคารผู้โดยสารของ Kempegowda International Airport ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างการสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในธุรกิจการบิน ที่ตอนนี้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการออกแบบลักษณะนี้กันมากขึ้น Sources :ArchDaily | bit.ly/3Suvno3Kempegowda International Airport Bengaluru | bit.ly/495NLsA

โควิดกำลังไป ฝุ่นพิษกำลังมา ศิลปินอังกฤษสร้างงานศิลปะจากฝุ่นควัน สะท้อนปัญหามลพิษในลอนดอน

ประเทศอังกฤษกำลังคลายล็อกดาวน์ทีละขั้นจนใกล้จะยกเลิกมาตรการจำกัดต่างๆ เร็วๆ นี้ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตเกือบจะปกติได้อีกครั้ง ปัญหาฝุ่นควันและมลพิษที่มาพร้อมกับการเดินทางในเมืองหลวงอย่างลอนดอนก็กลับมาเช่นกัน ‘Marina Vitaglione’ ศิลปินชาวอังกฤษไอเดียบรรเจิดจึงสร้างงานศิลปะจากฝุ่นควันเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหานี้มากขึ้น นักวิทยาศาสตร์จาก London Air Quality Network จาก Imperial College London ให้ความร่วมมือกับ Marina ในการเข้าถึงตัวอย่างอากาศบนถนนใหญ่หลายสายทั่วเมืองอย่าง ถนน Brixton และถนน Lewisham ในเขต South London  Marina นำตัวอย่างบางส่วนไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และถ่ายภาพ บางส่วนนำไปไปขยายด้วยราเมนสเปกโตรสโคป (Raman Spectroscopy) แล้วเข้ากระบวนการพิมพ์แบบ Cyanotype บนกระดาษจากต้น Gampi ญี่ปุ่น ทำให้เกิดภาพสีน้ำเงินเขียวชัดเจนบนกระดาษสีขาวบางๆ ราวกับท้องฟ้าใสไร้เมฆ ตรงข้ามกับท้องฟ้าในความเป็นจริงที่ขมุกขมัวด้วยฝุ่นควัน Environmental Research Group จากคณะสาธารณสุขของ Imperial College London และ Marina หวังว่าผลงานภาพพิมพ์จะช่วยให้ผู้คนตื่นตัวเรื่องปัญหามลพิษในอากาศมากขึ้น เพราะปัญหานี้เป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจมากมาย และเป็นหนึ่งในสี่ภัยคุกคามหลักที่คร่าชีวิตชาวอังกฤษรองจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคอ้วนอีกด้วย งานศิลปะภาพพิมพ์ของ […]

เปิดมาตรการรับมือ ‘ฝุ่นภาคเหนือ’ ตั้งแต่ต้นปี 2563

12 ปีคือจำนวนระยะเวลาที่ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้สักทีของภาคเหนือ เราจึงชวนมาดูมาตรการที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยใช้รับมือกับฝุ่นภาคเหนือตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 ที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเผาพื้นที่โล่ง

‘พลังงานสะอาด’ ทางฟื้นตัวเศรษฐกิจหลัง COVID-19 อย่างไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม

หลังโควิด-19 หมดลงอะไร ‘ควร’ เกิดขึ้น ?
คำตอบของคำถามนี้คือ การลงทุนด้านพลังงานสะอาด นั่นเพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวฟื้นเศรษฐกิจที่ต้องหยุดชะงัก ทั้งยังช่วยให้มลพิษทางอากาศของโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.