ฝนตกช่วงเลิกงาน ไม่ใช่พระพิรุณไม่เห็นใจ แต่เพราะความร้อนที่สูงไปของเขตเมือง

พอใกล้ถึงเวลาเลิกงานในช่วงหน้าฝนทีไร ถ้าเป็นไปได้ชาวออฟฟิศหลายคนคงอยากจะเคลียร์งานให้เสร็จก่อนเวลา แล้วรีบเดินทางกลับบ้านก่อนที่ฝนห่าใหญ่จะเทลงมาจนต้องติดแหง็กอยู่ที่ออฟฟิศหรือหาที่หลบฝนระหว่างทางจนเกือบค่อนคืน แต่ในระหว่างที่เราเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้กัน มีใครเคยสังเกตไหมว่า ทำไมฝนมักจะตกลงมาในตอนเย็นและลากยาวไปจนถึงดึกในแต่ละวัน เหมือนหลอกให้เราตายใจในตอนเช้า แล้วเล่นตลกกับเราในตอนเย็นอยู่เสมอๆ เลย แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ฝนตกในช่วงเลิกงานแบบนี้ มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ มารองรับอยู่เหมือนกัน วันนี้คอลัมน์ Curiocity อยากพาทุกคนไขคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ปรากฏการณ์ UHI คืออะไร และเพราะอะไรเกาะความร้อนเมืองที่ว่านี้ถึงทำให้ฝนตกในช่วงเวลาเย็นเหมือนตั้งเวลาเอาไว้ ฝนตกเพราะเมืองร้อน อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ฝนที่ตกในทุกๆ วันล้วนเกิดจากกระบวนการที่เราเรียนกันตั้งแต่เด็กอย่าง ‘วัฏจักรของน้ำ’ ที่น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ จะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปในอากาศ จากนั้นจะเกิดการกระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเป็นก้อนเมฆ ก่อนจะตกลงมาเป็นฝน วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งวัฏจักรนี้จะทำให้สถานการณ์ฝนตกในแต่ละพื้นที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน และจะมีปริมาณฝนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นๆ ที่ก่อให้เกิดอัตราการควบแน่นบริเวณแหล่งน้ำที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางเมืองที่มีลักษณะฝนตกเป็นแพตเทิร์นซ้ำๆ คือตกหนักในช่วงเวลาเลิกงานแบบสั้นบ้างยาวบ้างในแต่ละวัน เหตุการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจาก ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ ที่เกิดขึ้นในเขตเมือง จนทำให้พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง เมืองร้อนเพราะสมดุลเปลี่ยน ความร้อนของเมืองที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ UHI […]

เปลี่ยน ‘เรื่องตลก 69’ ให้ไม่ตลกร้าย ด้วยทางเลือกใหม่ที่ ‘ตุ้ม’ ทำได้

ถ้าชีวิตของคุณถูกโชคชะตาเล่นตลก ชนิดที่อยู่ดีๆ ก็ถูกเลิกจ้างงาน แถมจู่ๆ มีกล่องพัสดุปริศนาที่เต็มไปด้วยเงินสดมาวางอยู่หน้าประตูห้องแบบงงๆ คุณจะรับมือกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไร หลายๆ สิ่งอาจดูเป็นเรื่องตลก แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นกับเราจริงๆ อาจจะทำเอาเราหัวเราะฮือๆ แทนฮาๆ ไม่แพ้ ‘ตุ้ม’ ในเรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ได้เหมือนกัน ด้วยโอกาสที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ถูกนำมารีเมกให้กลายเป็นซีรีส์ขนาดสั้น 6 ตอนที่กำลังฉายอยู่ใน Netflix โดยผู้กำกับเจ้าเดิมอย่าง ‘เป็นเอก รัตนเรือง’ คอลัมน์ Urban Isekai จึงขอหยิบบางช่วงบางตอนของซีรีส์มาลองคิดในมุมกลับ ปรับมุมมองเล่นๆ ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ วิธีการจัดการควรเป็นอย่างไร ถึงจะไม่เกิดเรื่องตลกร้ายแบบที่ตุ้มต้องเผชิญ ถ้า…การถูกเลิกจ้างไม่แย่เท่าที่ตุ้มคิด ในช่วงโควิดที่ผ่านมา หลายๆ คนอาจถูกเลิกจ้างเพราะพิษเศรษฐกิจไม่ต่างกับตุ้มในเรื่องตลก 69 แต่ถ้าเป็นการจับฉลากหาคนออกโดยไม่สนใจถึงผลการทำงานที่เรานั่งหลังขดหลังแข็งทำกันมาขนาดนี้ แค่คำว่าหัวร้อนคงไม่พอ นี่มันผิดกฎหมายแรงงานชัดๆ! ในกรณีนี้ สิ่งที่ตุ้มควรทำไม่ใช่การเก็บของลาออกอย่างจำยอม แต่ต้องเป็นการแบมือขอรับเงินชดเชยก้อนใหญ่ที่เราควรได้จากการบอกเลิกจ้างทันที เพราะหากตุ้มทำงานอยู่ที่นี่มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน เงินเหล่านี้เป็นเงินที่เธอควรได้รับตามกฎหมาย แถมในกรณีที่นายจ้างไล่ออกทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า 30 – 60 […]

