Featured
7 คำศัพท์มาแรงเกี่ยวกับเทรนด์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในอนาคต
ในยุคปัจจุบัน นอกจากผู้คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องรอบตัวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียม อีกประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจสุดๆ คือ ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ เพราะพวกเขาเชื่อว่าโลกต้องได้รับการรักษาและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันผลกระทบที่รุนแรงจากวิกฤตโลกรวน เพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องความยั่งยืนจึงกลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงทั่วโลก แทบทุกอุตสาหกรรมต้องหยิบเรื่องนี้มาพูดถึง ภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่ธุรกิจของคนตัวเล็กๆ เองก็พยายามชูนโยบายสีเขียวและใส่ดีเอ็นเอความยั่งยืนในมิติต่างๆ ให้บริษัทของตัวเอง ทั้งแง่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปทำความเข้าใจเรื่อง ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ แบบเจาะลึกมากขึ้นผ่าน 7 คำศัพท์ที่กำลังมาแรงเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ ตั้งแต่แนวคิดการออกแบบเขตเชิงระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืนรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบทุนนิยมและการบริโภคอย่างมีจิตสำนึก ซึ่งทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายทำให้วงจรความยั่งยืนเกิดขึ้นจริงในสังคมของเรา 01 | Eco-district เพราะสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ส่วนรวมควรรับผิดชอบร่วมกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า ‘Eco-district’ หรือ ‘เขตเชิงระบบนิเวศ’ ซึ่งหมายถึงการกำหนดวางแผนผังเมือง เพื่อรวบรวมเป้าหมายเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคมเข้าด้วยกัน รวมถึงลดผลกระทบทางระบบนิเวศที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในพื้นที่ใกล้เคียง ตัวเมือง และภูมิภาคให้น้อยลงด้วย มากไปกว่านั้น Eco-district ยังโฟกัสที่การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่หลากหลายและใช้งานได้จริง ทั้งด้านที่อยู่อาศัย […]
‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ สร้างความอร่อยและคุณค่าในสังคมคู่คนไทย เพื่อความสุขในอนาคตของทุกคน
หากถามถึงเคล็ดลับความอร่อยคู่คนไทยที่มีมานานกว่า 62 ปี คงหนีไม่พ้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์จากกรดอะมิโนระดับโลกอย่าง ‘กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ’ แต่นอกจากการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ความอร่อยที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 อีกสิ่งสำคัญที่อายิโนะโมะโต๊ะต้องการคือ การช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและสร้างคุณค่าผ่านธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV)’ เพื่อก้าวสู่การเป็นกลุ่มบริษัทผู้ส่งมอบแนวทางการแก้ปัญหาและนวัตกรรมที่เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพระดับโลก อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV) กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคม ผ่าน ‘การสร้างสังคมสุขภาพดี’ ‘ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า’ และ ‘การสร้างความยั่งยืนของโลก’ ที่เป็น 3 แนวทางหลักสำหรับการดำเนินกิจกรรม ASV เพื่อมุ่งสู่การประสบความสำเร็จกับ 2 เป้าหมาย ดังนี้ 1. ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมทางธุรกิจของอายิโนะโมะโต๊ะให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573 2. มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้สำเร็จภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ทางบริษัทได้ร่วมป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ผ่านการบูรณาการแนวคิด เทคโนโลยี และกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน […]
