Chicken Hero Pavilion เล้าไก่ใต้เนินเล็กๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาขยะอาหารด้วยการทำฟาร์มแบบยั่งยืน

ขยะอาหารกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศอินโดนีเซียหลังก้าวขึ้นสู่ประเทศที่มีปริมาณขยะอาหารมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนและอันดับสองของโลก โดยมีปริมาณขยะอาหารสูงถึง 1.6 ล้านตัน หรือประมาณ 300 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ด้วยเหตุนี้ อินโดนีเซียจึงเริ่มมองหาวิธีจัดการขยะอาหารพวกนี้ด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด หนึ่งในนั้นคือการสร้าง ‘Chicken Hero Pavilion’ เล้าไก่ใต้เนินเล็กๆ ในสวนบนเนินเขาของ Urban Forest Jakarta ที่กลมกลืนไปกับภูมิทัศน์โดยรอบ จากการออกแบบของสตูดิโอ ‘RAD+ar’ โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถลดขยะอาหารในครัวเรือนและชุมชน ด้วยการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ภายใต้เนินมีลักษณะเป็นอุโมงค์คล้ายถ้ำ แบ่งตัวเล้าไก่ออกเป็นสองฝั่ง โดยมีพื้นที่ตรงกลางทำหน้าที่เป็นทางเดินและช่องระบายอากาศ ช่วยให้อากาศไหลเวียนได้อย่างเหมาะสม และมีอุณหภูมิคงที่สำหรับการเลี้ยงไก่ ส่วนโครงสร้างหลังคาทำจากไม้ไผ่รีไซเคิลที่ถูกสานกันเป็นแพเพื่อรองรับน้ำหนักของเนินไม่ให้ถล่มลงมาเมื่อเจอกับแรงกดทับบริเวณด้านบน และใช้ใบไม้แห้งภายในสวน Urban Forest Jakarta มาเป็นวัสดุรองพื้นภายในเล้าเพื่อช่วยลดความชื้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างไปแล้วก็ขยับมาที่ไก่ภายใน Chicken Hero Pavilion ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการขยะอาหารที่รับมาจากร้านอาหาร 6 แห่งในบริเวณใกล้เคียง ก่อนที่ขยะอาหารที่เหลือจะถูกนำไปหมักรวมกับใบไม้แห้งแปลงเป็นปุ๋ยหมักในสวนและปุ๋ยเชิงพาณิชย์ต่อไป และเมื่อไก่ออกไข่ ไข่เหล่านี้ส่วนหนึ่งจะถูกแจกจ่ายกลับไปยังร้านอาหารต้นทาง อีกส่วนหนึ่งจะเปิดให้ผู้เยี่ยมชมเก็บเป็นของที่ระลึกกลับบ้านกันแบบสดๆ รัฐบาลอินโดนีเซียและ RAD+ar หวังว่า Chicken Hero Pavilion จะสามารถทำลายอคติที่มีต่อการเลี้ยงสัตว์ปีก และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เยี่ยมชมหันมาจัดการขยะอาหารในครัวเรือน […]

