
LATEST
Hong Kong เมืองที่นอนบนฟ้าและลงมาเดินดิน
โอ้…นี่สินะความเจริญ จากสุวรรณภูมิเวลา 21.55 น. (เวลาไทย) เดินทางมาถึงสนามบินฮ่องกงเวลา 01.40 น. (เวลาฮ่องกง) ที่สนามบินมีแท็กซี่สีแดงสุดจ๊าบวิ่งไปมารอผู้โดยสาร แต่ถ้าเดินออกมาห้านาทีก็จะเจอกับท่ารถบัสที่วิ่งตลอดคืน เราเดินทางออกจากสนามบินไปถึงที่พักในเกาะ Kowloon Mongkok ประมาณสามสิบกิโลเมตร ใช้เวลาเกือบชั่วโมง และจ่ายเงินค่ารถ 23 ดอลลาร์ฮ่องกง ตีเป็นเงินไทยราว 103 บาท เป็นไปตามรายงานจาก Urban Mobility Readiness Index เมื่อปี 2022 ที่บอกว่า ฮ่องกงเป็นเมืองที่มีขนส่งสาธารณะดีที่สุดในโลก เพราะราคาถูก มีโครงสร้างระบบที่ดี แถมยังมีความหนาแน่นของสถานีต่างๆ ที่ทำให้เราเดินทางด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกสบาย จากพื้นที่ทั้งหมด 1,073 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะฮ่องกง คาบสมุทรเกาลูน เขตดินแดนใหม่เกาะลันเตา และเกาะอื่นๆ อีกกว่า 200 เกาะ ขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบสามารถเปลี่ยนเส้นทางและเชื่อมถึงกันเกือบทั้งหมดได้อย่างไร้รอยต่อ และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ขนาดเราที่มีสกิลภาษาอังกฤษไก่กา ก็ยังอาศัยการมองป้าย มองสัญญาณ หรือสังเกตสัญลักษณ์ที่มี จนนำไปสู่จุดหมายได้อย่างไม่งงงวย คอลัมน์ Urban Eyes […]
แผนการพัฒนาชีวิตชาวเมืองใน Attack on Titan ให้อยู่บนเกาะสวรรค์ได้อย่างมีความสุข
“ฉันเชื่อมาตลอดว่าอีกฟากของทะเลนั้นมีอิสระ แต่ว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่อยู่อีกฟากคือศัตรู ถ้าเราฆ่าคนอีกฟากได้หมดเราจะเป็นอิสระกันได้งั้นเหรอ” – เอเรน เยเกอร์ ติดตาม Attack on Titan มาจนถึง The Final Season Part 3 แล้ว หลายครั้งก็แอบจินตนาการว่า หากเราเป็นชาวเอลเดียในบทบาทของชาวบ้านธรรมดาทั่วไป จะใช้ชีวิตบนเกาะสวรรค์อย่างมีความสุขได้อย่างไร ถ้าต้องคอยเอาชีวิตรอดจากการรุกรานของไททัน แถมดูเหมือนว่าความเป็นอยู่ของเมืองก็ยังไม่ค่อยจะเอื้อให้อยู่รอดจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตเสียด้วย คอลัมน์ Urban Isekai ชวนมาวางแผนและหาทางพัฒนาเมืองหลังกำแพงสูงกัน จะทำอย่างไรให้ชาวเมือง Mitras บนเกาะสวรรค์แห่งนี้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดีขึ้น แม้ว่ายังต้องหาหนทางเอาชีวิตรอดจากการบุกรุกของไททันก็ตาม ซาซาเงโย! ซาซาเงโย จงอุทิศด้วยหัวใจ! สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชาวเอลเดียและชาวโลก หลังจากที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมานาน ก็ถึงเวลาที่ชาวเอลเดียจะได้มีเพื่อนบ้านสักที ด้วยการเปิดเกาะและส่งตัวแทนไปผูกสัมพันธ์กับเมืองรอบนอก เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป และนำเอาเทคโนโลยีก้าวหน้าจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมืองให้เท่าทันโลก หรือนำมาใช้พัฒนากองทัพเพื่อสร้างความแข็งแรง รองรับการบุกรุกของไททันได้อย่างเต็มที่ รวมถึงสร้างความเข้าใจกันผ่านประวัติศาสตร์ของทั้งสองฝ่าย ให้การศึกษาชาวเมือง ชาวเมืองหลายคนยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แถมเรื่องราวนอกกำแพงยังกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้เอเรนและอาร์มินในวัยเด็กต้องแอบอ่านหนังสือของคุณปู่ ถึงจะรู้เรื่องราวของมหาสมุทรกว้างใหญ่ภายนอกกำแพง ดังนั้นเราจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาการศึกษาให้กระจายไปในทุกพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าอยู่เขตไหนก็จะได้เรียนหนังสือ เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ ให้ชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความก้าวหน้าของโลกภายนอกกำแพง ข้อมูลความถูกต้องของประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน […]
