Featured
วัตถุดิบนิยม เปลี่ยนเนื้อมะพร้าวเหลือใช้ให้เป็นโยเกิร์ตรักษาภูมิแพ้และซึมเศร้า
นิยามคำว่าอาหารที่ดีของคุณเป็นแบบไหน เป็นอาหารที่อร่อย ให้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน หรือทำมาจากวัตถุดิบหายาก สำหรับ ‘วีด้า-ภาวิดา กฤตศรัณย์’ อาหารที่ดีของเธอคืออาหารที่ดีต่อตัวเธอ และต้องดีต่อโลก นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอก่อตั้ง วัตถุดิบนิยม แบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพที่อยากสื่อสารให้ทุกคนได้เข้าใจเรื่องขยะอาหาร และเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างคนเมืองกับเกษตรกร ให้มาแชร์ความรู้และวัตถุดิบกันแบบที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ส่วนผู้บริโภคได้ความรู้และของกินกลับไป สินค้าตัวแรกของวัตถุดิบนิยมอย่าง ‘ไบโคเกิร์ต’ ก็มีคอนเซปต์ที่น่าสนใจมาก เพราะนอกจากจะเป็นโยเกิร์ต Plant-based ที่ทำจากเนื้อมะพร้าวเหลือทิ้งจากฟาร์มที่ราชบุรี ผสมรวมกับจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ซึ่งช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ซึมเศร้า และยังเป็นโยเกิร์ตที่ลูกค้าต้องลุ้นทุกครั้ง เพราะรสชาติจะเปลี่ยนไปทุกกระปุก! เช้าวันอากาศดี เรานัดพบกับภาวิดาเพื่อคุยกันถึงเรื่องราวเบื้องหลังธุรกิจของวัตถุดิบนิยม และความตั้งใจในการผลักดันแบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพจากกรุงเทพฯ ที่มีน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกรในราชบุรีเป็นส่วนประกอบ กรุงเทพฯ ย้อนกลับไปยังจุดแรกเริ่ม วัตถุดิบนิยม ประกอบสร้างขึ้นจากความชอบในวิถีออร์แกนิกและเงื่อนไขด้านสุขภาพของภาวิดา อาจเพราะเติบโตในครอบครัวยากจนถึงขนาดต้องซื้อบะหมี่ชามเดียวมาแบ่งแม่และพี่น้องกิน ภาวิดาจึงรู้จักและสำนึกในคุณค่าของอาหารเสมอมา แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอเห็นความสำคัญของคำว่าออร์แกนิก เกิดขึ้นตอนไปเรียนปริญญาโทที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ราวปี 2537 ในยุคที่คำว่าออร์แกนิกยังไม่แพร่หลาย ผู้คนที่นั่นสอนให้ภาวิดาเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งผ่านสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน คนที่เติบโตมากับการใช้ถุงพลาสติก ถูกสอนให้ล้างวัตถุดิบทุกอย่างก่อนนำมาปรุงอาหาร ภาวิดาประหลาดใจกับภาพการใช้ถุงตาข่ายของชาวออสซี่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงการหยิบผักผลไม้จากบนเชลฟ์ให้เด็กๆ กินได้โดยไม่ล้าง เพราะพวกเขามั่นใจว่ามันปลอดสารเคมี ภาวิดาซึมซับภาพเหล่านั้นเป็นประจำ รู้ตัวอีกทีคำว่าออร์แกนิกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างแยกไม่ออก หลังจากเรียนจบและกลับไทย เธอเข้าทำงานในฝ่ายการตลาดให้สื่อเว็บไซต์แห่งหนึ่งจนได้ขึ้นเป็นระดับผู้บริหาร […]
