ปลีกตัวจากโลกที่วุ่นวาย ไปหาความหมายของความว่างเปล่า ใน ‘ภูมิทัศน์ของความว่างเปล่า : Landscape of Emptiness’

‘ความว่างเปล่า’ ไม่ได้แปลว่า ไม่มีอะไร แต่อาจหมายถึงสภาวะที่เราเลิกยึดติด ปล่อยวางตัวเองไปจากบางสิ่งบางอย่าง หรือเป็นการสูญสลายไปของสิ่งของต่างๆ ก็ได้ ‘ภูมิทัศน์ของความว่างเปล่า : Landscape of Emptiness’ เป็นนิทรรศการศิลปะเดี่ยวจาก ‘สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์’ โดยมี ‘กฤษฎา ดุษฎีวนิช’ เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ชักชวนให้เราหลีกหนีจากโลกอันวุ่นวาย แล้วเข้าไปสงบกาย สงบใจ กับงานศิลปะที่จำลองโลกแห่งความว่างเปล่า พร้อมสำรวจความหมายของ ‘ความว่างเปล่า’ ในหลากหลายแง่มุม รวมถึงแง่มุมสัจธรรมที่ว่าทุกสิ่งนั้นตั้งอยู่แล้วดับไป ภูมิทัศน์ของความว่างเปล่า : Landscape of Emptiness จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ – 8 มิถุนายน 2567 ที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤษภาคม 2567

ของพวกนี้ดีไซน์แล้วหรือยังเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองในช่วงไม่นานมานี้ หลังจากเริ่มเผยแพร่ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์อันแสนน่าอัศจรรย์ใจที่พบเจอตามริมทางท้องถนนเมืองไทยมาสักพักใหญ่ ทั้งผ่านช่องทางส่วนตัวหรือกับทาง Urban Creature เอง ตอนผมเรียนในโรงเรียนออกแบบ โดยทั่วไปอาจารย์มักสอนกันว่า เวลาสร้างผลงานใดๆ เราจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสิ่งที่เราดีไซน์กันอยู่ให้ได้ 3 เรื่อง ได้แก่1) ฟังก์ชันการใช้งาน2) ตอบโจทย์แก้ปัญหา3) ความสวยงาม แต่เมื่อเรามีประสบการณ์ทำงานดีไซน์ไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะพบกันว่า ไอ้ข้อที่ 3 ที่ว่าเรื่องความสวยงาม เริ่มกลายเป็นเรื่องรองมากขึ้น เพราะในสังคมปัจจุบัน ความสวยงามเป็นเรื่องของปัจเจกสูง มีความแล้วแต่บุคคลจะมอง เทสใครเทสมัน ทำให้ยุคหลังๆ นักออกแบบหลายคนในหลายวงการโฟกัสผลงานดีไซน์ไปที่เรื่องฟังก์ชันและการแก้ปัญหาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะงานออกแบบที่สวยงามมากๆ แต่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก็อาจไม่เรียกว่างานดีไซน์ที่ดีได้เช่นกัน กลับมาที่สิ่งประดิษฐ์จากคนธรรมดาผู้ไม่ได้เรียนออกแบบที่เราพบเจอได้ตามท้องถนน แล้วของพวกนี้มันดีไซน์แล้วหรือยัง มันอาจจะดีไซน์แล้วมั้ง-เพราะมีฟังก์ชันและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมากๆ แต่หน้าตาก็ดูแปลกๆ หรือมันยังไม่ได้ดีไซน์-เพราะหน้าตาแย่เกินไปกว่าที่เราควรจะไปชื่นชมมัน หรือต้องเป็นของที่ผ่านมือนักออกแบบเท่านั้นถึงจะเรียกว่าดีไซน์ บอกเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ เพราะเมื่อได้พบเจอกับของพวกนี้ชิ้นใหม่ๆ ทุกครั้ง ผมจะรู้สึกว้าวอยู่ตลอด มันชวนตั้งคำถามและท้าทายอาชีพนักออกแบบอยู่เสมอๆ ว่าพวกเราสามารถคิดวิธีออกแบบได้ดีเท่านี้ไหม แล้วเพื่อนๆ ทุกท่านคิดว่าของเหล่านี้ถูกดีไซน์แล้วหรือยัง หากยังไม่แน่ใจในคำตอบแบบเดียวกับผม ก็ขอชวนมาดูภาพของเหล่านี้กันเพลินๆ อีกครั้ง ที่ผมคัดสรรมาให้โดยเฉพาะกับคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอ ประจำเดือนนี้ได้เลย Table + Height Adjustment ระดับความสูงของโต๊ะอ่างล้างจานมาตรฐานบ้านเรามักจะอยู่ที่ […]