New Year, Hit a New High เปิดโพยค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปี 2023
ตั้งแต่ต้นปี 2022 อะไรๆ ก็ดูราคาแพงขึ้นไปหมด ตั้งแต่ราคาน้ำมันที่พุ่งกระฉูด ทำเอาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับขึ้นถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ผักสด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ค่าโดยสารสาธารณะ ไปถึงค่าไฟฟ้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทำสถิติสูงสุดในรอบ 24 ปี สูงถึง 7.1 เปอร์เซ็นต์ แค่ปีนี้ค่าครองชีพยังเพิ่มสูงขนาดนี้ ไม่อยากคิดเลยว่าปีหน้าจะมีอะไรเพิ่มขึ้นอีกบ้าง เพราะขนาดยังไม่ทันก้าวขาขึ้นวันที่ 1 มกราคมอย่างเป็นทางการ ก็มีประกาศปรับราคาสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคและคาดการณ์เศรษฐกิจปีหน้ากันบ้างแล้ว คอลัมน์ City by Numbers จึงขอ Spoiler Alert เปิดโพยค่าครองชีพในปี 2023 ที่ Urban Creature คัดเลือกและเรียงเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นจากน้อยไปมากมาให้ทุกคน เพื่อเป็นแนวทางตั้งรับและวางแผนการเงินสำหรับปีหน้า เราจะได้ก้าวเข้าปีใหม่กันแบบสวยๆ ไม่ต้องมาหมุนเงินรัวๆ เพราะตั้งตัวกันไม่ทัน 📈 ดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มขึ้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ คนทั่วไปอาจรู้จักคำว่า ‘ดอกเบี้ย’ กันอยู่แล้ว แต่สำหรับ ‘ดอกเบี้ยนโยบาย’ คนที่ไม่ได้คลุกคลีกับวงการการเงินคงเกิดคำถามในใจขึ้นว่า มันคืออะไรกันแน่ และการปรับเพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง ดอกเบี้ยนโยบายคือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้เพื่อกำหนดนโยบายการเงินของชาติ […]
เส้นทางสู่ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ ให้ผู้คนกินดี อยู่ดี ชีวิตเป็นสุขจังฮู้
เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]
อุณหภูมิโลกปี 2023 คาดว่าจะสูงเกิน 1.5°C
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประเด็น ‘ภาวะโลกร้อน’ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) เคยคาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2017 – 2021 มีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งความเป็นไปได้มีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ล่าสุดจากข้อมูลรายงานคาดการณ์สภาพภูมิอากาศประจำปีของสหราชอาณาจักร (Global Annual to Decadal Climate Update) ในปี 2022 – 2026 รายงานว่า เดิมอุณหภูมิโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 องศาเซลเซียส แต่ในอนาคตมีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่วนความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว มากไปกว่านั้น WMO ยังกล่าวเสริมอีกว่า ในปี 2022 – 2026 จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิอบอุ่นมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจากเดิม […]
