ยิ่งสูงยิ่งไกล การให้ยิ่งสำคัญ “ครูอาสาบนดอยสูง”

หลายคนตั้งเป้าหมายในชีวิตเอาไว้หลายอย่าง อยากได้อาชีพที่ทำงานสบายๆ อาชีพที่เงินเดือนสูงๆ อาชีพที่ทำแล้วมีหน้าตาในสังคม แล้วถ้าคุณเลือกได้อาชีพในฝันของคุณล่ะคืออะไร คงเป็นคำถามที่ตอบยากอยู่เหมือนกันใช่ไหมล่ะ แต่กับชายหนุ่มคนหนึ่งในอาชีพของเขาคือการเป็นอาสาสมัครอาสาสมัครในชนบทห่างไกลเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ชาวดอยให้ชีวิตที่ดีขึ้นโดยเขาได้รับแรงกดดันจากการรับชมรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราวของ ‘คุณครูจันทร์แรม ศิริคำฟู’ ครูบนดอยในพื้นที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ที่อุทิศชีวิตให้กับนักเรียนและชาวเขาที่ไม่รู้หนังสือทั้งที่เธอจบเพียงป. 4 จนทำให้ ‘คุณต้อม’ ชายหนุ่มจากเมืองกรุง ผู้ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ให้กับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งได้ค้นพบเส้นทางชีวิตของตัวเอง และได้ลองสมัครเข้าร่วมโครงการครูบ้านนอก ของมูลนิธิกระจกเงา เพื่อเป็นอาสาสมัครไปสอนเด็กๆ ตามต่างจังหวัดในเวลาว่างจากงานประจำ เพื่อท้าทายตัวเองว่า หากลองทำตามฝันแล้วจะทำได้ไหม ? ทำแล้วจะมีความสุขหรือเปล่า ? และเขาก็ค้นพบว่า นี่คืออาชีพและสิ่งที่เขาใฝ่ฝันจะทำจริงๆ ซึ่งในเวลาต่อมามีรายการโทรทัศน์รายการ ‘โรงเรียนของหนู’ ได้เปิดรับสมัครครูอาสา เพื่อไปสอนหนังสือยังโรงเรียนชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ คุณต้อมจึงไม่รอช้าที่จะยื่นใบสมัครแล้วก็ได้รับการคัดเลือก ทำให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้กลายเป็นอาชีพถาวรจากเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์กลายเป็น ‘ครูต้อม’ ครูอาสานับแต่นั้นมา จากประสบการณ์แรมปีในการไปสอนในครั้งนั้น ทำให้ครูต้อมมองเห็นว่า “เด็กๆ ในพื้นที่บนดอยสูงยังต้องการโอกาส และความช่วยเหลือด้านการศึกษาอยู่อีกมาก” โดยเฉพาะในพื้นที่ที่สูงและห่างไกลอย่างบ้านแม่ฮองกลาง และหมู่บ้านอื่นๆ ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ครูต๋อยได้มีโอกาสเดินทางไปช่วยเหลือในครั้งหนึ่งด้วย ซึ่งลักษณะของพื้นที่แห่งนี้ไร้ซึ่งการเข้าถึงของไฟฟ้า ถนนก็เป็นดินโคลนจากลูกรัง เมื่อถึงหน้าฝนรถยนต์ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ ไปได้ก็แต่เพียงหน้าแล้งเท่านั้น จึงทำให้การลงมาศึกษาหาความรู้ยังตัวอำเภอ ที่มีทรัพยากรความรู้พร้อมมากกว่านั้นค่อนข้างลำบาก และด้วยเหตุผลเหล่านี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ครูต้อมและเพื่อนอีก 3 คนก่อตั้งโครงการ […]

