LATEST
มาร่วมสร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดี ในงาน ‘Sustainability Expo 2023’ วันที่ 29 ก.ย. – 8 ต.ค. 66 ที่ศูนย์สิริกิติ์ฯ
กลับมาอีกครั้งกับมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ‘Sustainability Expo 2023’ ที่เกิดจากพลังความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำด้านความยั่งยืนของไทยและระดับนานาชาติ ในการร่วมสร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า Sustainability Expo ครั้งนี้จัดเต็มเวทีเสวนารวมมุมมองต่างวัยจากผู้ลงมือทำจริง 350 วิทยากร 500 เครือข่ายธุรกิจยั่งยืน โดยภายในงานเรายังจะได้เห็นโลกใหม่ผ่านประสบการณ์เต็มรูปแบบจาก 5 โซนนิทรรศการมัลติมีเดีย ได้แก่ – โซน SEP Inspiration ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสประสบการณ์โลกเสมือน ‘PROLOGUE : WHAT IF THE WORLD’ ที่จะพาไปเข้าใจสมดุลใหม่ Ring of Balance เจาะลึกหัวใจแห่ง SX บอกเล่าเรื่องราวของโลกในมิติต่างๆ และความรู้ใหม่จากองค์กรที่เป็นนักปฏิบัติด้านความยั่งยืน – โซน BETTER WORLD พื้นที่รวมงานศิลป์สะท้อนมุมมองความยั่งยืนในหลากหลายรูปแบบ – โซน BETTER ME นวัตกรรมอาหารกู้โลก การดูแลสุขภาพและชีวิตที่ยืนยาวอย่างยั่งยืน – โซน BETTER LIVING ตัวอย่างธุรกิจยั่งยืนทั่วโลก แสดงกระบวนการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำที่น้อยคนจะได้เห็น พร้อมความพยายามกอบกู้ฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ […]
‘Noble AQUA Riverfront Ratburana’ โครงการบ้านเดี่ยวริมเจ้าพระยา กับการทำให้แม่น้ำเป็นโจทย์หลักในการอยู่อาศัย
เมื่อพูดถึงบ้านเดี่ยวริมแม่น้ำ ภาพส่วนใหญ่ที่เรานึกถึงมักเป็นบ้านพักตากอากาศในต่างจังหวัดหรือเป็นที่อยู่อาศัยที่ไกลออกไปจากตัวเมือง ซึ่งให้บรรยากาศความเป็นส่วนตัวและความสงบเหมาะแก่การพักผ่อน ทว่าล่าสุด ‘Noble’ ได้เปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยวติดริมแม่น้ำในเมืองกับโครงการใหม่ ‘Noble AQUA Riverfront Ratburana’ Noble AQUA Riverfront Ratburana ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Oneness with the River’ หรือการหลอมรวมความสุขในการใช้ชีวิตและธรรมชาติไว้ด้วยกัน ผ่าน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ที่ตั้ง ดีไซน์ และประสบการณ์การอยู่อาศัยของลูกบ้าน ที่ตั้งของโครงการอยู่บนถนนราษฎร์บูรณะ ทำเลที่สามารถเดินทางไปในย่านศูนย์กลางธุรกิจทั้งสาทร สีลม และสุขุมวิทได้อย่างสะดวกสบาย และที่สำคัญคือโครงการนี้อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในบริเวณที่มีโค้งน้ำกว้างและสงบ เป็นบรรยากาศที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยและพักผ่อนในเวลาเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่หายากในปัจจุบันนี้ ส่วนการดีไซน์ของตัวบ้านนั้นก็เน้นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีโจทย์หลักในการออกแบบคือ ‘แม่น้ำ’ เพื่อให้บ้านทุกหลังมองเห็นวิวแม่น้ำได้มากที่สุด หรือแม้แต่การจัดวางฟังก์ชันที่แตกต่างอย่างการนำพื้นที่ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่นขึ้นไปไว้บนชั้น 2 และชั้น 3 ที่จะมองเห็นวิวแม่น้ำในจุดที่ดีที่สุดของบ้าน การสร้างช่องว่างระหว่างบ้านแต่ละหลังเพื่อความเป็นส่วนตัว รวมถึงการใช้รูปทรงหลังคาแบบทรงจั่วเพื่อลดปริมาณความหนาแน่นของอาคาร และสร้างสโลปใต้หลังคาที่ช่วยให้พื้นที่ภายในตัวบ้านมีเสน่ห์มากขึ้น นอกจากนี้ Noble AQUA Riverfront Ratburana ยังพร้อมมอบประสบการณ์การอยู่อาศัยอย่างสะดวกสบายและปลอดภัย ด้วยฟังก์ชันต่างๆ […]
