LATEST
สำรวจอุทยานแห่งชาติทั่วโลก ท่องแดนไกลผ่าน Google Earth
เหล่านักเดินทางต่างก็มีความฝันที่จะไปเที่ยวรอบโลก แต่ต้องมีตังค์เท่าไหร่ล่ะ ชาตินี้ถึงจะไปครบ? ไม่ต้องรีรออีกต่อไป ให้ Google Earth พาเราบินข้ามน้ำข้ามทวีป ปักหมุดแล้วเอาตัวไปหย่อนใน 7 อุทยานแห่งชาติทั่วโลก ที่หลายคนน่าจะพินไว้เป็น Bucket Lists สถานที่ที่ต้องไปเยือนสักครั้งก่อนตาย! เปิดเพลลิสท์เพลงโฟล์กยาวๆ แล้วบินไปด้วยกันเลย
‘ขายใบสมัครเศรษฐี’ ชี้ช่องรวย
ไม่ต้องตกใจ เพราะ Urban Creature ไม่ได้จะมาขายใบสมัครเศรษฐี แต่ภูมิใจเสนอ ‘Ad on Street’ คอลัมน์น้องใหม่ที่ไม่ว่าเดินไปไหน ถ้าเจอโควตที่ใช่หรือป้ายโฆษณาที่ชอบ ตามท้องถนนทั่วไทยแล้วเห็นความครีเอต เราพร้อมแชะภาพมาแชร์แบบไม่มีกั๊ก หรือถ้านักอ่านคนไหนไปเจออะไรสนุกๆ ก็เอามาแชร์ในคอมเมนต์กันได้เลย
เบื่อบ้าน เหงาจัง ชวนมาทำ 5 กิจกรรมแก้เซ็ง
ช่วงนี้คนเหงาอย่างเราก็ต้องดูแลตัวเอง (เพราะถ้าติดโควิดขึ้นมา น่าจะหวังพึ่งใครไม่ได้ในประเทศนี้!) แม้ลุงจะขอให้อยู่บ้านก็อย่าเพิ่งเบื่อกัน เพราะเราจะหาเพื่อนมาช่วยแก้เหงา ทั้งดาราฮอลลีวูดที่เปิดบ้านให้ชมแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ไกด์พาเดินเล่นเมืองนอกเสมือนบินไปเอง ดีเจมาเปิดเพลง Lo-fi บนยูทูบให้ฟังระหว่างทำงาน ภัณฑารักษ์บอตพาทัวร์นิทรรศการศิลปะ กระทั่งตั๋วทิพย์บินไปนั่งทำงานที่ไหนก็ได้ในโลก มากระตุ้นทุกคนให้หายหน่ายกันแบบฟรีๆ
อยู่บ้านก็วาร์ปไปเที่ยวได้ ด้วย LifeAt เว็บไซต์ที่เก็บภาพและเสียงจากทั่วโลก มาช่วยคลายเหงาในวันเบื่อๆ
เมื่อการระบาดของโควิด-19 กลับมารุนแรงอีกครั้ง พวกเราจึงต้องหยุดเชื้อเพื่อชาติด้วยการกักตัวอยู่บ้านเป็นรอบที่ 3 แถมทริปที่เคยวางไว้ก็เป็นอันต้องยกเลิกไป แต่ไม่เป็นไร วันนี้เรามีเว็บไซต์ที่จะพาทุกคนไปเที่ยวรอบโลกกันแบบทิพย์ๆ lifeat.io เว็บไซต์ที่รวบรวมภาพและเสียงจากสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังทั่วโลก เช่น ซานโตรินี ประเทศกรีซ เมืองซีแอตเทิลในรัฐวอชิงตัน หรือแม้แต่ภาพและเสียงจากในหนัง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็มีมาเอาใจเหล่าสาวกแห่งโลกเวทมนตร์กัน นอกจากนี้ ยังเชื่อมกับ Spotify เพื่อเปิดเพลงโปรดของเราคลอไปด้วยได้ อยู่บ้านเหงาๆ ลองเปิดเว็บนี้เป็นเพื่อนระหว่างทำงาน เผื่อมันจะช่วยแก้เบื่อให้เราไปพลางๆ ระหว่างรอรัฐบาลดำเนินการควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ให้ดีขึ้น อดทนอีกนิดแล้วเราจะไม่ต้องเที่ยวทิพย์อีกต่อไป Source : LifeAt | https://lifeat.io/
โควิด-19 สาเหตุที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของไทยลดลง?
