LATEST
URBAN VISION X SHMA SOEN
URBAN VISION : “คุณภาพชีวิตคนเมืองในอนาคต คุยกับ Shma SoEn กลุ่มนักออกแบบเพื่อส่วนรวมที่เชื่อว่าเมืองและที่อยู่อาศัยที่ดีต้องไม่ดีด้านเดียว”
Green Corner Of Ratchathewi
เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปธรรมชาติก็ถูกกลืนกินด้วยความทันสมัยพื้นที่สีเขียวกลายเป็นสิ่งที่ใครๆก็ต่างโหยหา แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติเพียงแค่คุณก้าวเท้าออกจากห้องก็สามารถสัมผัสกับธรรมชาติภายในที่อยู่อาศัย
The Bitter-Sweet Story : หวานเป็นลมขมเป็นยา เปิด “บ้านหมอหวาน” ยาแผนโบราณ เป็นตำนานตั้งแต่รุ่นทวด
ไขความลับต้นตำรับยาไทย ลัดเลาะตามกลิ่นสมุนไพร มาพบ “บ้านหมอหวาน” ร้านขายยาโบราณอายุกว่าร้อยปี ที่ซ่อนตัวอยู่ในย่านเสาชิงช้า ฟังเรื่องราวจาก “คุณเอ๊ะ-ภาสินี ญาโณทัย” ทายาทรุ่น 4 ที่จะพาเราหวนอดีตกลับไปสมัย ร. 5 และนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องสมุนไพรไทยมาเล่าสู่กันฟัง
Active River Station : จูงมือลงเรือลำเดียวกัน ร่วมคิด ร่วมสร้าง “สถานีเรือเพื่อทุกคน”
“ท่าเรือ” ที่เราใช้ทุกวันนี้เป็นอย่างไร? เท่าที่เห็นกัน คงมีชำรุดหรือบางที่ก็ดีไซน์มาไม่ตอบโจทย์สำหรับคนทุกกลุ่ม เราจึงมีแนวคิดดีๆ จากเหล่า “คนเข้าท่า” มานำเสนอ กับโครงการ “Active River Station – สถานีเรือเพื่อทุกคน” ที่ต้องการสร้างสถานีเรือรูปแบบใหม่ให้คนเมืองได้ใช้
Guide To Better Living : “วัชรพล” ย่านน่าอยู่ บ้านน่าอยู่
ชีวิตคนเมืองในวัยที่ต้องมีภาระมากขึ้น ต้องเจอความเครียดจากงาน หรือสภาวะแวดล้อมในเมือง สิ่งที่เราต้องการ คือการพักผ่อนในสถานที่ที่เราอยู่แล้วสบายใจ ความฝันของหลายคนจึงอยากมีบ้านสักหลังในทำเลน่าอยู่ อย่าง “วัชรพล”
Better City Starts With a “Good Walk” : ภารกิจเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ย่านของเราเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”
กรุงเทพฯ เมืองที่หลายคนรักแต่อีกใจหนึ่งก็เกลียด ขึ้นชื่อเรื่องไฟแดงนานและไฟเขียว 3 วิ เอาล่ะ วันนี้ไม่ได้จะมาบ่นกรุงเทพฯ แต่เรามีแนวคิดดีๆ ให้ชาวกรุงเทพฯ เปลี่ยนมาใช้การเดินเท้าแทนการขับรถ ซึ่งก่อนที่แต่ละย่านจะสามารถเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ก็มีสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนมากกว่าแค่ทางเท้า
URBAN SOLUTION : Public Service Booth ตู้สาธารณะ กดปุ๊บ ชีวิตง่ายปั๊บ
เบื่อมั้ย? ออกจากบ้านแต่ลืมพกร่ม ฝนตก แบตฯ หมด แถมยังหอบหิ้วของพะรุงพะรัง ครั้นจะไปขอชาร์จตามร้านก็เกรงใจ แถมบางที่ยังผิดกฏหมายอีกต่างหาก หลายครั้งในชีวิตประจำวันเราต้องเจอกับเหตุการณ์สุดเซ็งเหล่านี้ ที่แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ทำให้ใช้ชีวิตสะดุดได้เหมือนกัน ในหลายประเทศก็มีไอเดียดีๆ มาช่วยแก้ปัญหาหงุดหงิดใจของคนเมือง ตามไปดูไอเดียตู้สาธารณะในต่างประเทศที่เราต้องร้องว้าว! ให้กับตู้กดขายของอัตโนมัติ ไปจนถึงตู้ให้บริการสุดเจ๋ง แถมยังมองหาได้ทั่วเมือง ไม่ว่าจะเป็นสถานีรถไฟฟ้า จุดต่อรถ หรือตามท้องถนน แล้วมองย้อนกลับมาดูประเทศเราสิว่า มีเทคโนโลยีอะไรที่น่าสนใจบ้าง รับรองว่าตู้เหล่านี้จะช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นไหลลื่นเลยล่ะ How does it help? | ตู้สาธารณะ ตัวช่วยคนเมือง สังเกตไหมว่า? ตามเมืองใหญ่ที่มีประชากรเยอะ ผู้คนใช้ชีวิตเร่งรีบ และก้มหน้าก้มตาทำงาน จึงต้องมีตู้สาธารณะกระจายอยู่ทั่วเมือง แทนที่จะจ้างคนมาให้บริการ โดยเฉพาะ “ญี่ปุ่น” นักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ ก็ได้ให้เหตุผลที่ว่า “ทำไมญี่ปุ่นถึงได้มีเจ้าตู้กดนี้อยู่มากมาย จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมือง” 1. ไม่ต้องจ้างแรงงานคน ในประเทศที่อัตราการเกิดต่ำ เป็นสังคมผู้สูงอายุ และไม่ค่อยเปิดรับแรงงานต่างด้าว เป็นปัจจัยให้ญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงาน ค่าจ้างแรงงานก็พุ่งสูงไปด้วย แต่ตู้อัตโนมัติเหล่านี้ไม่ต้องใช้พนักงานเลยแม้แต่คนเดียว 2. ประหยัดพื้นที่ ญี่ปุ่นมีประชากรมากถึง 127 […]
“อุ๋ย นนทรีย์” ผู้กำกับ | จักรยาน | เมือง | ท้องถนน | และโอเค เบตง
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงอยู่ไม่น้อย ด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวผ่าน ‘ทิดธรรม’ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวมุสลิมในชายแดนใต้ของไทย ซึ่งแวดล้อมไปด้วยวัฒนธรรม วิถีคนท้องถิ่น ความรุนแรง และความไม่สงบในอำเภอเบตง, ยะลา
Hidden Gem in Old Town : ลัดเลาะย่านฮิป นานา-เยาวราช-ทรงวาด ยลถิ่นเก่ากลิ่นอายโคโลเนียล
ณ ที่แห่งนี้มีอะไรซ่อนอยู่ Urban Creature จะพาไปเดินเที่ยวย่านเมืองเก่า “นานา-เยาวราช-ทรงวาด” แหล่งแฮงก์เอ้าท์สุดฮิปที่เป็นดั่ง Hidden Gem ใจกลางกรุงเทพฯ ดื่มด่ำบรรยากาศสุดชิล ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ ร้านดอกไม้ แกลเลอรี่ และบาร์ ดูตึกรามบ้านช่องที่แฝงมนต์เสน่ห์สถาปัตยกรรมโคโลเนียล ย่านที่เคยเงียบเหงาถูกปลุกให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจพัฒนาทำเลเมืองเก่า เราจะแวะไปเยี่ยมเจ้าของบ้าน ตั้งแต่ร้านดอกไม้และคาเฟ่สุดฮิป “Oneday Wallflowers”, ทายาทรุ่น 4 ของร้านขายยาโบราณ “บ้านหมอหวาน”, และสองสาวเจ้าของบาร์สุดคูล “Shuu Shuu” เพื่อชวนพูดคุยถึงแพชชั่นที่จะทำให้ตึกเก่าทรุดโทรมเหล่านี้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ตึกโคโลเนียล มีที่มาจากยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ ที่เข้ามาสร้างอาคารบ้านเรือนในเมืองขึ้น แม้ประเทศไทยจะไม่เคยเป็นอาณานิคม แต่ก็ได้รับอิทธิพลด้านศิลปะ วัฒนธรรม การแต่งกาย รวมไปถึงสถาปัตยกรรมโคโลเนียล ที่ผู้คนในสมัยนั้นเรียกว่า “ตึกฝรั่ง” ซึ่งแพร่หลายในช่วง ร.5- ร.6 ผสมผสานกับช่างพื้นถิ่น โดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพอากาศและวิถีชีวิตคนไทย หลอมรวมสองวัฒนธรรมจนเกิดเป็นสไตล์ที่มีเอกลักษณ์ สถาปัตยกรรมโคโลเนียลในไทย มีรูปแบบที่หยิบยืมมาจากศิลปะกรีกโรมัน เช่น หน้าต่างวงโค้งเกือกม้า […]
THE STORY BEHIND : ศิลปะของ นักรบ มูลมานัส “พื้นที่ทับซ้อนของวัฒนธรรม”
เมื่องานศิลปะยุค Renaissance ถูกเซาะออกจากการแช่แข็งในบริบทเดิมๆ สู่บริบทการรับรู้ใหม่ในเรื่องของ “Culture” และการอยู่รวมกันในเมือง ที่มีเลเยอร์ของวัฒนธรรมอันหลากหลายทับซ้อนวนเวียนกันอยู่ แต่เหตุไฉนจึงสามารถอยู่ร่วมกันได้ ?