กระจกสี ป้าแก้ว เจ้าของร้านประกายแก้ว l The Professional
รู้ไหมว่า งานกระจกสีสวยงามที่เราเห็นที่ 1 – 3 ของโบสถ์คริสในไทย ล้วนมาจากฝีมือผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จากความหลงใหลในกระจกสีวัดนิเวศธรรมประวัติ ทำให้ ป้าแก้ว-พวงแก้ว นันทนาพรชัย เจ้าของร้านประกายแก้ว อยากทำชิ้นงานแบบนี้ดูบ้าง แม้ 10 นิ้วมือจะเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ป้าแก้วกลับบอกว่า “เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ถูกติดตั้ง ทุกคนเห็นแล้วมีความสุข ตัวป้าเองก็มีความสุข” แม้จะไม่ใช่ร้านเก่าแก่ที่สุด แต่ผลงาน กระจกสีของร้านประกายแก้วเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ จนเราได้เห็นมันบนวัดกาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ ในวันนี้ Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักกระจกสีให้มากขึ้นกับ ป้าแก้ว ร้านประกายแก้ว ที่ถือคติว่า “แม้หากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ศิลปะเหล่านี้ยังต้องอยู่ ศิลปะจงเจริญ”
Stray Cat in the Sick City รับบทเป็นแมวส้มในเกม Stray ผจญภัยและเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ที่ใกล้ล่มสลาย
ชีวิตในเมืองที่แสนเหนื่อยยากและโลกที่วุ่นวาย ทำให้เราเคยมีความคิดที่แวบขึ้นมาว่า อยากลองเกิดเป็นหมาแมวดูบ้างสักวัน แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าวันหนึ่งเราได้อิเซไกมาเป็นเจ้าแมวส้มจาก Stray เกมที่ให้เราสวมบทบาทเป็นแมวหลง ที่มีคู่หูอย่างเจ้าโดรนจิ๋ว B-12 คอยช่วยเหลือและนำทาง พร้อมกับผจญภัยไปด้วยกันในโลกแห่งอนาคตที่ล่มสลายด้วยฝีมือของมนุษย์ เหลือเพียงหุ่นยนต์ที่วิวัฒนาการขึ้นมาให้มีความนึกคิดและจิตใจ ในเมืองที่ถูกทิ้งร้างไร้ผู้คน Stray เป็นเกมจากค่าย BlueTwelve Studio ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เปิดให้เล่นทั้งในแพลตฟอร์ม Steam, PlayStation 4 และ PlayStation 5 พร้อมกับคะแนนวิจารณ์ที่ดีที่สุดในปีนี้จากผู้เล่นใน Steam หลังจากเปิดตัวไปได้เพียงไม่กี่วัน สำหรับคนที่เคยเล่นเกมนี้มาแล้ว หรือคนที่ยังไม่เคยเล่นก็ตาม สิ่งที่จะทำให้ทุกคนตกหลุมรักเกมนี้ได้ง่ายๆ ก็คือความน่ารักของเจ้าแมวส้ม นอกจากนั้นก็คงจะเป็นความน่าสนใจของการเมืองผ่าน Perspective ของแมว และเรื่องราวของหุ่นยนต์ที่เราจะได้พบเจอตลอดการเดินทาง พร้อมกับดีเทลเล็กๆ เฉพาะคนรักแมวเท่านั้นที่จะรู้ ถ้าแมวส้มจากเกม Stray ตัวนี้ได้มาร่อนเร่ในมหานครอย่างกรุงเทพฯ ที่สุดแสนจะวุ่นวายและใกล้ล่มสลาย น้องจะได้พบเจอกับอะไรบ้าง และทางออกของปัญหาเหล่านั้นควรจะเป็นอะไร เรามาร่วมลุ้นและผจญภัยไปด้วยกัน Walk Through the Cityเมื่อเจ้าแมวออกเดินทาง การจะเป็นเมืองที่เดินได้ จะต้องมีความปลอดภัยสำหรับผู้คนที่สัญจรไปมา ทั้งบนทางเท้าและท้องถนน และควรมีความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยงด้วย การมีทางเท้าที่ดี สะพานลอยหรือทางม้าลายที่ปลอดภัย ไฟข้างทางที่ส่องสว่าง […]
