5 มนุษย์เงินเดือนจากซีรีส์อาหารญี่ปุ่นที่ถึงงานชุมแต่ไม่เคยปล่อยให้ท้องหิว!

คำว่า ‘กองทัพต้องเดินด้วยท้อง’ คงไม่ใช่เรื่องเกินจริงสักเท่าไหร่ เพราะเวลาเคร่งเครียด เหนื่อยล้า หรือคิดงานไม่ออก ขอแค่พักเติมพลังด้วยข้าวแสนอร่อยสักมื้อ มันจะช่วยเยียวยาความเครียดให้หายเป็นปลิดทิ้ง! เช่นเดียวกับมนุษย์เงินเดือนทั้ง 5 คน จาก 5 ซีรีส์อาหารญี่ปุ่นที่ต้องเจอกับปัญหาในการทำงานทุกๆ วัน แต่ยังมีอาหารรสเลิศมาชาร์จเอเนอร์จีให้พร้อมกลับมาลุยงานอีกครั้ง แถมยังฝากปรัชญาอันเฉียบคมผ่านเมนูอาหารในแต่ละจานอีกด้วย แล้วข้อคิดในซีรีส์จะช่วยสร้างกำลังใจได้มากแค่ไหน หรือวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นจะระเบิดต่อมความหิวของคนดูได้อย่างไรในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ เรามาชาร์จแบตฯ ไปพร้อมกับซาลารีแมนทั้งห้ากัน! *คำเตือน : อย่าอ่านคอนเทนต์นี้ตอนกลางคืน เพราะท้องคุณจะร้องจ๊อก จ๊อกแบบไม่รู้ตัว! 01 | The Road to Red Restaurants List – มนุษย์เงินเดือนตระเวนชิมภารกิจชิมอาหารใกล้สูญพันธุ์ นอกจากเงินเดือนออกคงไม่มีอะไรทำให้พนักงานออฟฟิศแฮปปี้ไปกว่า ‘TGIF’ วันแห่งการเริ่มต้นสู่การพักผ่อนอย่างแท้ทรู! บางคนเลือกออกไปแฮงเอาต์ ช้อปปิง หรือนอนดูซีรีส์ยาวๆ แต่สำหรับ ‘ซูดะ’ เขาใช้วันศุกร์หลังเลิกงานขับรถไปค้างคืนตามเมืองต่างๆ ในญี่ปุ่น และหาร้านอาหารที่ใกล้สูญพันธุ์ พร้อมกฎเหล็กทั้งหมด 3 ข้อ  ข้อที่หนึ่ง เดินทางหลังเลิกงานวันศุกร์และกลับก่อนภรรยากับลูกสาวของเขากลับบ้านตอนเย็นวันเสาร์ข้อที่สอง ไม่ชวนใคร หรือให้ใครมายุ่งเกี่ยวในทริปข้อที่สาม ค่าทางด่วน […]

