‘ออสโล’ กับแผนการสร้างเมืองให้ผู้คนสูงวัยได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข

โลกของเรามีประชากรสูงอายุเยอะขึ้นทุกปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนมีอายุขัยยาวนานกว่าเดิม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 โลกจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 2 พันล้านคน หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด เพราะเหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มทยอยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงพัฒนาแผนการรับมือที่จะทำให้เมืองของตัวเองรองรับประชากรวัยชราได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเมืองที่ตื่นตัวรับมือกับความท้าทายนี้ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลกคือ ‘ออสโล’ ประเทศนอร์เวย์ เมืองหลวงแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ทุกคนเติบโตอย่างมีความสุขได้อย่างไร คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปหาคำตอบกัน การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับประชากรสูงวัย “เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยคือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งส่งเสริมให้ประชากรมีอายุมากขึ้นได้อย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี” นี่คือคำนิยามของ ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย’ หรือ ‘Age-friendly City’ ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน ‘Action Plan for an Age-friendly City’ และ ‘Plan for Safe and Diversified Care of Older People’ […]

เดชรัต สุขกำเนิด กับปรัชญาการทำงานในสังคมต่างวัย

ในวันที่ ‘คนรุ่นใหม่’ มีบทบาทในสังคมมากกว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาแล้ว ‘ผู้อาวุโส’ จะอยู่ตรงไหนในสังคมการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกัน สนทนาถึงประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด’ ผู้อำนวยการ Think Forward Center แห่งพรรคก้าวไกล ที่ใครๆ ก็เห็นว่าเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ คนสูงวัยหรือผู้อาวุโสควรวางตัวอย่างไร ต้องปรับมายด์เซตแบบไหนให้ไม่เป็นพิษกับเด็กๆ รอบข้าง ตามไปฟังคำแนะนำจากผู้อาวุโสคนหนึ่งที่พยายามไม่ใช้ความอาวุโสไปกดทับใครในบทสัมภาษณ์นี้ ‘Super Seniors’ คือซีรีส์คอนเทนต์จาก Urban Creature ที่ต้องการฉายภาพสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุที่ไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ พร้อมกับชวนไปสำรวจโครงสร้าง นโยบาย และมายด์เซตที่เมืองของเราได้เตรียมพร้อมไว้ให้คนกลุ่มนี้

The Old Men and The Park สูงวัยในสวนสาธารณะ

ในเมืองใหญ่แห่งนี้มีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มาพบปะ สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกันค่อนข้างน้อย จะมีก็แต่สวนสาธารณะที่ดูเข้าถึงง่ายหน่อย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักออกมาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง รำมวยจีน เต้นลีลาศ หรือแอโรบิก บางคนมาเป็นประจำทุกวันจนกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ตอนเกษียณจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 10 – 20 ปี แต่หากพูดถึงการเดินทางมาสวนสาธารณะ เราได้พูดคุยกับผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มาสวนเป็นประจำ ได้รับคำตอบว่า เพราะสวนอยู่ใกล้บ้านมากๆ ทำให้พวกเขาเดินเท้ามาได้เลย ถึงอย่างนั้นกับบางคนก็ใช้ระยะเวลาในการเดินทางค่อนข้างนาน มีความยากลำบากอยู่ไม่น้อย แต่พวกเขาก็ยอมเดินทางมา เพราะพื้นที่สวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ไม่ได้มีตัวเลือกมากมายขนาดนั้น เราคิดว่า ถ้ามีสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่านี้ก็คงดี เพราะนอกจากส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในแง่พื้นที่การออกกำลังกายและนัดหมายพบปะเพื่อนฝูงแล้ว ยังทำให้วัยรุ่นและวัยทำงานได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แถมยังเป็นหนทางปลีกตัวออกจากสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แล้วมาผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติ หากไปดูในต่างประเทศ ทุกชุมชนล้วนมีสวนสาธารณะขนาดย่อมตั้งอยู่ ทำให้ใครๆ ต่างอยากออกมาเดินเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก หรือในบางประเทศที่ออกแบบสวนสาธารณะได้สวยงามมากๆ ก็ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ด้วย

