ไต้หวันสร้าง Hub อัจฉริยะให้นำถ่านใช้แล้วมารีไซเคิลได้แต้มซื้อของและใช้ขนส่งฟรีๆ

ทุกวันนี้คนไต้หวันใช้แบตเตอรี่เซลล์แห้ง จำพวกถ่านที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากถึง 11,000 ตัน หรือ 11,000,000 กิโลกรัมต่อปี สวนทางกับกำลังการรีไซเคิลของไต้หวันที่ทำได้แค่เพียง 4,000 ตันต่อปีเท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้นี่เองทำให้เกิดสถานีรีไซเคิลแบตเตอรี่อัจฉริยะถึง 3 แห่ง ที่เปิดแบบไม่มีวันหลับใหลตลอด 24 ชั่วโมงในเมืองซินจู๋ (Hsinchu) ทั้งในพื้นที่สาธารณะ ร้านชานมไข่มุก และมินิมาร์ต ซึ่งแต่ละ Hub รับแบตเตอรี่เซลล์แห้งไปรีไซเคิลได้ถึง 7 ขนาดด้วยกัน เช่น ถ่านหรือแบตฯ D, C, AA, AAA และ AAAA รวมถึงแบตเตอรี่ 9 โวลต์  หลิน ฉือเจียน (Lin Chih-chien) ผู้ว่าเมืองซินจู๋ตัดสินใจจับมือกับบริษัทสตาร์ทอัปรีไซเคิลชื่อ Ecoco โดยตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการสัมผัสระหว่างกันในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วย  แต่จะให้ทำโปรเจกต์เบาๆ ก็คงไม่สมชื่อซินจู๋ เมืองแห่งเทคโนโลยี ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนเลยสร้างแรงจูงใจดีๆ เพื่อให้ผู้คนนำถ่านและแบตเตอรี่มารีไซเคิลกันมากขึ้น ด้วยการให้แบตฯ แต่ละก้อนสามารถแลกแต้มได้ 2 รูปแบบ ทั้งแต้มจาก […]

‘Wayband’ GPS ระบบสั่นที่ช่วยให้คนตาบอดทั้งเดินและวิ่งได้ด้วยตัวเอง

เรื่องราวของการกีฬาอยู่ในสปอตไลต์มาหลายสัปดาห์ตั้งแต่คบเพลิงโอลิมปิกถูกจุดขึ้น ณ กรุงโตเกียว และอีกไม่นาน ‘พาราลิมปิก’ มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับที่สองของมวลมนุษยชาติจะเริ่มต้นขึ้น บรรดานักกีฬากว่า 4,000 ชีวิต จะหอบหุ้มความฝันและการฝึกฝนออกมาแสดงให้โลกเห็น  แม้จะไม่ได้เป็นพาร์ตเนอร์อย่างเป็นทางการของพาราลิมปิก และเป็นเพียง สตาร์ทอัปเล็กๆ ในนิวยอร์กแต่เราคิดว่าเรื่องราวของ WearWorks เหมาะที่จะหยิบยกมาเล่าในช่วงนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่คือสายรัดข้อมือที่ชื่อว่า Wayband เป็น GPS นำทางที่ทำงานโดยระบบสั่น แจ้งเตือนด้วยการสั่นเมื่อผู้สวมใส่ออกนอกเส้นทางหรือถึงทางเลี้ยว Simon Wheatcroft นักวิ่งผู้พิการทางสายตา บอกว่า เป็นเรื่องยากสำหรับคนตาบอดที่จะก้าวเท้าไปบนทางที่ไม่รู้จัก แต่สายรัดข้อมือเส้นนี้สามารถพาวิ่งจนจบมาราธอน หรือเดินเล่นในเมืองที่พลุกพล่านโดยไม่ต้องอาศัยคนช่วยบอกทาง แต่ใช้การนำทางโดยการสั่น ที่จะทำให้คุณไม่หลงทิศ หรือไม่เดินไปชนกับอะไรหรือใครแน่นอน ‘ก้าว’ ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด ยังไม่ต้องพูดถึงขีดความสามารถในการแข่งขันด้านกีฬา คนพิการทางสายตามีข้อจำกัดเยอะมากสำหรับการฝึกซ้อม นักกีฬาบางรายใช้ไม้เท้าในการนำทาง ใช้สุนัขในการนำทาง หรือมีบัดดี้เป็นคู่คอยผูกคู่มือวิ่งไปด้วยกัน หนึ่งในผู้พิการทางสายตาที่พิชิตมาราธอนมาแล้วบอกกับ BBC ว่า เขาเคยวิ่งคู่กับอาสาสมัครซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากแต่สิ่งที่หายไปคือความเป็นอิสระ  แม้วิธีการข้างต้นจะช่วยให้จบการแข่งขันหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมนัก ไม้เท้าที่ใช้ในการนำทางสามารถตรวจจับรอยแตกหรือพื้นที่ไม่สม่ำเสมอบนทางเท้าได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อเสียคือเป็นเครื่องมือนำทางที่ไม่เหมาะสำหรับการเปิดเส้นทางใหม่ หรือการใช้สุนัขนำทางก็มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (คนพิการทางสายตาในบางประเทศสามารถยื่นขอได้ฟรี) แม้จะมีหลายตัวช่วยที่ทำให้คนตาบอดสามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดของเครื่องมือ ความยุ่งยากหรือความไม่สบายตัวในการใช้งานจริง ทำให้ […]

