Rights Now
ทบทวนสิทธิพื้นฐานที่คนทุกคนพึงมี เพื่อให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นจริง
คุยกับไรเดอร์หญิงจาก foodpanda ในวันที่เพศไม่ได้จำกัดการทำงานอีกต่อไป
ในยุคที่ความเท่าเทียมทางเพศถูกพูดถึงในวงกว้าง เรามองเห็นองค์กรหลายแห่งพยายามปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคม จากโลกการทำงานที่ผู้ชายเคยปกครอง บางองค์กรนั้นเพิ่มสัดส่วนให้มีผู้หญิงและเพศหลากหลายได้เข้าไปเป็นระดับหัวหน้า บ้างมีการให้วันลากับพนักงานข้ามเพศที่ต้องเข้ากระบวนการทรานสิชัน หรืออย่างน้อยที่สุด คือการเปิดรับพนักงานหญิงและเพศหลากหลายให้เข้ามาแสดงศักยภาพในงานที่เคยถูกมองว่าเป็น ‘งานผู้ชาย’ หนึ่งในองค์กรนั้นที่เราพูดถึงคือ foodpanda แอปพลิเคชันหมีสีชมพูที่เราคุ้นตา โดยเฉพาะในช่วงเช้า เที่ยง หรือเย็นที่หลายคนกำลังมองหาเมนูอร่อยสักเมนู คอลัมน์ Rights Now คราวนี้ ขอเฉลิมฉลองเดือนสตรีสากล ด้วยบทสนทนากับ ‘หมิว’ ตัวแทนของไรเดอร์หญิงซึ่งหลายคนอาจเคยเห็นหน้ากันในคลิปวิดีโอจาก foodpanda พูดคุยถึงการฝ่าฟันกว่าจะมาเป็นไรเดอร์หญิงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของ foodpanda ผ่าน 3 เมนูที่สะท้อนให้เห็นชีวิต การทำงาน และความเท่าเทียมในสายตาของเธอ นี่คือถ้อยคำที่ทำให้เราเห็นความสำคัญของคำว่าโอกาส และการให้คุณค่ากับคำว่าศักยภาพ โดยไม่มีคำว่าเพศมาเป็นอุปสรรคอีกต่อไป เมนูที่ชอบตั้งแต่เด็ก : บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและซีเรียล “เป็นเมนูทานง่าย สะดวก รวดเร็ว บ่งบอกว่าเราเป็นคนง่ายๆ ไม่ยึดติดอะไรมาก เราชอบมาตั้งแต่เด็กๆ เล็กๆ เพราะคุณแม่ชอบซื้อมาตุนไว้ให้ ทุกวันนี้เราก็ยังทานอยู่ อาจจะไม่ใช่ทานตอนเช้าเหมือนเมื่อก่อนแต่เป็นช่วงหลังเลิกงาน “เราเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด ครอบครัวมีลูกสามคน เราเป็นลูกคนกลาง อยู่กับแม่มาตลอดเพราะพ่อแม่แยกทางกัน ช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยเป็นคนเกเร แต่พอโตขึ้นถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกว่าต้องทำงานได้แล้ว ก็เลยแยกออกมาจากที่บ้านแล้วมาใช้ชีวิตของตัวเอง” เมนูแรกในฐานะไรเดอร์ของ […]
จะเป็น ‘มนุษย์ที่มีศีลธรรม’ หรือเป็น ‘ลูกน้องที่ดี’ ในประเทศ ‘นายสั่งมา’
ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐใช้แก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุมที่เรียกร้องประชาธิปไตยโดยไม่ประกาศก่อน“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐมีสิทธิ์ทำร้ายทีมแพทย์อาสาในม็อบ“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐสามารถจับ ซีรอส วีรภัทร เยาวชนอายุ 17 ปี และ โตโต้ ปิยรัฐ แกนนำการ์ดวีโว่ โดยไม่มีหมายศาลได้“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐถึงขับรถคุมขังชนสิ่งกีดขวางได้โดยไม่กลัวใครได้รับบาดเจ็บหรือข้าวของเสียหาย“นายสั่งมา” 9 มีนาคม ปี 2564 เวลา 14.00 น. ฉันพกประโยค “นายสั่งมา” คำตอบที่เจ้าหน้าที่รัฐพูดในหลายเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ปีที่แล้วยันปีนี้ ไปคุยกับ ผศ. ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเบื้องหลังประโยคดังกล่าว การกระทำรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ สามัญสำนึกความเป็นมนุษย์ ทางเลือกทางศีลธรรมกับหน้าที่การงาน อำนาจนิยม ความกลัว และพลังของประชาชนที่เชื่อในหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบันที่ยังคงร้อนระอุ และความหวังในอนาคตที่ไม่มีใครพูดว่า ‘นายสั่งมา’ อีก นายสั่ง…ต้องทำ ระบบติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ ป้อนคำสั่ง กดปุ่ม และรอให้ทำตามคำสั่ง เป็นระบบที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ามันเกิดขึ้นจริงใน ‘หุ่นยนต์’ ไร้ชีวิต ไร้หัวใจ และไร้สมองในการวิเคราะห์แยกแยะ สั่งอะไรมาผมทำตามหมด! ทว่าความน่ากลัวอยู่ที่ […]
“อย่าทำให้เสียงของนักข่าวหายไป” หทัยรัตน์ พหลทัพ บ.ก. The Isaan Record กับเสียงที่ส่งเพื่อแลกสังคมที่ดี
หทัยรัตน์ พหลทัพ บรรณาธิการสำนักข่าว The Isaan Record ที่ละทิ้งความกลัวเพื่อบอกว่าเสียงของนักข่าวสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง
เพราะลูกจ้างไม่ใช่ทาส
: ไม่อยากไปทำงานว่ะ: งานเยอะจนต้องแบกมาทำนอกเวลาแล้วเนี่ย: เจ้านายไม่รับฟังปัญหาอะไรเลย: เมื่อไหร่จะวันศุกร์วะ (แต่วันนี้เพิ่งวันจันทร์เองนะ) เรื่องเล่าจากเพื่อนชาวออฟฟิศที่ต่อสายหาฉันกลางดึกเพื่อระบายปัญหาร้อยแปดที่ติดกับดักกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ไม่รู้จะเอาอย่างไรกับชีวิต กระตุกต่อมให้ฉันสนใจจนอยากถกถามทุกคนว่าคุณเคยเครียด ดราม่า กดดันในที่ทำงาน หัวหน้าไม่รับฟังปัญหา ปริมาณงานถาโถมแต่ไม่คุ้มเงินแถมเสียสุขภาพ หรือบางครั้งต้องแบกร่างเอางานมาทำนอกเวลาเพราะไม่ทันจริงๆ บ้างไหม นี่ยังไม่รวมทัศนคติคนในออฟฟิศและบรรยากาศที่ไม่เอื้อให้อยากปิดนาฬิกาปลุกแล้วลุกจากเตียงมาทำงาน ถ้าคุณประสบปัญหาที่ว่ามาหรือนอกเหนือจากนี้แต่น่าปวดหัวไม่แพ้กัน คุณนุ่น-นววรรณ สุขจิตร นักจิตวิทยาจาก Ooca: workplace psychologist แพลตฟอร์มที่ให้บริการดูแลใจพนักงานในองค์กรรับอาสาแชร์มุมมอง กะเทาะต้นตอปัญหา และช่วยหาทางออกของเรื่องที่พันยุ่งเหยิงยิ่งกว่าสายหูฟังนี้ให้เคลียร์ 01 ลูกจ้าง : เกิดมาเพื่อโดนกด? ถ้าคิดให้ดีโลกนี้ประหลาดที่ผู้มีอำนาจในสังคม ไม่ว่าจะบริบทไหนก็ตาม มักมีจำนวนน้อยกว่าผู้อยู่ใต้อำนาจ หากมองให้ใกล้ตัวก็สถานศึกษาที่มีนักเรียนหรือนักศึกษามากกว่าครูหรือผู้บริหาร รัฐบาลที่มีน้อยกว่าประชาชน และถ้าจะพูดให้เข้ากับสถานการณ์สงครามทางกระแสจิตของลูกจ้างและลูกน้องในออฟฟิศ ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติก็แสดงโผงผางว่า ในต้น พ.ศ. 2563 นายจ้างที่รับบทเป็นเจ้านายมีเพียง 9.87 แสนคน ต่างกับจำนวนลูกจ้างภาครัฐและเอกชนที่รวมกันแล้วมีถึง 19.77 ล้านคน! (อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qJuzvu) ซึ่งมันก็จะงงๆ หน่อยว่าทำไมคนส่วนน้อยที่ถืออำนาจบางกลุ่ม ทำไมหนอทำไม ถึงไม่ฟังเสียงของคนหมู่มากที่เป็นลูกจ้างบ้างเลย คุณนุ่นอธิบายปรากฏการณ์ความวายป่วงของระบบเจ้านายในเชิงจิตวิทยาไว้ว่า คนที่อยู่ในสถานะที่สามารถควบคุมคนได้รู้สึกมีอำนาจมากขึ้นเพราะคนในสังคมยกยอปอปั้นสนับสนุนแนวคิดเจ้านายเป็นใหญ่ หรือเรียกว่า Authority […]