PETS PLAYGROUND บ้านนี้มีรัก 3 คน 1 แมว 1 นกแก้ว ที่อยู่ใต้ชายคาเดียวกัน

โปรเจกต์ที่อยู่อาศัยที่เรากำลังจะพูดถึงนี้ อยู่ในเมือง Yuen Long ประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นย่านที่รายล้อมไปด้วยอพาร์ตเมนต์สูง เต็มไปด้วยชุมชนหนาแน่น ครอบครัวส่วนใหญ่ในฮ่องกงเมื่อลูกหลานเติบโตขึ้นมักจะออกไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ และมองหาที่อยู่เป็นหลักแหล่งของตัวเอง เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว รวมไปถึงอิสระในการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่ที่กลายเป็นผู้สูงอายุก็มักถูกปล่อยให้อาศัยอยู่บ้านเพียงลำพัง “Pets Playground” เป็นโปรเจกต์จากสตูดิโอ Sim – Plex ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้สมาชิกในบ้าน ทั้งคุณแม่ที่เป็นผู้สูงอายุ และครอบครัวที่เพิ่งมีลูก สามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขและเติมเต็มความต้องการที่แตกต่างของคนสองรุ่นได้ นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาคนชราถูกทอดทิ้ง และลดค่าใช้จ่ายในการหาซื้อที่อยู่ใหม่ซึ่งมีราคาสูง โปรเจกต์ Pets Playground จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาสิ่งเหล่านี้ได้ เราไปดูกันดีกว่าว่าพวกเขาออกแบบกันอย่างไร ? | 3 คน 1 แมว 1 นกแก้ว โจทย์ในการดีไซน์ห้องที่มีขนาดประมาณ 42 ตารางเมตร ต้องคำนึงถึงสมาชิกในบ้านถึง 3 คน และสัตว์เลี้ยงตัวจิ๋วอีก 2 ตัว โดยคุณแม่ที่มีอายุมากแล้วก็อยากอยู่ใกล้ชิดกับแมวที่เลี้ยงมานานหลายปี และอยากให้เจ้าเหมียวสามารถเดินเล่นได้รอบบ้าน ส่วนลูกของเธอและสามีก็เลี้ยงนกแก้วไว้ 1 ตัว และอยากให้เจ้านกน้อยมีความสุข เมื่ออยู่ในบ้านเล็กๆ ทรงสี่เหลี่ยม ที่สามารถปล่อยออกนอกกรงไปบินเล่นได้บ้าง […]

7 ทัวร์สายดาร์ก เรียนรู้จากอดีตอันโหดร้ายทั่วโลก

ภาพถ่ายขาวดำบันทึกนาทีที่เด็กหญิงเนื้อตัวล่อนจ้อน วิ่งร้องไห้ตื่นตระหนกออกมากลางถนน ท่ามกลางเหล่าทหารถือปืนและเด็กน้อยที่กำลังหนีตาย ท้องฟ้าทะมึนไปด้วยหมู่ควันจากระเบิดนาปาล์มของสหรัฐฯ เป็นภาพถ่ายอันโด่งดังที่ถูกตีพิมพ์ไปทั่วโลกเมื่อปี 1972

#ชมพูเบอร์นี้ ฟีเว่อร์ Raspberry Me เฉดสีสะท้อนตัวตน

หลายทศวรรษที่ผ่านมา สีชมพูถูกนิยามไปต่างๆ นานา มันเคยถูกใช้เป็นตัวแทนของผู้หญิง แสดงถึงความอ่อนหวานและไร้เดียงสา แต่ภาพจำเดิมๆ ของสีชมพูกำลังจะเปลี่ยนไป เมื่อก่อนหากเราพูดถึงสีชมพูก็อาจนึกถึงตุ๊กตาบาร์บี้ แต่จริงๆ แล้วสีชมพูมีบทบาททั้งในแวดวงศิลปะและแฟชั่น เรามาดูกันว่าอะไรทำให้สีชมพูเป็นสีที่สตรอง มีพลัง และคูลที่สุดในยุคนี้

“พี่อร” คนเมืองหัวใจออร์แกนิค ที่อยากให้เราได้กินมะพร้าวน้ำหอมระดับเทพ

HEART : “พี่อร” คนเมืองหัวใจออร์แกนิค ที่อยากให้เราได้กินมะพร้าวน้ำหอมระดับเทพ จากอดีตสวนมะพร้าวที่เคยแปดเปื้อนสารเคมีในจังหวัดราชบุรี สาวร่างเล็กใจแกร่งจากเมืองใหญ่ สลัดลุคสาวออฟฟิศทิ้งทุกอย่างมาเป็นเกษตรกร พลิกสวนมะพร้าวแห่งนี้ให้เป็นออร์แกนิค 100% ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี.