ดีไซน์สวย ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ด้วย ASUS Zen AiO 24 (M5401 New Touch Panel)
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สักเครื่องในสมัยนี้ จะมองแค่เรื่องของฟังก์ชันการใช้งานอย่างเดียวคงไม่อาจตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่คอมฯ กลายเป็นอีกหนึ่งอวัยวะของร่างกายได้แล้ว ไหนจะต้องใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย มีสเปกที่ดี ฟังก์ชันการใช้งานครบครัน อีกทั้งดีไซน์ยังต้องสวยงามเข้ากับสไตล์ของใครคนนั้นด้วย ถ้าใครกำลังมองหาคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติทั้งหมดที่เรากล่าวมาข้างต้น แต่ยังหาไม่ได้สักที วันนี้ Urban Creature อยากพาคุณให้มารู้จักกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะของ ASUS อย่าง ‘ASUS Zen AiO 24 (M5401 New Touch Panel)’ ที่ไม่ว่าจะใช้งานในรูปแบบไหน ก็ตอบโจทย์ได้ทุกไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ Design | ใช้งานก็สวย ตั้งโชว์ก็เก๋ หลายครั้งที่คอมพิวเตอร์มักจะดูโดดออกจากสิ่งแวดล้อมในห้องทำงานเราแบบช่วยไม่ได้แต่ด้วยรูปลักษณ์ของ ASUS Zen AiO 24 ที่หรูหราพร้อมขาตั้งโลหะเยื้องไปทางซ้าย ผลิตจากโลหะและเสริมแรงด้วยวัสดุระดับพรีเมียม ผ้าทออย่างดีสำหรับลำโพง รวมถึงไม่มี CPU ใหญ่โตให้ดูเทอะทะ ก็ทำให้การจัดห้องหรือโซนการทำงานของคุณเป็นไปได้ด้วยดี จะคุมโทนแค่ไหนก็ทำได้แบบเต็มที่ ฉีกทุกความรู้สึกแบบเดิมๆ ของอุปกรณ์ไอที หน้าจอบางเฉียบเพียง 2.8 มิลลิเมตร ทำให้ไม่เทอะทะ จัดวางมุมไหนก็ดูดี อีกทั้งจอภาพยังขอบบาง NanoEdge ขนาด 23.8 นิ้ว ที่มีอัตราส่วนจอภาพต่อตัวเครื่องที่มากถึง […]
คนต่างจังหวัดก็อ่านหนังสือ แต่ทำไมงานหนังสือถึงจัดไม่บ่อยเท่าในกรุงเทพฯ
สำหรับชาวนักอ่านตัวยง คงจำได้ว่าเมื่อก่อนนี้เราแทบต้องนับวันรองานหนังสือแห่งชาติที่ในหนึ่งปีจะวนกลับมาให้เราออกกำลังกายขาและแขนในการเดินเลือกซื้อหนังสือและแบกกลับบ้านกัน 2 ครั้งต่อปี นั่นคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (จัดเดือนมีนาคม-เมษายน) และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ (จัดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบันชาวกรุงเทพฯ ไม่ต้องรอนานเหมือนเดิมแล้ว