สงสัยไหม ทำไมกรุงเทพฯ มีซอยตันเยอะ

หลายครั้งการขับรถผิดทางทำให้เราต้องเกิดอาการหัวร้อนหงุดหงิด โดยเฉพาะเวลาเลี้ยวเข้าผิดซอย แต่ก็ไม่สามารถไปต่อหรือกลับรถตรงนั้นได้ เพราะซอยที่ว่านั้นทั้งแคบและยังเป็น ‘ซอยตัน’ ที่บังคับให้คนขับรถต้องเข้าเกียร์ R ถอยหลังออกไปตั้งหลักใหม่อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งคนที่ขับรถในกรุงเทพฯ จะรู้ว่าเมืองหลวงของเรามีซอยตันเยอะมากเสียด้วย ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมในมหานครแห่งนี้ถึงได้มีซอยตันกระจายตัวแทบจะทุกพื้นที่เลย นอกจากจะเป็นอุปสรรคในการขับรถแล้ว ซอยตันยังส่งผลอะไรต่อการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ อีกบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปเปิดทางตันและหาคำตอบของเส้นทางเล็กๆ เหล่านี้กัน เมืองขยายตัว เกิดซอยจำนวนมาก ในยุคหนึ่งที่เป็นช่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ซึ่งกรุงเทพฯ ได้กลายเป็นจุดมุ่งหมายที่ผู้คนหลากหลายกลุ่มจากหลากหลายจังหวัดเดินทางเข้ามาทำงาน เกิดความหนาแน่นของประชากร ตามมาด้วยการขยายงานและที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะเหตุนี้ เมืองจึงขยายตัวออกไปในแถบชานเมืองและรอบนอกที่ยังมีพื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม โดยที่ดินแถบนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับทำเกษตรกรรม ซึ่งเจ้าของพื้นที่มักจะตัดแบ่งที่ดินเพื่อขายหรือสร้างสิ่งปลูกสร้างให้ได้จำนวนมากขึ้น จึงเกิด ‘ซอย’ หรือ ‘ถนนเส้นเล็กๆ’ เชื่อมต่อถนนหลักขึ้นตามการแบ่งพื้นที่ขายในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ นั่นเอง กว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของความยาวถนนในกรุงเทพฯ เป็นซอยตัน เมื่อการแบ่งที่ดินและการสร้างถนนเล็กๆ เพื่อขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงผังเมืองกรุงเทพฯ หรือไม่ได้วางแผนเพื่อเชื่อมต่อซอยต่างๆ กับถนนหลัก จึงทำให้ซอยเหล่านี้กระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ทั้งมีขนาดเล็ก มีความซับซ้อน รวมถึงยังเป็นซอยที่มีทางเข้า-ออกเพียงแค่ทางเดียว โดยปลายทางของถนนเล็กๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถทะลุออกไปไหนได้ หรือที่เรียกกันว่า ‘ซอยตัน’ นั่นเอง ปี […]

Public Convenience ดีไซน์ห้องน้ำสาธารณะที่รับจบทุกการชำระล้าง สะดวกและสะอาดครบในที่เดียว