ในปี 2563 ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ อยู่ที่ 224.3 ล้านตัน CO2 ลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล รวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19
Man & Art แปลงโฉม ‘มนุษย์’ เป็นงานศิลปะระดับโลก! ด้วยฝีมือ นศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร
เปลี่ยนภาพจำการเรียนทฤษฎีในห้องเรียน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกับ ‘ศิลปะ’ มากยิ่งขึ้น เพราะมนุษย์กับศิลปะเป็นของคู่กัน! เมื่อนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ลุกขึ้นมาเลียนแบบ ‘ภาพศิลปะ’ โดยใช้ร่างกายของตัวเองเป็นแคนวาส บรรจงแต่งองค์ทรงเครื่อง มาประชันความครีเอทีฟผ่านโปรเจกต์ ‘ภาพถ่ายที่ได้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ’ ในรายวิชา ‘มนุษย์กับศิลปะ’ (Man & Art) นอกจากจะให้นักศึกษาได้ระเบิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแล้ว ยังให้ความสนุกกับการเรียนศิลปะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว! เรามาส่องไอเดียเจ๋งๆ ของเด็กรุ่นใหม่ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ต้นฉบับ : The Fortune Teller โดย Frederic Bazilleชื่อผลงาน : “Fortune Uno” โดย ชลดา ผาติเสถียร ต้นฉบับ : Girl Running with Wet Canvas โดย Norman Rockwell ชื่อผลงาน : “Girl running to class with […]
WOSH เครื่องล้างมือสุดล้ำจากญี่ปุ่น มีช่องทำความสะอาดโทรศัพท์ด้วยรังสี UV-C
ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่รู้ว่าจะดีขึ้นเมื่อไร จะหยิบจับอะไรก็ต้องคอยระวังเชื้อโรค จนต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ และรู้หรือไม่ว่าของใกล้ตัวอย่าง ‘โทรศัพท์มือถือ’ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้น เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีเลย ต่อให้มือเราล้างสะอาด แต่ถ้าของที่ถือไม่สะอาดก็เปล่าประโยชน์ WOSH เครื่องล้างมือฆ่าเชื้อโรคจากบริษัท WOTA ผู้พัฒนาและผลิตอุปกรณ์บำบัดน้ำในญี่ปุ่น จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้มือเราสะอาด แถมยังประหยัดทรัพยากรน้ำ เพราะไม่จำเป็นต้องต่อท่อประปา นำน้ำที่ใช้แล้วมาใส่ในเครื่องนี้ได้เลย บรรจุน้ำได้ถึง 20 ลิตร ใช้ล้างมือได้ 500 ครั้ง ตัวเครื่องมีระบบทำความสะอาดน้ำ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การกรองผ่านเยื่อ (Membrane Filtration) การทำความสะอาดด้วยคลอรีน และการฉายรังสี UV อย่างเข้มข้นเพื่อฆ่าเชื้อ แต่ถึงอย่างไรเครื่องนี้ก็ยังต้องติดตั้งในที่ที่มีแหล่งจ่ายไฟอยู่ นอกจากนี้ ระหว่างที่เราล้างมือ ก็ให้เครื่องนี้ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือของเราไปพร้อมๆ กัน เพราะ WOSH ยังมีช่องทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือด้วยรังสี UV-C ที่ใช้เวลาเพียง 20 – 30 วินาทีก็ฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลายปีที่แล้ว เครื่องล้างมือสุดล้ำจำนวนกว่า 4,000 เครื่อง […]
หากวันหนึ่งคุณหูหนวกจะพบอะไรบ้าง ในเมืองไร้เสียงที่ชื่อว่ากรุงเทพฯ
