
LATEST
#MeToo จากแฮชแท็กติดเทรนด์ สู่การพัฒนาแอปฯ ช่วยเหลือ คนทุกเพศที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน
#MeToo เป็นแฮชแท็กส่งเสียงการไม่ยอมจำนนของผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในโลกออนไลน์ว่า “คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ฉันก็ตกเป็นเหยื่อ และพวกเราจะสู้ไปพร้อมๆ กัน” แม้หลายปีมานี้ หลายประเทศจะเริ่มตระหนักถึงประเด็นดังกล่าว แต่ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศก็ยังไม่หมดไป Neta Meidav ผู้ก่อตั้ง Vault บริษัทเทคโนโลยีที่สนับสนุนการปฏิวัติวัฒนธรรมในองค์กรให้น่าอยู่มากขึ้น และ Ariel Weindling นักกฎหมายในแคลิฟอร์เนีย จึงสร้างสองแอปพลิเคชันของตัวเองที่ช่วยรายงาน และช่วยเหลือ ‘ทุกเพศ’ ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในบริษัท Vault เป็นแอปพลิเคชันในประเทศอังกฤษ สำหรับให้พนักงานในบริษัท Vault ร้องทุกข์เมื่อเพื่อนร่วมงานคนใดคนหนึ่งล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งหากเหยื่อต้องการปกปิดตัวตน ก็สามารถส่งเอกสารหรือหลักฐานให้กับฝ่ายบริหารของบริษัทผ่านแอปฯ โดย Meidav ได้แรงบันดาลใจในการสร้างแอปฯ จากประสบการณ์การถูกล่วงละเมิดในวัย 20 ของเธอ NotMe เป็นแอปพลิเคชันแรกในแคลิฟอร์เนียที่สามารถรายงานความประพฤติของพนักงาน ซึ่งใช้ได้ในทุกๆ บริษัท ไม่ว่าจะส่งอีเมล วิดีโอ หรือข้อความ ก็สามารถอัปโหลดผ่านแพลตฟอร์มแบบเรียลไทม์ โดยข้อมูลจะแจ้งไปยังบริษัททันที ซึ่ง Weindling ยืนยันอีกว่า แอปฯ ของเขาการันตีเรื่องความปลอดภัย เมื่อส่งเรื่องร้องเรียนแล้วจะไม่มีใครตามตัวคุณได้แน่นอน การใช้แอปพลิเคชันเฝ้าระวังการถูกล่วงละเมิดทางเพศในองค์กร เป็นเพียงหนึ่งหมุดหมายที่ตอกย้ำความเชื่อมั่น และความปลอดภัยให้กับพนักงานในบริษัทมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่จะทำให้ปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศหมดไปจริงๆ คือจิตสำนึกความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนควรมี […]
ฉลองครบรอบ 9 ปี ‘เซ็นทรัล อุบล’ เนรมิตพื้นที่เป็น ‘Landmark of Happiness’ โดย Ease Around วันนี้ – 30 ก.ย. 65
ฉลองครบรอบ 9 ปี ‘เซ็นทรัล อุบล’ เนรมิตพื้นที่เป็น ‘Landmark of Happiness’ โดย Ease Around วันนี้ – 30 ก.ย. 65 เวลาช่างผ่านไปรวดเร็ว รู้ตัวอีกที หนึ่งในสถานที่แฮงเอาต์ยอดฮิตของชาวอุบลฯ และจังหวัดใกล้เคียงอย่าง ‘เซ็นทรัล อุบล’ ก็ฉลองครบรอบ 9 ปีแล้ว โดยครั้งนี้ทางศูนย์การค้าได้จัดแคมเปญ ‘Let’s Celebrate 9th Anniversary Central Ubon’ อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการเนรมิตสถานที่ให้เป็น ‘Landmark of Happiness’ เพื่อเปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้สนุกไปกับทุกโมเมนต์ของการใช้ชีวิต ด้วยความตั้งใจที่อยากให้ศูนย์การค้าเป็นแลนด์มาร์กแห่งความสุข สนุก สดใส และมีชีวิตชีวา ‘เซ็นทรัล อุบล’ จึงได้คอลแลบกับศิลปินชื่อดังเจ้าของลายเส้นน่ารักสบายตาอย่าง ‘Ease Around’ ครีเอตคาแรกเตอร์แสนน่ารักที่จะมาโลดแล่นและบอกเล่าเรื่องดีๆ ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ผ่าน Mini Art […]