‘ห้องน้ำสาธารณะ’ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบริการสาธารณะที่จะช่วยอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน ซึ่งห้องน้ำสาธารณะทั่วไปที่เราเห็นและเคยใช้งานกันมักมีบริการแค่ห้องน้ำอย่างเดียว แต่ในหลายๆ ครั้ง คนเราอาจต้องการบริการด้านความสะอาดและสุขอนามัยอื่นๆ ในสถานการณ์ที่จำเป็นด้วยเหมือนกัน อย่างการอาบน้ำหลังออกกำลังกาย การซักเสื้อผ้าที่ต้องรีบทำความสะอาดทันที หรือแม้แต่พื้นที่ในการเปลี่ยนเสื้อผ้า แต่งหน้า ทำผมแบบเร่งด่วนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอดีไซน์ห้องน้ำสาธารณะ 24 ชั่วโมงแบบครบวงจรที่มีให้มากกว่าแค่พื้นที่ปลดทุกข์ปล่อยเบา เพราะยังมีบริการอื่นๆ ที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตในเมืองมีคุณภาพด้านความสะอาดและสะดวกสบายมากขึ้น โซนห้องน้ำ : ทำธุระหนัก-เบา และชำระล้างร่างกายได้ตลอดเวลา โซนแรกของพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ แน่นอนว่าต้องเป็นโซนห้องน้ำสำหรับให้บริการใครที่ต้องการปล่อยหนัก-เบา โดยโซนนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ส่วนห้องน้ำ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป คนแก่ หรือคนพิการ อีกส่วนหนึ่งคือ ส่วนห้องอาบน้ำ สำหรับให้บริการผู้ที่เพิ่งออกกำลังกายเสร็จ มีธุระสำคัญต่อ หรือแม้แต่บ้านไหนที่น้ำไม่ไหลแต่จำเป็นต้องอาบน้ำก็เข้ามาใช้บริการที่นี่ได้ โดยห้องอาบน้ำของเรามีการแบ่งโซนเปียกและโซนแห้งไว้อย่างชัดเจน เพื่อที่ทุกคนจะได้มีพื้นที่ในการอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีสบู่หรือแชมพูกระเด็นไปเลอะเทอะหรือไม่ โซนแต่งตัว : จัดชุด แต่งหน้า เตรียมความพร้อมก่อนออกไปงานสำคัญ อาบน้ำแต่งตัวเรียบร้อยแล้ว แต่จะให้ออกไปทั้งที่ผมเปียกก็ยังไงอยู่ หรือถ้าใครมีงานสำคัญที่ต้องไปต่อก็ควรต้องเสริมสวยเพิ่มหล่อก่อนหรือเปล่า ดังนั้นเราจึงมีโต๊ะเครื่องแป้งพร้อมกระจกบานใหญ่ให้สำรวจความพร้อมได้อย่างเต็มที่ พร้อมมุมเป่าผมให้บริการในโซนแต่งตัว เพื่อจัดการความเรียบร้อยให้เสร็จสิ้นก่อนออกไปข้างนอก ภายในโซนนี้ยังมีตู้จำหน่ายอุปกรณ์อาบน้ำราคาย่อมเยา ไม่ว่าจะเป็นสบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า […]