เดนมาร์กสร้างศูนย์วิจัยภูมิอากาศที่ทั้งเท่และเป็นมิตรต่อโลก

สตูดิโอสถาปัตยกรรม Dorte Mandrup เจ้าของคำนิยามตัวเองว่า ‘Specializes in Irreplaceable Places.’ เพิ่งจะเปิดตัวชุดภาพถ่ายอันน่าทึ่งเซตแรกของอาคาร Ilulissat Icefjord Centre ศูนย์วิจัยสภาพภูมิอากาศ และแหล่งเยี่ยมชมแนวชายฝั่งอันขรุขระของกรีนแลนด์ในประเทศเดนมาร์กไปหมาดๆ Ilulissat Icefjord ตั้งอยู่ห่างจากอาร์กติกเซอร์เคิล (บริเวณพื้นที่วงกลมที่อยู่ในละติจูดสูง ครอบคลุมบริเวณโซนขั้วโลกเหนือ) ไปทางตอนเหนือ 250 กิโลเมตร อาคารแห่งนี้เป็นศูนย์กลางด้านการค้นคว้าวิจัย การศึกษา และจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจผลกระทบด้านความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภูมิภาค โปรเจกต์ใหญ่เบิ้มนี้มีการลงทุนโดยรัฐบาลระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยได้รับแรงสนับสนุนร่วมจากมูลนิธิ Realdania ประเทศเดนมาร์ก ‘Dorte Mandrup’ สถาปนิกหญิงชาวเดนมาร์ก เจ้าของสตูดิโอสถาปัตยกรรมผู้รับหน้าที่ด้านการออกแบบ ตั้งใจดีไซน์โครงสร้างอาคารให้เป็นรูปสามเหลี่ยมรูปทรงบิดโค้ง (Twisted) ที่มีจุดชมทิวทัศน์อยู่บนบริเวณชั้นดาดฟ้า หัวใจสำคัญของการออกแบบสร้างอาคารแห่งนี้ คือการทำให้ตึกดูโปร่งโล่งและมีน้ำหนักเบา เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รู้สึกถึงความเชื่อมโยงไปกับสภาพภูมิทัศน์โดยรอบอย่างกลมกลืน Mandrup เผยว่าศูนย์ Icefjord เปรียบเสมือนสถานที่สำหรับหลบภัยที่ตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศอันน่ามหัศจรรย์ และถูกสร้างสรรค์ด้วยความตั้งใจให้เป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติ ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกับความสวยงามของภูมิทัศน์อันกว้างไกลและดูไร้ขอบเขตของแถบอาร์กติก ทั้งยังได้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างความมืดมิดและแสงสว่าง เป็นอีกหนึ่งจุดหมายที่ทำให้เห็นปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืน และได้ดูแสงเหนือเต้นรำระยิบระยับบนท้องฟ้า และเพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่ด้านการตรวจสอบและดูแลสภาพภูมิอากาศของอาคาร โปรเจกต์นี้จึงยึดการออกแบบที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ด้วยการลดการใช้คอนกรีตโดยไม่จำเป็น เพราะผู้คนต่างรับรู้กันดีว่ามันเป็นวัสดุสำหรับการก่อสร้างที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์ (ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ) จำนวนมาก  […]

FYI

“สกาลา ต้องเป็น Public Space ไม่ใช่ห้างฯ” เนติวิทย์ ชวน Save ลมหายใจของสกาลา

คนไทยโบกมือลา ‘สกาลา’ โรงหนังสแตนด์อะโลนอายุ 52 ปี แห่งเดียวที่หลงเหลือในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 1 ปีเต็ม เนื่องจากผู้บริหารทนสู้ต่อไปไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นคือการขาดรายได้ช่วงโควิด-19 เพราะรัฐบาลสั่งปิดพื้นที่แบบไร้ซึ่งมาตรการเยียวยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมหนังไทยทั้งองคาพยพต้องสั่นคลอน ซ้ำร้ายยังบงการประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าการ์ดตก ในขณะที่ผู้คนและผู้ประกอบการพยายามกุมลมหายใจเฮือกสุดท้ายของตัวเองไม่ให้ถูกพรากไป เก่งแต่สั่งห้าม แต่ไม่ยอมส่งต่อความเจริญให้ประชาชนทุกคนสักที แม้สกาลาปิดม่านลงอย่างถาวร แน่นอน ความทรงจำของผู้คนที่ตบเท้าเข้ามาซื้อตั๋วหนัง หรือเดินผ่านต่างจดจำได้ว่าอาคารนี้มีเสน่ห์ล้นเหลือ และเป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่อยู่คู่สยามมายาวนาน Philip Jablon เจ้าของเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project ผู้ออกเดินทางตามล่าความทรงจำเกี่ยวกับโรงหนังสแตนด์อะโลนทั่วภูมิภาค ยังยกย่องให้สกาลาเป็นโรงหนังที่งดงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าวันนี้สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าสไตล์ Art Deco และพื้นที่ความทรงจำแห่งนี้กำลังจะสูญหายไปตลอดกาล ‘สกาลา’ อาจจะจากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ หากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่หยุดโครงการรื้อ ทุบ และพัฒนาอาคารแห่งนี้โดยปราศจากการให้คนในสังคมมีส่วนร่วมตัดสินใจ สกาลาอาจกลายเป็นห้างฯ แห่งใหม่ ที่มีอยู่รอบจุฬาฯ จำนวนมาก ในขณะที่ประเทศแทบจะไม่มีพื้นที่สาธารณะรองรับชีวิตประชาชน อืม…แล้วจะหยุดสร้างห้างฯ ได้หรือยัง? หรือเห็นว่าประชาชนมีพื้นที่สาธารณะเพียงพอแล้ว คุยกับ เนติวิทย์ […]

