LATEST
ชาวแบริ่ง-สำโรงเตรียมโบกมือลา XXXYYY คาเฟ่และโปรเจกต์สเปซ ไปอุดหนุนกันได้ถึงวันที่ 2 พ.ย. 67
เป็นเวลาหลายปีที่ย่านแบริ่ง-สำโรงมีชีวิตชีวาขึ้นจากการเกิดขึ้นของ XXXYYY คาเฟ่และโปรเจกต์สเปซของสองเพื่อนรักนักออกแบบ ‘ไนน์-กชพร เปี่ยมราศรี’ และ ‘หลิง-อรวรรณ กอเสรีกุล’ ทั้งคู่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย นอกจากงานออกแบบและศิลปะ พวกเธอก็ชื่นชอบกาแฟกันเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อหลอมรวมกับความเหนื่อยล้าจากการทำงานประจำ ผสมผสานกับการอยากลองทำอะไรใหม่ๆ กชพรกับอรวรรณจึงตัดสินใจศึกษาและก่อร่างสร้าง XXXYYY ให้เป็นคาเฟ่กึ่งพื้นที่ปล่อยของของนักออกแบบและคนรักงานดีไซน์ ที่ผ่านมา พื้นที่ X กับ Y แห่งนี้ได้มอบความสุขผ่านเครื่องดื่มและขนมให้คนที่ชอบบรรยากาศของคาเฟ่ และขณะเดียวกันก็นำเสนอนิทรรศการของนักออกแบบทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่มาไม่น้อย เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ที่สร้างแรงบันดาลใจ เติมพลังให้คนย่านแบริ่ง-สำโรงทั้งแบบที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ว่าได้ ทว่าเมื่อมีพบย่อมต้องมีวันลา เพราะ XXXYYY ประกาศว่าจะเปิดให้บริการก่อนจะปิดพักไม่มีกำหนดวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้ โดยระหว่างนี้ทุกคนยังเข้ามาเอนจอยกับเครื่องดื่มและขนมอร่อยๆ ไวบ์ดีๆ รวมถึงนิทรรศการครั้งสุดท้ายกับ Hand’s Talent ที่นำเสนอผลงานอันเกิดจากการทำด้วยมือของเหล่าศิลปินและนักออกแบบ โดยจะจัดแสดงถึงวันที่ 29 ตุลาคมนี้ ใครที่อยากแวะไปเยี่ยมเยือน XXXYYY ก่อนจากกัน คาเฟ่และโปรเจกต์สเปซแห่งนี้ยังเปิดต้อนรับทุกคนที่ย่านแบริ่ง-สำโรง เดินทางโดย BTS สถานีแบริ่ง ทางออกที่ 4, รถยนต์ส่วนตัวจอดที่อาคารธนาคารเก่าก่อนถึงพื้นที่ 80 เมตร เปิดให้บริการวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 […]
ตามไปส่องเบื้องหลัง ‘วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ’ โครงการรับบริจาคชุดชั้นใน ที่จะนำไปกำจัดให้ถูกวิธีแบบฟรีๆ
ปกติแล้วเราจัดการกับชุดชั้นในที่ไม่ใส่แล้วอย่างไรกันบ้าง เพราะชุดชั้นในเหล่านี้อาจยากที่จะนำไปรีไซเคิลใหม่ ดังนั้นหากสภาพยังดีอยู่ บางคนคงเลือกส่งต่อให้ผู้ที่ต้องการ แต่ถ้ามันเยินจนใช้งานไม่ได้แล้ว ก็แค่แยกใส่ถุงเอาไว้ แล้วทิ้งขยะเพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะต่อไป แต่มันจะง่ายอย่างนั้นเชียวหรือ เพราะหลังจากนั้นเราแทบไม่รู้เลยว่า อดีตชุดชั้นในตัวโปรดของเราจะไปอยู่ในกระบวนการไหน และโดยส่วนใหญ่แล้วของใช้ในหมวดหมู่เสื้อผ้ามักจะถูกนำไปฝังกลบ ซึ่งนอกจากจะไม่ได้เป็นการกำจัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มขยะให้โลกอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อช่วยลดขยะและลดการสร้างมลพิษให้โลก ‘Wacoal’ แบรนด์ชุดชั้นในของไทยได้มองหาวิธีการแก้ปัญหาส่วนนี้ ด้วยการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยกำจัดชุดชั้นในไปพร้อมๆ ลดโลกร้อนกับโครงการ ‘วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ’ ที่เปิดรับชุดชั้นในที่ไม่ใช้แล้วมาเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่ถูกต้อง ลดมลพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คอลัมน์ Sgreen จึงขอพาไปพูดคุยกับทางวาโก้ถึงโครงการนี้ และการร่วมมือกับ ‘ไปรษณีย์ไทย’ ในการอำนวยความสะดวกให้ทุกคนโบกมือลาชุดชั้นในเก่าของตัวเองอย่างสบายใจและสบายโลก วาโก้ขออาสากำจัดบราเก่า ‘นงลักษณ์ เตชะบุญเอนก’ กรรมการบริหารสายงานสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่า ชุดชั้นในแต่ละตัวนั้นประกอบไปด้วยหลากหลายวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นฟองน้ำ ผ้าที่มีทั้งเส้นใยหลายชนิด ลวด ตะขอโลหะทั้งหลาย และการทิ้งขยะประเภทนี้มักใช้วิธีการฝังกลบ ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 400 ปีกว่าจะย่อยสลาย ทางวาโก้เองคำนึงถึงปลายทางหลังจากที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้วว่า ชุดชั้นในเหล่านั้นจะต้องกลายเป็นขยะในท้ายที่สุด ดังนั้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการลดขยะบนโลกลง ในปี 2555 วาโก้จึงมองหาวิธีการกำจัดขยะเหล่านี้ให้เร็วขึ้น พร้อมกับเปิดตัวโครงการ วาโก้บราเดย์ […]
‘ทุก 4 ชั่วโมง มีคน 1 คนกำลังหายออกจากบ้าน’ สถิติคนหายกำลังบอกอะไรกับเรา
“ทุกสี่ชั่วโมง มีคนหนึ่งคนกำลังหายออกจากบ้าน” คำพูดสั้นๆ นี้คือสิ่งที่ ‘เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข’ หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา หนึ่งในสปีกเกอร์ของงาน dataCon 2024 บอกกับเราระหว่างช่วง Talk ในหัวข้อ ‘ข้อมูลคนหาย อะไรอีกที่หายนอกจากคน’ เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ที่มูลนิธิกระจกเงามีบทบาทสำคัญในการตามหาคนหาย ที่นอกจากจะพบคนหาย ยังทำให้พบ ‘ความจริง’ บางอย่างที่สะท้อนเบื้องหลังสังคมไทย เมื่อพูดถึงคนหาย สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงเป็นกระบวนการค้ามนุษย์หรือการลักพาตัว แต่หลังจากเอกลักษณ์ก่อตั้งโครงการนี้และย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ทำให้พบว่าการหายตัวของบุคคลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย โดยระยะเวลา 5 ปี ในระหว่างปี 2563 – 2567 พบว่า 5 อันดับสาเหตุการหายของคนไทยนั้น อันดับหนึ่งคือ การสมัครใจหนีออกจากบ้านด้วยตนเอง จำนวน 2,458 ราย และอันดับสองคือ จิตเวช จำนวน 1,933 ราย ตามมาด้วยสาเหตุ ขาดการติดต่อ 1,802 ราย, โรคสมองเสื่อม 634 […]
โตขึ้นแค่ไหน ก็ไม่ต้องซื้อรองเท้าคู่ใหม่ ‘ÜNOS’ รองเท้าผ้าใบที่โตตามขนาดเท้า One size fits all ซื้อหนึ่งครั้งใส่ได้ยาวๆ
ในอดีตคำว่า ‘One size fits all’ อาจเป็นคำโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่มีอยู่จริง แต่สำหรับ ‘ÜNOS by Sz’ รองเท้าผ้าใบที่จะขยายขนาดไปตามรูปร่างเท้าของผู้ใช้งาน การจะใช้คำนี้อธิบายคงเป็นคำที่ถูกต้องที่สุด ÜNOS เป็นผลงานการออกแบบรองเท้าผ้าใบของ ‘D’Wayne Edwards’ นักออกแบบที่ออกแบบรองเท้าให้กับศิลปินมาแล้วกว่า 500 แบบ ไม่ว่าจะเป็น Tupac, Notorious B.I.G., Snoop Dogg หรือ Nas โดย ÜNOS ย่อมาจากคำว่า ‘Ü Need One Size’ ที่บอกเล่าถึงไอเดียสุดแหวกแนวของเขาในการทำให้รองเท้าหนึ่งคู่สามารถอยู่กับเราได้นานที่สุด ด้วยการขยายใหญ่ไปตามการเจริญเติบโตของเท้าเรา บริเวณพื้นรองเท้าออกแบบมาในรูปตัว Z