
LATEST
เรื่องเล่าของโลกที่ย้อมด้วยเฉดสีที่คนอื่นบอกว่าผิดเพี้ยนของคนตาพร่องสี
เราต่างรู้ว่าบนโลกใบนี้มีสีนับล้านสี และการมองเห็นสีก็ล้วนมีความสำคัญกับมนุษย์ในหลายๆ มิติ ตั้งแต่พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กผ่านสีสันรอบตัว การแยกแยะอาหารสุก ไม่สุก หรือมีพิษด้วยสีสัน การเดินทางในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานที่ทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับสีสันทั้งสิ้น มีงานวิจัยกล่าวว่า เมื่อเราเดินผ่านคนจำนวน 100 คน จะมีถึง 16 คน ที่มีความบกพร่องทางด้านการมองเห็นสีแตกต่างจากคนทั่วไป หรือเป็นอาการ Color Vision Deficiency (CVD) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าอาการพร่องสี แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนช่างสังเกตสักแค่ไหน ก็ไม่มีทางรู้เลยว่ามีใครบ้างที่ผิดปกติ เพราะอาการดังกล่าวไม่สามารถระบุได้จากรูปลักษณ์ภายนอกได้เลยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ รวมถึงชายหนุ่มร่างเล็กสวมเสื้อสีแดงสด เจ้าของเพจ Rights for Color Blind People – กลุ่มเพื่อสิทธิคนตาบอดสี ชายที่เราอยากคุยกับเขาในฐานะ คนตาพร่องสีผู้ขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิให้คนตาพร่องสีทั่วประเทศไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากว่า 10 ปี “ตอนเด็กๆ ผมได้แต่ฟังคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนตาพร่องสีแต่เราก็ไม่ได้สนใจอะไร เราไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าอาการนี้คืออะไร เราก็ใช้ชีวิตอยู่กับมัน ในความคิดของเราสีทุกอย่างก็เป็นปกติ ผมมารู้ว่าตัวเองมีอาการตาพร่องสีตอนที่ไปสอบตำรวจ ในตอนนั้นผมสอบผ่านข้อเขียนด้วยความยากลำบาก แต่ก็ต้องมาสอบตกด้วยเหตุผลเพราะผมไม่สามารถแยกตัวเลขบนแผ่นทดสอบชุดนี้ที่ให้คุณทำได้” นอกจากความสับสนที่เกิดขึ้น กรที่พึ่งรู้ว่าตัวเองตาบอดสีในวัย 35 ปี ทำให้กรตระหนักได้ว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ประสบปัญหาเหมือนกับเขา ที่ไม่สามารถทำตามความฝันเพียงเพราะมองเห็นสีไม่เหมือนคนปกติทั่วไป […]
เพราะหนังสือคือการเมือง การแปลจึงเป็นการเคลื่อนไหว : คุยกับแรงงานอักษรจาก Soi Squad
เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความย้อนแย้ง ในขณะที่การตื่นตัวทางการเมืองเบ่งบาน วงการหนังสือคึกคักไปด้วยผู้คนที่สงสัยใคร่อ่านงานเขียน #เบิกเนตร ส่งให้บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง และหนังสือแปลแนววิชาการที่เคยเงียบเหงา กลายเป็นหนังสือขายดีที่พบได้ในมือวัยรุ่นหรือคนทำงานทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่าในระนาบเวลาเดียวกัน กลับมีข่าวตำรวจบุกเข้าไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อยึดหนังสือที่อ้างว่า ‘มีเนื้อหาผิดกฎหมาย’ (เล่มเดียวกับที่ขายดีนั่นแหละ) และมีหนังสือหลายเล่มถูกห้ามเผยแพร่แจกจ่ายในราชอาณาจักร ย้อนแย้งจริงไหมเล่า หากประชาชนขวนขวายที่จะอ่าน รัฐบาลจะสั่งห้ามไปทำไม หน่วยงานที่มีอำนาจมากมายจะกลัวอะไรกับแค่หนังสือ ‘หนังสือ การแปล และถ้อยคำสัมพันธ์ สำคัญอย่างไรกันแน่กับการเมือง?’ เราทดคำถามนี้ไว้ในใจ “ทีมซอยมองเห็นร่วมกันว่าการแปลและการตีพิมพ์เป็นการขับเคลื่อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง การนำความคิดหรือตัวบทในภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษามันได้พาเราข้ามผ่านพื้นที่ทางการเมืองในหลายมิติ” เป็นประโยคนี้ของเจน-จุฑา สุวรรณมงคล บรรณาธิการบริหารของซอย ที่ทำให้เรามั่นใจว่านี่แหละกลุ่มคนที่จะตอบคำถามให้เราได้! เราจึงรีบจดประโยคจากงานเสวนา บทจTalk ของสำนักพิมพ์บทจร แล้วอีเมลไปขอคุยกับทีมซอยทันที โชคดีของเราที่คำตอบของพวกเขาคือตกลง เรารู้จัก ‘ซอย | soi’ หรือ soi squad ครั้งแรกผ่านหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) ผลงานเล่มบางๆ ที่พาคนอ่านไปครุ่นคิดเรื่องบรรทัดฐานทางเพศให้ลึกซึ้งผ่านเรื่องเล่าของผู้คนหลากหลาย ผลงานของ สำนักพิมพ์ซอย สำนักพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือแปลในประเด็นแสบๆ คันๆ ที่เป็นวาระสำคัญของยุคสมัย อย่างความหลากหลายทางเพศ […]
อวสานชิแม็ก เมื่อโซลห้ามกินไก่กับเบียร์ที่ริมน้ำฮัน
ใครที่เคยดูซีรีส์ หนัง หรือไปเยี่ยมเยียนประเทศเกาหลีใต้บ่อยๆ น่าจะคุ้นเคยกับ วัฒนธรรมการกิน Chimaek (치맥) กันดี ชิแม็กคือการตัดคำสองคำมาชนกัน คำแรกหมายถึงไก่ ส่วนคำหลังหมายถึงเบียร์ เข้าใจง่ายๆ ก็คือการกินไก่ทอดเกาหลีที่มีให้เลือกหลากหลายรสชาติแกล้มกับเบียร์เย็นๆ ถ้าเคยได้ลิ้มลองกัน ก็จะรู้ว่าเป็นส่วนผสมที่อร่อยเด็ด ตัดเลี่ยนกันได้อย่างลงตัว นอกจากจะนิยมกินกันในร้าน บาร์ หรือบ้าน สถานที่ฮอตฮิตอีกหนึ่งแห่งในโซลก็คือสวนสาธารณะริมแม่น้ำฮัน ลองจินตนาการดูสิว่าถ้าได้จิบเบียร์แกล้มไก่ทอดรสโปรด นั่งคุยชิลๆ กับเพื่อนๆ และชมวิวในพื้นที่สาธารณะที่มีทั้งต้นไม้ แม่น้ำ และคนหนุ่มสาวมากมายมันฟินซะขนาดไหน ดังนั้น เลยไม่น่าแปลกใจหรอกว่าทำไมคนเกาหลีถึงเลือกเมนูชิแม็กเวลาไปปิกนิกนอกบ้าน แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าคิดว่าจะไปเที่ยวโซลคราวหน้า แล้วมีแพลนจะทำอะไรแบบนี้ ก็คงต้องพับแผนไปทำอย่างอื่นแทน เพราะล่าสุดรัฐบาลกรุงโซลเริ่มสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์เกี่ยวกับการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะเมื่อช่วงกลางๆ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขช่วงปลายเดือน สำหรับการแก้ไขกฎเหล่านี้ รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดและห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนพื้นที่สาธารณะของเมือง ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะ รถไฟใต้ดิน ป้ายรถบัส หรือสถานศึกษา และสถานพยาบาล เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไร้ระเบียบและทำลายสุขภาพของประชาชน ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษด้วยการปรับเงินสูงถึง 100,000 วอน (เกือบ 2,800 บาทไทยในตอนนี้) ภาครัฐเกิดความกังวลอย่างสูง เพราะประชาชนในเมืองนิยมชักชวนกันไปดื่มในพื้นที่สวนจำนวนมาก นั่นอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ทั้งบาร์และร้านอาหารปิดเร็วขึ้นกว่าเดิม […]
บริจาคพลาสติกให้ Qualy Design รีไซเคิลเป็นของแต่งบ้าน