สงสัยกันไหม ทำไมตึกส่วนใหญ่มักมีหน้าตาเหมือนขั้นบันได

ทำไมบางตึกชอบดีไซน์ปาดเฉียง ? ทำไมบางตึกต้องหั่นยอดตึกเป็นขั้นบันได ? เวลานั่งรถไฟฟ้าวิ่งผ่านใจกลางเมือง เรามักจะพบกับทัศนียภาพของตึกสูงอยู่รายรอบ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าตึกสูงในประเทศไทยอย่างออฟฟิศ หรือคอนโดมิเนียมในเมืองส่วนใหญ่ ทำไมถึงต้องมีรูปร่างหน้าตาเป็นขั้นบันได บางตึกเฉียงไปเฉียงมา เหล่าสถาปนิกเขามีแนวคิดอย่างไร จะด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม หรือแค่เรื่องบังเอิญ เรามาร่วมไขคำตอบไปด้วยกัน ! | รูปร่างของตึกนั้นมีที่มา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ยอดอาคารสูงมีลักษณะเป็นขั้นบันไดหรือปาดเฉียง สาเหตุมาจากกฎหมายบ้านเราที่ควบคุมความสูงของอาคารเพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยของคนในเมือง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 จากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีใจความว่า “ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด” หมายความว่า ถ้าเราต้องการรู้ว่า อาคารมีความสูงเกินที่กฎหมายกำหนดหรือเปล่า หรือตึกนั้นสามารถสร้างได้สูงสุดกี่เมตร ต้องเริ่มจากวัดความยาวแนวราบจากจุดที่จะสร้างตึกถึงหน้าเขตที่ดินฝั่งตรงข้ามนำมาคูณสอง จะเท่ากับความสูงของตึกที่สามารถสร้างได้ จากตัวอย่างในรูป เช่น ความสูงของตึก ณ จุด A ที่สามารถสร้างได้ คำนวณจาก ระยะทาง X นำไปคูณสอง เท่ากับ 30 X […]

เบื้องหลังโรงงานรีไซเคิลของ ‘พี่โหมว’ มือปราบขยะ

เคยคิดไหม ? ขวดน้ำที่อยู่ในมือเราตอนนี้เมื่อดื่มหมดแล้ว ขวดพลาสติกเปล่าที่เราเพิ่งทิ้งลงถังขยะจะเดินทางไปไหน ระหว่างบ่อขยะ เตาเผาขยะ หรือโรงงานรีไซเคิล เราสืบเสาะมาจนถึงปลายทางของบรรดาขวดพลาสติกผู้โชคดี ที่ได้มาอยู่โรงงานรีไซเคิลในจังหวัดปทุมธานี รอการรีไซเคิลนำกลับไปใช้ประโยชน์อีกครั้ง

Electronic Cigarette : บุหรี่ไฟฟ้าคือทางออกจริงหรือไม่ ?