‘ถนนบริพัตร’ เดินเมืองไปตามย่านสารพัดช่างในเขตเมืองเก่าที่กำลังรอวันพัฒนา

ในเกาะรัตนโกสินทร์และเขตเมืองเก่าของกรุงเทพฯ มีถนนหลายสายตัดกันไปมาเป็นโครงข่าย หลายสายถูกมองข้าม และหลายสายคนไม่รู้จัก เช่นกันกับ ‘ถนนบริพัตร’ หากเอ่ยเพียงแค่ชื่ออาจไม่คุ้นว่าถนนสายนี้อยู่ตรงไหน ซึ่งจริงๆ แล้วเส้นทางสายยาวเลียบไปตามคลองรอบกรุงนี้มีถนนอีกหลายสายตัดผ่าน แถมติดกับย่านสำคัญอีกหลายแห่ง ทั้งสำราญราษฎร์-ประตูผี สามยอด วรจักร คลองถม จนถึงเยาวราช เชื่อว่าต้องมีบางคนบ้างละที่เคยเดินหรือนั่งรถผ่านโดยไม่ทันรู้ตัว เมื่อมองจากแผนที่จะเห็นว่าถนนสายนี้เป็นเส้นตรงยาวอยู่พอตัว เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กับถนนเยาวราช เชิงสะพานภาณุพันธุ์ ใกล้กับเวิ้งนาครเขษม โดยตลอดสองฟากฝั่งถนนมีอาคารพาณิชย์รุ่นเก่าวางตัวเรียงกันอย่างสวยงาม คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้อยากชวนออกแรงเดินเมืองสักนิด เหลียวซ้ายแลขวาโซนอื่นๆ ของถนนสายประวัติศาสตร์นี้ ดูกิจการร้านรวงที่สืบทอดมาแต่อดีต รวมถึงเปิดบทสนทนากับผู้คนดั้งเดิมและสมาชิกใหม่ๆ ที่เริ่มเข้ามาทำให้ย่านนี้เปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตาจากที่เคยเห็น ถ้าพร้อมแล้ว ไปเดินกัน! ถนนสายประวัติศาสตร์และตลาดใหญ่ในความทรงจำ เขตเมืองเก่ามีถนนหลายสายที่ตั้งชื่อตามพระนามของเหล่าเจ้านายพระองค์ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตัดใหม่ที่กระจายจากใจกลางเมืองออกสู่ชานพระนครในสมัยนั้น ถือเป็นพยานของการพัฒนาเมืองเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว โดยปัจจุบันหลายแห่งกลายเป็นย่านการค้าที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป ที่มาของชื่อถนนสายนี้คงเกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วจึงพัฒนาพื้นที่ย่านนี้โดยตั้งใจให้เป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ดังชื่อที่ตั้งว่า ‘นาครเขษม’ โดยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนแต้จิ๋วที่ตั้งบ้านเรือนร้านค้าขายสรรพสินค้านานาชนิด ตั้งแต่เครื่องทองเหลือง เครื่องดนตรี ข้าวของเครื่องใช้ ไปจนถึงของเก่าของสะสม หลายฝน หลายหนาว รอบข้างของถนนสายนี้เปลี่ยนแปลงไปหลายหน้าตา ผู้คนสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปมา กระทั่งเร็วๆ […]

ลัดเข้าวัด เลาะเข้าศาลเจ้า แวะเข้าโบสถ์ ทริปเดินสำรวจชุมชน ความเชื่อ และศรัทธาในพื้นที่สามย่านกับ TedxChula

เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึงสามย่าน หลายคนคงคิดถึงบรรทัดทอง หมาล่า หรือเขตอาหารที่คึกคักตลอดคืน แต่จริงๆ พื้นที่ตรงนี้ได้ชื่อ ‘สามย่าน’ จากจุดตัดถนน 3 สาย คือ ถนนพระรามที่ 4 ถนนพญาไท และถนนสี่พระยา ซึ่งไม่เพียงแต่จุดตัดของถนนสามสาย ที่นี่ยังมีสามความเชื่อ สามรูปแบบความศรัทธาที่ปรากฏตั้งแต่อดีตกาลยาวนานมา ยามบ่ายของวันเสาร์ที่ผ่านมา TEDXChulalongkornU ได้ชวน Urban Creature ไปเดินสำรวจหลากหลายความเชื่อ ความศรัทธาในพื้นที่สามย่าน ในธีม How to train your jargon ที่มีไกด์ทัวร์ท้องถิ่นของแต่ละสถานที่ และนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาดำเนินกิจกรรม ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่า สถานที่แห่งความศรัทธาที่ไม่อาจรักษาสัญญา “เขาขอเข้ามาปรับปรุง มีแพลนมาให้ดูว่าจะสร้างนู่นสร้างนี่ ย้ายเรามาตรงนี้ให้มีพื้นที่มากขึ้น สะดวกขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นอย่างที่บอก” เจ้าหน้าที่ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าเล่าให้ฟัง สถานที่นี้คือศาลเจ้าที่เดิมเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของคนในชุมชน ด้วยความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของเทพทีกงและทีม่า ที่เล่าขานกันว่า ในวันที่เกิดเหตุไฟไหม้โดยรอบ ถึงแม้ศาลเจ้านี้สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแต่พวกเป็ดไก่ที่วิ่งพากันเข้ามาหลบไฟในศาลเจ้ากลับมีชีวิตรอดกันทั้งหมด แต่ตอนนี้ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าได้ย้ายเข้ามาตั้งอยู่ภายในโครงการ Dragon Town ซึ่งเป็นโครงการที่มีร้านค้า ร้านอาหาร ด้วยข้อต่อรองในการปรับปรุงพื้นที่ โดยสถานที่ที่เปลี่ยนแปลงไป […]