ยิ่งอยู่บ้าน Work from Home กันนานๆ พลาสติกเริ่มจะล้นบ้านไม่มีที่ทิ้ง ไม่ว่าจะกล่องพลาสติกจากอาหาร ขวดน้ำ หรือขยะพลาสติกอื่นๆ ที่มาจากการบริโภคของเรา ขยะเหล่านี้มักจะถูกนำกลับมารีไซเคิลน้อยมาก ส่งให้ซาเล้งขายต่อก็ไม่ค่อยมีใครอยากจะรับ สุดท้ายจึงลงเอยที่เตาเผาหรือหลุมฝังกลบ ทั้งที่จริงๆ แล้วพลาสติกเหล่านี้ควรมีชีวิตใหม่ที่ดีกว่านี้ จะทิ้งก็เสียดาย จะขายก็ยาก Qualy Design แบรนด์ไทยที่ผลิตสินค้ารีไซเคิลจากขยะพลาสติกเป็นของน่าใช้ ดีไซน์เก๋ และส่งออกกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จึงขอรับบริจาคพลาสติกเหลือใช้ที่ทำความสะอาดแล้วจากทุกบ้าน เพื่อนำมารีไซเคิลผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดีในโครงการ Qualy Circular (QC) และให้ส่วนลดในการซื้อสินค้าเป็นการตอบแทน รับรองว่าพลาสติกจากบ้านคุณจะแปลงโฉมเป็นของใช้ หรือของแต่งบ้านชิ้นใหม่ที่น่าใช้มากกว่าเดิม พลาสติกที่นำมาบริจาคทุกๆ 1 กก. สามารถใช้เป็นส่วนลด 20 บาท ต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เฉพาะการซื้อสินค้าที่ Qualy Design Space ประเภทพลาสติกที่รับ ได้แก่ PETE / HDPE / LDPE / PP / […]
Sonic Bloom งานศิลปะที่ชวนคนลอนดอนมาเจอหน้ากันในสวน และสื่อสารกันห่างๆ ผ่านดอกไม้ยักษ์
หลังจากที่หลายประเทศล็อกดาวน์ และประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อหลีกหนีเชื้อไวรัสโควิด-19 ‘ลอนดอน’ เมืองหลวงที่เคยคึกคักและเต็มไปด้วยสีสันในประเทศอังกฤษ ก็ไม่ต่างจากหลายเมืองทั่วโลกที่ถนนว่างเปล่าและเงียบสงัดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หนึ่งปีที่เสียไป ทำให้คนในเมืองขาดการติดต่อสื่อสารกันแบบ Face to Face ไม่ว่าจะเพื่อน คนรัก ครอบครัว หรือปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม แต่วันนี้อังกฤษกลับมาทวงเสียงของผู้คนในลอนดอนให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งด้วย ‘Sonic Bloom’ ท่อสื่อสารทรงช่อดอกไม้ที่ชวนคนในเมืองมาสื่อสารกันแบบ Social Distancing กลางสวนสาธารณะ Brown Hart Gardens ในย่าน Mayfair ทำให้คนอังกฤษได้กลับมาเจอหน้า แต่คุยโต้ตอบกันผ่านท่อส่งเสียงสีสันน่ารักคนละฟากฝั่ง เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม Sonic Bloom เป็นผลงานของศิลปินและนักออกแบบเสียงชาวญี่ปุ่น Yuri Suzuki ที่ดูแลจัดการโดย Alter-Projects หน่วยงานภัณฑารักษ์ที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มากกว่า 20 ปี โดย Suzuki ดีไซน์ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นท่อพูดดอกไม้หลากหลายท่อกระจายอยู่รอบด้าน ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถส่งผ่านเสียงจากการพูดคุยระหว่างคู่สนทนาเท่านั้น ยังรวมถึงการดูดซับเสียง Ambient จากสภาพแวดล้อม เช่น เสียงนกร้อง เสียงใบไม้ และเสียงคนที่อยู่ในระดับถนนที่เดินผ่านไปมา ซึ่งเสียงเหล่านั้นจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านลำตัวของท่อที่ทำงานคล้ายแตร ใครแวะเวียนผ่านมาไม่ว่าจะอยู่บริเวณไหน ก็จะได้ยินเสียงสภาพแวดล้อมจากฝั่งซ้าย ฝั่งขวา […]
พลังงานสะอาดคืออนาคต นอร์เวย์พัฒนาฟาร์มกังหันลอยน้ำ ผลิตไฟฟ้าให้บ้าน 80,000 หลัง
