
Featured
ออกแบบหลักสูตรวิชาเสรี Nevermore Academy ใน Wednesday เชื่อมสัมพันธ์ชาว Outcast กับชาวเมือง Jericho
สวัสดีชาว Outcast และชาวเมือง Jericho ทั้งหลาย นับตั้งแต่ปี 1791 ที่ Nevermore Academy ของเราได้ก่อตั้งขึ้นในเมือง Jericho เพื่อให้การศึกษากับพวก Outcast คนพิลึก และสัตว์ประหลาด เวลาก็ผ่านล่วงเลยมากว่า 231 ปีแล้ว แต่ทำอย่างไรความสัมพันธ์ระหว่างชาว Outcast กับชาวเมือง Jericho ก็ดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นสักที ด้วยเหตุนี้ Urban Creature เลยขอทำการอิเซไกในโลก Wednesday ซีรีส์จาก Netflix ที่ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง ด้วยการสวมบทบาทเป็นครูใหญ่แห่ง Nevermore Academy ออกแบบหลักสูตรวิชาเสรี 6 วิชา ที่เปิดให้ชาวเมืองและเด็กจากโรงเรียน Jericho School ได้มีโอกาสเลือกลงเรียนตามความสนใจ เปิดโอกาสให้ชาวเมืองได้ทำความรู้จักฝั่ง Outcast มากขึ้น เราหวังว่าหลักสูตรนี้จะทำให้ Jericho กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับทุกคนอย่างแท้จริง เพื่อให้ตรงกับวิสัยทัศน์ของครูใหญ่ ‘ลาริสซา วีมส์’ ที่ว่า “Nevermore is a […]
ผู้หญิงอิหร่านนำประท้วงใหญ่ในรอบ 40 ปี เรียกร้องสิทธิสตรี เสรีภาพ และขับไล่เผด็จการ
ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคที่โลกล้ำหน้าแบบสุดขีด ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เทคโนโลยี ไปจนถึงวงการอวกาศที่ไปไกลถึงขั้นค้นพบดาวดวงใหม่นอกระบบสุริยจักรวาล แต่ขณะเดียวกัน โลกของเราก็ยังมีปัญหาเดิมๆ ที่พัฒนาช้ามากๆ หรือไม่ถูกแก้ไขสักที โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ทั่วโลกมีการประท้วงเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมออกมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ เหมือนเมื่อหลายร้อยปีก่อน หนึ่งในมูฟเมนต์ที่น่าจับตามองและได้รับการพูดถึงมากที่สุดในปีนี้คือ ‘การประท้วงในประเทศอิหร่าน’ ที่ประชาชนทั่วประเทศต่างลงถนนประท้วงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิง หลังเหตุการณ์เสียชีวิตของ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาววัย 22 ปี ที่ถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมตัวเพียงเพราะเธอสวมฮิญาบคลุมศีรษะไม่มิดชิดมากพอ นอกจากจะเรียกร้องความยุติธรรม การประท้วงครั้งนี้ยังนำไปสู่การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ของสตรีอิหร่าน ทั้งตัดผม เผาฮิญาบ ชูนิ้วกลางใส่รูปผู้นำสูงสุด เป็นการแสดงออกถึงความโกรธแค้นที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้เห็นมาก่อนในรัฐอิสลามแห่งนี้ มากไปกว่านั้น การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐและกฎหมายที่กดขี่เอาเปรียบผู้หญิงมาอย่างยาวนาน ยังนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาลเผด็จการที่อาจเปลี่ยนความเชื่อและค่านิยมในสังคมอิหร่านไปตลอดกาล ชนวนประท้วงครั้งใหญ่ในอิหร่าน เริ่มกันที่สาเหตุของการลุกฮือครั้งนี้ ด้วยการย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาวชาวเคิร์ดวัย 22 ปี ถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกว่า ‘ตำรวจศีลธรรม (Morality Police)’ จับกุมตัวในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน […]
HAUP แอปฯ รถเช่าที่ลูกค้าเลือกจ่ายได้ตามเวลาที่ใช้ แถมยังได้ช่วยเมืองแก้ปัญหารถติด
เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นในสุดสัปดาห์นั้น มันเป็นสุดสัปดาห์ที่คนกรุงเทพฯ ได้หยุดยาวติดกันหลายวัน หลายคนจึงแพลนไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อใช้วันหยุดให้คุ้มค่าที่สุด ฉันกับเพื่อนก็ไม่ต่าง แต่เรามีเวลาว่างตรงกันแค่ 1 วัน เลยวางแผนจะขับรถออกไปเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ แบบวันเดย์ทริป ติดตรงที่โทรไปขอเช่ารถที่ไหนเขาก็ไม่ให้ “ถ้าจะเช่าต้องเช่าสองวันขึ้นไป” ทุกที่พูดเหมือนกันหมด ฉันเกือบถอดใจ จนกระทั่งเพื่อนทักมาบอกว่า “ไปเจอนี่มา ลองไหม” ‘นี่’ ที่เพื่อนหมายถึงคือบริการรถเช่าที่คิดค่าเช่ารถตามระยะทางและเวลาที่ใช้ ในระบบมีรถยนต์หลายแบบให้เลือกขับ แถมยังมีจุดให้บริการกระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง พอฉันคำนวณราคาดูแล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากราคาเช่ารถต่อวันเท่าไหร่ เราจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ลอง นั่นคือครั้งแรกที่ฉันได้ลองใช้บริการของ HAUP ประสบการณ์การเช่ารถ 1 วันนั้นเต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์ ตั้งแต่การควบคุมระบบทุกอย่างของรถได้จากแอปฯ การที่ HAUP มีบัตรเติมน้ำมันฟรีให้ หรือแม้กระทั่งความสะดวกสบายจากการเช่ารถได้โดยไม่ต้องเจอเจ้าของรถตัวจริงเลย สิ่งที่เซอร์ไพรส์ฉันมากที่สุดเกิดขึ้นหลังจากที่ลองเสิร์ชข้อมูลของ HAUP เล่นๆ และพบว่า HAUP ไม่ใช่บริการที่ก่อตั้งใหม่ แต่เปิดมาแล้วถึง 6 ปี มากกว่านั้นคือพวกเขาไม่ใช่บริการรถเช่าอย่างที่ฉันคิด แต่นิยามตัวเองว่าเป็นบริการ ‘Carsharing’ หรือการชวนคนที่มีรถอยู่แล้วมาปล่อยให้เช่า โดยมีเป้าหมายคือการทำให้อัตราการซื้อรถของคนเมืองน้อยลง เมื่อคนซื้อรถน้อยลง การจราจรและสภาพอากาศในเมืองจะดีขึ้น ‘กฤษฏิ์ วิชัยวัฒนาพาณิชย์’ CEO ของ HAUP สรุปให้ฉันฟังอย่างนั้น […]
Urban Eyes 14/50 เขตพระนคร
เขตพระนคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่าและเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์กับศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพฯ ทำให้มีสถานที่ที่น่าสนใจอยู่เต็มไปหมด ซึ่งตามมาด้วยกิจกรรมต่างๆ และนักท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งไทยและต่างประเทศ ขนาดผมเองยังชอบมาเดินเล่นในเขตนี้อยู่บ่อยๆ ทริปนี้ขอเริ่มต้นด้วยปากคลองตลาดที่เป็นแหล่งซื้อขายของสดและตลาดดอกไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในไทย ที่นี่เปิดให้บริการแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อไหร่ที่ใกล้วันเทศกาลจะยิ่งคึกคักเป็นพิเศษ สีสันของเหล่าดอกไม้จะละลานตาไปหมด ถ้าเดินลัดเลาะตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีร้านอาหารวิวดีๆ ที่ฝั่งตรงข้ามเป็นวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารให้ได้กินลมชมวิวด้วย และถ้าเดินหาดีๆ จะเจอกับจุดถ่ายภาพที่ทางรัฐเตรียมไว้ให้ประชาชนถ่ายภาพริมน้ำโดยเฉพาะ แต่อาจต้องมองหาดีๆ หน่อยนะ เพราะถ้าไม่เดินเข้าไปใกล้ๆ ตรงนั้นจะไม่เจอเลย นอกจากวัดโพธิ์กับวัดพระแก้วที่เป็นแลนด์มาร์กประจำเขตนี้แล้ว ช่วงหลังมานี้ บริเวณลานคนเมือง (ข้างหน้าศาลาว่าการกรุงเทพฯ) ก็มีกิจกรรมเยอะมาก กลายเป็นแหล่งรวมคนรุ่นใหม่ในเขตเมืองเก่าที่ดูคอนทราสต์แต่น่าสนใจ ส่วนใครอยากไปถ่ายภาพคู่กับเสาชิงช้าก็เดินไปได้ในระยะทางที่ไม่ไกลมาก พอตกดึกหรือในวันที่มีงานเทศกาลอย่างสงกรานต์และฮาโลวีน ถนนข้าวสารก็แปลงร่างกลายเป็นศูนย์กลางของเทศกาลไปโดยปริยาย ไม่ว่าใครก็เดินทางมาร่วมสนุกกันเต็มไปหมดตั้งแต่ต้นถนนยันท้ายถนน ถือเป็นภาพความมีชีวิตชีวาที่กลับมาให้ได้เห็นอีกครั้งหลังจากช่วงโรคระบาดที่ทำเอาแถวนี้เงียบเหงาไปถนัดตา