มีอะไรมันพังไป หนักเบาเราซ่อมได้! WonWon เว็บฯ รวมร้านซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ส่งเสริมสังคมแห่งการใช้ซ้ำที่ไม่รู้จบ

เมื่อไม่นานมานี้ Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ที่มีความตั้งใจในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นให้มีความยั่งยืนมากขึ้น ได้เปิดตัวเว็บแอปพลิเคชัน ‘WonWon (วนวน)’ เพื่อส่งเสริมการบริโภคแฟชั่นที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและดีต่อโลก วนวนเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ไม่แสวงกำไร ที่มีเป้าหมายช่วยให้ทุกคน ‘ซ่อมและใช้ซ้ำ’ สิ่งของได้ง่ายขึ้น โดยฟีเจอร์แรกที่เปิดตัวคือ ‘การค้นหาร้านซ่อมเสื้อในกรุงเทพฯ’ โดยเมื่อกดเริ่มใช้งาน ตัวเว็บไซต์จะแสดงผลรายชื่อร้านซ่อมในบริเวณนั้นทั้งหมดพร้อมกับข้อมูลครบครัน เช่น ระยะห่างจากผู้ใช้งาน เขตที่ตั้ง เวลาบริการ รวมถึงรีวิวที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ปัจจุบันวนวนมีข้อมูลร้านซ่อมราว 100 ร้าน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หลักๆ ของกรุงเทพฯ ได้แก่ ประเวศ วัฒนา พญาไท ราชเทวี ปทุมวัน สวนหลวง บางนา คลองเตย และห้วยขวาง ที่สำคัญ เว็บฯ วนวนยังยึดมั่นในพันธกิจของ Reviv ที่จะ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ในตลาดการซ่อมแซมที่มีร้านซ่อมของเหล่าคุณลุงคุณป้าอยู่แล้ว ซึ่งวนวนจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงช่างซ่อมตัวเล็กๆ ฝีมือดีในพื้นที่กับลูกค้าทั่วกรุงเทพฯ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและคืนกำไรสู่ชุมชน ทาง Reviv เชื่อว่า เว็บฯ วนวนจะมีส่วนทำให้ผู้บริโภคทุกคนเข้าถึงการซ่อมและใช้ซ้ำได้ง่ายขึ้น เกิดความคุ้นชินและใช้บริการบ่อยขึ้นจนเป็นนิสัย ซึ่งจะทำให้สังคมของเราเข้าใกล้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) […]

ชวนพ่อแม่ไปเต้นสวิงพร้อมเพื่อนใหม่กับ ‘งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ’ 19 ส.ค. เข้าฟลอร์ฟรี ที่หัวลำโพง

หลายครั้งที่เราไม่อยากปล่อยให้ผู้สูงอายุในครอบครัวอยู่บ้านกันเหงาๆ แต่กิจกรรมที่ลูกหลานจะพาพวกท่านออกไปทำได้นั้นก็อาจไม่เหมาะกับวัยเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ ใครที่กำลังมองหากิจกรรมสนุกๆ เพื่อพาพวกท่านไปร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ Urban Creature ขอชวนไป ‘งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ’ ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ ‘เมืองไทยประกันภัย’ ร่วมกับ ‘มูลนิธิมาดามแป้ง’ และ ‘การรถไฟแห่งประเทศไทย’ เนื่องจากอยากให้ทุกคนได้พาพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านออกมาร่วมสนุกและพบปะสังสรรค์กับเพื่อนใหม่ในวัยเดียวกันผ่านการ ‘เต้นสวิง’ ไปกับ Jelly Roll Dance Club หรือหากญาติผู้ใหญ่คนไหนไม่สะดวกเป็นนักเต้น ก็ไปร่วมฟังเพลงแจ๊สเพราะๆ จากวง The Stumbling Swingout และชมโชว์สวิงแดนซ์จาก The Boppin’ Berries ก็ได้ นอกจากจะเปิดฟลอร์ให้โชว์สเต็ปกันแล้ว งานนี้ยังมีการประกวดแต่งตัวในธีม ‘Gatsby’ ที่ไม่ว่าจะมาแบบกลุ่มหรือแบบเดี่ยวก็ร่วมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ากว่า 10,000 บาทได้อีกด้วย งานเต้นหมื่นปี รุ่นใหญ่ไฟกะพริบ เปิดฟลอร์ต้อนรับนักเต้นทุกท่านให้เข้าร่วมกันแบบฟรีๆ ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ เวลา 13.00 […]