เพราะช่วงหลังนี้มีงานหนังสือให้เราไปเดินกันบ่อยขึ้นกว่าเดิมทั้งงานขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม่ว่าจะเป็นงานจากสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือทีมผู้จัดงานหนังสือที่รวมตัวกันโดยเฉพาะเลยก็ตาม อย่างเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีงานหนังสือเกิดขึ้นถึง 5 งาน รวมถึงอีเวนต์อย่างงานหนังสือในสวน ที่แม้ไม่ได้ขายหนังสือเป็นหลัก แต่ก็เป็นอีเวนต์ที่เชิญชวนเหล่าคนรักการอ่านมาพบปะและทำกิจกรรมด้วยกัน กระทั่งเดือนสิงหาคมนี้ก็ยังมีงานหนังสือที่จัดอย่างต่อเนื่อง เช่น Bangkok Erotica Book Fest 2022 และงานหนังสือในสวน ครั้งที่ 2 เป็นต้น เมื่อมีงานหนังสือในกรุงเทพฯ เกิดบ่อยขึ้น ชาวต่างจังหวัดจำนวนไม่น้อยเลยเริ่มออกมาแสดงความคิดเห็นว่าอยากให้จังหวัดอื่นๆ มีงานหนังสือบ่อยๆ เหมือนที่เมืองหลวงบ้าง เราจึงเกิดความสงสัยว่าทำไมงานหนังสือถึงไม่แวะเวียนไปจัดที่จังหวัดอื่นๆ ให้บ่อยขึ้น หรือมันเป็นไปได้ไหมที่คนในพื้นที่จะลุกขึ้นมาจัดงานหนังสือในจังหวัดตัวเอง คิดหาคำตอบเองคงไม่ได้อะไร เราขอต่อสายถามความคิดเห็นเรื่องนี้จากเหล่าเจ้าของร้านหนังสือที่กระจายตัวเปิดร้านอยู่ตามต่างจังหวัดดีกว่า สาเหตุที่ต่างจังหวัด (แทบ) ไม่มีงานหนังสือ การจัดงานหนังสือแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายหลายส่วนที่สำนักพิมพ์หรือร้านที่เข้าร่วมงานต้องลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อย ไหนจะค่าเช่าบูท ค่าเดินทาง ค่าแรงพนักงาน และค่าใช้จ่ายจิปาถะอีก ทว่าทั้งหมดนี้จะยิ่งทวีราคามากขึ้น หากเป็นงานหนังสือที่จัดในต่างจังหวัด นี่จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ค่อยได้เห็นงานหนังสือในจังหวัดอื่นๆ สักเท่าไหร่ กำลังซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ‘ภาณุ […]
ฟังเสียงของคนทำหนังรุ่นใหม่ l Sound Check
“สายอาชีพอื่นเขามีหลายลู่ทาง แต่ในสายงานภาพยนตร์ ต้องให้เราไปเป็นฟรีแลนซ์อย่างเดียวถึงจะมีอนาคต?” นี่คือเสียงสะท้อนจากกลุ่มคนทำหนังรุ่นใหม่ที่ต้องเจอกับปัญหาที่คนดูอาจคิดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้วยระบบอาวุโส ค่าตัวที่น้อยน่าใจหาย หรือแม้แต่นายทุนที่อยากได้หนังระดับล้านแต่จ่ายระดับร้อย และไม่ง่ายเลยที่พวกเขาจะมีอาชีพและได้ทำงานตามแพสชันของตัวเองตั้งแต่ก้าวออกจากรั้วมหา’ลัย หากไม่มีคอนเนกชันหรือคนรู้จักคอยหยิบยื่นโอกาสให้ เบื้องหน้าวงการหนังอาจเต็มไปด้วยความสนุกและดูฮาๆ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าคนเบื้องหลังต่างโอดครวญร้องฮือๆ กันอยู่ไม่น้อย Soundcheck ครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนเข้าใจเส้นทางอาชีพในวงการหนังไทยมากขึ้น ผ่านบทสัมภาษณ์ของกลุ่มคนทำหนังรุ่นใหม่ อุปสรรคของเด็กฟิล์มคืออะไร โอกาสในอุตสาหกรรมนี้มีมากน้อยขนาดไหน และเรื่องหลังกล้องแบบไหนที่อยากให้คนดูเข้าใจ ไปฟังคำบอกเล่าของพวกเขาพร้อมกัน .