
LATEST
สำรวจย่าน ‘เกษตรฯ-บางบัว’ ใน BKKDW 2024ที่ SC Asset อยากให้คนมาเยี่ยมด้วยฟิลเตอร์เพื่อนบ้าน
นี่คือปีที่สองของย่าน ‘เกษตรฯ-บางบัว’ ที่เข้าร่วมอยู่ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ โดยมี SC Asset บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำที่มุ่งมั่นในการส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ผู้คนมีความสุขกับการใช้ชีวิตในบ้านหรือคอนโดฯ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เข้ามาร่วมมือสร้างสรรค์พื้นที่ให้เป็น Co-being to Livable Space พื้นที่ที่น่าอยู่และเป็นมิตรในชีวิตประจำวันสำหรับทุกคน ทั้งคนในย่านนี้และเพื่อนบ้านที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนกัน ด้วยความที่ย่านเกษตรฯ-บางบัว เป็น ‘เมืองมหาวิทยาลัย’ ที่เหล่านิสิตนักศึกษาต่างเข้ามาอาศัย และจะผลิบานจากไปเมื่อถึงเวลา ในขณะเดียวกัน ชาวพื้นที่ซึ่งปักหลักในบริเวณนี้ก็คุ้นชินกับการปรับตัวไปตามกระแสที่พร้อมเปลี่ยนไปเสมอ การหา ‘อัตลักษณ์’ ของพื้นที่แห่งนี้จึงเป็นเรื่องที่เหล่านักล่าปริญญาและคนในพื้นที่ยังคงตอบออกมาได้ไม่ตรงกัน เว้นแต่จุดร่วมเดียวนั่นคือ ความรู้สึกของการเป็น ‘เพื่อนบ้าน’ ที่อยากสรรค์สร้างให้ย่านนี้น่าเรียนรู้และน่าอยู่ไปพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนี้ SC Asset จึงร่วมกับพาร์ตเนอร์นักสร้างสรรค์ในย่านเกษตรฯ-บางบัว โดยจับมือกับทั้งมหาวิทยาลัย นักวิชาการ นักออกแบบ ศิลปิน และชุมชน จัดหลากหลายกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์คนในพื้นที่ โดยกิจกรรมหลักในย่านแบ่งออกเป็น 3 แนวคิดหลัก ได้แก่ การสร้าง Third Place ที่มีกิจกรรมสร้างความบันเทิงผ่อนคลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้กลุ่มนักศึกษามาใช้เวลาว่างกับเพื่อน สร้างบทสนทนา และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันหลังเลิกเรียน ส่วนที่สองคือการโฟกัสประเด็น ‘Livable Scape […]
Friends of Bangkok x Co-Creating City เซ็นทรัลพัฒนา และเซ็นทรัลเวิลด์ ชวนทุกเจนฯ มาแชร์ไอเดียเมืองน่าอยู่ ที่ตอบโจทย์ทุกการใช้ชีวิต ในงาน BKKDW 2024
เช็กอินกันครบหรือยังกับงาน #BangkokDesignWeek2024 สายอาร์ตทุกคนต้องไม่พลาด ‘อาคารไปรษณีย์กลาง’ ซึ่งเป็นจุดแลนด์มาร์กสำคัญของงาน และจุดนัดพบของแก๊งเพื่อน และแน่นอนว่าเราอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘เพื่อน’ ของคนกรุงเทพฯ อย่าง ‘Friends of Bangkok’ คาแรกเตอร์ยักษ์สีสันสดใส มาพร้อมพื้นที่สร้างสรรค์ Co-Creating City โดย Central Pattana & centralwOrld ที่เชื่อว่างานดีไซน์มีพลังช่วยขับเคลื่อนสร้าง ‘เมืองน่าอยู่’ ตรงกับคอนเซปต์ใหญ่ของงาน ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ที่อยากมาร่วมกันเปลี่ยน ‘เมืองกรุงเทพฯ’ ให้เป็น ‘เมืองน่าอยู่’ (กายดี ใจดี ออกแบบดี) Urban Creature ขออาสาพาไปสำรวจบูธ Friends of Bangkok x Co-Creating City ว่าที่เขาบอกกันว่า งานดีไซน์สุดพิเศษนี้เป็นการบอกเล่าเรื่องพื้นที่ที่เกิดจากการร่วมแชร์ไอเดียของคนทุกเจนฯ และพลาดไม่ได้กับกิจกรรมที่ชวนทุกคนมาต่อตัวต่อหลากสี ที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ของคนแต่ละเจนฯ ที่เมื่อต่อเสร็จจะได้เห็น Data Visualization จากฝีมือของพวกเราด้วย อีกทั้งเมื่อเดินลอดเข้าไปในตัวโดมยักษ์สีส้ม ยังได้เจอกับ […]
มองปัญหาเมืองผ่านภาพสเก็ตช์สิ่งของข้างทาง ในนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ วันนี้ – 4 ก.พ. ที่ Everyday Architect Studio