โครงเหล็กสีขาวที่มีความสูงถึง 300 เมตรเทียบเท่ากับหอไอเฟล และเต็มไปด้วยกังหันลมขนาดเล็กนี้ถูกเรียกว่า ‘Windcatcher’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องกำเนิดพลังงานลมนอกชายฝั่งแบบลอยน้ำได้ และสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่ากังหันลมลอยน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก แต่ประหยัดพลังงานมากกว่ากันครึ่งหนึ่ง แม้จะมีใบพัดขนาดเล็กแต่ก็ทดแทนมาด้วยปริมาณที่มากขึ้น สิ่งที่ทำให้แตกต่างจากกังหันลมทั่วไปที่มีฐานยึดในบริเวณน้ำตื้นคือ สามารถกักเก็บพลังงานได้มากขึ้นจากกระแสลมที่แรงกว่าในบริเวณน้ำลึกหรือทะเลเปิด และใบพัดที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดทั่วไปถึง 10 เท่า จะรับลมได้ดีกว่าและสร้างพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าตามไปด้วย Windcatcher ประกอบด้วยกังหันลมขนาดเล็ก 117 ตัว และหมุนได้อย่างอิสระไปตามทิศทางลม การวางกังหันขนาดเล็กไว้ใกล้กันทำให้พลังงานที่เกิดขึ้นช่วยพัดกังหันในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการสร้างพลังงานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งกังหันลมลอยน้ำเพียงเครื่องเดียวสามารถสร้างพลังงานสะอาดได้เพียงพอต่อการใช้งานของบ้าน 80,000 หลัง และลดพื้นที่การใช้งานมากกว่ากังหันทั่วไป 80 เปอร์เซ็นต์ ในภูมิประเทศที่เหมาะสม Windcatcher สามารถผลิตพลังงานได้มากถึง 400 กิกะวัตต์/ชั่วโมง ซึ่งกังหันลอยน้ำที่ใหญ่และทรงพลังมากที่สุดในท้องตลาดสามารถทำได้เพียง 80 กิกะวัตต์/ชั่วโมงเท่านั้น “เราสามารถผลิตไฟฟ้าในราคาต่อกิโลวัตต์ใกล้เคียงกับที่เทคโนโลยีลอยน้ำแบบอื่นคาดว่าจะทำได้ในอีกสิบปีข้างหน้า” Ole Heggheim ซีอีโอของ Wind Catching System บริษัทพลังงานทางเลือกของนอร์เวย์เจ้าของไอเดีย Windcatcher บอกว่าเป้าหมายสำคัญคือการผลิตไฟฟ้าในราคาที่สามารถแข่งขันกับแหล่งพลังงานประเภทอื่นให้ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินอุดหนุนจากรัฐบาล อย่างไรก็ตามกังหันลมลอยน้ำยังถือเป็นการผลิตไฟฟ้าราคาสูงเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานทางเลือกอื่น สาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและค่าบำรุงรักษาโรเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ แต่ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีในท้องตลาดเข้ากับแนวคิดของ Wind Catching System พวกเขาหวังว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำกว่ากังหันลมลอยน้ำทั่วไป ประกอบกับอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับผู้บริโภคลดลงในที่สุด
Hospital Playlist ซีรีส์หมอที่ทำให้คนเกาหลีใต้ บริจาคอวัยวะเพิ่มขึ้น 11 เท่า
ซีรีส์เกาหลีทำให้โลกเห็นว่าสื่อมีบทบาทมากกว่าแค่ความบันเทิงและสินค้าทางวัฒนธรรมที่ส่งออกสู่สายตาชาวโลก ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน วิถีชีวิต เมือง สถานที่ท่องเที่ยว ที่ปรากฏในสื่อ สิ่งเหล่านี้ล้วนกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ได้ทั้งสิ้น รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดการตั้งคำถามในสังคม ปรากฏการณ์ล่าสุดของซีรีส์ Hospital Playlist ผลงานกำกับของ Won-ho Shin ในช่อง tvN ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้น เพราะหลังจากการมาของซีรีส์ดังกล่าวทำให้ยอดผู้บริจาคอวัยวะในเกาหลีใต้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นกว่า 