ร่วมลุ้นรางวัลไปกับสองหนังไทย ‘Solids by the Seashore’ และ ‘ดอยบอย’ ในเทศกาลหนังปูซาน ครั้งที่ 28
แม้ว่าหนังไทยจะถูกปรามาสหรือวิจารณ์อยู่เนืองๆ ถึงเรื่องโปรดักชันไม่ปัง เนื้อหาที่พูดไม่ได้ พลอตเรื่องเก่าชวนให้เบื่อ ฯลฯ จนผู้ชมหันหน้าหนีหนังไทยไปหาดูอย่างอื่นกันแทน แต่หนังไทยที่ถูกแปะป้ายเช่นนั้นก็เป็นเพียงความจริงหนึ่ง เพราะในอีกหลายมิติของวงการภาพยนตร์ไทยก็ใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นทั้งหมด เพราะหากเราดูรายชื่อใน ‘เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน’ (Busan International Film Festival : BIFF) จะเห็นหนังไทยที่มีชื่อเข้าร่วมลุ้นรางวัลหรือได้ไปฉายอยู่หลายเรื่อง อย่างเมื่อปีที่แล้ว ‘Blue Again’ ผลงานของผู้กำกับหญิง ‘ฐาปณี หลูสุวรรณ’ ก็ได้เดินทางไปฉายในเทศกาลนี้มาแล้ว และในปี 2566 ก็มีรายชื่อสองหนังไทยอย่าง ‘Solids by the Seashore’ และ ‘ดอยบอย’ ที่ได้รับคัดเลือกเข้าประกวดชิงรางวัลด้วย ‘Solids by the Seashore (ทะเลของฉันมีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง)’ ของ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ ผู้กำกับที่เคยมีผลงานภาพยนตร์หลายเรื่องไปฉายยังหลากหลายประเทศ โดยเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา ว่าด้วยหญิงสาวชาวใต้ที่มีครอบครัวมุสลิมอนุรักษนิยม ซึ่งได้ใกล้ชิดกับศิลปินหญิงหัวขบถจากในเมืองที่เดินทางมาจัดนิทรรศการศิลปะ โดยมีฉากหลังของความสัมพันธ์เป็นสิ่งแวดล้อมของทะเลที่งดงามและชีวิตชายฝั่งที่กำลังเผชิญความเสียหายทางธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าประกวดในสาย New Currents ซึ่งจะมอบให้กับผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกหรือเรื่องที่สองของผู้กำกับหน้าใหม่ชาวเอเชีย คัดเลือกโดยคณะกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก อีกเรื่องคือ ‘DOI BOY’ […]
8 วิธีที่ทำให้การอยู่อาศัยในคอนโดฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน
คนเมืองยุคนี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น เนื่องจากทำเลตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตอบโจทย์การเดินทาง สะดวกสบาย ดูแลง่าย และมีราคาที่จับต้องได้มากกว่าการซื้อบ้านเป็นหลัง แต่พอเป็นคอนโดฯ ที่มีพื้นที่จำกัด ก็อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยทำอะไรกับพื้นที่ห้องไม่ได้มากนัก ไม่เหมือนกับบ้านที่เราอาจตกแต่ง ปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมส่วนสีเขียว เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัยมีชีวิตชีวา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงอย่างนั้น การอยู่อาศัยในคอนโดฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะกรีนไม่ได้ เพราะยังมีอีกหลายวิธีให้เราปรับเปลี่ยนหรือเสริมนิดๆ หน่อยๆ เพื่อทำให้ห้องเล็กๆ ของเราดีต่อใจ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนหลอดไฟเป็นไฟ LED ไฟ LED มีข้อดีกว่าหลอดไส้ทั่วไป เนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่ามากสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ อายุการใช้งานทนทานถึง 20 ปี มีขนาดเล็กและสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย จึงเหมาะกับการเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายๆ ในคอนโดฯ ของเรา ตกแต่งคอนโดฯ ด้วยวัสดุเหลือใช้ ทุกคนน่าจะเคยได้รับของตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย หรือมีเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้ใช้หรือไม่อินแล้ววางอยู่ แต่ไม่รู้จะทำยังไง แทนที่จะใช้เฟอร์นิเจอร์และสิ่งของประดับที่ซื้อใหม่มาตกแต่งบ้าน ลองเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นแทน หรือถ้าไม่สปาร์กจอย จะลองทาสีตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูสนุกสนานและใหม่ขึ้น เพื่อช่วยลดของเสียที่จะถูกทิ้งในกองขยะ และยังเป็นการเพิ่มอายุการเก็บรักษาของวัสดุเหล่านี้ อีกทั้งการใช้ของเก่ามาตกแต่งจะช่วยเพิ่มกลิ่นอายการตกแต่งที่น่าสนใจให้ห้องหับของเราได้ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ แน่นอนว่าพฤติกรรมรักโลกที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้านที่คนนึกถึงเป็นอย่างแรกๆ คือ การกินอาหารออร์แกนิก […]
NIA และ กทม. มุ่งหน้าใช้ ARITech เปลี่ยนย่านอารีย์เป็นย่านนวัตกรรม รองรับการลงทุนจากภาครัฐ-เอกชน
คนกรุงเทพฯ ย่อมรู้ว่า ‘อารีย์’ เป็นย่านแห่งไลฟ์สไตล์ที่มีชื่อมากที่สุดในเมือง มีความเป็นชุมชนกึ่งเก่ากึ่งใหม่ ที่หากเดินเข้าไปจะพบว่าอาคารที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านค้าประเภทมัลติแบรนด์ ที่สร้างสีสันและความมีชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ จนกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวและทำเลทองของนักธุรกิจยุคใหม่ แต่ในอีกมุมหนึ่ง อารีย์ก็เป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ โคเวิร์กกิงสเปซ ไปจนถึงออฟฟิศให้เช่าชั่วคราว ซึ่งส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศของสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยเหตุนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จึงเลือกพัฒนาย่านนี้ให้เป็นย่านนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ดีขึ้น การพัฒนาครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีเชิงลึกด้านอารีเทค (ARITech) ได้แก่ AI, Robotics, Immersive และ IoTs มาผลักดันย่านสู่เมืองฉลาดรู้ และยกระดับให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่เพื่อรองรับธุรกิจนวัตกรรม การลงทุนจากภาครัฐ-เอกชน กลุ่มธุรกิจเทคจากต่างประเทศ และนำร่องให้ย่านอารีย์ได้เป็นพื้นที่ทดสอบทดลองนวัตกรรม ส่วนองค์ประกอบสำคัญของย่านอารีย์ที่หากเชื่อมโยงกันแล้วจะทำให้ย่านเกิดความก้าวหน้ามากขึ้น ประกอบด้วย 1) สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ จากการเป็นที่ตั้งของบริษัท หน่วยวิจัย และสตาร์ทอัพ ARITech ที่กระจายตัวภายในย่าน ครอบคลุมบริษัทชั้นนำระดับนานาชาติ2) สินทรัพย์ทางกายภาพ จากการเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง มีการเข้าถึงด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีความสะดวก และการใช้งานพื้นที่แบบผสมผสาน3) สินทรัพย์ทางเครือข่าย จากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มองค์กรทางสังคม ที่มีความสนใจในการร่วมพัฒนาย่าน4) สินทรัพย์ดิจิทัล […]
Nippan Group Tokyo Headquarter ออกแบบห้องสมุดส่วนกลางให้เป็นพื้นที่ทำงาน ที่รวมหนังสือจากคนทำงานพร้อมโน้ตบอกเหตุผล
การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เป็นหนึ่งส่วนที่ช่วยให้ผลลัพธ์การทำงานดีตามไปด้วย แต่สำหรับคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือแล้ว การเติมข้อมูลให้กับตัวเองอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ด้วยเหตุนี้ ‘Nippan Group Tokyo’ บริษัทขายส่งหนังสือที่สำคัญที่สุดในญี่ปุ่นจึงได้ลงทุนออกแบบห้องสมุดส่วนกลางของ ‘Nippan Group Tokyo Headquarter’ ให้ตอบโจทย์คนทำงานมากที่สุด จากฝีมือของ ‘KOKUYO’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติญี่ปุ่น KOKUYO เปลี่ยนพื้นห้องที่มีระนาบเดียวให้กลายเป็นเนินขั้นบันไดเล็กๆ โดยแต่ละขั้นบันไดจะมีโต๊ะสำหรับนั่งทำงานและชั้นหนังสือแบบลดหลั่นกันไป ทำให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นพื้นที่และหนังสือที่ว่าอยู่บนชั้นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วห้องมากขึ้น อีกทั้งวัสดุที่ใช้ในการออกแบบก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะอุปกรณ์ภายในพื้นที่ล้วนแล้วแต่ใช้วัสดุออร์แกนิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ อิฐ ไม้ กรวด ไปจนถึงนิตยสารและกระดาษที่ใช้แล้ว แถมในการดีไซน์พื้นที่ยังคำนึงถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่การทำทางลาดเพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ ไปจนถึงการกำหนดความสูงของชั้นหนังสือให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก เพื่อให้หนังสือทุกเล่มสามารถเข้าถึงคนทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก-ผู้ใหญ่ หรือชาย-หญิงที่มีความสูงแตกต่างออกไป นอกจากนี้ ความพิเศษของหนังสือกว่า 2,000 เล่มภายใน Nippan Group Tokyo Headquarter แห่งนี้ยังคัดเลือกโดยพนักงานภายในออฟฟิศแห่งนี้ด้วยกันเอง โดยหนังสือแต่ละเล่มจะมาพร้อมโน้ตคำแนะนำหรือเหตุผลสั้นๆ ในการเลือกหนังสือเล่มนั้นๆ จากเจ้าของตัวจริง ถือเป็นกิมมิกเล็กที่ทำให้การอ่านน่าสนใจและเป็นเรื่องสนุกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีโอกาสในการค้นหาเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ ที่มีความสนใจคล้ายกัน เพื่อจุดมุ่งหมายหลักในการ ‘สร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร’ ที่พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนด้วยกันเองและหนังสือภายในห้องมากขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่ เวลา และกฎแบบเดิมๆ […]
