LATEST
Snowfall in Thailand ถ้าหิมะตกในไทย จะมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง
ช่วงเวลานับถอยหลังสู่วันคริสต์มาสและวันปีใหม่แบบนี้ ภาพบรรยากาศฤดูหนาวในต่างประเทศก็เริ่มวนกลับมาให้เราได้เห็นกันอีกครั้ง ภาพผู้คนสวมชุดกันหนาวท่ามกลางสภาพอากาศเย็นจัด และพื้นที่ของเมืองต่างๆ ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน ชวนให้เราจินตนาการไปไกลว่า ถ้าได้สัมผัสอากาศหนาวพร้อมกับหิมะแบบนั้นบ้างจะเป็นอย่างไร อากาศเย็นกำลังพัดผ่านมาให้ชาวไทยได้สัมผัสถึงฤดูหนาวในระยะสั้นกันพอดิบพอดี คอลัมน์ Urban Sketch ขอชวนทุกคนมาห่มผ้าหนาๆ หรือคว้าเสื้อกันหนาวมาใส่ แล้วจินตนาการไปพร้อมกันว่า ถ้าหากหิมะตกในประเทศไทยขึ้นมาจริงๆ จะมีเรื่องราวอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง และบรรยากาศจะแตกต่างจากการเป็นประเทศเมืองร้อนขนาดไหนกันนะ เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว สายเลือดนักกีฬาของคนไทยไม่เคยหายไปไหน หากประเทศของเราหนาวจนมีหิมะตก ก็อาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ที่จัดขึ้นในภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งหรือหิมะ เมื่อบ้านเราอากาศหนาว นักกีฬาของเราก็จะคุ้นชินกับสภาพอากาศ และมีพื้นที่ฝึกซ้อมกีฬาสำหรับการแข่งขันได้ เพราะขนาดการแข่งขันแกะสลักน้ำแข็งเรายังครองแชมป์โลกมาหลายสมัย แม้จะอยู่ในประเทศร้อนก็ตาม ถ้าประเทศหนาวจนมีหิมะจนได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว ไม่แน่ว่าก็อาจจะคว้าแชมป์มาหลายรายการก็ได้ งานวัดในรูปแบบ Winter Festival ชาวไทยอย่างเราผูกพันกับงานรื่นเริงในรูปแบบต่างๆ แต่ถ้าพูดถึงงานที่ทุกคนเข้าถึงได้คงหนีไม่พ้นงานวัด ที่มักจัดขึ้นตามวันสำคัญทางศาสนาหรือโอกาสพิเศษ ซึ่งงานวัดที่เราต่างคุ้นเคยมักจะมาพร้อมกับความเหนียวเหนอะหนะจากสภาพอากาศที่ทั้งร้อนอบอ้าว รวมถึงยังต้องเบียดเสียดผู้คนในงานจำนวนมากอีกด้วย หากเปลี่ยนงานวัดที่คุ้นเคยให้กลายเป็น Winter Festival ในอากาศหนาวๆ เราก็จะใช้เวลากับงานวัดรูปแบบนี้ได้นานขึ้น สนุกกับเครื่องเล่นได้มากกว่าเดิม แถมพ่อค้าแม่ค้าในงานยังจะมีรายได้มากกว่าเดิมจากการใช้เวลาที่เพิ่มขึ้นด้วย กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ฤดูหนาวถือเป็นช่วงไฮซีซันของการท่องเที่ยวในหลายๆ ประเทศ นักท่องเที่ยวจากประเทศร้อนที่อยากสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นก็มักจะรอช่วงนี้เพื่อไปเที่ยวและทำกิจกรรมที่ไม่เคยสัมผัสในประเทศตัวเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้นค่อนข้างต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหนาวในประเทศอื่นๆ อย่างเกาหลีหรือญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นถ้าเราหนาวจนมีหิมะ ก็สามารถดึงมาเป็นจุดเด่นในการจูงใจชาวต่างชาติเข้ามาพักผ่อนและท่องเที่ยวในประเทศได้ด้วย แฟชั่นฤดูหนาว สิ่งที่ทุกคนรอคอยเมื่อมีลมหนาวพัดผ่านมาคือ […]
ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ Blue Again กับสถานะ ‘ไม่เป็นคนของที่ไหนเลย’ ในชีวิตและวงการหนัง
ฐาปณี หลูสุวรรณ เป็นลูกครึ่งอีสาน-จีน เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ไปโตที่สกลนคร ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังและทำงานในกรุงเทพฯ อีกครั้ง เธอพูดอีสานไม่คล่องปร๋อ แต่พอพูดไทยกลางก็ติดเหน่ออีสานจนโดนล้อ เหนือความซับซ้อนและย้อนแย้งทั้งปวงในตัวเธอ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ฐาปณีไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหนเลย เหมือนกับ ‘เอ’ ตัวละครเอกใน Blue Again หนังเรื่องแรกในชีวิตของเธอ ผู้เป็นลูกครึ่งที่มีพ่อเป็นคนขาว แม่เป็นคนสกลนคร แต่ตัวเองกลับรู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบตัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากจะมีใครหรือสิ่งใดที่เอเรียกว่าเพื่อนได้เต็มปาก หนึ่งคือ ‘เมธ’ เพื่อนชายที่รู้จักกันตั้งแต่มัธยมฯ แต่ต้องแยกย้ายกันไปหลังเรียนจบ อีกสิ่งคือ ‘คราม’ วัตถุดิบย้อมผ้าที่เธอเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ในทางหนึ่ง Blue Again คือเครื่องบันทึกความรู้สึกโดดเดี่ยวและเป็นอื่นที่ผู้กำกับอย่างฐาปณีรู้สึกมาตลอด แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่คือผลพิสูจน์ความรักที่มีต่อการทำหนังของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกลางๆ ไม่โดดเด่น และแม้จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหน แต่แวดวงที่มั่นใจว่าอยากผลักตัวเองเข้าไปคือวงการผู้กำกับ นับแต่วันแรกเริ่ม Blue Again ใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะได้ออกมาสู่สายตาผู้ชม และหนังเรื่องนี้ยังได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานในสาขา New Currents ที่มีหนังเพียงไม่กี่เรื่องได้เข้ารอบ พิสูจน์ในตัวมันเองแล้วว่าเป็นหนังที่พิเศษแค่ไหน แต่ใน 8 ปีของ Blue Again […]
Menschen ถึง…ผู้คนและสถานที่ระหว่างทาง
‘Menschen’ เป็นเพียงแค่ชุดภาพถ่ายธรรมดาๆ ที่ถูกบันทึกอย่างตรงไปตรงมาและปราศจากคำบรรยายที่แสนวิเศษหรือเหนือความเป็นจริง ผลงานชุดนี้เป็นเพียงแค่บันทึกระหว่างการเดินทาง ที่เราได้พบเจอกับบุคคลต่างๆ สถานที่ที่ไม่คุ้นชิน สภาพอากาศที่ผิดแผกจากประเทศบ้านเกิด หรือกระทั่งภูมิทัศน์และสิ่งปลูกสร้างที่แปลกตาเท่านั้นเอง
เครื่องอัดขยะขนาดครัวเรือน ช่วยเปลี่ยนขยะพลาสติกแบบบาง ให้เป็นก้อนอิฐที่ง่ายต่อการรีไซเคิล