‘pong’ ไม้ปิงปองลาย Terrazzo จากพลาสติก HDPE รีไซเคิล

ทุกวันนี้มีสตูดิโอเจ๋งๆ หันมาออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้กันเยอะมาก งานหนึ่งที่เรารู้สึกว่าสนุก สะดุดตา และยังไม่ค่อยเห็นใครทำคืออุปกรณ์กีฬาจากวัสดุรีไซเคิล  Préssec คือสตูดิโอออกแบบในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ผู้ออกแบบและพัฒนา ‘pong’ ไม้ตีปิงปองที่ทำจาก พลาสติก HDPE รีไซเคิลออกมาเป็นลวดลายเทอร์ราซโซ (Terrazzo) หรืองานหินขัดที่เก๋ น่าใช้ และกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ แม้จะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้กีฬาปิงปอง แต่เห็นดีไซน์แล้วก็กระตุ้นต่อมความอยากเป็นเจ้าของได้เช่นกัน โปรเจกต์นี้ Préssec เล่าว่าพวกเขาคิดขึ้นได้ในระหว่างช่วงที่ซิดนีย์ล็อกดาวน์ ด้วยความเบื่อหน่ายชีวิตในบ้านจึงฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปองในครัวกันบ่อยๆ พวกเขาพบว่าปิงปองเป็นกีฬาที่เล่นง่าย อุปกรณ์ไม่เยอะ แค่มีโต๊ะยาวและไม้ปิงปองก็เล่นตรงไหนก็ได้ และนึกสงสัยขึ้นมาว่าทำไมไม่เคยเห็นใครทำไม้ปิงปองให้มันดูสนุกขึ้นบ้าง จะเป็นอย่างไรถ้าเขาลองเอาวัสดุรีไซเคิลมาทำดู จากที่ฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปอง พวกเขาเลยเปลี่ยนมาฆ่าเวลาด้วยการทำไม้ปิงปองกันแทน  Préssec ทดลองสเก็ตช์แบบไม้ปิงปองเพื่อหาความเป็นไปได้กันทุกสัปดาห์ และพบว่าการเอาเศษพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถนำมาหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้ มีลักษณะขุ่น มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ผิวไม่มันเงา แข็ง เหนียว ไม่เปราะแตกง่าย และทนสารเคมี มาลองหลอมและขึ้นรูปใหม่แทนการใช้วัสดุที่เป็นไม้  ไม้ปิงปองเป็นวัสดุที่มีมานาน ถ้าดัดแปลงมาก็อาจจะใช้งานไม่ได้จริง Préssec จึงใช้วิธีคิดแบบใหม่กับการออกแบบวัสดุเดิม เพราะการจะเป็นไม้ปิงปองได้ไม่ใช่แค่รูปทรงถูกต้องเท่านั้น น้ำหนัก สัมผัส และการใช้งานต้องเหมาะสมด้วย […]