Fang Gen Fa Coffee Bar ร้านกาแฟป็อปอัปจากไม้ก๊อกที่มีหนังสือพิมพ์แขวนบนผนังให้อ่านฆ่าเวลา
ในขณะที่หนังสือพิมพ์กำลังจะตายเพราะการเข้ามาของโลกออนไลน์ ยังมีร้านกาแฟแห่งหนึ่งในประเทศไต้หวันที่ยังมีหนังสือพิมพ์แขวนไว้ให้อ่าน คล้ายกับสภากาแฟของบ้านเราในอดีต ‘Fang Gen Fa Coffee Bar’ เป็นร้านกาแฟแบบป็อปอัปที่รวมบริบทของหนังสือพิมพ์ กาแฟ และพื้นที่กลางแจ้งเข้าไว้ด้วยกันในหมู่บ้านอายุกว่า 100 ปีอย่าง ‘Pingtung Military’ ที่อดีตเคยอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นและอดีตรัฐบาลชาตินิยม ร้านกาแฟแห่งนี้ออกแบบโดยสตูดิโอ ‘Atelier Boter’ จากการวางผนังที่สร้างขึ้นจากไม้ก๊อกรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์เป็นรูปตัวทีแบบเอียงๆ ที่ผนังด้านหน้าติดตั้งราวแขวนหนังสือพิมพ์คล้ายแผงหนังสือในอดีตให้ลูกค้าร้านกาแฟสามารถหยิบขึ้นอ่านได้ฟรีๆ นอกจากนี้ ในบริเวณที่ตั้งของร้านยังเป็นสวนกลางแจ้งที่รายล้อมไปด้วยต้นไม้นานาชนิด และมีโต๊ะสำหรับนั่งดื่มกาแฟแบบขากรรไกรที่ใช้กันทั่วไปในงานเลี้ยงแบบดั้งเดิมของไต้หวัน ซึ่งถูกพัฒนาและออกแบบเพิ่มเติมให้สามารถปรับความสูงและถอดออกได้ง่าย เพื่อปรับเปลี่ยนโต๊ะตามจำนวนผู้ใช้งานและสภาพอากาศได้อย่างทันท่วงที Source : ArchDaily | t.ly/fkYAl
The Existence of Memory การดำรงอยู่ของเศษเสี้ยวความทรงจำ
เรื่องราวและร่องรอยของเศษเสี้ยวความทรงจำในวัยเยาว์ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน มักถูกกระตุ้นขึ้นเมื่อเราเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ และพบเจอสิ่งของ วัตถุ บรรยากาศ กลิ่นอาย หรือแม้กระทั่งความรู้สึก ซึ่งทำให้หวนนึกถึงความทรงจำในอดีตที่ค่อยๆ กลับมาชัดเจน ก่อนจะผสานซ้อนทับเข้ากับเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าในปัจจุบัน จนเกิดเป็นจินตภาพในภวังค์ความคิด โดยถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของผลงานภาพถ่าย ในวัยเด็ก ที่อยู่อาศัยหลักๆ ของเราคือบ้านยายและบ้านหลังเก่าที่อยู่พระประแดง สถานที่แห่งนี้เป็นที่ที่เราอาศัยอยู่มานานนับสิบปี ทำให้ได้คลุกคลีกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมรอบๆ มาโดยตลอด จนเป็นเรื่องชินตาและซึมซับเข้าไปในความทรงจำมาเรื่อยๆ หรือแม้แต่วัตถุสิ่งของบางอย่างก็มีความทรงจำร่วมกับบุคคลในอดีต แต่หลังจากนั้นไม่นานครอบครัวย้ายมาอยู่ที่นนทบุรี และทุกครั้งที่ต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ หรือตอนที่นั่งในรถแล้วมองข้างทาง วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ถูกทิ้งไว้ก็ทำให้ความรู้สึกและบรรยากาศที่พระประแดงย้อนกลับคืนมาเป็นภาพจำเก่าที่ซ้อนทับขึ้นมาใหม่ในเหตุการณ์ปัจจุบัน ติดตามผลงานของ ณปภัช โสภณวิชาญกุล ต่อได้ที่ Instagram : hatebbroccoli และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
La Conner Swinomish ห้องสมุดสาธารณะสามภาษาในสหรัฐฯ ร่วมพัฒนาโดยคนต่างถิ่นและชนพื้นเมือง