‘ตัดผมคือละเมิดสิทธิมนุษยชน’ คุยกับเคท ครั้งพิบูลย์ ถึงอำนาจนิยมผ่านการตัดผมนักเรียน
คุยกับ อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประเด็นการบังคับให้อยู่ภายใต้อำนาจผ่านการตัดผมของนักเรียน คนบางอาชีพ หรือผู้ต้องหาในเรือนจำ ที่รู้ตัวอีกทีคนเหล่านั้นก็ถูกลดทอนความเป็นคนมาอย่างยาวนาน
เห็นต่างทางการเมืองแล้วทำร้ายกันได้เหรอ
“เห็นต่างทางการเมืองแล้วทำร้ายกันได้เหรอ ?” คอลัมน์ Perspective ชวนอาจารย์กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมหาคำตอบที่มีคำตอบอยู่แล้วในคำถาม
“ผู้หญิงมีสิทธิ์พูดเรื่องเซ็กซ์” กับ Pomme Chan นักวาดที่เชื่อว่าเซ็กซ์ไม่ใช่เรื่องน่าอาย
“ผญมีสิทธิ์พูดเรื่องเซ็กส์” กับ พี่ปอม-ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง หรือ Pomme Chan นักวาดภาพประกอบหญิงที่ชวนถกเรื่องเพศที่ผู้หญิง ผู้ชาย และ LGBTQ+ ถูกกดทับมาตลอดตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา ที่ทำงาน และวาทกรรมในสังคม เพราะไม่ว่าเพศไหนก็มีสิทธิ์พูดเรื่องเซ็กส์ได้เท่ากัน
‘ศาสตราจารย์วิริยะ’ ชายตาบอดผู้ผลักดันกฎหมายและสู้เพื่อสิทธิคนพิการไทย
สนทนากับ ‘ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์’ ชายตาบอดผู้ไม่เคยง้อโชคชะตา เพราะเชื่อมั่นว่าตัวเราคือคนกำหนดเส้นทางชีวิต จึงลุกขึ้นยิ้มสู้เพื่อให้ได้กฎหมาย และสร้างความเท่าเทียมให้ผู้พิการไทย
‘สำนักพิมพ์สะพาน’ กับการใช้นิยายข้ามสะพานไปหาความเท่าเทียมให้หญิงรักหญิง
‘สำนักพิมพ์สะพาน’ สำนักพิมพ์นิยายหญิงรักหญิง ที่ต่อสู้ให้นิยายหญิงรักหญิงได้วางขายบนชั้นหนังสือ และยื่นคำร้องต่อศาล #สมรสเท่าเทียม
“ถ้ารัฐใส่ใจพัฒนาประชาชน ทุกคนจะเข้าถึงหนังสือ” – เพจรองขาโต๊ะ
เปิดเล่มความคิดเรื่องการเข้าถึงหนังสือกับแอดมิน ‘รองขาโต๊ะ’ เพจรีวิวหนังสือที่เกิดจากความขี้เล่นแกมเสียดสีของนักอ่านตัวยง ผู้รีวิวความน่าอ่านตามความน่านำไปรองขาโต๊ะ แม้วิธีการให้คะแนนหนังสืออาจดูใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นที่ตั้ง แต่เขากลับมองวงการหนังสือไปถึงภาพกว้างระดับสังคม ด้วยความเชื่อที่ว่า “นิสัยรักการอ่านควรเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ที่บ้าน ไปจนถึงนโยบายส่งเสริมอย่างทั่วถึงจากภาครัฐ”
“ใช้เวลายื่นขอสัญชาตินานถึง 8 ปี” เยาวชนไร้สัญชาติจากเชียงใหม่ ‘สร้างสื่อเพื่อขอสัญชาติให้คนไร้สัญชาติ’
เยาวชนไร้สัญชาติจากเชียงใหม่รวมตัวกันสร้างสรรค์ ‘สื่อเพื่อการขอสัญชาติ’ เพื่อให้ความรู้ด้านการขอสัญชาติ ผ่านการประกวดโครงการ Youth Co:Lab Thailand 2019 และคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับสองได้ในที่สุด
โสเภณี (ถ้า) อาชีพนี้ถูกกฎหมาย
เจาะลึกเรื่องราวของ “หญิงขายบริการ” ที่มีประเด็นถกกันอย่างเข้มข้นระหว่างนักอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม และนักวิชาการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเพื่อให้โสเภณีในประเทศไทยถูกกฎหมาย ถึงทิศทางความเป็นไปของ “โสเภณี” ว่า อาชีพนี้ ควรถูกกฎหมายหรือไม่?