
LIFESTYLE
ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ ตอบโจทย์ Urban Lifestyle อย่างลงตัว กับหน้าหมวดหมู่ “LIFESTYLE” ของ Urban Creature นิตยสารออนไลน์ที่นำเสนอเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับกิจกรรมด้านไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจ อัปเดตเทรนด์ไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลก เพื่อเติมเต็มทุกวันของคุณให้มีสีสันยิ่งกว่าเคย ผ่านคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ในรูปแบบหลากหลาย จากเพื่อนนักคิดนักเขียนคนเมือง ที่พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจใหม่ๆ ให้กับคุณ
GAA รสชาติอินเดียร่วมสมัย ท่ามกลางบ้านเรือนไทยอายุ 60 ปี
บ้านเรือนไทยหลังใหญ่อายุกว่า 60 ปีถูกย้ายจากอยุธยามาตั้งโดดเด่นท่ามกลางร่มเงาไม้ตรงหัวมุมถนนในซอยสุขุมวิท 53 องค์ประกอบภายนอกคือความสมบูรณ์พร้อมอันงดงามแบบฉบับไทย แต่ใครจะคิดกันว่าที่แห่งนี้คือ Gaa ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งสไตล์ Modern Indian Cuisine ที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2017 บริเวณซอยหลังสวน ให้ได้ลิ้มรสอาหารอินเดียร่วมสมัยจากฝีมือ ‘Garima Arora’ เชฟชาวอินเดียคนแรกที่คว้าดาวมิชลินมาครอง ครั้งนี้ Gaa ย้ายบ้านใหม่สู่บรรยากาศเรือนไทยที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นแต่แรกเห็น ซึ่งยังคงปรัชญาแห่งการทำอาหารอย่างการหยิบวัตถุดิบท้องถิ่นไทยมาผสมผสานกับเทคนิคปรุงอาหารอินเดียแบบดั้งเดิม สู่อาหารอินเดียร่วมสมัยซึ่งอบอวลไปด้วยความแปลกใหม่ของวัตถุดิบที่คุณอาจรู้ดีว่าคืออะไร แต่รับประกันว่าไม่เคยสัมผัสรสชาตินี้ที่ไหน หากไม่มาเยือน Gaa 01 She is Garima Arora ยามบ่ายที่แสงแดดกำลังอ่อนตัวลง เรามีนัดที่ Gaa กับเชฟ ‘Garima Arora’ ผู้รังสรรค์อาหาร และ ‘Luke Yeung’ สถาปนิกจากทีม ArchitectKidd ผู้รีโนเวตเรือนไทยอายุกว่า 6 ทศวรรษ เมื่อเปิดประตูก้าวเข้าสู่เรือนไทย ตามด้วยเดินขึ้นบันไดวนไปยังชั้น 2 ทันทีที่เท้ายกขึ้นจากขั้นสุดท้ายเพื่อเหยียบพื้นไม้ ต้องยอมรับว่าภาพการตกแต่งภายในที่สองตาได้เห็น ทำเอาหัวใจคนชอบงานสถาปัตยกรรมอย่างเราเต้นเร็วขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว ทำไมถึงเลือกเปิดร้านอาหารอินเดียท่ามกลางบ้านเรือนไทย คือคำถามแรกที่เราเอ่ยกับ […]
‘ถึงเวลาฟัง’ เพลงใหม่วง Mints ที่ชวนผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนกับเด็กอาบน้ำเย็นมานั่งคุยกัน