จะดีแค่ไหนหากเรามีแหล่งเรียนรู้ที่ไม่เพียงอุดมไปด้วยหนังสือให้อ่านหรือมีข้อมูลให้ค้นคว้า แต่ยังมีการออกแบบที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ที่สร้างสรรค์มาจากการร่วมมือกันของคนในชุมชน คนชนเผ่า และคนต่างถิ่น จนเกิดเป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาใช้ประโยชน์ได้ วันนี้เราขออาสาพาไปดูห้องสมุดสาธารณะแห่งใหม่ในเมืองลาคอนเนอร์ รัฐวอชิงตัน อย่าง ‘La Conner Swinomish’ นำทีมออกแบบโดย ‘BuildingWork Offices’ เป็นห้องสมุดที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างชุมชนพื้นเมืองและผู้คนต่างถิ่น มีเอกลักษณ์เด่นคือการเชิดชูวัฒนธรรมของชุมชนและผสมประวัติศาสตร์ของเมืองลาคอนเนอร์ไว้ในสถานที่แห่งเดียว ช่วยเพิ่มแหล่งเรียนรู้สาธารณะให้กับพื้นที่ชายฝั่งของเมืองอีกด้วย เพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามที่ตั้งใจที่สุด สถาปนิกได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองและทำการสำรวจภาพถ่ายของอาคารพาณิชย์เก่าแก่ งานวิจัยที่ว่านี้มีการออกแบบอาคารที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น การปูพื้น เอกลักษณ์ของส่วนหน้าอาคารแบบสามส่วน การจัดสัดส่วนในแนวตั้ง ลักษณะหน้าต่างที่ยื่นจากผนังไม้ และการตกแต่งรายละเอียดต่างๆ เป็นต้น ทีมออกแบบได้นำรูปแบบอาคารเหล่านี้มาเป็นไอเดียในการออกแบบห้องสมุดแห่งใหม่ และได้รับความร่วมมือจากชุมชนชนเผ่าอินเดียน (Swinomish Indian Tribal) มาช่วยในเรื่องการปรับปรุงอาคารและส่วนหน้าอาคาร รวมถึงได้ทีมช่างแกะสลักฝีมือดีในชุมชนมาร่วมกันสร้างลวดลายให้กับเสาไม้บริเวณทางเข้าห้องสมุดเพื่อสื่อสาร 3 เรื่องราว ได้แก่ 1) ชายชาวสวิโนมิชที่ยื่นมือออกมาเพื่อแสดงการต้อนรับ 2) ปลาแซลมอนสองตัวที่หมุนวนเป็นตัวแทนของการแบ่งปันทรัพยากร และ 3) นกอินทรีเป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญา ถือเป็นการสร้างอาคารได้อย่างร่วมสมัย มีนวัตกรรมใหม่ และตรงตามเป้าที่ห้องสมุดตั้งไว้ ห้องสมุดแห่งนี้มาพร้อมพื้นที่และบริการต่างๆ มากมาย มีหนังสือน่าอ่านถึงสามภาษา ทั้งอังกฤษ สเปน หรือภาษาสวิโนมิช รวมถึงยังมีพื้นที่สำหรับวัยรุ่น […]
ART101 พื้นที่หัดสร้างงานศิลปะที่ทั้งสนุก เยียวยาใจ และเสริมความสัมพันธ์ให้แข็งแกร่ง
ในภาพจำของหลายคน สุขุมวิทคือย่านที่ขึ้นชื่อเรื่องบ้านสวย เงาไม้ร่มรื่น และร้านเด็ด ใครจะคิดว่าวันหนึ่งย่านสุดคึกคักย่านนี้จะมีอาร์ตสเปซมาเปิด เปล่า เราไม่ได้หมายถึงอาร์ตสเปซที่เป็นสถานที่จัดแสดงงานศิลปะทั่วไป แต่คือพื้นที่ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาสร้างชิ้นงานศิลปะของตัวเอง ผ่านคอนเซปต์ที่ว่า ศิลปะไม่ควรมีกรอบ แต่ควรจะสนุกสนานและเข้าถึงได้ทุกคน ART101 คือสเปซของ ‘บิลล์-กรีรวิชญ์ ภาคจิตร’ และผองเพื่อนที่รวมตัวกันเปิดมาตั้งแต่ต้นปี ฟังจากชื่อก็พอเดาออกว่าที่นี่อ้าแขนต้อนรับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะมีความรู้ทางศิลปะหรือไม่ เราต่างมาตั้งต้นคลาส 101 พร้อมกัน ที่นี่จึงมีกิจกรรมสร้างงานศิลปะที่ลากไล่ไปตั้งแต่การเทสี การปาสี จนถึงการแกว่งสี มากไปกว่าความเชื่อว่าศิลปะไม่ควรมีกรอบ กรีรวิชญ์เชื่อว่าศิลปะคือหนทางเยียวยาและสร้างพลังงานที่ดีให้แก่คนที่ลงมือทำ แถมยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราให้แข็งแรงได้ด้วย แนวคิดนี้ถ่ายทอดผ่านการออกแบบสเปซและกิจกรรมภายใน ART101 อย่างไร ตามคอลัมน์ Urban Guide ลัดเลาะไปในซอยสุขุมวิท 71 เพื่อหาคำตอบกับชายหนุ่มเจ้าของร้านกัน Healing Space ผิดไปจากที่เราสันนิษฐาน กรีรวิชญ์สารภาพว่าเขาไม่ใช่คนวาดรูปเก่ง และไม่ได้เป็น ‘สายอาร์ต’ อย่างที่เราคาดเดาไว้ อันที่จริงกรีรวิชญ์เพิ่งมีใจให้ศิลปะก่อนจะเริ่มก่อตั้ง ART101 ได้ไม่นาน ย้อนกลับไปไกลกว่านั้น ก่อนมีใจให้ศิลปะ เขามีใจให้การงานและธุรกิจส่วนตัวแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ “หลังจากเรียนจบ ป.โท จากอังกฤษ เราเข้าทำงานในหลายบริษัท […]
