LATEST
“คลองต้องดี เมืองถึงจะดี” ฟังวิธีฟื้นคลองให้กลับมาสำคัญอีกครั้งจาก ‘ธนบุรี มี คลอง’
สทนากับทีม ‘ธนบุรี มี คลอง’ ถึงความสำคัญของคลองกับเมือง และหนทางที่จะทำให้คลองอยู่คู่กับเมืองได้อย่างยั่งยืน
กินอาหารอเมริกันเคล้ากลิ่นเครื่องหอมที่ ‘Karmakamet Diner’
เปิดประตูปะทะกลิ่นเครื่องหอม ในบรรยากาศคลาสสิก ‘Karmakamet Diner’ คือร้านที่ให้บรรยากาศเสมือนหลุดเข้าไปในป่าย่อมๆ พาเราปลีกตัวจากความวุ่นวายได้ แม้จะตั้งอยู่ใจกลางเมืองก็ตาม ผลักประตูเข้ามาในร้าน สัมผัสกับกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งร้าน เนื่องจากร้านอาหารจะอยู่ด้านในถัดจากร้าน ‘Karmakamet Aromatic Shop’ ร้านขายเครื่องหอมชนิดต่างๆ ที่ใครหลายคนอาจจะรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งทั้งสองร้านมีความสอดคล้องกัน “เพราะเครื่องหอมคือผู้ช่วยจัดการความสงบ ส่วนอาหารคือพลังในการดำเนินชีวิต” บรรยากาศและร้านที่เราได้เห็นเป็นรูปเป็นร่างนั้น เกิดจากความตั้งใจของ ‘คุณณัทธร รักษ์ชนะ’ ที่แท็กทีมกับเพื่อนรักแต่วัยเยาว์อย่าง ‘เชฟจุฑามาศ’ ซึ่งทั้งสองคนอยากนำเสนอประสบการณ์ที่มีสร้างตรงนี้ให้เป็นพื้นที่แห่งความสุข และให้ผู้มาเยือนรับรู้ถึงความตั้งใจผ่านรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส โดยเมื่อเข้ามาแล้วสามารถเลือกที่นั่งได้เลยว่าจะนั่งท่ามกลางบรรยากาศเปิดรับธรรมชาติใกล้ต้นไม้ หรือจะนั่งในร้านที่ถูกกั้นเพียงกระจกใส มองเห็นบรรยากาศด้านนอกเขียวชอุ่มอย่างสบายตาก็ได้เช่นกัน หากมองไปรอบๆ ร้านแล้ว สไตล์การตกแต่งเหมือนจะดูวินเทจก็ไม่เชิง แต่แอบซ่อนคววามคลาสสิกไว้ในตัว บางคนอาจจะบอกว่าเป็นสไตล์ rustic industrial แต่คุณณัทธรไม่ได้มองว่าเป็นการตกแต่งร้าน แต่มันคือชิ้นส่วนของประสบการณ์ในวัยเยาว์มากกว่า โดยรูปแบบมาจากร้านยาจีนเก่าของอากง จึงอยากให้คนที่มานั่งในร้านมีส่วนร่วมกับประสบการณ์นี้ไปด้วยกัน ลิ้มรสมือ ‘เชฟส้ม-จุฑามาศ’ ผู้เชี่ยวชาญอาหารฝรั่งเศส รสสัมผัสที่เราจะได้ลิ้มลอง จะเป็นอาหารจากฝีมือ ‘เชฟส้ม-จุฑามาศ’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอาหารแบบฝรั่งเศส จึงนำเสนอออกมาได้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างมาก โดยนำเอาการปรุงอาหารแบบตะวันตก มาผสานให้กลมกล่อมและกลมกลืนกับศิลปะการปรุงอาหารแบบตะวันออก และเชฟส้มมักจะบอกตัวเองเสมอๆ […]
ย่านเก่าเยาวราช
ประเดิมนั่ง MRT สถานีใหม่ ‘วัดมังกร’ ไปสัมผัสเสน่ห์ย่านเก่าเยาวราชที่โด่งดังเรื่องสตรีทฟู้ด จนได้ชื่อว่า ‘ไชน่าทาวน์’ ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็ต้องมาเช็คอินกินของอร่อย แต่วันนี้เราจะพาไปเปิดมุมมองชมสถาปัตยกรรม ซึ่งโดดเด่นและมีเรื่องราวน่าหลงใหลไม่แพ้กันเลย พร้อมสำรวจวิถีชีวิตของผู้คนในเยาวราชและกลิ่นอายวัฒนธรรมจีน ผูกโยงไลฟ์สไตล์ใหม่เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน
‘สิงคโปร์’ ต้นแบบเมืองปลอดภัย
สิงคโปร์ ยังถูกกล่าวขานว่าเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ทั้งความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และคุณภาพชีวิตที่ดีอื่นๆ สำหรับทุกคนในเมือง โดยเฉพาะด้าน ‘ความปลอดภัย’ สิงคโปร์มีอัตราเกิดอาชญากรรมที่ต่ำมากเพียง 27.86% และมีความปลอดภัยถ้าเดินคนเดียวในเวลากลางวันสูงถึง 78.09% ส่วนความปลอดภัยถ้าเดินคนเดียวในเวลากลางคืนก็มีถึง 70.87%
ล่องเรือตามหา ‘ส้มบางมด’ ที่หายไป
คุยสบายๆ กับชาวบ้านย่านบางมด ล่องเรือมาหารักสักคน…… ล่องเรือเยือน ‘คลองบางมด’ เพื่อมาตามหาของดีริมคลองที่หายไป ขึ้นชื่อว่าบางมด จะไม่พูดถึง ‘ส้มบางมด’ ได้อย่างไร เมื่อมาถึงก็รู้สึกถูกชะตากับชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก เลยขอเล่าย้อนไปในสมัยก่อนให้ฟังสักหน่อย บางมดเป็นชุมชนเล็กๆ ชาวบ้านจึงมีความสนิทสนมกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่วนอาชีพหลักของพวกเขาคือการทำนา สมัยก่อนยากลำบากพอตัว เพราะกว่าจะพลิกพื้นดินที่แห้งแล้งให้กลายเป็นทุ่งนาเขียวขจีได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องใช้แรงงานจากคนจำนวนมาก ชาวบ้านจึงมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ ซึ่งการเข้าใจ ช่วยเหลือและเห็นอกเห็นใจกันนั้น กลายเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของชาวบางมด ความโชคดีของชาวบางมดที่น่าอิจฉาเป็นอย่างมาก คือบ้านจะอยู่ติดริมคลอง เอาเป็นว่าแทบไม่มีถนนคอนกรีตเลย จะไปไหนมาไหนก็เน้นแจวเรือกัน หากมองเรื่องสภาพพื้นที่ และอากาศ ย่านบางมดถือว่าเป็นปอดที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง ส้มที่ไหนไม่หวานเท่า ‘ส้มบางมด’ เวลาผ่านไปการทำนาก็เริ่มยากลำบากมากขึ้น ชาวบ้านบางคนแทบกุมขมับ เนื่องจากใช้แรงงานค่อนข้างเยอะ เลยพยายามมองหาอาชีพอื่นมาทดแทนการทำนา คนแรกที่ริเริ่มปลูกส้มบางมด คือ “นายแสม” ชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง ที่สนใจการปลูกส้มอยู่แล้ว จึงไปซื้อกิ่งตอนมาจากคลองบางกอกน้อยเมื่อ พ.ศ. 2468 ลุงแสมเลยกลายเป็นคนแรกที่เอาส้มมาลงในพื้นที่บางมด โดยการปลูกครั้งแรกประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำเอาบ้านใกล้เรือนเคียงสนใจปลูกตามๆ กัน แต่การปลูกสมัยนั้นมีความลำบากไม่น้อย เพราะต้องยกร่องดินสลับกับร่องน้ำ อีกทั้งกว่าจะพลิกผืนนาให้เป็นสวนส้มต้องใช้เวลาอย่างมาก แต่ยิ่งปลูกกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ส้มบางมดนั้นกระหึ่มไปทั่ว จนกลายเป็นชื่อคุ้นหูมาจนถึงทุกวันนี้ การปลูกส้มบางมดสมัยก่อนต้องใช้เวลาพักดินพร้อมกับพักกิ่ง 1 […]
แล็บทดลองเมือง Mexico City ทำแผนที่เส้นทางรถบัสภายใน 17 วัน
