Better Living Room EP.1 | งานที่ใช่ให้กายใจได้สดชื่น

Better Living Room ห้องว่างให้เล่าเปิดห้องเรียนในซีรีส์ ‘ความรู้รอดตัว’ โดยตอนที่หนึ่ง : ‘งานที่ใช่ให้กายใจได้สดชื่น’ นี้ นำเสนอความรู้ผ่านบทสนทนาของ โอ-ศรันย์ เย็นปัญญา นักออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กับ ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมคลาส เพื่อร่วมกันตกผลึกเป็นแนวทางการเลือกงานที่ใช่ของชีวิต เพื่อให้ค้นพบความสุขในการทำงานของตัวเอง

‘กระทรวงการคั่ว’ คั่วความรู้ สู่กาแฟที่ยั่งยืน

นี่คือร้านกาแฟที่แทนตัวร้านด้วยการเป็นกระทรวง มีเจ้าของที่บอกว่าขอเป็นปลัด และเมนูทุกแก้วในร้านเป็นตัวแทนตั้งแต่รัฐมนตรีจนถึงประชาชน ที่แห่งนี้คือ ‘กระทรวงการคั่ว’ สถานที่ที่เป็นทั้งร้านกาแฟ โรงคั่วกาแฟ ศูนย์การเรียน รวมไปถึงจุดนัดหมายของคนรักกาแฟแห่งย่านปุณณวิถี เมื่อคุณอนุวัฒน์ กอบน้ำเพ็ชร ปลัดแห่งกระทรวงการคั่ว มองว่าความรู้คือสิ่งเดียวกับความยั่งยืน ของคนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำในวงการ เขาจึงสร้างที่แห่งนี้เพื่อส่งต่อความรู้ แต่จะส่งต่ออย่างไร และทำอย่างไรให้ยั่งยืนนั้น คำตอบอยู่ใน ‘กระทรวงการคั่ว’ คั่วความรู้ สู่กาแฟที่ยั่งยืน

พี่อ้ำ-ฤทัยวรรณ กับมุมมองความเป็น ‘เป็ด’

ทำได้หลายอย่างแต่ไม่เก่งสักอย่าง เหมือนเป็ด ที่ว่ายน้ำได้ เดินได้ บินได้ แต่ก็ไปไม่สุด นิยามของเป็ด หนึ่งในสภาวะที่เป็นสาเหตุให้คนยุคใหม่กังวลกันมากขึ้น “คนที่ทำได้หลายอย่าง แต่ไม่สุดสักทาง เป็นเหมือนกับเป็ด ที่บางครั้งก็เดิน บางครั้งก็ว่ายน้ำ บินได้แต่ก็ไปไม่สุด”คำนิยามของมนุษย์เป็ดที่สร้างความกังวลให้กับมนุษย์ที่ไม่ได้เชื่อว่าเราต้องมีฝันตายตัว ไม่ได้เชื่อว่าการไปถึงยอดเขาเท่านั้นถึงเรียกว่าสำเร็จ แล้วเป็ดเหล่านี้จะโบยบินอย่างเป็นสุขได้อย่างไร ค้นหาคำตอบผ่านบทสนทนาระหว่าง Urban Creature กับ พี่อ้ำ-ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ รุ่นพี่มากประสบการณ์ หากต้องนิยามว่าพี่อ้ำทำอะไรมาบ้าง พี่อ้ำเคยอยู่ทั้งวงการการศึกษา โฆษณา โปรดักชั่น เขียนบท จนปัจจุบันเป็นคนทำสื่อ รุ่นพี่ผู้มากความสามารถคนนี้บอกว่าตัวเองก็เป็นเป็ด Insight ในตอนนี้จึงจะพาไปลงลึกบทเรียนจากเป็ดรุ่นพี่ที่อยากส่งต่อเป็ดรุ่นน้องให้คลายความกังวลและมองความเป็ดให้เป็นของขวัญ นั้นอาจหมายหนทางสู่ความสุขที่เป็ดทุกคนพึ่งมี

‘ปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์’ วัตถุดิบไทยอีสานสู่ความเป็นสากล

หากนึกถึงอาหารอีสาน หนึ่งวัตถุดิบที่อยู่คู่ครกเคียงจานมายาวนานคือ ‘ปลาร้า’. รสนัวแซ่บถึงใจของปลาร้าสร้างความหลงใหลให้ผู้รักการกินแบบไทยอีสาน จนปัจจุบันเราสามารถเห็นปลาร้าบรรจุขวดตามท้องตลาดมากขึ้น ลบภาพจำที่เครื่องปรุงรสจะมีเพียงน้ำปลา น้ำตาล ซีอิ๊ว เท่านั้น . Hunt ในตอนนี้จึงออกไปตามล่าเบื้องหลังปลาร้าบรรจุขวดที่ไม่ได้มีหมุดหมายเพียงเพื่อขยายอุตสาหกรรมปลาร้า แต่ยังเป็นหนึ่งในวิธีพาสเจอร์ไรซ์ ทลายกำแพงที่บางคนมองปลาร้าว่าเป็นอาหารไม่สะอาด โดยผู้ที่จะมาเผยเบื้องลึกการทลายกำแพงนี้คือ ‘โรงงานปลาร้าปลายจวัก’ ผู้สืบสานวิถีอาหารพื้นถิ่นจากโรงหมักปลาร้าแม่สาย จังหวัดสระบุรี ที่ทั้งชีวิตคลุกคลีกับปลาร้ามาถึง 30 กว่าปี ทั้งหมดเพื่อออกไปค้นพบคุณค่าของปลาร้ายุคใหม่ที่ไม่ได้เพียงหยิบรสชาติลงจานแต่ยังส่งผ่านวัฒนธรรมการกินลงไปในขวดส่งออกสู่สากล