คราวนี้นอกจากนำภาพถ่ายสตรีทมาให้ทุกคนชมแล้ว ผมขอเล่าเบื้องหลังของแต่ละภาพที่ไปถ่ายมาให้ฟังกันด้วย เรียกว่าบอกเทคนิคกับความลับแบบหมดเปลือก ใครอยากลองนำไปปรับใช้กับการถ่ายภาพของตัวเองบ้างก็ไม่ว่ากัน เขตพระนคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่าและเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์กับศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพฯ ทำให้มีสถานที่ที่น่าสนใจอยู่เต็มไปหมด ซึ่งตามมาด้วยกิจกรรมต่างๆ และนักท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งไทยและต่างประเทศ ขนาดผมเองยังชอบมาเดินเล่นในเขตนี้อยู่บ่อยๆ ทริปนี้ขอเริ่มต้นด้วยปากคลองตลาดที่เป็นแหล่งซื้อขายของสดและตลาดดอกไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในไทย ที่นี่เปิดให้บริการแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อไหร่ที่ใกล้วันเทศกาลจะยิ่งคึกคักเป็นพิเศษ สีสันของเหล่าดอกไม้จะละลานตาไปหมด ถ้าเดินลัดเลาะตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีร้านอาหารวิวดีๆ ที่ฝั่งตรงข้ามเป็นวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารให้ได้กินลมชมวิวด้วย และถ้าเดินหาดีๆ จะเจอกับจุดถ่ายภาพที่ทางรัฐเตรียมไว้ให้ประชาชนถ่ายภาพริมน้ำโดยเฉพาะ แต่อาจต้องมองหาดีๆ หน่อยนะ […]
สัมผัสวิถีชนบทในเมืองหลวงที่ ‘ชุมชนวัดจำปา’
ภาพจำของหลายคนที่มองมายังกรุงเทพฯ คือเหล่าตึกสูงระฟ้า รถราติดหนึบ และมลพิษจากย่านใจกลางเมือง แต่จริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ ยังมีส่วนของชานเมืองรอบนอกที่ยังคงสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นชาวสวนผลไม้ที่ผูกพันกับสายน้ำลำคลอง อากาศสดชื่น และบรรยากาศที่แทบไม่ต่างอะไรกับต่างจังหวัด ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ตลิ่งชัน’ หนึ่งในเขตชานเมืองทางฟากตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจคุ้นหูจากการเป็นทางผ่านลงภาคใต้ทางถนนเพชรเกษม หรืออาจพอได้ยินมาบ้างจากการเป็นแหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารบนถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์ แต่ถัดเข้ามาจากถนนใหญ่หลายสายที่ตัดผ่านเขตนี้ ยังมีชุมชนเล็กๆ กลางสวนและบ้านจัดสรร ที่ยังคงเสน่ห์และวิถีชีวิตดั้งเดิมมากว่าร้อยปี จากเงาของตึกสูงที่ตกลงมาบนถนนใหญ่ใจกลางเมือง เปลี่ยนเป็นร่มเงาต้นไม้ที่ทาบลงบนถนนสายเล็กๆ ของชุมชนและบนผิวน้ำในคลองที่ใสสะอาด เรือหางยาววิ่งเสียงดังลั่นคุ้งน้ำเป็นสัญญาณต้อนรับ เหนือยอดไม้แทบไม่เห็นตึกสูง ฉากหลังของบ้านเรือนไทยเป็นท้องฟ้าสีสดใส ไร้ทัศนะอุจาดรบกวนเหมือนในเมือง ท่ามกลางเสียงจากธรรมชาติที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เชื่อหรือไม่ว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ด้วยการเดินทางจากในเมืองมาไม่นานนัก บรรยากาศของที่นี่ไม่ต่างอะไรจากสวนที่พบเจอได้ในจังหวัดอื่นๆ ผิดแต่ว่าที่นี่อยู่ในเขตของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศที่นับวันจะหาพื้นที่สีเขียวได้ยากขึ้นทุกที หลักฐานความเจริญของย่านตลิ่งชันที่ ‘วัดจำปา’ เราเดินเข้าสู่รั้ววัดจำปา พบกับ ‘พี่ดุ่ย-ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์’ ตามนัดหมาย ประธานชุมชนวัดจำปาต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิต ก่อนนำเราตรงไปยังอุโบสถวัดจำปา พร้อมทั้งเล่าสารพัดเรื่องราวของวัดโบราณคู่ชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะเหล่าของดีมีราคา และของจากในราชสำนัก “หน้าบันอุโบสถประดับอ่างล้างหน้างานยุควิกตอเรีย สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนนี้พบสองที่คือวัดจำปากับพระนครคีรี ที่นู่นสีเขียว ที่นี่สีชมพู อาจจะก่อนหรือหลังรัชกาลที่ 4” พี่ดุ่ยชวนเราเงยหน้ามองที่สิ่งอันซีนอย่างแรก เมื่อเข้าไปด้านในอุโบสถก็พบกับของอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือลูกกรงเหล็กสีทองด้านหน้าพระประธานในอุโบสถ […]