Bangkok Lockdown, August 2021
“คิดถึงกันมั้ย” ถ้ากรุงเทพฯ พูดได้ ในนาทีที่ทั้งเมืองทั้งคนถูกล็อกดาวน์อย่างไม่รู้จุดสิ้นสุด คงถามเราประมาณนี้ ส่วนเรา ก็อยากบอกกรุงเทพฯ เหมือนกันว่า “คิดถึงนะ” ในขณะที่ทุกคนกำลังคร่ำเคร่งหาทางออกจากวังวนวิกฤต สถานที่ในความทรงจำคนหลากช่วงวัยกำลังเข้าสู่จุดสงบนิ่งหรือกำลังถูกพิษเศรษฐกิจค่อยๆ กลืนหายไป Urban Creature จึงอยากพาคนกรุงไปทบทวนความทรงจำ ยังสถานที่ที่เป็นจุดเชื่อมต่อความรู้สึกใครหลายๆ คน ว่าตอนนี้มันเป็นยังไงบ้าง จากสถานที่สร้างประสบการณ์บางอย่างของเรา กลับเหลือเพียงเศษฝุ่นเกรอะ การรื้อถอนทิ้งร้าง ความเงียบงัน ภาพเหล่านี้ทำให้ความทรงจำที่มีอยู่ในที่นั้นเลือนลางลงบ้างมั้ย
‘hi toilet’ ห้องส้วมอัจฉริยะที่สั่งการด้วยเสียง เพื่อสุขอนามัย ไม่ว่าจะทำธุระหนัก-เบาแค่ไหนก็ปลอดภัย!
‘hi toilet’ ห้องส้วมอัจฉริยะที่สั่งการด้วยเสียง เพื่อสุขอนามัย ไม่ว่าจะทำธุระหนัก-เบาแค่ไหนก็ปลอดภัย!
เรื่องเล่าของโลกที่ย้อมด้วยเฉดสีที่คนอื่นบอกว่าผิดเพี้ยนของคนตาพร่องสี
เราต่างรู้ว่าบนโลกใบนี้มีสีนับล้านสี และการมองเห็นสีก็ล้วนมีความสำคัญกับมนุษย์ในหลายๆ มิติ ตั้งแต่พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กผ่านสีสันรอบตัว การแยกแยะอาหารสุก ไม่สุก หรือมีพิษด้วยสีสัน การเดินทางในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานที่ทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับสีสันทั้งสิ้น มีงานวิจัยกล่าวว่า เมื่อเราเดินผ่านคนจำนวน 100 คน จะมีถึง 16 คน ที่มีความบกพร่องทางด้านการมองเห็นสีแตกต่างจากคนทั่วไป หรือเป็นอาการ Color Vision Deficiency (CVD) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าอาการพร่องสี แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนช่างสังเกตสักแค่ไหน ก็ไม่มีทางรู้เลยว่ามีใครบ้างที่ผิดปกติ เพราะอาการดังกล่าวไม่สามารถระบุได้จากรูปลักษณ์ภายนอกได้เลยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ รวมถึงชายหนุ่มร่างเล็กสวมเสื้อสีแดงสด เจ้าของเพจ Rights for Color Blind People – กลุ่มเพื่อสิทธิคนตาบอดสี ชายที่เราอยากคุยกับเขาในฐานะ คนตาพร่องสีผู้ขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิให้คนตาพร่องสีทั่วประเทศไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากว่า 10 ปี “ตอนเด็กๆ ผมได้แต่ฟังคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนตาพร่องสีแต่เราก็ไม่ได้สนใจอะไร เราไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าอาการนี้คืออะไร เราก็ใช้ชีวิตอยู่กับมัน ในความคิดของเราสีทุกอย่างก็เป็นปกติ ผมมารู้ว่าตัวเองมีอาการตาพร่องสีตอนที่ไปสอบตำรวจ ในตอนนั้นผมสอบผ่านข้อเขียนด้วยความยากลำบาก แต่ก็ต้องมาสอบตกด้วยเหตุผลเพราะผมไม่สามารถแยกตัวเลขบนแผ่นทดสอบชุดนี้ที่ให้คุณทำได้” นอกจากความสับสนที่เกิดขึ้น กรที่พึ่งรู้ว่าตัวเองตาบอดสีในวัย 35 ปี ทำให้กรตระหนักได้ว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ประสบปัญหาเหมือนกับเขา ที่ไม่สามารถทำตามความฝันเพียงเพราะมองเห็นสีไม่เหมือนคนปกติทั่วไป […]