เชื่อหรือไม่ว่า งานดีไซน์หรืองานสร้างสรรค์บางชิ้นอาจเป็นส่วนเล็กๆ ที่พาเราไปพบกับปัญหาต่างๆ ของการอยู่อาศัยในเมืองที่ซ่อนตัวอยู่ เช่นเดียวกับนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ โดย Everyday Architect & Design Studio ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่จะพาเราไปทำความเข้าใจและพบกับปัญหาในเมืองที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ภายในนิทรรศการจัดแสดงภาพสเก็ตช์จำนวน 365 รูป ที่เป็นภาพวาดบันทึกสิ่งของและงานออกแบบสถาปัตยกรรมเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างข้างทางในกรุงเทพฯ ตลอดช่วงปลายปี 2019 ถึงปลายปี 2020 โดยงานออกแบบทั้งหมดนี้มีชื่อเรียกว่า ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ เพื่อเป็นการให้คำจำกัดความภาพงานออกแบบสิ่งของที่ดูเรี่ยราด อยู่เป็นกองๆ เหมือนหมู่คณะที่ข้างทางนั่นเอง แม้ว่าผลงานเหล่านี้อาจจะดูไม่น่าสนใจและดูเหมือนจะนำไปต่อยอดไม่ได้ แต่ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอฯ ได้วาดภาพเหล่านี้ ทำให้เขาเข้าใจถึงเงื่อนไขและปัญหาของเมืองที่ซ่อนอยู่แบบที่คาดไม่ถึง และปัญหาเหล่านี้มักมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเทคนิคที่ยากจะคาดเดา ช่วยท้าทายวิธีคิดและมุมมองของเหล่านักออกแบบหรือบุคคลทั่วไปที่เห็นผลงานเหล่านี้ด้วย ไปชมผลงานทั้งหมดนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ – 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 19.00 น. […]
‘รถแดงพาร์ค’ กับไอเดียปลูกต้นไม้บนพาหนะเดินทางประจำย่านสุขุมวิทใต้ ที่ทำให้เห็นว่าอยู่ที่ไหนก็ปลูกต้นไม้ได้
สิ่งปลูกสร้างในเมืองยิ่งมีมากขึ้นเท่าไร สีเขียวของต้นไม้ก็ลดน้อยลงไปเท่านั้น โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีโครงการตึกสูงมากมาย ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นที่หรือการดูแลรักษา ทำให้หลายคนล้มเลิกแผนการปลูกต้นไม้ และไม่ได้สนใจที่จะเติมสีเขียวให้เมืองเพิ่มขึ้น ‘ภิรัชบุรี กรุ๊ป’ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่สีเขียวภายในเมือง ได้นำเสนอโปรเจกต์ ‘รถแดงพาร์ค’ ในรูปแบบของสวนสาธารณะเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นผลงานหนึ่งในเทศกาล ‘Bangkok Design Week 2024’ เพื่ออยากเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างความรู้สึกต่อชุมชนย่าน ‘สุขุมวิทใต้’ ว่าการปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องยากหรือเรื่องไกลตัว แต่เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต เช่นเดียวกับ ‘รถแดง’ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการเดินทางของคนในชุมชน ‘รถแดงพาร์ค’ เป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบ ‘รถแดง’ เอกลักษณ์ของขนส่งสาธารณะที่ชาวสุขุมวิทใต้คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ให้กลายเป็นสวนเคลื่อนที่สู่ชุมชน กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อเติมเต็มสีเขียวให้กับย่านและเชื่อมโยงชุมชนด้วยธรรมชาติ ใน 6 ทำเลตลอดทั้งย่านสุขุมวิทใต้ ไอเดียเริ่มต้นมาจากจำนวนต้นไม้ในเมืองที่มีน้อยลงทุกวัน ด้วยรูปแบบการอยู่อาศัยในคอนโดฯ และอพาร์ตเมนต์ที่มีมากขึ้น ทำให้หลายคนมองข้ามการปลูกต้นไม้ในบ้านไปเพราะพื้นที่มีน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น