ปกติแล้วผู้คนมักเก็บ ‘ถุงพลาสติก’ ที่ได้จากการซื้อของไว้เพื่อการใช้งานในครั้งต่อๆ ไป ถึงแม้ว่าถุงประเภทนี้จะนำกลับมาใช้งานใหม่ได้จริง แต่ความแข็งแรงอาจจะไม่คงทน ยิ่งถ้าเก็บไว้นานๆ ก็อาจจะแห้งกรอบจนใช้งานไม่ได้อีกเลย ก่อนจะเปลี่ยนสภาพเป็นขยะที่ต้องใช้เวลานานหลายร้อยปีกว่าจะย่อยสลายได้ เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นบ้าน สตาร์ทอัปสัญชาติอเมริกันอย่าง Clear Drop จึงได้ออกแบบ ‘เครื่องอัดพลาสติกแบบอ่อน (Soft Plastic Compactor : SPC)’ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานจัดการพลาสติกในครัวเรือนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย ถ้าดูผ่านๆ เจ้าเครื่องอัดพลาสติกนี้มีขนาดและหน้าตาคล้ายกับถังขยะในครัวเรือนทั่วไป เหมาะที่จะตั้งไว้ใช้งานตามมุมต่างๆ ของบ้าน ส่วนการทำงานของ SPC ก็ง่ายมากๆ แค่นำพลาสติกประเภทอ่อน เช่น ถุงพลาสติกหรือฟิล์มบรรจุภัณฑ์ ใส่เข้าไป ตัวเครื่องจะอัดขยะเหล่านั้นจนกลายเป็นลูกบาศก์แข็ง จากนั้นจะได้ก้อนอิฐที่สามารถนำไปใช้งานต่อ หรือจะทิ้งในขยะรีไซเคิลเพื่อส่งไปยังโรงงานคัดแยกขยะต่อไปก็ได้ มากไปกว่านั้น เครื่องอัดพลาสติกประเภทนี้ยังปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม เพราะมันปล่อยควันในระดับที่กฎอนามัยและความปลอดภัยกำหนดไว้ เครื่อง SPC จะเปิดให้สั่งซื้อล่วงหน้าในเดือนมกราคม 2566 ทาง bit.ly/3VXTpXM หากใครที่กำลังมองหาวิธีเปลี่ยนขยะพลาสติกในบ้านให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ก็อาจลองสั่งเจ้าเครื่องนี้มาใช้ดูได้นะ ดูวิธีใช้งานเครื่องอัดขยะพลาสติกได้ที่ shorturl.at/fQX34 Source : DesignTAXI | bit.ly/3uOuFFj
Sustainable City เมื่อเทคโนโลยีล้ำๆ ไม่ได้ทำให้เมืองยั่งยืนเสมอไป กับ ภาคภูมิ โกเมศโสภา | Unlock the City EP.16
ต้องยั่งยืนขนาดไหน ถึงเรียกว่าเมืองยั่งยืน แล้วจำเป็นแค่ไหนกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง เพื่อทำให้เกิด ‘ความยั่งยืน’ ท่ามกลางเทรนด์ความยั่งยืนที่ภาคธุรกิจยกขึ้นมาอวดอ้างสรรพคุณตัวเองกันอย่างกว้างขวาง ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีความกรีน การประหยัดพลังงาน การรักษ์โลกต่างๆ แท้จริงแล้วความยั่งยืนที่ว่านั้นคือความยั่งยืนจริงหรือไม่ แล้วถ้าเมืองจะมุ่งไปทิศทางเมืองยั่งยืน ต้องมีการวางแผน ออกแบบ และจัดการอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้ความยั่งยืนกลายเป็นความฉาบฉวย ในช่วงส่งท้ายปี 2565 ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์แห่งรายการ Unlock the City ชวน ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’ ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน และผู้ร่วมก่อตั้งบริการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า Reviv มาสนทนาถึงความยั่งยืนในแง่การพัฒนาเมือง ความย้อนแย้งของประเด็นนี้ในโลกธุรกิจ และแนวทางการกลับไปสู่ความเรียบง่าย ที่ทำให้เมืองยั่งยืนได้จริง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงแต่ความล้ำของนวัตกรรมกับเทคโนโลยีอย่างเดียว ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/Y5_vjtXPpSg Spotify : https://bit.ly/3uP7sTr Apple Podcasts : https://bit.ly/3Wex3B1 Podbean : https://bit.ly/3FqUq3l