Nordhavn Copenhagen เมืองห้านาทีที่สนับสนุนให้คนออกมาใช้ชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แค่เปิดประตูบ้านก็เจอพื้นที่สีเขียวรอให้ออกไปพักผ่อนหย่อนใจ เด็กๆ เดินออกไปไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงโรงเรียน หรือเหล่าผู้ใหญ่ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็ถึงที่ทำงานแล้ว ประโยคเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นเพียงคำบอกเล่าของผู้คนที่อาศัยอยู่ในโลกยูโทเปีย แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงกับผู้อาศัยอยู่ที่ ‘Nordhavn’ เขตหนึ่งในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวันในเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น ในอดีต Nordhavn เคยเป็นท่าเรืออุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเขตเมืองที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย แม้ว่า ณ ตอนนี้การพัฒนาเมืองยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด แต่ Nordhavn ก็ทำให้เห็นถึงความเป็นเมืองแบบใหม่ที่แทบจะเป็นเมืองในฝัน จนได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดและทะเยอทะยานที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียเลยทีเดียว เข้าถึงความสะดวกในเวลาเพียง 5 นาที เราอาจจะคุ้นชินกับโมเดลเมือง 15 นาทีในหลายๆ ประเทศที่ต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งระยะ 15 นาทีนั้นใครเห็นก็คิดว่าเป็นเวลาที่รวดเร็วแล้ว แต่ที่ Nordhavn ขอทะเยอทะยานกว่า รวดเร็วกว่า ด้วยการทำตัวเองให้เป็นเมืองที่เดินเท้าถึงทุกที่ในเวลาแค่ 5 นาที ฟังดูเป็นเรื่องยากใช่ไหม แต่การออกแบบเมือง Nordhavn นั้นสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายของคนในเมืองมากกว่าที่เราคิด นอกจากไม่ต้องพึ่งพาการใช้รถยนต์เป็นหลักแล้ว เมืองยังเน้นการออกแบบสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นบริการพื้นฐานอย่างโรงเรียน โรงพยาบาล สำนักงาน ขนส่งสาธารณะ สวนสาธารณะ หรือร้านค้า ธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ […]

ชวนย้อนเวลากลับไปในลอนดอนยุค 90 ผ่านเว็บไซต์ ‘Public Lettering’ เพื่อศึกษากราฟิกดีไซน์บนป้ายในช่วงเวลานั้น

สิ่งหนึ่งที่ทำให้การเดินในเมืองสนุกขึ้นคือ การที่ระหว่างทางเราได้สำรวจมองหาความน่าสนใจของการออกแบบกราฟิกบนป้ายที่พบเห็นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณาหรือป้ายร้านค้า เพราะนั่นคือสิ่งเล็กๆ ที่บ่งบอกถึงความคิดสร้างสรรค์และสถานที่นั้นๆ ต้องการนำเสนอ ถ้าเดินดูป้ายในไทยจนฉ่ำใจ แล้วอยากดูงานออกแบบป้ายของประเทศอื่นๆ บ้าง Urban Creature อยากแนะนำอีกหนึ่งเว็บไซต์ให้รู้จัก นั่นก็คือ ‘Public Lettering’ ที่รวบรวมป้ายโฆษณา ป้ายร้านค้า และงานออกแบบกราฟิกที่นำเสนอเอกลักษณ์องค์กรบริเวณใจกลางกรุงลอนดอนในยุค 90 Public Lettering สร้างขึ้นโดย ‘Phil Baines’ (ฟิล เบนส์) กราฟิกดีไซเนอร์ผู้ออกแบบปกหนังสือของสำนักพิมพ์ Penguin Books ไปจนถึงป้ายพิพิธภัณฑ์ และอนุสรณ์สถานในลอนดอน เพื่อส่งต่อภาพถ่ายงานออกแบบกราฟิกให้กับนักเรียนออกแบบกราฟิกดีไซน์ของเขา หลังจากได้รับผลตอบรับที่ดีในการประชุมของ ATypI (Association Typographique Internationale) องค์กรไม่แสวงหากำไรระดับนานาชาติที่มุ่งเน้นด้านการออกแบบ Typography และ Typeface ในปี 1997 เรียกว่าเป็นเว็บไซต์ที่เก็บรวบรวมภาพถ่ายโดยฟิล เบนส์ ที่ส่งผลต่องานออกแบบของเขาตั้งแต่ปี 1992 อีกทั้งยังทำให้เห็นความน่าสนใจของการออกแบบกราฟิกบนป้ายของลอนดอนในยุคหนึ่งที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ที่ยากจะพบเจอในปัจจุบัน ใครที่เอนจอยงานออกแบบลักษณะนี้ ลองไปสำรวจตัวอักษรและป้ายกราฟิกในลอนดอนครั้งอดีตได้ที่ publiclettering.org.uk Sources :Planet Typography | […]