‘หนังใหญ่’ สลักรอยไทยจารึกในภูมิปัญญา

“ก็เป็นห่วงว่าสมบัติของชาติ อันเป็นวิชาที่บรรพชนได้รังสรรค์ไว้นี้ … สืบต่อไปได้โดยสมบูรณ์”. ครูวีระ มีเหมือน ครูภูมิปัญญาไทยผู้มีใจรักศาสตร์แห่งผืนหนัง พูดถึงร่องรอยการสืบสานหนังใหญ่ที่กำลังเลือนลางลงไปทุกทีด้วย จึงเป็นที่มาของพิพิธภัณฑ์กุฎีไศเลนทร อ.สามโก้ จ.อ่างทอง สถานที่ส่งต่อเรื่องราว ‘หนังใหญ่’ ศิลปะวัฒนธรรมคู่คนไทยตั้งแต่อดีตกาล. เราจึงหยิบเรื่องราวคุณค่าและมุมมองที่จะตอบคำถามว่าสิ่งเหล่านี้ควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างไร ผ่าน ‘หนังใหญ่’สลักรอยไทยจารึกในภูมิปัญญา

‘เต้าหู้ดำ’ ซึมซับรสชาติแห่งโพธาราม

หากพูดถึงสีของเต้าหู้คุณจะนึกถึงสีอะไร ? ด้วยภาพจำของคนทั่วไป ‘สีขาว’ น่าจะเป็นคำตอบแรกที่ผุดขึ้นมาทันที แต่ครั้งนี้จะต่างออกไปเล็กน้อย เพราะเราจะ ไปตามล่าเต้าหู้ที่อยู่คู่ตรงข้ามกับภาพจำทั่วไป เพราะเต้าหู้ชนิดนี้มีสี ‘ดำ’ ภายใต้สิ่งที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเต้าหู้สีดำ คือ วิธีการกลั่นรสชาติให้รสเค็มนำรสหวา นกำลังพอดี พ่วงด้วยความหอมจากเครื่องพะโล้ที่เป็นตัวทวีความอร่อยให้กลมก ล่อมยิ่งขึ้น ซึ่งการรังสรรค์ความนุ่ม เนียนละมุนลิ้นจนเป็นเอกลักษณ์นั้นมีเบื้องหลัง มาจากร้าน ‘เต้าหู้ดำแม่เล็ก’ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ผู้พัฒนาเต้าหู้ดำให้กลายเป็น ของขึ้นชื่อให้กับชุมชน ด้วยวิถีชีวิตผูกพันกับเทศกาลกินเจ ทำให้การถนอมอาหารเกิดเป็นวัตถุดิบเฉ พาะถิ่นมานานกว่า 50 ปี เราจึงพาไปล้วงลึกถึงเบื้องหลังใน “เต้าหู้ดำจากการ ถนอมอาหาร สู่รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์”

‘PHOkitchen’ ผักโขมแม่สู่เส้นพาสต้าฝีมือลูก

ผักโขมที่คุณแม่ใส่ใจปลูกในสวนผักปลอดสารพิษของบ้านหลังอบอุ่นที่นครปฐม สู่การเปลี่ยนเป็น ‘เส้นพาสต้าผักโขม’ ฝีมือลูก เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญแห่งร้าน ‘PHOkitchen’ ของ ‘กิ๊ก–กุลวดี โพธิ์อุบล’ และ ‘มอช–พงศธร คุ้มปลี’ ร้านพาสต้าโฮมเมดซึ่งซ่อนตัวอยู่ในซอยลาดพร้าว 29 ที่ตั้งใจไว้แต่แรกเริ่มว่า จะใช้รสธรรมชาติจากผักของคุณแม่ ปรุงแต่งอาหารทุกจานอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้คนทานรู้สึกอิ่มท้องไปพร้อมกับความอิ่มใจเมื่อได้ลิ้มรส

อนาคตหนังสือการ์ตูนจะอยู่หรือไป ?

