ล้วงลึกสกรีนพรินต์แบบเนิร์ดๆ ที่ The Archivist

“ผลิตงานพรินต์ด้วยมือ จะสู้พรินต์คอมพิวเตอร์ได้ไหม ?”

สารตั้งต้นที่สร้างความอยากรู้อยากเห็นเวลาไปดูงานตามแกลอรี ที่มองผิวเผินอาจมีความต่างเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อมองดูอย่างถี่ถ้วนกลับพบว่ามันแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง ‘มิน-มิญชญา ชโยสัมฤทธิ์’ จากสตูดิโอ @The Archivist ผู้คลุกคลีเรื่องงานพรินต์สกรีนอย่างช่ำชองจะพาเราไปเข้าใจถึงเทคนิคซิลค์สกรีนจนเกือบเนิร์ด พร้อมทั้งเผยเสน่ห์งานพิมพ์ที่มีมากกว่าแค่ทาบบล็อก แล้วปาดสี แต่จะปลุกพลังการดูงานศิลป์ในตัวเราให้สนุกยิ่งขึ้นไปอีก !

‘เอสโตเนีย’ สังคมดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก

เพื่อขจัดความยากจน เอสโตเนียจึงใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและยกระดับประเทศ จนล่าสุดเอสโตเนียกลายเป็น “สังคมดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก” และเมืองหลวงอย่าง ‘ทาลลินน์’ ยังได้รับเลือกให้เป็น “ชุมชนอัจฉริยะแห่งปี 2020” ด้วย

‘ผึ้ง’ ก็เป็นดีไซน์เนอร์ได้ ! Beehive คอลเลกชันโคมไฟที่รังสรรค์โดยผึ้ง

เมื่อเราพูดถึง ‘ผึ้ง’ สิ่งแรกที่เราต้องนึกถึงคือ แมลงสีเหลืองสลับดำตัวเล็กๆ ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำผึ้งสุดแสนอร่อยให้กับเรา โดยน้ำผึ้งเหล่านี้ล้วนได้มาจากดอกไม้ที่ผึ้งงานได้เก็บสะสมน้ำหวานไว้ในรัง แต่รู้หรือไม่ว่าผึ้งตัวเล็กๆ เหล่านี้ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์และโลกของเรามากกว่าที่คิด

Better Living Room EP.1 | งานที่ใช่ให้กายใจได้สดชื่น

Better Living Room ห้องว่างให้เล่าเปิดห้องเรียนในซีรีส์ ‘ความรู้รอดตัว’ โดยตอนที่หนึ่ง : ‘งานที่ใช่ให้กายใจได้สดชื่น’ นี้ นำเสนอความรู้ผ่านบทสนทนาของ โอ-ศรันย์ เย็นปัญญา นักออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กับ ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมคลาส เพื่อร่วมกันตกผลึกเป็นแนวทางการเลือกงานที่ใช่ของชีวิต เพื่อให้ค้นพบความสุขในการทำงานของตัวเอง

‘ถ้วยกาแฟ’ แรงบันดาลใจจากสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

ปรเจกต์ Mugo Ceramica คอลเลคชั่นแก้วเซรามิกที่ได้แรงบันดาลใจจากสัตว์ทั่วโลก เช่น เต่าทะเล แมวสายพันธุ์ต่างๆ หมาป่า สิงโต ฉลามหัวค้อน ฉลามขาว ยีราฟ แรด และนกฟลามิงโก้

‘กระทรวงการคั่ว’ คั่วความรู้ สู่กาแฟที่ยั่งยืน

นี่คือร้านกาแฟที่แทนตัวร้านด้วยการเป็นกระทรวง มีเจ้าของที่บอกว่าขอเป็นปลัด และเมนูทุกแก้วในร้านเป็นตัวแทนตั้งแต่รัฐมนตรีจนถึงประชาชน ที่แห่งนี้คือ ‘กระทรวงการคั่ว’ สถานที่ที่เป็นทั้งร้านกาแฟ โรงคั่วกาแฟ ศูนย์การเรียน รวมไปถึงจุดนัดหมายของคนรักกาแฟแห่งย่านปุณณวิถี เมื่อคุณอนุวัฒน์ กอบน้ำเพ็ชร ปลัดแห่งกระทรวงการคั่ว มองว่าความรู้คือสิ่งเดียวกับความยั่งยืน ของคนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำในวงการ เขาจึงสร้างที่แห่งนี้เพื่อส่งต่อความรู้ แต่จะส่งต่ออย่างไร และทำอย่างไรให้ยั่งยืนนั้น คำตอบอยู่ใน ‘กระทรวงการคั่ว’ คั่วความรู้ สู่กาแฟที่ยั่งยืน

