LATEST
อ่อเส๊อะเก๊อะเม-กินข้าวด้วยกัน โปรเจกต์เชื่อมชาวปกาเกอะญอกับคนเมืองผ่านวัตถุดิบบนดอย
บนดอยกับในเมือง ห่างกันหลายกิโลเมตร คนปกาเกอะญอกับคนเมือง ห่างกันระยะไกล คนปกาเกอะญอเชื่อว่า ถ้าได้กินข้าวกับใครถือว่าเป็นญาติกัน “อ่อเส๊อะเก๊อะเม” แปลว่า กินข้าวด้วยกัน มา มากินข้าวด้วยกันเถอะ หิวแล้ว จั๊ม-ณัฐดนัย ตระการศุภกร แห่ง Little Farm in Big Forest หนุ่มปกาเกอะญอผู้เป็นศูนย์กลางสื่อสารวิถีชีวิตคนปกาเกอะญอด้วยวัตถุดิบในป่าใหญ่ เขาจากบ้านป่าไปทำงานการตลาดในเมืองกรุงฯ แล้วเลี้ยวกลับบ้านมาพัฒนาชุมชนที่มีของดีเป็นวัตถุดิบ แต่เติมไอเดียนิด ผสมแนวคิดการตลาดหน่อย โชว์จุดเด่นของ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านขุนแปะ บ้านขุนแม่หยอด บ้านขุนวิน และบ้านแม่ลาย ลงบนโปรเจกต์ ‘อ่อเส๊อะเก๊อะเม-กินข้าวด้วยกัน’ ที่ส่งวัตถุดิบจากไร่หมุนเวียนในป่าใหญ่สู่โต๊ะอาหารคนเมืองโดยฝีมือของคนปกาเกอะญอ บางบ้านเก่งครีเอทีฟนำฮ่อวอ (มินต์) มาทำผงโรยข้าว บางบ้านยืนหนึ่งเรื่องพืชสมุนไพร บางบ้านมีหัวด้าน Social Enterprise สอนเด็กๆ สร้างโปรดักต์พึ่งพาตัวเอง หรือบางบ้านช่างปรับตัว จำลองไร่หมุนเวียนในสวนเล็กๆ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ซึมซับวิถีชีวิตปกาเกอะญอง่ายขึ้น มากกว่าเปิดออเดอร์จำหน่ายวัตถุดิบรสมือคนปกาเกอะญอให้คนเมือง CF โดยมีคนปกาเกอะญอขับรถไปส่งถึงหน้าบ้าน ยังเป็นการส่งต่อวิถีชีวิตของคนปกาเกอะญอให้คนเมืองได้เข้าใจมากขึ้น ผ่านโต๊ะอาหารที่ยาวจากภาคเหนือสู่ภูมิภาคอื่นๆ 01 กลับบ้านเล็กในป่าใหญ่ […]
‘ซองโด’ เมืองอัจฉริยะที่ตั้งเป้าลดคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์
เกาหลีใต้ไม่ได้มีดีแค่โซล แทกู หรือปูซาน แต่ยังมีเมืองใหม่ที่น่าสนใจอย่าง ‘ซองโด’ เมืองที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ อสังหาริมทรัพย์ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเมืองนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
ขยะ ‘ท่วม’ เมือง เพราะคนคือตัวร้ายไม่ใช่พลาสติก
วายร้ายแห่งวงการสิ่งแวดล้อมคงหนีไม่พ้น ‘พลาสติก’ ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นบอสใหญ่กำจัดยาก รวมถึงมีข้อครหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกทำให้โลกร้อน เต่าตาย ไปจนถึงเป็นตัวการเพิ่มมลพิษในอากาศ จนสงสัยว่า ‘แล้วพลาสติกคือตัวร้ายจริงหรือเปล่า’
ศิริซาลาเปา ซาลาเปาที่อร่อยด้วยรสชาติแต่อุ่นหัวใจด้วยเรื่องราวที่เล่า | Heart EP.1
หากนึกถึง ศาลเจ้าพ่อเสือ ถนนตะนาว ย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเสาชิงช้าเป็นอย่างแรก แต่สิ่งหนึ่งที่ในละแวกนั้นโดดเด่นไม่แพ้กันคือของกิน ซึ่งหากใครแวะเวียนไปมาแถบนี้ จะสังเกตเห็นร้านกะทัดรัดหน้าซอยขนาดเล็กที่ผู้คนแวะเวียนมาไม่น้อยเลย ร้านนั้นคือ ศิริซาลาเปา ร้านซาลาเปาโฮมเมด ที่มีรสโดดเด่นจากสูตรของที่บ้าน ซึ่งความน่าสนใจนอกจากรสชาติสิ่งที่ทำให้ซาลาเปาที่นี่อร่อยขึ้นเป็นเท่าตัวคือเรื่องราวของพวกเขา ที่นึกถึงชุมชนและย่านที่ตนอยู่จนออกมาเป็นแคมเปญ “ศิริเฟรนด์ ฝากซื้อฟรี” การรับฝากซื้อของในร้านแถวนั้นช่วงโควิด มาชิมบทสนทนาที่เต็มไปด้วยรสชาติและหลากรสด้วยกันในซาลาเปาที่มีไส้ในเป็นความอบอุ่นและเนื้อแป้งเป็นความใส่ใจ กับศิริซาลาเปา ชื่อฟอนต์ : maaja (หมาจ๋า) ดาวน์โหลดที่ : https://www.dogplease.com/my-font
ตามพี่บ่าวไปแทงโวยวาย
เคยแทงโวยวายกันไหม อ่านแล้วหลายคนอาจกำลังขมวดคิ้วว่าคืออะไร เราจะเฉลยให้รู้ว่า ‘การแทงโวยวาย’ คือการจับหมึกสาย หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ตัวโวยวาย’ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำประมงชายฝั่งของชาวบ้านในตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน
ตามรอยบ้านเก่า ‘ถนนตะนาว’ บันทึกเรื่องย่านผ่านสถาปัตยกรรมโคโลเนียล
‘ถนนตะนาว’ เป็นเส้นทางสายเล็กๆ ไม่ยาวนัก แต่หากใครที่คิดลองเดิน (เหมือนเรา) ขอบอกว่าแอบมีเหงื่อซึม ตลอดทางส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์สีเหลืองเรียงรายยาวเป็นแถว ภาพจำของใครหลายคนเกี่ยวกับถนนสายนี้ คงเป็นเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าเก่าแก่เคียงคู่ย่านนี้มานมนาน หรือเป็นทางผ่านด้านหน้าถนนข้าวสารแหล่งแฮงค์เอาต์ยามค่ำ
เพื่อนใหม่ของฉันชื่อ ‘บอนไซ’ ฟูมฟักต้นไม้แห่งชีวิตลงกระถาง
ก่อนหน้าเวิร์กช็อปทำ ‘บอนไซ’ ฉันรู้จักมันคร่าวๆ ว่าเป็นการเพาะเลี้ยงต้นไม้จากกระถางใหญ่สู่กระถางเล็ก ฟังดูไม่ต่างจากการที่โดเรมอนใช้ไฟฉายย่อส่วนต้นไม้ในสวนใหญ่ให้เป็นสวนขนาดกะทัดรัด ถ้าให้เปรียบเปรยแบบติดตลก นิยามความสัมพันธ์ของฉันกับบอนไซไม่ต่างจากเพื่อนที่ไม่สนิท รู้จักกันผ่านๆ ทักทายบ้างตามโอกาส แต่แอบไปกระซิบบอกคนสนิทบ่อยๆ ว่าเจ้าบอนไซนี่น่ารักใช่ย่อยนะ! จนมาถึงวันที่ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปปลูกบอนไซกับ พี่ปัน-ปัญจพล นาน่วม ผู้หลงใหลบอนไซมาแล้ว 6 ปี ณ สตูดิโอ Tentacles N22 แหล่งรวบรวมเวิร์กช็อปศิลปะและงานคราฟต์ ที่ทำให้ฉันได้รู้จักบอนไซแบบลึกซึ้งมากขึ้น เพราะการทำมันแต่ละขั้นตอนต้องพิถีพิถันไปอย่างช้าๆ และเรียบง่าย (ก็ไม่ง่ายมากแต่ก็ไม่ยากขนาดนั้น) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับฉันระหว่างทำความรู้จักบอนไซกลับน่าประหลาดใจเพราะ ‘บอนไซ แกทำให้คนฟุ้งซ่านอย่างฉันมีสมาธิขึ้นได้ว่ะ’ สายตาที่จดจ่อบอนไซตั้งแต่ลงมือปลูก ลงมือตัดแต่ง ลงมือย้ายกระถาง และลงมือดูแลมัน ทำให้ฉันไม่แปลกใจว่าสมญานามของบอนไซที่เป็น ‘ต้นไม้แห่งจิตวิญญาณ’ มาได้อย่างไร เพราะมากกว่าเป็นต้นไม้สง่างามในกระถาง กลับใส่วิญญาณของคนทำลงไปด้วยอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อบทความชิ้นนี้เผยแพร่แล้ว ฉันหวังลึกๆ ว่าคุณจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อ ‘บอนไซ’ ผ่านเวิร์กช็อปนี้ และหาความสงบเล็กๆ ให้ตัวเองได้ 01 BON = กระถาง, SAI = ต้นไม้ “อาจารย์คนแรกที่สอนผมทำบอนไซคือหลวงพี่ในวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เพราะครั้งแรกที่ผมรู้จักบอนไซคือตอนบวชหลังจากเรียนจบใหม่ๆ เมื่อมีเวลาว่างหลังจำวัด […]
ตั้งเซ่งจั้ว ร้านขนมเปี๊ยะ 88 ปีแห่งฉะเชิงเทรากับรสและสูตรที่ในประเทศจีนยังหากินยาก
ชวนรู้จัก ‘ตั้งเซ่งจั้ว’ แบรนด์ของครอบครัวคนทำขนมเปี๊ยะแห่งฉะเชิงเทรา ที่เสิร์ฟความประณีตมาร่วม 90 ปี
กระถางวัดอรุณฯ ผลงานดีไซเนอร์รุ่นใหม่ Mo Jirachaisakul
พระปรางค์วัดอรุณฯ ตั้งตระหง่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภาพจำกรุงเทพฯ ที่ไม่ว่าคนชาติไหนก็ต้องตั้งใจเดินทางมาให้เห็นกับตาสักครั้ง ยิ่งถ้าใครเดินทางด้วยเรือด่วนเจ้าพระยาเป็นประจำ ทุกครั้งที่นั่งเรือผ่านจะต้องหันไปชื่นชมความงามจนเรือแล่นลับสายตา แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือคนส่วนใหญ่มักตื่นตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการ จนมองข้ามรายละเอียดสุดประณีตโดยฝีมือช่างไทยโบราณที่บรรจงรังสรรค์ผลงานศิลปะอันยากจะเลียนแบบ
Colab-19 พลิกวิกฤตโควิดเนรมิต ‘นั่งร้าน’ เป็นพื้นที่กิจกรรมเพื่อคืนชีวิตให้เมืองโบโกตา
ตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด หลายเมืองทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับเมืองหลวงของประเทศโคลอมเบียอย่าง ‘โบโกตา’ เพราะแค่ในเมืองนี้เมืองเดียวมีรายงานผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในโคลอมเบีย เป็นอีกหนึ่งเมืองที่ใช้มาตรการบังคับกักกัน (Forced Quarantine) นานที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ร้านอาหารกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ถูกบังคับให้ปิดตัวลง ส่งผลให้แรงงานนับพันต้องตกงาน ในช่วงเวลานี้เองที่ Alejandro Saldarriaga และ German Bahamon สองสถาปนิกชาวโคลอมเบียได้จับมือกันหาทางออกที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจของเมือง ด้วยการคิดหาวิธีการรักษาระยะห่างใหม่ๆ ผ่านการออกแบบ ให้คนออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัยขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้ชื่อทีม Colab-19 ไอเดียจากการใช้ ‘นั่งร้าน’ เพิ่มระยะห่างใน ‘แนวดิ่ง’ มาตรการรักษาระยะห่างทำให้จำนวนที่นั่งในร้านอาหารลดลงกว่าครึ่ง เช่น บริเวณหน้าตลาด La perse ที่ก่อนการแพร่ระบาดเคยนั่งได้ 16 โต๊ะ กลับเหลือเพียงแค่ 7 โต๊ะเท่านั้น ทีม Colab-19 จึงแก้ปัญหาด้วยแนวคิดว่ามาตรการรักษาระยะห่างในร้านอาหารไม่จำเป็นต้องทำในแนวระนาบอย่างเดียว ผุดไอเดียใช้ ‘นั่งร้าน’ หรือโครงสร้างชั่วคราวสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง โดยการออกแบบนั่งร้านช่วยเพิ่มระยะห่างในแนวดิ่ง ทำให้ร้านอาหารเปิดให้บริการด้วยจำนวนโต๊ะเท่าเดิมแต่ยังรักษาระยะห่างได้อยู่ นอกจากนั้น นั่งร้านยังเป็นวัสดุที่ราคาถูก ใช้เวลาประกอบเร็ว […]
9 ไอเทมสัตว์โลก ชวนตระหนักปัญหาสิ่งแวดล้อม
“ถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งกว่า 300 ล้านใบ มีจุดจบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก” ข้อความด้านบนคือประโยคที่ถูกพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งห่อหุ้มเหล่าสัตว์โลกย่อส่วนบนเชลฟ์วางสินค้า ชวนให้เราพลิกซ้ายพลิกขวาดูว่าฟังก์ชันของมันทำอะไรได้บ้าง บรรดาข้าวของกระจุกกระจิกตรงหน้าไม่ได้แค่จับวางไว้มุมไหนก็น่ารัก หากยังหยิบจับใช้งานได้ถนัดมือและแอบซ่อนกิมมิกสนุกๆ เอาไว้
กฟผ. จับมือเรือด่วนเจ้าพระยา เตรียมทดลองให้บริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า
เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค่าฝุ่นละอองหลายพื้นที่ในประเทศไทยกลับมาอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกครั้ง ซึ่งสาเหตุของฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือที่เราคุ้นกันในชื่อ PM 2.5 มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือการเผาไหม้ที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งที่เราใช้กันทุกวัน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการคมนาคมขนส่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่ว และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและคุณภาพของอากาศโดยรวม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงร่วมยกระดับคุณภาพการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ จับมือกับบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด นำเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. ออกทดลองให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้แนวคิดการประหยัดพลังงานและลดมลพิษให้ได้มากที่สุด การทดลองเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้านี้จะให้บริการเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท่าเรือปากเกร็ด – พระราม 7 และท่าเรือพระราม 7 – สาทร เป็นเวลา 6 เดือน สำหรับผู้ที่สนใจ ติดตามวันและเวลาที่เริ่มให้บริการได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Chao Phraya Express Boat – เรือด่วนเจ้าพระยา Sources : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย https://bit.ly/3pW0Fm2กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม https://bit.ly/3qTGxlY