‘บางขุนนนท์’ สืบเรื่องก๋วยเตี๋ยวที่ย่านกินเส้น

มาตามรอยกินเมนูเส้นจากร้านอร่อยระดับตำนาน พร้อมเล่าถึงความเป็นบางขุนนนท์ผ่านมุมมองของชาวบางขุนนนท์แท้ๆ

7 บาร์ไทยติดอันดับ 50 บาร์ที่ดีที่สุดในเอเชียปี 2019

เพราะการดื่มสังสรรค์ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของ ‘ความเมามาย’ แต่ยังมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ส่งผลต่อความลื่นไหลของของแอกอฮอล์ในลำคอ หนึ่งในนั้นคือบรรยากาศ การเลือกร้านจึงเป็นอะไรที่ต้องเลือกแล้วเลือกอีก จนได้ร้านที่นั่งแล้วกล้าเรียกได้เต็มปากว่านี่คือบรรยากาศที่ดี.อยากพักผ่อนหย่อนใจไปกับการดื่มทั้งที ลองหาร้านที่ใช่ตรงสไตล์ของคุณ กับ 7 บาร์ในไทยที่ติดอันดับ 50 บาร์ที่ดีที่สุดในเอเชียประจำปี 2019 จัดอันดับโดย The Asia’s 50 Best Bars Academy เลือกร้านที่ชอบในบรรยากาศที่ใช่ แล้วเมามายไปกับบรรยากาศแสนพิเศษของแต่ละร้านที่มีความพิเศษเฉพาะตัว อันดับ 48 Teens of Thailand ฉีกมู้ดของบาร์แบบเดิมๆ ที่คุ้นเคยกับร้านนี้ ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับนั่งในร้านอาหารหรือร้านกาแฟมากกว่าการมานั่งดื่มแบบจริงจัง แต่เครื่องดื่มของร้านกลับจริงจังต่างจากมู้ดของร้าน โดยเฉพาะกับเมนูที่มีจินเป็นเบส ใครที่ชื่นชอบจินห้ามพลาดร้านนี้เด็ดขาด เมนูพิเศษที่ต่างกันไปในทุกวัน เพื่อปลดเปลื้องความจำเจให้นักดื่มได้ลองกินอะไรใหม่ๆ ก้าวเข้าสู่โลกของจินที่กว้างใหญ่ ฟิวชั่นกับผลไม้สดที่คัดสรรมาอย่างดี มาสร้างสรรค์หลากหลายเมนูตามความชอบ หรืออยากจะให้บาร์เทนเดอร์ผู้หลงใหลในจินเป็นคนเลือกให้ หากต้องการบรรยากาศที่แตกต่างออกไป ในร้านผนังปูนเปลือย โต๊ะที่จัดไว้อย่างไม่แออัด ให้ได้นั่งพูดคุยกันอย่างสบายๆ กับเมนูพิเศษในทุกๆ วันสามารถตามรอยไปได้ที่ซอยนานา วงเวียน 22 วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 19.00-00.00 น. อันดับ 42 Smalls อะไรจะดีไปกว่าการได้นั่งพูดคุย ทอดอารมณ์ไปกับเสียงเพลงแจ๊ส ในบรรยากาศสบายๆ […]