ข่าวดีสำหรับคนกลัวเข็ม นักวิทย์วิจัยวัคซีนกินได้จากพืชสู้โรคระบาด ต้นทุนต่ำ และขนส่งง่ายกว่า mRNA

ข่าวดีสำหรับคนกลัวเข็ม เมื่อนักวิทยาศาสตร์กำลังวิจัยผลิตวัคซีนจากพืช ที่ใช้วิธีการกินแทนการฉีดเข้าร่างกาย ซึ่งคาดว่าจะเปลี่ยนโฉมหน้าการต่อสู้กับเชื้อโรคไปโดยสิ้นเชิง เพราะราคาถูกกว่าและผลิตได้ง่ายกว่าวัคซีนแบบดั้งเดิม ที่สำคัญคือ ไม่ต้องถกแขนเสื้อ เบือนหน้า แล้วหลับตาปี๋อีกต่อไป  การผลิตวัคซีนกินได้จากพืชใช้วิธีในการทำฟาร์มระดับโมเลกุล ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเป็นวัคซีนทางเลือกที่ถูกกว่าวัคซีนเชื้อตายหรือ mRNA เพราะพืชต้องการเพียงที่ดิน น้ำ และแสงอาทิตย์ เข้าถึงทุกคนได้ง่ายกว่า mRNA เพราะสามารถขนส่งได้ในอุณหภูมิห้อง และจากการทดลองทางคลินิกพบว่าใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์ในการผลิต  อย่างไรก็ตาม วัคซีนจากพืชไม่ใช่แนวคิดใหม่เพราะ FDA เคยรับรองวัคซีนจากพืชสำหรับโรค Gaucher ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมที่หาได้ยากในมนุษย์มาแล้ว เพียงแต่วัคซีนชนิดนี้ต้องฉีดผ่านเข็มฉีดยาเหมือนวัคซีนทั่วไป ซึ่งการทำให้แอนติเจนบริสุทธิ์จนสามารถฉีดเข้าร่างกายได้ยังใช้เวลานาน ทำให้นักวิทยาศาสตร์มองว่าเราควรหันไปโฟกัสเรื่องการกินพืชโดยตรงเพื่อให้กระบวนการทุกอย่างสั้นลงและมีราคาถูกขึ้น จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เราน่าจะคุ้นกันดีกับวัคซีน mRNA ที่ทำงานโดยการส่งรหัสพันธุกรรมของไวรัสไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Pfizer พึ่งได้การรองรับเต็มรูปแบบจาก FDA สหรัฐฯ ไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ ซึ่ง mRNA ก็ถือว่าเป็นวิธีที่ใหม่มากทางการแพทย์ เพราะในสมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์จะให้การกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่านวัคซีนเชื้อตาย ที่ผลิตจากเทคโนโลยีไข่ไก่ฟักและใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก่อนจะพัฒนามาเป็นวัคซีนโควิด-19 อย่าง AstraZeneca หรือ Sinovac  นอกจากตัวเลขภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่า mRNA ข้อเสียของวัคซีนเชื้อตายคือใช้เวลาในการผลิตที่นานเกินไป ส่วน mRNA […]