‘แฟลตเกิร์ล’ มองปัญหาเรื้อรังของการไม่มีบ้านและโอกาสที่ไม่มีอยู่จริงของคนจนเมืองผ่านที่อยู่อาศัยในภาพยนตร์

*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์* เมื่อการมีบ้านเป็นฝันที่เกินเอื้อมทั้งสำหรับคนเมืองและอาชีพอย่างผู้พิทักษ์สันติราษฎร์  สนามแบดฯ สภาพเสื่อมโทรม ไฟติดบ้างไม่ติดบ้าง กับเสาที่ถูกพ่นลาย และหลากหลายเรื่องราวของผู้คนในห้องขนาดเล็กจิ๋วของแฟลตตำรวจ สวนทางกับจำนวนคนในห้อง ทั้งภรรยา ลูกคนที่หนึ่ง คนที่สอง คนที่สาม พานจะมีคนที่สี่ ต้องอัดกันอยู่ในห้องที่ไม่มีสัดส่วน ผนังและฝ้าจะถล่มลงมาได้ตลอด ภาพบรรยากาศนี้ถูกเล่าผ่าน ‘แฟลตเกิร์ล ชั้นห่างระหว่าง เ ร า’ ภาพยนตร์ของ แคลร์-จิรัศยา วงษ์สุทิน กับเรื่องราวของพี่น้องต่างสายเลือดอย่าง เจน และ แอน แต่กลับมีจุดร่วมอย่างการมีพ่อเป็นตำรวจและอาศัยอยู่ในแฟลตเดียวกัน จนเติบโตและสนิทสนมเป็นความสัมพันธ์ที่แล้วแต่จะนิยาม ชีวิตที่สนุกแสนสุขสงบในแฟลต ช่วงต้นของภาพยนตร์เป็นความพยายามเล่า ‘ความสุข’ ของเหล่าเด็กวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในแฟลต ทั้งภาพของเจนที่ออกมายืนกินไอศกรีมรอแอนกลับบ้านพร้อมกัน นักเรียนกลุ่มใหญ่ที่พากันออกไปเรียกตุ๊กตุ๊กหน้าโรงเรียน และถึงแม้จะเรียกตุ๊กตุ๊กในราคาเดิมไม่สำเร็จก็ยังมีรถตำรวจที่พาไปส่งถึงแฟลตได้ หลังเลิกเรียนก็มาใช้เวลาว่างด้วยกัน ตีแบดฯ นอนเล่น กินขนม ไปจนถึงแอบทำอะไรป่วนๆ อย่างการลักลอบเข้าห้องของตำรวจที่ไม่ค่อยอยู่เพื่อเข้าไปดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ฟรีๆ เสมือนชีวิตนี้ไม่มีปัญหาและได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นกับเพื่อนที่ตนสนิทใจ แต่เราจะรู้สึกเอะใจตั้งแต่ภาพความสุขนั้นถูกฉายด้วยพื้นหลังของสภาพตึก ห้อง หรือบรรยากาศที่ดูเสียดสีอย่างสุดซึ้ง ก่อนภาพยนตร์จะพาเราไปเจอความเป็นจริงว่าชีวิตของเด็กแฟลตมันไม่ได้สนุกและสวยงามเท่าไรนัก ด้วยปัญหาคุณภาพชีวิตราคาถูกสวนทางกับค่าครองชีพราคาแพงที่ไม่ว่าใครในแฟลตแห่งนี้ก็ไม่สามารถจ่ายมันได้ ชีวิตที่แตกต่างจากระยะห่างของชั้นในแฟลต ผสมปนเปไปกับ ‘ความห่างระหว่างชั้น’ ของเจนและแอน สองพี่น้องที่สนิทและรักกันปานจะกลืนกิน แต่ความเป็นจริงนั้น […]