จากเมืองหนาวสู่ ‘เอกลักษณ์เมืองเหนือ’ ชมเสน่ห์ล้านนาผ่านลายเส้นศิลปินอัลบาเนีย

ในขณะที่สายลมหนาวกำลังเข้าปกคลุม และปฏิทินค่อยๆ ถูกกาทิ้งเพื่อนับถอยหลังสู่เทศกาลปีใหม่ หลายคนกำลังเก็บกระเป๋าเตรียมตัวมุ่งหน้าขึ้นเหนือโดยมีจุดหมายอยู่ที่เชียงใหม่ ในฐานะปลายทางของนักท่องเที่ยวที่หลงมนต์สเน่ห์ของล้านนา กับท่วงทำนองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อพูดถึงอากาศเย็นและช่วงเวลาดีๆ เรานึกถึง หมีที่มีหลังเป็นป่าสนที่เคยสร้างปรากฎการณ์โด่งดังไปทั่วประเทศไทยของ Alfred Basha ที่ตอนนี้ได้ตีความหมี Snowy ใหม่ด้วยการเปลี่ยนต้นไม้เมืองหนาวให้กลายเป็นตัวแทนของเมืองเหนือ ผ่านลายเส้นที่โดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ และไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะเห็น ศิลปินตัวยง ตวัดปลายปากกาออกมาเป็นสถาปัตยกรรมแบบนี้ เราจึงอดไม่ได้ที่จะพาคุณขึ้นเหนือ มุ่งสู่เวียงพิงค์ในฐานะนครเอกแห่งดินแดนล้านนา ว่าจะสวยกว่าถ้อยคำเสกสรร ที่เหล่าศิลปินเคยพรรณนาเปรียบเปรยไว้จริงหรือเปล่า ประตูท่าแพ : ปากทางสู่เวียงพิงค์ นอกจากแม่น้ำปิงจะเป็นสัญลักษณ์คู่เวียงพิงค์ที่สุดจะงดงามแล้ว ‘ประตูท่าแพ’ ก็เปรียบเสมือนแลนด์มาร์กสำคัญที่ทำให้หลายคนนึกถึงเชียงใหม่ นอกจากเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แล้วบริเวณประตูท่าแพก็เปรียบเสมือนพื้นที่ของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของเชียงใหม่อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นถนนคนเดิน อาร์ตแกลอรี่ ร้านอาหาร หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่หลับใหลแม้ในยามค่ำคืน ล้วนมีกลิ่นความเป็นเชียงใหม่แฝงอยู่ในทุกอณู จนท่าแพกลายเป็นตัวแทนของเชียงใหม่ได้ทุกแง่มุม ประตูท่าแพอันเป็นเอกลักษณ์ที่มีฉากหลังเป็นขุนเขาคือสิ่งที่ Alfred Basha เปิดประตูสู่ล้านนาด้วยการเข้าสู่ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของเชียงใหม่ ทั้งยังสื่อได้ถึงอากาศเย็นสบาย จนหลายคนมองเชียงใหม่เป็นสถานที่ที่แวะมาเยี่ยมเยือนได้แบบไม่มีเบื่อ ร่มบ่อสร้าง : มนต์เสน่ห์ศิลปะล้านนา ชุมชนบ้านบ่อสร้างคือหนึ่งในภาพที่แสดงออกถึงความเป็นล้านนาได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะไปถามคนรุ่นพ่อแม่ หรือวัยรุ่นที่ยกก๊วนมาแคมป์ที่เชียงใหม่ ‘ร่มบ่อสร้าง’ ก็เป็นจุดหมายยอดนิยมเสมอมา เพราะนอกจากจะได้เพนท์ร่มเป็นของตัวเองแล้ว ยังอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังแต่อดีตอย่างน้ำพุร้อนสันกำแพง หรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ที่โดดเด่นทั้งภาพลักษณ์ภายนอกจากพื้นผิวที่ก่อร่างด้วยกระจกเงา และผลงานชั้นยอดภายในชนิดที่คนรักศิลปะไม่ควรพลาด ร่มสีสันสดใสที่มีลวดลายเฉพาะแตกต่างกันออกไปตามแต่ความถนัดที่สืบทอดกันในครอบครัวชาวเหนือ […]

New Year’s Resolution : ปีใหม่ คนใหม่ ด้วย 6 วิธี ‘ปรับชีวิต เปลี่ยนโลก’ ให้น่าอยู่ขึ้น