30 ปี ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ สถานที่รวมประวัติศาสตร์ของชนชั้นสร้างชาติ
“เราอยากให้ผู้คนเห็นสิ่งที่เป็นเรื่องเบื้องต้นที่สุด คือการทำให้เห็นคุณค่าว่าแรงงานมีความสำคัญต่อสังคม นโยบายรัฐทำให้คุณค่าแรงงานมีราคาต่ำ เพื่อให้คนอีกกลุ่มเข้ามาได้ประโยชน์จากคุณค่าของพวกเขา การมีอยู่ของพิพิธภัณฑ์จะช่วยอธิบายคุณค่าของคนได้” ‘วิชัย นราไพบูลย์’ ผู้จัดการของ ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ บอกเล่าถึงการมีอยู่ของสถานที่รวมประวัติศาสตร์คนทำงาน ที่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐ และอยู่ยั้งยืนยงมาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของชนชั้นสร้างชาติ วาระที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำลังครบรอบ 30 ปี Urban Creature พาทุกคนไปท่องเที่ยวรู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพให้มากขึ้น
เปลี่ยน ‘เรื่องตลก 69’ ให้ไม่ตลกร้าย ด้วยทางเลือกใหม่ที่ ‘ตุ้ม’ ทำได้
ถ้าชีวิตของคุณถูกโชคชะตาเล่นตลก ชนิดที่อยู่ดีๆ ก็ถูกเลิกจ้างงาน แถมจู่ๆ มีกล่องพัสดุปริศนาที่เต็มไปด้วยเงินสดมาวางอยู่หน้าประตูห้องแบบงงๆ คุณจะรับมือกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไร หลายๆ สิ่งอาจดูเป็นเรื่องตลก แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นกับเราจริงๆ อาจจะทำเอาเราหัวเราะฮือๆ แทนฮาๆ ไม่แพ้ ‘ตุ้ม’ ในเรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ได้เหมือนกัน ด้วยโอกาสที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ถูกนำมารีเมกให้กลายเป็นซีรีส์ขนาดสั้น 6 ตอนที่กำลังฉายอยู่ใน Netflix โดยผู้กำกับเจ้าเดิมอย่าง ‘เป็นเอก รัตนเรือง’ คอลัมน์ Urban Isekai จึงขอหยิบบางช่วงบางตอนของซีรีส์มาลองคิดในมุมกลับ ปรับมุมมองเล่นๆ ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ วิธีการจัดการควรเป็นอย่างไร ถึงจะไม่เกิดเรื่องตลกร้ายแบบที่ตุ้มต้องเผชิญ ถ้า…การถูกเลิกจ้างไม่แย่เท่าที่ตุ้มคิด ในช่วงโควิดที่ผ่านมา หลายๆ คนอาจถูกเลิกจ้างเพราะพิษเศรษฐกิจไม่ต่างกับตุ้มในเรื่องตลก 69 แต่ถ้าเป็นการจับฉลากหาคนออกโดยไม่สนใจถึงผลการทำงานที่เรานั่งหลังขดหลังแข็งทำกันมาขนาดนี้ แค่คำว่าหัวร้อนคงไม่พอ นี่มันผิดกฎหมายแรงงานชัดๆ! ในกรณีนี้ สิ่งที่ตุ้มควรทำไม่ใช่การเก็บของลาออกอย่างจำยอม แต่ต้องเป็นการแบมือขอรับเงินชดเชยก้อนใหญ่ที่เราควรได้จากการบอกเลิกจ้างทันที เพราะหากตุ้มทำงานอยู่ที่นี่มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน เงินเหล่านี้เป็นเงินที่เธอควรได้รับตามกฎหมาย แถมในกรณีที่นายจ้างไล่ออกทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า 30 – 60 […]