FYI

‘ชีวิตคือความลำบาก’ วัยเกษียณที่ไม่มีจริงของ ‘ผู้สูงวัย’ ในเมืองแรงงาน

ในวันหยุดแสนสบาย อากาศแจ่มใส เมฆหนาลอยเกลื่อนอยู่บนฟ้า เราพาตัวเองออกเดินไปในเมืองตามย่านต่างๆ เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คน และได้พบว่า ‘กรุงเทพฯ’ นั้นมีผู้คนมากหน้าหลายตาพลัดถิ่นเข้ามาใช้ชีวิตและทำงาน ไม่ใช่แค่วัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังแรงหลัก ทว่าผู้สูงวัยในเมืองนี้ก็ยังคงต้องทำงานเช่นกัน เราแวะทักทายคุณลุงคุณป้าที่เดินสวนกัน บางคนกำลังเข็นรถขายของ บางคนกำลังขะมักเขม้นอยู่กับการงานตรงหน้า เรามองเห็นผิวหนังกรำแดด ร่องรอยเหี่ยวย่นของกาลเวลา และพบเจอบางสิ่งบางอย่างจากแววตาของลุงๆ ป้าๆ ที่สะท้อนให้รู้ว่า ‘ชีวิตคือความลำบาก’ เพราะในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำมีระยะห่างมากเกินไป แม้สังขารจะไม่เที่ยง ร่างกายจะชำรุด หรือเรี่ยวแรงเหลือน้อยเต็มที แต่ผู้สูงวัยหลายคนเหล่านั้นล้วนห่างไกลจากคำว่า ‘ชีวิตหลังวัยเกษียณ’ และอาจต้องทำงานไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อดูแลตัวเองให้ไม่เดือดร้อนใคร พาไปสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คนสูงวัยในมหานครแห่งนี้ ผ่านบทสนทนาอันหวานขมของชีวิต พร้อมกับคำอวยพรจากคนวัยเก๋าที่ฝากให้คนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้ สู้ สู้กันต่อไป ชื่อ : ลุงเกียรติ พรมรุกชาติอาชีพ : ปั่นรถถีบสามล้ออายุ : 64 ปีภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ ดวงตะวันเกือบตรงหัว บนถนนที่รถราแล่นสวนกันไปมามุ่งหน้าสู่จุดหมาย ‘ลุงเกียรติ พรมรุกชาติ’ เองก็กำลังปั่นสามล้อคู่ใจมองหาผู้โดยสาร เราโบกมือให้ลุงจอดและเอ่ยทักทายพูดคุยกับเขา “ชีวิตคนเราต้องดิ้นรน จากบุรีรัมย์ผมก้าวเข้ามาอยู่ที่นี่ (ตัวเมืองพระประแดง) ราวปี 2539 เมื่อก่อนเศรษฐกิจดี […]

‘O-SOW’ กระดาษชำระย่อยสลายได้ที่ใช้แล้วมีส่วนช่วยในการปลูกป่า เพราะมีเมล็ดพืชฝังไว้ภายใน

แม้กระดาษชำระสีขาวแบบเป็นม้วนหรือแผ่นสี่เหลี่ยมที่เราใช้ทุกวันนี้จะย่อยสลายได้ แต่รู้หรือไม่ว่า หากเราทิ้งไม่ถูกที่ กระดาษพวกนี้อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน ในระหว่างการเดินป่าของ ‘Aviva Reviv’ นักเรียนด้านการออกแบบอุตสาหกรรมที่ Bezalel Academy of Arts and Design พบว่าเธอมักเจอกระดาษชำระที่ถูกทิ้งอยู่อย่างไม่ถูกต้องในธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้แก้ไขปัญหานี้ และออกมาเป็น ‘O-SOW’ กระดาษชำระที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ที่เพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งแวดล้อมมากกว่าก่อให้เกิดมลพิษ O-SOW มีลักษณะเป็นแผ่นกลมรีคล้ายรูปทรงไข่ไก่ และมีสีออกไปในโทนเหลืองเนื่องจากตัวกระดาษชำระทำมาจากผลส้มที่ช่วยเรื่องความยืดหยุ่น รวมไปถึงว่านหางจระเข้ที่เพิ่มความอ่อนโยนเวลาสัมผัสผิว และเมื่อวัสดุเหล่านี้เจอกับแบคทีเรีย ‘E. coli’ ที่พบในอุจจาระของมนุษย์ ก็จะเร่งให้เกิดการสลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อเราทิ้งไว้ในป่าด้วย นอกจากนี้ ภายในกระดาษชำระแต่ละแผ่นยังมีการฝังเมล็ดพันธุ์พืชที่แตกต่างกันเอาไว้ ช่วยให้นักเดินทางเลือกใช้กระดาษชำระให้ตรงตามพืชพรรณพื้นเมืองในท้องถิ่นที่ไปเดินป่า ไม่ว่าจะเป็นมินต์ ดอกโบตั๋น ดอกกุหลาบ ผักชีฝรั่ง และผักเครส เพราะพืชเหล่านี้จะงอกและเจริญเติบโตได้ดีเมื่อได้รับของเสียจากมนุษย์ที่อุดมด้วยสารอาหาร ด้วยเหตุนี้ O-SOW จึงเป็นกระดาษชำระแบบใช้แล้วทิ้งที่น่าสนใจสำหรับสายเดินป่าที่ต้องการช่วยฟื้นฟูพื้นที่ป่าไปพร้อมๆ กัน Sources :The Beat | t.ly/JVHJ3Yanko Design | t.ly/OQRzc