ค้นหาพื้นที่สุขภาพใกล้ฉัน ติดตามข้อมูลสุขภาพและกิจกรรมทางกายบน ‘City Health Check TH’ แพลตฟอร์มส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้คนไทย

สุขภาพของคนไทยเป็นอย่างไร พื้นที่ใกล้ๆ ที่เราจะไปออกกำลังกายได้อยู่ตรงไหนบ้าง จังหวัดเรามีพื้นที่สีเขียวมากเพียงพอหรือยัง ที่ผ่านมาหัวข้อทั้งหมดนี้อาจเป็นเรื่องที่ติดตามได้ยาก แต่ในตอนนี้เราสามารถค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพเหล่านี้ได้ง่ายๆ บนช่องทางออนไลน์ผ่าน ‘City Health Check TH’ แพลตฟอร์มกิจกรรมทางกายจากความร่วมมือกันของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ Bedrock Analytics City Health Check TH คือแพลตฟอร์มส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่รวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ในรูปแบบ Open Data จากหลากหลายแหล่งและหลากหลายมิติ เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานเห็นภาพรวมของกิจกรรมทั้งหมด และนำไปวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูลได้ โดยข้อมูลขนาดใหญ่เหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาและแก้ปัญหาเมืองในหลายๆ ทาง เพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้นได้ โดยกิจกรรมทางกายที่ว่านั้นคือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานที่ช่วยให้ร่างกายมีการเผาผลาญ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ กิจกรรมทางกายในการทำงานต่างๆ และการเรียน กิจกรรมทางกายในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และกิจกรรมทางกายเพื่อการนันทนาการหรือกิจกรรมยามว่าง ส่วนจุดประสงค์ของแพลตฟอร์มนี้ก็เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนาแผนงานในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เหมาะกับการใช้งานทั้งในระดับใหญ่และปัจเจก เช่น – นักวิชาการหรือนักวิจัย ที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ในเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆ– หน่วยงาน ที่เก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อที่จะได้รู้ว่ามีจุดไหนที่ต้องการแก้ปัญหาบ้าง– องค์กรหรือบริษัท ที่ต้องการข้อมูลไปใช้เพื่อการตลาด– บุคคลทั่วไป ที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกในเรื่องที่สนใจ นอกจากเรื่องสุขภาพของประชากรแล้ว บนแพลตฟอร์มนี้ยังมีฟังก์ชันติดตามข้อมูลพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ ศูนย์กีฬา […]

Na Pan School จากโรงเรียนสภาพทรุดโทรมสู่พื้นที่การเรียนรู้ใหม่ ด้วยแรงกายและใจของคนในหมู่บ้าน

โรงเรียน Na Pan ตั้งอยู่บนเชิงเขา Pa Han ที่เวียดนาม เป็นพื้นที่การเรียนรู้ของนักเรียน 204 คน จากหกชั้นเรียน โรงเรียนตั้งอยู่บนที่ดินกลางหมู่บ้าน โดยมีประตูหันหน้าไปทางถนนระหว่างหมู่บ้าน ด้านหลังติดกับลำน้ำและทุ่งนาอันกว้างใหญ่ ก่อนการปรับปรุง โรงเรียนนี้มีห้องเรียนที่ผุพังอย่างหนักถึงสามห้อง และต้องใช้ห้องเรียนชั่วคราวที่สร้างจากไม้ ผนังดิน พื้นกระเบื้องธรรมดา และหลังคาใยหินที่ซีดจาง ความท้าทายในการปรับปรุงที่นี่จึงเป็นการรวมโครงสร้างสามส่วนอย่างอาคารไม้เก่าแก่เกือบ 30 ปี อาคารอิฐอายุ 20 ปี และอาคารสร้างใหม่ที่ได้รับทุนจากมูลนิธิ VNHelp ให้กลายเป็นพื้นที่สถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่นี่ได้รับการออกแบบให้เปิดโล่งด้วยหน้าต่างจำนวนมากเพื่อเพิ่มแสงธรรมชาติ และเปิดให้บรรยากาศโดยรอบเข้ามาสู่ห้องเรียน ผสมผสานกับการจัดเรียงหน้าต่างอย่างเป็นระเบียบ สะท้อนถึงการเต้น ‘Pieu Scarf’ แบบดั้งเดิมของคนท้องถิ่น ส่วนอาคารใหม่สร้างด้วยอิฐดินและมีทรงโค้งมน ชวนให้นึกถึงเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม โดยมีส่วนเชื่อมต่ออาคารใหม่และอาคารเก่าคือห้องอเนกประสงค์ที่ชาวบ้านร่วมกันเก็บหินจากแม่น้ำเพื่อสร้างขึ้นมา โครงการนี้ใช้เวลาเพียงสี่เดือน จากความร่วมมือของ 300 ครอบครัว มาใช้เวลาร่วมกันสร้างสิ่งนี้ โดยแต่ละคนนำหินกรวดจากแม่น้ำมา 30 ก้อน รวมกันประมาณ 80,000 ก้อน เพื่อให้เพียงพอต่อการสร้างห้องอเนกประสงค์ ปูพื้นลาน และตกแต่งพื้นที่อื่นๆ โครงการนี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยนรูปลักษณ์ของโรงเรียน แต่ยังเป็นการเปลี่ยนความคิดของคนทั้งหมู่บ้าน […]