ถ้าหากพูดถึงวิธีการเลิกบุหรี่อย่างการหักดิบหลายคนคงรู้จักดี แล้วถ้าพูดถึงแนวทางการเลิกบุหรี่อย่าง ‘Harm Reduction’ ล่ะ มีใครรู้จักกันบ้างไหม ? ไม่แปลกหากเราจะนึกถึงวิธีการเลิกบุหรี่แบบอื่นๆ ไม่ออก เพราะในบ้านเราก็ไม่มีทางเลือกหรือตัวช่วยในการเลิกบุหรี่มากนัก แต่ในต่างประเทศนั้นแนวทางที่เรียกว่า ‘Tobacco Harm Reduction’ หรือแนวทางการลดอันตรายจากควันบุหรี่กำลังกลายเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก ปัจจุบันในหลายประเทศได้นำบุหรี่ไฟฟ้ามาปรับใช้กับนโยบายควบคุมยาสูบ ด้วยการสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่แต่ไม่สามารถเลิกได้  หรือผู้ที่ยังไม่พร้อมจะเลิกบุหรี่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ซึ่งโรคส่วนใหญ่ที่ว่านั้นก็เกิดจากการได้รับสารพิษ จากการเผาไหม้ในบุหรี่ ซึ่งก็คือควันบุหรี่นั่นเอง อย่างไรก็ตาม บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นมาได้ไม่นานมากนัก จึงยังไม่มีรายงานถึงผลการใช้งานในระยะยาว เพราะกว่าจะเกิดโรคนั้นใช้เวลานานหลายสิบปี แต่มีหลายผลงานวิจัยกล่าวถึงการใช้งานระยะสั้น ที่ยืนยันว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา เพราะไม่มีการเผาไหม้ ซึ่งปัจจุบันในหลายประเทศอย่างอังกฤษ นิวซีแลนด์ และอีกหลายประเทศในยุโรป รวมไปถึงประเทศอเมริกา ก็เชื่อมั่นว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข หากมีการควบคุมอย่างเหมาะสม อีกทั้งจะสามารถช่วยลดอันตรายที่เกิดจากควันซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในขณะเดียวกันสาธารณสุขในหลายๆประเทศก็เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้น นอกจากจะสร้างรายได้ให้กับรัฐเมื่อมีการจัดเก็บภาษีตามความเหมาะสมแล้ว ยังจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของทางภาครัฐในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่อีกด้วย เนื่องจากการเลิกบุหรี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะผู้สูบบุหรี่นั้นเสพติดนิโคตินไปแล้ว จะมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่จึงก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ยาสูบออกมาหลายประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ คือการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพให้กับนักสูบ ด้วยการตัดตัวการหลักที่ทำให้เกิดโรคอย่าง ‘การเผาไหม้’ ออกไป เพราะการเผาไหม้ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสารพิษนานาชนิด อันเป็นสารก่อมะเร็งที่ออกมากับควันบุหรี่นั่นเอง บุหรี่ไฟฟ้า | คืออะไร บุหรี่ไฟฟ้า : Electronic Cigarette หรือที่นิยมเรียกว่า Vaporizers เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนจากแบตเตอรี่ ทำให้ขดลวดในอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าเกิดความร้อน เปลี่ยนน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าให้กลายเป็นไอน้ำ  เกิดเป็นกระบวนการนำส่งนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย โดยปราศจากการเผาไหม้   ซึ่งการใช้บุหรี่ไฟฟ้านั้น จะทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่แต่ได้รับสารพิษน้อยกว่ามาก และผู้สูบสามารถเลือกระดับนิโคตินได้ตามความต้องการ ไปจนถึงแบบที่ไม่มีนิโคตินเลย สารพิษ | ในบุหรี่ไฟฟ้า หลายคนยังมีความสงสัยว่าจริงๆ แล้วบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยจริงหรือไม่ ? สิ่งสำคัญของบุหรี่ไฟฟ้านั้นคือน้ำยา (E-Liquid หรือ E-Juice) เป็นสิ่งที่ใช้คู่กับบุหรี่ไฟฟ้า โดยน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้านี้มีส่วนประกอบของนิโคตินเหลว(หรือจะไม่มีก็ได้) ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้ามาทดแทนการใช้ใบยาสูบ เท่ากับเป็นการตัดขั้นตอนการเผาไหม้ใบยาสูบที่มีในบุหรี่ อันเป็นต้นกำเนิดของสารเคมีกว่า 4,000 ชนิด รวมไปถึงสาร ‘ทาร์ หรือ น้ำมันดิน’ ที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นสารพิษ ซึ่งก่อให้เกิดโรคร้ายรวมถึงโรคมะเร็งด้วย อย่างไรก็ตามยังมีผู้คนจำนวนมหาศาลเข้าใจผิดว่า ‘นิโคติน’ คือสาเหตุของโรคร้ายซึ่งรวมถึงโรคมะเร็ง ทั้งที่ความเป็นจริงนิโคตินเป็นเพียงสารที่ก่อให้เกิดการเสพติด นอกจากนั้นยังมีส่วนผสมของ ‘Vegetable Glycerin’ กลีเซอรีนจากพืช เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มาจากน้ำมันที่ได้จากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ถูกใช้เป็นตัวให้ความหวาน (Sweetener) และเป็นส่วนผสมชนิดหนึ่งในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ ‘Propylene Glycol’ หรือเรียกว่า PG เป็นสิ่งที่ใช้เป็นตัวทำละลายหรือเจือจางวัตถุดิบและสารเคมีประเภทต่างๆในการผลิต ยา อาหาร เครื่องสำอางค์  ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น ในขณะที่ทางอเมริกาเริ่มมีการควบคุมการเข้าถึงของเยาวชนอย่างจริงจัง  โดยทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมายควบคุมเรื่องการห้ามจำหน่ายกลิ่นที่ดึงดูดเยาวชน และเคร่งครัดให้ร้านค้าหรือผู้จำหน่ายต้องมีการตรวจอายุผู้ซื้อว่าถึงเกณฑ์หรือไม่ บุหรี่ไฟฟ้า | ข้อดี – ข้อเสียที่ควรรู้ อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคงคนเกิดคำถามว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาหรือเปล่า ? ซึ่งเราเชื่อว่า มีหลายความเห็นถูกปล่อยออกมาบ้างว่ามันอันตรายน้อยกว่า เพราะไม่มีการเผาไหม้ที่ก่อให้เกิดสารเคมี แต่บ้างก็ว่ามันไม่ต่างกัน เพราะสุดท้ายเราก็อัดนิโคตินเข้าไปในร่างกาย แต่สุดท้ายก็ยังคงหาข้อสรุปไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ลองมาดูข้อดี – ข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้าโดยไม่ต้องเทียบกับบุหรี่ธรรมดา เพื่อจะได้คิด วิเคราะห์ตามหลักความจริงที่มันเป็น ข้อดี 1. บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา ข้อนี้สามารถยืนยันได้ด้วยผลการทดลองของ ‘ดร.