บ้านในไทย ทำไมต้องล้อมรั้ว

สเต็ปการสร้างบ้านในเกมเดอะซิมส์ที่หลายคนคุ้นเคย ส่วนใหญ่คงจะเริ่มจากการสร้างตัวบ้าน ตกแต่งภายใน ตกแต่งบริเวณภายนอก ก่อนจะปิดท้ายด้วยการล้อมรั้วบ้านอย่างมิดชิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากความเคยชินของคนไทย เพราะในประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม หมู่บ้านจัดสรร หรือแม้แต่บ้านในต่างจังหวัด ที่อยู่อาศัยเหล่านี้มักมีรั้วล้อมรอบบ้านด้วยกันทั้งนั้น แต่พอดูหนังและซีรีส์จากฝั่งตะวันตกกลับพบว่า บ้านที่ปรากฏอยู่บนจอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีรั้วบ้านเป็นกิจจะลักษณะชัดเจนเหมือนกับบ้านในประเทศไทย หรือบางหลังอาจจะมีแค่รั้วเตี้ยๆ จนเกิดความสงสัยว่ารั้วลักษณะนั้นจะสามารถป้องกันอะไรได้บ้าง การมีรั้วบ้านสำคัญกับการอยู่อาศัยในประเทศไทยมากน้อยขนาดไหน ทำไมบ้านในต่างประเทศแทบจะไม่มีรั้วบ้านให้เห็นกันเลย และหากจะสร้างรั้วบ้านด้วยตัวเองนั้นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอะไรบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปหาคำตอบเกี่ยวกับรั้วบ้านกัน ทำไมบ้านในไทยต้องมีรั้ว ไม่ว่าจะเป็นบ้านในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด เรามักจะเห็นรั้วประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะรั้วปูน รั้วเหล็ก หรือรั้วไม้ทำมือ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ในการกำหนดพื้นที่ของบ้านแต่ละหลังได้อย่างชัดเจน จนทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า รั้วบ้านนี้จำเป็นมากแค่ไหนสำหรับบ้านสักหลัง อาจเป็นเพราะว่าบ้านคือสถานที่ที่มอบความเป็นส่วนตัวให้เราได้มากที่สุด หลายคนจึงต้องการความสบายใจในการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านโดยไม่ต้องระแวดระวังภัยมากนัก แม้ว่ารั้วบ้านจะไม่ใช่ข้อบังคับตามกฎหมาย แต่การมีรั้วล้อมรอบตัวบ้านจะช่วยเพิ่มทั้งความสวยงามให้กับตัวบ้าน เพิ่มความเป็นส่วนตัวจากสายตาของคนภายนอกที่อาจสอดส่องเข้ามา รวมถึงยังเป็นการสร้างความปลอดภัยอีกหนึ่งชั้นจากผู้บุกรุกได้อีกด้วย ถ้ารั้วบ้านช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้าน แล้วทำไมบ้านในต่างประเทศถึงไม่ค่อยมีรั้วกั้น ยกตัวอย่างเช่นบ้านในสหรัฐอเมริกาที่เห็นกันตามหนังหรือซีรีส์ส่วนใหญ่มักจะไม่มีรั้วบ้านกำหนดขอบเขต สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเรื่องของวัฒนธรรมที่หลายคนมองว่า ถ้าเพื่อนบ้านเคารพพื้นที่ส่วนตัวของกันและกันอยู่แล้ว รั้วบ้านก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเท่าไรนัก และการสร้างรั้วก็อาจจะเป็นการไปเบียดเบียนพื้นที่ของเพื่อนบ้านได้ด้วย อีกเหตุผลคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำรั้วเพิ่มเติมที่ค่อนข้างสูง ผู้คนจึงไม่นิยมสร้างรั้ว รวมไปถึงการอยู่อาศัยในชุมชนที่มีรั้วรอบขอบชิดและปลอดภัยมากพออยู่แล้ว การสร้างรั้วเพื่อป้องกันภัยก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับชาวอเมริกันสักเท่าไร แต่ไม่ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะไม่มีรั้วเลย เพราะยังมีบางครอบครัวที่สร้างรั้วขนาดไม่สูงมากเพื่อกั้นไม่ให้เด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงออกไปจากบริเวณบ้าน โดยส่วนใหญ่รั้วพวกนี้จะไม่ได้เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้านมากนัก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบ้านที่มาพร้อมรั้วสูงเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวและป้องกันอันตรายจากปัจจัยภายนอก […]