11 เท่าตัว เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน Hospital Playlist ซีรีส์ดราม่าน้ำดีที่บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มแพทย์ 5 คน ที่เป็นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยเรียนและได้ทำงานที่โรงพยาบาลเดียวกัน นอกจากความสนุก เรื่องราวประทับใจ และคราบน้ำตาที่มอบให้กับผู้ชมตลอดทั้งเรื่อง ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงความยากลำบากของผู้ป่วยที่ต้องเผชิญโรคร้ายในแต่ละวัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รอรับการบริจาคอวัยวะ ซึ่งหลายคนต้องรอคอยอย่างไร้ความหวังเพราะมีผู้บริจาคน้อยและหาอวัยวะที่เหมาะสมได้ยาก พลังของซีรีส์เรื่องนี้ได้ทำให้สังคมเกาหลีใต้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมีข้อมูลจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานว่า ในช่วงที่ผ่านมาอัตราผู้บริจาคอวัยวะของเกาหลีมียอดที่คงตัวมาโดยตลอด และมีตัวเลขลดลง หลังจากสถานการณ์ COVID-19 จนกระทั่งหลังจากตอนที่ 7 ของซีรีส์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของการบริจาคอวัยวะของผู้ป่วยสมองตาย เพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยคนอื่นๆ ได้เผยแพร่ออกไป ผลคือมีผู้ลงชื่อบริจาคอวัยวะสูงถึง 7,042 คน ภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งสูงขึ้น 11 เท่า […]
The Rattanakosin Henge ธีสิสที่อยากเห็นกรุงเทพฯ โรแมนติกด้วยวิวพระอาทิตย์ตก
ช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน คือความสวยงามทางธรรมชาติที่ผู้คนทั้งโลกสามารถเข้าใจและซาบซึ้งไปพร้อมๆ กัน โดยไม่มีกำแพงของภาษาหรือต้องการคำอธิบายอะไรเพิ่มเติม เราจึงได้เห็นฉากในหนังรักโรแมนติกหลายเรื่องที่พระเอกนางเอกเดินทอดน่องคุยกันได้นานๆ ไปเดตกันในสวน และมองวิวพระอาทิตย์ตกด้วยกันในที่สาธารณะ เป็นโมเมนต์โรแมนติกที่แสนจะธรรมดา แต่กลับเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ยากมากในกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ไม่โรแมนติก และผังเมืองไม่ได้ออกแบบมาสอดรับกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ไม่มีพื้นที่สาธารณะที่ใช้เป็นจุดพักผ่อนหรือเป็นจุดชมวิว เราจึงไม่มีโอกาสได้นั่งชิลๆ ชมวิวพระอาทิตย์ตกแบบเต็มตาสักครั้งในพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้ มายด์-มาธวี ติลกเรืองชัย บัณฑิตจากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งคนที่ตั้งคำถามกับความโรแมนติกของกรุงเทพฯ เชื่อว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนา และมีพื้นที่ดีๆ ที่สามารถปรับปรุงพื้นที่สาธารณะให้รองรับวิวพระอาทิตย์ตก เธอจึงนำคำถามที่ตัวเองอยากรู้มาทำธีสิส ‘The Rattanakosin Henge โครงการรักษาวิวพระอาทิตย์ตกดิน’ (โครงการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อมุมมองอัสดงสาธารณะ) และพาไปดูว่า ถ้าเราเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้โรแมนติกมากกว่านี้ได้ จะออกมาหน้าตาอย่างไรบ้าง วิวพระอาทิตย์ตกไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากผังเมืองที่คิดมาแล้ว ในช่วงแรกที่เริ่มหาหัวข้อทำธีสิส