ไลออน ชาฮับ’ นักวิจัยจากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา นั่นเพราะ มันไม่ผ่านกระบวนการเผาไหม้ จึงทำให้ปลอดจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) หรือสารพิษอื่น ๆ ทั้งยังหมดปัญหาหาควันบุหรี่มือสองที่ผู้ไม่ได้สูบอาจได้รับหากอยู่ใกล้ และบุหรี่มือสาม สารตกค้างที่ติดตามเสื้อผ้า รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ใกล้ตัวผู้สูบ 2. บุหรี่ไฟฟ้าช่วยนำส่งนิโคตินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนอื่นๆ อ้างอิงจากงานวิจัยโดย The National Institute for Health Research and Cancer Research UK พบว่ากลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเลิกบุหรี่ได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนเป็น 2 เท่า แต่ทั้งนี้ต้องเข้ารับบริการรับคำแนะนำด้านพฤติกรรมบำบัดจากศูนย์เลิกบุหรี่ของระบบสุขภาพประเทศอังกฤษไปพร้อมๆ กัน 3. บุหรี่ไฟฟ้า ตัวช่วยเลิกสูบบุหรี่ สำหรับใครที่กำลังคิดจะลด ละ เลิกสูบบุหรี่ธรรมดา แต่ไม่อยากหักดิบถึงขั้นเลิกไปเลย บุหรี่ไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือก โดยมีผลยืนยันจากกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันในรัฐแคลิฟอร์เนียจำนวน 1,000 คนที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันเป็นเวลา 1 ปี พบว่าร้อยละ 60 มีแนวโน้มที่จะเลิกสูบบุหรี่และลดปริมาณในการสูบลงได้ ทั้งนี้ บุหรี่ไฟฟ้ายังสามารถปรับระดับนิโคตินได้จนเหลือศูนย์ได้อีกด้วย ข้อเสีย 1. อาจพบโลหะหนักในบุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้าถึงแม้จะอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน แต่ก็ไม่ได้ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ งานวิจัยจำนวนหนึ่งพบว่ายังสามารถพบสารโลหะหนัก และสารพิษได้ ถึงแม้จะพบได้น้อยกว่าในบุหรี่มวน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของอุปกรณ์และน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า จึงทำให้องค์การอาหารและยา (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตรวจสอบ โดยเรียกร้องให้บริษัทที่ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าส่งรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนผสมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย อย่างไรก็ตามการกำหนดมาตรฐานการผลิตของอุปกรณ์ที่ใช้ให้เป็นไปตามมาตรฐาน จะช่วยลดปริมาณของโลหะหนักได้ 2. การใช้นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเสี่ยง เสี่ยงอาการหัวใจวาย ถึงแม้ว่านิโคตินจะไม่ใช่ตัวการหลักที่ทำให้เกิดโรคในบุหรี่มวน และปริมาณนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าก็สามารถปรับระดับได้ จนถึงระดับว่าไม่มีเลยก็ได้นั้น อย่างไรก็ตามก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ หากเกิดการใช้เกินปริมาณที่พอเหมาะ หรือใช้ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงก็ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น กลุ่มคนมีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ รวมถึงเยาวชน ทั้งนี้ในบางประเทศอย่างเช่นญี่ปุ่นก็มีการกำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยจะต้องมีแพทย์ช่วยกำกับควบคุมการใช้นิโคตินอย่างเหมาะสม 3. บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายถ้าอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าถ้าไม่มีมีมาตรฐานอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ อย่างที่เคยเห็นกันในข่าวว่าบุหรี่ไฟฟ้าระเบิดบ้าง หรือเกิดสารโลหะหนักบ้างอย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศออกมากำหนดมาตรฐานการผลิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายเหล่านี้ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเดิมทีมีการแบนการซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศ ก็แถลงการณ์ว่าจะยกเลิกการแบนและเปลี่ยนเป็นกำหนด ให้ผู้ผลิตทั้งหลายต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่หน่วยงานควบคุมสินค้าออกกฎไว้ ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับใบรับรองในการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่นี้จะเริ่มใช้ในเดือนเมษายน case study | ประเทศอังกฤษ ส่งเสริมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการเลิกบุหรี่ รัฐบาลอังกฤษส่งเสริมให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า เป็นทางเลือกที่อันตรายน้อยกว่า หรือถ้าใครอยากจะเลิกก็สนับสนุนให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วย นอกจากนี้ งานวิจัยของสาธารณสุขประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่จริงถึง 97% และคนส่วนใหญ่ใช้เพื่อเลิกสูบบุหรี่จริง ไม่ใช่กลุ่มคนใหม่ที่หันมาอยากลองสูบบุหรี่ […]