‘หางโจว’ เมืองโบราณที่พัฒนาเป็นฮับเศรษฐกิจดิจิทัลของจีน

หากพูดถึงประเทศในเอเชียที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูงสุด ชื่อของ ‘ประเทศจีน’ ต้องติดอยู่ในลิสต์ด้วยแน่นอน หากต้องเจาะไปที่ตัวเมือง หลายคนอาจนึกถึงเซี่ยงไฮ้ เมืองหลวงที่อัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีแบบครบวงจร ทว่าจีนไม่ได้มีแค่เซี่ยงไฮ้เท่านั้นที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสุดล้ำ แต่ยังมีอีกหลายเมืองทั่วประเทศที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หนึ่งในเมืองสำคัญคือ ‘หางโจว’ เมืองทางภาคตะวันออกของจีนที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุด จนกลายเป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ไม่แพ้เมืองหรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก หางโจวเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลเจ้อเจียง ที่ไม่ได้มีความสำคัญแค่ในระดับมณฑลเท่านั้น แต่หางโจวยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญในระดับประเทศ และยังเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูง จนได้รับฉายาว่าเป็น ‘Silicon Valley’ ของจีนเลยทีเดียว เชื่อว่าหลายคนก็คงจะคุ้นหูกับชื่อเมืองนี้เป็นอย่างดี แต่อาจจะยังไม่รู้จักหางโจวมากเท่าไรนัก Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักหนึ่งในเมืองที่มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนผ่านบทความนี้กัน เมืองเศรษฐกิจสำคัญของประเทศจีน หางโจวเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต เพราะเป็นเส้นทางการคมนาคมทางน้ำที่ใช้ขนส่งสินค้า และเป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่ตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย แต่ในยุคปัจจุบัน ประเทศจีนเปิดรับการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศมากขึ้น ทำให้ทั่วประเทศรวมถึงเมืองหางโจวเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ภาครัฐจึงวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละด้านของหางโจวให้แข็งแกร่งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเดิมของเมือง ด้วยการกำหนดเขตเศรษฐกิจใหม่ขึ้นมา ซึ่งเขตที่สำคัญต่อการพัฒนาหางโจว ได้แก่ – เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งหางโจว (Hangzhou Economic & Technological Development Zone : HETDZ) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีเป้าหมายในการเป็นฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน – เขตพัฒนาการส่งออกแห่งหางโจว (Hangzhou Export Processing […]

‘ออสโล’ กับแผนการสร้างเมืองให้ผู้คนสูงวัยได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข

โลกของเรามีประชากรสูงอายุเยอะขึ้นทุกปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนมีอายุขัยยาวนานกว่าเดิม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 โลกจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 2 พันล้านคน หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด เพราะเหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มทยอยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงพัฒนาแผนการรับมือที่จะทำให้เมืองของตัวเองรองรับประชากรวัยชราได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเมืองที่ตื่นตัวรับมือกับความท้าทายนี้ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลกคือ ‘ออสโล’ ประเทศนอร์เวย์ เมืองหลวงแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ทุกคนเติบโตอย่างมีความสุขได้อย่างไร คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปหาคำตอบกัน การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับประชากรสูงวัย “เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยคือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งส่งเสริมให้ประชากรมีอายุมากขึ้นได้อย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี” นี่คือคำนิยามของ ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย’ หรือ ‘Age-friendly City’ ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน ‘Action Plan for an Age-friendly City’ และ ‘Plan for Safe and Diversified Care of Older People’ […]

FYI

‘ชีวิตคือความลำบาก’ วัยเกษียณที่ไม่มีจริงของ ‘ผู้สูงวัย’ ในเมืองแรงงาน

ในวันหยุดแสนสบาย อากาศแจ่มใส เมฆหนาลอยเกลื่อนอยู่บนฟ้า เราพาตัวเองออกเดินไปในเมืองตามย่านต่างๆ เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คน และได้พบว่า ‘กรุงเทพฯ’ นั้นมีผู้คนมากหน้าหลายตาพลัดถิ่นเข้ามาใช้ชีวิตและทำงาน ไม่ใช่แค่วัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังแรงหลัก ทว่าผู้สูงวัยในเมืองนี้ก็ยังคงต้องทำงานเช่นกัน เราแวะทักทายคุณลุงคุณป้าที่เดินสวนกัน บางคนกำลังเข็นรถขายของ บางคนกำลังขะมักเขม้นอยู่กับการงานตรงหน้า เรามองเห็นผิวหนังกรำแดด ร่องรอยเหี่ยวย่นของกาลเวลา และพบเจอบางสิ่งบางอย่างจากแววตาของลุงๆ ป้าๆ ที่สะท้อนให้รู้ว่า ‘ชีวิตคือความลำบาก’ เพราะในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำมีระยะห่างมากเกินไป แม้สังขารจะไม่เที่ยง ร่างกายจะชำรุด หรือเรี่ยวแรงเหลือน้อยเต็มที แต่ผู้สูงวัยหลายคนเหล่านั้นล้วนห่างไกลจากคำว่า ‘ชีวิตหลังวัยเกษียณ’ และอาจต้องทำงานไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อดูแลตัวเองให้ไม่เดือดร้อนใคร พาไปสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คนสูงวัยในมหานครแห่งนี้ ผ่านบทสนทนาอันหวานขมของชีวิต พร้อมกับคำอวยพรจากคนวัยเก๋าที่ฝากให้คนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้ สู้ สู้กันต่อไป ชื่อ : ลุงเกียรติ พรมรุกชาติอาชีพ : ปั่นรถถีบสามล้ออายุ : 64 ปีภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ ดวงตะวันเกือบตรงหัว บนถนนที่รถราแล่นสวนกันไปมามุ่งหน้าสู่จุดหมาย ‘ลุงเกียรติ พรมรุกชาติ’ เองก็กำลังปั่นสามล้อคู่ใจมองหาผู้โดยสาร เราโบกมือให้ลุงจอดและเอ่ยทักทายพูดคุยกับเขา “ชีวิตคนเราต้องดิ้นรน จากบุรีรัมย์ผมก้าวเข้ามาอยู่ที่นี่ (ตัวเมืองพระประแดง) ราวปี 2539 เมื่อก่อนเศรษฐกิจดี […]