FYI

LIFE ASOKE HYPE ไฮป์กับชีวิตแนวตั้งที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นตัวคุณ

รูปแบบการอยู่อาศัยของมนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนและพัฒนาไปตามกาลและเวลา จากเดิมที่เคยอยู่บ้านหลังใหญ่ที่มีสวนอยู่หลังบ้านและใช้ชีวิตกันในแนวราบ ความเป็นเมืองค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้เริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตในแนวตั้งมากขึ้นอาทิ ตึกแถว อาคารชุด อะพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียมในที่สุด จนเกิดวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Vertical Living’  ซึ่งข้อดีของการอยู่อาศัยในวิถีชีวิตแนวตั้ง คือการที่เราสามารถเลือกทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัยได้หลากหลาย สามารถเลือกอยู่ใจกลางย่าน CBD ที่อุดมไปด้วยแหล่งงานและการศึกษา ที่มีระบบขนส่งสาธารณะทั่วถึง ช่วยลดความตึงเครียดจากการเดินทางในระยะไกล เข้าถึงระบบสาธารณสุข หรือปัจจัยพื้นฐานอย่างอื่นได้ง่ายตามไปด้วย และเมื่อการอยู่อาศัยแบบ Vertical Living กลายมาเป็นปัจจุบันและอนาคตในการใช้ชีวิตของมนุษย์ โจทย์ของที่อยู่อาศัยยุคใหม่จึงต้องไม่ใช่แค่การสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่หมายถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนที่อาศัยแบบ Vertical Living ให้ดีขึ้นด้วย การออกแบบจึงต้องสามารถเชื่อมแนวคิดความสะดวกสบายด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนานาชนิด ทำเลที่ตั้ง ความเป็นส่วนตัว ของคอนโดฯ ให้เข้ามาสู่ธรรมชาติให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้ตอบโจทย์การใช้งานทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปในเวลาเดียวกัน เราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักความตื่นเต้น ไม่เหมือนใครในการอยู่อาศัยไปกับ LIFE ASOKE HYPE โดยบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บูทีกคอนโดฯ แห่งแรก ที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ สะดุดทุกสายตาตั้งแต่ดีไซน์ภายนอกแรกเห็นด้วยตัวอาคารสี RED HYPE สีแดงเข้มสุดพิเศษ จากห้องแล็บสีของโจตัน ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มอบความรู้สึกกระตือรือร้น […]

คุณเกิดมามีแต้มบุญเท่าไหร่ในประเทศนี้? เสี่ยงดวงออนไลน์และดูความเหลื่อมล้ำ กับเซียมซี “โชคดี…ที่ได้เกิดเป็นคนไทย?”

ถ้าชาติหน้ามีจริง อยากเกิดเป็นคนไทยไหม?“อยากสิ ฉันโชคดีจะตายที่ได้เกิดเป็นคนไทย”“ไม่อยาก การเกิดเป็นคนไทยคือโชคร้ายของฉัน” ไม่ต้องตอบตอนนี้ก็ได้ ลองอธิษฐาน แล้วเขย่าเซียมซีสุ่มชะตาของคุณในชาติหน้ากับ Data Story “โชคดี…ที่ได้เกิดเป็นคนไทย?” จาก Punch Up กลุ่มคนทำงานสื่อ ดีไซน์ และเทคโนโลยีที่ตั้งใจผลักดัน Data Journalism และ The Read กองบรรณาธิการที่อยากให้คุณได้อ่านปัญหาสังคมด้วยวิธีที่เข้าใจง่าย ชวนมาเสี่ยงเซียมซีทำนายอนาคตเล่นๆ ว่าชาติหน้าเราจะมีแต้มบุญเท่าไหร่ อาจจะเป็น 50/100 เกิดบ้านจน แต่ชะตาดีไม่มีอาย หรือ 30/100 รวยแน่นอน แต่ชะตากลับซวยหนัก ไม่รู้จะเลือกรวยหรือซวยดีกว่ากัน ไม่ว่าคุณจะสุ่มได้ใบไหน คุณจะเห็นความเหลื่อมล้ำเรื่องสวัสดิการชีวิตของเด็กเล็ก เพราะความเหลื่อมล้ำเริ่มตั้งแต่คุณเกิด ถ้าเป็นเด็กยากจนจะมีหนังสือเด็กที่บ้านไม่ถึง 3 เล่ม ขาดโอกาสกระตุ้นสมอง มีปัญหาพัฒนาการภาษา และการเรียนเมื่อโตขึ้น หรือถ้าเกิดเด็กรวยในครอบครัวข้าราชการไทย ผู้เป็นแม่สามารถเบิกค่าทำคลอด และได้เงินเดือนช่วงลาคลอด ก็ช่วยแบ่งเบาภาระได้พอตัว แล้วถ้าจนล่ะ? ก็ไม่ได้สักบาทและไม่มีสวัสดิการจากรัฐเลยสักอย่าง ที่สำคัญเซียมซีหนึ่งใบยังพาคุณไปดูข้อมูลสำคัญที่ชี้ว่างบต่อหัวที่รัฐลงทุนในเด็กเล็ก (0 – 3 ปี) นั้นน้อยขนาดไหน เคยมีใครสัญญาว่าจะลงทุนกับสวัสดิการเด็กเล็ก […]