พี่ติวเตอร์ Learn Corporation ช่วยน้อง มอบทุน เรียนออนไลน์ฟรี 10,000 ทุน ให้นักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

น้องไม่ไหวเดี๋ยวพี่ช่วยเอง ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจผลพวงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 Learn Corporation เจ้าของโรงเรียนกวดวิชา OnDemand ผู้ใช้ระบบการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์แห่งแรกในไทย ร่วมกับพาร์ตเนอร์มอบ ‘ทุนเปลี่ยนชีวิต’ ทุนหลักสูตรการเรียนออนไลน์จาก 3 สถาบันกวดวิชา ได้แก่ OnDemand, DA’VANCE และ FAROSE และแนะแนวการศึกษาต่อจาก TCASter จำนวน 10,000 ทุน พร้อมให้ยืมอุปกรณ์การเรียนฟรีตลอดโครงการ โดยมอบแก่บุตรหลานกลุ่มอาชีพเสี่ยงสูง และนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โครงการ Life Changing Program เป็นทุนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ 2 ต้องการสนับสนุนเยาวชนไทยด้วยการกระจายเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ให้เข้าถึงเยาวชนที่ต้องการโอกาสและทุนทรัพย์อย่างเท่าเทียม และอยากเป็นอีกแรงหนึ่งในการยกระดับการศึกษาของประเทศ  ระยะเวลาการให้ และรับทุนเริ่มตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2564 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.learn.co.th/ทุนเปลี่ยนชีวิต

กิจกรรมยุคล็อกดาวน์ ชวนเฟรชชี่พระจอมเกล้าธนบุรี ทัวร์คณะ SIT จากที่บ้านด้วยเกม The Sims 4

เฟรชชี่หลายคนต้องปรับตัวมาเรียนระบบออนไลน์เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ยังไม่มีโอกาสซึมซับบรรยากาศใต้ตึกคณะ และสิ่งแวดล้อมรอบมหาวิทยาลัย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้า The Sims 4 เติมเต็มประสบการณ์ที่ขาดหายไปในยุคโควิด-19 ด้วยการพาทัวร์คณะในเกม! คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดทำ Special Session ในโครงการ IT#27 Starter Pack หรือโครงการปรับพื้นฐานความรู้น้องๆ ปี 1 ที่จัดโดยรุ่นพี่ในสาขา ภายใต้คอนเซปต์เดินทัวร์คณะผ่าน The Sims 4 ซึ่งมีจุดประสงค์อยากให้น้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นภาพห้องเรียนของตัวเองว่าเป็นอย่างไร ห้องไหนใช้เรียนวิชาอะไร และสิ่งอำนวยความสะดวกในคณะมีอะไรบ้าง เพราะอย่างที่รู้กันว่าตั้งแต่ชีวิตมีโควิด-19 เข้ามา น้องๆ ปีหนึ่ง ยังไม่มีโอกาสเข้ามาสำรวจคณะที่ตัวเองเรียนเลยสักครั้ง การพาชมด้วย The Sims 4 คือด่านแรกที่ทำให้น้องๆ ได้เห็นภาพคณะและจินตนาการถึงสภาพแวดล้อมใหม่ที่พวกเขาควรได้ไปใช้ชีวิตอยู่ได้ดีมากขึ้น  ส่วนเหตุผลที่เลือกเกม The Sims 4 ผู้จัดทำบอกว่า เพราะเป็นเกมที่ได้รับความนิยม และมีระบบอำนวยความสะดวกในการสร้างอาคาร และตึกอยู่แล้ว และเป็นเกมที่น้องๆ เฟรชชี่ทุกคนคุ้นเคย สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับน้องๆ ได้มากกว่าภาพถ่ายและที่สำคัญกระตุ้นให้ทุกคนอยากเข้าร่วมกิจกรรมได้ไม่ยาก  ป.ล. […]

การเมือง โรคระบาด ความเหลื่อมล้ำ ทำผู้คนอยู่ในภาวะ ‘ไม่กล้ามีความสุข’