‘แม้เราจะมีลูก แต่ก็ยังโดดเดี่ยว’ มองสังคมผู้สูงวัยแต่ละประเทศผ่าน 8 หนังและซีรีส์

แม้จะมีภาพยนตร์หรือซีรีส์จำนวนไม่มากที่เลือกถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตหรือบริบทสังคมผู้สูงอายุโดยมีพวกเขาเป็นคนแสดงนำ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กำกับหยิบเรื่องของพวกเขาในแง่มุมต่างๆ มานำเสนอ ก็มักจะกินใจผู้ชมอยู่เสมอ เพราะไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก กลุ่มผู้สูงอายุก็เป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ทำให้สังคมดำเนินต่อไปได้  และในขณะเดียวกัน การนำเสนอภาพผู้สูงอายุจากฝั่งตะวันตกหรือฝั่งเอเชียที่อยู่ในบริบททางสังคมที่แตกต่างกันในจอภาพยนตร์ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดหรือปัญหาผู้สูงวัยที่แต่ละประเทศกำลังเผชิญ เพื่อเรียนรู้หรือหาหนทางแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน คอลัมน์ ‘เนื้อหนัง’ ชวนทุกคนมาร่วมมองประเด็นสังคมผู้สูงอายุผ่าน 8 ภาพยนตร์และซีรีส์ที่ล้วนสะท้อนถึงบริบททางสังคมและการจัดการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ 01 | Plan 75 (2022)เมื่อญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้คนอายุ 75 ปี เลือกตายอย่างสมัครใจ(การการุณยฆาตและสังคมที่ไม่มีโอกาสให้ผู้สูงอายุ) ถ้าพูดถึงหนังที่มีตัวเอกดำเนินเรื่องเป็นผู้สูงอายุในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘Plan 75’ (2022) ที่หยิบจับเอาประเด็นเรื่องสังคมผู้สูงอายุและการการุณยฆาตมาเล่าผ่านบริบทความเป็นประเทศญี่ปุ่นได้อย่างเจ็บแสบ จนได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ญี่ปุ่นเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์นานาชาติเวทีออสการ์ปี 2023 ผู้ชมจะรับรู้ถึงความยากลำบากของสถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศนี้ได้ผ่านการเล่าเรื่องราวสุดดิสโทเปีย เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมาย Plan 75 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป เลือกการุณยฆาตตนเองได้อย่างสมัครใจ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับเงินชดเชยถึง 1 แสนเยน เพื่อหวังแก้ปัญหาตัวเลขผู้สูงอายุล้นเมือง และจากตัวกฎหมายนี้เองที่ทำให้เราเห็นถึงเบื้องลึกในจิตใจของคนแต่ละกลุ่ม ตั้งแต่คนที่มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคม ไปจนถึงตัวผู้สูงอายุบางคนที่มองว่าการการุณยฆาตอาจไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ แต่เป็นเพราะสังคมที่ไม่มีโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตต่างหากที่กำลังบังคับให้พวกเขาเลือกเส้นทางนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ 02 | C’mon C’mon (2021)การออกเดินทางสัมภาษณ์เด็กในอเมริกาของลุงและหลาน(การมองโลกของคนสองวัยในมุมมองที่แตกต่างกัน) ‘เรานึกภาพอนาคตของตัวเองไว้แบบไหน’‘ถ้าเราสามารถมีพลังพิเศษได้ […]