Hometown Cha-Cha-Cha เมื่อหมอฟันสาวโซลซัดโซเซจากเมืองหลวงไปซบไหล่ ตจว. ในหมู่บ้านชายทะเลที่กงจิน

พอนึกถึงซีรีส์เกาหลีใต้ทีไร ส่วนใหญ่โลเคชันหลักของเรื่องก็มักเกิดขึ้นในโซล เพราะโซลคือภาพแทนของเมืองหลวงสุดป็อป ที่เป็นภาพจำของคนทั้งโลก ในฐานะศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี การศึกษา การท่องเที่ยว และเป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคนจนเรียกเป็น Megacity ของโลกใบนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ถ้าไม่ดำเนินเรื่องในโซล แล้วหันไปมองโลเคชันเมืองอื่นอย่างจังหวัดคังวอน พื้นที่ที่เค-ซีรีส์ส่วนใหญ่ไม่เลือกใช้ดำเนินเรื่องล่ะ คุณพอจะนึกถึงซีรีส์เรื่องไหนที่มีฉากหลังเป็นจังหวัดนี้ไหม ถ้านึกไม่ออก เราขอยก Hometown Cha-Cha-Cha ออริจินัลซีรีส์จาก Netflix มาเล่า เพราะนอกจากจะถ่ายทอดชีวิตคนในพื้นที่หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดคังวอน เรายังอยากชวนผู้ชมหลบจากกรุงโซลมาสำรวจเรื่องราวในพื้นที่นอกเมืองหลวงผ่านซีรีส์โรแมนติกคอเมดี้เรื่องนี้ คาจา! (ไปกัน) เดินทางไม่นานหรอก เพราะถ้ากะเส้นทางขับรถจากโซลไปคังวอนคร่าวๆ จะมีระยะทางประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร มาเหยียบคันเร่งด้วยจังหวะ Cha-Cha-Cha จากเมืองหลวงสู่ปลายทางที่หมู่บ้านริมทะเลแสนสงบ (โลเคชันสมมติ) เพื่อพบกับเรื่องรักของทันตแพทย์สาวจากโซลที่ปิ๊งรักกับหนุ่ม ตจว.ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ถ้าพร้อมแล้วคาดเข็มขัดให้มั่นเพราะตอนนี้เรากำลังอยู่บนรถของ Yoon Hye-jin (Shin Min-a) ทันตแพทย์สาวมั่นที่จำใจละทิ้งโซล เพราะดันไปมีความขัดแย้งกับผู้อำนวยการคลินิกทันตกรรมผู้มีคอนเนกชันกว้างขวางในเมืองหลวง ฮเย-จินเลยตกงาน เธอเศร้าจนต้องออกมานั่งเหม่อริมทะเลเงียบๆ คนเดียว ซึ่งซีนนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตบทใหม่ของฮเย-จินแบบไม่อาจย้อนกลับ นอกจากจะเล่าเรื่องรักโรแมนติกเจือกับความโกลาหลที่เกิดขึ้น ยังมีแง่มุมเกี่ยวกับสังคมเมืองและสังคมชนบทให้เราได้สังเกตกันสนุกๆ แถมดูแล้วก็ได้อมยิ้มไปกับเคมีของ […]