ไม่ว่าจะมีพื้นที่จำกัดแค่ไหนเราก็ปลูกต้นไม้ได้เหมือนเดิม ทางโครงการจึงนำเอารถแดงมาเชื่อมโยงเข้ากับต้นไม้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับคนเมืองได้เห็นว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถปลูกต้นไม้ได้ ไม่เว้นแม้แต่ในรถแดงเองก็ตาม อีกกิมมิกน่ารักๆ ของกิจกรรมนี้คือ ต้นไม้กระถางเล็กๆ บนรถแดงไม่ได้นำมาประดับรถเพื่อเป็นผลงานการออกแบบอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทุกคนที่ผ่านไปผ่านมาสามารถแวะซื้อต้นไม้กลับบ้านไปเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ที่อยู่อาศัยได้ด้วย […]
มองย่านทรงวาดผ่านฝาท่อดีไซน์ใหม่ ในนิทรรศการ ‘The Dragon of Soul’ วันนี้ – 18 ก.พ. 67 ที่ชุมชนทรงวาด
บางครั้งสิ่งที่ทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นโปรเจกต์ใหญ่ๆ เสมอไป สิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวอย่าง ‘ฝาท่อระบายน้ำ’ ที่พบเห็นได้ตามท้องถนนหรือทางเดินในเมืองก็สร้างชีวิตชีวาให้เมืองได้เช่นกัน เห็นได้จากหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่เริ่มมีการปรับเปลี่ยนภาพจำฝาท่อเก่าๆ ด้วยการนำเอาฝาท่อดีไซน์ใหม่มาใช้ นอกจากจะทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองดูดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้คนได้ใช้เวลาไปกับการเดินเท้าเพื่อสำรวจความสวยงามของฝาท่อและสิ่งรอบด้านอีกด้วย งาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ในปีนี้ก็มีการหยิบเอาไอเดียการแปลงโฉมฝาท่อมาแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง โดย ‘บริษัท นวกาญจน์โลหะชลบุรี จำกัด’ หรือ ‘NVK’ ผู้ผลิตฝาท่อในไทยที่ให้ความสำคัญกับการดีไซน์และงานสร้างสรรค์ ร่วมกับศิลปิน ‘โอม-ธนรัชต์ ทองสิมา’ และ ‘Jinjer Team’ ดีไซน์ฝาท่อแบบใหม่ให้กับย่าน ‘ทรงวาด’ ด้วยแนวคิด ‘สถานที่คือชีวิต มังกรคือจิตใจ’ ผ่านการออกแบบที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมและลายเส้นของมังกรจีนที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชุมชนทรงวาด ในนิทรรศการ ‘The Dragon of Soul’ ที่ ‘PLAY Art House Gallery’ ภายในงานไม่ได้มีแค่นิทรรศการฝาท่อเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรม ‘Let’s explore ฝาท่อดีไซน์’ที่ชวนผู้ร่วมกิจกรรมสแกน QR Code ที่ฝาท่อ […]
ตามไปดูเส้นทางสู่การเป็น ‘The Store of Bangkok’ ของห้างเซ็นทรัลชิดลมใน ‘THE BOX กล่องแห่งกาลเวลา’ Installation สี Chidlom Pink ที่งาน BKKDW2024
กลับมาอีกครั้งกับงาน Bangkok Design Week 2024 ที่มาในคอนเซ็ปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ เช่นเดียวกับทุกปี เราได้เห็นศิลปิน หน่วยงาน และภาคธุรกิจหลายแบรนด์กระโดดเข้าร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะให้กรุงเทพฯ ได้คึกคักและมีสีสัน และหนึ่งในนั้นคือ ‘ห้างเซ็นทรัล’ ห้างสรรพสินค้าที่อยู่คู่กับคนไทยมากว่า 77 ปี หนึ่งในไฮไลต์ของงานจากห้างเซ็นทรัลในปีนี้คือ Installation กล่องสีชมพูในชื่อ ‘THE BOX กล่องแห่งกาลเวลา’ ที่ใครเดินผ่านไปผ่านมาบริเวณหน้าไปรษณีย์กลางบางรักคงสะดุดตาอยู่ไม่เบา ความโดดเด่นของกล่องสีชมพูชิดลมพิ้งค์ ที่นอกจากจะเล่าเรื่องราวของห้างเซ็นทรัลโดยรวมแล้ว กล่องนี้ยังเน้นเล่าการเดินทางของห้างเซ็นทรัลชิดลม ซึ่งถือเป็น Flagship Store ใจกลางกรุงของเหล่าขาช้อปมานานถึง 50 ปี และกำลังจะก้าวสู่การเป็น The Store of Bangkok แลนด์มาร์กกลางใจ ใจกลางกรุง ของคนไทยตลอดไป THE BOX กล่องแห่งกาลเวลา ตั้งอยู่ลานหน้าไปรษณีย์กลางบางรัก ระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 […]
ชวนชมการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม ผ่านสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ พร้อมกันทาง Netflix วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
เมื่อปี 2563 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้สั่งรื้อถอน ‘ศาลเจ้าแม่ทับทิม’ ที่เป็นเหมือนศูนย์รวมความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่สามย่าน เพื่อนำพื้นที่ไปสร้างเป็นคอนโดมิเนียม จนเกิดการเรียกร้องจากนิสิตจุฬาฯ และชาวบ้านถึงการคัดค้านการรื้อถอนศาล และในปีที่ผ่านมา เรื่องราวการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ก็ถูกทำเป็นสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ และออกฉายช่วงเดือนมิถุนายนทางโรงภาพยนตร์ House Samyan และ Doc Club & Pub. ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ชม เนื่องจากสารคดีเรื่องนี้ช่วยจุดประเด็นให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงปัญหาการพัฒนาเมืองที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษจีนที่กำลังมาถึง เราจึงอยากชวนทุกคนชมสารคดี The Last Breath of Sam Yan ที่มีโอกาสกลับมาฉายอีกครั้งในวงกว้างมากขึ้นผ่าน Netflix โดยเริ่มสตรีมวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ที่ www.netflix.com/title/81719493 ส่วนใครที่อยากไปเยี่ยมเยียนและสักการะศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลยังอยู่ที่โลเคชันเดิม บริเวณไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ ข้างๆ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ แวะไปได้ทุกวันตั้งแต่เวลา […]
Atelier Gardens HAUS 1 อาคารสำนักงานสีเหลืองสดใสในกรุงเบอร์ลิน ที่ทำให้การฟื้นฟูอาคารแบบยั่งยืนสนุกขึ้นได้
ปัญหาอาคารที่พบได้บ่อยคงไม่พ้นเรื่องความเสื่อมโทรมของตึกเก่า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ และขณะเดียวกันก็อาจสร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้คนในเมืองด้วยรูปร่างโครงสร้างอาคารที่หน้าตาเป็นบล็อกๆ เหมือนกันไปหมด แต่สำหรับอาคาร ‘HAUS 1’ ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ ‘Atelier Gardens’ ของสตูดิโอภาพยนตร์ในเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี กลับแตกต่างออกไป ด้วยฝีมือการออกแบบของสตูดิโอ Hirschmüller Schindele Architekten และ MVRDV เนื่องจากทางสตูดิโอได้เปลี่ยน HAUS 1 จากอาคารสำนักงานเก่าล้าสมัยที่สร้างขึ้นในปี 1990 ให้เป็นอาคารสำนักงานใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แทนการรื้อถอน และใช้สีเหลืองสดใสเพื่อชุบชีวิตอาคารหลังนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น อีกทั้งตัวอาคารเองยังต่อเติมบันไดสีเหลืองซิกแซ็กแบบไดนามิกบริเวณด้านหน้าอาคาร และเมื่อเดินตามบันไดขึ้นไปบนจุดสูงสุด ก็จะพบกับดาดฟ้าบนอาคารที่มีจุดชมวิวล้อมรอบทิวทัศน์ของเมืองเบอร์ลิน อีกทั้งพื้นที่ชั้นบนของดาดฟ้ายังมีอาคารกระจกสำหรับนั่งทำงานซึ่งสร้างขึ้นจากไม้รีไซเคิล และสวนสีเขียวที่ช่วยลดความร้อนในฤดูร้อน รวมไปถึงให้ความรู้สึกดีต่อสุขภาพจิต นอกจากนี้ ภายใน HAUS 1 ยังเป็นสถานที่นั่งทำงานของสตูดิโอ Atelier Gardens ที่ตกแต่งผนังและเพดานจากดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่นำกลับมารีไซเคิลเพื่อยืดอายุการใช้งานของอาคาร แถมยังมีคาเฟ่คอยให้บริการแก่ชาวออฟฟิศที่อ่อนล้าจากการทำงาน HAUS 1 แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอาคารสามารถทำไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนได้ ด้วยการนำโครงสร้างเก่ากลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้ความสำคัญกับวัสดุทางชีวภาพที่ทั้งทนทานและมีคุณสมบัติรีไซเคิลได้ด้วย Sources : ArchDaily | t.ly/ZPCAIMVRDV | […]
