Osaka กับแผน Soft Power เรียกคืนเสน่ห์ Manchester of East Asia ด้วยมิวเซียมบ้านโอซาก้าแท้แห่งแรกในญี่ปุ่น

Osaka Museum of Housing and Living พิพิธภัณฑ์โอซาก้าบรรยากาศ Machiya ที่สร้างโดยช่างผู้เคยสร้าง Katsura Imperial Villa

ถกความเป็นไปได้กับก้าวต่อไปของศิลปะไทย | Social Impact EP.1

ปีที่แล้วภาพยนตร์อย่าง Parasite กวาดรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในเวทีออสการ์ ปีนี้ โคลอี้ เจา ผู้กำกับหญิงเชื้อสายเอเชียก็ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมอีก นี่คือตัวอย่างของศิลปวัฒนธรรม ที่นอกจากทำหน้าที่ส่งต่อความสวยงามจรรโลงใจ แต่ยังส่งต่อแรงบันดาลใจสร้างมูลค่าได้อีกด้วย หรือเราจะเห็นว่าจริงๆ แล้วบางครั้งศิลปะก็เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า กลับมามองที่บ้านเรา ศิลปะไทยอยู่ในข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เรื่องการนำมาประยุกต์ใช้ในหลายมิติ เราพอจะมีทางเขยิบขึ้นไปในอีกมิติการรับรู้คุณค่าของศิลปะอย่างเท่าเทียมกันได้รึเปล่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะนำศิลปะมาแสดงออกหลากหลายด้านมากกว่าความสวยงาม แล้วทำอย่างไรประเทศไทยและศิลปะจะเติบโตไปอย่างสอดประสานกัน ชวนมาถกถามหาคำตอบใน Social Impact EP.1 ศิลปะไทยไปได้ไกลกว่าที่เป็น?

จากเพจอยากดูหนังถึง ‘Lorem Ipsum’ พื้นที่ฉายหนังทางเลือกให้คนหาดใหญ่ได้ชม

ย้อนกลับไปเมื่อ 4 – 5 ปีก่อน สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะนิเทศฯ ทำให้กลุ่มคนที่วนเวียนอยู่รอบตัวล้วนแล้วแต่เป็นคอหนังด้วยกันทั้งสิ้น จำได้ว่าถึงจะเรียนอยู่เชียงใหม่ จังหวัดใหญ่แห่งเมืองเหนือ แต่ก็ไม่วายที่หนังใหญ่บางเรื่องจะไม่เข้าฉาย ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร  นอกจากเสียงบ่นของเพื่อนพ้องน้องพี่แล้ว อีกหนึ่งความไม่พอใจที่เห็นกันชัดๆ คือในเฟซบุ๊กมีเพจเรียกร้องให้เอาหนังมาฉายที่จังหวัดตัวเองผุดขึ้นเต็มไปหมด ไม่ต่างกับที่หาดใหญ่ซึ่ง ต้น–พรชัย เจียรวณิช ในฐานะคนรักหนัง ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมภาพยนตร์บางเรื่องที่ดังระดับประเทศ แถมยังเป็นหนังระดับฮอลลีวูดที่หากเปิดให้เข้าชมในโรงฯ คนดูก็ไม่โหรงเหรงแน่ๆ แต่ทำไมคนต่างจังหวัดกลับไม่มีสิทธิ์ได้ดู  เรื่องนี้ฉายเหอะ…คนต่างจังหวัดอยากดู ต้นเล่าให้ฟังว่าภาพยนตร์ที่จะฉายในหาดใหญ่ถูกสกรีนด้วย ‘สายหนัง’ (ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์) ที่จะคัดเลือกหนังที่มีแนวโน้มจะทำรายได้ดีเข้ามาฉายในพื้นที่ แต่บางทีก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมภาพยนตร์อย่าง Sing Street ที่เป็นหนังแมส คนอยากดูก็เยอะทำไมไม่เข้าโรงภาพยนตร์ที่หาดใหญ่ ด้วยความเก็บกดก็เลยเปิดเพจชื่อ ‘เรื่องนี้ฉายเถอะ คนหาดใหญ่อยากดู’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแสดงออก  ก่อนจะพบว่ามีกลุ่มคนที่อัดอั้นตันใจอยู่ไม่น้อย จึงเข้าไปคุยกับโรงภาพยนตร์เพื่อหาทางออกร่วมกัน  “ทีแรกเขาบอกว่าให้ไปรวมกลุ่มกันมาว่ามีคนดูกี่คน แต่เราส่งตัวเลขไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ก็เลยมองไปที่การเช่าเหมาโรงฯ แล้วไปดีลกับค่ายหนังแทน ทีนี้เราก็เป็นเหมือนคนจัดฉายหนัง ลองหาดูว่าเรื่องไหนมีศักยภาพที่จะดึงคนมาดูแล้วเราไม่เจ็บหนักมากกับราคาเหมาโรงฯ ที่สองหมื่นบาท บางเรื่องก็คัฟเวอร์ บางเรื่องก็เข้าตัว แต่อย่างน้อยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าถึงหนังได้ “แต่ปัญหาคือดีลกับโรงหนังแต่ละครั้ง กลายเป็นต้องเริ่มใหม่ทุกรอบ เพราะคนที่รับเรื่องเป็นคนละคน แถมราคาที่เสนอมาก็ไม่เท่ากัน เลยรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง” เมื่อผิดหวังกับระบบของโรงภาพยนตร์ และหวังจะสร้างคอมมูนิตี้ของคนรักหนังในหาดใหญ่ […]

The Beast นักย่างเนื้อรสอสุรกาย | Heart EP.3

“คิดมาตั้ง 2 ปี ทุกวันนี้ร้านขายเนื้อเปิดกันทั้งประเทศแล้วจะช้าไปรึเปล่า แต่สิ่งที่ดีและประณีตไม่จำเป็นต้องเปิดพร้อมใครก็ได้” คำพูดสุดท้าทายที่แฝงไปด้วยความมั่นใจ แสดงความเป็นตัวตนเชฟนักปรุงเนื้อของ เชฟอ็อฟ-ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ Executive Chef และ Co-founder ของร้านที่มีชื่อว่า The Beast ร้านเนื้อสุดพิเศษที่มีเบื้องหลังเป็นไอเดียสุดสร้างสรรค์ เช่นเนื้อที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการรักษาอาหารแบบชนเผ่ามายัน หรือการแกะสูตรยุคโบราณมาสร้างเป็นผงเฉพาะที่เอาไว้ถูเนื้อ เป็นต้น แม้วันนี้ร้านจะยังคงเปิดได้ไม่เต็มที่ แต่ในอนาคตร้านจะมีบริการเดลิเวอรีพร้อมให้ทุกท่านพิสูจน์ ถ้าหากยังไม่ได้พิสูจน์ด้วยรสสัมผัส วันนี้เราขอเสิร์ฟเนื้อให้ท่านได้พิสูจน์ผ่านสายตา เชิญรับชิมความอร่อยจากอสุรกายจานนี้พร้อมกัน #UrbanEat #Heart #TheBeast #ChefOff #เชฟอ๊อฟ ขอบคุณฟอนต์ : maaja (หมาจ๋า) ดาวน์โหลดที่ : https://www.dogplease.com/my-font

บ้านบ่อแก้ว 12 ปีของมหากาพย์การต่อสู้ที่ ‘คนใน’ ถูกผลักไปเป็น ‘คนนอก’

บรรยากาศเงียบสงัด อากาศเย็นเยือกหลังฝนตก เราลืมตาขึ้นมาแต่เช้ามืดในที่พักใกล้ตัวเมืองขอนแก่น วันนี้เรามีภารกิจเดินทางไปที่ ‘ชุมชนบ้านบ่อแก้ว’ ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านเรื่องข้อพิพาทระหว่างชุมชนบ้านบ่อแก้วกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เมื่อสิ้นเสียงเครื่องยนต์เป็นสัญญาณบอกว่าถึงที่หมายแล้ว นั่นเป็นเวลาก่อนเที่ยงหน่อยๆ ท้องฟ้าเริ่มมีแดดส่องผ่านรำไรราวกับเปิดประตูต้อนรับ นับตั้งแต่ขาสองข้างเหยียบลงบนพื้นที่ชุมชนบ้านบ่อแก้ว เจ้าบ้านก็ออกมาต้อนรับด้วยน้ำเย็นๆ และผลไม้ให้เติมความสดชื่นหลังจากนั่งเปื่อยบนรถตู้มาราวสองชั่วโมง เรามีเวลาอยู่ที่นี่เพียงครึ่งค่อนวันเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิด และเก็บเรื่องราวมาฝากให้คุณได้อ่าน มหากาพย์การต่อสู้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2516 รัฐบาลประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในบ้านบ่อแก้ว ต่อมาปี 2521 กรมป่าไม้ให้สัมปทานเนื้อที่ 4,401 ไร่กับ อ.อ.ป. เข้าทำสวนป่าคอนสาร สำหรับปลูกไม้เศรษฐกิจ นำมาสู่การพยายามผลักชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วยข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ทั้งถูกตอกย้ำด้วย ‘ยุทธการทวงคืนผืนป่า’ ในแผนแม่บทป่าไม้ ภายใต้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ซึ่งพยายามรื้อที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ทว่าการผลักคนในออกจากพื้นที่ทำให้ที่นั่นสมบูรณ์ขึ้นจริงหรือ ยิ่งเป็นคนที่เรียกว่ารู้จักพื้นที่ดีกว่าใครยิ่งต้องละเอียดอ่อนต่อการทำความเข้าใจมิใช่หรือ การโดนผลักออก ขับไล่ ต่อสู้ สูญเสีย โดนพิพากษาว่าบุกรุกพื้นที่ทำกินของตนเอง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับชาวบ้านบ่อแก้วอย่างขาดความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ มองเห็นคุณค่าวิถีชีวิตน้อยกว่าเอกสารทางราชการ การแก้ปัญหาอย่างไม่ยุติธรรมและใช้กฎเกณฑ์ที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วม ชาวบ้านจึงตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วขึ้นมาในปี 2552 เพื่อกดดันและพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาสามารถอยู่กับพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนมากกว่าการสัมปทานป่าเพื่อปลูกยูคาลิปตัส ยาวนานกว่า 12 ปี ที่ชาวบ้านตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วเพื่อต่อสู้เรียกร้อง และเมื่อวันที่ […]