อบอุ่นและรักษ์โลกกับผ้าห่มกันหนาว ทำด้วยขนเป็ดและวัสดุอัปไซเคิลจากสินค้าเก่าของแบรนด์ Arc’teryx
อากาศหนาวเริ่มพัดผ่านมาให้พอรู้สึกถึงฤดูหนาวกันบ้างแล้ว หลายคนคงเริ่มมองหาเสื้อกันหนาวหรือผ้าห่มสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวสิ้นปี เพื่อให้เข้ากับเทรนด์ในตอนนี้ เราขอพาไปรู้จักอุปกรณ์กันหนาวผลิตจากวัสดุเหลือใช้ ที่ให้ทั้งความอบอุ่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2021 Arc’teryx แบรนด์เสื้อผ้ากลางแจ้งและอุปกรณ์ปีนเขาจากประเทศแคนาดา ได้เปิดตัว ReBird ผ้าห่มขนเป็ดจากแบรนด์ย่อยที่ชื่อว่า System_A ในโครงการ ReBird ที่ออกแบบสินค้าหมุนเวียนผ่านการซ่อมแซม รีเซลล์ อัปไซเคิล เพื่อให้ไม่มีขยะเหลือทิ้งจากการผลิต ในปีนี้ ทางแบรนด์ได้นำผ้าห่มกลับมาวางขายอีกครั้งแบบจำนวนจำกัด โดยผ้าห่มขนเป็ดนี้ทำขึ้นจากวัสดุเหลือใช้จากผ้า 7D Arato ที่เบาและอ่อนนุ่มเป็นพิเศษจากแบรนด์ และเสริมด้วย 850 ขนเป็ดรีไซเคิล เพื่อทำให้ผ้ากันน้ำได้ดีขึ้น เท่านั้นยังไม่พอ บางส่วนของเนื้อผ้ายังทำขึ้นมาจากเสื้อผ้าเก่าและเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วจากโครงการ ReBird ที่ทางแบรนด์เปิดให้ลูกค้าส่งสินค้าเก่ากลับมาเพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการอัปไซเคิลสำหรับสินค้าอื่นๆ ด้วย นอกจากใช้ผ้าห่มในการห่อหุ้มตัวเพื่อความอบอุ่นแล้ว ยังสามารถติดกระดุมด้านหน้าเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเสื้อปอนโชได้อีกด้วย ผ้าห่มขนเป็ด ReBird เปิดจำหน่ายทางออนไลน์ที่ bit.ly/3hsgtyF Sources : Arc’teryx | arcteryx.com DesignTAXI | bit.ly/3Hx1uhv
‘เราโดน Gaslight หรือเผลอไป Gaslight ใครหรือเปล่า’ บอกทีว่าความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจยังมีอยู่จริง
คำว่า ‘Gaslight’ เป็นคำที่คนค้นหาความหมายมากที่สุดในปี 2022 จากเว็บไซต์พจนานุกรมชื่อดัง Merriam-Webster เราจึงคิดว่าควรจะพูดถึงคำนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากที่สุดเกี่ยวกับการ Gaslight (แก๊สไลต์) ทางเว็บไซต์ได้ให้ความหมายคำนี้ที่เข้าใจอย่างเห็นภาพไว้ว่า ‘The act or practice of grossly misleading someone, especially for one’s own advantage.’ หรือแปลเป็นไทยคือ การกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากหนังเรื่องหนึ่งในปี 1944 เป็นหนังที่เก่ามากขนาดว่าภาพยังเป็นสีขาว-ดำอยู่เลย หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Gaslight ตรงตัว ว่าด้วยเรื่องราวของ Paula สาวน้อยผู้อ่อนโยน ไร้เดียงสา ที่เผชิญเหตุการณ์เลวร้าย เห็นป้าแท้ๆ ถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน หลายปีต่อมา เธอเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และพบรักกับชายหนุ่มถึงขั้นตัดสินใจแต่งงาน ก่อนเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของเธอในลอนดอน ซึ่งเป็นมรดกของคุณป้านั่นเอง จุดพลิกผันของเรื่องคือการที่ผู้ชายคนนี้เห็น Paula รวยอู้ฟู่ ก็หวังจะฮุบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างของหญิงสาวเอาไว้เอง โดยใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ตั้งใจทำให้เธอรู้สึก ‘เป็นบ้า’ ซึ่งคำว่า Gaslight ก็มาจากตะเกียงไฟสมัยก่อน […]