สำหรับหลายๆ คน การเริ่มต้นปีใหม่อาจเป็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง อย่างการเลิกนิสัยแย่ๆ หรือตั้งเป้าหมายที่จะเป็นคนที่ดีขึ้น แต่การใช้ชีวิตของเรานั้นส่งทั้งผลดีและผลร้ายให้กับโลก ในแบบที่เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ซึ่งผลลัพธ์จากสิ่งที่เรากระทำลงไปย่อมสะท้อนกลับมาเสมอ ดังนั้นเราจึงชวนทุกคนมาตั้ง New Year’s Resolution ด้วยการคำนึงถึงโลกและรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ตาม 6 แนวทางนี้ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและสังคมที่ดีขึ้น 1. ‘ร้านรีฟิล’ ช่วยโลกลดขยะพลาสติก ขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลกที่ต้องรีบเร่งแก้ไข วิธีการหนึ่งที่กลายเป็นไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่นั่นคือ ‘Zero Waste’ หรือการใช้ชีวิตที่ไม่สร้างขยะ แม้อาจฟังดูเป็นเรื่องยากแต่ตอนนี้บ้านเรามีธุรกิจใหม่มาช่วยแก้ปัญหา อย่าง ‘ร้านค้าแบบเติม’ (Bulk Store) ที่เราสามารถนำภาชนะมาเติมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ได้ อย่างร้านสไตล์ ‘Refill Station’ ที่มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากมาย ทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ไปจนถึงอาหารแห้งและขนมขบเคี้ยว ซึ่งในกรุงเทพฯ ก็มีร้านรีฟิลเกิดขึ้นมากมาย เช่น Grasstonomy, Zero Moment Refillery, Less Plastic Able แต่ถ้าไม่สะดวกหรืออยู่ไกลยังมีร้าน ‘Greenherit’ เป็นรถรีฟิลเคลื่อนที่ขับไปตามหมู่บ้าน คอนโดมิเนียม หรือออฟฟิศ รวมถึงตลาดนัดสายกรีนต่างๆ […]

FYI

มารู้จักองค์กรลับ ‘เซ็นทรัล ทำ’ โครงการเพื่อสังคมที่เน้น ‘ทำ’ มากกว่าพูด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นผลพวงมาจากระบบทุนนิยม ซึ่งสร้างช่องว่างของรายได้ที่แตกต่างกันมาก ระหว่างคนรวยที่รวยเอา ส่วนคนจนก็จนลงและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติที่เรานำมาใช้ก็ร่อยหรอลงไปทุกที รวมไปถึงกระบวนการผลิตที่สร้างมลพิษมาทำร้ายโลกมากขึ้นทุกวัน

City Lab โปรเจกต์ทดลอง ‘เมือง’ เพื่อหาคำตอบว่า ‘พื้นที่สาธารณะแบบไหนตรงใจชาวกรุงเทพฯ’

เราจะมาพูดคุยกับ City Lab ถึงที่มาและการดีไซน์ของโปรเจกต์ ซึ่งทดลองสร้างพื้นที่นั่งเล่นของเมือง เพื่อหาแนวทางพัฒนาย่านให้น่าอยู่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ

“ใช้เวลายื่นขอสัญชาตินานถึง 8 ปี” เยาวชนไร้สัญชาติจากเชียงใหม่ ‘สร้างสื่อเพื่อขอสัญชาติให้คนไร้สัญชาติ’

เยาวชนไร้สัญชาติจากเชียงใหม่รวมตัวกันสร้างสรรค์ ‘สื่อเพื่อการขอสัญชาติ’ เพื่อให้ความรู้ด้านการขอสัญชาติ ผ่านการประกวดโครงการ Youth Co:Lab Thailand 2019 และคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับสองได้ในที่สุด

“180° เส้นขอบฟ้า + 1° วัตถุ” ‘โยชิกิ ฮาเสะ’ ช่างภาพญี่ปุ่นผู้ลั่นชัตเตอร์ถ่ายจิตวิญญาณธรรมชาติ

โยชิกิ ฮาเสะ (YOSHIKI HASE) คือช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่สนใจในสิ่งที่หลายคนรู้จักแต่อาจไม่เคยลองลงลึกกับมันสักครั้งอย่าง จิตวิญญาณธรรมชาติ