‘ผกา เดอ พลอว – Blooms with The Wind Blows’ ตามรอยกอดอกหญ้า ตัวแทนผู้คนและความทรงจำที่กระจัดกระจายเพราะพิษสงคราม

‘ผกา เดอ พลอว – Blooms with The Wind Blows’ ตามรอยกอดอกหญ้า ตัวแทนผู้คนและความทรงจำที่กระจัดกระจายเพราะพิษสงคราม

‘Aesop Thonglor’ ซิกเนเจอร์สโตร์สาขาแรกของไทยที่เต็มไปด้วยกลิ่นหอมและความสวยงามของไม้สักไทย

‘Aesop’ คือแบรนด์สกินแคร์จากออสเตรเลีย ที่ติดอันดับเรื่องความหอมของไลน์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้มีสาขาให้เลือกซื้อแค่ภายในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น แต่ตอนนี้แบรนด์ได้เปิดร้าน Stand Alone เป็นซิกเนเจอร์สโตร์สาขาแรกในประเทศไทยที่ซอยทองหล่อ 13 ในชื่อ ‘Aesop Thonglor’ สำหรับซิกเนเจอร์สโตร์สาขาแรกนี้ก็ได้ Sher Maker Studio สตูดิโอสถาปนิกจากเชียงใหม่มาร่วมออกแบบ ด้วยดีไซน์และไม้สักเหลือใช้จากท้องถิ่นที่ประกอบเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ทำให้ร้านแห่งนี้เต็มไปด้วยกลิ่นอายของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย รวมไปถึงสถาปัตยกรรมและความสวยงามแบบไทย ส่งให้บรรยากาศในร้านมีความน่าสนใจมากขึ้น เมื่อเข้าไปภายในพื้นที่หลักของร้าน จะเจอกับอ่างล้างมือที่ทำจากหินแกรนิตชนิดเดียวกับที่นิยมใช้ในห้องครัวท้องถิ่นตั้งอยู่กลางร้าน และถัดไปจะพบกับห้องฝาไหล ซึ่งเป็นบานเลื่อนที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรือนทางภาคเหนือที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ถือเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่น่าสนใจของซิกเนเจอร์สโตร์แห่งนี้ ส่วนด้านหลังบานประตูนั้นจะเป็นตู้เก็บกลิ่นหอมที่เชื้อเชิญทุกคนเข้าสู่พื้นที่แห่งความหอม ด้วยคอลเลกชันที่ไม่เหมือนใครจาก Aesop โดยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทั้งสกินแคร์ แชมพู น้ำหอม เครื่องหอมในบ้าน ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงทั้งหมดได้ที่นี่ ชมความสวยงามของร้านค้าและช้อปปิงกันได้ที่ Aesop Thonglor ในซอยทองหล่อ 13 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น.