ที่ทำให้สามารถปรับขยายออกตามขนาดและรูปร่างเท้าเพื่อรองรับการใช้งานในขณะสวมใส่ อีกทั้งยังช่วยให้รองเท้าผ้าใบมีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดี เหมาะสำหรับทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ถือเป็นผลิตภัณฑ์รองเท้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ารองเท้าผ้าใบแบบเดิมๆ ด้วยการยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ให้อยู่กับเราได้นานขึ้น ลดปริมาณรองเท้าที่ต้องถูกฝังกลบ อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนการผลิตจากเดิมที่รองเท้าหนึ่งแบบจะต้องผลิตถึง 40 ขนาด ให้เหลือเพียง 8 ขนาด ปัจจุบัน ÜNOS วางขายแล้วในตลาดรองเท้าผ้าใบ ด้วยราคารองเท้าสำหรับผู้ใหญ่ประมาณ 50 […]
‘เกาะ Manresa’ อดีตเกาะโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทำลายธรรมชาติ สู่พื้นที่สาธารณะเพื่อการศึกษาและฟื้นฟูระบบนิเวศ
อดีตพื้นที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่หากไม่ได้ถูกทิ้งร้างไว้เฉยๆ ก็อาจถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ แต่ ‘Manresa’ อดีตเกาะที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินในช่องแคบลองไอแลนด์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐคอนเนตทิคัตที่มีประวัติพื้นที่น่าสนใจมาอย่างยาวนาน กำลังได้รับการฟื้นตัวเพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะเปิดรับชาวเมืองให้เข้ามาใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างเต็มที่ เดิมที Manresa เป็นพื้นที่พักผ่อนอยู่แล้ว จนในปี 2493 ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินจนถึงปี 2555 ซึ่งการมีอยู่ของโรงไฟฟ้าก่อให้เกิดปัญหาระบบนิเวศมานานกว่า 60 ปี และหลังจากที่ปลดระวางโรงไฟฟ้าไป พื้นที่แห่งนี้ก็มีการฟื้นตัวทางระบบนิเวศตามธรรมชาติ โดยมีป่าเบิร์ช (Birch) ที่เติบโตบนขี้เถ้าถ่านหินเก่า และนกออสเปรย์ที่ทำรังอยู่ทั่วบริเวณ ทำให้ระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำเจริญรุ่งเรืองและมีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ ทาง ‘Bjarke Ingels Group (BIG)’ บริษัทสถาปนิกชื่อดังจากเดนมาร์ก และ ‘SCAPE’ บริษัทสถาปัตยกรรมภูมิทัศน์ในนิวยอร์ก มองเห็นถึงประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่นี้ให้เป็นสวนสาธารณะขนาด 125 เอเคอร์ หรือประมาณ 505,857 ตารางเมตร จึงร่วมมือกันออกแบบให้ Manresa กลายเป็นศูนย์กลางการพักผ่อนหย่อนใจ ศูนย์กลางการศึกษาและการฟื้นฟูระบบนิเวศ เกาะ Manresa ในรูปแบบใหม่นี้จะมาพร้อมพื้นที่กลางแจ้งหลากหลายรูปแบบ และมีไฮไลต์อย่างสนามหญ้าสีเขียวขนาดใหญ่ ชายหาดที่มองเห็นช่องแคบลองไอแลนด์และนิวยอร์ก สะพานคนเดิน รวมไปถึงท่าเทียบเรือที่ได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้คนเข้ามาใช้พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทางน้ำกันด้วย อย่างไรก็ตาม โครงสร้างและส่วนประกอบเก่าๆ ของโรงไฟฟ้าที่หลงเหลืออยู่อย่างอาคารหม้อไอน้ำ ห้องกังหัน อาคารสำนักงาน […]
ลดแสงจ้า แก้ทางมืด สร้างเมืองน่าเที่ยว ทำความเข้าใจ Lighting Master Plan กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’