มายด์พยายามมองหาเรื่องที่เป็นตัวเองและอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เธอสนใจเรื่องสุนทรียศาสตร์ของเมือง จึงพยายามจะตีโจทย์เรื่อง ‘Romantic City’ แต่ยิ่งรีเสิร์ชยิ่งพบว่าคำกว้างไป และอธิบายยาก จึงสโคปประเด็นลงมา และพบว่าความโรแมนติกคือการได้ดื่มด่ำกับช่วงเวลาดีๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง จึงสรุปออกมาได้ว่า ความโรแมนติกของเธอคือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตก จากโจทย์เรื่องความโรแมนติกของเมืองและช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกดิน ทำให้มายด์ได้พบว่าทั้งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกันโดยตรงและมีให้พบอยู่ทั่วโลก โดยปรากฏการณ์นี้เรียกว่า […]
Mindground โลกจำลองใบใหม่ ที่ให้คุณทิ้งเรื่องไม่สบายใจไว้ข้างหลัง และสะสมพลังใจไว้ใช้ในวันข้างหน้า
ถ้าวันนี้คุณรู้สึกเหนื่อยกับการใช้ชีวิต เบื่อสภาพแวดล้อมเดิมๆ ที่ต้องเจอทุกวัน เครียดกับงานกองโตที่ทำเท่าไรก็ไม่หมด หรือเริ่มรู้สึกว่าโลกใบนี้มันใจร้ายกับคุณมากเกินไป ลองให้โลกใบใหม่ดึงคุณออกมาจากเรื่องราวแย่ๆ เหล่านี้กันเถอะ Mindground โลกจำลองที่พร้อมจะเป็นพื้นที่ให้คุณพักกาย พักใจ และสำรวจอารมณ์ความรู้สึกภายในจิตใจของตัวเอง ว่าตอนนี้คุณกำลังรู้สึกอะไรอยู่ มีความสุข เครียด เหงา เบื่อ กดดัน หรือทุกข์ใจ เพียงแค่ระบายมันออกมา โลกใบนี้ก็พร้อมจะโยนเจ้าก้อนความรู้สึกไม่สบายใจเหล่านั้นทิ้งไปนอกใจของคุณ และดีดมันออกไปไกลสุดขอบจักรวาล ให้คุณได้หันกลับมารักตัวเองอีกครั้งหนึ่ง เพียงเข้าสู่โลกจำลองใบนี้ผ่านทางแอปพลิเคชัน Line แล้วเลือกระบายเรื่องราวของคุณลงในกล่อง ‘ทิ้งเรื่องไม่สบายใจ’ บอกเล่าความรู้สึกภายใน 500 ตัวอักษร แล้วปล่อยมันทิ้งไป ก่อนจะเลือก ‘ให้กำลังใจตัวเอง’ เพื่อเยียวยาจิตใจให้ผ่านเรื่องเหล่านี้ไปให้ได้ เมื่อเรื่องแย่ๆ ถูกทิ้งไปแล้ว ก็อย่าลืมเติมกำลังใจให้ตัวเองลงในกล่อง ‘สะสมกำลังใจ’ ด้วยล่ะ สะสมกำลังใจดีๆ เอาไว้ในโลกเล็กๆ ใบนี้ เผื่อวันไหนมีเรื่องไม่สบายใจอีกจะได้ยืมกำลังใจนั้นมาใช้ได้ เพราะคุณยังมีตัวเองที่จะเป็นกำลังใจให้อยู่เสมอ และคงไม่มีใครรักและเข้าใจคุณได้มากเท่ากับตัวคุณเองอีกแล้ว มาเข้าสู่โลกของ Mindground พร้อมกันได้ที่ https://lin.ee/FELpDbH
ล็อกแบบไหน ทำไมยังดาวน์กันอยู่
ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ถอดหน้ากาก และเริ่มใช้ชีวิตตามปกติ พอมองย้อนกลับมาที่ไทย ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังไม่ทรงตัว ทั้งๆ ที่มีมาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ท็อปอัปด้วย ‘เคอร์ฟิว’ ‘หมอไผ่’ นพ.ไผท สิงห์คำ นายแพทย์ระบาดวิทยาภาคสนาม กรมควบคุมโรค ได้บอกเราว่า “ปัจจัยที่โควิดไม่หยุดทันที เพราะยังมีแรงส่ง ทั้งคนที่ติดมาก่อนล็อกดาวน์และอาการเพิ่งออกหลังล็อกดาวน์…” ‘ล็อกดาวน์’ นั้นไม่มีสูตรสำเร็จ ทุกประเทศล้วนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับ บริบทพื้นที่ตัวเอง ประเทศไทยเองก็เช่นกัน Urban Creature จึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันว่า ‘ล็อกดาวน์’ คืออะไร ใช่อันเดียวกับ ‘เคอร์ฟิว’ มั้ย และจุดหมายปลายทางของมันคืออะไรกันแน่ ‘เพราะจำนวนคนติดเชื้อและคนตายไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่คือชีวิตและคนในครอบครัวของใครสักคน’ เราจึงชวนมาตั้งคำถาม มากกว่าจะแสดงความยินดีต่อจำนวนตัวเลขที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน #UrbanCreature #NowYouKnow #ReinventTheWayWeLive #covid #covid19 #Thailand