ฉันฟัง อัด-อวัช รัตนปิณฑะ ตัวเป็นๆ พูดต่อหน้าครั้งแรกตอนชวนเขามาออฟฟิศย่านเอกมัยของฉันเพื่อคุยถึงปัญหาทางเท้า และพาเดินถนนให้เห็นกันจะจะ ว่าฟุตพาทมันพัง สายไฟมันพัน หรือท่อระบายน้ำมันชำรุดแค่ไหน จนเกิดบทความ ‘อัด อวัช พาเดินสำรวจ (ปัญหา) ทางเท้าจากภาษีประชาชน’ ครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่สองที่เราได้เจอกันและฟังกัน ฉันฟัง ตน-ต้นหน ตันติเวชกุล ตัวเป็นๆ พูดต่อหน้าครั้งนี้เป็นครั้งแรก (จบพาร์ตเกริ่น คุณจะได้รู้ว่าเด็ก ฮอร์โมนวัยว้าวุ่น คนนี้ ความคิดโตขึ้นเรื่อยๆ) แต่ก่อนหน้า ฉันชอบฟังเขาเล่นเบสลงอินสตาแกรม และชอบไลฟ์สไตล์ไม่จำกัดเพศที่อยากใส่กระโปรงก็ใส่ อยากทาเล็บก็ทา อยากพูดคะขาก็ไม่ต้องแคร์ใคร เพราะเชื่อในสิทธิเนื้อตัวร่างกาย ฉันฟัง ‘ถึงเวลาฟัง’ เพลงใหม่ของพวกเขาในฐานะศิลปินวง Mints จากค่าย What The Duck ที่ปล่อยออกมาวันที่ 18 มีนาคม 2564 เป็นวันแรก ซึ่งเป็นเพลงที่อัดตั้งใจแต่งเนื้อ ตนทุ่มเทออกแบบบีตและซาวนด์ดนตรี และลงมือช่วยกันทุกขั้นตอนร่วม 6 เดือน เพื่อให้คนทุกเจเนอเรชันหันหน้าฟังกันมากขึ้น ทั้งชวนคนรุ่นเก่าเปิดใจฟังเสียงคนรุ่นใหม่ให้มองเห็นความสมเหตุสมผลในการปรับมายาคติแบบเดิมๆ เพื่อใช้ชีวิตร่วมกัน และบอกคนรุ่นใหม่ว่าถ้ามองผู้ใหญ่เป็นคนไม่ทันโลก โดยไม่ลองอธิบายให้ฟังก่อน […]
40 วันกับชีวิตล็อกดาวน์ในเขตพื้นที่เสี่ยง มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
บทความนี้เปรียบเสมือนบันทึกช่วงเวลาที่เราต้องอยู่บ้านเป็นเวลา 40 วัน ระหว่างการระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางเขตพื้นที่เสี่ยงอย่างจังหวัดสมุทรสาคร สำหรับเรา การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่อาจจะยุ่งยากไปบ้าง แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าแผงลอยในตลาดที่ได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีคนมาจับจ่ายซื้อของเหมือนที่เคย พวกเขาต้องขาดรายได้จุนเจือครอบครัวและจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสิน ร้านแผงลอยบางรายต้องปรับวิธีการขายเป็นแผงลอยเคลื่อนที่เพื่อให้รอดจากวิกฤติครั้งนี้ไปได้
ชวนอ่าน ‘Her name is ชื่อของเธอคือ…’ หนังสือที่สอนให้ผู้หญิงใช้ชีวิตเพื่อตัวเธอเอง
เรื่องราวทั้ง 28 เรื่องในหนังสือเล่มนี้ เล่าถึงชีวิตจริงของผู้หญิงเกาหลีใต้ที่ต้องเผชิญการกดทับในสังคมชายเป็นใหญ่ตลอดทุกช่วงวัยของชีวิต ด้วยวิธีการเล่าเรื่องที่ไม่ได้ฟูมฟายอย่างที่บทนำเขียนไว้ แต่ยิ่งอ่าน ยิ่งสะสมความรู้สึกอัดอั้นรอวันระเบิด เช่นเดียวกับที่ผู้หญิงในเกาหลีใต้เผชิญมาตลอด