เพราะหนังสือคือการเมือง การแปลจึงเป็นการเคลื่อนไหว : คุยกับแรงงานอักษรจาก Soi Squad
เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความย้อนแย้ง ในขณะที่การตื่นตัวทางการเมืองเบ่งบาน วงการหนังสือคึกคักไปด้วยผู้คนที่สงสัยใคร่อ่านงานเขียน #เบิกเนตร ส่งให้บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง และหนังสือแปลแนววิชาการที่เคยเงียบเหงา กลายเป็นหนังสือขายดีที่พบได้ในมือวัยรุ่นหรือคนทำงานทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่าในระนาบเวลาเดียวกัน กลับมีข่าวตำรวจบุกเข้าไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อยึดหนังสือที่อ้างว่า ‘มีเนื้อหาผิดกฎหมาย’ (เล่มเดียวกับที่ขายดีนั่นแหละ) และมีหนังสือหลายเล่มถูกห้ามเผยแพร่แจกจ่ายในราชอาณาจักร ย้อนแย้งจริงไหมเล่า หากประชาชนขวนขวายที่จะอ่าน รัฐบาลจะสั่งห้ามไปทำไม หน่วยงานที่มีอำนาจมากมายจะกลัวอะไรกับแค่หนังสือ ‘หนังสือ การแปล และถ้อยคำสัมพันธ์ สำคัญอย่างไรกันแน่กับการเมือง?’ เราทดคำถามนี้ไว้ในใจ “ทีมซอยมองเห็นร่วมกันว่าการแปลและการตีพิมพ์เป็นการขับเคลื่อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง การนำความคิดหรือตัวบทในภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษามันได้พาเราข้ามผ่านพื้นที่ทางการเมืองในหลายมิติ” เป็นประโยคนี้ของเจน-จุฑา สุวรรณมงคล บรรณาธิการบริหารของซอย ที่ทำให้เรามั่นใจว่านี่แหละกลุ่มคนที่จะตอบคำถามให้เราได้! เราจึงรีบจดประโยคจากงานเสวนา บทจTalk ของสำนักพิมพ์บทจร แล้วอีเมลไปขอคุยกับทีมซอยทันที โชคดีของเราที่คำตอบของพวกเขาคือตกลง เรารู้จัก ‘ซอย | soi’ หรือ soi squad ครั้งแรกผ่านหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) ผลงานเล่มบางๆ ที่พาคนอ่านไปครุ่นคิดเรื่องบรรทัดฐานทางเพศให้ลึกซึ้งผ่านเรื่องเล่าของผู้คนหลากหลาย ผลงานของ สำนักพิมพ์ซอย สำนักพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือแปลในประเด็นแสบๆ คันๆ ที่เป็นวาระสำคัญของยุคสมัย อย่างความหลากหลายทางเพศ […]
อวสานชิแม็ก เมื่อโซลห้ามกินไก่กับเบียร์ที่ริมน้ำฮัน
ใครที่เคยดูซีรีส์ หนัง หรือไปเยี่ยมเยียนประเทศเกาหลีใต้บ่อยๆ น่าจะคุ้นเคยกับ วัฒนธรรมการกิน Chimaek (치맥) กันดี ชิแม็กคือการตัดคำสองคำมาชนกัน คำแรกหมายถึงไก่ ส่วนคำหลังหมายถึงเบียร์ เข้าใจง่ายๆ ก็คือการกินไก่ทอดเกาหลีที่มีให้เลือกหลากหลายรสชาติแกล้มกับเบียร์เย็นๆ ถ้าเคยได้ลิ้มลองกัน ก็จะรู้ว่าเป็นส่วนผสมที่อร่อยเด็ด ตัดเลี่ยนกันได้อย่างลงตัว นอกจากจะนิยมกินกันในร้าน บาร์ หรือบ้าน สถานที่ฮอตฮิตอีกหนึ่งแห่งในโซลก็คือสวนสาธารณะริมแม่น้ำฮัน ลองจินตนาการดูสิว่าถ้าได้จิบเบียร์แกล้มไก่ทอดรสโปรด นั่งคุยชิลๆ กับเพื่อนๆ และชมวิวในพื้นที่สาธารณะที่มีทั้งต้นไม้ แม่น้ำ และคนหนุ่มสาวมากมายมันฟินซะขนาดไหน ดังนั้น เลยไม่น่าแปลกใจหรอกว่าทำไมคนเกาหลีถึงเลือกเมนูชิแม็กเวลาไปปิกนิกนอกบ้าน แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าคิดว่าจะไปเที่ยวโซลคราวหน้า แล้วมีแพลนจะทำอะไรแบบนี้ ก็คงต้องพับแผนไปทำอย่างอื่นแทน เพราะล่าสุดรัฐบาลกรุงโซลเริ่มสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์เกี่ยวกับการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะเมื่อช่วงกลางๆ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขช่วงปลายเดือน สำหรับการแก้ไขกฎเหล่านี้ รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดและห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนพื้นที่สาธารณะของเมือง ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะ รถไฟใต้ดิน ป้ายรถบัส หรือสถานศึกษา และสถานพยาบาล เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไร้ระเบียบและทำลายสุขภาพของประชาชน ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษด้วยการปรับเงินสูงถึง 100,000 วอน (เกือบ 2,800 บาทไทยในตอนนี้) ภาครัฐเกิดความกังวลอย่างสูง เพราะประชาชนในเมืองนิยมชักชวนกันไปดื่มในพื้นที่สวนจำนวนมาก นั่นอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ทั้งบาร์และร้านอาหารปิดเร็วขึ้นกว่าเดิม […]
บริจาคพลาสติกให้ Qualy Design รีไซเคิลเป็นของแต่งบ้าน
ยิ่งอยู่บ้าน Work from Home กันนานๆ พลาสติกเริ่มจะล้นบ้านไม่มีที่ทิ้ง ไม่ว่าจะกล่องพลาสติกจากอาหาร ขวดน้ำ หรือขยะพลาสติกอื่นๆ ที่มาจากการบริโภคของเรา ขยะเหล่านี้มักจะถูกนำกลับมารีไซเคิลน้อยมาก ส่งให้ซาเล้งขายต่อก็ไม่ค่อยมีใครอยากจะรับ สุดท้ายจึงลงเอยที่เตาเผาหรือหลุมฝังกลบ ทั้งที่จริงๆ แล้วพลาสติกเหล่านี้ควรมีชีวิตใหม่ที่ดีกว่านี้ จะทิ้งก็เสียดาย จะขายก็ยาก Qualy Design แบรนด์ไทยที่ผลิตสินค้ารีไซเคิลจากขยะพลาสติกเป็นของน่าใช้ ดีไซน์เก๋ และส่งออกกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จึงขอรับบริจาคพลาสติกเหลือใช้ที่ทำความสะอาดแล้วจากทุกบ้าน เพื่อนำมารีไซเคิลผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดีในโครงการ Qualy Circular (QC) และให้ส่วนลดในการซื้อสินค้าเป็นการตอบแทน รับรองว่าพลาสติกจากบ้านคุณจะแปลงโฉมเป็นของใช้ หรือของแต่งบ้านชิ้นใหม่ที่น่าใช้มากกว่าเดิม พลาสติกที่นำมาบริจาคทุกๆ 1 กก. สามารถใช้เป็นส่วนลด 20 บาท ต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เฉพาะการซื้อสินค้าที่ Qualy Design Space ประเภทพลาสติกที่รับ ได้แก่ PETE / HDPE / LDPE / PP / […]
Sonic Bloom งานศิลปะที่ชวนคนลอนดอนมาเจอหน้ากันในสวน และสื่อสารกันห่างๆ ผ่านดอกไม้ยักษ์
