
LATEST
เพนท์ขวดแก้วเหลือใช้ เป็นแจกัน DIY สไตล์เรา
นานแล้วที่ไม่ได้จับพู่กันหรือดินสอวาดรูป คอลัมน์ Eco Hack รอบนี้ ชวนคนรักงานศิลปะมาสร้างสรรค์ผลงานในสไตล์ของตัวเอง แถมยังรักษ์โลกด้วยการนำวัสดุเหลือใช้มารีไซเคิล อย่างขวดโซดาหรือขวดแก้วใส่น้ำผลไม้ มาเพนท์ให้กลายเป็นของตกแต่งบ้าน หรือแจกันใส่ดอกไม้เพิ่มความสดชื่นให้โต๊ะทำงาน
รำลึก…ถึงคุณสกาลา
หลังจากรัฐบาลประกาศมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ทำให้แหล่งบันเทิงหลายแห่งเงียบเหงา จนทำให้เราต้องคิดถึงความสนุกสนานเหล่านั้น หลังจากเรากักตัวอยู่บ้านมานาน วันนี้เราได้ข่าวคราวว่าคุณสกาลา ผู้อยู่คู่สยามสแควร์มานานกว่า 50 ปี กำลังจะหายไป เรารู้สึกใจหายเหมือนกันนะ
สิ่งที่ได้จากการเที่ยวไม่มีแพลน เมื่อฉันนอนรถบ้านริมทะเลสาบที่สาธารณรัฐเช็ก
เคยรู้สึกไหมคะว่าบางทีเราก็อยากพัก อยากออกไปเที่ยวอย่างสบายใจ เที่ยวแบบไม่ต้องวางแผนมากมาย ไม่ต้องคอยก้มดูนาฬิกา ปล่อยให้เวลาและบรรยากาศตรงหน้าเป็นไกด์นำพาเราไป ความรู้สึกนี้ผุดขึ้นมาในหัวเราในเช้าวันหนึ่ง และดันโชคดีที่เป็นเช้าวันหยุด ไม่มีภาระหน้าที่ใดๆ ให้ต้องกังวล เราจึงตัดสินใจกระโดดขึ้นรถแคมเปอร์คู่ใจขับออกไปชมธรรมชาตินอกเมืองในสาธารณรัฐเช็ก
ชาวญี่ปุ่นยอมจ่ายภาษีท้องถิ่น แลกของดีประจำเมืองที่รัฐจัดส่งถึงหน้าบ้าน
‘เสียภาษี’ ได้ยินคำนี้ทีไรเป็นต้องทำหน้ามุ่ย เพราะว่าบางคนก็ต้องยอมควักเงินจ่ายในอัตราที่สูง แม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน เขามีการเก็บภาษีคนในเมืองเพื่อบำรุงท้องถิ่น ซึ่งอัตราน่าจะสูงกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ ประชาชนรู้ และรัฐบาลก็รู้ดีว่าคนจ่ายนั้นทรมานใจแค่ไหน รัฐบาลจึงคิดหาวิธีว่า จะทำอย่างไรดีที่จะทำให้ชาวเมืองนั้นรู้สึกดีขึ้นเมื่อจ่ายภาษี รัฐบาลญี่ปุ่นจึงคิดระบบ ‘Furusato Nozei’ หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘ภาษีบ้านเกิด’ ที่รัฐบาลจะนำเงินไปพัฒนาถิ่นกำเนิดที่โตมา หรือหากเรายินดีจ่ายไปยังเมืองอื่นๆ ก็ย่อมได้ ซึ่งเป็นส่วนที่จ่ายเพิ่มเติมจากการเสียภาษีปกติ โดยความน่ารักของชาวญี่ปุ่น คือเมื่อเราจ่ายภาษีบ้านเกิดให้กับทางเมืองนั้นๆ ไป เขาจะส่งของดีประจำท้องถิ่นมาให้เราถึงหน้าบ้านแทนคำขอบคุณ โดยของขอบคุณนั้นช่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นที่เรายอมควักเงินจ่ายภาษีไป ไม่ว่าจะเป็นองุ่นเขียวจากเมืองยามานาชิ เนื้อหมูสไลด์อย่างดี 4 กิโลกรัมจากเมืองโทกาจิ ฮอกไกโด และปูขนจากเมืองยาคุโมะ ฮอกไกโด นับว่าเป็นสินค้ายอดนิยมของการเสียภาษี นอกจากนี้ยังมีข้าวสาร ผักดอง กุ้งหวาน กุ้งทะเล เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเมล่อนพันธุ์ดี ซึ่งสินค้าบางอย่างถ้าไปซื้อเองอาจจะมีราคาสูง แต่พอจ่ายภาษีและได้สินของเหล่านี้กลับมาตอบแทน พวกแม่บ้านญี่ปุ่นจึงรู้สึกว่าคุ้มค่า ทำให้ตอนนี้แม่บ้านญี่ปุ่นจ่ายภาษีเสมือนการชอปปิงกันเลย เพราะมีบริษัทเอกชนเข้ามาทำเว็บไซต์ เพื่อตอบโจทย์การจ่ายภาษีที่สะดวกขึ้น คือสามารถคลิกได้เลยว่าจะจ่ายภาษีให้บ้านเกิดตัวเองหรือท้องถิ่นอื่นๆ ที่ไหน และจะได้ของตอบแทนเป็นอะไรบ้าง เมื่อเลือกแล้วสามารถจ่ายภาษีผ่านบัตรเครดิตได้เลย เป็นไงล่ะเสมือนชอปปิงของออนไลน์ไม่มีผิด วิธีของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเป็นการใช้แนวคิดที่มีความเห็นอกเห็นใจเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยผลลัพธ์ที่ได้ช่างคุ้มค่า นอกจากจะได้เก็บภาษีมากขึ้นโดยคนจ่ายนั้นรู้สึกสบายใจเปราะหนึ่งแล้ว อีกทางคือเป็นการช่วยอุดหนุนเกษตรกรในเวลาเดียวกัน […]
ส่องนวัตกรรมสู้โควิด-19 กับ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
‘ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ หรือ ‘พี่เอ้’ ที่เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นอธิการบดีมาเป็นผู้นําในสังคมเพื่อช่วยเหลือประชาชน
บอกลาถุงแกง ! 3 ทริคห่ออาหารด้วยใบตอง
เชื่อว่าใบตองหาซื้อได้ไม่ยากนัก หรือบ้านไหนที่ปลูกต้นกล้วยอยู่แล้วยิ่งสบายไปใหญ่ คงจะคุ้นเคยได้เห็นย่ายายทำขนมกันมาบ้าง เอาล่ะได้ใบตองมาแล้วนั้นให้ฉีกเป็นแผ่น ตามขนาดที่ต้องการใช้ จากนั้นนำไปตากแดดสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใครไม่มีพื้นที่ก็สามารถเปิดเตาแก๊สและนำไปลนไฟได้เหมือนกัน เพื่อเพิ่มความเหนียวให้กับใบตอง เวลานำไปห่อใบตองจะไม่แตกออกจากกัน และสามารถห่ออาหารได้อยากมีประสิทธิภาพ พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย ห่อตามทั้งหมด 3 ทริคง่ายๆ ที่เราเอามาฝาก กระทงใบตอง – กระทงทรงกลม ใส่ของได้จุ อิ่มอร่อยอย่างสบายใจ ตัดใบตองเป็นวงกลมเท่ากันๆ กัน 2 ใบ โดยหาชามที่ปากกว้างๆ วางทาบลงไปเพื่อเป็นทรงสำหรับใช้ตัดเป็นตัวช่วยอีกแรง วางใบตองซ้อนกัน โดยวางให้เส้นของใบไปคนละทาง เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกระทง มือใหม่หัดห่อ หาถ้วยน้ำจิ้มหรือปากแก้วมาไว้ตรงกลาง จากนั้นจับใบตองหนึ่งมุมพับเข้ามาให้ติดกับขอบแก้ว และพับจีบเพื่อสร้างมุมให้กระทง โดยใช้มือขวาจับจีบพับใบตองเข้าข้างใน จากนั้นใช้มือซ้ายกดอีกฝั่งให้พับอยู่ข้างนอกให้มาจีบประกบกันพอดี จากนั้นเอาแก้วออก เมื่อได้มุมที่ดี ให้กลัดมุมด้วยไม้กลัดจากด้านใน จะทำให้กระทงมีปากที่บานออกและสวยงาม จีบจับมุมถัดไป แต่มีทริคมาบอกว่าควรเริ่มจากจีบฝั่งตรงข้ามมุมที่กลัดไม้กลัดไปอันแรก ทำให้ครบ 4 มุม จะได้กระทงใบตองที่ใส่อาหารแห้งได้เลย ไม่ว่าจะเป็นผัดไท ขนมครก หรือขนมไทย ข้าวห่อใบตอง – […]
เติมรอยยิ้ม ให้เด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กับ Converse
ชวนสร้างรอยยิ้มให้กับเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ กับแบรนด์รองเท้าขวัญใจวัยรุ่น Converse
7 หนังคนผิวดำที่คนทุกสีผิวต้องดู
ชวนดู 7 ภาพยนตร์น้ำดี หลากหลายรสชาติ เพื่อเข้าใจชีวิตของคนผิวดำให้มากขึ้นกว่าที่เคย
‘SHE KNOWS’ แบรนด์เสื้อผ้าไม่จำกัดไซซ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม คุณภาพดีจากฝีมือช่างวัยเก๋า