แมลงในเมืองใหญ่

หากเปรียบลุงไทก็เหมือนแมลงตัวเล็กที่จากบ้านต่างจังหวัดมาหากินในกรุงเทพฯ แววตามุ่งมั่นและรอยยิ้มของลุงไท หวังเพียงมีคนที่มองเห็นถึงรายละเอียด สรีระ และให้คุณค่ากับความยากกว่าจะมาเป็นงานหนึ่งชิ้น ไม่ได้ต้องการเป็น ‘ตั๊กแตนยาม’ ที่คนมักซื้อด้วยความสงสาร

‘Kintsugi’ ศิลปะแห่งการแตกร้าว ร่องรอยสวยงามแห่งความบอบช้ำ

สังคมในปัจจุบันนี้ หลายสิ่งหลายอย่างกำลังสร้างให้มนุษย์ทุกคนเต็มไปด้วยความสมบูรณ์แบบ ต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย หรือที่เรียกว่า Perfectionist ที่แม้ผิดพลาดเพียงเล็กน้อยกลับถูกมองว่าเป็นเรื่องใหญ่คล้ายกับบาดแผลที่ไม่มีวันจางหายไปจากชีวิต เหมือนกับว่าชีวิตนี้จะไม่สามารถเดินออกนอกกรอบแห่งความสมบูรณ์แบบที่ตั้งเอาไว้ — หลุมพรางของความสมบูรณ์แบบ — แม้อาการของมนุษย์สมบูรณ์แบบจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นอันตรายไม่เบา เพราะจากผลการศึกษาของโทมัส เคอร์แรน (Thomas Curran) และคณะจากมหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ ระบุว่า การยึดติดในความสมบูรณ์แบบคือปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งความกังวล ความกดดัน ความเครียด ที่ส่งผลให้เหล่า Perfectionist มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า มีโอกาสทำร้ายตัวเอง หรือถึงกับฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป นี่จึงนำมาสู่สิ่งที่เรียกว่า คินสึงิ (Kintsugi) ศิลปะเยียวยาบาดแผลที่เรากำลังจะพูดถึง — คินสึงิ (Kintsugi) คือศิลปะการซ่อมแซมด้วยทองและยางไม้ — หากทุกคนรู้จักยอมรับ ความผิดพลาดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนชีวิตให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เราได้ครูคนใหม่ที่สอนให้เรารู้จักเรียนรู้และปรับตัวให้เราเป็นคนใหม่ที่ดีขึ้น คล้ายคลึงกับแนวความคิดที่ได้มาจากศิลปะซ่อมแซมถ้วยชามแตกด้วยรักทองที่ชื่อว่า ‘คินสึงิ’ (Kintsugi) หนึ่งในงานฝีมือสัญชาติญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน กลายเป็นปรัชญาและความเชื่อที่ว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เพราะในการดำเนินชีวิตของเราทุกคนนั้น ล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดไปไม่พ้นทั้งทางกายและทางใจ ซึ่งบาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญา ‘คินสึงิ’ จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและเข้มแข็งมากขึ้น โดยศาสตร์นี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 สมัยโชกุนคนที่ 8 […]

‘นอน เดิน นั่ง’ ให้ถูกวิธี สุขภาพดีทั้งกายใจ

เคยสังเกตตัวเองไหมว่า ทุกวันนี้เรานอนอย่างไร เดินแบบไหน และท่านั่งทำงานเป็นอย่างไร โดยในบทความนี้เราได้รวบรวมพฤติกรรมการ ‘นอน เดิน นั่ง’ ที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากทำตามแล้ว นอกจากจะช่วยปกป้องสุขภาพกายของเราให้แข็งแรง ยังช่วยให้สุขภาพใจดีขึ้นอีกด้วย

การเดินทางของ ‘ชาวระยอง’ ทำไมถึงมอง ‘ขยะ’ เปลี่ยนแปลงไป ?

SCG ร่วมส่งเสริมการบริหารจัดการขยะ ผ่านโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ที่เป็นความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และธนาคารขยะ เปลี่ยนขยะให้มีมูลค่าอย่างเป็นรูปธรรม นำร่องที่ชุมชนในมาบตาพุด จ.ระยอง

1 309 310 311 312 313 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.