ชีวิตคนเมืองกำลังถูกรบกวนด้วยมลภาวะทางแสงโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นแสงจากป้ายโฆษณา แสงจากอาคาร หรือแม้แต่ไฟจากถนน แน่นอนว่าข้อดีของแสงไฟเหล่านี้คือตัวช่วยให้เรามองเห็นในยามที่ท้องฟ้ามืดมิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งความสว่างเหล่านี้กำลังรบกวนการใช้ชีวิตของเราและสรรพสัตว์ในเมืองโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน แล้วจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถกำหนดแนวทางการออกแบบแสงสว่างในเมืองได้ โดยการเลือกใช้สีของแสงให้เข้ากับบรรยากาศในพื้นที่ต่างๆ ของเมือง กำหนดความสว่างให้ไม่รบกวนสายตาทั้งในเขตที่อยู่อาศัยและย่านการค้า ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของเมืองแล้ว ยังช่วยด้านมิติสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย คอลัมน์ Think Thought Thought วันนี้พาไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องแสงในเมืองกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในนักออกแบบแสงสว่าง (Lighting Designer) ว่า Lighting Master Plan คืออะไร และทำไม ‘แสงสว่าง’ ที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราในทุกมิติ ถึงควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถอดบทเรียนแสงสว่างจากฝรั่งเศส พลิกโฉมอยุธยา กระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองเก่า ย้อนไป 20 ปีก่อน จรรยาพรเริ่มสนใจเรื่อง Lighting Master Plan การกำหนดแผนแม่บทหรือแนวทางการออกแบบแสงสว่างชุมชนเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่ถูกเห็นความสำคัญในประเทศไทย จากการได้ทุนศึกษาปัญหาใน ‘เมืองเก่าอยุธยา’ ที่แม้จะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย และรายล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลกที่รับรองโดย UNESCO แต่กลับมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเวลากลางคืนไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น […]
เต้นสวิง เพลงแจ๊ส และการพัฒนากรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
หากพูดถึงการเต้นสวิง อาจจะดูเป็นเรื่องเก่าและไกลตัว แต่หลังจากช่วงโควิด-19 เบาลง หลายคนก็มองหากิจกรรมใหม่ๆ นอกบ้าน ทำให้แสงไฟที่สาดส่องฟลอร์เต้นก็ขยับขยายมากขึ้น พร้อมกับจำนวนนักเต้นมากหน้าหลายตาที่เพิ่มมาจากความสนุกของการได้เต้นและเพลงแจ๊สที่บรรเลงกลมกลืนไปกับจังหวะการขยับร่างกาย จากที่เคยเป็นกิจกรรมของคนกลุ่มเล็กๆ ในสตูดิโอ การเต้นสวิงก็กระจายตัวออกมาสู่การเป็นอีเวนต์ในพื้นที่สาธารณะ ทำให้สังคมให้ความสนใจกับอีเวนต์นี้มากขึ้น และยังส่งต่อไปถึงการเห็นภาพความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีขึ้นได้อีกด้วย คุยกับ The Stumbling Swingout และ Jelly Roll Jazz Club สองทีมงานเบื้องหลังอีเวนต์ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong ที่อยากให้การเต้นสวิงเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงและเติบโตต่อไปในอนาคต
ชำแหละความงามในอุดมคติที่กำหนดโดยทุนนิยม บิวตี้สแตนดาร์ด และชายเป็นใหญ่ผ่าน THE SUBSTANCE