เข้าใจความรู้สึกของตัวเองระหว่างวัน ผ่านแอปฯ บันทึกอารมณ์ ‘How We Feel’ ที่มีให้เลือกถึง 4 หมวด 144 อารมณ์
เพราะความรู้สึกในหนึ่งวันของแต่ละคนไม่สามารถอธิบายได้ด้วยอารมณ์เพียงอารมณ์เดียว และไม่สามารถนิยามได้ด้วยคำไม่กี่คำ เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จัก ‘How We Feel’ แอปพลิเคชันสำหรับบันทึกอารมณ์ระหว่างวันที่คล้ายกับไดอารี เพื่ออธิบายความรู้สึกที่แท้จริงในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งจะเป็นเสมือนตัวช่วยที่ทำให้เราได้รู้จักอารมณ์ของตัวเองในแต่ละวันได้มากขึ้น How We Feel เป็นแอปฯ ตัวแรกขององค์กรไม่แสวงผลกำไรทางวิทยาศาสตร์อย่าง ‘How We Feel Project, Inc.’ ที่พัฒนาขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาด นำโดย Ben Silbermann หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Pinterest ที่หลงใหลในการสร้างโลกที่ดีต่อสุขภาพทางอารมณ์ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ วิศวกร นักจิตวิทยา ไปจนถึงนักบำบัด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าฟังก์ชันต่างๆ ภายในแอปฯ จะสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของตัวเองได้ครอบคลุมมากกว่าแอปฯ ไหนๆ ส่วนการใช้งานก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเช็กอินภาวะทางอารมณ์ความรู้สึกระหว่างวันด้วยตัวเองอย่างไม่จำกัดจำนวน ทั้งยังตั้งเวลาแจ้งเตือนได้ด้วยตนเอง เพราะทางผู้ให้บริการเข้าใจว่าภายในหนึ่งวัน คนเราสามารถมีอารมณ์ที่หลากหลายและไม่ซ้ำกัน โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกคำอธิบายอารมณ์ ณ เวลานั้นได้จากคำนิยามทางอารมณ์ที่มีให้เลือกกว่า 144 อารมณ์ ซึ่งแบ่งเป็น 4 หมวดหลักที่แทนด้วย 4 สี ได้แก่ 1) สีแดง แทนกลุ่มอารมณ์ […]
การเติบโตของ ‘ตลาดสินค้ามือสอง’ อาจกำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม
รายงานประจำปี 2021 ของ thredUP แพลตฟอร์มตัวกลางออนไลน์สำหรับซื้อขายเสื้อผ้ามือสองคุณภาพสูง พบว่า ในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี (2021 – 2022) ตลาดเสื้อผ้ามือสองเติบโตเพิ่มสูงขึ้นถึง 24 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะขยายตัวจนมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ (7 ล้านล้านบาท) ในปี 2025 การคาดการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในยุคปัจจุบันเริ่มหันมาสนใจการซื้อสินค้ามือสองมากขึ้น และตัวเลขเหล่านี้ยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้ อันเป็นผลมาจากการตระหนักรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าตามกระแส (Fast Fashion) และปัญหาสิ่งแวดล้อม ทว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาดมือสองในระยะเวลาอันสั้นเช่นนี้ อาจไม่ได้ส่งผลเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูอีกแง่มุมหนึ่งของตลาดสินค้ามือสองที่หลายครั้งอาจไม่ได้กรีน แต่กำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมอยู่ คนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แม้เทรนด์การซื้อสินค้ามือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์เครื่องใช้จะไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่หลังจากธุรกิจขายของออนไลน์เติบโตขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ฐานลูกค้าสินค้ามือสองที่แต่เดิมมีเพียงส่วนน้อย เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นเทรนด์มาแรงของผู้คนทั่วโลก โดยผลสำรวจจาก GlobalData 2022 พบว่า ตลาดมือสองในทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดตลาดที่เติบโตขึ้นจากการประมาณการเติบโตถึง 8 เท่าในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับตลาดสินค้าโดยทั่วไปในท้องตลาด รองลงมาคือทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย เอเชีย และยุโรปตามลำดับ […]