‘SHE KNOWS’ ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคืออยากสร้างพลังงานดีๆส่งต่อให้ทั้งสิ่งแวดล้อมและให้คุณค่ากับคนทำงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า
NASA x SpaceX ปล่อยยาน Crew Dragon ก้าวใหม่ของอนาคตการท่องเที่ยวอวกาศ
มนุษยชาติต้องจารึก! ครั้งแรกที่บริษัทเอกชน ‘SpaceX’ ของเจ้าพ่อธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า ‘อีลอน มัสก์’ ส่งมนุษย์สู่อวกาศได้สำเร็จ และเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี หลังจากที่ NASA ปลดระวางกระสวยอวกาศตั้งแต่ปี 2011 ส่งนักบินอวกาศจากแผ่นดินสหรัฐฯ ไปบนสถานีอวกาศอีกครั้ง
การปรับตัวของภัตคารอาหารจีน ‘ยี่เหลา ตั้งจั้วหลี’ ในวันที่ ‘โต๊ะกลม’ อาจไม่ตอบโจทย์
คุยกับ ‘คุณเจมส์ – พัศกฤต ธนาอัญมณี’ ผู้ดูแล ‘ยี่เหลา ตั้งจั้วหลี’ ภัตตาคารอาหารจีนแต้จิ๋วที่เปิดคู่ย่านเสาชิงช้มากว่า 70 ปีถึงการปรับตัวของภัตคารอาหารจีน ในวันที่การนั่งล้อมกันที่โต๊ะกลมอาจไม่ตอบโจทย์
จากโบสถ์เก่าถูกทิ้งร้าง สู่การเป็นที่พำนักของบทกวีนับพันเล่ม
‘Wutopia Lab’ บริษัทสถาปัตยกรรมระดับโลกจากจีน ได้ปรับปรุงสถานที่ประวัติศาสตร์อย่าง ‘โบสถ์เซนต์นิโคลัส’ ในมหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ให้กลายเป็น ‘Sinan Books Poetry Store’ ร้านขายหนังสือบทกวีกว่า 1,880 เล่มในภาษาต่าง ๆ ทั้งยังออกแบบมาเพื่อให้ที่แห่งนี้เป็นร้านขายบทกวีที่ใหญ่ที่สุดในเซี่ยงไฮ้อีกด้วย ‘โบสถ์เซนต์นิโคลัส’ ในเซี่ยงไฮ้ คืออดีตคริสตจักรออร์โธด็อกซ์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1932 เป็นโบสถ์ที่ผู้ลี้ภัยชาวรัสเซียในเซี่ยงไฮ้ที่หลบหนีจากการปฏิวัติรัสเซียช่วงปี ค.ศ.1917 ใช้ทำพิธีกรรมทางศาสนา จนเมื่อเกิดสงครามกลางเมืองในจีนทำให้ชาวยุปโรปเดินทางออกไป ที่แห่งนี้จึงถูกดัดแปลงเป็นโรงงานเครื่องซักผ้า คลังสินค้า โรงอาหาร สำนักงาน ที่อยู่อาศัยและสโมสร ครั้งหนึ่งยังเคยเป็นที่ตั้งของร้านอาหารฝรั่งเศส และบาร์ทาปาสของสเปน จากนั้นก็ถูกปล่อยร้างเรื่อยมา ‘Yu Ting’ หัวหน้าทีมออกแบบของ Wutopia Lab กล่าวว่า “แม้ภายนอกโบสถ์หลังนี้จะมีสภาพทรุดโทรม แต่หลังจากที่สำรวจอย่างจริงจัง ก็ได้เห็นร่องรอยประวัติศาสตร์ของการก่อสร้างที่มีมาตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นเราจึงพยายามที่จะรวบรวมการดีไซน์แบบเก่าที่มีอยู่แล้วเข้าไปกับการตกแต่งแบบใหม่ที่ทันสมัย เพื่อให้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวได้อย่างลงตัว” สำหรับการปรับปรุงโบสถ์ เนื่องด้วยเป็นอาคารมรดก จึงต้องได้รับอนุญาตจากศูนย์คุ้มครองอาคารประวัติศาสตร์เซี่ยงไฮ้ นั่นหมายความว่าจะไม่มีการดัดแปลงใดๆ กับตัวอาคารภายนอกของโบสถ์ ส่วนใหญ่จะเน้นที่การตกแต่งภายในเป็นหลัก และเมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว การเปลี่ยนโบสถ์ร้างให้กลายเป็นร้านหนังสือบทกวีก็เริ่มขึ้น ร้านหนังสือเหล็กใช้เหล็กทั้งหมด 45 […]