Spoiler Alert 2023 ปีแห่งการเริ่มต้นเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างที่โรคระบาดมาเยือนให้ทั้งโลกหยุดนิ่งเป็นเวลากว่าสองปี บัดนี้ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะกลับกลายเป็นปกติแล้ว แต่ความปกติที่ว่านั้นเป็นความปกติใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม New Normal สถานการณ์ของโลกได้ย้ำให้เห็นว่าทุกสิ่งอย่างไม่มีอะไรเหมือนเดิม 2022 มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น บางอย่างดับสูญ และอีกหลากหลายปัญหายังคงเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าแก้ไขกันต่อไป เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะโลกร้อน สงครามของประเทศมหาอำนาจ เศรษฐกิจที่แปรผกผัน เกิดเงินเฟ้อ พลังงานลดน้อยลง ราคาข้าวของแพงขึ้น และสภาวะการขาดแคลนอื่นๆ อีกมหาศาล ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลกในทุกระดับ อีกไม่กี่วัน ปี 2022 จะเปลี่ยนหน้าปฏิทินใหม่เป็นปี 2023 จากปีเสือกลายเป็นปีกระต่าย Urban Creature เลยขอทำนายอนาคตบางเศษเสี้ยวด้วยข้อมูลจาก ‘Foresight’ หรือเครื่องมือช่วยฉายภาพฉากแห่งอนาคต ที่จะช่วยให้เรากำหนดอนาคตที่กำลังมาถึง โดยมองเห็นสัญญาณ แนวโน้ม รวมถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ และนี่คือหนึ่งรูปแบบที่เราชวนมอง ความเป็นอยู่ยุคใหม่เต็มไปด้วยความหลากหลายและค่านิยมที่เปลี่ยนไป สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน จากสถานการณ์โรคระบาดเมื่อสามปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อช่วยให้เข้าถึงความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น ข้อมูลจาก FutureTales LAB by MQDC หรือศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา บอกว่า […]
Urban Eyes 16/50 เขตจตุจักร
สารภาพว่าเราแอบช็อกหน่อยๆ ตอนหาข้อมูลเขตจตุจักร เพราะก่อนหน้านี้เราหาข้อมูลว่าเขตนี้ใหญ่ขนาดไหน ก็พบว่าไม่เท่าไหร่ แต่พอใกล้วันที่จะลงพื้นที่ ก็ลองมาหาข้อมูลเพิ่ม และพบว่าจริงๆ แล้ว Google โชว์แค่แขวงจตุจักรเท่านั้น ทั้งที่ทั้งเขตมันกว้างใหญ่มาก ตั้งแต่ตลาดนัดจตุจักรและสวนรถไฟ ยาวไปถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีปทุม เราเลยต้องมาวางแผนการเดินใหม่ เขตจตุจักรเป็นหนึ่งในเขตของกรุงเทพฯ ชั้นในที่มีสวนสาธารณะที่ใหญ่สุดๆ ทั้งสวนจตุจักรที่ติดกับถนนกำแพงเพชร และสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ที่อยู่ข้างๆ กัน พื้นที่กว้างมาก อุปกรณ์ออกกำลังกายเพียบพร้อม มีถนนสำหรับจักรยานรอบสวน เส้นทางให้คนวิ่งสบายๆ รวมถึงเลนสำหรับเด็ก ยังไม่นับอุทยานผีเสื้อและแมลงที่ดึงดูดให้เด็กๆ ไปพักผ่อนที่สวน ใกล้ๆ กันก็มีพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ ที่นี่ไม่ได้สตัฟฟ์เด็กไว้หรอกนะ แต่เป็นเหมือนสนามเด็กเล่นและแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะมีตลาดนัดสวนจตุจักรที่อุดมไปด้วยร้านรวงมากมาย ตั้งแต่ขายอาหาร เสื้อผ้า ของมือหนึ่ง-มือสอง เฟอร์นิเจอร์ ของฝาก ฯลฯ แต่ถ้าไปวันพุธจะเป็นตลาดต้นไม้ ส่วนวันธรรมดาก็มีตึกแดงที่เป็นแหล่งรวมวัยรุ่น และ เจ.เจ.มอลล์ ช่วงห้าแยกลาดพร้าวก็มีทั้งเซ็นทรัล ลาดพร้าว และตึก Union Mall ที่รอบๆ มีตึกสีสดใส บวกกับรถแท็กซี่หลากสี พอหาซีนดีๆ ถ่ายรูปได้อยู่ มีอีกที่หนึ่งที่เราอยากชวนให้ทุกคนไปกัน […]
BAM Fest เทศกาลที่อยากสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ไม้ไผ่ไทย ต่อยอดไปสู่ระดับโลก
ไผ่ เป็นพืชท้องถิ่นที่เราทุกคนคุ้นตากันเป็นอย่างดี สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ด้วยว่าไม้ไผ่นั้นได้ฝังรากอยู่กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเรามาอย่างช้านาน ตั้งแต่คราวบรรพบุรุษของเราที่รู้จักวิธีการนำไม้ไผ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ทำเป็นไม้จิ้มฟันยันสร้างบ้าน ปัจจุบันไม้ไผ่ยังได้รับการยกย่องให้เป็นวัสดุทางเลือกที่น่าสนใจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นวัสดุที่ยั่งยืน (Sustainable Materials) ทำให้นักออกแบบทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสร้างสรรค์งานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภาพจำเกี่ยวกับไม้ไผ่ว่าเป็นวัสดุที่ถูกใช้เพียงชั่วคราว ไม่คงทนเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทำให้ภาพจำเกี่ยวกับไผ่เช่นนั้นเริ่มไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยของประเทศจีนได้ค้นพบวิธีการที่สามารถนำไม้ไผ่มาใช้สร้างรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ นี่คือความมหัศจรรย์ของไม้ไผ่ อนาคตของไม้ไผ่จึงไม่ได้เป็นแค่อาหารของหมีแพนด้าอีกต่อไป แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดต่อไปได้อีกมาก ในวันที่เรากำลังเผชิญกับราคาวัสดุที่มีแนวโน้มแต่จะพุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี ความเป็นไปได้ที่กำลังเกิดขึ้นกับไม้ไผ่ ทำให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนใจหยิบไม้ไผ่ขึ้นมา และชักชวนให้ผู้คนหันกลับมาสนใจวัสดุท้องถิ่นของเรา และร่วมมือกันพัฒนาไม้ไผ่ในนามของ BAM Fest กำเนิด BAM Fest “ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่น่ามหัศจรรย์มาก เป็นวัสดุในอุดมคติ (Ideal Materials) ที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติจึงทำให้มันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นไม้พื้นถิ่นที่หาได้ง่ายในประเทศของเรา ใช้เวลาในการปลูกจนโตใช้งานไม่นานเมื่อเทียบกับวัสดุไม้อื่นๆ ราคาก็ไม่แพงจนเกินไป เข้าถึงง่าย และยังมีความยั่งยืนด้วยการปลูกทดแทนได้ไม่ยาก ไม้ไผ่จึงกลายเป็นวัสดุทางเลือกที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ “การเกิดขึ้นของ BAM Fest เริ่มต้นมาจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. มีความสนใจในตัววัสดุไม้ไผ่และอยากจะทำให้คนอื่นๆ หันมาสนใจ เห็นศักยภาพ และมาร่วมมือช่วยกันสร้างนวัตกรรมและพัฒนาวัสดุนี้ให้ดียิ่งขึ้น […]
DiStar Fresh Farm โรงงานปลูกผักระบบปิดที่ไม่ง้อฤดูกาลแห่งแรกในไทย
จะดีแค่ไหนถ้าเมืองไทยมีฟาร์มที่สามารถปลูกผักได้ตลอดทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล ส่วนผลผลิตยังปลอดภัยสูงและมีคุณภาพคงที่ด้วย แนวคิดนี้เกิดขึ้นจริงแล้วที่ DiStar Fresh Farm โรงงานผลิตพืชที่พลิกโฉมการปลูกผักในพื้นที่เปิดโล่งแบบเดิมๆ ให้เป็นการปลูกผักในฟาร์มแนวตั้ง ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ แถมยังสะอาดปลอดภัย เพราะไม่ต้องใช้ดินหรือยาฆ่าแมลง สะอาดถึงขั้นที่ว่าสามารถเก็บผักกินกันสดๆ จากต้นโดยไม่ต้องล้างเลย วันนี้ Urban Creature ขอพาทุกคนไปพูดคุยกับ ‘กฤษณะ ธรรมวิมล’ และ ‘สานสิน ศรีภิรมย์รักษ์’ เกษตรกรผู้อยู่เบื้องหลัง DiStar Fresh Farm ถึงแนวทางและปัจจัยสำคัญในการทำฟาร์มผักแนวตั้ง ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรกรรม และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันมากขึ้น
ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ Blue Again กับสถานะ ‘ไม่เป็นคนของที่ไหนเลย’ ในชีวิตและวงการหนัง
ฐาปณี หลูสุวรรณ เป็นลูกครึ่งอีสาน-จีน เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ไปโตที่สกลนคร ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังและทำงานในกรุงเทพฯ อีกครั้ง เธอพูดอีสานไม่คล่องปร๋อ แต่พอพูดไทยกลางก็ติดเหน่ออีสานจนโดนล้อ เหนือความซับซ้อนและย้อนแย้งทั้งปวงในตัวเธอ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ฐาปณีไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหนเลย เหมือนกับ ‘เอ’ ตัวละครเอกใน Blue Again หนังเรื่องแรกในชีวิตของเธอ ผู้เป็นลูกครึ่งที่มีพ่อเป็นคนขาว แม่เป็นคนสกลนคร แต่ตัวเองกลับรู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบตัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากจะมีใครหรือสิ่งใดที่เอเรียกว่าเพื่อนได้เต็มปาก หนึ่งคือ ‘เมธ’ เพื่อนชายที่รู้จักกันตั้งแต่มัธยมฯ แต่ต้องแยกย้ายกันไปหลังเรียนจบ อีกสิ่งคือ ‘คราม’ วัตถุดิบย้อมผ้าที่เธอเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ในทางหนึ่ง Blue Again คือเครื่องบันทึกความรู้สึกโดดเดี่ยวและเป็นอื่นที่ผู้กำกับอย่างฐาปณีรู้สึกมาตลอด แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่คือผลพิสูจน์ความรักที่มีต่อการทำหนังของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกลางๆ ไม่โดดเด่น และแม้จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหน แต่แวดวงที่มั่นใจว่าอยากผลักตัวเองเข้าไปคือวงการผู้กำกับ นับแต่วันแรกเริ่ม Blue Again ใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะได้ออกมาสู่สายตาผู้ชม และหนังเรื่องนี้ยังได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานในสาขา New Currents ที่มีหนังเพียงไม่กี่เรื่องได้เข้ารอบ พิสูจน์ในตัวมันเองแล้วว่าเป็นหนังที่พิเศษแค่ไหน แต่ใน 8 ปีของ Blue Again […]
Menschen ถึง…ผู้คนและสถานที่ระหว่างทาง
‘Menschen’ เป็นเพียงแค่ชุดภาพถ่ายธรรมดาๆ ที่ถูกบันทึกอย่างตรงไปตรงมาและปราศจากคำบรรยายที่แสนวิเศษหรือเหนือความเป็นจริง ผลงานชุดนี้เป็นเพียงแค่บันทึกระหว่างการเดินทาง ที่เราได้พบเจอกับบุคคลต่างๆ สถานที่ที่ไม่คุ้นชิน สภาพอากาศที่ผิดแผกจากประเทศบ้านเกิด หรือกระทั่งภูมิทัศน์และสิ่งปลูกสร้างที่แปลกตาเท่านั้นเอง
Sustainable City เมื่อเทคโนโลยีล้ำๆ ไม่ได้ทำให้เมืองยั่งยืนเสมอไป กับ ภาคภูมิ โกเมศโสภา | Unlock the City EP.16
ต้องยั่งยืนขนาดไหน ถึงเรียกว่าเมืองยั่งยืน แล้วจำเป็นแค่ไหนกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง เพื่อทำให้เกิด ‘ความยั่งยืน’ ท่ามกลางเทรนด์ความยั่งยืนที่ภาคธุรกิจยกขึ้นมาอวดอ้างสรรพคุณตัวเองกันอย่างกว้างขวาง ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีความกรีน การประหยัดพลังงาน การรักษ์โลกต่างๆ แท้จริงแล้วความยั่งยืนที่ว่านั้นคือความยั่งยืนจริงหรือไม่ แล้วถ้าเมืองจะมุ่งไปทิศทางเมืองยั่งยืน ต้องมีการวางแผน ออกแบบ และจัดการอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้ความยั่งยืนกลายเป็นความฉาบฉวย ในช่วงส่งท้ายปี 2565 ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์แห่งรายการ Unlock the City ชวน ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’ ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน และผู้ร่วมก่อตั้งบริการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า Reviv มาสนทนาถึงความยั่งยืนในแง่การพัฒนาเมือง ความย้อนแย้งของประเด็นนี้ในโลกธุรกิจ และแนวทางการกลับไปสู่ความเรียบง่าย ที่ทำให้เมืองยั่งยืนได้จริง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงแต่ความล้ำของนวัตกรรมกับเทคโนโลยีอย่างเดียว ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/Y5_vjtXPpSg Spotify : https://bit.ly/3uP7sTr Apple Podcasts : https://bit.ly/3Wex3B1 Podbean : https://bit.ly/3FqUq3l