Sak’54 ผู้ทำอาชีพช่างซ่อมกีตาร์มานานกว่า 20 ปี | The Professional
เขาว่ากันว่า อาชีพช่างซ่อมกีตาร์เปรียบเสมือนหลังบ้านของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นศิลปินโด่งดังระดับไหน ย่อมต้องการช่างซ่อมเครื่องดนตรีคู่ใจที่เชื่อมือได้ด้วยกันทั้งนั้น หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน อาชีพช่างซ่อมกีตาร์อาจยังไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะย่านการค้าที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรีกระจุกตัวอยู่ภายในเวิ้งนครเกษมเพียงจุดเดียว ทว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ธุรกิจเครื่องดนตรีก็เริ่มกระจายตัวออกไปยังย่านอื่นๆ มากขึ้น Urban Creature ชวนไปทำความรู้จักและฟังเรื่องราวของ Sak’54 ช่างซ่อมกีตาร์ผู้ชำนาญการกว่า 20 ปี ตั้งแต่ยุคเวิ้งนครเกษมจนมาถึงยุคปัจจุบันที่เขาออกมาเปิดกิจการรับซ่อมกีตาร์เป็นของตัวเอง นอกจากศาสตร์การซ่อมบำรุงกีตาร์ที่น่าสนใจแล้ว ที่ผ่านมาเขาได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างกับการเป็นหลังบ้านให้ศิลปินที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุคสมัย ตามไปเปิดหลังบ้านของช่างศักดิ์พร้อมๆ กัน
‘Pongpang Escape’ ครั้งแรกที่บ้านปงผาง
บ้านปงผาง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ท่ามกลางหุบเขาของชาวปกาเกอะญอ ตั้งอยู่ที่ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
เมื่อการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ทำให้คนดูแลป่วยไข้ไม่แพ้กัน
หลายครั้งที่เราเห็นโซเชียลมีเดียหยิบเอาสถานการณ์คู่รักผู้สูงอายุที่คนหนึ่งมีอาการความจำเสื่อม มาโรแมนติไซซ์ในแง่ต่อให้หลงลืมแต่อีกคนก็ยังตกหลุมรักผู้เป็นสามี/ภรรยาเหมือนเดิม แน่นอนว่าหลายคนก็คงมองว่าเป็นความน่ารักและอยากมีความสัมพันธ์แบบนี้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม คลิปแค่ไม่กี่วินาทีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาต้องเจอทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง จนไม่อาจทำใจชอบภาวะนี้ได้ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องมีผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มจำนวนขึ้น พอๆ กับที่จะมีคนต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน เราจึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ว่า นอกจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ผู้ดูแลคนป่วยก็ควรได้การดูแลเช่นกัน ในฐานะกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญและทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ‘รศ. พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์’ และ ‘อรรถพล’ นักจิตวิทยาแห่งคลินิกความจำ และคลินิกสมองเสื่อมก่อนวัย รพ.