Cooling Station สถานีรับความเย็นคลายความร้อน ให้คนเมืองได้แวะพักระหว่างทาง

อากาศร้อนจนแทบจะละลาย เดินไปไหนก็ร้อนทุกช่วงถนน แม้ว่าบางที่จะมีร่มไม้หรือหลังคาให้พอหลบแดดได้บ้าง แต่ไอความร้อนที่พัดมากับลมนั้นก็ยังทำให้ไม่สบายตัว จนอาจเดินต่อไปไม่ไหวและอาจเสี่ยงต่อการเกิดฮีตสโตรกได้ คอลัมน์ Urban Sketch ลองออกแบบ Cooling Station ที่คอยเปิดรับให้ชาวเมืองได้หลบร้อนระหว่างเดินทาง นอกจากจะเป็นที่พักเหนื่อยจากแดดและอุณหภูมิที่สูงทะลุ 40 องศาเซลเซียสแล้ว ยังมีตัวช่วยดับร้อนแบบพื้นฐานให้บริการอีกด้วย ที่พักแบบถอดประกอบได้ Cooling Station แห่งนี้ออกแบบมาในลักษณะของที่พักที่มีหลังคาช่วยบังแดด และที่นั่งพักให้คนที่เดินกลางแดดมาแวะหลบร่ม โดยตัวสเตชันสามารถถอดชิ้นส่วนประกอบได้ เพื่อขยายพื้นที่ในการรองรับคนที่เข้าใช้พื้นที่นี้พร้อมกันหลายคน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะแออัดจนทำให้ร้อนกว่าเดิม อีกทั้งยังเคลื่อนย้ายนำไปตั้งประจำการที่ไหนก็ได้ เหมาะกับเส้นทางเดินยาวๆ หรือพื้นที่โล่งกว้างที่ไม่มีพื้นที่หลบร่ม อากาศถ่ายเทด้วยผนังโปร่ง แม้ว่าตัวขนาดพื้นที่จะขยายให้กว้างได้ตามต้องการ แต่ถ้าภายในสเตชันปิดมิดชิดจนเกินไปก็อาจทำให้อากาศยิ่งร้อนกว่าเดิม ดังนั้นสถานีพักร้อนของเราจึงออกแบบให้ผนังมีลักษณะโปร่งโล่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทจากด้านนอกไหลเวียนเข้าสู่ด้านใน ทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการไม่ต้องแย่งอากาศกันภายในพื้นที่นี้ มีอุปกรณ์คลายร้อนให้พร้อม และด้วยความที่เป็นสถานีหลบร้อน ภายในจึงต้องมีเครื่องปรับอากาศที่จะช่วยคลายความร้อน เพิ่มความเย็นสบายจากการเผชิญกับแดดจ้าด้านนอก รวมไปถึงมีการติดตั้งตู้น้ำฟรีที่ผู้ใช้งานจะกดน้ำเย็นๆ ดื่มให้ชื่นใจ หรือกรอกใส่กระบอกน้ำหรือขวดน้ำเพื่อพกพาไปดื่มดับร้อนหลังจากออกจากสถานีก็ได้เหมือนกัน ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ส่วนพลังงานที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในสถานีพักร้อนแห่งนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากแดดแรงๆ ของประเทศไทย ผ่านการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของที่พัก เพียงเท่านี้ ทั้งเครื่องปรับอากาศและตู้กดน้ำก็ทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน ตู้กดสินค้าดับร้อน หลังจากนั่งพักจนหายร้อนพร้อมออกเดินทางต่อ ก็ไม่ต้องกลัวว่าระหว่างทางจะเจอความร้อนจนทนไม่ไหว เพราะสถานีพักร้อนของเรามีตู้กดสินค้าอัตโนมัติจำหน่ายสินค้าดับร้อนสำหรับพกพาระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นพัด พัดลมจิ๋ว ยาดม ผ้าเย็น […]

‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ เรียนรู้ เข้าใจ และตั้งคำถาม รวมความรู้สึกหลังชมงานศิลปะที่เชียงราย