ศราวุธ แววงาม ชาว Punk ที่ผันเป็นช่างสักขาลาย อนุรักษ์รอยสักล้านนาโบราณที่แทบสาบสูญ

หากสังเกตจิตรกรรมฝาผนังโบราณล้านนา เราจะพบว่าบริเวณขาของชายทุกคนจะมีลวดลายจากการสักอยู่ นี่คือหนึ่งในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนาที่เรียกกันว่า ‘การสักขาลาย’ ซึ่งเกิดมาจากความเชื่อในอดีตของชาวล้านนาว่า เด็กผู้ชายเมื่อจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทุกคนต้องผ่านพิธีการสักขาลายเสียก่อน  นอกจากจะพิสูจน์ความกล้า ความอดทน ยังเชื่อกันว่าเป็นการแสดงความนอบน้อมต่อครอบครัว แสดงความกตัญญูทดแทนพระคุณแม่ และพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป ถึงขั้นมีจารึกบันทึกไว้เลยว่า หากหญิงใดจะดูว่าชายนั้นเหมาะเป็นคู่ครองหรือไม่ ส่วนหนึ่งคือให้ดูว่าชายนั้นสักขาลายแล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายชาวล้านนาในอดีตทุกคนจึงสักขาลายกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ค่านิยมการสักขาลายก็ถูกลดทอนลงจนใกล้จะสาบสูญเต็มที เหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่บ้างบนเรือนร่างของผู้เฒ่าต่างๆ โชคดีที่ยังมีคนจำนวนหยิบมือหนึ่งยังเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการสักขาลาย และเข้ามาช่วยอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป หนึ่งในคนจำนวนนั้นก็คือ อ๊อด-ศราวุธ แววงาม ช่างสักอดีตเด็กพังก์ (Punk) ที่ผันตัวมาศึกษาวัฒนธรรมการสักขาลายอย่างจริงจัง โดยเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ชาวปกาเกอะญอที่ยังคงสักอยู่ และสืบทอดวิชาการสักขาลาย รวมถึงอนุรักษ์การสักขาลายด้วยการบันทึกรอยสักนั้นไว้ลงบนเรือนร่างของผู้ที่สนใจ อะไรที่ทำให้เด็กพังก์ ไว้ทรงโมฮอว์ก สวมเสื้อหนัง ห้อยโซ่ รองเท้าบูตติดหนาม ถึงผันตัวมาสวมใส่เสื้อม่อฮ่อม กางเกงสะดอ และเปลี่ยนจากสักลายร่วมสมัยด้วยเครื่องสัก มาจับเข็มสักโบราณ รับแต่งานสักขาลายโดยเฉพาะ The Professional คราวนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของชายผู้นี้ อ๊อดเริ่มต้นการเป็นช่างสักตั้งแต่อายุ 18 ปี พร้อมๆ กับการหันมาสนใจวัฒนธรรมพังก์ “เราสนใจความเป็นพังก์ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนไม่ค่อยแต่งตัวแบบนี้ พังก์น่าสนใจตรงที่การทำสีผม […]

‘มนูญชัย’ แป้นพิมพ์ไทยเลย์เอาต์ใหม่ สร้างจาก AI และ Big data ที่ช่วยสมดุลการพิมพ์ทั้งสองมือ

มนูญชัย แป้นพิมพ์ไทยเลย์เอาต์ใหม่ สร้างจาก AI และ Big data ที่ช่วยสมดุลการพิมพ์ทั้งสองมือ