ส่วนใครที่อยากดูผลงานของคนทำหนังรุ่นใหม่ เราขอชวนไปดู ‘Voices of the New Gen 2022’ หรือ ‘เสียง (ไม่) เงียบ 2022’ ภาพยนตร์สั้น 4 เรื่องที่สะท้อนปัญหาการเมืองและสังคมผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ กำหนดฉายวันที่ 25 สิงหาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์ รับชมตัวอย่างได้ที่ https://bit.ly/3R7gdS4
ลองเปิดใจกับหลอดกระดาษ เพราะหลอดพลาสติกชิ้นเดียว ส่งผลต่อโลกใบนี้มากกว่าที่คิด
แต่ละวันคุณใช้หลอดพลาสติกเยอะแค่ไหน? บางคนเข้าร้านสะดวกซื้อก็ขอหลอดติดไม้ติดมือสักหน่อย ชาวออฟฟิศติดกาแฟก็หนีไม่พ้นที่จะใช้หลอดพลาสติก จะสั่งเดลิเวอรีทีก็แถมพลาสติกมาซะเยอะ หรือแวะร้านข้าวตามสั่ง ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะพึ่งหลอดพลาสติกในการดื่มน้ำ แน่ล่ะ เพราะความเหนียวทนทานของพลาสติกทำให้ชีวิตพวกเราอยู่สบายขึ้นเป็นกอง จะเลี่ยงก็ยากเพราะมันทั้งใช้ง่ายและอยู่ใกล้ตัวเรา จนหลายครั้งก็ลืมฉุกคิดว่า ปลายทางของพวกมันจะไปจบที่ตรงไหน ท่อระบายน้ำ ทะเล มหาสมุทร ลอยล่องไปทำร้ายสัตว์ทะเลจนเป็นภาพชินตา หรือกลายร่างเป็นไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในน้ำ ดิน และวนกลับเข้าสู่ร่างกายพวกเรา แต่คงจะดีไม่น้อยถ้าเราได้ลดการใช้หลอดพลาสติกได้ง่ายๆ ผ่านการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการดื่มนม ซึ่ง ‘ไมโล’ คือหนึ่งในแบรนด์ที่อยากทำให้เรื่องรักษ์โลกง่ายขึ้น สะดวกขึ้นกับ ‘หลอดกระดาษปรับปรุงใหม่’ ที่ตั้งใจอยากให้คุณได้ร่วมดูแลโลกใบนี้ไปด้วยกัน การเดินทางของหลอด! นับตั้งแต่ชาวสุเมเรียนยุคเมโสโปเตเมีย เรียนรู้การหยิบจับวัสดุจากธรรมชาติมาทำเป็นหลอดดูดน้ำ เรื่อยมาจน มาร์วิน สโตน ได้ประดิษฐ์คิดค้นหลอดกระดาษอย่างจริงจัง ทำให้เรามีหลอดดูดน้ำเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1888 หรือร้อยกว่าปีก่อน ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยหลอดพลาสติกในช่วง 1960 มาวันนี้ พลาสติกทำให้ชีวิตมนุษย์สะดวกสบายขึ้นก็จริง แต่ก็มาพร้อมคำครหาต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะย่อยสลายยาก ไร้การจัดการที่ดี สุดท้ายกลายเป็นขยะทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่จบไม่สิ้น ซึ่งหลายคนเริ่มช่วยกันคนละไม้คนละมือ หันมามองหาวัสดุทดแทนพลาสติกเหล่านั้น อย่างหลอดสเตนเลสหรือหลอดกระดาษ เพราะดีต่อโลกของเรามากกว่า เมื่อหลอดพลาสติกคร่าชีวิต ก็แค่หลอดพลาสติกหลอดเดียวเอง ใช้ๆ ไปเถอะ ไม่เป็นไรหรอก ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกมากถึง 12 […]
สัตว์เลี้ยงกับนโยบายเมืองที่ต้องปรับตัว กับ จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์ | Unlock the City EP.08
หมาแมวไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน โดยเฉพาะหมาแมวจรจัดที่เป็นปัญหาเรื้อรังของเมือง เรื่องสัตว์ในเมืองไม่ใช่หัวข้อใหม่ในสังคม แต่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้น ยิ่งในยุคที่คนฮิตเลี้ยงสัตว์เสมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลี้ยงสัตว์ตามกระแสนิยมแล้วปล่อยสัตว์ที่เลี้ยงให้เร่ร่อน เพิ่มปริมาณสัตว์จรจนกลายเป็นปัญหาที่เพิ่มพูน แต่เมื่อรัฐได้พยายามกำหนดนโยบาย และออกกฎการควบคุมสัตว์เลี้ยงกับสัตว์จรขึ้นมา ก็มักตามมาด้วยดราม่าใหญ่โตทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนสัตว์เลี้ยง หรือกระทั่งวิธีการควบคุมปริมาณสัตว์จรด้วยการฉีดยาให้หลับ ยังไม่นับรวมความเข้มข้นของกฎหมายคุ้มครองสัตว์ และการนำสัตว์มาใช้ประโยชน์ ที่ประชาชนมักหยิบมาถกเถียงกันให้เห็นเนืองๆ ชวนทำความเข้าใจกับ ‘จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์’ อาจารย์สัตวแพทย์ประจำคลินิกพฤติกรรมสุนัขและแมว โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความเป็นไปของปัญหานี้ที่ไม่เคยแก้ไขได้ในบ้านเรา ไปจนถึงการออกแบบเมืองกับนโยบายเกี่ยวกับการจัดการควบคุมสัตว์ที่ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในเมือง ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://bit.ly/3PN7rHQ Spotify : https://spoti.fi/3R2EcCp Apple Podcasts : https://apple.co/3KiDXR5 Podbean : https://bit.ly/3PJQ6PN
A Katanyu Comedy Club คลับของคนรักเสียงหัวเราะ ที่ต้องการให้ Comedian รุ่นใหม่ได้มีที่ซ้อมมือ
‘อยากดู Stand-up Comedy ต้องไปที่ไหน’ สำหรับคำถามนี้ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงหยุดคิดไปหลายนาที เพราะ ‘Stand-up Comedy Club’ ในไทยที่พอจะรู้จักหรือหาข้อมูลได้ส่วนใหญ่เป็นคลับที่แสดงโดยชาวต่างชาติอย่าง ‘The Comedy Club Bangkok’ หรือ ‘Khaosan Comedy Club’ นั่นแปลว่าถ้าคุณจะชมการแสดงประเภทนี้ ต้องฟังภาษาอังกฤษออก และเข้าใจมุกตลกของพวกเขา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา คงเป็นวันที่เราพูดได้เต็มปากว่าหากต้องการดูโชว์ตลกในรูปแบบ ‘Stand-up Comedy’ โดยนักแสดง Stand-up Comedian ชาวไทย ให้คุณเดินทางไปที่โครงการ Space & Co หลังห้างสรรพสินค้าสามย่านมิตรทาวน์ แล้วคุณจะพบกับ ‘A Katanyu Comedy Club’ คลับเล็กๆ ของคนรักเสียงหัวเราะที่ซ่อนตัวอยู่บนชั้น 2 โดยมี ‘ยู-กตัญญู สว่างศรี’ เป็นหัวหอกสำคัญในการเนรมิตขึ้นมา จากความตั้งใจเดิมที่แค่ต้องการย้ายทำเลร้านกาแฟ Katanyu Coffee กลับกลายเป็นการปรับคอนเซปต์ครั้งใหญ่สู่ A Katanyu […]
อสังหาฯ กรุงเทพฯ ชาติไหนครองมากที่สุดในปฐพี?