ผังเมือง ความสัมพันธ์ และความโรแมนติก | Unlock the City EP.22
รู้ไหมว่า ‘เมือง’ ที่อยู่อาศัยมีส่วนทำให้เรารู้สึกเหงาหงอย ไม่โรแมนติก หรือกระทั่งไร้คู่ตุนาหงันได้ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ ถึงดูไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนเมืองใหญ่ในหลายประเทศ ‘พนิต ภู่จินดา’ สถาปนิกผังเมืองและโฮสต์รายการ Unlock the City จะมาให้คำตอบถึงเบื้องหลังเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นแง่ที่เกี่ยวโยงกับพื้นที่สาธารณะ ความสัมพันธ์ของชุมชน หรือขนส่งสาธารณะก็ตาม ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/d1ktUSJ1Aas Spotify : http://bit.ly/3YWoRGE Apple Podcasts : http://bit.ly/4062S0S Podbean : http://bit.ly/3YPZBBM
Robarts Library ความอบอุ่นสบายตาในสเปซที่แข็งกร้าว โซนอ่านหนังสือรีโนเวตใหม่ในห้องสมุดสไตล์ Brutalist
ห้องสมุดมหาวิทยาลัย คือหนึ่งในสถานที่พักผ่อนและใช้ประโยชน์มากมายของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นที่เรียน อ่านหนังสือ ติว นั่งเรื่อยเปื่อย หรือกระทั่งที่สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้นอกจากพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักศึกษาแล้ว ดีไซน์และการออกแบบภายในก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ในประเทศแคนาดา ได้มีการปรับปรุงโซนห้องอ่านหนังสือในห้องสมุด ‘Robarts’ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งที่นี่ถือเป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมแนว Brutalist ที่โดดเด่น สถาปัตยกรรมแนว Brutalist คือสิ่งก่อสร้างที่มีภาพจำเป็นคอนกรีตเปลือย กระจก เหล็ก ที่ให้ภาพลักษณ์แข็งกร้าวทะมึนขึงขัง โดยโปรเจกต์รีโนเวตห้องอ่านหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูห้องสมุดที่สำคัญของมหาวิทยาลัยโทรอนโต และอาคารห้องสมุดวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา ‘Superkül’ สตูดิโอผู้รับผิดชอบโปรเจกต์นี้ได้ปรับปรุงพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้แบบร่วมสมัยของนักศึกษาและคณาจารย์ ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความเคารพกับสถาปัตยกรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดก นอกจากการเชื่อมต่อโครงสร้างแนว Brutalist ที่มีอยู่ดั้งเดิมกับส่วนต่อขยายของโถงห้องสมุดที่อยู่ติดกันแล้ว ยังมีการเพิ่มมุมเรียนรู้ในพื้นที่ห้องขนาด 1,886 ตารางเมตรที่เพดานสูงสองชั้น ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง สบาย ภายในสเปซนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่เรียนรู้ส่วนบุคคล สถานีการเรียนรู้แบบดิจิทัล ห้องให้คำปรึกษา และโซนแสงบำบัด (Light Therapy) อีกสองโซน อีกทั้งยังมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้งานเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับอาคารคอนกรีต รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการเรียนรู้ ผ่านมุมเรียนรู้ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับความสูงโต๊ะ กำหนดค่าที่นั่ง และปรับแสงตามต้องการได้ นอกจากนี้ ตัวสตูดิโอยังทำงานกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความรู้เรื่องเสียงในการสร้างระบบลดเสียง โดยใช้แผ่นไม้เจาะรูและแผ่นโลหะที่ออกแบบมาอย่างกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมภายใน ช่วยให้เสียงของกลุ่มคนที่ต้องสนทนากันไม่ไปรบกวนนักศึกษาคนอื่นๆ “เพื่อเป็นเกียรติแก่รูปทรงเรขาคณิตและวัสดุอันโดดเด่นที่ทำให้ห้องสมุด Robarts […]