ทำนายที่ดินกรุงเทพฯ สุดฮอตปี 2566 ย่านไหนตัวตึง ราคาจะพุ่งขึ้นในอนาคต
ในช่วงที่เศรษฐกิจเกิดภาวะเงินเฟ้อ ไม่เพียงแค่เรื่องค่าครองชีพที่พุ่งสูง แต่เรื่องที่อยู่อาศัยในเมืองไทยอย่างอสังหาริมทรัพย์ก็มีมูลค่าเติบโตไม่แพ้กัน โดยเฉพาะราคาที่ดินในเมืองหลวงที่นับวันมีแต่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ด้วยปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ ส่งผลให้ 5 ย่านในกรุงเทพฯ มีราคาที่ดินสูงขึ้นในอนาคต สำหรับย่านที่ได้รับรางวัลที่ 1 นั้น เป็นพื้นที่สุดฮอตมีแต่คนอยากลงทุน ได้แก่ โซนถนนสีลม ถนนเพลินจิต ถนนวิทยุ และถนนพระรามที่ 1 ตรงบริเวณหน้าสยามสแควร์ไปจนถนนเพลินจิต มีราคาสูงสุด 1,000,000 บาท/ตารางวา นับว่าเป็นราคาที่ดินแพงที่สุดในกรุงเทพฯ รองลงมาคือ ถนนสุขุมวิท ราคา 750,000 บาท/ตารางวา ถนนรัชดาภิเษก ราคา 450,000 บาท/ตารางวา ถนนเพชรบุรี ราคา 300,000 บาท/ตารางวา และถนนพหลโยธิน ราคา 250,000 บาท/ตารางวา ข้อมูลจากกองประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เผยข้อมูลราคาที่ดินกรุงเทพฯ ในปัจจุบันที่มีแนวโน้มเติบโตในปี 2566 มากไปกว่านั้น กรมธนารักษ์ยังรายงานอีกว่า ราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 2566 – 2569 ในภาพรวมทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 เปอร์เซ็นต์ […]
สัมผัสอีกมุมของ อโศก ซุกซ่อนความสงบในย่านที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว
พูดถึงชื่อย่าน ‘อโศก’ เดาว่าภาพในหัวของใครหลายคนคงหนีไม่พ้นภาพเมืองและผู้คนที่พลุกพล่าน โดยเฉพาะถนนอโศกมนตรีซึ่งเป็นถนนสายหลัก ไปเมื่อไหร่จะได้เห็นภาพการจราจรที่คึกคักเสมอ อโศกถือเป็นย่านฮิตของคนทำงานและนักท่องเที่ยว มีบริษัทใหญ่ๆ และร้านรวงมากมายมาตั้งอาคารสำนักงานที่ย่านนี้และไม่เคยย้ายหนีไปไหน อาจเพราะช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ ย่านสุขุมวิทเคยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ ย่านที่อยู่ใกล้กันอย่างอโศกจึงได้รับอิทธิพลมาอย่างไม่อาจปฏิเสธ จนเกิดเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงาน ร้านอาหาร และสถานที่แฮงเอาต์ของคนกลางคืนมากมาย ย่านอโศกยังขึ้นชื่อเรื่องการเป็นย่านที่คอนโดมิเนียมเยอะ ด้วยอาคารสำนักงานของออฟฟิศหลายแห่งมากระจุกตัวอยู่ในย่าน ประกอบกับเป็นโลเคชั่น Interchange ของรถไฟฟ้า BTS สถานีอโศก และ รถไฟใต้ดิน MRT สถานีสุขุมวิท ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ย่านอโศกจึงได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่ขยันมาปลูกคอนโดฯ ในย่านกันอย่างคึกคัก แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ โลเคชั่นใจกลางเมืองอันพลุกพล่าน ย่านอโศกยังมีด้านสงบเงียบที่เหมาะจะใช้เวลาพักผ่อนในวันสบายๆ ได้อย่างมีคุณภาพ คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ เราจึงอยากชวนลัดเลาะเข้าไปในย่านอโศก พาทุกคนไปสำรวจแหล่งเช็กอินที่เป็น Hidden Gems และวิถีชีวิตปกติธรรมดาของชาวอโศกที่อาจไม่เคยเห็น จิบม็อกเทลยามเย็นในบาร์ลับสไตล์ฮาวาย Calm Kraam บนชั้นสองของโรงแรม Tints of Blue Residence ในซอยสุขุมวิท 27 มีบาร์ลับซ่อนอยู่ จะใช้คำว่าบาร์ลับก็ไม่ถูก เพราะ Calm Kraam […]
ทางเลือกใหม่สำหรับรถยนต์ EV ‘Lignode’ แบตเตอรี่จากต้นไม้ ชาร์จไว ปลอดภัย ไม่ทำลายโลก
แม้รถยนต์ไฟฟ้า EV จะเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง จนค่ายรถยนต์และผู้ใช้ทั่วโลกต่างให้ความสนใจมากขึ้นในช่วงนี้ แต่ก็มีคนที่ยังคงชั่งใจในการซื้อรถยนต์ประเภทนี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน เนื่องจากเปลี่ยนแบตเตอรี่แต่ละที จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากถึงหลักแสนเป็นอย่างต่ำ เพราะเหตุนี้ ‘Stora Enso’ บริษัทผลิตวัสดุหมุนเวียนในเมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ จึงได้คิดค้นแบตเตอรี่ที่ทำจากต้นไม้ที่มีชื่อว่า ‘Lignode’ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืนสำหรับรถยนต์ EV ในอนาคต Lignode เป็นแบตเตอรี่ที่ทำจากคาร์บอนหมุนเวียนจาก ‘ลิกนิน (Lignin)’ หรือส่วนของผนังเซลล์พืชที่ทำหน้าที่เป็นสารยึดเกาะและทำให้ไม้มีความแข็งและต้านทานต่อการเน่าเปื่อย ซึ่งปกติแล้วภายในต้นไม้แต่ละต้น จะประกอบด้วยลิกนินประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ลิกนินเป็นหนึ่งในแหล่งคาร์บอนหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้ Stora Enso จึงตัดสินใจเลือกใช้ลิกนินจากต้นไม้ในการผลิต Lignode เพื่อเป็นพลังงานทางเลือก แทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซธรรมชาติ และคาร์บอนกราไฟต์ในแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้ขับเคลื่อนยานพาหนะในปัจจุบัน กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ Lignode เริ่มจากการแยกลิกนินออกจากเนื้อไม้ และกลั่นบริสุทธิ์จนได้ออกมาเป็นผงคาร์บอนละเอียด (Fine Carbon Powder) เพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับทำขั้วบวกลบของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ในชื่อ ‘ผงคาร์บอนแข็ง (Hard Carbon Powder)’ จากนั้นจะถูกนำมาใช้ต่อเพื่อผลิต ‘อิเล็กโทรดคาร์บอนแข็ง (Hard Carbon […]
สัมผัสฮ่องกงในซีนหนังของหว่อง กาไว กับนิทรรศการภาพถ่าย โดย Wing Shya วันนี้ – 29 ม.ค. 66 ที่ HOP ศรีนครินทร์