ใกล้จะถึงเดือนกันยายน ที่รัฐบาลเคาะผลบังคับใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ด้วยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีกำลังทรัพย์ (คนที่นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และลงทุนในธุรกิจไม่ น้อยกว่า 3 ปี) หรือคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับบ้านเรา พร้อมทั้งมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติในไทยเป็น 1 ล้านคน คาดว่าจะสามารถเก็บภาษีมากกว่าเดิมประมาณ 2.7 แสนล้านบาท ปัจจุบันตัวเลขมูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดชาวต่างชาติปี 2564 ในกรุงเทพฯ มากที่สุดต้องยกให้ ‘ประเทศจีน’ มีมูลค่า 19,588 ล้านบาท และจำนวนห้องชุดทั้งหมด 3,526 หน่วย เรียกได้ว่าทั้งมูลค่าการถือครองเป็นเจ้าของและจำนวนห้องมากกว่าประเทศอื่นๆ หลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับอันดับที่ 2 อย่าง ‘ประเทศวานูอาตู’ มีมูลค่า 1,111 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 58 หน่วย และอันดับที่ 3 คือ ‘ประเทศสิงคโปร์’ มีมูลค่า 786 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 117 หน่วย ยิ่งไปกว่านั้น ทิศทางตลาดอสังหาฯ ในไทยทุกวันนี้ยังเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาติยุโรปมีสัดส่วนถึง […]
“เกษตรอินทรีย์ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติ” ทางฟื้นเชียงดาวด้วยธุรกิจของ จิราวรรณ คำซาว
เราเชื่อว่า ‘ดอยเชียงดาว’ คือสถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่ที่หลายคนหลงรักหรือปักหมุดอยากไปเยือนสักครั้ง เพราะที่นี่มีกิจกรรมไฮไลต์ที่จะพาผู้คนหนีความวุ่นวายในเมือง กลับสู่พื้นที่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบและสวยงาม ตั้งแต่การเดินป่าสำรวจสิ่งแวดล้อม แวะเข้าถ้ำ ลุยลำธารน้ำตก ไปจนถึงการตื่นเช้าขึ้นดอยไปดูทะเลหมอกสุดลูกหูลูกตาแบบฟินๆ ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าดอยเชียงดาวไม่ได้เป็นแค่จุดหมายปลายทางยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่เมื่อปี 2564 ที่นี่ยังได้รับการยกย่องจากองค์การระดับโลกอย่าง ‘ยูเนสโก (UNESCO)’ ให้เป็น ‘พื้นที่สงวนชีวมณฑล’ แห่งที่ 5 ของไทย และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลของโลก พิจารณาจากการรักษาระบบนิเวศดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน การฟื้นฟูพื้นที่เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติ รวมไปถึงศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของพื้นที่ที่มีระบบการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ ความโดดเด่นทางธรรมชาติและระบบนิเวศของดอยแห่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และคนในท้องถิ่นที่มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งต่อระบบนิเวศและทรัพยากรให้คนรุ่นต่อไป วันนี้ เรามีนัดพูดคุยกับ ‘มล-จิราวรรณ คำซาว’ อดีตนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญที่เปลี่ยนวิถีเกษตรชุมชนของเชียงดาวผ่านการเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรมานานกว่า 10 ปี มลวัย 35 ปี เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2 ปี แต่หลังจากเจอปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอาหารปนเปื้อนเคมี เธอจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อกลับบ้านเกิดที่เชียวดาวไปทำเกษตรอินทรีย์ที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพของตนเองและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน จากนั้นก็ขยับขยายก่อตั้งบริษัทพัฒนา วิจัย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่าง ‘CNX Healthy Products’ ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ‘ทุ่งกับดอย’ […]
Urban เจอนี่ SC GRAND by YOTHAKA
ช่วงก่อนหน้านี้พวกเราได้เกิดคำถามที่ว่า ‘เสื้อผ้าที่เราสวมใส่อยู่ หากไม่ได้ใช้แล้วนั้น เสื้อผ้าเหล่านั้นจะไปที่ไหน? หรือ process จนกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้งเป็นยังไงบ้าง’ Urban เจอนี่ ครานี้ อยากขอพาเพื่อนๆ ไปร่วมหาคำตอบที่คาใจนี้กัน จากเศษผ้าจืด ๆ ชืด ๆ ที่หลายคนมองข้าม ได้ถูกจัดการโดยจัดการกลายเป็นผ้าผื่นใหม่ และยังช่วยลดผลกระทบที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะเป็นยังไงถ้ามีดีไซน์เนอร์หรือแบรนด์ดัง เอาดีไซน์เข้ามาช่วยจับให้มูลค่ามากขึ้น ถึงเวลาชุบชีวิตให้เศษผ้าไปกับเรากับ Urban เจอนี่ พาไปเจอ SC Grand by Yothaka