หลังจากที่หลายประเทศล็อกดาวน์ และประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อหลีกหนีเชื้อไวรัสโควิด-19 ‘ลอนดอน’ เมืองหลวงที่เคยคึกคักและเต็มไปด้วยสีสันในประเทศอังกฤษ ก็ไม่ต่างจากหลายเมืองทั่วโลกที่ถนนว่างเปล่าและเงียบสงัดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หนึ่งปีที่เสียไป ทำให้คนในเมืองขาดการติดต่อสื่อสารกันแบบ Face to Face ไม่ว่าจะเพื่อน คนรัก ครอบครัว หรือปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม แต่วันนี้อังกฤษกลับมาทวงเสียงของผู้คนในลอนดอนให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งด้วย ‘Sonic Bloom’ ท่อสื่อสารทรงช่อดอกไม้ที่ชวนคนในเมืองมาสื่อสารกันแบบ Social Distancing กลางสวนสาธารณะ Brown Hart Gardens ในย่าน Mayfair ทำให้คนอังกฤษได้กลับมาเจอหน้า แต่คุยโต้ตอบกันผ่านท่อส่งเสียงสีสันน่ารักคนละฟากฝั่ง เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม Sonic Bloom เป็นผลงานของศิลปินและนักออกแบบเสียงชาวญี่ปุ่น Yuri Suzuki ที่ดูแลจัดการโดย Alter-Projects หน่วยงานภัณฑารักษ์ที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มากกว่า 20 ปี โดย Suzuki ดีไซน์ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นท่อพูดดอกไม้หลากหลายท่อกระจายอยู่รอบด้าน ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถส่งผ่านเสียงจากการพูดคุยระหว่างคู่สนทนาเท่านั้น ยังรวมถึงการดูดซับเสียง Ambient จากสภาพแวดล้อม เช่น เสียงนกร้อง เสียงใบไม้ และเสียงคนที่อยู่ในระดับถนนที่เดินผ่านไปมา ซึ่งเสียงเหล่านั้นจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านลำตัวของท่อที่ทำงานคล้ายแตร ใครแวะเวียนผ่านมาไม่ว่าจะอยู่บริเวณไหน ก็จะได้ยินเสียงสภาพแวดล้อมจากฝั่งซ้าย ฝั่งขวา […]
พลังงานสะอาดคืออนาคต นอร์เวย์พัฒนาฟาร์มกังหันลอยน้ำ ผลิตไฟฟ้าให้บ้าน 80,000 หลัง
โครงเหล็กสีขาวที่มีความสูงถึง 300 เมตรเทียบเท่ากับหอไอเฟล และเต็มไปด้วยกังหันลมขนาดเล็กนี้ถูกเรียกว่า ‘Windcatcher’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องกำเนิดพลังงานลมนอกชายฝั่งแบบลอยน้ำได้ และสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่ากังหันลมลอยน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก แต่ประหยัดพลังงานมากกว่ากันครึ่งหนึ่ง แม้จะมีใบพัดขนาดเล็กแต่ก็ทดแทนมาด้วยปริมาณที่มากขึ้น สิ่งที่ทำให้แตกต่างจากกังหันลมทั่วไปที่มีฐานยึดในบริเวณน้ำตื้นคือ สามารถกักเก็บพลังงานได้มากขึ้นจากกระแสลมที่แรงกว่าในบริเวณน้ำลึกหรือทะเลเปิด และใบพัดที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดทั่วไปถึง 10 เท่า จะรับลมได้ดีกว่าและสร้างพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าตามไปด้วย Windcatcher ประกอบด้วยกังหันลมขนาดเล็ก 117 ตัว และหมุนได้อย่างอิสระไปตามทิศทางลม การวางกังหันขนาดเล็กไว้ใกล้กันทำให้พลังงานที่เกิดขึ้นช่วยพัดกังหันในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการสร้างพลังงานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งกังหันลมลอยน้ำเพียงเครื่องเดียวสามารถสร้างพลังงานสะอาดได้เพียงพอต่อการใช้งานของบ้าน 80,000 หลัง และลดพื้นที่การใช้งานมากกว่ากังหันทั่วไป 80 เปอร์เซ็นต์ ในภูมิประเทศที่เหมาะสม Windcatcher