Neighborhood เปลี่ยนตึกเก่า 3 ชั้นย่านช้างม่อย ให้กลายเป็นสเปซกิน-ดื่มสุดชิกของเมืองเชียงใหม่
ถนนช้างม่อยเป็นถนนเส้นที่เราคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา เพราะทุกครั้งที่เดินทางมาหาซื้อของฝากที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) หาอะไรกินแถวตลาดสันป่าข่อย หรืออยากมานั่งปล่อยใจริมแม่น้ำปิง เราย่อมต้องขับผ่านถนนเส้นนี้ และภาพจำที่เรามีต่อช้างม่อยคือย่านที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายงานคราฟต์ของคนในชุมชน จากที่เคยคึกคักอยู่แล้ว หลายปีมานี้ช้างม่อยคึกคักกว่าที่เคย เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรียกนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้มาเตวแอ่ว เช็กอิน อัปสตอรีกันไม่หวาดไม่ไหว ร้านขายของชำที่รวมของดีๆ จากท้องถิ่นไทย The Goodcery หรือร้านหนังสือสีเขียวที่มีแมวสามตัวเฝ้าอยู่อย่าง Rare Finds Bookstore and Cafe คือตัวอย่างที่เราเคยไป และบอกได้เลยว่าทีเด็ดของช้างม่อยยังไม่หมดเท่านี้หรอก เพราะตอนนี้ช้างม่อยมีร้านใหม่ที่ดึงดูดให้เราแวะไปอีกร้าน อันที่จริงจะใช้คำว่าร้านก็ไม่ถูกนัก เพราะ Neighborhood เป็นคอมมูนิตี้สุดชิกที่รวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ บาร์ เวิร์กสเปซ และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมไว้ในที่เดียว ซึ่งในฐานะคนเชียงใหม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นสเปซแบบนี้เกิดขึ้น ลมหนาวที่เชียงใหม่กำลังพัดเย็นสบาย เป็นอีกครั้งที่เราเดินเลียบถนนช้างม่อยในยามสาย แล้วมาหยุดอยู่ตรงหน้าคอมมูนิตี้สเปซแห่งนี้ ท่ามกลางเสียงเครื่องทำกาแฟและกลิ่นพิซซาเตาฟืนหอมกรุ่น ‘เดียร์’ และ ‘พิม’ สองสาวผู้เป็นหุ้นส่วนของที่นี่กำลังนั่งรอเราอยู่บนชั้นสอง เปลี่ยนตึกเก่าเป็นคอมมูนิตี้ Neighborhood ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของสองสาวเท่านั้น แต่หุ้นส่วนที่นี่มีอีกสี่คน ได้แก่ ‘เจมส์’ ‘เจมี่’ ‘อู๋’ และ […]
Kempegowda International Airport อาคารผู้โดยสารในสวน ประเทศอินเดีย สร้างความยั่งยืนและเพิ่มธรรมชาติในสนามบิน
ปัจจุบันธุรกิจการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูกโจมตีเรื่องการสร้างมลภาวะทั้งในอากาศและจากตัวสนามบินเอง นี่จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ธุรกิจฟากนี้พยายามลดมลพิษที่ปล่อยออกมา ในขณะเดียวกัน หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาด ผู้คนกลับมาเดินทางกันมากขึ้น ทางเมืองเบงกาลูรู ประเทศอินเดีย ก็หวังเพิ่มความจุผู้โดยสารต่อปีขึ้น 25 ล้านคน และต้องการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในหลากหลายรูปแบบ โดยตระหนักถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมืองเบงกาลูรูจึงขยับขยายพื้นที่ ‘Kempegowda International Airport’ โดยเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารที่ 2 ซึ่งเน้นการออกแบบที่ผสมผสานกับการปลูกต้นไม้ภายในอาคาร