Super Seniors ผู้สูงวัยเยอะ สวัสดิการน้อย คุ้มครองแต่ไม่ครอบคลุม

ถ้าเด็กในวันนั้นคือผู้ใหญ่ในวันนี้ ดังนั้นผู้ใหญ่ในวันนี้ก็คือ ‘ผู้สูงอายุ’ ในวันหน้าแบบที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นเดียวกัน ยิ่งในทุกวันนี้ที่สภาพคล่องทางการเงินของคนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไหนจะภาวะเงินเฟ้อที่สูงสวนทางกับรายได้ ทำให้เราหลายคนต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน หรือบางเดือนอาจไม่พอเลยด้วยซ้ำ แบบนี้จะเก็บเงินก้อนไว้ใช้ชีวิตในช่วงสูงวัยได้ยังไงกันฃ และปัญหาเหล่านี้ยังเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้วัยรุ่นหลายคนเริ่มวางแผนการใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายของตัวเองกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะดูเหมือนปัจจัยและบริบทต่างๆ ในสังคมไทยจะไม่ค่อยส่งเสริมให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีกันสักเท่าไหร่ คอลัมน์ Overview ประจำเดือนสิงหาคมนี้ ขอพาทุกคนไปสำรวจสถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ไปจนถึงสิทธิและสวัสดิการที่คนเหล่านี้จะได้รับจากภาครัฐ และมองหาบ้านพักหลังสุดท้ายอย่างบ้านพักคนชราที่ผกผันไปตามเม็ดเงินในกระเป๋าในบั้นปลายชีวิตไปพร้อมๆ กัน 01 | ไทยเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด หลายคนอาจจะได้ยินกันมาตลอดว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่กับเหตุการณ์ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ ‘กำลัง’ แต่ประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้ามายืนในสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว เพราะจากการสำรวจประชากรในประเทศไทยปี 2023 พบว่า ประเทศของเรามีประชากรทั้งสิ้น 71,801,279 คน และในจำนวนนี้มีกลุ่มคนที่อยู่ในเกณฑ์ ‘ผู้สูงอายุ’ หรือกล่าวคือ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย มากถึง 16,405,119 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 7,297,175 คน และเพศหญิง 9,107,944 คน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะพบว่า จำนวนผู้สูงอายุในประเทศมีสัดส่วนจากประชากรทั้งหมดมากถึง 22.85 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทำให้ปัจจุบันสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ไทยเราได้เข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ […]

‘Multifunctional Station’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะ ที่ใช้งานบนพื้น เก็บลงใต้ดิน