สามารถผลิตพลังงานได้มากถึง 400 กิกะวัตต์/ชั่วโมง ซึ่งกังหันลอยน้ำที่ใหญ่และทรงพลังมากที่สุดในท้องตลาดสามารถทำได้เพียง 80 กิกะวัตต์/ชั่วโมงเท่านั้น “เราสามารถผลิตไฟฟ้าในราคาต่อกิโลวัตต์ใกล้เคียงกับที่เทคโนโลยีลอยน้ำแบบอื่นคาดว่าจะทำได้ในอีกสิบปีข้างหน้า” Ole Heggheim ซีอีโอของ Wind Catching System บริษัทพลังงานทางเลือกของนอร์เวย์เจ้าของไอเดีย Windcatcher บอกว่าเป้าหมายสำคัญคือการผลิตไฟฟ้าในราคาที่สามารถแข่งขันกับแหล่งพลังงานประเภทอื่นให้ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินอุดหนุนจากรัฐบาล อย่างไรก็ตามกังหันลมลอยน้ำยังถือเป็นการผลิตไฟฟ้าราคาสูงเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานทางเลือกอื่น สาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและค่าบำรุงรักษาโรเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ แต่ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีในท้องตลาดเข้ากับแนวคิดของ Wind Catching System พวกเขาหวังว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำกว่ากังหันลมลอยน้ำทั่วไป ประกอบกับอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับผู้บริโภคลดลงในที่สุด
Hospital Playlist ซีรีส์หมอที่ทำให้คนเกาหลีใต้ บริจาคอวัยวะเพิ่มขึ้น 11 เท่า
ซีรีส์เกาหลีทำให้โลกเห็นว่าสื่อมีบทบาทมากกว่าแค่ความบันเทิงและสินค้าทางวัฒนธรรมที่ส่งออกสู่สายตาชาวโลก ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน วิถีชีวิต เมือง สถานที่ท่องเที่ยว ที่ปรากฏในสื่อ สิ่งเหล่านี้ล้วนกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ได้ทั้งสิ้น รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดการตั้งคำถามในสังคม ปรากฏการณ์ล่าสุดของซีรีส์ Hospital Playlist ผลงานกำกับของ Won-ho Shin ในช่อง tvN ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้น เพราะหลังจากการมาของซีรีส์ดังกล่าวทำให้ยอดผู้บริจาคอวัยวะในเกาหลีใต้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นกว่า 11 เท่าตัว เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน Hospital Playlist ซีรีส์ดราม่าน้ำดีที่บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มแพทย์ 5 คน ที่เป็นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยเรียนและได้ทำงานที่โรงพยาบาลเดียวกัน นอกจากความสนุก เรื่องราวประทับใจ และคราบน้ำตาที่มอบให้กับผู้ชมตลอดทั้งเรื่อง ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงความยากลำบากของผู้ป่วยที่ต้องเผชิญโรคร้ายในแต่ละวัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รอรับการบริจาคอวัยวะ ซึ่งหลายคนต้องรอคอยอย่างไร้ความหวังเพราะมีผู้บริจาคน้อยและหาอวัยวะที่เหมาะสมได้ยาก พลังของซีรีส์เรื่องนี้ได้ทำให้สังคมเกาหลีใต้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมีข้อมูลจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานว่า ในช่วงที่ผ่านมาอัตราผู้บริจาคอวัยวะของเกาหลีมียอดที่คงตัวมาโดยตลอด และมีตัวเลขลดลง หลังจากสถานการณ์ COVID-19 จนกระทั่งหลังจากตอนที่ 7 ของซีรีส์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของการบริจาคอวัยวะของผู้ป่วยสมองตาย เพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยคนอื่นๆ ได้เผยแพร่ออกไป ผลคือมีผู้ลงชื่อบริจาคอวัยวะสูงถึง 7,042 คน ภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งสูงขึ้น 11 เท่า […]