ศิริราช จะมาแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่คนรอบข้างและสังคมควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนที่ทำหน้าที่ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่คือลูกหลาน หลายคนอาจเข้าใจว่าสมองเสื่อมเป็นอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมปรากฏได้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดในสมองที่คนไทยเป็นกันมาก โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง เป็นต้น นอกจากอาการสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ แล้ว ผู้ป่วยยังมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่าง พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เดินไปเดินมา เห็นภาพหลอน ท้อแท้ นั่งนิ่งเฉย ฯลฯ ทักษะการใช้ภาษาที่เสื่อมถอย จดจำสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก […]
‘อุตสาหกรรม K-POP กับปัญหาขยะพลาสติก’ เมื่อความรักไอดอลเกาหลีไม่ได้มาพร้อมกับการรักษ์โลก
ในขณะที่วัฒนธรรมการฟังเพลงเปลี่ยนผ่านจากการฟังแบบแอนะล็อกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่แค่ปลายนิ้วคลิกก็สามารถเข้าถึงเสียงเพลงบนโลกออนไลน์ได้เป็นล้านล้านเพลง แต่เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา สมาคมอุตสาหกรรมแผ่นเสียงแห่งอเมริกา (RIAA) กลับรายงานว่า ชาวอเมริกันซื้อซีดีเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2020 เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นครั้งแรกที่ยอดขายเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงต่อเนื่องมานานถึง 17 ปี การเพิ่มขึ้นของตลาดซีดีในอเมริกาหลังจากซบเซามานานนั้นมีเหตุผลหลายประการ แต่จากข้อมูลใน Billboard พบว่า การออกอัลบั้มของวง BTS ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยอดขายแผ่นซีดีกระโดดขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากการจำหน่ายอัลบั้มของ Adele และ Taylor Swift ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะวัฒนธรรมกลุ่มแฟนคลับของศิลปินเกาหลีมีความแตกต่างจากชาติอื่นๆ โดยมี ‘Physical Album หรือ อัลบั้มแบบจับต้องได้’ เป็นจุดร่วม ผ่านการสร้างเงื่อนไขของอุตสาหกรรมเคป็อปที่ส่งผลให้มีการซื้อ-ขายอัลบั้มในปริมาณมากๆ จากปกติที่เวลาชอบศิลปินคนไหน เราก็มักสนับสนุนด้วยการซื้ออัลบั้มของเขาสัก 1 – 2 อัลบั้มเพื่อเก็บสะสม ทว่าเมื่อเป็นศิลปินเคป็อปเมื่อไหร่ การที่แฟนคลับคนเดียวซื้ออัลบั้มถึงหลักร้อยก็ดูจะกลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย เนื่องจากมีคัลเจอร์แฟนด้อมที่เหนียวแน่นมากๆ กับสิทธิพิเศษที่จะตามมาเป็นเหตุผลรองรับ แต่ใช่ว่าทุกคนที่จะยอมรับเรื่องนี้ได้ เพราะไม่กี่ปีมานี้ได้เกิดกลุ่มคนที่ออกมารณรงค์ถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการซื้อ-ขายอัลบั้มที่มากเกินความจำเป็นของอุตสาหกรรมเคป็อปอย่างหนัก จนตัวค่ายและศิลปินเองต้องออกมาปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ อุตสาหกรรมที่เป็นตัวการหลักในการผลิตขยะพลาสติก ในปัจจุบัน ปริมาณขยะพลาสติกถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับรัฐบาลในประเทศเกาหลีใต้อยู่ไม่น้อย เพราะในขณะที่หลายประเทศกำลังรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ระหว่างปี […]
มองอนาคตเมืองด้วย Foresight ศาสตร์การคาดการณ์อนาคต กับ FutureTales LAB by MQDC | Unlock the City EP.15