‘ข้อจำกัดทางพื้นที่สาธารณะ’ คือหนึ่งในปัญหาที่เมืองใหญ่ทั่วโลกต่างประสบและพยายามหาหนทางแก้ไขกันอยู่ อย่าง ‘กรุงเทพฯ’ เมืองหลวงของเราก็มีพื้นที่สาธารณะที่ค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คนในเมือง ด้วยเหตุนี้ เราจึงมองว่าการใช้พื้นที่ได้อย่างหลากหลายน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ทำให้พื้นที่สาธารณะอันน้อยนิดในเมืองเกิดการใช้งานได้อย่างคุ้มค่า คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำเสนอ ‘Multifunctional Station (MS)’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะที่จะมาช่วยทำให้พื้นที่สาธารณะในเมืองเกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการไม่จำกัดให้พื้นที่นั้นๆ ทำเพียงหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง แต่จะมีฟังก์ชันและรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งนอกจากทำให้เมืองได้ใช้พื้นที่สาธารณะอย่างคุ้มค่าแล้ว วิธีการใช้งานนวัตกรรมนี้ก็ไม่ยุ่งยาก แถมยังต่อยอดพัฒนาเป็นโมเดลต่างๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ ได้อีก MS Cabinet & Materialอยู่ใต้ดินเมื่อไม่ใช้งาน เรียกใช้งานบนพื้นดินผ่านแอปพลิเคชัน นวัตกรรม MS มีโครงสร้างหลักอยู่สองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง เมื่อไม่ได้ใช้งานจะซ่อนอยู่ใต้ดิน โดยมี Cabinet หรือตู้ที่ทำหน้าที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนที่สองคืออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในตู้ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะถูกนำไปใช้งานเป็นสเตชันบนพื้นดิน ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นสเตชันสำหรับการขายอาหาร ภายในตู้จะมีช่องเก็บโต๊ะปรุงอาหาร ช่องเก็บเก้าอี้ ช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ฯลฯ หรือถ้าเป็นสเตชันสำหรับขายสินค้า ภายในตู้จะมีช่องใส่บาร์แขวนผ้า ตะแกรงแขวนสินค้า โต๊ะพับ อุปกรณ์ไฟตกแต่งร้านและเต้าเสียบ รวมถึงเสาและผ้าใบสำหรับประกอบเป็นโครงสร้างกางกันแดดและฝน เป็นต้น ตัว Cabinet นั้นสร้างขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรง […]

‘Sound of Sisaket’ สร้างสรรค์เมือง ‘ศรีสะเกษ’ ให้คึกคักผ่านย่านที่มีแต่เสียงดนตรี

‘ศรีสะเกษ’ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ไม่เคยอยู่ในแผนท่องเที่ยวของเรา และเชื่อว่าใครอีกหลายคนคงคิดเห็นเช่นกัน เพราะแดนอีสานใต้แห่งนี้ถูกนิยามว่าเป็นเพียง ‘ทางผ่าน’ หรือ ‘เมืองรอง’ แต่หากเอ่ยถึงความโดดเด่นของจังหวัดใกล้ลุ่มแม่น้ำมูลแห่งนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็น ‘กีฬา’ เพราะที่นี่มีสวนสาธารณะและพื้นที่ทางธรรมชาติให้ผู้คนได้ใช้ออกกำลังกาย มีนักกีฬาที่มีชื่อเสียงทั้งด้านฟุตบอล มวย ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล ฯลฯ และยังเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬามานับครั้งไม่ถ้วน ทว่าอีกสิ่งหนึ่งที่อาจมีทั้งคนที่รู้และไม่รู้คือ ความสร้างสรรค์ของเมืองศรีสะเกษนั้นไม่ใช่มีเพียงแค่กีฬา แต่ยังมีเรื่องของ ‘ดนตรี’ ที่โดดเด่นไม่แพ้กัน และในช่วงวันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2566 ที่นี่จะมีงาน ‘Sound of Sisaket (ซาวสีเกด) 2023’ ที่จะพาทุกคนไปสำรวจว่าเมืองศรีสะเกษนั้นใช้ดนตรีสร้างสรรค์เมืองได้อย่างไร ก่อนวันงานจะมาถึง คอลัมน์ Neighboroot ขอรับบทเป็นนักท่องเที่ยวพาไปรู้จักเมืองศรีสะเกษให้มากขึ้น ผ่านภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง บทสนทนาถึงความทรงจำที่ผ่านมา วิถีชีวิตปัจจุบันของจังหวัดแห่งหนึ่งในดินแดนฝั่งอีสาน และวิธีคิดในการพัฒนาเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า ถ้าพร้อมแล้วออกเดินทางไปด้วยกัน เมืองศรีสะเกษเมื่อวันก่อนและวันนี้ ฝนโปรยยามบ่ายพรมน้ำให้ต้นไม้และผืนนาสองข้างทางเข้าตัวเมืองศรีสะเกษเขียวชอุ่มสบายใจ เมื่อเข้าสู่เมืองสิ่งแรกที่พบเห็นคือ ‘วงเวียนแม่ศรี’ ที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของเมือง บริเวณนี้มีรูปปั้นของพระนางศรีสระเกศ รูปหล่อโลหะทองเหลืองรมดำที่เป็นดั่งสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่ามาถึงเมืองศรีสะเกษแล้ว ตำนานใต้ฐานรูปปั้นเล่าว่า ‘พระนางศรี’ เป็นคนสัญชาติกล่อม (ขอมแท้) […]