‘…………..’ หากวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเสียงที่ได้ยินกลายเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมด กลายเป็นเสียงแห่งความเงียบงัน ที่ดังก้องกังวานจนคุณไม่ได้ยินเสียงของผู้อื่นหรือแม้กระทั่งเสียงของตัวเอง คุณหันไปหยิบโทรศัพท์ที่เคยตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 7 โมงเช้า แต่เช้าวันนี้กลับไม่ได้ยินเสียงปลุกชวนรำคาญหูอีกต่อไป สัมผัสได้เพียงแรงสั่นไหวจากโทรศัพท์เท่านั้น และภาพที่คุณเห็นจากตาดวงเดิมกลายเป็นเหมือนโลกใบใหม่ ที่มือไปถูกปุ่ม Mute ไว้ตลอดกาล คุณจะทำอย่างไรต่อในเช้าวันนี้ แค่เรื่องสมมุติ ‘หากวันหนึ่งกลายเป็นคนหูหนวก’ ยังทำให้เราเป็นกังวลไม่น้อย เพราะการได้ยินเป็นสัมผัสสำคัญของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร Urban Creature จึงอยากจะชวนทุกคนไปรู้จักโลกของคนหูหนวกผ่านการพูดคุยกับ ปรียานุช ศศิธรวัฒนกุล หรือนุ้ย และล่ามภาษามือ เต็มศิริณ ชลธารสีหวัฒน์ หรือไข่มุก ตัวแทนจากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตภายในเมืองของคนหูหนวก เพื่อให้คนหูดีและคนหูหนวกได้เข้าใจกันและกันมากขึ้น หากวันหนึ่งคุณหูหนวก จะพบกับอะไรบ้าง การสื่อสารที่ใช้ภาษามือและภาษากายแทนภาษาพูด – ปัญหาพื้นฐานในชีวิตประจำวันของคนหูหนวกคือเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากคนหูหนวกใช้ภาษามือสื่อสารเป็นภาษาแรก และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ทำให้การใช้ภาษาไทยของคนหูหนวกอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร อาจไม่เข้าใจความหมายของคำทุกคำ เวลาเขียนรูปประโยคภาษาไทยก็มักจะเขียนตามไวยากรณ์ภาษามือของคนหูหนวก อย่างประโยคที่ว่า ‘ฉันกินข้าว’ แต่คนหูหนวกจะเขียนประโยคดังกล่าวเป็น ‘ข้าวฉันกิน’ สลับตำแหน่งคำ เหมือนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้คนอ่านอาจจะเกิดความฉงนสงสัยและไม่เข้าใจสิ่งที่คนหูหนวกจะสื่อสาร และเมื่อคนหูหนวกเจอรูปประโยคยาวๆ เขาจะอ่านและแปลความหมายทีละคำ ทำให้ไม่เข้าใจรูปประโยคยาวนั้นเท่าไหร่ แต่เขาจะเข้าใจรูปประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้สื่อสารบ่อย รูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสารกับคนหูหนวกจึงควรเป็นประโยคคำพูดสั้นๆ […]
Untitled ศิลปนิพนธ์เรียนรู้โรคกลัวรูของเด็กโฟโต้อาร์ตแห่งเชียงใหม่ผู้เป็นโรคกลัวรู
ชวนดูศิลปนิพนธ์โรคกลัวรูของนักศึกษาสาขาศิลปะการถ่ายภาพ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ChopValue แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ ที่รีไซเคิลตะเกียบไม้ 33 ล้านคู่ เป็นของใช้และของเล่น ช่วยลดปริมาณขยะใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ตะเกียบไม้ดูเหมือนจะเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริง เราต้องตัดต้นไม้จำนวนมากเพื่อนำมาผลิตเป็นตะเกียบใช้แล้วทิ้ง ที่จะอยู่กับเราเพียงอาหารหนึ่งมื้อเท่านั้น ChopValue บริษัทเฟอร์นิเจอร์ของแคนาดาจึงติดต่อร้านอาหารกว่า 300 ร้านในแวนคูเวอร์ เพื่อนำตะเกียบไม้ใช้แล้ว มารีไซเคิลให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้านสุดเก๋ เช่น โต๊ะ ชั้นวางของ เขียง หรือแม้แต่ของเล่นอย่างโดมิโน พวกเขาจะนำตะเกียบที่รวบรวมได้ประมาณ 100 กิโลกรัมต่อวัน เข้าเครื่องจัดเรียง แล้วนำไปเคลือบเรซินเพื่อป้องกันการไหม้จากการอบฆ่าเชื้อโรคเป็นเวลา 5 ชั่วโมง จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบันพวกเขารีไซเคิลตะเกียบไม้ไปแล้วกว่า 33 ล้านคู่ เรียกว่าเป็นไอเดียที่สร้างสรรค์มากๆ เพราะนอกจากจะเป็นการลดขยะใช้ครั้งเดียวทิ้งแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของตะเกียบไม้ได้นานขึ้นอีกด้วย ผู้ที่สนใจเลือกซื้อสินค้าได้ที่ https://chopvalue.com/ Source : Insider | https://bit.ly/3tXGln4
