
LATEST
พิธีไล่ ‘ห่า’ โรคระบาดหนักยุค ร.2
“ไอ้ห่า” เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินคำด่านี้กันใช่ไหม มันมีที่มาจากคำว่า โรคห่า เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกโรคระบาดที่เกิดขึ้นในอดีต พอเห็นว่าโรคระบาดใดๆ ก็ตามที่คร่าชีวิตผู้คนไปเยอะ ชาวบ้านก็จะเรียกว่า ห่าลง มันซะเลย เพราะแต่ก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีและการแพทย์ที่ดี อีกทั้งชาวสยามยังเข้าไม่ถึงความรู้ด้านสุขอนามัย อันที่จริงบ้านเมืองเราต้องเจอกับโรคระบาดมานับครั้งไม่ถ้วน หากย้อนกลับไปในช่วงโรคระบาดยุคพระเจ้าอู่ทอง ก็มีนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์กันว่าโรคห่าในตอนนั้น แท้จริงแล้วคือกาฬโรค หรือในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็คาดกันว่าเป็นไข้ทรพิษ จนมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ก็เกิดห่าลงอีกครั้ง โดยห่าในครั้งนี้ คือ อหิวาตกโรค ซึ่งหนักเอาการถึงขนาดทุกตารางนิ้วบริเวณวัดสระเกศเต็มไปด้วยซากศพและฝูงแร้งนับร้อย จนเป็นที่มาของวลีที่เราคุ้นเคยอย่าง แร้งวัดสระเกศ อหิวาต์ ทำห่าลงสยาม โรคห่าในยุครัชกาลที่ 2 คือ อหิวาตกโรค เป็นโรคระบาดประจำถิ่นของประเทศในแถบเอเชียที่จะเวียนมาในทุกฤดูแล้งและหายไปช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ที่มักเจอในของสุกๆ ดิบๆ และมีพาหะคือแมลงวัน ซึ่งเชื้อโรคนี้จะถ่ายทอดผ่านทางอุจจาระของผู้ป่วย โดยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียน ทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ยิ่งวิถีชีวิตริมแม่น้ำของคนสมัยก่อน ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคและป่วยเป็นอหิวาตกโรคนี้ได้ง่าย เมื่อผู้คนขับถ่ายลงแม่น้ำ ความแย่ก็เกิดกับคนที่ต้องกินต้องใช้น้ำต่อๆ กันจนไม่รู้เลยว่าใครป่วยหรือไม่ป่วยกันแน่ จากบันทึกของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ผู้แต่ง และผู้ตีพิมพ์หนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และศาสนาที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น […]
เมื่อสัตว์ป่วย มันจึง Social Distancing!
ไม่มีสัตว์ตัวไหนไม่กลัวเชื้อโรค Social Distancing จึงเป็นกระบวนการป้องกันเชื้อโรคตามธรรมชาติที่สัตว์ทำกันอยู่แล้ว
‘ถาดน้ำแข็ง’ ที่ไม่ใส่น้ำแข็ง จะใส่อะไรได้บ้าง ?
รู้หรือเปล่าว่า ‘ถาดน้ำแข็ง’ ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน สามารถใช้ทำอย่างอื่นได้มากกว่าการทำน้ำแข็งอย่างเดียว ! ไม่ว่าจะเป็นการใช้เก็บเครื่องเทศ การแบ่งเนื้อสัตว์ หรือการเก็บซุปที่เหลือไว้สำหรับใช้ในการทำอาหารมื้อต่อไปก็ได้ Urban Eat จึงมี 5 ทริคง่ายๆ ที่จะทำให้การทำครัวของเราง่ายขึ้นด้วยถาดน้ำแข็ง เพียงแค่แกะออกมาจากถาดก็เอาไปทำอาหารได้เลย !