ออกแบบเรือ ‘Going Merry’ ให้พร้อมออกเดินทางตามหา One Piece

“ฉันจะเป็นราชาแห่งโจรสลัดให้ได้เลย!” ประโยคปลุกใจที่ไม่ใช่ว่าใครได้ยินแล้วจะแบกเป้ออกเรือเพื่อพาตัวเองไปสู่การเป็นโจรสลัดเบอร์ต้นได้ เพราะการเป็นราชาแห่งโจรสลัดจะคำนึงถึงแค่สมบัติที่ปลายทางอย่างเดียวไม่ได้ แต่กว่าจะไปถึงปลายทางนั้น ประสบการณ์ระหว่างการเดินทาง ผู้ร่วมทาง และแน่นอนว่าเรือโจรสลัดที่จะพาเราออกเดินทางก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยพาเราให้ไปถึงยังฝั่งฝัน ก่อนจะออกเดินทางไปยัง ‘Grand Line’ เพื่อตามรอยลูฟี่และโจรสลัดกลุ่มหมวกฟางในภารกิจตามหาสมบัติที่จะเข้าฉายใน Netflix สิ้นเดือนนี้ เราขออาสาเป็นช่างซ่อมบำรุงแห่งโรงงานอุซปเพื่อเปลี่ยนเรือ ‘Going Merry’ ให้เป็นเวอร์ชันใหม่ที่พร้อมใช้งาน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตกลางทะเล และพากลุ่มโจรสลัดของเราไปตามหา One Piece กันให้ได้ เอาล่ะ พวกรุกกี้ทะเลสีฟ้าหน้าใหม่ จัดกระเป๋า ตั้งล็อกโพสให้ดี แล้วออกไปผจญภัยกันเลย! ความปลอดภัยคือหัวใจของการเดินเรือ ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเดินเรือสู่มหาสมุทรที่กว้างใหญ่ โดย Going Merry ในเวอร์ชันอัปเกรดนี้จะมีอุปกรณ์เสริมเพิ่มเข้ามา เช่น ถังดับเพลิงในกรณีที่เกิดไฟไหม้จากกิจกรรมต่างๆ บนเรือ เรือบดหรือเรือลำเล็กเพื่อใช้สำหรับการอพยพหาก Going Merry โดนโจรสลัดกลุ่มอื่นโจมตี นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามจุดต่างๆ บนเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวเรือพลัดตกลงน้ำหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเจอพายุจนเรือโคลงเคลงทรงตัวไม่ได้ หรือแล่นเรือฝ่าน้ำตกรีเวิร์สเมาน์เทนเพื่อมุ่งสู่แกรนไลน์ เข็มขัดเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นตัวยึดให้ทุกคนติดอยู่กับเรือ และถ้าเกิดอุบัติเหตุตกทะเล ใครที่กินผลปีศาจเข้าไปก็ไม่ต้องกลัวว่าจะหมดแรงแล้วจมสู่ก้นทะเล เพราะเราได้เตรียมห่วงยางหรือชูชีพสำหรับช่วยเหลือเอาไว้ให้แล้ว ออกแบบเรือใหญ่ให้ครอบคลุมทุกการใช้งาน ผู้ร่วมทางในการออกตามหาสมบัตินั้นไม่ได้มีแต่คนทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีเผ่าพันธุ์อื่นๆ ที่มีทั้งส่วนสูงใหญ่เกินคนทั่วไป และเล็กจิ๋วจนแทบมองไม่เห็น การออกแบบสิ่งต่างๆ […]