‘สองแถวแปลงร่าง’ นิทรรศการที่ชวนมองความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงรถสองแถวให้ดีขึ้น พร้อมทดลองนั่งสองแถวโฉมใหม่ที่ไฉไลกว่าเดิม

‘รถสองแถว’ เป็นรถโดยสารที่เราอาจไม่ค่อยนึกถึงเท่าไรเพราะไม่ได้ใช้บริการมากนัก ทั้งที่ความจริงแล้ว ในหลายๆ พื้นที่สองแถวยังคงเป็นขนส่งที่จำเป็นต่อการเดินทางอยู่ ถึงอย่างนั้น รถโดยสารประเภทนี้กลับไม่ค่อยได้รับการพัฒนาในแง่ฟังก์ชันการออกแบบเท่าไร ทาง โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย, บัสซิ่ง ทรานสิท และ MAYDAY! จึงร่วมมือกันปรับโฉมรถสองแถว พร้อมชวนทุกคนมาสำรวจในนิทรรศการ ‘สองแถวแปลงร่าง’ งาน Bangkok Design Week 2025 ณ ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นอกจากนิทรรศการที่ชวนไปทำความเข้าใจขนส่งสาธารณะเส้นเลือดฝอยอย่างรถสองแถวแล้ว ภายในงานยังมีโมเดลรถสองแถวแปลงร่างที่เปิดให้ใช้บริการในช่วง BKKDW 2025 ด้วย เพื่อให้ผู้โดยสารบางส่วนได้ลองสัมผัสประสบการณ์การนั่งรถสองแถวแบบใหม่ ที่ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้ใช้รถสองแถวแบบใหม่นี้มากขึ้นก็ได้ ออกแบบใหม่เพื่อการใช้งานและความปลอดภัย ‘ศุภกร ศิริสุนทร’ Co-founder และ CFO บริษัท บัสซิ่ง ทรานสิท จำกัด เล่าให้เราฟังว่า โปรเจกต์นี้เริ่มต้นจากทางโตโยต้า ที่มีแนวคิด Mobility For All สนับสนุนความหลากหลายในการเดินทางได้เลือกรถสองแถวมาเป็นโจทย์เพราะพนักงานในโรงงานหลายคนต้องอาศัยรถสองแถวในการเดินทางระยะสุดท้าย (Last Mile Transportation) ส่วนทางบัสซิ่งเองก็เคยร่วมงานกับโตโยต้ามาก่อนแล้ว จึงร่วมมือกันพูดคุยและลงมือพัฒนารถสองแถวว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนได้บ้าง […]