New Taipei City Library Taishan Branch รีโนเวตห้องสมุดเก่าอายุ 20 ปีในไต้หวัน ให้กลับมาเป็นมิตรกับนักอ่านทุกเพศทุกวัย

‘New Taipei City Library’ เป็นระบบห้องสมุดสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน มีสาขามากถึง 104 สาขา กระจายตัวอยู่ใน 29 เมือง โดยมี ‘New Taipei City Library Taishan Branch’ เป็นหนึ่งในห้องสมุดเก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว บนชั้น 5 ของอาคารรัฐบาลในเขตไท่ซาน เมืองนิวไทเป แม้ New Taipei City Library Taishan Branch จะอยู่ใกล้กับตลาดชุมชนและสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ห้องสมุดแห่งนี้ก็ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก เนื่องจากตัวห้องสมุดมีพื้นที่ภายในคับแคบ การออกแบบที่ล้าสมัย จัดวางผังได้ไม่ดี ทำให้แสงเข้าถึงได้ไม่เพียงพอ จนกระทั่งได้ ‘A.C.H Architects’ สตูดิโอออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดสรรพื้นที่เข้ามาดูแล A.C.H Architects เนรมิตโฉม New Taipei City Library Taishan Branch ขึ้นใหม่ภายในพื้นที่ 1,320 ตารางเมตร โดยเปลี่ยนห้องสมุดชั้นเดียวนี้เป็นแบบเปิดโล่ง […]

Dogen City เมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ดูแลผู้อยู่อาศัยด้วยการแพทย์ล้ำสมัย พร้อมรับมือสภาพอากาศและภัยพิบัติ

จากการประกาศของสหประชาชาติ ทำให้เรารู้ว่าโลกไม่ได้อยู่ในยุค ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) อีกต่อไป เพราะตอนนี้เราได้เข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและโครงสร้างพื้นฐานของคนทั่วโลกอย่างรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้ Urban Creature อยากพาไปดูไอเดียหนึ่งซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่เปิดเผยเมื่อไม่กี่เดือนก่อน เพื่อนำเสนอแนวคิดการออกแบบ ‘ที่อยู่อาศัย’ ในการเผชิญความท้าทายด้านสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและกำลังส่งผลกระทบต่อโลก โปรเจกต์นี้มีชื่อว่า ‘Dogen City’ หรือเกาะลอยน้ำ โดยบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่น ‘N-Ark’ ที่ต้องการทำให้เมืองหรือเกาะแห่งนี้ให้การรักษาพยาบาลที่ทันสมัยแก่ผู้อยู่อาศัย และสร้างชุมชนที่ปรับตัวเข้ากับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศได้ Dogen City ครอบคลุมพื้นที่กว่า 390 เอเคอร์ รองรับผู้อยู่อาศัยได้ครั้งละ 40,000 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยถาวร 10,000 คน และนักท่องเที่ยว 30,000 คน โดยเมืองลอยน้ำในยามสงบแห่งนี้สามารถกลายเป็นเกาะเดี่ยวได้ในกรณีที่ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ องค์ประกอบหลักสามประการของโปรเจกต์นี้ ได้แก่ ‘ที่อยู่อาศัยแบบวงแหวน’ เป็นโครงสร้างที่สามารถปกป้องพื้นที่อ่าวด้านในจากการคุกคามของสึนามิและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นได้ และโครงสร้างวงกลมที่มีลักษณะคล้ายแผ่นจานลอยบนน้ำจะเป็นที่ตั้งของอาคารสาธารณะ ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ แหล่งผลิตอาหาร และแม้แต่เป็นสถานที่ปล่อยจรวดในอนาคต ประการต่อมาคือ ศูนย์ข้อมูลที่จะสร้างขึ้นจากบริเวณใต้น้ำเพื่อทำหน้าที่บริหารชุมชน เช่น การจัดการเมือง การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ การวิจัยยา […]

‘Wedding Cake’ พาวิลเลียนเค้กแต่งงานสีพาสเทล งานศิลปะชิ้นใหม่ในคฤหาสน์ Waddesdon

‘คฤหาสน์ Waddesdon’ เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญในเมือง Buckinghamshire ประเทศอังกฤษ ที่เปิดเป็นสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสประวัติศาสตร์และศิลปะอันสวยงามของคฤหาสน์ และหากใครมีโปรแกรมท่องเที่ยวที่ Waddesdon ในช่วงนี้ ย่อมต้องสะดุดตากับ ‘เค้กแต่งงาน’ ก้อนยักษ์ที่โดดเด่นท่ามกลางสีเขียวของต้นไม้และบรรยากาศความเก่าแก่รอบด้านอย่างแน่นอน เค้กแต่งงานนี้เป็นพาวิลเลียนที่สร้างขึ้นโดย ‘Joana Vasconcelos’ ศิลปินชาวโปรตุเกส มีลักษณะคล้ายกับเค้กแต่งงานสีพาสเทลที่มีความสูงถึง 12 เมตร ตั้งอยู่ในบริเวณคฤหาสน์ Waddesdon ที่สร้างขึ้นในปี 1870 โดย ‘Baron Ferdinand de Rothschild’ เพื่อเป็นสถานที่รับรองแขกและจัดแสดงคอลเลกชันเซรามิก  ส่วนผสมของพาวิลเลียนเค้กแต่งงานสามชั้นหลังนี้ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนเหล็กดัด 3,500 ชิ้น แผ่นเหล็กรวม 21,815 กิโลกรัม และกระเบื้องเซรามิกจากบริษัท Viúva Lamego ในโปรตุเกสจำนวนกว่า 26,000 ชิ้น ที่มีลวดลายต่างๆ ปูทับภายนอก เลียนแบบลักษณะของส่วนประกอบขนมหวานอย่างบัตเตอร์ครีมและมาร์ซิแพน (Marzipan) ทำให้ดูส่องประกายระยิบระยับราวกับน้ำตาลไอซิงที่เคลือบบนตัวเค้ก เท่านั้นไม่พอ โจอานายังเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้ตัวพาวิลเลียนน่ามองยิ่งขึ้นด้วยองค์ประกอบอื่นๆ อย่างนางเงือก โลมา หรือเชิงเทียน ที่เสริมให้เค้กแต่งงานก้อนนี้เหมือนหลุดออกมาจากเทพนิยาย ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เวลากว่า 5 ปีในการสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ […]

Urban Eyes 47/50 เขตบางกอกใหญ่

‘บางกอกใหญ่’ เป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่าที่ถูกล้อมรอบด้วยคลองบางกอกใหญ่ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี มีสถานที่สำคัญที่ใครๆ น่าจะรู้จัก นั่นคือ ‘วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร’ หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า ‘วัดอรุณฯ’ หรือถ้าจะย้อนไปไกลถึงสมัยก่อน คนจะเรียกกันว่า ‘วัดแจ้ง’ เพราะพระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จแล้วก็ยกทัพกลับมาในเวลาเช้า (เวลาแจ้ง) พอดี วัดอรุณฯ ถือเป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของกรุงเทพฯ เลยก็ว่าได้ ถ้าชาวต่างชาติได้เห็นโปสต์การ์ดของไทย จะมีรูปวัดแห่งหนึ่งที่มักปรากฏอยู่ในนั้น ซึ่งนั่นคือวัดอรุณฯ นี่เอง และสถานที่ใกล้ๆ กันนั้นก็เป็นหน่วยงานราชการของทางทหารเรือ และพื้นที่ชุมชนอย่างบริเวณแยกโพธิ์สามต้น ซึ่งช่วงเย็นๆ บรรยากาศจะครึกครื้นเป็นพิเศษ แถมยังมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสถานีอิสรภาพอยู่ไม่ไกลกันนัก เหมาะจัดเป็นรูตสำรวจเมืองในวันหยุดมากๆ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ━ สถานที่ที่เป็นไฮไลต์ที่สุดของเขตนี้เลยก็ว่าได้ ถือว่าได้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่นักท่องเที่ยวต้องมาเยี่ยมเยียน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนหรือฝั่งเอเชียที่จะเอนจอยกับที่นี่เป็นพิเศษ กิจกรรมพิเศษของที่นี่คือ การเช่าชุดไทยจากร้านรอบๆ วัด พร้อมแต่งหน้าทำผมให้เรียบร้อย บางเจ้ามีบริการช่างภาพเสร็จสรรพ พอเข้าวัดไปก็ถ่ายรูปได้ยกคณะเลย นอกจากนี้ ด้านในวัดยังมีร้านคาเฟ่เล็กๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องไอศกรีมลายไทยสามมิติ และด้วยความที่วัดอยู่ติดกับท่าเรือ เราสามารถข้ามเรือไปที่ท่าเตียนฝั่งตรงข้ามเพื่อไปเที่ยววัดโพธิ์และวัดพระแก้วต่อได้เลย ใครที่ยังไม่เคยไปต้องลองหาโอกาสไปเที่ยวดู คุ้มค่าแน่นอน แยกโพธิ์สามต้น ━ โดยปกติแล้วช่วงเย็นของแยกนี้คนจะค่อนข้างเยอะ เนื่องจากมีทั้งแหล่งชุมชน ร้านอาหาร […]