เรียนออนไลน์ทำเด็กเครียด Meet Your Monster ชวนมาพัก สำรวจมอนสเตอร์ในใจ รู้จักตัวเองให้มากขึ้น

การเรียนออนไลน์เป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย และหดหู่ เรื่องราวทั้งหมดที่ต้องเผชิญล้วนก่อตัวกลายเป็นมอนสเตอร์จอมป่วน ที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจพวกเราทุกคน มอนสเตอร์เหล่านี้ไม่ได้เข้ามาก่อกวนสภาวะทางจิตใจแต่อย่างใด แต่เป็นเหมือนเพื่อนอีกคนภายในใจที่ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น เพื่อทำความรู้จักกับมอนสเตอร์ภายในจิตใจลองแวะมาพักสำรวจจิตใจทั้งภายในและภายนอก และเรียนรู้ที่จะเป็นเพื่อนกับมอนสเตอร์ของคุณกันสักหน่อย ผ่านเครื่องมือที่มีชื่อว่า Meet Your Monster เครื่องมือ Check-up สุขภาพใจเบื้องต้นแบบเข้าใจง่ายสำหรับนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ที่ถูกพัฒนามาจากความเชี่ยวชาญของนักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น จากการร่วมมือกันของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กับ Glow Story และทีมนักจิตวิทยา MASTERPEACE สร้างเครื่องมือทำให้เด็กนักเรียนสามารถได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ปัญหาด้านสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ในรูปแบบสอบถามที่ทำให้พวกเขาได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ผ่านตัวการ์ตูน 4 ประเภท Flexa, Griz, Shad, Zens ซึ่งมอนสเตอร์ทั้งสี่ก็จะมีอุปนิสัยและพลังพิเศษที่แตกต่างกันออกไป ตามอุปนิสัยของผู้ทำแบบทดสอบ เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันสภาวะจิตใจของตัวเองมากขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งมี How to ดูแลมอนสเตอร์ของเรา ซึ่งทำให้รู้จักวิธีการรับมือกับตัวเองได้ดียิ่งขึ้น  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสำรวจมอนสเตอร์ในใจได้ที่ : meetyourmonster.paperform.co/

โควิดหลบไป ฟินแลนด์จะผลิตวัคซีนแบบพ่นจมูก

ได้ยินครั้งแรกก็รู้สึกเซอร์ไพรส์สุดๆ ว่าวัคซีนอะไร ทำไมถึงใช้พ่นทางจมูกได้นะ แต่นี่คือเรื่องจริงที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เพราะโลกของเรากำลังจะได้ยลโฉมเจ้าวัคซีนชนิดนี้แบบเต็มตา นวัตกรรมนี้มาจากฐานการวิจัยของสองพันธมิตรอย่าง ‘มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ’ และ ‘มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นฟินแลนด์’ ในประเทศฟินแลนด์ และอีกไม่นานเกินรอนัก การทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนก็จะเริ่มต้นขึ้นในปลายปีนี้แล้ว ที่น่าตื่นเต้นพอๆ กับวัคซีนแบบละออง ก็คือการที่ศูนย์วิจัยในฟินแลนด์ใช้หัวมนุษย์เทียมในห้องทดลองเพื่อให้นักวิจัยได้ตรวจสอบกลไกของการหยด และการส่งละอองวัคซีนเข้าไปในจมูก ศีรษะประดิษฐ์สุดล้ำนี้ เปิดตัวตั้งแต่เมื่อต้นปี 2564 ซึ่งหายใจ ไอ จามได้ และเหมาะกับการทดสอบละอองลอยในรูปแบบต่างๆ มาก ซึ่งนอกจากเป็นตัวช่วยของการทดลองวัคซีน ยังนำมาช่วยด้านการทดสอบประสิทธิภาพของหน้ากาก เครื่องฟอกอากาศ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจในท้องตลาดได้อีกด้วย ผู้ออกแบบสเปรย์เล่าว่าส่วนประกอบของวัคซีนพ่นจมูกสำหรับป้องกันโคโรนาไวรัสที่พัฒนาขึ้นในฟินแลนด์ตัวนี้ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในช่วงฤดูร้อน (ก.ค. – ก.ย.) เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะช่วยป้องกันเราจากสายพันธุ์ไวรัสโดยทั่วไปได้ดียิ่งขึ้น ผู้นำโปรเจกต์ที่เป็นศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิอย่าง Kalle Saksela บอกว่านอกจากจะพ่นวัคซีนทางจมูก เป้าหมายสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 สายพันธ์ุต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น ทีมวิจัยก็ไม่ได้ทำงานอย่างโดดเดี่ยว เพราะในเบื้องต้น เจ้าวัคซีนที่นำเข้าสู่ร่างกายคนผ่านรูจมูกตัวนี้ยังได้เงินทุนประมาณ 9 ล้านยูโรจากนักลงทุนมาพัฒนางานวิจัยให้ดีขึ้น แถมยังได้บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการทดลองทางคลินิกเข้ามาช่วยซัปพอร์ตทีม สำหรับวัคซีนเวอร์ชันอัปเดตล่าสุดนั้น พบว่าจะช่วยเรื่องการป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยัง…ยังไม่จบแค่นั้น ภูมิคุ้มกันประเภทนี้ยังมีฟังก์ชันที่ใช้งานเป็นวัคซีนเสริม […]