The Rattanakosin Henge ธีสิสที่อยากเห็นกรุงเทพฯ โรแมนติกด้วยวิวพระอาทิตย์ตก
ช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน คือความสวยงามทางธรรมชาติที่ผู้คนทั้งโลกสามารถเข้าใจและซาบซึ้งไปพร้อมๆ กัน โดยไม่มีกำแพงของภาษาหรือต้องการคำอธิบายอะไรเพิ่มเติม เราจึงได้เห็นฉากในหนังรักโรแมนติกหลายเรื่องที่พระเอกนางเอกเดินทอดน่องคุยกันได้นานๆ ไปเดตกันในสวน และมองวิวพระอาทิตย์ตกด้วยกันในที่สาธารณะ เป็นโมเมนต์โรแมนติกที่แสนจะธรรมดา แต่กลับเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ยากมากในกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ไม่โรแมนติก และผังเมืองไม่ได้ออกแบบมาสอดรับกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ไม่มีพื้นที่สาธารณะที่ใช้เป็นจุดพักผ่อนหรือเป็นจุดชมวิว เราจึงไม่มีโอกาสได้นั่งชิลๆ ชมวิวพระอาทิตย์ตกแบบเต็มตาสักครั้งในพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้ มายด์-มาธวี ติลกเรืองชัย บัณฑิตจากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งคนที่ตั้งคำถามกับความโรแมนติกของกรุงเทพฯ เชื่อว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนา และมีพื้นที่ดีๆ ที่สามารถปรับปรุงพื้นที่สาธารณะให้รองรับวิวพระอาทิตย์ตก เธอจึงนำคำถามที่ตัวเองอยากรู้มาทำธีสิส ‘The Rattanakosin Henge โครงการรักษาวิวพระอาทิตย์ตกดิน’ (โครงการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อมุมมองอัสดงสาธารณะ) และพาไปดูว่า ถ้าเราเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้โรแมนติกมากกว่านี้ได้ จะออกมาหน้าตาอย่างไรบ้าง วิวพระอาทิตย์ตกไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากผังเมืองที่คิดมาแล้ว ในช่วงแรกที่เริ่มหาหัวข้อทำธีสิส มายด์พยายามมองหาเรื่องที่เป็นตัวเองและอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เธอสนใจเรื่องสุนทรียศาสตร์ของเมือง จึงพยายามจะตีโจทย์เรื่อง ‘Romantic City’ แต่ยิ่งรีเสิร์ชยิ่งพบว่าคำกว้างไป และอธิบายยาก จึงสโคปประเด็นลงมา และพบว่าความโรแมนติกคือการได้ดื่มด่ำกับช่วงเวลาดีๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง จึงสรุปออกมาได้ว่า ความโรแมนติกของเธอคือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตก จากโจทย์เรื่องความโรแมนติกของเมืองและช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกดิน ทำให้มายด์ได้พบว่าทั้งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกันโดยตรงและมีให้พบอยู่ทั่วโลก โดยปรากฏการณ์นี้เรียกว่า […]