เพลง Plastic Plastic ในมุมครูวิชา Natural Appreciation ใช้ศิลปะสอนเด็กอนุบาลให้รักธรรมชาติ
ชื่อ เพลง ต้องตา จิตดี อาชีพ คุณครู โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ “วันนี้ครูเพลงจะชวนเด็กๆ ชั้นอนุบาลสามห้องผักกาดมาวาดรูปกันค่ะ” การพบเจอ เพลง-ต้องตา จิตดี ครั้งนี้ ไม่มีชื่อวง Plastic Plastic ต่อท้าย ไม่มี ปกป้อง จิตดี พี่ชายข้างกาย ไม่มีเสียงร้องที่ชวนให้หยิบแฮมเป็นแผ่นที่หก ไม่มีท่วงทำนองสดใสพาฮัมเพลงหนึ่งเพลงซ้ำๆ มีเพียง ครูเพลง คุณครูประจำวิชา Natural Appreciation ของเด็กนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ ด้านหลังร้านอาหารก้ามปู คือพื้นที่ของโรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ที่เด็กๆ กำลังทานอาหารกลางวันอยู่ ครูเพลง ต้องตาออกมาต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ก่อนเดินนำไปยังบ้านสีขาวด้านในที่ปกป้องออกแบบให้เป็นโฮมสตูดิโอ พร้อมแบ่งพื้นที่ใต้ถุนบ้านเป็นห้องเรียนทำอาหาร เธอชวนหย่อนตัวที่มุมรับแขก ซึ่งมองออกไปเห็นสนามเด็กเล่น และบ้านต้นไม้ที่ด้านหนึ่งเป็นสไลเดอร์ และอีกด้านเป็นหน้าผาจำลองแสนสนุก เพื่อเริ่มต้นคลาสเรียนวิชา ครูเพลง 101 ชีวิตเพลงในโรงเรียนอนุบาล เพลงไม่ได้เดินมาสมัครเป็นคุณครูที่โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ แต่เธอเติบโตภายในโรงเรียนแห่งนี้ซึ่งคุณแม่เป็นผู้อำนวยการ ไปจนถึงเคยเป็นนักเรียนอนุบาลตัวน้อยผู้ได้เรียนหลักสูตรการเรียนการสอนแนวบูรณาการ (Integrated Learning) ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ทดลอง และทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตั้งแต่ ชั้นเตรียมอนุบาลจนถึงอนุบาล 3 “เพราะบ้านเราอยู่บริเวณเดียวกับโรงเรียน […]
ความจุของรถเมล์ กทม. กับ Social Distancing ช่วง COVID-19 สะเทือนอะไรวงการขนส่งฯ บ้าง
รู้ตัวอีกที เราก็อยู่กับ COVID-19 มาครบ 1 ปีแบบไม่ทันตั้งตัว 1 ปีที่หลายคนคงชินกับการใส่หน้ากากขึ้นรถสาธารณะไปแล้ว ขณะที่กำลังเผชิญการระบาดซ้ำระลอก 3 ‘ประเทศไทย’ เป็นหนึ่งในเมืองที่ยังคงมูฟออนไม่ได้ หลายคนเลยต้องวนลูป Work from Home บางถนนหนทางห้างร้านตลาดกลับมาโล่งจนพ่อค้าแม่ขายใจหายไปตามๆ กัน ‘รถเมล์’ บริการสาธารณะที่ถูกออกแบบมาให้รับ-ส่งคนไปไหนมาไหนได้ครั้งละมากๆ จึงหนีไม่พ้นตกเป็นอีกหนึ่งวงการที่พลอยได้รับผลกระทบในช่วงที่เราต้องรักษาระยะห่างในที่สาธารณะไปด้วย ย้อนกลับไปที่การระบาดระลอก 2 เมื่อต้นปี เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้เป็นผู้โดยสารเพียง ‘หนึ่งเดียวคนนี้’ ตลอดทางที่นั่งรถเมล์ไปทำงาน ซึ่งระยะทางจากบ้านไปสถานีรถไฟฟ้าก็ไม่ใช่ใกล้ๆ ไกลกันเกือบสิบกิโลฯ จากเดิมรถเมล์ที่เคยขึ้นจะมีเพื่อนร่วมทางหลายสิบคน…จนบางวันแทบปิดประตูไม่ได้ ก็กลายเป็นเหมือนผมเช่ารถเมล์ 1 คันไปต่อรถไฟฟ้า และเป็นอย่างนั้นอยู่ 3 วันติดๆ!!! คิดขำๆ ก็ดูจะเป็นการนั่งรถเมล์ที่สบายดี…แม้บรรยากาศจะดูเหงาๆ เข้าโหมดกระทำความหว่องหน่อยๆ แต่ก็รักษาระยะห่าง (Physical Distancing) กับคนบนรถตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำไว้ว่าเราควรห่างกัน 1.8 เมตรได้จริง… ว่าแต่ ตอนรถติดไฟแดงนิ่งๆ มีใครเคยเล่นนับที่นั่งบนรถเมล์กันบ้าง? นี่คือกิจกรรมแรกๆ ที่ผมฝึกสังเกตตอนนั่งว่างๆ อยู่บนรถ เริ่มกันที่รถเมล์รุ่นที่ผมชอบที่สุดอย่าง รถปรับอากาศ […]