บุก Isle of Skye ชมธรรมชาติแห่งความเวิ้งว้างที่สก็อตแลนด์
ถ้าหากจะพูดถึง Dream Destination ของคนที่ชอบธรรมชาติ หลายๆ คนน่าจะนึกถึงไอซ์แลนด์กับการขับรถรอบเกาะไปล่าแสงเหนือ หรือโร้ดทริปที่นิวซีแลนด์ไปดู Mount Cook แต่เราอยู่อังกฤษ ยังไม่มีโอกาสได้ไปไอซ์แลนด์หรือนิวซีแลนด์ก็เลยจะพามาใช้วีซ่านักเรียนอังกฤษให้คุ้ม แล้วไปโร้ดทริปชมธรรมชาติสวยๆ ที่ Isle of Skye หรือเกาะสกาย ทางตอนเหนือของสก็อตแลนด์กัน ต้องบอกก่อนว่าทริปนี้เราเดินทางกันในช่วงหน้าหนาวช่วงปลายเดือนธันวาคม ซึ่งที่นี่จะมีเวลากลางวันแค่ 6-7 ชั่วโมงเท่านั้น! ก็อาจจะเป็นทริปที่มีความชะโงกและก็ต้องทำเวลากันนิดนึง แต่บอกเลยว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะธรรมชาติของที่นี่ก็สวยไม่แพ้ที่ไหน และมักจะเป็นอีกหนึ่งจุกหมายปลายทางของคนที่มาโร้ดทริปกันที่ Highland ซึ่งหมายถึงพื้นที่ครึ่งบนของสก็อตแลนด์ โดยเรานั่งรถไฟจากลอนดอนมาลงเอดินบะระ เมืองหลวงของสก็อตแลนด์ แล้วขับรถจากเอดินบะระขึ้นมาเรื่อยๆ ผ่านทะเลสาบและปราสาทจากยุคกลางต่างๆ แถมระหว่างทางยังมีวิวสวยๆ ของ Glencoe หุบเขาสีทองที่เป็นโลเคชั่นถ่ายทำ Skyfall กันด้วย (ไว้เดี๋ยวจะมาพาเที่ยวกันครั้งหน้า) ก่อนจะเลยข้ามมายัง Isle of Skye ที่หมายของเราในครั้งนี้ Isle of Skye หรือเกาะ Skye เป็นเกาะเล็กๆ ทางตอนเหนือของสก็อตแลนด์ ที่สามารถขับรถข้ามสะพานมาหรือจะเอารถขึ้นเรือเฟอร์รี่ข้ามมาก็ได้ วันที่เรามาเกิดมีพายุเข้าลมแรงมาก เลยอดข้ามฝั่งด้วยเรือเฟอร์รี่ แต่สิ่งที่จำได้ตั้งแต่ข้ามฝั่งมาคือธรรมชาติที่เวิ้งว้าง […]
“บึงบางซื่อ” พื้นที่ตาบอดกลางเมือง สู่ชุมชนต้นแบบแห่งการพัฒนา
ในพื้นที่ 1.5 ล้านตารางกิโลเมตรของเมืองกรุงเรานั้น รู้ไหมว่ายังมีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์ ซึ่งนั่นทำให้ระบบการบริหารของภาครัฐ เช่น การเข้าถึงของน้ำประปา หรือไฟฟ้า ไม่สามารถเข้าถึงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น เรื่องสุขอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต บึงบางซื่อ บึงน้ำกลางกรุงขนาด 61 ไร่ ที่ล้อมรอบด้วย 5 ชุมชน จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประมาณ 250 หลังคาเรือน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ไม่มีทะเบียนราษฏร์ และเป็นพื้นที่ตาบอดที่ไม่มีทางเข้าออก ในอดีตเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว บึงบางซื่อเป็นแหล่งดินดำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ SCG ได้สร้างบ้านให้กับคนงานและครอบครัวเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยรอบบริเวณบึง แต่หลังจากเลิกใช้งาน บึงบางซื่อก็เริ่มมีคนต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชุมชนแออัดในที่สุด “ตอนที่บ้านยังไม่ขึ้น การเป็นอยู่มันก็อยู่ในสภาพบ้านโทรมๆ ย้อนหลังไปปี พ.ศ. 2535 ตอนนั้นทางผู้ใหญ่ยังไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย เราก็จัดตั้งคณะกรรมการ บุกเบิกกันมา การทำงานช่วงนั้นก็เหนื่อยกันมาก เพราะทั้งถูกด่า ถูกแช่ง ซ้ำเติมกันว่าบ้านจะขึ้นได้หรอ เพราะคำดูถูกคำนี้แหละ ทำให้เมื่อมีประชุมที่ชุมชนไหน เราก็ต้องไป กลับมาแล้ว เราก็มาทำที่บ้านเรา” […]