FYI

‘LIVE OUR WAY อยากอยู่อย่างนี้…ด้วยกัน’ แคมเปญจากบุญถาวร ที่อยากให้สมาชิกในบ้านเห็นภาพบ้านใหม่ตรงกัน

ปัจจุบัน การชุบชีวิตบ้านหลังเก่าด้วยการรีโนเวทกลายเป็นเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่หลายคนสนใจ ด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภาระในชีวิตก็หลากหลาย การจะตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ก็อาจไม่คุ้มค่าเท่ากับการรีโนเวทบ้านที่อยู่มาตั้งแต่เด็ก เพราะถ้าไม่นับเรื่องค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการย้ายบ้าน การอยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความทรงจำของคนหลายรุ่นนั้นถือเป็นตัวเลือกที่ดี แต่นั่นแหละคือประเด็น มีคนหลายคนอยู่ในบ้าน และทุกคนล้วนมีความทรงจำของตัวเอง การจะเปลี่ยนหน้าตา ฟังก์ชั่น และบรรยากาศของบ้านที่เคยสร้างความทรงจำเหล่านั้นถือเป็น ‘เรื่องใหญ่’  หนึ่งในปัญหาสุดคลาสสิกที่ครอบครัวส่วนมากต้องเผชิญเมื่อยามต้องรีโนเวทบ้านคือ ความต้องการและภาพในหัวของคนในบ้านแต่ละคนไม่เหมือนกัน  บางคนอาจหวงพื้นที่ ไม่อยากให้ทำอะไรกับบ้านที่ตัวเองอยู่มาทั้งชีวิต บางคนอยากให้เหลือเค้าโครงของบ้านไว้แล้วเปลี่ยนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้ตามใจ หรือบางคนก็อยากให้ทุบห้อง เปลี่ยนใหม่หมดเลย อุปสรรคใหญ่ที่เปรียบเหมือนกำแพงสูงคือการสื่อสารกันของคนในบ้าน บางครั้งการหาตรงกลางของความต้องการเหล่านั้นก็เป็นเรื่องไม่ง่าย เมื่อการสื่อสารกันกลายเป็นเรื่องยาก คนในบ้านก็อาจไม่ได้ข้อสรุปสักที สุดท้ายการรีโนเวทจึงกลายเป็นหัวข้อที่ทำให้ทุกคนไม่อยากคุยกันอีก เพราะเป็นแบรนด์ที่ให้บริการรีโนเวทบ้านแบบครบวงจร อยู่เป็นเพื่อนคนรักบ้านมายาวนานกว่า 40 ปี บริษัท บุญถาวรวัสดุภัณฑ์ จำกัด จึงเข้าใจ Pain Point เรื่องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยอย่างทะลุปรุโปร่ง พวกเขาเห็นปัญหาการเห็นภาพบ้านใหม่ไม่ตรงกันของสมาชิกในบ้าน และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานั้นด้วยแคมเปญ LIVE OUR WAY อยากอยู่อย่างนี้…ด้วยกัน   บุญถาวรอยากให้ทุกบ้านได้อยู่อย่างที่อยาก มากกว่านั้นคืออยากกระตุ้นให้สมาชิกในบ้านคุยกันมากขึ้น ในแคมเปญนี้พวกเขาจึงสร้างเว็บไซต์แนวอินเทอร์แรกทีฟที่ชวนให้คนอยากรีโนเวทบ้านมานั่งหน้าคอมพ์ (หรือถ้ามาพร้อมกันทั้งบ้านได้ยิ่งดี) แล้วตอบคำถาม ‘ผีในบ้าน’ เกี่ยวกับที่อยู่ในฝัน เพื่อนำไปออกแบบหน้าตาของบ้านใหม่จากคำตอบเหล่านั้น ความพิเศษคือจะได้รับ Door […]

นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสีชนิดใหม่ ช่วยสะท้อนแสงอินฟราเรด ทำให้บ้านเย็นและอุ่นได้ตลอดปี