mapmap GO! แผนที่ย่านบางกอกใหญ่ที่อยากให้คนได้เดินเที่ยวดี

สำหรับย่านบางกอกใหญ่ แลนด์มาร์กที่คนรู้จักคงหนีไม่พ้น ‘วัดอรุณฯ’ จุดที่หลายคนแต่งองค์ทรงเครื่องสวมชุดไทยไปถ่ายรูปกับสถาปัตยกรรมสวยๆ แต่ที่หลายคนอาจไม่รู้คือ ภายในย่านบางกอกใหญ่ยังมีอีกหลายสิ่งรอให้เราไปค้นหา ‘mapmap GO!’ คือแผนที่ข้อมูลและเส้นทางแนะนำสำหรับวางแผนท่องย่านบางกอกใหญ่ในรูปแบบกระดาษ ผลงานจากการรวมตัวกันระหว่างทีม ‘mor and farmer’ ที่มีสมาชิกคือ ‘ธาริต บรรเทิงจิตร’, ‘ภาสุร์ นิมมล’ และ ‘รินรดา ราชคีรี’ และทีม ‘Refield Lab’ อย่าง ‘นักรบ สายเทพ’, ‘อรกมล นิละนนท์’ และ ‘อัตนา วสุวัฒนะ’ ในนาม ‘CAN : Community Act Network’ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มคนที่สนใจเรื่องชุมชนและเมืองเอาไว้ด้วยกัน รวมคนและข้อมูลให้เดินเที่ยวดี “เราสนใจเรื่องของการทำข้อมูลและงานแผนที่กันอยู่แล้ว เลยคิดกันเล่นๆ ว่า แล้วถ้าข้อมูลที่เรามีสามารถแปลออกมาเป็นกระดาษให้คนมาใช้งานมันจะเวิร์กไหม เลยเลือกย่านหนึ่งที่ไม่ใหญ่มากอย่างย่านบางกอกใหญ่มาทำ” นักรบ หนึ่งในสมาชิกผู้จัดทำ mapmap GO! บอกกับเรา นอกจากนี้ อีกหนึ่งเหตุผลที่ลงเอยที่ย่านบางกอกใหญ่คือ ย่านนี้มีกลุ่มที่ทำงานกับชุมชนอย่าง ‘ยังธน’ และ […]

ถนนท่าแพ ตามนักสะสมของพม่าไปชมวัดพม่าในเชียงใหม่

ใช่ว่าเชียงใหม่จะมีแค่วัดวาอารามศิลปะล้านนา หากแต่บนถนนท่าแพ ถนนสายเศรษฐกิจดั้งเดิมที่โดดเด่นด้วยทิวอาคารคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น ยังมีวัดเก่าแก่ที่สะท้อนอิทธิพลของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมพม่าอายุเกินร้อยปีแทรกตัวอยู่อย่างกลมกลืนและสง่างาม ดังชื่อบทความ เราจะพาเดินสำรวจมรดกจากศิลปะพม่า รวมถึงย้อนรอยถึงที่มาของวัดวาอารามบนถนนสายนี้ แต่ก่อนอื่น มีบุคคลสองท่านที่เราอยากแนะนำให้รู้จัก ‘จ่อย-อินทนนท์ สุกกรี’ คือชื่อแรก ชายชาวเชียงใหม่ลูกเสี้ยวพม่าวัยสามสิบเศษ นักสะสมของเก่า และเจ้าของร้าน ‘ชเว ผ้าพิมพ์ลุนตยา’ เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา จ่อยได้ร่วมกับกลุ่มแม่ข่าซิตี้แลป จัดกิจกรรม ‘Mae Kha Walk Along เดินเมืองเรียนรู้คลองแม่ข่า’ พาผู้ที่สนใจไปเดินชมสถาปัตยกรรมแบบพม่าในวัดบนถนนท่าแพ ถนนสายสำคัญที่ลำน้ำแม่ข่าตัดผ่าน อันเป็นที่มาของบทความนี้ ส่วนคนที่สอง หากท่านยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะมีอายุเกือบ 200 ปีแล้ว ‘เมาง์ปานโหย่ว’ หรือ ‘รองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร’ พ่อค้าไม้สักจากเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ที่ต่อมากลายเป็นคหบดีที่มีบทบาทสำคัญในการนำเข้าอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากดินแดนบ้านเกิดมาสู่เชียงใหม่ ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่งบนถนนท่าแพ อันเป็นที่มาของกิจกรรมครั้งนี้ “จริงอยู่ที่ก่อนหน้านี้เชียงใหม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี (พ.ศ. 2101 – 2317) แต่หลักฐานเชิงประจักษ์ของอิทธิพลจากศิลปกรรมจากพม่าในสมัยนั้นก็มีอยู่น้อยเต็มที ในขณะที่ศิลปะพม่ามาเบ่งบานในเมืองนี้ โดยเฉพาะบนถนนสายนี้จริงๆ คือเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งไม่ได้เกิดเพราะเหตุผลด้านการเมือง แต่เป็นผลพวงจากการค้าขาย ซึ่งวันนี้เราจะไปตามรอยกัน” จ่อย ไกด์อาสาในทริปนี้กล่าว […]