‘มองการเมืองพม่าผ่าน 8 หนังและสารคดี’ ในมุมที่หนังสือเรียนไม่เคยบอก
ข่าวฝูงชนชาวเมียนมาปะทะแก๊สน้ำตา ภาพที่ประชาชนหมอบลงกับพื้น เจ้าหน้าที่ยิงกระสุนยางและกระสุนจริง ใส่กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหาร คนเมียนมาถูกปลิดชีวิตมากถึง 38 คนภายในวันเดียวเมื่อ 3 มี.ค. ที่ผ่านมา วันที่ UN ใช้คำว่า ‘วันนองเลือดที่สุด’ นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. หลังจากอองซานซูจี ถูกทหารควบคุมตัวและกองทัพเข้ายึดอำนาจจนถึงตอนนี้ พวกเขาสูญเสียเพื่อนร่วมอุดมการณ์ไปแล้วอย่างน้อย 50 คน หนึ่งในจำนวนนั้นมีเด็กชายอายุเพียง 14 ปี
#saveบางกลอย บันทึกระหว่างทางกลับบ้านของชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อทวงคืนบ้านเกิดมากว่า 25 ปี
0. หากในข้อสอบมีคำถามว่าข้อใดเป็นสาเหตุของการทำลายป่ามนุษย์ คือคำตอบที่ฉันจะมองหาเป็นตัวเลือกแรก และมั่นใจว่าเฉลยจะไม่ผิดไปจากนี้ แต่ฉันเพิ่งรู้ว่าคำตอบในชีวิตจริงไม่ได้มีแค่คำตอบเดียวมีมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ทำลายแต่ปกป้องผืนป่าบ้านเกิดของพวกเขาเป็นอย่างดี เราเรียกเขาว่า ชาวบ้านบางกลอย 1. ย้อนกลับไปเมื่อเวลาบ่ายของวันที่ 15 มีนาคม ฉันได้รับอีเมลความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ ข้อความข้างในเขียนบอกว่า “พรุ่งนี้ไปเยี่ยมชาวบ้านบางกลอยกัน” พร้อมกับเวลาและสถานที่ ‘เกิดอะไรขึ้นที่บางกลอย’ คำถามผุดขึ้นในหัวฉันและเพื่อนทุกคนทันทีที่อ่านอีเมลฉบับนั้นจบ เราใช้เวลาครึ่งวันที่เหลือก่อนจะถึงเวลานัดพูดคุยกันถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตอนนั้นเองที่ฉันรู้ว่าข้อมูลที่ฉันมีเกี่ยวกับเรื่องนี้มันน้อยนิดมาก เราเพิ่งรู้ด้วยซ้ำว่าบางกลอยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ชาวบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่าลึกหรือเรียกกันว่า ‘ใจแผ่นดิน’ หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี แต่เมื่ออุทยานแห่งชาติแก่งกระจานถือกำเนิดขึ้น ชาวบ้านบางกลอยทั้งหมู่บ้านจึงต้องอพยพลงมาอยู่พื้นที่ใหม่ที่รัฐจัดหาให้ เรียกว่า ‘บางกลอยล่าง’ หรือบ้านโป่งลึก แต่ที่ดินบริเวณบางกลอยล่างไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่ต้องทำไร่หมุนเวียน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนตัดสินใจเดินเท้ากลับขึ้นไปที่ใจแผ่นดิน และตกอยู่ในสถานะผู้บุกรุกป่า วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาวบ้านบางกลอยบางส่วนเดินทางจากจังหวัดเพชรบุรี มายังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรีถอนกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานในพื้นที่ เนื่องจากสร้างความหวาดระแวงให้ชาวบ้านที่ต้องใช้เส้นทางเข้าออกหมู่บ้าน เมื่อเราถึงสะพานชมัยมรุเชฐข้างทำเนียบรัฐบาล จุดที่ภาคี #saveบางกลอย ปักหลักกันมาเกือบ 2 วัน พระอาทิตย์กำลังจะหายไปหลังตึกสูง ภาพแรกที่เห็นคือกระท่อมไม้ไผ่หลังเล็กๆ แบบเดียวกับที่ใจแผ่นดินตั้งอยู่กลางถนน และป้ายผ้าสีขาวที่เขียนว่า ‘ชาติพันธุ์ก็คือคน’ พี่กอล์ฟ-พชร คำชำนาญ คือคนแรกที่พวกเรามองหา เขาเป็นรุ่นพี่ที่คณะและฉันไม่มั่นใจว่าพี่กอล์ฟจะจำพวกเราได้ […]
ไปคลองโอ่งอ่างเยี่ยมบ้านเชฟ ชิมอาหารรสต้นตำรับแห่งทวีปเอเชียใต้แบบไม่ต้องนั่งเครื่อง
‘โอ่ง’ ใส่น้ำ ใส่น้ำให้เต็มโอ่ง ใส่น้ำให้เต็มโอ่ง แล้วเชฟจะชื่นใจ แล้วเชฟจะชื่นใจ‘อ่าง’ ใส่น้ำ ใส่น้ำให้เต็มอ่าง ใส่น้ำให้เต็มอ่าง แล้วเชฟจะชื่นใจ แล้วเชฟจะชื่นใจ ไม่ได้ชวนมาโยกย้าย ส่ายสะโพก โยกย้าย บั้นท้ายโยกย้าย เฮ้ย! พอ! แต่ชวนมาแคะ แกะ หาคำตอบจากเนื้อเพลงที่เปลี่ยนไปข้างต้นว่า ‘เชฟ’ จากอินเดีย เนปาล ภูฏาน ปากีสถาน และไทย-มุสลิม ทั้ง 4 คน จาก 4 ร้านอาหารริมคลองโอ่งอ่างว่า ทำไม้ ทำไม ถึงย้ายรกรากมาเปิดร้านอาหารประจำชาติที่ ‘ชุมชนคลองโอ่งอ่าง’ ประเทศไทยแทนประเทศบ้านเกิด ความตั้งใจแรกคืออะไร ทำไมเชฟทั้งสี่ถึงตั้งชื่อเล่นให้ชุมชนแห่งนี้ว่า ‘ชุมชนความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ อย่างพร้อมเพรียง ไปฟังเรื่องเล่าจากปากพวกเขา ที่อาจทำให้คุณสนิทกับอาหารทั่วทวีปเอเชียใต้และรู้จักคลองโอ่งอ่างมากขึ้น (แล้วก็อาจจะหิวตามไปด้วย) 01 | อุ่นเครื่องเซย์ฮายคลองโอ่งอ่าง ‘คลองโอ่งอ่าง’ ถูกขุดเมื่อปี 2328 เป็นคลองเล็กๆ ที่แบ่งระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ และเป็นหนึ่งในคลองรอบกรุง โดยมีต้นน้ำเป็น […]
เพื่อนใหม่ของฉันชื่อ ‘บอนไซ’ ฟูมฟักต้นไม้แห่งชีวิตลงกระถาง
ก่อนหน้าเวิร์กช็อปทำ ‘บอนไซ’ ฉันรู้จักมันคร่าวๆ ว่าเป็นการเพาะเลี้ยงต้นไม้จากกระถางใหญ่สู่กระถางเล็ก ฟังดูไม่ต่างจากการที่โดเรมอนใช้ไฟฉายย่อส่วนต้นไม้ในสวนใหญ่ให้เป็นสวนขนาดกะทัดรัด ถ้าให้เปรียบเปรยแบบติดตลก นิยามความสัมพันธ์ของฉันกับบอนไซไม่ต่างจากเพื่อนที่ไม่สนิท รู้จักกันผ่านๆ ทักทายบ้างตามโอกาส แต่แอบไปกระซิบบอกคนสนิทบ่อยๆ ว่าเจ้าบอนไซนี่น่ารักใช่ย่อยนะ! จนมาถึงวันที่ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปปลูกบอนไซกับ พี่ปัน-ปัญจพล นาน่วม ผู้หลงใหลบอนไซมาแล้ว 6 ปี ณ สตูดิโอ Tentacles N22 แหล่งรวบรวมเวิร์กช็อปศิลปะและงานคราฟต์ ที่ทำให้ฉันได้รู้จักบอนไซแบบลึกซึ้งมากขึ้น เพราะการทำมันแต่ละขั้นตอนต้องพิถีพิถันไปอย่างช้าๆ และเรียบง่าย (ก็ไม่ง่ายมากแต่ก็ไม่ยากขนาดนั้น) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับฉันระหว่างทำความรู้จักบอนไซกลับน่าประหลาดใจเพราะ ‘บอนไซ แกทำให้คนฟุ้งซ่านอย่างฉันมีสมาธิขึ้นได้ว่ะ’ สายตาที่จดจ่อบอนไซตั้งแต่ลงมือปลูก ลงมือตัดแต่ง ลงมือย้ายกระถาง และลงมือดูแลมัน ทำให้ฉันไม่แปลกใจว่าสมญานามของบอนไซที่เป็น ‘ต้นไม้แห่งจิตวิญญาณ’ มาได้อย่างไร เพราะมากกว่าเป็นต้นไม้สง่างามในกระถาง กลับใส่วิญญาณของคนทำลงไปด้วยอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อบทความชิ้นนี้เผยแพร่แล้ว ฉันหวังลึกๆ ว่าคุณจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อ ‘บอนไซ’ ผ่านเวิร์กช็อปนี้ และหาความสงบเล็กๆ ให้ตัวเองได้ 01 BON = กระถาง, SAI = ต้นไม้ “อาจารย์คนแรกที่สอนผมทำบอนไซคือหลวงพี่ในวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เพราะครั้งแรกที่ผมรู้จักบอนไซคือตอนบวชหลังจากเรียนจบใหม่ๆ เมื่อมีเวลาว่างหลังจำวัด […]
9 ไอเทมสัตว์โลก ชวนตระหนักปัญหาสิ่งแวดล้อม
“ถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งกว่า 300 ล้านใบ มีจุดจบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก” ข้อความด้านบนคือประโยคที่ถูกพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งห่อหุ้มเหล่าสัตว์โลกย่อส่วนบนเชลฟ์วางสินค้า ชวนให้เราพลิกซ้ายพลิกขวาดูว่าฟังก์ชันของมันทำอะไรได้บ้าง บรรดาข้าวของกระจุกกระจิกตรงหน้าไม่ได้แค่จับวางไว้มุมไหนก็น่ารัก หากยังหยิบจับใช้งานได้ถนัดมือและแอบซ่อนกิมมิกสนุกๆ เอาไว้
แบบทดสอบ : KNOW YOU KNOW ME เพื่อนที่อนุญาตให้กันและกันเป็นตัวของตัวเอง
นิยามคำว่า ‘เพื่อนสนิท’ สำหรับฉันอาจไม่ใช่การเจอหน้ากันทุกวัน หรือรู้เรื่องชีวิตของกันและกันทุกกระเบียดนิ้ว แต่ถ้าคนใดคนหนึ่งต้องการ ‘ที่พักพิง’ เมื่อไหร่ พวกเราก็พร้อมที่จะมอบความสบายใจให้แก่กันเสมอ
‘Izakaya Bottakuri’ ซีรีส์ญี่ปุ่นที่สอนให้รู้ว่า คุณค่าของอาหารคือรสชาติของชีวิต