Waterline Park สวนน้ำสาธารณะในเมืองเฉิงตู ที่ได้แรงบันดาลใจจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

สภาพแวดล้อมของเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูงทำให้พื้นที่สีเขียวหรือจำพวกสวนสาธารณะนั้นน้อยลงทุกวัน ทว่าในบางย่านก็พบว่ายังมีพื้นที่รกร้างที่แม้จะดูไม่สวยงามน่ามอง แต่ก็สามารถนำมาสร้างให้เกิดประโยชน์กว่าที่เป็นอยู่ได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพด้วยโปรเจกต์สวนน้ำ ‘Waterline Park’ ที่เมืองเฉิงตู ประเทศจีน สถานที่แห่งนี้ถูกออกแบบและปรับเปลี่ยนผืนดินที่ถูกลืมให้กลายเป็นพื้นที่ที่นำความสุขมาสู่ชุมชนได้ บริเวณสวนน้ำนี้ถูกปรับปรุงมาจากรางน้ำยาว 1.5 กม. โดยมีความกว้างที่แคบที่สุด 40 ม. มีความสูงที่ต่างกันเฉลี่ย 5 – 7 ม. และขนาบข้างด้วยถนน จุดเด่นของการออกแบบคือ การปรับภูมิทัศน์ที่ตั้งใจเชื่อมต่อผืนดินทั้งสี่ผืนที่แยกส่วนก่อนหน้านี้ผ่านลักษณะทางน้ำที่เชื่อมต่อกัน เกิดเป็นทางเดินและลานกว้างซึ่งได้แรงบันดาลใจจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น หุบเขา น้ำตก ลำคลอง ชายฝั่ง เกาะ ฯลฯ ทำให้มองเห็นภูมิทัศน์สูงต่ำที่ลดหลั่นหลากหลายมิติ เป็นทั้งทางลาด ทางเรียบ หรือเป็นกำแพงกั้น ฯลฯ พูดได้ว่าไม่มีรูปแบบตายตัวเพื่อให้เกิดการไหลเวียนและการใช้น้ำอย่างหลากหลาย เป็นพื้นที่ที่เชื้อชวนให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น นอกจากบรรยากาศของสวนน้ำแล้ว ที่แห่งนี้ยังมีจุดแวะพักต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนได้พักผ่อนหย่อนใจ มีพื้นที่ให้ผู้คนได้นั่งเล่น ถ่ายรูป และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพโดยรอบ ทำให้ทุกคนเชื่อมต่อกับธรรมชาติและชุมชนได้มากกว่าที่ผ่านมา ที่นี่จึงกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีชีวิตชีวาและช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมไปในตัว Waterline Park เป็นทั้งพื้นที่ให้ได้เล่นสนุกสนาน ได้พักผ่อนกายา เป็นพื้นที่ศูนย์กลางสำหรับทำกิจกรรมของผู้อยู่อาศัยในชุมชน ทั้งยังมีความสวยงามราวหุบเขาสีเขียวในเมือง รวมถึงการออกแบบก็ยังครอบคลุมไปถึงประโยชน์ของระบบนิเวศที่สามารถทำหน้าที่เป็นสวนเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนได้อีกต่างหาก

มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

Hangles ศูนย์รวมสินค้ามือสอง ลดจำนวนกองขยะแฟชั่นล้นโลก

Hangles คือแพลตฟอร์มที่เป็นศูนย์รวมสินค้ามือสองคุณภาพดี เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับต่างๆ ทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดปริมาณกองขยะแฟชั่นล้นโลก วันนี้ Urban Creature ขอพาไปคุยกับ ‘ลูกน้ำ-เพ็ญพิชชา สันตินธรกุล’ และ ‘นุ่น-พิชชาธร สันตินธรกุล’ ผู้เริ่มต้นทำ ‘Hangles’ ตลาดนัดออนไลน์แห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางสำหรับใครก็ตามที่อยากโละตู้เสื้อผ้าได้ส่งต่อและแลกเปลี่ยนหมุนเวียนสินค้ากับคนอื่นๆ

ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?

กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

1 59 60 61 62 63 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.