อาคิเต็ก (พาไป) เจอเมืองในมุมมองแบบไท้ยไทย

มองมุมเมืองสไตล์ไท๊ยไทย ท่ามกลางแสงแดดเจิดจ้า วันนี้โชคดีที่สายฝนไม่โปรยลงมาเลย เมื่อเราเดินทางมาถึง ‘Everyday Architect & Design Studio’ ที่แฝงตัวกลมกลืนอยู่ในย่านฝั่งธนบุรี

‘แคกตัสบำบัดซึมเศร้า’ ยาแห่งความสุขที่ทำให้ ‘แมว วีรณา’ อยากตื่นมาเจอเช้าวันใหม่

ค่ำวันศุกร์หลังเลิกงาน ช่วงเวลาของสายฝนซัดกระหน่ำโปรยปรายลงมาอย่างไม่ขาดสาย คงไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่ต้องรีบเดินฝ่าดงฝนไปขึ้นรถกลับบ้านในแถบชานเมืองเพื่อหลีกหนีจากสังคมอันแสนวุ่นวาย ระหว่างทางบนถนนวิภาวดีรังสิตอันแสนน่าเบื่อที่รถกำลังเคลื่อนตัวเป็นระยะ เรานั่งเอามือท้าวคางแล้วมองออกไปนอกกระจกรถซึ่งเต็มไปด้วยเม็ดฝนแต่ยังคงพอมองเห็นแสงสว่างสีส้มเลือนลางจากข้างทางสาดส่องเข้ามาบ้าง ณ ขณะหนึ่งเราเผลอพูดกับตัวเองออกมาเบาๆ ว่า “เหนื่อยเนอะ” เป็นเพราะเรากำลังก้าวเข้ามาในโลกของการทำงานจริง คงเหมือนที่ใครหลายคนเคยเล่าให้ฟังว่า “ภาระอันยิ่งใหญ่มักมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง” มันเป็นแบบนี้นี่เอง

8 ต้นแบบลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน ที่บ่งบอกอัตลักษณ์และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง

‘พื้นที่สาธารณะ’ เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ของเมืองที่มาเติมเต็มคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น เพราะคนในเมืองควรมีพื้นที่อิสระในการใช้ชีวิต และจะดีขึ้นไปอีกหากพื้นที่เหล่านี้มาจากความต้องการของคนในพื้นที่ ให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง และคนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี บันทึกรักษาโรคซึมเศร้าที่ทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี (죽고 싶지만 떡볶이는 먹고 싶어) คือชื่อหนังสือที่เมื่อได้อ่านครั้งแรกช่างตอบความรู้สึกที่ว่า ของอร่อยเยียวยาใจ ได้อย่างเห็นภาพ หากแต่ในหนังสือปกสีส้มอมแดงที่ออกแบบภาพประกอบโดยอาร์ทติสไทย S U N T E R นั้นกลับเป็นบันทึกสนทนาระหว่าง แบ็กเซฮี (백세희) ตัวผู้เขียนกับจิตแพทย์ระหว่าง ‘การรักษาโรคซึมเศร้า’ ที่พาคนอ่านลิ้มรสชาติอย่างแช่มช้า และค่อยๆ ละเลียดตัวหนังสือเพื่อซึมซับ

‘Alzheimer Village’ อาณาจักรผู้ป่วยอัลไซเมอร์แห่งแรกในฝรั่งเศส

เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัลไซเมอร์และสมองเสื่อม รัฐบาลฝรั่งเศสจึงลงทุนสร้างหมู่บ้านอัลไซเมอร์แห่งแรกของประเทศอย่าง “Alzheimer Village” เพื่อทำการศึกษาและหาทางรักษาโรคความจำเสื่อม รวมถึงสนับสนุนแนวคิดที่ว่าถ้าผู้ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะสามารถช่วยชะลอหรือบรรเทาการลุกลามของโรคอัลไซเมอร์ได้

1 265 266 267 268 269 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.