นิสชินออกโซดา 4 รสจากบะหมี่ยอดฮิต ฉลองครบรอบ 50 ปี

เรื่องไอเดียสนุกๆ ต้องยกให้นิสชิน (Nissin) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อดังจากญี่ปุ่นที่ขยันปล่อยของ ออกสินค้าสนุกๆ มากระตุ้นต่อมอยากลองของผู้บริโภคอยู่ตลอด 2 สัปดาห์ก่อนเพิ่งจะออกส้อมที่ใช้เป็นหลอดได้ เอาไว้ให้คนรักนิสชินที่ชอบซดน้ำบะหมี่ดื่มน้ำซุปได้ง่ายขึ้น (แต่ไม่รู้จะสำลักไหม)  ในวาระครบรอบ 50 ปี จากบริษัทที่ดังเรื่องบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอยู่ดีๆ วันนี้นึกอยากทำเครื่องดื่ม นิสชินออกโซดา 4 รสจากบะหมี่ยอดฮิตที่แฟนๆ นิสชินคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ได้แก่ รสออริจินัล รสซีฟู้ด รสแกงกะหรี่ และรสมะเขือเทศพริก กินได้ไม่ได้ไม่รู้ รู้แค่คอนเซปต์สนุกมาก สมกับเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นที่คิดค้นรสชาติอาหารได้เก่งสุดๆ แต่รับรองว่ากินได้แน่ๆ เพราะโซดาทุกรสทำมาจากจินเจอร์เอล ครีมโซดา และโคล่า แต่งกลิ่นให้คล้ายกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต่างๆ ไม่ได้เป็นแกงกะหรี่ หรือน้ำซุปข้นๆ ผสมโซดาแบบที่เราคิด แต่ระดับนิสชินแล้ว แค่ออกโซดารสบะหมี่ก็คงจะธรรมดาเกินไป นิสชินจึงจับมือกับโรงแรม Keio Plaza เพื่อทำเมนูค็อกเทลจากโซดาทั้ง 4 รส ในคอนเซปต์ ‘Four Season Cocktail’ พร้อมบอกสูตรและวิธีชง เผื่อว่าใครที่ซื้อโซดาไปแล้วจะเอาสูตรไปชงตามบ้าง  เท่านั้นยังไม่พอ นิสชินยังเอาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 4 รสนี้ไปทำเป็นขนมข้าวโพดอบกรอบแบบแท่ง หรือที่เรียกว่า Umaibo […]

1 216 217 218 219 220 372

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.