นาฬิกาปลุกเสียงคุ้นดังขึ้นยามเช้า บอกสัญญาณวันใหม่ วันก่อนเพิ่งตามข่าวการชุมนุมต่อต้านเผด็จการ เห็นภาพเจ้าหน้าที่ยิงประชาชน คนถูกทำร้าย แกนนำโดนจับ ขนานไปกับสถานการณ์โควิด-19 ผู้คนล้มตายข้างถนน ยอดติดเชื้อพุ่งสูงใกล้แตะสองหมื่น เตียงยังขาด วัคซีนยังพร่อง “นี่กูต้องขับเคลื่อนด้วยการด่าไปอีกนานเท่าไหร่” ฉันพลางคิดในหัวก่อนไถฟีดบนอินสตาแกรมแล้วพบว่าไอดอลเกาหลีที่รักอัปรูปใหม่ สองมือรีบกดแชร์ลงสตอรี่ไอจี และพิมพ์ข้อความ “โดยอง ฉันรักแก ขอบคุณที่ทำให้ยิ้มได้บ้าง แม้ประเทศจะโคตร…” (หยาบนิด เติมเอาเองนะ) ถ้าเป็นก่อนหน้า การหาความสุขใส่ตัวไปพร้อมๆ ขับเคลื่อนสังคม เป็นเรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนัก เพราะกลัวคนอื่นมองว่าสถานการณ์แบบนี้ ‘ยังกล้ามีความสุขอีกเหรอ’ จนหลายครั้งเลือกเบนหน้าหนีความสุข ฉันเชื่อว่าไม่ใช่แค่ฉันที่เป็น แต่หลายคนที่กำลังอ่านอยู่ก็น่าจะเป็นเหมือนกัน แต่ที่จริง การเปล่งเสียงเรียกร้องความยุติธรรม และตระหนักถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม คือเครื่องสะท้อนความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ขณะเดียวกันการเพิ่มพลังใจให้พร้อมต่อการใช้ชีวิต ก็ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่ากัน เพราะถ้าไม่มีพลัง…จะเอาแรงที่ไหนไปสู้ล่ะ  เหมือนที่ ฝ้าย-กันตพร สวนศิลป์พงศ์, น้ำผึ้ง-กิตินัดดา อิทธิวิทย์ และ กัญ-วรกัญ รัตนพันธ์ สามนักจิตวิทยาการปรึกษาจากศูนย์ให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา MASTERPEACE ผู้มีประสบการณ์ดูแลใจคนยุคโควิด-19 และยุครัฐบาลชุดนี้บอกกับฉันไว้ว่า ‘การหาความสุขเล็กๆ ใส่ตัวไปพร้อมๆ กับการใช้เสียงของตัวเองให้เป็นประโยชน์สามารถเดินไปคู่กันได้’ เพราะสถานการณ์ในบ้านเราตอนนี้ส่งผลทำให้คนไม่กล้ามีความสุข เครียด หดหู่มากกว่าที่เคย […]

Anstalten ดีไซน์เรือนจำให้เป็นมิตร เพื่อเยียวยาผู้ต้องขังกลับสู่สังคม

Schmidt Hammer Lassen (SHL) ออกแบบ ‘Anstalten’ เรือนจำที่มีความปลอดภัยสูงสุดในเกาะกรีนแลนด์ให้เหมือนหมู่บ้านขนาดย่อมที่รองรับนักโทษได้ 76 คน

‘Stand Beside You’ สติกเกอร์ไลน์ที่ส่งต่อกำลังใจให้คนรอบข้าง และสนับสนุนงานด้านสิทธิมนุษยชน

ท่ามกลางความยากลำบากในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนใครหลายคนรู้สึกท้อแท้และ หมดกำลังใจ ช่วงเวลานี้อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคนในการเอ่ยปากบอกความรู้สึกในใจให้คนรอบข้างได้รับรู้  เราอยากชวนมาส่งต่อกำลังใจให้คนรอบข้างผ่านสติกเกอร์ไลน์ชุด ‘Stand Beside You’ โปรเจกต์พิเศษจาก Amnesty ประเทศไทย ที่จะส่งเสียงพูดความในใจ พร้อมทั้งทำให้คุณส่งกำลังใจให้คนรอบข้างได้ง่ายขึ้น  และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของ Amnesty อีกด้วย โดยรายได้จากการจำหน่ายสติกเกอร์ไลน์ทั้งหมด จะนำไปสนับสนุนการทำงานเพื่อปกป้องและส่งเสริมเสรีภาพของเด็กไทยในโครงการ “Child in Mob ในม็อบมีเด็ก” โดยจะนำไปซื้ออุปกรณ์ระบุตัวตนของเด็กในพื้นที่ชุมนุมได้ เช่น สายรัดข้อมือที่ไม่เพียงช่วยระบุและยืนยันตัวตนสำหรับเด็กแต่ยังช่วยเป็นจุดสังเกตของผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมการชุมนุม เช่น สื่อมวลชนต้องระวังการถ่ายภาพและลงรูปของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือแม้แต่ช่วยระแวดระวังการถูกล่วงละเมิดทางเพศและร่างกายกับเด็กในพื้นที่การชุมนุม รวมทั้งผลิตและจัดส่งคู่มือปฏิบัติการเด็กนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นคู่มือการทำงานสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำงานกับเด็กและเยาวชนที่จะแจกจ่ายไปทั่วประเทศ ดาวน์โหลดสติกเกอร์ไลน์ได้ที่นี่ : Store line

‘ร้านชำใกล้ฉัน’ แคมเปญช่วยร้านชำใกล้ตัวในกรุงเทพฯ ในช่วงวิกฤติ

เมื่อรัฐมีมาตรการล็อกดาวน์ อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคือร้านชำเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วเมือง ร้านชำเหล่านี้เคยเป็นที่พึ่งของคนเมืองและชุมชน โดยปกติแล้วเรามักจะซื้อของจากร้านชำใกล้บ้าน หรือใกล้ที่ทำงานกันบ่อยๆ แต่เมื่อออกจากบ้านไม่ได้ ก็ทำให้โอกาสที่เราจะได้ช่วยอุดหนุนร้านชำน้อยลง  ร้านชำใกล้ฉัน (Local Shop Near Me) เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสนับสนุนร้านค้ารายย่อยในชุมชน เกิดการกระจายรายได้โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโรคระบาดและเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ และชวนผู้คนให้เปลี่ยนการซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ ให้เป็นร้านชำรายเล็กที่อยู่ทั่วเมืองมากขึ้น เพราะร้านเหล่านี้มักจะไม่มีตัวตนบนออนไลน์ ไม่ได้เข้าร่วมแอปฯ ต่างๆ และได้รับผลกระทบเช่นกันในช่วงวิกฤติ ขณะนี้ทีมร้านชำใกล้ฉันกำลังอยู่ในกระบวนการรวบรวมข้อมูลร้านชำรายย่อยในเขตกรุงเทพฯ จึงอยากขอแรงเจ้าของร้านและเพื่อนๆ ที่อยากสนับสนุนร้านชำได้ช่วยกันแจ้งพิกัดร้านและให้ข้อมูลเกี่ยวกับร้าน หากคุณรู้จักหรือมีข้อมูลร้านชำใกล้บ้าน ร้านโชห่วยในชุมชน สามารถแบ่งปันข้อมูลกับทีมงานร้านชำใกล้ฉัน ได้ที่ https://forms.gle/EvUWEwwB6aBpydPt5 หลังจากรวบรวมข้อมูลแล้วร้านชำใกล้ฉัน จะนำข้อมูลร้านค้าที่ได้รับการแบ่งปันจากทุกคนไปสร้างแผนที่ฉบับง่าย และนำข้อมูลทุกร้านไปโปรโมตเผยแพร่ผ่านทุกช่องทางที่มี เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค และเพิ่มโอกาสการขายให้แก่ร้านรายย่อยมากขึ้น  Source : Facebook | ร้านชำใกล้ฉัน (Local Shop Near Me)

บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์

คนตัดต่อหรือนักลำดับภาพ อาชีพนักเล่าเรื่องแห่งวงการภาพยนตร์ อาชีพที่เปรียบเสมือนเชฟปรุงอาหาร ผู้ผสมผสานวัตถุดิบที่เรียกว่า Footage นับสิบนับร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดประมาณ 2 ชั่วโมงรสชาติกลมกล่อมให้ผู้ชมได้เสพกัน และความสำคัญของอาชีพนี้อยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าคุณจะมีวัตถุดิบชั้นยอดสักแค่ไหน จะถ่ายภาพออกมาสวยตระการตา หรือการแสดงเทพดุจ แอนโทนี่ ฮอปกินส์ หากขาดนักปรุงชั้นยอดที่เรียกว่านักตัดต่อ (Editor) ภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่มีทางจะอร่อยลงตัวได้  เพื่อพาไปรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นเราจึงอยากชวนไปพูดคุยกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อรุ่นใหม่ ผู้ฝากผลงานให้วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง Take Me Home : สุขสันต์วันกลับบ้าน หนังผีที่ได้เข้าชิงชมรมวิจารณ์บันเทิงสาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม และเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จากผลงานเรื่อง Where We Belong ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีความสามารถและประสบการณ์ของการเป็นนักตัดต่อมืออาชีพของเขาได้เป็นอย่างดี เราชวนเขามาพูดคุยถึงชีวิตการทำงาน และเส้นทางการเติบโตเป็นนักตัดต่อฝีมือดีคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย  01 เด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักภาพยนตร์ ตั้งแต่หนังสองเรื่องแรกที่ดูกับพ่อ ย้อนกลับไปในวัยเด็กจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพนักตัดต่อของโจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การนั่งดูภาพยนตร์สองเรื่องกับพ่อในสมัยที่ภาพยนตร์ยังเป็นม้วนวิดีโอ โดยหนัง 2 เรื่องในความทรงจำของเขาคือเรื่อง Star Wars: Episode IV – A New Hope และ […]

แทบจะไม่ต้องลงจากรถแล้ว รัฐอินเดียนาทดสอบถนนชาร์จไฟฟ้า ชาร์จไฟฟ้าอัตโนมัติขณะขับขี่ซะเลย

ยุคนี้รถยนต์ไฟฟ้าไม่ต้องการจุดชาร์จ แต่เติมพลังงานได้แม้ขณะอยู่บนท้องถนนแล้ว เพราะ Magment บริษัทพลังงานทางเลือกสัญชาติเยอรมันได้ร่วมมือกับรัฐอินเดียนาและ Purdue University ทดสอบถนนที่จะชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติขณะขับขี่ ผ่านอุปกรณ์พิเศษที่ฝังอยู่ใต้พื้นผิวของถนนที่มีส่วนผสมของอนุภาคแม่เหล็กและคอนกรีต ถนนสายนี้สร้างเป็นระยะทางสั้นๆ ใกล้กับ Purdue University เชื่อว่าสามารถส่งไฟฟ้าจากพื้นผิวเข้าไปสู่รถยนต์ได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ และหากการทดสอบในครั้งนี้สำเร็จ จะมีการสร้างถนนขึ้นอีกสายภายในกรมขนส่งรัฐอินเดียนา โดยเพิ่มระยะทางเป็น 400 เมตร และยกระดับจากการทดสอบด้วยรถกระบะเป็นรถบรรทุก ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนมากกว่าเดิมว่าจะเพียงพอต่อการใช้งานจริงหรือไม่ ก้าวต่อไป รัฐอินเดียนามองถึงการขยายถนนชาร์จไฟอัตโนมัติบนทางหลวง Joe McGuiness กรรมาธิการกรมการขนส่งรัฐอินเดียนา เผยว่า ในขณะที่คนใช้ยานพาหนะไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จที่สะดวกสบายและเชื่อถือได้ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย  อย่างไรก็ตาม ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่ว่าจะทำได้อย่างไร แต่จะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมหรือชีวิตประจำวันได้อย่างไร โดยวิศวกรของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์คาดการณ์เอาไว้ว่า เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ห่างไกลจากการใช้งานจริงไปอย่างน้อย 5 – 10 ปี  Sources : Futurism | https://futurism.com/the-byte/indiana-test-roads-charge-electric-vehiclesTech Xplore | https://techxplore.com/news/2021-07-indiana-magment-magnetized-concrete-electric.html

Flowing Through The Wreckage of Despair

ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์นํ้าท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีของประเทศไทย ปี 2554
ถ่ายทอดบรรยากาศของกรุงเทพฯ และพื้นที่ข้างเคียง

1 226 227 228 229 230 372

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.