1.23 พันล้านโดส ตัวเลขฉีดวัคซีนทั่วโลก ที่กำลังบอกว่าเรากำลังเอาชนะไวรัสได้!

รู้สึกอิจฉาตาร้อน เมื่อเห็นเพื่อนร่วมโลกเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 กันพรึ่บพรั่บ ถือว่าเป็นสัญญาณดีๆ ที่เรากำลังเอาชนะไวรัสได้! หลังจากใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 มานานแรมปี เฝ้ารอวันที่วัคซีนถูกสร้างขึ้นมาได้สำเร็จ แต่ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง! จากการรวบรวมข้อมูล ‘Vaccine Tracker’ โดยสำนักข่าว Bloomberg ระบุว่า ตอนนี้ทั่วโลกมียอดฉีดวัคซีนมากกว่า 1.23 พันล้านโดส ใน 174 ประเทศ คิดเป็น 8.1% ของประชากรทั่วโลก และอัตราการฉีดวัคซีนอยู่ที่ 19.4 ล้านคนต่อวัน โดยมีประเทศครองแชมป์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนเยอะที่สุด 3 อันดับ คือ อันดับแรก เซเชลส์ (66.5%) อันดับที่สอง อิสราเอล (57.9%) และอันดับที่สาม มัลดีฟส์ (57.0%) นอกจากนี้ยังมีอีก 4 ประเทศที่ให้วัคซีนคนในประเทศมากกว่า 40% คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (50.7%), ซานมารีโน (46.9%), บาห์เรน (44.4%) และชิลี (40.2%) ขณะที่ประเทศไทยฉีดวัคซีนไป […]

ทิพย์รส Ice Cream Restaurant เตาปูน หยิบไอศกรีมมา x ขนมไทยโบราณ เป็นคอลเลกชันขนมยุคใหม่

อากาศร้อนๆ แบบนี้ ชวนมาปะทะของเย็นอย่างไอศกรีม ‘ทิพย์รส’ ที่เปิดมานานกว่า 50 ปี ด้วยรสชาติที่ยังเก็บความอร่อยไม่มีเปลี่ยน เพิ่มเติมด้วยการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ หยิบขนมไทย เช่น ลอดช่อง ขนมต้มแดง กุมภมาศ มาจับคู่กับไอศกรีมทิพย์รสแปลงโฉมเป็นเมนูอาหารสุดแปลกใหม่ ที่ยังเก็บรสชาติของความเป็นตัวตนไว้ไม่จางหายไป