The junk, the gems ธีสิสที่ว่าด้วยสิ่งของข้างทาง และไอเดียการประยุกต์แบบบ้านๆ ของคนไทย

นิสัยช่างสังเกตและความชอบในการเดินเมือง ทำให้ ‘ปิ๊ก-ชาคริยา เนียมสมบุญ’ บัณฑิตจากสาขาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ ได้ไปเดินยังจุดต่างๆ ของเมือง และพบความสนใจในการสร้างเครื่องเคลือบดินเผาจากไอเดียที่พบเห็นสิ่งของข้างทาง จนทำให้เกิดเป็นงานธีสิสชิ้นนี้ขึ้นมา ‘จุดนำสายตา’ เป็นคำนิยามที่ปิ๊กรู้สึกต่อตะกร้าผลไม้ ยางรถยนต์ แกลลอน หรือข้าวของที่วางอยู่ระเกะระกะ ควบคู่ไปกับความเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นของคนไทย ที่มักหยิบจับสิ่งของที่ดูไม่เข้ากันมาประกอบเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ใหม่ งานประดิษฐ์เหล่านี้ไม่ได้สะท้อนแค่ไอเดียสร้างสรรค์ต่างๆ แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตคนไทย ที่เมื่อปัญหาบางอย่างไม่สามารถแก้ไขอย่างถาวรได้ คนไทยก็มักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยไอเดียการประยุกต์ใช้สิ่งของบางอย่าง เช่น ถ้าไม่อยากให้ใครมาจอดรถหน้าบ้าน ก็เอาแกลลอนหรือสิ่งของมาประกอบกันแล้ววางขวางพื้นที่ไว้ รวมถึงสิ่งของบางอย่างที่อาจใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว อย่างตะกร้าพลาสติกที่แตกบริเวณฐาน พ่อค้าแม่ค้าก็ดัดแปลงด้วยการนำมาตั้งเรียงกันเป็นโต๊ะ เพื่อไม่ให้ตะกร้าเหล่านั้นกลายเป็นขยะพลาสติกเสียเปล่าไปเฉยๆ จุดเริ่มต้นของงานนี้เกิดจากการไปเดินย่านทรงวาดของปิ๊ก และพบเข้ากับเสาไฟที่มีแกลลอนขวดนมตั้งอยู่ตรงฐาน แต่เมื่อมองเข้าไปข้างในขวดนมจะพบปลั๊กพ่วงซ่อนอยู่ ซึ่งตัวปิ๊กเองคาดเดาว่าอาจจะใช้เพื่อกันน้ำฝน หรือป้องกันไม่ให้ใครเห็น เพราะถ้าจะต่อปลั๊กจากไฟเหล่านี้ต้องมีการขออนุญาตก่อน เสาไฟและขวดนมที่ทรงวาดจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ปิ๊กอัปสกิลการสังเกตของตนเองและค่อยๆ พัฒนามาเป็น ‘The junk, the gems’ ธีสิสที่บอกเล่าตามชื่อด้วยเรื่องราวของสิ่งของข้างทางที่เป็นขยะ แต่ถูกนำมาดัดแปลงจนเห็นถึง Gems ที่แทรกอยู่ในขยะเหล่านั้น โดยจุดสำคัญของผลงานชุดนี้คือ การนำเสนอไอเดียและการแก้ปัญหาของคนเมือง พร้อมสอดแทรกความเป็นตัวปิ๊กลงไป ด้วยความตั้งใจที่ไม่อยากเพียงแค่คัดลอกไอเดียที่เห็น แต่อยากจินตนาการเสียมากกว่าว่า ถ้าเธอเป็นคนทำงานชิ้นนี้ออกมา แต่ละงานจะออกมาหน้าตาแบบใด ปิ๊กเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ฟังว่า นอกจากย่านทรงวาดที่ทำให้ได้เจอกับเสาไฟที่จุดประกายไอเดียแล้ว […]

1 2 3 4 5 6 369

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว