Featured
DEMO EXPO เทศกาลดนตรีและศิลปะเพื่อประชาชน โดยผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง
เมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ‘ลานคนเมือง’ พื้นที่สาธารณะของเขตพระนคร ใกล้กับเสาชิงช้าวัดสุทัศน์ฯ ถูกใช้เป็นพื้นที่จัดงาน ‘DEMO EXPO’ เทศกาลดนตรีที่กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองร่วมกันจัดขึ้น ชื่อของเทศกาลดนตรีครั้งนี้มาจากคำว่า Democracy (ประชาธิปไตย) และในอีกทางหนึ่ง คำว่า Demo เองก็หมายถึงการแสดงตัวอย่าง ดังนั้น DEMO EXPO จึงเป็นดั่งงานดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ประชาชนเผชิญอยู่ และทำหน้าที่เป็นเวทีให้ศิลปินหลายแขนงได้ใช้นำเสนอผลงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน แม้ทีมผู้จัดงานจะเป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง ทว่าเทศกาลดังกล่าวหาใช่ม็อบการเมืองหรือการชุมนุมใดๆ เป็นเพียงงานเทศกาลดนตรีที่ถ่ายทอดผ่านพลังสร้างสรรค์ ตามสโลแกนของงานคือ ‘Music Arts Peoples’ งาน DEMO EXPO มีวงดนตรีแห่งยุคสมัยกว่า 20 รายชื่อบรรเลงกันตั้งแต่เที่ยงวันยันเกือบเที่ยงคืน ภายในงานประดับประดาไปด้วยงานศิลปะจากศิลปินหลายสไตล์ อัดแน่นด้วยกิจกรรมให้ความรู้ทางการเมือง รวมถึงข้อเรียกร้องทางการเมืองหลายประเด็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหลายช่วงวัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นความบันเทิงที่ได้ทั้งความสุนทรีย์และเสรี ผ่านความชอบที่แตกต่างหลากหลาย คอลัมน์ ‘Art Attack’ พาทุกคนย้อนกลับไปสำรวจเบื้องหลังของ ‘DEMO EXPO’ อีกหนึ่งงานตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ดนตรีและศิลปะเป็นสิ่งที่รับใช้ประชาชน และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างแท้จริง เทศกาลดนตรีฟรีที่ไม่กำหนดอายุ DEMO EXPO จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 […]
Ergonomics ศาสตร์ป้องกันออฟฟิศซินโดรมเพื่อสุขภาพคนทำงาน
นั่งทำงานทั้งวันจนเป็น ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ปวดทั้งคอ บ่า ไหล่ หลัง ต้องแก้ยังไงถึงจะหาย เมื่อการนั่งทำงานท่าเดิมซ้ำๆ ทุกวันเริ่มส่งผลเสียต่อร่างกาย และอาการปวดหลังกลายเป็นปัญหาระดับมหภาค คำว่า ‘Ergonomics’ หรือ ‘การยศาสตร์’ จึงกลายเป็นคำยอดฮิตของมนุษย์ออฟฟิศยุคนี้ไปเสียแล้ว เพราะมันคือการปรับสภาพแวดล้อมและสรีระของร่างกายให้ทำงานได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น Urban เจอนี่ ครั้งนี้อยากชวนทุกคนไปเจอศาสตร์แห่งการไม่ปวดหลัง ทำความเข้าใจคำว่า Ergonomics สำรวจการใช้ชีวิตประจำวันที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย รวมถึงวิธีปรับแก้ก่อนจะต้องเข้าอีหรอบเดิมที่ว่า ‘ทำงานหนักเพื่อหาเงินมารักษาตัว’
ความลับของย่านสีลม และหนองงูเห่าก่อนเป็นสุวรรณภูมิ กับ ซี ธีรพันธ์ | คนย่านเดียวกัน EP.3
พอดแคสต์รายการ คนย่านเดียวกัน เอพิโสดนี้จะมาเผยความลับของย่านสีลมในสมัยก่อนที่อาจชวนหลอนกว่าที่คิด รวมถึงการเป็นย่านกลางเมืองที่แปลกตรงที่หัวย่านและท้ายย่านคึกคักเป็นพิเศษ แต่ช่วงกลางย่านกลับเงียบเหงา นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของย่านลาดกระบัง สมัยที่สนามบินสุวรรณภูมิกำลังก่อสร้างและยังถูกเรียกว่าหนองงูเห่า กับความเจริญในตอนนั้นที่ต่างกับตอนนี้อย่างผิดหูผิดตา ปิดท้ายที่ย่านบางขุนนนท์ ย่านจากฝั่งธนฯ ที่ขอยกให้เป็นย่านที่มี ‘ร้านก๋วยเตี๋ยวเยอะที่สุดในประเทศไทย’ ทั้งหมดนี้ได้รับการบอกเล่าผ่านสายตาแขกรับเชิญคนที่สามของเรา ‘ซี-ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข’ ครีเอทีฟและนักเขียนเจ้าของหนังสือ ‘ราชาสถาน นิทานตื่นนอน’ ติดตามฟัง คนย่านเดียวกัน ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/m7c8QFE-Udk Spotify : http://bit.ly/3EZkeVb Apple Podcasts : http://bit.ly/3F1389C Podbean : http://bit.ly/3OygJIC
Eco-friendly Music Festivals 8 เทศกาลดนตรีที่การันตีเรื่องความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หลายที่ทั่วโลกเริ่มกลับมาจัดอีเวนต์กันได้ตามปกติหลังจากต้องหยุดไปชั่วคราวเพราะโควิด-19 โดยเฉพาะ ‘เทศกาลดนตรี’ หรือ ‘Music Festival’ ที่หลายคนอดใจรอไปสนุกกับเสียงเพลงและกิจกรรมต่างๆ ภายในงานแทบไม่ไหวแล้ว ทว่าการจัดงานเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่แต่ละครั้งย่อมมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมของเทศกาลประเภทนี้ย่อมสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น มลพิษจากการขนส่ง และขยะจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนั้น หากมีการจัดงานเทศกาลดนตรีบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็มีผลต่อความยั่งยืนทางธรรมชาติอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกงานเทศกาลจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Urban’s Pick ครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ 8 เทศกาลดนตรีทั่วโลก ที่นอกจากจะมอบความสุขและความสนุกผ่านเสียงดนตรีแล้ว เหล่านี้ยังจัดงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนเป็นหลักด้วย แถมทั้งหมดยังการันตีเรื่องความรักษ์โลก เพราะล้วนได้รางวัลจาก A Greener Festival องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยให้งานแสดงดนตรีมีความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาแล้วทั้งนั้น Terraforma Festival ประเทศ : อิตาลี ช่วงที่จัดแสดง : เดือนกรกฎาคม เริ่มต้นกันที่เทศกาลดนตรีจากประเทศอิตาลี ‘Terraforma Festival’ ที่จัดขึ้นในป่า Villa Arconati นอกเมืองมิลาน เทศกาลนี้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและพยายามลดผลกระทบจากการก่อสร้างตัวงานให้เหลือน้อยที่สุด เช่น ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์, ใช้หลอดไฟ LED, ใช้ระบบควบคุมน้ำสำหรับฝักบัวและอ่างล้างมือเพื่อลดการใช้น้ำ รวมถึงนำเอาวัสดุส่วนเกินที่เหลือจากการก่อสร้างมาใช้ใหม่เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น โต๊ะ […]
Live House คืออะไร ทำไมในไทยมีน้อย | Now You Know
ทำไมการดูดนตรีสดในไทยถึงกลายเป็นสิทธิพิเศษของคนที่มีเงินไปเสียอย่างนั้น รู้หรือไม่ว่าในต่างประเทศ มีสถานที่ที่ผู้คนจะไปรวมตัวกันเพื่อฟังดนตรีสดไปค้นพบศิลปินใหม่ๆ ที่พวกเขาไม่รู้จักมาก่อนได้ในชีวิตประจำวัน สถานที่นั้นเรียกว่า ‘Live House’ แล้วในเมืองไทยที่เขาว่ากันว่า วงการเพลงเริ่มคึกคัก เพราะมีศิลปินไทยหน้าใหม่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 50 วง ทำไมถึงมีพื้นที่อย่าง Live House ให้พวกเขาได้ไปโชว์ของน้อยจนนับที่ได้ ไปหาคำตอบพร้อมกันในรายการ Now You Know รูปแบบใหม่ได้เลย The Town of Music คือซีรีส์คอนเทนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 จาก Urban Creature ที่คาดหวังและอยากเห็นเมืองของเรากับความเป็นไปได้ในการเป็นเมืองดนตรีที่โอบรับศิลปิน คนทำงาน และผู้ชมอย่างแท้จริง ผ่านการนำเสนอในรูปแบบข้อมูล กราฟิก บทสัมภาษณ์ และกรณีศึกษาจากทั่วโลก
เที่ยวศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี สืบสานตำนานผ้าทอ 200 ปี
นอกจากหมูย่างชื่อดังและวิวทะเลสวยสะกดสายตา ‘ตรัง’ เป็นจังหวัดที่มีเสน่ห์เหลือล้นและของดีหลายอย่างที่รอให้เราไปเจอ หนึ่งในนั้นคือ ‘ผ้าทอนาหมื่นศรี’ ภูมิปัญญาอายุกว่า 200 ปีจากชาวบ้านตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง ที่ถูกสืบสานและส่งต่อมาถึงปัจจุบัน สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือหลายปีที่ผ่านมา ผ้าทอนาหมื่นศรีคือของดีเมืองตรังที่สร้างรายได้กระจายสู่คนในชุมชนมากกว่า 56 ล้านบาทใน 155 ครัวเรือน โดยมีแรงผลักดันสำคัญคือกลุ่มเซ็นทรัลและโครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งนอกจากจะช่วยออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรีให้มีดีไซน์ที่เข้าถึงคนได้มากขึ้น นอกจากนี้ เซ็นทรัล ทำ ยังริเริ่ม ‘โครงการท่องเที่ยวชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี’ เพื่อเชิญชวนให้เยาวชนและนักท่องเที่ยวไปรู้จักกับประวัติศาสตร์ เรียนรู้คุณค่าของวัฒนธรรมที่คนในชุมชนส่งต่อกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเวลากว่า 8 ปีแล้วที่โครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ผลักดันชุมชนนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง และชาวบ้านด้วยการลงพื้นที่ไปสร้างอาชีพ และส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องที่ให้ยั่งยืน โดยหนึ่งในโครงการที่เซ็นทรัล ทำ ได้ลงมือผลักดันอย่างจริงจังคือ ‘โครงการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี’ โปรเจกต์ที่เห็นความสำคัญในการสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีมากว่า 200 ปีของชาวบ้านนาหมื่นศรี นอกจากเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งต่อวิถีเกษตรหัตถกรรมผ้าทอมือโบราณไปสู่คนรุ่นหลัง เซ็นทรัล ทำ ยังริเริ่ม ‘โครงการท่องเที่ยวชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี’ ที่จะเปลี่ยนศูนย์การเรียนรู้แบบเดิมๆ ในภาพจำของทุกคนให้เข้าถึงได้ง่าย […]
Coldplay วงป็อปร็อกจากอังกฤษที่ทัวร์คอนเสิร์ตสุดกรีน และผลักดันความยั่งยืนแบบรอบด้าน
ถ้าถามถึงวงดนตรีสากลที่คอเพลงชื่นชอบที่สุด เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยต้องมีชื่อวงป็อปร็อกสัญชาติอังกฤษอย่าง Coldplay ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของลิสต์แน่ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแนวดนตรีที่มีเมโลดี้สุดยูนีก เนื้อเพลงความหมายลึกซึ้งที่ฟังเมื่อไหร่ก็รีเลตได้ทันที จึงไม่แปลกใจที่ผลงานของ Coldplay ช่วยปลอบประโลมและเยียวยาจิตใจของแฟนๆ ทั่วโลกได้นานถึง 26 ปี แต่ในปี 2022 วงดนตรีระดับโลกเจ้าของ 7 รางวัลแกรมมี่ (Grammy Awards) และ 9 รางวัลบริต (BRIT Awards) ไม่ได้หยุดอยู่แค่การถ่ายทอดความสุขให้แฟนเพลงผ่านเสียงดนตรีเท่านั้น แต่ยังยกระดับตัวเองให้เป็นแนวหน้าของวงการเพลงระดับโลกที่เปลี่ยนทัวร์คอนเสิร์ตให้มี ‘ความยั่งยืน’ และ ‘เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ย้อนไปเมื่อปี 2019 Coldplay ได้ประกาศยกเลิกเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมตอัลบั้ม Everyday Life เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่โลกของเรากำลังเผชิญ โดยทางวงให้เหตุผลว่าจะใช้ช่วงเวลาที่หยุดพักหาแนวทางการทัวร์คอนเสิร์ตที่ยั่งยืน ดีต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างผลกระทบทางบวกให้สังคม สองปีผ่านไป วงดนตรีจากเมืองผู้ดีคัมแบ็กพร้อมคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ด้วยการประกาศทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มใหม่ Music of the Spheres World Tour 2022 ที่มีเป้าหมายปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) รวมถึงแนวทางที่ส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนอีกเพียบ ครอบคลุมเกือบทุกมิติของการจัดคอนเสิร์ตที่วงดนตรีวงหนึ่งจะทำได้ […]
บัตรคอนเสิร์ตราคาแพงขึ้น 30% แฟนเพลงจ่ายไหวไหม
แม้จะดีใจทุกครั้งเวลาศิลปินที่ชื่นชอบมาจัดการแสดงที่ไทย แต่ก็แอบเศร้าทุกทีที่เห็นบัตรคอนเสิร์ตราคาแรงขึ้นจนต้องคิดหนักตอนกดจ่ายเงิน เพราะทุกวันนี้ราคาบัตรคอนเสิร์ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 ช่วงก่อนเกิดโควิด ยกตัวอย่าง KCON งานคอนเสิร์ตสไตล์เกาหลี K-pop ปี 2019 จัดที่ประเทศไทย มีราคาที่นั่งแพงสุด 6,000 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง ปัจจุบันปี 2022 ราคาที่นั่งแพงสุด 8,900 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง หมายความว่าค่าบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ราคาบัตรพุ่งจนฉุดไม่อยู่ คอลัมน์ Curiocity ขอเชิญทุกคนไปหาคำตอบด้วยกัน อัตราเงินเฟ้อสูง เหตุการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งที่ตามมาคือ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงมากกว่าเดิม และผลกระทบจากสงครามและวิกฤตทางการเมือง ที่ทำให้ราคาสินค้า การผลิต และการขนส่งต่างๆ ปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมคอนเสิร์ตก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ‘ญาณกร อภิราชกมล’ กรรมการบริหาร บริษัท ครีเอท อินเทลลิเจ้นซ์ จำกัด ผู้จัดงานคอนเสิร์ตและเทศกาลไทยให้สัมภาษณ์กับ The Standard Wealth ว่า […]
KBank เปิดแผนดำเนินงานธุรกิจควบคู่ความยั่งยืน พร้อมสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ใน SEA
ความยั่งยืนและความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจยุคปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจหากความสำคัญของ ESG (Environment Society และ Governance) จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการธุรกิจมากขึ้น ขณะเดียวกัน ธุรกิจธนาคารเองก็ไม่เคยหยุดนิ่ง ในฐานะต้นน้ำของระบบเศรษฐกิจ จึงถือเป็นภารกิจที่จะต้องทำเรื่องนี้ต่อไปให้มากขึ้น ธนาคารเจ้าใหญ่อย่าง KBank ก็ได้มีการดำเนินการพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างความเติบโตให้สอดคล้องกับยุคสมัย บนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) ที่นำมาเป็นยุทธศาสตร์ของธนาคารและอยู่ในกระบวนการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยกำหนดกลยุทธ์การทำงานที่เป็นระบบ เน้นการวัดผล รวมถึงเป้าหมายสำหรับอนาคตที่ท้าทาย กับภารกิจที่ต้องชวนทุกคนลงมือทำไปด้วยกัน สำหรับใครที่สงสัยว่าธุรกิจธนาคารจะเติบโตไปพร้อมกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร KBank ก็อธิบายถึงคำตอบไว้ในงานแถลงข่าว KBank ESG Strategy 2023 โดยมี ‘กฤษณ์ จิตต์แจ้ง’ กรรมการผู้จัดการ KBank มาเล่าถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาและเป้าหมายในอนาคตเพื่อให้การทำงานบนหลัก ESG บรรลุผลที่เป็นรูปธรรม ทั้งในมิติการลดผลกระทบเชิงลบ และการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อโลก ด้วยบริบทการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้นักลงทุน ลูกค้า และคู่ค้าประเทศต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้น ขณะเดียวกัน KBank เองก็พัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าว่า KBank จะเป็นธนาคารที่ตามทันโลกและให้ความสำคัญกับ ESG […]
ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้
ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]
The Town of Music เมื่อกรุงเทพฯ อยากเป็นเมืองคอนเสิร์ต แต่…
ใครๆ ก็บอกว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ต ไม่ว่าศิลปินจะมาจากไหน เมื่อเจอแฟนคลับชาวไทยที่ร้องตามทุกคำ แอดลิปได้ทุกโน้ตเข้าไป ก็ติดใจวนกลับมาเล่นคอนเสิร์ตที่ไทยเกือบทุกปี ยิ่งหลังจากปิดประเทศไป 2 ปี คอนเสิร์ตทั้งไทยและเทศต่างพากันจ่อคิวยาวล้นไปถึงต้นปีหน้า เราจึงไม่แปลกใจที่กรุงเทพฯ จะมีอีกฉายาว่า ‘กรุงเทพฯ เมืองคอนเสิร์ต’ แต่พอมาขบคิดดูดีๆ แล้วเมืองกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับจัดคอนเสิร์ตจริงหรือ เพราะเมื่อมองย้อนกลับไปดูการจัดคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง เราต่างพบหลากหลายปัญหาที่มักถูกพูดถึง แต่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือสนับสนุนอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่เดินทางลำบาก ค่าบัตรที่ค่อนข้างสูง ไหนจะระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยเอื้อให้คนที่อยากทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีสักเท่าไหร่ จะดีกว่าไหมถ้าเมืองนี้จะไม่ใช่แค่สถานที่จัดคอนเสิร์ต แต่สนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศทางดนตรีให้ยั่งยืน 01 | Concert Live in Bangkok (แค่ในนาม)สถานที่จัดไกล การเดินทางไม่ครอบคลุม ปัจจุบันมีหลายคอนเสิร์ตที่จัดในประเทศไทยแล้วใช้ชื่อต่อท้ายว่า ‘Live in Bangkok’ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นแค่กรุงเทพฯ เฉพาะในนาม เพราะไม่ว่าจะเป็นอิมแพ็ค อารีน่า และ ธันเดอร์โดม ที่เมืองทองธานี, แจ้งวัฒนะ ฮอลล์ ที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ต่างตั้งอยู่ที่จังหวัด ‘นนทบุรี’ ด้วยกันทั้งนั้น […]
Urban Eyes 12/50 เขตบางรัก
บางรักเป็นเขตหนึ่งที่เราสนิทคุ้นเคยตั้งแต่เด็กๆ เพราะเคยเรียนอยู่แถวนี้ แต่ตอนนั้นไม่ค่อยได้ไปเดินตามตรอกซอกซอยเท่าไหร่ เพิ่งจะมาเดินสำรวจบางรักเยอะๆ ก็ช่วงที่เริ่มถ่ายรูปจริงจังเมื่อ 5 – 6 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ถ้าให้พูดถึงภาพจำของเขตบางรัก สิ่งแรกที่เข้ามาในหัวเราเลยคือรถติด หลักฐานคือย่านสาทรที่ถ้าใครมีธุระต้องขับผ่านแถวนี้อาจต้องทำใจมาก่อน เพราะรอบๆ บริเวณมีทั้งโรงเรียนใหญ่และเป็นย่านธุรกิจ ยิ่งช่วงเช้า-เย็นหลังเลิกงานนะ นั่งรอบนรถจนเบื่อกันไปข้าง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังดีที่มีสถานที่พักผ่อนออกกำลังกายอยู่ใกล้ๆ อย่างสวนลุมฯ (แม้ว่าจริงๆ แล้วที่นี่จะอยู่ในเขตปทุมวันก็ตาม) อีกจุดที่อยากชวนไปแวะเวียนเยี่ยมชมคือ Skywalk สาทร-นราธิวาส หรือสะพานช่องนนทรี เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรีกับสถานีรถสายด่วน BRT สาทร ทั้งยังมีดีไซน์ที่สวยงามคลาสสิก งานอีเวนต์จึงมักเวียนมาจัดกันเป็นประจำ แถมฉากหลังที่เป็น Empire Tower ตึกกระจกใหญ่ๆ ก็นับว่าเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของย่านนี้ อีกจุดที่คนผ่านไปผ่านมาเยอะๆ คือแถวบริเวณ Robinson บางรัก เนื่องจากตรงนั้นมีครบครันทั้งร้านอาหาร ตลาดนัด ตลาดสด และห้างฯ แถมอยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS และท่าเรือ ไม่แปลกใจที่ใครๆ จะใช้ตรงนั้นเป็นจุดนัดพบคุยงานหรือกระทั่งเป็นที่เดต ส่วนความพิเศษที่เกิดขึ้นในวันที่ผมไปถ่ายภาพคือฝนตกอีกแล้วครับ! แต่โชคดีที่ไม่ต้องลุยน้ำสู้ชีวิตเหมือนตอนเขตห้วยขวาง บรรยากาศวันนั้นออกมาค่อนข้างเหมือนอยู่ในหนังของหว่อง กาไวมาก ได้แสงไฟจากร้านสะดวกซื้อช่วยเยอะ แนะนำว่าอยากให้ทุกคนลองมาตลาดนัดข้างๆ โรบินสันที่ตั้งกันช่วงเที่ยงๆ บ่ายๆ […]