Dublin’s Homelessness Tour Guide : สร้างอาชีพให้คนไร้บ้าน เทรนเป็น ‘ไกด์พาเที่ยวดับลิน’

สร้างอาชีพให้คนไร้บ้าน เทรนเป็น ‘ไกด์พาเที่ยวดับลิน’ พร้อมเปิดโครงการ ‘Dublin Homeless Walking Tours’ ให้ไกด์โฮมเลสพานักท่องเที่ยวทัวร์เดินเท้า ลัดเลาะดับลินทุกซอกทุกมุมอย่างเต็มอิ่ม

ไขความลับ “ดอกทานตะวัน” ของ ‘แวน โก๊ะ’

เราเชื่อว่า หลายคนเคยเห็นภาพเซ็ท “Sunflowers” หรือ “ดอกทานตะวัน” ผลงานของ ‘วินเซนต์ แวน โก๊ะ’ (Vincent van Gogh) จิตรกรชาวดัชต์ สายอิมเพรสชันนิสต์ระดับตำนาน ที่อุทิศทั้งชีวิตให้กับการสะบัดพู่กัน ปาดลวดลายด้วยเหล่าสีสัน และหยิบสิ่งรอบตัวที่สนใจ มาสร้างภาพศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘ดอกทานตะวัน’ ที่แวน โก๊ะหลงใหล และให้คุณค่า