ณ ตรอกที่อยู่ถัดจากถนนย่านการค้า มีร้านอิซากายะอยู่ร้านหนึ่ง ร้านนี้มีเครื่องดื่มดีๆ อาหารอร่อยๆ และกลุ่มคนที่มีหัวใจอบอุ่นยินดีต้อนรับเสมอ “อิรัชชัยมาเสะ” ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Izakaya Bottakuri ซีรีส์ญี่ปุ่นขนาดสั้นที่ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนในชื่อเดียวกัน บอกเล่าเรื่องราวร้านอาหารของสองพี่น้องมิเนะและคาโอรุ ที่คอยสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา ให้ผู้คนในร้าน ผ่านเมนูอาหารจานพิเศษของร้านในแต่ละวัน ทำให้บรรยากาศภายในร้านแห่งนี้ตลบอบอวลไปด้วยความอบอุ่น ความสุข และความสัมพันธ์ ผ่านการปรุงอาหารด้วยหัวใจทุกจาน นอกจากจะเป็นซีรีส์ชวนหิว ยังชวนให้เราเข้าครัวในเวลาเดียวกัน ถ้าอยากรู้ว่าเป็นยังไง ต้องดูให้จบตอน! ซีรีส์ที่พาเราไปรู้จักวัฒนธรรมการกินแบบ Izakaya เมื่อพูดถึงดินแดนอารยธรรมอย่างญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ Izakaya คือรูปแบบร้านกินดื่มประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากร้านเหล้าที่เราคุ้นเคยในประเทศไทย ด้วยเอกลักษณ์การเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควบคู่ไปกับอาหารประเภทต่างๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกินดื่มให้มีรสชาติมากขึ้น ส่วนบรรยากาศภายในร้านจะเน้นความอบอุ่นเป็นกันเอง เหมาะแก่การเป็นสถานที่สังสรรค์หลังเลิกงานเพื่อคลายเครียดและกระชับความสัมพันธ์กับผู้คนไปในคราวเดียวกัน รูปแบบการกินดื่มดังกล่าวได้รับความนิยมจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น และค่อยๆ แพร่กระจายไปยังสถานที่อื่นทั่วโลก ‘Bottakuri’ ชื่อร้านที่หมายถึงการขูดรีด ความพิเศษของร้านแห่งนี้คงต้องเริ่มจากชื่อร้าน ‘Bottakuri’ ซึ่งหมายถึงการขูดรีด โดยมีที่มาจากความคิดของคุณพ่อเจ้าของร้านว่า การที่เรารับเงินจากการเสิร์ฟอาหารที่บ้านไหนก็มี บ้านไหนก็ทำได้ คงเหมือนการขูดเลือดขูดเนื้อผู้มาใช้บริการหรือเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ‘บตตากุริ’ กลายเป็นที่มาที่ไปของชื่อร้าน ถึงแม้ร้านแห่งนี้จะเสิร์ฟอาหารทั่วๆ ไป แต่ต่างตรงที่ความตั้งใจพิถีพิถันของคนปรุงซึ่งปรุงอาหารทุกจานด้วยหัวใจ และเมื่ออาหารสร้างรอยยิ้มบนใบหน้าของผู้คนได้ เมื่อนั้นลูกค้าก็จะไม่เสียดายเงิน ทุกคนที่ก้าวเท้าเข้ามาในร้านจึงพร้อมถูกขูดรีดอยู่เสมอ เมนูนี้สอนให้รู้ว่า […]
Color Journey : บันทึกสีน้ำของการค้นพบความสุขเล็กๆ จาก ‘สีธรรมชาติทำมือ’
บ่ายวันหนึ่งฉันเจอสมุดวาดรูปเล่มเก่าในหลืบชั้นหนังสือที่บ้าน เป็นความประหลาดใจระคนตื่นเต้นเมื่อได้รื้อฟื้นความทรงจำวัยเด็ก ฉันไม่รีรอเปิดดูทีละหน้าแล้วพึมพำกับตัวเอง “เกือบลืมไปแล้วว่าตอนเด็กๆ เคยชอบศิลปะขนาดไหน”