ปัจจุบันหลายคนเริ่มหันมาใช้สีทาบ้านที่มีคุณสมบัติช่วยทำให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นขึ้น แต่สีที่ปล่อยรังสีในระดับต่ำมักเป็นสีขาว สีเงินเมทัลลิก หรือสีเทา ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่หลากหลายเท่าไรนัก นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดจึงคิดค้นสีชนิดใหม่ที่มีเฉดสีหลากหลายมากกว่าเดิม เช่น สีส้ม สีเหลือง สีน้ำเงิน ที่จะช่วยทำให้บ้านและอาคารมีสีสันสวยงามไปพร้อมๆ กับให้ความอบอุ่นในฤดูหนาวและความเย็นในฤดูร้อน รวมถึงยังมีคุณสมบัติที่ทนทานต่ออุณหภูมิ ความชื้น และรังสีอัลตราไวโอเลตระดับสูงได้มากกว่าสีชนิดอื่นๆ หลังจากทำการทดสอบพบว่า สีชนิดนี้ช่วยลดพลังงานในการทำความร้อนในช่วงอากาศเย็นได้ประมาณ 36 เปอร์เซ็นต์ และลดพลังงานที่จำเป็นสำหรับการทำความเย็นในช่วงอากาศอบอุ่นเกือบ 21 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งนักวิจัยมองว่าสีเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจากการช่วยลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอาคาร คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั่วโลก และ 11 เปอร์เซ็นต์จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยองค์ประกอบของสีมีสองชั้น ชั้นล่างทำจากเกล็ดอะลูมิเนียมที่ทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนแสงอินฟราเรดกลับได้มากกว่าเดิม ส่วนชั้นบนทำจากอนุภาคนาโนอนินทรีย์ที่มีสีหลากหลาย ทำหน้าที่ให้ความสวยงามและช่วยปกป้องสีชั้นล่างจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ทำให้เกิดสนิมอีกด้วย นอกจากจะช่วยป้องกันบ้านและอาคารแล้ว สีเฉดใหม่ยังสามารถนำไปใช้กับพื้นผิวอื่นๆ ได้ เช่น รถบรรทุกหรือตู้รถไฟที่มีห้องเย็นสำหรับขนส่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการใช้งานในอนาคต ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ยังคงปรับปรุงสูตรสีสำหรับการใช้งานจริงๆ โดยกำลังมองหาทางเลือกที่จะทำให้เฉดสีสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นด้วย Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/4h3b98crNature World News | tinyurl.com/nhk32evpStanford | tinyurl.com/26mb797z

Super Seniors ผู้สูงวัยเยอะ สวัสดิการน้อย คุ้มครองแต่ไม่ครอบคลุม

ถ้าเด็กในวันนั้นคือผู้ใหญ่ในวันนี้ ดังนั้นผู้ใหญ่ในวันนี้ก็คือ ‘ผู้สูงอายุ’ ในวันหน้าแบบที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นเดียวกัน ยิ่งในทุกวันนี้ที่สภาพคล่องทางการเงินของคนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไหนจะภาวะเงินเฟ้อที่สูงสวนทางกับรายได้ ทำให้เราหลายคนต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน หรือบางเดือนอาจไม่พอเลยด้วยซ้ำ แบบนี้จะเก็บเงินก้อนไว้ใช้ชีวิตในช่วงสูงวัยได้ยังไงกันฃ และปัญหาเหล่านี้ยังเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้วัยรุ่นหลายคนเริ่มวางแผนการใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายของตัวเองกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะดูเหมือนปัจจัยและบริบทต่างๆ ในสังคมไทยจะไม่ค่อยส่งเสริมให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีกันสักเท่าไหร่ คอลัมน์ Overview ประจำเดือนสิงหาคมนี้ ขอพาทุกคนไปสำรวจสถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ไปจนถึงสิทธิและสวัสดิการที่คนเหล่านี้จะได้รับจากภาครัฐ และมองหาบ้านพักหลังสุดท้ายอย่างบ้านพักคนชราที่ผกผันไปตามเม็ดเงินในกระเป๋าในบั้นปลายชีวิตไปพร้อมๆ กัน 01 | ไทยเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด หลายคนอาจจะได้ยินกันมาตลอดว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่กับเหตุการณ์ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ ‘กำลัง’ แต่ประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้ามายืนในสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว เพราะจากการสำรวจประชากรในประเทศไทยปี 2023 พบว่า ประเทศของเรามีประชากรทั้งสิ้น 71,801,279 คน และในจำนวนนี้มีกลุ่มคนที่อยู่ในเกณฑ์ ‘ผู้สูงอายุ’ หรือกล่าวคือ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย มากถึง 16,405,119 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 7,297,175 คน และเพศหญิง 9,107,944 คน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะพบว่า จำนวนผู้สูงอายุในประเทศมีสัดส่วนจากประชากรทั้งหมดมากถึง 22.85 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทำให้ปัจจุบันสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ไทยเราได้เข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ […]