Urban Quote : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

“ไม่มีใครอยากเกิดเป็นคนไม่ดี แต่ที่เขาไม่ดี เพราะไม่มีโอกาสและทางเลือก” – สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) – คำพูดนี้เป็นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม “สมเด็จย่า” หากย้อนกลับไปดูพื้นทีดอยตุง จังหวัดเชียงราย สมัยก่อนนั้นค่อนข้างลำบากมาก ลำบากในที่นี้ คือลำบากทั้งเรื่องป่าที่มีความแห้งแล้ง เป็นภูเขาหัวโล้น ถูกทำลายให้เสื่อมโทรม และลำบากทั้งเรื่องปากท้อง เพราะชาวบ้านยากจน แม้จะปลูกฝิ่นขายหรือจะปลูกข้าวกิน ก็ไม่เพียงพอ ทำให้ขาดโอกาสในการดำรงชีวิตก็ว่าได้ ท่านจึงอยากนำผืนป่ากลับคืนมา พัฒนาชีวิต และสังคมความเป็นอยู่ของชาวบ้านไปพร้อมๆ กัน “ฉันจะปลูกป่าที่ดอยตุง” ภายในระยะเวลาร่วม 30 ปี เมื่อสมเด็จย่าริเริ่ม ‘โครงการพัฒนาดอยตุง’ ขึ้นมา จากป่าที่แห้งแล้ง กลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียวชอุ่ม พร้อมทั้งชีวิตชาวบ้านที่เคยขาดรายได้หรือขาดช่องทางทำมาหากิน ก็กลับมามีรายได้พร้อมๆ กับมีความรู้ และความชำนาญเพิ่มขึ้นหลายเท่า ซึ่งการพัฒนาครั้งนี้ ประสบความสำเร็จได้ด้วยรูปแบบการจัดการ “ปลูกป่า ปลูกคน” เอาคนขึ้นมาเป็นแกนหลักในการพัฒนาก่อน โดยให้เขาอยู่ให้ได้ รักษาความเจ็บป่วย ให้พ้นจากความไม่รู้ แก้ปัญหาความยากจน ให้สัญชาติ เมื่อคนเข้มแข็งแล้ว ตามมาด้วยการปลูกป่า ใช้การจ้างงานให้ชาวบ้านมาปลูกป่า เช่นป่าเศรษฐกิจอย่างกาแฟและแมคคาเดเมีย ทำให้ต้นไม้ก็มีที่อยู่ ชาวบ้านก็มีรายได้ควบคู่กันไป […]

OITA – One Village One Product โออิตะ จังหวัดเล็กๆ ในญี่ปุ่น ต้นแบบ ‘หนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์’

เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘โอทอป (OTOP)’ ผลิตภัณฑ์อันโด่งดังของคนไทย วันนี้ Urban Creature จึงพาบินลัดฟ้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ไปดูพื้นที่ต้นแบบของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ที่อยู่ใน โออิตะ (Oita) จังหวัดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “เกียวโตน้อยแห่งคิวซู” เมืองเล็กๆ ที่ไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่า แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์มากมาย ทั้งจากธรรมชาติ อาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของผู้คน รวมไปถึงวิธีการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองจนเกิดความยั่งยืน ผ่านโครงการ One Village, One Product (OVOP) หรือหนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายประเทศทั่วโลก | หมู่บ้านโอยามา ณ ที่แห่งนี้ คือต้นกําเนิด OVOP เพราะความยากจนแร้นแค้นของผู้คน จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ 2504 ชาวบ้านกว่า 1000 หลังคาเรือนในหมู่บ้านโอยามา จังหวัดโออิตะจึงได้รวมตัวกันลุกขึ้นมา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์โครงการ “บ๊วย และเกาลัดแบบใหม่” (New Plum and Chestnut: NPC) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพาะปลูกบ๊วยและเกาลัดโดยใช้รูปการเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาแทนการปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักเดิม […]

1 322 323 324 325 326 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.