‘ฮ่องกง’ ของคุณหน้าตาเป็นแบบไหน เรามั่นใจว่าคำตอบของหลายๆ คนน่าจะเป็นฮ่องกงที่เป็นเมืองคนเหงา ซึ่งทั้งเศร้าและโรแมนติก เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์ของผู้กำกับ ‘Wong Kar-Wai (หว่อง กาไว)’ ใครที่ยังติดตรึงกับภาพเมืองฮ่องกงที่ฉาบไปด้วยแสงไฟสีแดง และปกคลุมไปด้วยบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกแสนโดดเดี่ยว HOP หรือ Hub Of Photography ได้จัดนิทรรศการภาพถ่ายของศิลปินชาวฮ่องกง ‘Wing Shya’ ผู้ทำงานบันทึกเบื้องหลังภาพยนตร์ของผู้กำกับ หว่อง กาไว ที่เป็นดั่งสื่อกลางช่วยให้ผู้คนเข้าใจภาพของฮ่องกงในเฟรมหนังที่คุ้นเคย Wing Shya คือช่างภาพที่ถ่ายภาพเบื้องหลังภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Happy Together (1997) และ In the Mood for Love (2000) จนถูกใจผู้ชมจำนวนมาก นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายของภาพยนตร์ Eros (2004) และ 2046 (2004) อีกด้วย นอกจากจะเป็นการย้อนกลับไปรำลึกถึงภาพเมืองฮ่องกงเมื่อหลายสิบปีก่อนในความทรงจำ ที่หลายๆ คนรับรู้ผ่านภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวฮ่องกงแล้ว ภาพถ่ายของ Wing Shya ยังงดงาม ดูเป็นธรรมชาติ ให้แรงบันดาลใจ […]
JUST READ นักอ่านที่ไม่ได้แค่อ่านหนังสืออย่างเดียว แต่ยังขับเคลื่อนการอ่านผ่านอีเวนต์
ความชอบหนังสือและนิสัยรักการอ่าน พาให้เราไปทำอะไรได้บ้าง บางคนเดบิวต์เป็นนักเขียน บางคนเป็นนักสะสมหนังสือ บางคนลงทุนเปิดร้านขายหนังสือ แต่ความชอบหนังสือของ ‘เวฟ-สหัสวรรษ ธนสุขสวัสดิ์’ เจ้าของเพจ ‘JUST READ’ นั้นพาให้เขาเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนวงการการอ่านผ่านการจัดอีเวนต์ต่างๆ โดยเริ่มจาก Book Club วงเล็กๆ ในมหาวิทยาลัย จนมาถึงงานหนังสือสเกลใหญ่ระดับเมือง อย่างงาน ‘หนังสือในสวน’ ที่มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนหลายร้อยคน คอลัมน์ Art Attack ขอชวนทั้งนักอ่านและนักอยากอ่านไปพูดคุยกับผู้ก่อตั้งเพจ JUST READ ถึงจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนเรื่องหนังสือและการอ่าน มุมมองการจัดงานหนังสือจากภาคประชาชน และความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมการอ่านในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มต้นด้วยกลุ่มคนผู้รักการอ่าน แรกเริ่มเดิมที JUST READ เป็นเพียงคอมมูนิตี้เล็กๆ ที่เวฟก่อตั้งขึ้น สำหรับกลุ่มคนที่อ่านหนังสือแบบเดียวกันในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อปี 2563 และได้จัด Book Club เป็นครั้งแรกกับกลุ่มคนเล็กๆ เพียง 5 คนเท่านั้น ซึ่งถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะคำว่า Book Club ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย “ขนาดเรายังเพิ่งเคยได้ลองทำอะไรแบบนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ก็เลยไม่แปลกใจที่คนไทยอาจยังไม่ค่อยรู้จัก คุ้นชิน […]