Violet Valley ร้านหนังสือที่โอบกอดหัวใจ LGBTQ+
ไม่ว่าใครจะถูกกีดกันความหลากหลายทางเพศจากที่ไหน แต่ถ้ามาที่ Violet Valley ร้านหนังสือทางเลือกสุดน่ารัก คุณจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเป็นของแถมทันที ก็จริงอยู่ ร้านหนังสือมีอยู่หลายแห่งบนโลกใบนี้ แต่สำหรับ Jaime Harker นั้น Violet Valley คือร้านหนังสือที่เธอตั้งใจเปิดขึ้นมาเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับกลุ่มเฟมินิสต์ ร้านหนังสือขนาดเล็กแห่งนี้ตั้งอยู่ใน Water Valley รัฐมิสซิสซิปปี ชุมชนเล็กๆ ซึ่งมีประชากรเพียง 3,323 คน ช่วงปี 2017 Harker เป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาที่ University of Mississippi เธอนิยามตัวเองเป็นเลสเบี้ยน และเพิ่งเขียนงานเรื่อง The Lesbian South เสร็จสมบูรณ์ ตอนนั้น Harker เห็นว่ามีผู้หญิงหลายคนเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ Women In Print ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 70 โดยเฉพาะกลุ่มเลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล และกลุ่มเพศหลากหลาย ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการตีพิมพ์ผลงาน ดังนั้นคอมมูนิตี้สตรีนิยมจึงก่อตั้งสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือแม้แต่จัดการกระบวนการพิมพ์เอง เพื่อให้แน่ใจว่าคนอย่าง Dorothy Allison นักเขียนเลสเบี้ยน, […]
สายเขียวขับเคลื่อนประเทศ แอฟริกาใต้เตรียมลงทุนกัญชา สร้างงาน 25,000 ตำแหน่ง
กัญชาก้าวขึ้นมาเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของหลายประเทศ เมื่อวันพุธที่ผ่านมารัฐบาลแอฟริกาใต้เปิดแผนแม่บทสำหรับอุตสาหกรรมกัญชามูลค่า 1,900 ล้านดอลลาร์ ที่คาดว่าจะสร้างงานได้มากกว่า 25,000 ตำแหน่ง และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มหาศาล หลังจากใช้เวลา 2 ปีในการศึกษาอย่างถี่ถ้วน กรมวิชาการเกษตร และกรมพัฒนาชนบทและปฏิรูปที่ดินของแอฟริกาใต้ ประกาศยุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม และช่องทางการค้าขายของกัญชา ซึ่งเอกสารฉบับนี้รวบรวมบทเรียนจากผู้ผลิตกัญชารายใหญ่ของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก และจีน เมื่อกัญชากำลังจะแก้ปัญหาปากท้อง รัฐบาลแอฟริกาใต้เผยว่าการก่อตั้งอุตสาหกรรมกัญชาจะนำไปสู่ความหลากหลายและเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงานและแก้ปัญหาความยากจน แต่ความท้าทายในเรื่องนี้คือการพยายามทำให้อุตสาหกรรมกัญชาในประเทศไม่ถูกครอบครองโดยบริษัทใหญ่ กลุ่มร้านขายยา ซึ่งเป็นผู้ที่มีเงินลงทุนแน่นหนาเพียงอย่างเดียว แผนดังกล่าวส่งเสริมทั้งการปลูกกัญชงและกัญชา โดยอนุญาตให้ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารและยารวมไปถึงการพักผ่อนหย่อนใจ โดยพยายามเพิ่มความหลากหลายของกัญชาที่ผลิตสำหรับตลาดในประเทศและตลาดส่งออกภายใต้การกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