งานศิลปะถือว่าเป็นตัวกลางรูปแบบหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในหลายๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถาม การตระหนักรู้ หรืออาจเป็นการเรียนรู้บางเรื่องราวที่ศิลปินนำเสนอผ่านชิ้นงาน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกันกับงาน ‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ ที่คราวนี้ขึ้นเหนือไปจัดแสดงผลงานศิลปะกันถึงจังหวัดเชียงราย โดยผลงานที่จัดแสดงนั้นก็ได้สะท้อนถึงความน่าสนใจของเมืองเชียงรายที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ผ่านการตีความของศิลปินที่เข้าร่วมงานนี้ และในช่วงเดือนสุดท้ายของการจัดแสดงงาน Urban Creature ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมผลงานบางส่วนมาด้วย เราจึงอยากพาไปย้อนชมผลงานเหล่านั้น เพื่อซึมซับความงดงามและตีความสารที่ศิลปินต้องการสื่อพร้อมๆ กัน Thailand Biennale ‘Thailand Biennale’ คืองานมหกรรมศิลปะระดับชาติที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ สองปี โดยปีก่อนๆ ที่ผ่านมานั้น จังหวัดที่เป็นสถานที่จัดงานล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ เรื่องราวทางวัฒนธรรม รวมถึงเป็นพื้นที่แห่งเมืองท่องเที่ยว ที่พร้อมเปิดให้คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่างถิ่นได้เข้ามาใช้เวลาไปกับการชมงานศิลปะร่วมสมัยที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ของจังหวัด เปิดโลก ที่เชียงราย สำหรับครั้งที่ผ่านมา ‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงแสน และ 13 พาวิลเลียนในจังหวัดเชียงราย จากศิลปินกว่า 60 คนทั่วโลก โดยงานนี้มาพร้อมกับคอนเซปต์ ‘เปิดโลก’ หรือ ‘The […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

‘Coachella Art Installations’ ผลงานศิลปะที่สร้างสีสันให้เทศกาลดนตรีมีชีวิตชีวามากไปกว่าเสียงเพลง

เทศกาลดนตรีประจำปี Coachella ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เรียกได้ว่าแทบจะเป็นเทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นงานที่รวบรวมศิลปินชื่อดังจากทั่วโลกมาขึ้นแสดงในช่วงสุดสัปดาห์ตลอดทั้งสองสัปดาห์ สำหรับปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 12 – 14 เมษายน และ 19 – 21 เมษายน ที่ Empire Polo Club เมือง Indio รัฐ California แต่นอกจากไลน์อัปของศิลปินชื่อดังแล้ว ภายในงาน Coachella แต่ละปียังมีงาน Installation Art ที่ช่วยให้เทศกาลมีชีวิตชีวามากขึ้น โดยในปีนี้ โปรดักชันเอเจนซี Public Art Company ได้ร่วมมือกับ Paul Clemente อาร์ตไดเรกเตอร์ของ Coachella และ Goldenvoice ผู้ดำเนินการงานเทศกาล ติดตั้งงานศิลปะสามชิ้นที่ทางงานให้นิยามว่าเป็นการสำรวจขอบเขตระหว่างความเป็นจริงและโลกแห่งจินตนาการ ชิ้นงานแรกคือ ‘Dancing in the Sky’ โดยศิลปิน Morag Myerscough จากลอนดอน ซึ่งเป็นผลงานที่ดึงดูดและเชิญชวนให้ผู้คนเดินเข้าไปสำรวจหอคอยขนาดใหญ่ที่มีลวดลายและสีสันโดดเด่นตัดกับท้องฟ้า โดยมีองค์ประกอบที่เคลื่อนไหวไปตามลมได้ […]