เทศกาลหนังเมืองคานส์ (Cannes Film Festival) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่เรียกความสนใจจากคอหนังมาต่อเนื่องทุกปี บรรดาภาพยนตร์ที่ปรากฏชื่อในเทศกาลนี้ล้วนแล้วแต่ได้รับการพูดถึงไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ยิ่งภาพยนตร์เรื่องไหนได้รับรางวัลจากเทศกาลนี้ จะกลายเป็นเครื่องการันตีคุณภาพของหนังระดับแปะ A must ว่าพลาดไม่ได้เด็ดขาด ซึ่งคานส์ขึ้นชื่อในเรื่องความเป็นศิลปะเป็นอย่างมาก พูดง่ายๆ ว่าหลายคนอาจบอกว่าหนังคานส์เป็น ‘หนังอาร์ต ดูยาก ดูไม่รู้เรื่อง’ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์ฝีมือคนไทยอย่าง Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives (2010) หรือ ลุงบุญมีระลึกชาติ ของ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล แต่หลายครั้งก็เป็นหนังที่ทุกคนชื่นชมไปในทางเดียวกันอย่าง Parasite (2019) ของ บงจุนโฮ ซึ่งในปีนี้แม้ผู้ชนะรางวัลใหญ่ของงาน Palme d’Or จะเป็นภาพยนตร์เรื่อง Anora (2024) (ซึ่งชาวไทยจะได้ชมกันในเร็วๆ นี้) ของ Sean Baker เจ้าของผลงาน The Florida Project (2017) แต่หนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับเสียงลือลั่นฮือฮาบอกต่อกันมาถึงความแปลก […]
ช่วยไม่ให้เกิดเหตุการณ์ “แล้วลูกเต่าทะเลล่ะ” ด้วย ‘COCOLAMP’ อุปกรณ์ครอบหลอดไฟ เบนแสงที่รบกวนการวางไข่ของเต่าทะเล
แสงไฟใกล้ชายฝั่ง ไม่ว่าจะเป็นแสงไฟจากโรงแรม รีสอร์ต หรือร้านอาหาร ล้วนแล้วแต่รบกวนการวางไข่ของเต่าทะเล และมีผลทำให้ลูกเต่าที่ฟักออกมาเกิดความสับสน เดินไปยังพื้นที่ที่มีแสงสว่างแทนที่จะเดินลงทะเล จนเต่าทะเลในประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ ‘COCOLAMP’ คือไอเดียนวัตกรรมอุปกรณ์ครอบหลอดไฟ จากนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ช่วยแก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง ด้วยการเบนแสงไฟบริเวณชายหาดที่รบกวนการวางไข่ของเต่าทะเลตามหลัก Turtle Friendly ให้ลูกเต่าคลานลงทะเลได้อย่างปลอดภัย พวกเขาศึกษาข้อมูลตัวอย่างจากเกาะแอนนามาเรีย รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่แสดงให้เห็นว่า การจัดแสงไฟให้เป็นมิตรต่อเต่าทะเลสามารถลดจำนวนลูกเต่าที่หลงทางได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการใช้วัสดุจากเส้นใยมะพร้าวที่ได้จากชุมชนในการผลิต มียางพาราเป็นตัวเชื่อมประสานและเคลือบด้วยซิลิกาจากแกลบข้าว ทำให้ COCOLAMP มีความคงทน ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ในทุกสภาพแวดล้อม ราคาไม่แพง และย่อยสลายได้ในธรรมชาติ นอกจากตัวอุปกรณ์ครอบหลอดไฟแล้ว COCOLAMP ยังมีการใช้ Line Chatbot เข้ามาช่วยรวบรวมข้อมูลและประเมินผลการใช้งานของอุปกรณ์ ภายหลังการติดตั้งและใช้งานจริงด้วย ปัจจุบัน COCOLAMP กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพในห้องทดลอง ก่อนที่จะนำไปติดตั้งในพื้นที่จริงเพื่อประเมินผลการใช้งานอีกครั้ง