FYI

theCOMMONS Cloud 11 คอมมูนิตี้แห่งใหม่ย่านสุขุมวิทใต้ เติมเต็มทุกความคิดสร้างสรรค์ของเหล่าครีเอเตอร์

เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์เตรียมตัวให้พร้อม เพราะอีกไม่นานกรุงเทพฯ จะมีพื้นที่แห่งใหม่ที่ช่วยเติมเต็มการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจของนักสร้างสรรค์ทุกคน ‘theCOMMONS Cloud 11’ คือคอมมูนิตี้แห่งใหม่ที่มาพร้อมคอนเซปต์ ‘Creators’ Backyard’ หรือ ‘สวนหลังบ้านสำหรับครีเอเตอร์’ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานจุดแข็งของ theCOMMONS คอมมูนิตี้สเปซที่นำเสนอ Wholesome Community หรือการใช้ชีวิตอย่างสมดุลทั้งการดูแลตัวเองและผู้อื่น ร่วมกับแนวคิด Empowering Creators ของโครงการ Cloud 11  โดย theCOMMONS Cloud 11 ตั้งใจเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจของบรรดาคอนเทนต์ครีเอเตอร์ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในย่านสุขุมวิทใต้ให้เป็นย่านนวัตกรรมแห่งใหม่ของเอเชีย ควบคู่กับการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมอย่างต่อเนื่อง ระบบนิเวศที่ทำให้การสร้างสรรค์คอนเทนต์สมบูรณ์ขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมโครงการที่มุ่งมั่นจะเป็นศูนย์กลางของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่สุดในเอเชียอย่าง Cloud 11 ถึงเลือก theCOMMONS มาเป็นพาร์ตเนอร์ นั่นเพราะ theCOMMONS คือคอมมูนิตี้ที่มีวิสัยทัศน์และพันธกิจทางธุรกิจไปในทิศทางเดียวกันกับ Cloud 11 การจับมือร่วมกันครั้งนี้จึงถือเป็นการเติมเต็มระบบนิเวศการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับวงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ของไทย ช่วยให้วิสัยทัศน์ Empowering Creators แข็งแกร่งมากขึ้น รวมถึงช่วยให้วงการนักสร้างสรรค์ของไทยไปยืนอยู่ในเวทีระดับโลกได้ ‘วิชรี วิจิตรวาทการ’ ผู้บริหารคินเนสท์ กรุ๊ป […]

จะทำงาน กินข้าว วางของ ตู้เดียวอยู่! ตู้เก็บของจากแบรนด์ SPS FURNTIURE แยกร่างได้ ช่วยประหยัดพื้นที่