Laboratory for the City แล็บเมืองที่ตั้งใจสร้างเพื่อเปลี่ยน Mexico City ให้ดีกว่าเดิม
แจกสูตร ‘โมเดลเมือง Zero Waste’ ฉบับ Akira Sakano ฮีโร่สาวผู้พลิกโฉมเมืองปลอดขยะ
ปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกแก้ไม่ตกคือ ‘ขยะ’ ที่พอกพูนจนกลายเป็นภูเขากองโต ปีที่แล้วประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ราว 1.64% โดยถูกคัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ 34% กำจัดอย่างถูกต้อง 39% และกำจัดไม่ถูกต้อง 27% นอกจากตัวเลขที่เราเห็น ยังมีขยะตกค้างสะสมที่เพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านตัน
จิบไวน์ ชิมอาหารอีสาน รสชาติต่างขั้ว อร่อยนัวบนขบวนรถไฟ
การได้ดื่มไวน์ดีๆ สักแก้ว สำหรับการดินเนอร์ยามเย็นคงเป็นโมเมนต์ที่ดีไม่น้อย ยิ่งจับคู่กับอาหารเลิศรสได้ถูกปากถูกใจ จะยิ่งทวีคูณความอร่อยเพิ่มขึ้นไปอีก เมนูคู่กับไวน์คงหนีไม่พ้นสเต็ก “เนื้อ” หรือ “ปลา” การแพร์ริ่งที่เขาว่ากันว่าลงตัวที่สุด แต่กลับพลิกล็อคเมื่อ “เคปเมนเทล” กับ “บูรพา” มองว่าอาหารอีสานก็ทานคู่กับไวน์ได้อร่อยไม่แพ้กัน
ตีตั๋วเข้าพิพิธภัณฑ์ ฟังเรื่อง ‘พระนคร’
ชักชวนทุกคนร่วมทริป ลัดเลาะเข้า 9 พิพิธภัณฑ์ที่พระนครและละแวกใกล้เคียงอย่าง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เพื่อเรียนรู้เมืองเก่าของกรุงเทพฯ ในด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ตำรับยา และการศึกษาไปพร้อมกัน
เปิดตำราวิชาพิพิธภัณฑ์ กับอาจารย์และนิสิตที่ผูกพันกับพิพิธภัณฑ์ไทย
คุยกับอาจารย์และนิสิตหลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม กับประเด็นการเรียนหลักสูตรพิพิธภัณฑ์ และมุมมองต่อวงการพิพิธภัณฑ์ไทย
Resonance of Lives at 1527 : เสียงสะท้อนความเป็นไปของเมืองบนร่องรอยของตึกแถวสามย่าน
ถ้าพูดถึงการทุบตึกรื้อถอน ชื่อแรกที่ผุดขึ้นมาคงเป็น “ศักดาทุบตึก” กับป้ายโฆษณาที่มีวลีเด็ด “เลือก สส.เข้าสภา แล้วอย่าลืมเลือกศักดาไปทุบตึก” ความหมายของคำว่า “รื้อถอน” คงใกล้เคียงกับการทำลาย ลบล้าง ขจัด ฟังดูเป็นการเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่ แต่อันที่จริงแล้ว เมืองมีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกนาทีเพื่อเดินต่อไปข้างหน้า
เที่ยวยั่งยืนที่ชุมชน ‘เพียรหยดตาล’ กับโครงการ APYE
หากพูดถึงสวนมะพร้าวเราคงนึกถึงมะพร้าวน้ำหอม ถือกินเป็นลูกๆ หวานฉ่ำชื่นใจ แต่มะพร้าวสามารถเป็นได้มากกว่านั้น ทั้งน้ำมันมะพร้าวในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือหากเป็นพันธุ์มะพร้าวแกงก็จะนำเอาเนื้อมะพร้าวไปทำกะทิ ส่วนช่อดอกมะพร้าวที่เรียกว่า จั่น ยังเอามาเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวได้ด้วย ซึ่งเราไปลุยสวนตามล่าน้ำตาลมะพร้าว 100 % กันมา แถมยังเห็นความลำบากในทุกกระบวนการ บอกเลยว่าหากินได้ยากแล้วในปัจจุบัน