บ้านในไทย ทำไมต้องล้อมรั้ว

สเต็ปการสร้างบ้านในเกมเดอะซิมส์ที่หลายคนคุ้นเคย ส่วนใหญ่คงจะเริ่มจากการสร้างตัวบ้าน ตกแต่งภายใน ตกแต่งบริเวณภายนอก ก่อนจะปิดท้ายด้วยการล้อมรั้วบ้านอย่างมิดชิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากความเคยชินของคนไทย เพราะในประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม หมู่บ้านจัดสรร หรือแม้แต่บ้านในต่างจังหวัด ที่อยู่อาศัยเหล่านี้มักมีรั้วล้อมรอบบ้านด้วยกันทั้งนั้น แต่พอดูหนังและซีรีส์จากฝั่งตะวันตกกลับพบว่า บ้านที่ปรากฏอยู่บนจอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีรั้วบ้านเป็นกิจจะลักษณะชัดเจนเหมือนกับบ้านในประเทศไทย หรือบางหลังอาจจะมีแค่รั้วเตี้ยๆ จนเกิดความสงสัยว่ารั้วลักษณะนั้นจะสามารถป้องกันอะไรได้บ้าง การมีรั้วบ้านสำคัญกับการอยู่อาศัยในประเทศไทยมากน้อยขนาดไหน ทำไมบ้านในต่างประเทศแทบจะไม่มีรั้วบ้านให้เห็นกันเลย และหากจะสร้างรั้วบ้านด้วยตัวเองนั้นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอะไรบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปหาคำตอบเกี่ยวกับรั้วบ้านกัน ทำไมบ้านในไทยต้องมีรั้ว ไม่ว่าจะเป็นบ้านในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด เรามักจะเห็นรั้วประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะรั้วปูน รั้วเหล็ก หรือรั้วไม้ทำมือ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ในการกำหนดพื้นที่ของบ้านแต่ละหลังได้อย่างชัดเจน จนทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า รั้วบ้านนี้จำเป็นมากแค่ไหนสำหรับบ้านสักหลัง อาจเป็นเพราะว่าบ้านคือสถานที่ที่มอบความเป็นส่วนตัวให้เราได้มากที่สุด หลายคนจึงต้องการความสบายใจในการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านโดยไม่ต้องระแวดระวังภัยมากนัก แม้ว่ารั้วบ้านจะไม่ใช่ข้อบังคับตามกฎหมาย แต่การมีรั้วล้อมรอบตัวบ้านจะช่วยเพิ่มทั้งความสวยงามให้กับตัวบ้าน เพิ่มความเป็นส่วนตัวจากสายตาของคนภายนอกที่อาจสอดส่องเข้ามา รวมถึงยังเป็นการสร้างความปลอดภัยอีกหนึ่งชั้นจากผู้บุกรุกได้อีกด้วย ถ้ารั้วบ้านช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้าน แล้วทำไมบ้านในต่างประเทศถึงไม่ค่อยมีรั้วกั้น ยกตัวอย่างเช่นบ้านในสหรัฐอเมริกาที่เห็นกันตามหนังหรือซีรีส์ส่วนใหญ่มักจะไม่มีรั้วบ้านกำหนดขอบเขต สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเรื่องของวัฒนธรรมที่หลายคนมองว่า ถ้าเพื่อนบ้านเคารพพื้นที่ส่วนตัวของกันและกันอยู่แล้ว รั้วบ้านก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเท่าไรนัก และการสร้างรั้วก็อาจจะเป็นการไปเบียดเบียนพื้นที่ของเพื่อนบ้านได้ด้วย อีกเหตุผลคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำรั้วเพิ่มเติมที่ค่อนข้างสูง ผู้คนจึงไม่นิยมสร้างรั้ว รวมไปถึงการอยู่อาศัยในชุมชนที่มีรั้วรอบขอบชิดและปลอดภัยมากพออยู่แล้ว การสร้างรั้วเพื่อป้องกันภัยก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับชาวอเมริกันสักเท่าไร แต่ไม่ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะไม่มีรั้วเลย เพราะยังมีบางครอบครัวที่สร้างรั้วขนาดไม่สูงมากเพื่อกั้นไม่ให้เด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงออกไปจากบริเวณบ้าน โดยส่วนใหญ่รั้วพวกนี้จะไม่ได้เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้านมากนัก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบ้านที่มาพร้อมรั้วสูงเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวและป้องกันอันตรายจากปัจจัยภายนอก […]

1 2 3 4 5 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.