เรียนรู้และเข้าใจความตายในย่านเก่า ผ่านกิจกรรมการเดินทาง Death Trail ที่ชุมชนย่านสามเสน 19 มี.ค. 66
หากใครกำลังค้นหาคำตอบและความหมายของ ‘ความตาย’ เราขอชวนทุกคนเข้าร่วม ‘Death Trail’ กิจกรรมที่จะพาไปสำรวจและทำความเข้าใจความตาย โดยมีเรื่องของศาสนาและความเชื่อเป็นแกนหลักของการเดินทาง การเรียนรู้ครั้งนี้จะเกิดขึ้นผ่านวิถีชีวิตของ ‘ชุมชนย่านสามเสน’ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หนึ่งในชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ซึ่งผู้เข้าร่วมจะได้มองภาพการอยู่ร่วมกันในพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์ และเรื่องราวของกลุ่มศาสนาวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทั้งไทย จีน คริสต์ ญวน รวมไปถึงชุมชนชาวประมงเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กิจกรรมนี้นำการเดินทางโดยทีม Feel Trip และวิทยากรจากชุมชน ผู้เข้าร่วมจะได้สำรวจสถานที่สำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ วัดจีน วัดไทย รวมไปถึงสุสาน Death Trail จะจัดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 – 12.00 น. โดยมีค่าเข้าร่วมกิจกรรมคนละ 652 บาท (รวมค่าวิทยากรชุมชน 4 ท่าน อุปกรณ์กิจกรรม และอาหารเที่ยง) ใครสนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ forms.gle/oiKYhitLfCbVMzNPA ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Death Talk ความตายและชีวิต
‘ไม่มีใครที่อยากมีความสัมพันธ์แย่ๆ หรอก’ ค่านิยมสุขภาพจิตที่อยากให้ทำความเข้าใจใหม่
เรารักสังคมที่เปิดกว้างและเข้าถึงเรื่องสุขภาพจิตอย่างง่ายดายขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มากๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ไม่รักเลยกับการที่บางคนนำชุดความรู้จิตวิทยาบางอย่างมาวิเคราะห์กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จนลืมไปว่า ทุกเหตุการณ์และตัวบุคคลล้วนมีความละเอียดอ่อนต่างกันโดยสิ้นเชิง แค่เพียงชุดความคิดเดียวที่แม้จะได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างขนาดไหน ก็ไม่ได้เป็นบทการันตีว่าจะสามารถนำมาใช้กับทุกคนบนโลกได้ ไม่มีใครคนไหนเหมือนกัน และไม่ว่าอะไรแย่ๆ จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่จริงเลยที่สิ่งนั้นจะทำให้เรากลายเป็นคนต้องคำสาป และมันไม่มีหรอก ปัญหาสุขภาพจิตไหนที่โหดร้ายเกินเยียวยา หากคนคนนั้นเลือกที่จะมีความกล้า ให้เวลา และเชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อเดินทางไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพจิตดี เพราะอยากให้คนในสังคมเปิดใจ มีมายด์เซตที่ไม่ตัดสินคนอื่นผ่านความสัมพันธ์ของพวกเขาไปก่อน เราขอแชร์บางชุดความคิดที่อยากกระตุ้นให้ทุกคนลองมองในมุมใหม่ดู “เกิดมาในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น โตมาก็จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่อบอุ่น” เราขอเริ่มด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยาที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นคือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ในช่วงปี 1950s ที่ชื่อ Attachment Theory โดย John Bowlby เขาเชื่อว่า ทารกทุกคนเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดเพื่อเป็นทักษะในการอยู่รอด ซึ่งคนใกล้ชิดของทารกคือ ‘ผู้ดูแล’ นั่นเอง (เราขอใช้คำว่า ผู้ดูแล เพราะคนคนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่เท่านั้น ใครก็ตามที่ใกล้ชิดและผูกพันกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณยาย พี่เลี้ยง คนเลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ ฯลฯ ก็ถือเป็นผู้ดูแลทั้งสิ้น) John Bowlby ได้ทำการทดลองกับหลายครอบครัว และได้บทสรุปที่กึ่งๆ เป็นคำทำนายอนาคตของเด็กแต่ละครอบครัวมาว่า ‘สิ่งที่คนใกล้ชิดเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสิ่งที่เด็กเลือกตอบสนองนั้น จะช่วยสร้างแพตเทิร์นความสัมพันธ์ของเด็กคนนั้น เมื่อเขาโตมามีคนรักเป็นของตัวเอง’ […]
ร้านชาเล็กๆ ริมน้ำ ‘The Willow Teashop’ โปรเจกต์คั่นเวลาของร้านหนังสือเดินทาง ที่บ้านศิลปิน
หลังจากประกาศโยกย้ายทำเลร้านไปที่แห่งใหม่เมื่อปลายปีที่แล้ว ในช่วงเวลาระหว่างที่กำลังรอร้านใหม่สร้างเสร็จ ร้านหนังสือเดินทางก็ได้มีโปรเจกต์คั่นเวลาเล็กๆ เกิดขึ้น นั่นคือ ‘The Willow Teashop’ ร้านชาเล็กๆ ริมน้ำ ที่แม้ไม่ได้เป็นร้านหนังสือแต่ก็มีบรรยากาศน่ารักๆ คล้ายร้านหนังสือเดินทาง เอาไว้คลายความคิดถึงให้ชาวนักอ่านที่มีต่อร้านหนังสือแห่งนี้ นอกจากจำหน่ายชาเป็นหลัก The Willow Teashop ยังจำหน่ายขนม Homemade Scones และหนังสือภาษาอังกฤษด้วย โดยอาจมีสินค้าอื่นๆ ประกอบบ้าง พูดง่ายๆ ว่าที่นี่คือร้านชาที่มีหนังสือขาย เมื่อเลือกซื้อหนังสือที่ถูกใจแล้ว ก็นั่งดื่มชา ชิม Scone และเฝ้ามองวิวริมน้ำไปด้วยได้ The Willow Teashop ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของบ้านศิลปิน (The Artist’s House) คลองบางหลวง บางกอกน้อย กรุงเทพฯ ซึ่งชั้นล่างมีมุมกาแฟ งานศิลปะ มุมให้อาหารปลา และสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย ใครที่อยากเดินทางไปเยี่ยมเยียน ทางเพจร้านหนังสือเดินทางแจ้งว่า The Willow Teashop อาจเปิดให้บริการไม่ได้ทุกวัน เพราะเจ้าของร้านยังต้องโฟกัสกับการสร้างร้านหนังสืออยู่ ดังนั้นตัวร้านชาอาจเปิดให้บริการได้เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดอื่นๆ […]
Urban Eyes 27/50 เขตคันนายาว Khan Na Yao
เลยครึ่งทางมาแล้วกับเขตที่ 27 ของโปรเจกต์ Bangkok Eyes นั่นคือ เขตคันนายาว มีการสันนิษฐานว่าชื่อของเขตนี้มีที่มาจากในอดีตที่พื้นที่บางส่วนในย่านนี้เป็นที่ทำนาผืนใหญ่ โดยในการทำนาจะมีการสร้างแนวดินให้พูนสูงขึ้นจากท้องนาเพื่อกั้นที่นาเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่า คันนา นั่นเอง โดยมีที่นาผืนหนึ่งใกล้กับคลองแสนแสบ กินอาณาเขตกว้างขวางมาก เรียกว่าเป็นนาที่มีคันนายาวมากที่สุด ปกติแล้วเราไม่ค่อยได้ผ่านเขตนี้เท่าไหร่ แต่พอทราบมาว่ามีถนนกาญจนาภิเษกตัดผ่านตรงกลางของเขต แบ่งเป็นฝั่งซ้ายและขวา ยิ่งลองค้นว่ามีสถานที่น่าสนใจที่ไหนบ้าง ก็พบสวนสยามที่เป็นเหมือนคนคุ้นหน้าคุ้นตาของเรา แต่อุตส่าห์มาลุยเขตนี้ทั้งที ต้องมีพิกัดอื่นๆ แถมด้วยแน่นอนอยู่แล้ว ที่สำคัญสัปดาห์นี้เรายังอยู่กับกล้อง Lumix S1R ตัวเดิม หลังจากใช้งานมาได้พักใหญ่ๆ ก็ได้การตั้งค่าและเทคนิคการใช้งานที่เข้ามือแล้ว โดยเรามักจะเปิดรูรับแสงที่ f/8 ขึ้นไป และใช้ระบบการโฟกัสแบบ Hyperfocal Length เป็นการกะระยะ บวกกับตัวเลนส์ Lumix 24-105mm f/4.0 ที่มีระยะซูมให้เลือกใช้เยอะ หลักๆ เราตั้งระยะไว้ที่ 35mm เพื่อให้คุ้นชินกับระยะที่จะได้รูป และรู้ตำแหน่งว่าควรยืนอยู่ตรงไหนถึงจะได้เฟรมที่ต้องการ ส่วนจุดที่เราชอบมากๆ คือมี 3 Dials สำหรับการปรับ F-Stop, Shutter Speed และ […]