โอบล้อมอาคารด้วยสวนภายนอก ใช้วัสดุธรรมชาติ พร้อมกับตกแต่งด้วยไม้ไผ่และกระจก โดยอาคารผู้โดยสารในสวนแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อเสียงของเมืองเบงกาลูรูในฐานะ ‘อุทยานนคร’ หรือเมืองที่ให้ความสำคัญต่อพื้นที่สีเขียว นอกจากความเป็นธรรมชาติในสนามบินแล้ว ความยั่งยืนยังเป็นจุดเด่นของที่นี่ ด้วยการรับรอง LEED Platinum และ IGBC Platinum ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวระดับสากล ว่าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีความยั่งยืนทั้งการออกแบบและสถาปัตยกรรม โดยโครงสร้างของอาคารมีการใช้พลังงานหมุนเวียน สามารถบำบัดและนำน้ำฝนจากทั่วสนามบินมาใช้ใหม่ อาคารผู้โดยสารของ Kempegowda International Airport ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างการสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในธุรกิจการบิน ที่ตอนนี้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการออกแบบลักษณะนี้กันมากขึ้น Sources :ArchDaily | bit.ly/3Suvno3Kempegowda International Airport Bengaluru | bit.ly/495NLsA
เยียวยาหัวใจผ่านการรักษาตุ๊กตากับ Sewing Thing
ตุ๊กตาเน่าหรือผ้าเน่าคงเป็นสิ่งที่หลายคนเก็บไว้ตั้งแต่เด็กๆ จนปัจจุบัน บางคนอาจได้รับจากคุณแม่ คุณย่า หรือคนที่รักเราในสถานะใดก็ตาม และหลายคนก็คงยังไม่ได้อยากทิ้งมันไป เพราะภายในสิ่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงของเล่นหรือผ้าที่เอาไว้ห่มอย่างเดียว แต่มันเต็มไปด้วยเรื่องราวหรือประสบการณ์ต่างๆ มากมายตั้งแต่ยังเล็กที่เราไม่อาจลืม แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งของเหล่านี้ล้วนเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา จนมันไม่อาจอยู่ในสภาพเดิม สิ่งของที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ช่วยเยียวยาใจของเราในวันที่แย่ๆ ก็อาจหายไปหากไม่มีคนคอยรักษามัน Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘พี่ตุ๊ก-พนิดา เตียวตระกูล’ หมอรักษาตุ๊กตาจากร้าน Sewing_thing ถึงอาชีพที่คอยเป็นคนรักษาน้องเน่า เพื่อรักษาใจของเราให้ยังคงอยู่ต่อไปในทุกวัน ติดตามร้านได้ที่ : www.instagram.com/sewing_thing
ให้น้องเหมียวช่วยจดรายจ่ายให้ กับแอปฯ บันทึกรายจ่าย ‘MeowJot’ ที่คำนวณจากสลิปโอนเงินอัตโนมัติ
คนจำนวนไม่น้อยคงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับการจดบัญชีรายรับรายจ่ายมาตั้งแต่เด็ก เพราะแค่ตอนเช้ากินอะไรไปบ้างอาจต้องใช้เวลานึกหลายนาที แบบนี้แทบไม่ต้องพูดถึงจำนวนเงินที่เราจ่ายไปในแต่ละวันเลย ในเมื่อจำไม่ได้ ก็ลองให้ผู้ช่วยตัวจิ๋วแสนขยันอย่าง ‘น้องเหมียว’ ในแอปพลิเคชัน ‘MeowJot’ (เหมียวจด) ช่วยดูแลจัดการให้ไหม ช่วงที่ผ่านมาหลายคนอาจเคยได้ยินชื่อแอปฯ MeowJot มาบ้าง แต่อาจยังไม่รู้ว่าแอปฯ นี้ทำงานแตกต่างจากแอปฯ รายรับรายจ่ายอื่นๆ อย่างไร เนื่องในโอกาสที่ MeowJot กลับมาปล่อยให้ดาวน์โหลดแอปฯ กันอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ต้องนำออกจากหน้า App Store เพราะมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนยอดดาวน์โหลดดีดขึ้นอันดับ 2 ของ App Store ประเทศไทย Urban Creature เลยไปก๊อกๆ หน้าประตูบ้านน้องเหมียว เพื่อคุยกับทีม KBTG อย่าง ‘พิมพ์พัช ดำรงเกียรติ’ Innovation Product Manager, ‘ชวิศ ทองภักดี’ Innovation Product Manager, ‘ศุภชัย สุวรรณวัชรชาติ’ UX Designer และ ‘ธนวิชญ์ ประสงค์พงษ์ชัย’ UX […]