‘ANTI VAXXERS’ กลุ่มต่อต้านการรับวัคซีน และโทษว่าวัคซีนคือตัวปัญหามากกว่าไวรัส
กลุ่มต่อต้านการรับวัคซีน’ (ANTI VAXXERS) มองว่าการฉีดวัคซีนไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และจะไม่ยอมรับวัคซีนใดๆ เข้าสู่ร่างกายเด็ดขาด
“คิดบวกและส่งกำลังใจให้กัน” สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากชีวิต Lock Down ในมิลาน
เปิดไดอารีของสาวไทยในเมืองมิลานในช่วง COVID-19 ที่บอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่ลักษณะนิสัยของชาวอิตาลี ชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองที่ถูกล็อคดาวน์ รวมถึงการกักตัวให้อยู่รอดปลอดภัย พร้อมวิธีการคิดบวกในแบบฉบับของเธอกัน
‘Freshket’ ตลาดสดออนไลน์ที่พยุงเกษตรกร ผู้บริโภค และธุรกิจให้รอดจากโควิด-19 ไปพร้อมกัน
Freshket’ ตลาดสดออนไลน์ที่มีบริการจัดส่งวัตถุดิบคุณภาพดีจากเกษตรกร มีทั้งของสดและของแห้งให้ถึงร้านอาหาร อีกทั้งในช่วงโควิด-19 ระบาด Freshket ยังเปิดให้ผู้บริโภคทั่วไปสั่งได้เช่นกัน โดยเริ่มต้นเพียง 499 บาท พร้อมบริการส่งฟรีทั่วกรุงเทพฯ
มารดาแห่งวงการพยาบาล ผู้บุกเบิกการดูแลผู้ป่วย
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้เปลี่ยนมุมมองในอาชีพพยาบาลให้ได้รับการยกย่องเป็นผู้บุกเบิกด้านพยาบาลศาสตร์ยุคใหม่
#StayArtHomePejac ศิลปะบนหน้าต่าง ปล่อยอารมณ์ศิลป์ช่วงกักตัว
#StayArtHomePejac โปรเจกต์ชวนสร้างสรรค์งานศิลปะบนหน้าต่าง ปลดปล่อยความเป็นศิลปินในตัวคุณเมื่อต้องอยู่บ้าน
ศูนย์วิจัยในสหรัฐฯ เผยจีนกั้นเขื่อนโขงตอนบน กักน้ำไว้ 4.7 หมื่นล้าน ลบ.ม. ต้นเหตุภัยแล้ง
ลำน้ำที่แห้งขอดเห็นสันดอนทราย อีกทั้งน้ำที่ใสจนเปลี่ยนเป็นสีครามเนื่องจากไม่มีตะกอน ทำให้ระบบนิเวศซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านโดยเฉพาะชาวประมง และการทำเกษตรที่ต้องอาศัยชลประทาน ไปจนถึงลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงก็แห้งตามไปด้วย
Book List Challenge 10 เล่มที่เราอ่านจบแล้วอยากบอกต่อ
หนังสือคือเพื่อนที่ดีที่สุดในยามเหงา หรือยามที่เราต้องการความบันเทิงใจ เพราะเวลาไหนก็สามารถหยิบขึ้นมาอ่านได้เสมอ นอกจากหนังสือจะคอยอยู่เป็นเพื่อน มันยังพาเราท่องโลกกว้างหรือลงลึกไปสำรวจจิตใจ ไม่ว่าตัวเราจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเดินทางไปได้ทุกที่ผ่านตัวหนังสือและจินตนาการ
‘Locall’ เดลิเวอรี่ช่วยชุมชน ส่งความอร่อยย่านประตูผี-เสาชิงช้าถึงมือคุณ
คงเป็นเวลาที่ใครๆ ต่างต้องปรับตัว เพื่อหาทางอยู่รอดในสถานการณ์ไวรัสระบาดที่ไร้วี่แววจะคลี่คลายเร็ววัน โดยเฉพาะ ‘ร้านอาหาร’ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนต้องบริโภคอยู่เป็นประจำ กลับซบเซาไม่แพ้ธุรกิจอื่นๆ เลย บ้างก็ยอมลดจำนวนพนักงาน บ้างก็เปลี่ยนจากการ ‘ขายหน้าร้าน’ มาเป็น ‘ออนไลน์’ แทน แต่ไม่ใช่กับทุกคนที่จะปรับตัวเป็นระบบออนไลน์ มาพร้อมจัดส่งได้ทันที ทำให้ ‘Locall (โล-คอล)’ แพลตฟอร์มส่งอาหารได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่ออาสาเป็น ‘ตัวกลาง’ ระหว่างลูกค้า และชุมชนประตูผี-เสาชิงช้า ที่กำลังประสบปัญหาให้ ‘อยู่รอด’ ต่อไปได้
Craft it on แบรนด์คราฟต์จากของเหลือใช้ของ อร อรสา ผู้เปลี่ยนโลกหลังเกษียณให้เด็กลง
แบรนด์สุดคราฟต์ของ แม่อร-อรสา วัย 62 ปี ที่หยิบจับสิ่งของเหลือใช้รอบตัวมาเย็บปักถักร้อยจนกลายเป็นสินค้าแสนอบอุ่น