อนาคตของเมืองไม่ใช่แค่การคาดเดา แต่คาดการณ์ได้จริงจากข้อมูลและเทรนด์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน Foresight หรือ การคาดการณ์อนาคต คือเครื่องมือที่ใช้ในการคาดการณ์และสร้างภาพอนาคตที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระยะกลางและระยะยาวในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และในประเด็นสำคัญ เช่น อนาคตสังคมผู้สูงอายุ อนาคตของการทำงาน อนาคตของวิกฤตสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการออกแบบนโยบาย ผังเมือง และแผนการพัฒนาประเทศให้รองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบ เพื่อทำความรู้จักกับเจ้าเครื่องมือทำนายอนาคตเมืองให้มากขึ้น โฮสต์รายการ Unlock the City ‘พนิต ภู่จินดา’ ชวนมาแอบส่องความเป็นไปได้ของเมืองที่เราอยู่อาศัยในเวลาอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้กับ ‘เนย-วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ’ นักวิจัยด้านการคาดการณ์อนาคตอาวุโส จาก FutureTales LAB by MQDC ในเอพิโสดนี้ ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/XV-3KQV2zZw Spotify : http://bit.ly/3GTUviw Apple Podcasts : http://bit.ly/3Fbl3dI Podbean : http://bit.ly/3FdARNf #UrbanCreature #UrbanCreaturePodcast #UnlocktheCity
THE POWER BAND 2022 Season 2 เวทีประกวดดนตรีที่อยากให้ทุกคนกล้าฝัน กล้าทำ
กลับมาอีกครั้งและต้องบอกว่ายิ่งใหญ่กว่าเดิม สำหรับ ‘THE POWER BAND 2022 Season 2’ เวทีประกวดดนตรีสากลที่เปิดโอกาสให้เหล่านักดนตรีที่มีความสามารถได้มีพื้นที่แสดงพลังอย่างไร้ขีดจำกัด ในการประกวดซีซันสองนี้ได้มีการกระจายเวทีประกวดออกไปยัง 5 จังหวัดทั่วประเทศไทย ได้แก่ ขอนแก่น, ชลบุรี, เชียงใหม่, สงขลา, กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับความหลากหลายและขยายพื้นที่รองรับเหล่าคนดนตรีมากฝีมือจากทั่วทุกสารทิศ และในที่สุด จากระยะเวลากว่าหลายเดือนกับการคัดเลือกวงดนตรีจากพื้นที่ต่างๆ จนมาถึงเวทีประกวดรอบตัดสินที่โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ (รางน้ำ) ก็ได้ผู้ชนะเลิศทั้ง 3 Class ดังนี้ Class A ประเภทรุ่นมัธยมศึกษา ได้แก่ วง ‘มอซอ’ จากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดภูเก็ต Class B ประเภทรุ่นบุคคลทั่วไป ได้แก่ วง ‘Jazz Passion’ จากกรุงเทพฯ Class C ประเภทดนตรีสร้างสรรค์ไร้ขีดจำกัด ได้แก่ วง ‘Solar System Band’ จากจังหวัดเชียงใหม่ คอลัมน์ […]
จัดอีเวนต์ให้อีโค่ กับโครงการ Care the Bear ลดโลกร้อน โดย ‘ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)’ ในงาน APEC 2022
ภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 นอกจากจะมีการประชุมเอเปค 2022 ในงานยังมี ‘ศูนย์ข่าวสีเขียว (Green Media Center)’ และพื้นที่สำหรับบูทนิทรรศการขององค์กรต่างๆ บริเวณชั้น LG รวมทั้งสิ้น 22,000 ตารางเมตร งานนี้ ‘ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)’ ได้นำโครงการ ‘Care the Bear ลดโลกร้อน’ ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มความร่วมมือลดภาวะโลกร้อน (Climate Care Collaboration Platform) มาสนับสนุนการจัดการประชุมเอเปค 2022 ภายใต้ความร่วมมือของกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กลุ่มบริษัทบางจาก เอสซีจี และโออาร์ โดยมุ่งหวังให้นานาประเทศเห็นถึงการขับเคลื่อนความยั่งยืนดูแลสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ที่ปฏิบัติและวัดผลได้จริง นำไปสู่การสร้างมาตรฐานใหม่ในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรต่างๆ และขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต Urban Creature เลยขอพาทุกคนไปรู้จักโครงการ Care the Bear ลดโลกร้อน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ผ่านศูนย์ข่าวสีเขียว ในงานประชุมเอเปค 2022 พร้อมๆ […]