‘Qualy’ แบรนด์ไทยที่เพิ่มมูลค่าให้ขยะพลาสติก ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์สื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่แบรนด์แบรนด์หนึ่งจะสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมผ่านชิ้นงานได้แบบที่คนเห็นแล้วร้อง ‘อ๋อ!’ แต่สำหรับแบรนด์ ‘Qualy’ ไม่ว่าจะจิ้มผลงานชิ้นไหนขึ้นมาก็ต้องคุ้นหูหรือคุ้นตาทั้งนั้น ตั้งแต่ พระสติ, บอร์ดเกม Waste War, รูบิก Tactile Cube หรือปากกาวาดรูปจากไหมพรมในชื่อ เล่นเส้น เพราะไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ที่สวยงาม ฟังก์ชันการใช้งานสุดว้าว หรือวัสดุรีไซเคิลรักษ์โลก จะส่วนไหน Qualy ก็ไปสุดทุกทาง จนกวาดรางวัลจากเวทีดีไซน์กลับบ้านแบบไม่หวาดไม่ไหว คอลัมน์ Sgreen ชวนไปคุยกับ ‘ใจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ Design Director และ Founder ถึงแนวคิดและความตั้งใจของแบรนด์ที่ทำให้ Qualy ยืนหยัดครองตลาด พร้อมสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านผลงานได้ยาวนานกว่า 20 ปี เล่าเรื่องผ่านดีไซน์จนค่อยๆ เติบโตในตลาดไทย “ในช่วงแรกๆ ของการทำ Qualy เราเน้นไปที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างมูลค่าเพิ่ม ประกอบกับตอนนั้นมีปัญหาโลกร้อน เลยเล่าเรื่องพวกนี้ผ่านดีไซน์ของเรา ก่อนจะต่อยอดมาใช้วัสดุรีไซเคิล เพื่อให้สื่อสารเรื่องนี้ออกไปดียิ่งขึ้น” ธีรชัยเล่าถึงความตั้งใจช่วงแรกของแบรนด์ อีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการทำแบรนด์โปรดักต์ดีไซน์นี้คือ Qualy เป็นธุรกิจที่เขาต่อยอดออกมาจากธุรกิจครอบครัวที่ก่อนหน้านี้เปิดเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบ Original Equipment Manufacturer (OEM) […]
ทำไมดูเป็นคนดองหนังสือเก่งจัง ไปชมนิทรรศการปก คอสเพลย์ ช้อปหนังสือ ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 วันที่ 10 – 20 ต.ค. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วนกลับมาอีกครั้งกับงานหนังสือที่รอต้อนรับให้เหล่านักอ่านช้อปปิงหนังสือใหม่และหนังสือที่เล็งๆ ไว้เข้ากองดอง ใน ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29’ ใครที่เคยบ่นว่า หนังสือที่มีในกองดองอ่านจนตายก็คงไม่หมด น่าจะถูกใจกับธีม ‘อ่านกันยันโลกหน้า เพราะงานนี้มหึมามหาหนังสือ’ ในปีนี้ เพราะเราสามารถหาซื้อทั้งหนังสือเก่า หนังสือใหม่ ไม่ว่าจะสำนักพิมพ์ไหนหรือแนวอะไร งานนี้ก็มีให้หมด พร้อมกับโปรโมชันต่างๆ ที่สำนักพิมพ์จัดสรรไว้ให้ด้วย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการจัดแสดง 100 ปกหนังสือสวย พบปะนักเขียนชื่อดังทั้งไทยและต่างประเทศ การซื้อหนังสือส่งต่อให้ผู้อื่น การแข่งขันนักขายเรื่องผี คอสเพลย์ ประกวดเล่านิทาน ฯลฯ ให้เหล่านักอ่านได้แวะมาร่วมสนุกกันตลอดทั้งวัน เตรียมเงินและกระเป๋าให้พร้อม แล้วไปส่งเสริมการอ่าน เพิ่มปริมาณสถิติคนไทยอ่านหนังสือกันได้ที่งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 วันที่ 10 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. ฮอลล์ 5 – 7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ […]
Good Times in Chon Buri ห้วงเวลาพิเศษในเมืองชลบุรี
ในวันที่ร่างกายต้องการทะเล แต่วันหยุดมีน้อย สถานที่แรกที่เรานึกถึงคือ ทะเลบางแสนหรือพัทยา เพราะใกล้กรุงเทพฯ เดินทางสะดวก อีกอย่างคือเราชอบเสน่ห์ความโรแมนติกของทะเลแถบชลบุรีที่ตอนเย็นพระอาทิตย์ตกสวย และล่าสุดกับจุดอันซีนที่เรานั่งเรือไปดูวาฬบรูด้าในทะเลบางแสน เป็นภาพที่เราประทับใจมาก ไปชลบุรีกี่ทีก็ไม่เบื่อ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]