‘Floating Glass Museum’ สร้างความตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนผ่านงานศิลปะที่หลอมรวมวัฒนธรรมเข้ากับสิ่งแวดล้อม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงที่สุดในประวัติการณ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของสภาพภูมิอากาศ และส่งผลกระทบในหลายภาคส่วนทุกทวีปทั่วโลก ทั้งอากาศที่ปั่นป่วนอย่างรุนแรง รวมไปถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และอาจจะมากขึ้นกว่าเดิมในอนาคต Luca Curci สถาปนิกชาวอิตาลี เห็นว่าปัญหานี้ไม่สามารถมองข้ามต่อไปได้ จึงร่วมกับ Giulia Tassi Design และทีมสถาปนิกและนักออกแบบระดับนานาชาติ ทำโปรเจกต์ออกแบบ ‘Floating Glass Museum’ หรือ ‘พิพิธภัณฑ์แก้วลอยน้ำ’ ด้วยการเปลี่ยนผืนน้ำเป็นผืนผ้าใบในการแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ในพื้นที่กว่า 3,800 ตารางเมตร เพื่อสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงของสภาพอากาศที่อาจจะย่ำแย่กว่าเดิม หากมนุษย์เรายังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมที่มั่งคั่งของเวนิส และงานฝีมือการทำแก้ว พวกเขาจึงนำทั้งสองสิ่งมาผสมผสานเข้ากับการออกแบบและการวิจัยเกี่ยวกับวัสดุและความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้เป็นตัวแทนของความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ศิลปะ ธรรมชาติ และประเพณีที่มาบรรจบกัน โครงการนี้มีแผนการนำไปจัดแสดงในหลายๆ เมืองที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นดูไบ นิวยอร์ก ฮ่องกง สิงคโปร์ และปูซาน Sources :Designboom | tinyurl.com/4u8uz7rsLuca Curci | tinyurl.com/4f8hxz8a

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

‘Gere’ ชั้นวางของมัลติฟังก์ชัน ช่วยประหยัดพื้นที่ในห้องครัว แถมยังถอดออกมาใช้เป็นจานได้

ที่พักอาศัยในปัจจุบันนี้มีขนาดที่จำกัด หลายคนจึงต้องมองหาเฟอร์นิเจอร์ที่ประหยัดพื้นที่ แต่ก็ต้องใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือมีฟังก์ชันดีๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งาน และถ้าใครที่ต้องการชั้นวางจานชามที่ไม่เกะกะพื้นที่ ‘Gere’ อาจเป็นสิ่งที่กำลังมองหาอยู่ เพราะเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้ผสมผสานชั้นวางและ ‘จาน’ เอาไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว จนแทบแยกไม่ออกเลยว่าสิ่งของชิ้นนี้นำมาเป็นจานใส่อาหารได้ด้วย Gere เป็นผลงานของ Florian Beser ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากพื้นที่ครัวขนาดเล็ก เขาจึงต้องการที่จะออกแบบชั้นวางถ้วยชามให้มีขนาดเล็กตามขนาดพื้นที่ของบ้าน ทำให้เกิดเป็นชั้นวางที่ใช้จานในการทำเป็นเพลตปิดส่วนด้านหน้าเอาไว้ ส่วนด้านในก็วางถ้วย ชาม หรือของใช้อื่นๆ ได้ เพลตแต่ละแผ่นหรือจานแต่ละใบนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามการใช้งาน ซึ่งหากนำมาเรียงปิดกันจนครบทุกช่องก็ยังกลายเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ช่วยตกแต่งให้บ้านหลังเล็กๆ ดูมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และหากจะใช้งานเมื่อไรก็แค่ดึงเพลตนั้นออกมาได้ทันที Gere เหมาะวางเอาไว้ในห้องครัวหรือแขวนผนังก็ได้ เพราะนอกจากจะช่วยตกแต่งบ้าน ช่วยประหยัดพื้นที่แล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อจานอีกด้วย Sources :FH Aachen | diploma-ac.de/projekte/gereInstagram : florian_beser | instagram.com/florian_beserYanko Design | tinyurl.com/22hwx5w4

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

1 4 5 6 7 8 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.