ยังจดจำวันแรกที่ก้าวเข้าสู่ห้องที่ว่างโล่งนั้นได้หรือเปล่า ผ่านวันเวลามาจนถึงวันนี้ ลองมองดูอีกทีสิว่าความโล่งเหล่านั้นหายไปไหนแล้ว และเมื่อใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ นับวันข้าวของก็ยิ่งเพิ่มพูน ด้วยพื้นที่อยู่อาศัยมีขอบเขตจำกัดมากขึ้น ส่งผลให้หลายคนต้องจัดระเบียบและออกแบบบ้านใหม่เพื่อรองรับความต้องการและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์จึงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้เราจึงอยากหยิบอีกหนึ่งเฟอร์นิเจอร์มากฟังก์ชันมาให้ชมกัน เฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้คือ ‘ตู้เก็บของ’ (Sideboard) จากแบรนด์ ‘SPS FURNTIURE’ ที่มีขนาดเท่าตัวคน มีหน้าตาน่ารักและมีแขนเล็กๆ สองข้างทำท่าทางเสมือนยืนเท้าเอวจ้องมองไปด้านหน้า ตรงกลางมีชั้นวางสิ่งของที่เพียงพอสำหรับเก็บขวด แก้ว หนังสือ หรือกระถางต้นไม้สุดน่ารัก และยังมีลิ้นชักหลายแห่งให้เลือกจัดเก็บจานชามยันเครื่องมือต่างๆ ผู้ออกแบบอย่าง Jason Han ตั้งใจดีไซน์ให้ไซด์บอร์ดนี้มีความพิเศษตรงที่สามารถแยกร่างได้ โดยส่วนประกอบที่แยกออกมาสามารถใช้เป็นได้ทั้งโต๊ะทำงานที่มีหลายรูปแบบให้เลือก ซึ่งช่วยขยายความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเมื่อใช้งาน นอกจากใช้ภายในบ้านแล้ว ตู้ไซด์บอร์ดยังใช้งานในสำนักงานได้ด้วย สำหรับเก็บอุปกรณ์สำนักงาน เครื่องเขียน หนังสือ ฯลฯ และเมื่อไซด์บอร์ดนี้แปลงร่างอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ก็ยังสามารถขยายเป็นโต๊ะทานอาหารที่รองรับผู้คนนั่งล้อมวงได้ด้วยเก้าอี้ถึงสี่ตัว ตู้ไซด์บอร์ดไม้ที่ Jason Han ออกแบบถือเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่มีฟังก์ชันมากกว่าหนึ่ง ช่วยให้พื้นที่อันจำกัดในสถานที่พักอาศัยนั้นใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น Source :Yanko Design | tinyurl.com/3zeb3crr

Urban Playground แปลงร่างบล็อกสี่เหลี่ยมให้เป็นสนามเด็กเล่น เปลี่ยนใจกลางลอนดอนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ใครจะคิดว่าแค่บล็อกสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 ชิ้นใหญ่ก็สามารถแปลงร่างเป็นชิ้นส่วนสนามเด็กเล่นสำหรับเสริมสร้างจินตนาการเด็กในกรุงลอนดอนได้แล้ว ‘Urban Playground’ เป็นผลงานทดลองการออกแบบสนามเด็กเล่นที่เคลื่อนที่ได้จากฝีมือของ ‘McCloy + Muchemwa’ สองนักออกแบบที่เปิดสตูดิโอร่วมกันเพื่อสำรวจการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ และร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในการออกแบบโครงการสาธารณะด้วยแนวคิดที่น่าสนใจ ครั้งนี้ทั้งสองคนหยิบเอาแรงบันดาลใจจากของเล่นไม้สำหรับเด็กที่มีชิ้นส่วนที่ประกอบเข้าด้วยกันได้มาใช้ในการออกแบบสนามเด็กเล่นแห่งนี้ โดยบล็อกแรกถูกแกะสลักเป็นรูปทรงโค้ง ในขณะที่อีกชิ้นเป็นรูปทรงตัด ซึ่งสามารถดึงชิ้นส่วนออกมาตั้งตามพื้นที่ต่างๆ ภายในสวนเพื่อให้เด็กได้ปีนป่ายหรือนั่งเล่นอย่างอิสระ McCloy + Muchemwa กล่าวว่า สนามเด็กเล่น Urban Playground นี้ไม่มีวิธีการเล่นที่ถูกผิดหรือตายตัว เพราะพวกเขาออกแบบมาให้ใช้งานแต่ละชิ้นส่วนได้อย่างอิสระ เพื่อจุดประสงค์หลักคือการเสริมสร้างจินตนาการผ่านการเล่นภายใต้กรอบการทำงานที่ยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังไม่ต้องกลัวว่าอุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นอันตรายกับเด็กๆ เพราะโครงของเครื่องเล่นทำขึ้นจากแผ่นไม้อัด OSB (Oriented Strand Board) ที่หุ้มด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างกระเบื้องยางที่ผลิตแบบ CO2 Neutral และแผ่นไม้ก๊อกที่ผ่านการอบด้วยความร้อนตามธรรมชาติแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับสัมผัสและประสบการณ์ในการเล่นของเล่น ให้เด็กๆ ได้ใกล้ชิดกับวัสดุธรรมชาติมากขึ้น รวมไปถึงสร้างบรรยากาศในย่านธุรกิจใจกลางกรุงลอนดอนให้กลับมาคึกคักและสนุกสนานด้วยเสียงหัวเราะของเด็กๆ อีกครั้ง Sources : ArchDaily | t.ly/qVc4aMcCloy + Muchemwa | www.mccloymuchemwa.com

1 56 57 58 59 60 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.