แอปพลิเคชัน Talk to PEACH ปรึกษาสุขภาพเพศออนไลน์ พร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคน
เราเชื่อว่าทุกคนต้องเคยมีคำถาม ข้อสงสัย และความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเพศ แต่ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร หรือถ้าหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก็ไม่แน่ใจว่าจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ‘Talk to PEACH’ คือแอปพลิเคชันที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องเพศ โดยผู้ขอรับคำปรึกษาสามารถเลือกผู้เชี่ยวชาญเองได้ ไม่ว่าจะเป็นหมอหรือนักเพศวิทยา รวมถึงยังเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ไม่ว่าใครก็เลือกสนทนาแบบไม่ระบุตัวตนได้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวหรือรู้สึกเขินอายในการเข้ารับคำปรึกษาเลย การปรึกษาที่ว่านั้นครอบคลุมปัญหาของทุกเพศทุกวัย ทั้งเรื่องของสุขภาวะทางเพศ ฮอร์โมน ปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ โรคทางอวัยวะเพศและระบบสืบพันธุ์ และหัวข้ออื่นๆ อีกกว่า 20 หัวข้อ โดยมีค่าบริการในการปรึกษาเริ่มต้นที่ 490 บาท ส่วนขั้นตอนในการเข้ารับคำปรึกษาก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แค่ลงทะเบียนด้วยเบอร์โทรศัพท์ทางแอปพลิเคชัน Talk to PEACH เลือกวันเวลาที่สะดวกในการนัดหมายพร้อมหัวข้อที่จะปรึกษา ชำระเงินเพื่อยืนยันการนัด และรอเข้ารับการปรึกษาได้เลย เมื่อถึงวันเวลาตามนัดหมาย ระบบจะมีข้อความแจ้งเตือนวิดีโอคอล โดยคุณเลือกเปิดหรือปิดกล้องก็ได้ตามความสะดวกใจ แอปพลิเคชัน Talk to PEACH ดาวน์โหลดได้ทั้ง iOS ที่ apple.co/3kY7kzE และ Android ที่ bit.ly/3yrH9ES Source :Talk to PEACH | talktopeach.com
London Cycling Campaign ประท้วงของนักปั่นจักรยานในกรุงลอนดอน เพื่อทวงคืนถนนที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิง
เป็นเวลากว่า 90 นาทีที่กลุ่มนักปั่นจักรยานกว่า 100 คนในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รวมตัวกันปั่นจักรยานประท้วงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566 เพื่อรณรงค์และทวงคืนเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัยสำหรับนักปั่นเพศหญิงในเมืองเนื่องในวันสตรีสากล ภายใต้แคมเปญที่ชื่อว่า ‘London Cycling Campaign (LCC)’ London Cycling Campaign เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กร ‘Women’s Network’, ‘The Joyriders Women’s Cycling Organisation’ และ ‘Londra Bisiklet Kulübü’ หลังจากพบว่าการขี่จักรยานในเพศหญิงหลายครั้งมักเกิดอันตรายจากความไม่ปลอดภัยในเส้นทาง รวมไปถึงการก่อกวนและคุกคามจากปัจจัยภายนอก การออกมาประท้วงเดินขบวนในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการส่งสารจากผู้ใช้ถนนจริง ไปถึงนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเหล่านักปั่นเริ่มเดินขบวนผ่านสถานที่สำคัญในเมืองตั้งแต่ Marble Arch, Buckingham Palace, Palace of Whitehall ไปจนถึง Trafalgar Square ก่อนจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้น เป็นภาพที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้พบเห็นเพราะนักปั่นหลายคนต่างแต่งตัวด้วยชุดแปลกตา พร้อมพาสัตว์เลี้ยงสุดน่ารักไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมวนั่งในตะกร้าหน้ารถจักรยานมาด้วย หลังการประท้วงจบลง Sadiq Khan นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ตนเองต้องการให้ผู้หญิงรู้สึกปลอดภัยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในลอนดอนเช่นกัน […]