ออนไลน์มิวเซียม ไม่ต้องไปไหนไกลก็ทัวร์รอบโลกได้

การเสพงานศิลปะและเรียนรู้วัฒนธรรมคือรากฐานของแรงบันดาลใจ จะให้ไปดูตามสถานที่จริงก็ดูจะเป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกัน แต่จะดีแค่ไหนเมื่อเทคโนโลยีสามารถย่อโลกทั้งใบให้เล็กลงเพียงแค่คลิกเดียวเท่านั้นคุณก็สามารถเติมเต็มแรงบันดาลใจได้อย่างง่ายดาย เราจึงขอนำเสนอออนไลน์มิวเซียมที่จะพาคุณไปไหนก็ได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสโดยไม่ต้องไปไหนไกลๆ ก็ทัวร์รอบโลกได้เหมือนกัน | NASA (National Aeronautics and Space Administration) จะออกไปแตะขอบฟ้าแต่เหมือนว่าโชคชะตาไม่เข้าใจ…แต่คราวนี้คุณจะได้ออกไปแตะขอบฟ้าโดยไม่ต้องพึ่งโชคชะตาแล้วแหละ เพราะ ‘NASA’ ย่อโลกทั้งใบให้อยู่ในมือคุณแล้วด้วยการสร้าง ‘พิพิธภัณฑ์ทางเทคโนโลยีและอวกาศ’ ในรูปแบบออนไลน์เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนทั่วโลกได้ล่องลอยไปในอวกาศพร้อมๆ กัน โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ของพิพิธภัณฑ์นี้จะเกี่ยวกับโลก ดวงอาทิตย์ อวกาศ และเรื่องราวต่างๆ ในระบบสุริยจักรวาลในรูปแบบของภาพถ่ายและวิดีโอ รวมไปถึง ‘NASA TV’ ซึ่งมีทั้งการถ่ายทอดสดมุมมองจากนอกโลกและบทสัมภาษณ์จากนักบินอวกาศส่งตรงจากนอกโลกกันเลยทีเดียว และยังมีในส่วนของด้านการศึกษาสำหรับเด็ก อาทิ เกม หนังสือออนไลน์ (E-book) ไฟล์ข้อมูลแบบเสียง (Podcasts) ที่สามารถเลือกดาวน์โหลดกันได้ฟรีๆ จากทางเว็บเลย และยังทันสมัยสุดๆ ด้วยแอปพลิเคชันบนมือถือที่สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android โหลดเก็บเอาไว้ในเครื่องแล้วออกไปท่องอวกาศกันเถอะ! คลิกเข้าชมได้ที่ : https://www.nasa.gov | National Women’s History Museum ปัญหาสิทธิเสรีภาพของสตรีเกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน ‘ผู้หญิงคือสิ่งต้องห้าม’ ในหลากหลายโอกาสจนกลายเป็นปัญหาสะสมที่หลายคนมองข้ามไป แต่กาลเวลาไม่ได้ทำให้เรื่องราวเหล่านั้นสูญหายไป ‘พิพิธภัณฑ์สตรีแห่งชาติ […]

5 กิจกรรมท่องออนไลน์แบบไม่แมส(ก์)

กักตัวรอบนี้อะไรที่เคยอยากทำก็ได้ทำไปหมดแล้ว ตอนนี้ใจต้องการหาความตื่นเต้นใหม่ๆ แต่ออกไปไหนก็เสี่ยงติดโควิด ได้แต่นอนคิดถึงการไปเที่ยว การไปดูคอนเสิร์ต หรือแม้แต่หนังเรื่องใหม่กำลังจะเข้าโรงก็ต้องอด

สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

Collective : ไม่ได้ออสการ์แต่ ปชช.ตาสว่าง เมื่อ นสพ.กีฬาตามล่าความเน่าเฟะของสาธารณสุขโรมาเนีย

ท่ามกลางข่าวสารบ้านเมืองแสนตึงเครียดโดยเฉพาะการจัดหาวัคซีนอันล่าช้าของรัฐบาล ที่ประชาชนทวงถามกันมากในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ก่อนหน้านี้ ‘รมต.ท่านหนึ่ง’ ให้ความเชื่อมั่นกับประชาชนว่าพร้อมรับมือโควิดระลอกใหม่ ไปจนถึงข่าวคราวของ ‘รมต.อีกท่านหนึ่ง’ ซึ่งตกเป็นที่ครหาถึงคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งหลังมีคดีพัวพันยาเสพติด

‘ทางเท้าโซลาร์เซลล์’ แห่งแรกของสเปน แผงโซลาร์เซลล์บนพื้นที่เดินเหยียบได้ แถมผลิตไฟฟ้าให้สวนสาธารณะในเมืองได้ด้วย

สภาบาร์เซโลนา ประเทศสเปน นำร่องติดตั้งทางเท้าโซลาร์เซลล์แห่งแรกของสเปน โดยมีเป้าหมายในการลดปริมาณคาร์บอนฯ สุทธิให้เท่ากับศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรภายในเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น แนวคิดการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บริเวณทางเท้าภายในเขตพื้นที่เมืองจึงเกิดขึ้น ทางเท้าโซลาร์เซลล์นี้ประกอบไปด้วยแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอน มีการเดินสายไฟฟ้าและหุ้มด้วยกระจกกันลื่นที่มีความทนทานสูง เดินเหยียบไปมาได้ปกติ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มพื้นที่ผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นการใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นคือทางเท้าแบบเดิมได้กลายเป็น ทางเท้าที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงสวนสาธารณะในเมือง Glòries สูงถึง 7,560 kWh/ปี นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการใช้พลังงานทดแทนของสเปนอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานไฟฟ้า โครงการดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของนโยบายสิ่งแวดล้อมในเมืองบาร์เซโลนา ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็จะต่อยอดไปสู่การติดตั้งบริเวณอื่นๆ โดยมีเป้าหมายว่าภายในระยะเวลา 5 ปี เมืองแห่งนี้จะหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อประชากร 7.5 ล้านคน และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 4.2 ล้านตัน Source :The Guardian | https://bit.ly/33ka2mK

1 204 205 206 207 208 329

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.