คุณชอบอ่านการ์ตูนแบบไหน ระหว่าง ‘หนังสือ’ หรือ ‘E-Book’ ? ภาพจำสมัยก่อนตอนเด็กๆ จะรอซื้อการ์ตูนที่ร้านขายหนังสือทุกวันหลังเลิกเรียน ปัจจุบันนี้ต้องเปลี่ยนเป็นรอออกตอนใหม่บนสมาร์ทโฟนไปเสียเเล้ว เพราะปฎิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้เราอ่านสื่อต่างๆ บนออนไลน์เกือบทั้งหมด รวมทั้งวงการการ์ตูนเองก็เริ่มเปลี่ยนจากหน้าหนังสือมาอยู่บนหน้าจอมือถือกันมากขึ้น หรือว่าต่อไปจะกลายเป็นยุคของ E-Book แล้ว ? ชวนมาคุยกับ ‘บ.ก. ยูตะ’ หรือ ‘คุณพิธูร ตีรพัฒนพันธุ์’ หัวหน้ากองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ‘วิบูลย์กิจ’ ตำนานหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ครองใจคนอ่านมานานกว่า 50 ปี อย่างโคนัน ก้าวเเรกสู่สังเวียน และไททัน เมื่อปัจจุบันค้นพบว่าไลฟ์สไตล์คนอ่านเปลี่ยนไปแล้ว พร้อมกับเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์ พวกเขาจะทำอย่างไรต่อไป ต้องมาติดตามกัน ! #UrbanCreature #UrbanInsight #วิบูลย์กิจ #ebook #vibulkij

กว่าจะเป็น Cheerleading แชมป์โลก

“1 – 2 – 3 – 4 THAILAND !”.เสียงตะโกนกึกก้องพร้อมเพรียงเป็นจังหวะ ปลุกเรียกความฮึกเหิมของกองเชียร์ ที่จับจ้องการเคลื่อนไหวบนเวทีเป็นสายตาเดียว ขณะที่นักกีฬาลอยตัวอยู่กลางอากาศคือเสี้ยววินาทีลุ้นที่สุด .นี่คือบรรยากาศของ ‘เชียร์ลีดดิ้ง’ กีฬาแห่งสปิริตที่กว่าจะมาเป็นเบื้องหน้าไม่กี่นาที ต้องผ่านการฝึกซ้อมซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนร่างกายจดจำได้ ซึ่งอาศัยความอดทน วินัย และใจสู้ หลอมรวมทุกคนในทีมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน.เปิดอกคุยกับโค้ช ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และกัปตันทีม ชมรมเชียร์ลีดดิ้งมหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมเผยเบื้องหลังความตื่นเต้น กดดัน และความภาคภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปคว้าแชมป์โลก

‘จูน-กีรติญา จันทรัตน์’ นักเพาะกายหญิงทีมชาติไทย TP.17

“เราเลือกที่จะเป็นแบบนี้เอง แต่ทำไมต้องเอาความคิดคนอื่นมาตัดสินว่าเราเป็นแบบนี้ไม่ได้” เส้นทางของอดีตแอร์โฮสเตสที่เปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่สังเวียนนักเพาะกายหญิงทีมชาติ ‘จูน – กีรติญา จันทรัตน์’ ที่ต้องฝ่าฟันเพื่อเอาชนะใจตัวเอง ทั้งมีวินัยในการฝึกซ้อม คุมอาหาร และต่อสู้กับค่านิยมความสวยที่ถูกตีกรอบจากสังคม เพื่อรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ และไปให้ถึงเป้าหมายในการเป็นแชมป์โลก

The Professional 15 – นักโบราณคดีใต้น้ำ

“การเป็นนักโบราณคดีใต้น้ำ นอกจากมีความสุขที่ได้ลงไปพบเจอโลกใต้น้ำแล้ว เรายังมีความสุขที่ได้สืบค้นเรื่องราวของสิ่งที่เราเห็น”.ดำดิ่งลงไปใต้ผืนน้ำ ซากเรือ โบราณวัตถุ และร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่รอให้ ‘นักโบราณคดีใต้น้ำ’ มาพบเจอ และขุดค้นเพื่อทำความเข้าใจเรื่องราวในอดีต โดย ‘ณัฐ–ณภัทร ภิรมย์รักษ์’ ผู้ช่วยนักโบราณคดีใต้น้ำ จะพาเราไปพบกับภาพที่ต่างออกไปจากโบราณคดีบนบก ซึ่งแรงไหลเชี่ยวของกระแสน้ำ และขีดจำกัดของร่างกาย คือความท้าทายและความน่าหลงใหลที่นักผจญภัยใต้น้ำต้องพบเจอ

Pepsi Max Taste Cream Soda ชวนคุณเปิดโลกจินตนาการสุดน่าหลงใหลไปกับก้องกานและต้าเหนิง

สัมผัสความคิดหลากหลายแง่มุม ผ่านการออกแบบคาแรคเตอร์ที่จะพาทุกคน Teleport ไปสู่โลกแห่งจินตนาการ ภายใต้คอนเซปต์ Be my cream soda กับศิลปินสุดคูล ก้องกาน-กันตภณ เมธีกุล และ ต้าเหนิง-กัญญาวีร์ สองเมือง ที่จะมาเปิดเผยตัวตน พร้อมชวนท่องโลกความหอมซ่าน่าหลงใหลของเป๊ปซี่ แมกซ์ เทสต์ กลิ่นครีมโซดา

1 15 16 17 18 19 22

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.