Featured
Urban Eyes 29/50 เขตดอนเมือง Don Mueang
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสนามบินดอนเมืองคือหน้าตาของเขตดอนเมืองไปแล้ว และถ้าให้นึกถึงสิ่งอื่นๆ ตามมาก็ขอสารภาพว่านึกไม่ค่อยออก เราจึงขอตั้งต้นเซตภาพประจำสัปดาห์นี้ด้วยสถานที่ในเขตดอนเมืองที่อยากให้ทุกคนรู้จัก นั่นคือ ร้านอาหารบ้านพี่แยมนั่นเอง ซึ่งพี่แยมก็คือนักข่าว คุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย ที่หลายๆ คนคุ้นเคยกัน เราเชื่อว่าขนาดพี่แยมยังทำร้านที่เขตนี้ แปลว่าดอนเมืองก็คงมีอะไรดีบ้างแหละ! วัดคลองบ้านใหม่ ━ วัดนี้เป็นวัดป่าที่มีเมืองเข้ามาโอบล้อมแต่ยังคงรักษาความเป็นธรรมชาติสีเขียวปกคลุมพื้นที่ได้ ตัวอาคารวิหารดูมีความสวยงามเป็นพิเศษ แค่ได้ไปเดินก็สดชื่นมากๆ แล้ว วัดนี้อยู่ใกล้กับร้านบ้านพี่แยม กินข้าวเสร็จลองแวะมาได้ ถนนช่างอากาศอุทิศ ━ ถนนนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามสนามบินดอนเมือง ถ้าใครเคยไปสนามบินอาจจะเคยเห็นสถานีรถไฟที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ข้างหลังสถานีนั้นเป็นแหล่งชุมชน มีทั้งบ้านเดี่ยวและบ้านสองชั้น พอตรงเข้าไปในซอยก็มีทั้งตลาดนัดกับร้านอาหาร ช่วงเย็นๆ คนจะออกมาเดินกันขวักไขว่ เป็นภาพบรรยากาศที่มีความเป็นกันเอง ดูอบอุ่น ตลาดนัดโกสุม ━ ที่นี่มีของขายมากมายหลายประเภท แถมมีที่จอดกว้างขวาง ส่วนตัวเราชอบโซนเอาต์ดอร์ที่พ่อค้าแม่ค้าต้องมากางร่มจัดร้านขายของเอง เรามองว่ามันมีเสน่ห์ ได้อารมณ์แบบตลาดนัดไทยๆ สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน ━ ความเขียวขจีเต็มไปหมด น่าเดินพักผ่อนมากๆ ที่นี่อาจไม่ได้มี ทางวิ่งกว้างใหญ่ขนาดนั้น แต่มีพื้นที่อื่นๆ ค่อนข้างเยอะ น่ามาออกกำลังกายชิลๆ และนั่งพักผ่อนยามเย็น สนามบินดอนเมือง ━ จะพลาดได้ยังไงกับภาพจำย่านนี้ ที่นี่มีผู้คนเข้าออกอยู่ตลอด เราแอบเสียดายที่เมื่อก่อนเคยมีจุดชมวิวให้ดูเครื่องบินขึ้นจากโซนที่ไม่ต้องเข้าไปข้างในโซนเช็กอิน แต่ตอนนี้ปิดไปแล้ว […]
ปลุกความสร้างสรรค์ที่ย่าน ‘เจริญรัถ’ แหล่งค้าหนังและอุปกรณ์งานคราฟต์ของกรุงเทพฯ
ถ้าอยากทำกระเป๋าหนังสักใบ หรือหาอะไหล่นำกลับไปทำงาน DIY ที่บ้านในวันที่ไอเดียพรั่งพรู เหล่านักประดิษฐ์ตัวยงหรือดีไซเนอร์มือฉกาจต่างแนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เจริญรัถ’ คือคำตอบชนิดที่มาครบจบในที่เดียวได้ ย่านเจริญรัถ ใกล้กับวงเวียนใหญ่ ในฝั่งธนบุรี เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมกิจการร้านค้างานหนังแบบครบวงจรที่ขึ้นชื่อลือชามานานหลายสิบปี ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหนังแท้และหนังเทียม สารพัดอุปกรณ์ตัด ตอก หรืออะไหล่ตกแต่งกระเป๋าให้สวยเก๋ ไปจนถึงร้านลับคมกรรไกรที่แทบไม่ค่อยเห็นแล้วในทุกวันนี้ ต่างแทรกตัวอยู่บนถนนเจริญรัถทั้งสิ้น คอลัมน์ Neighboroot ชวนสาวเท้าก้าวตามเจ้าของโรงเรียนสอนทำกระเป๋าบนถนนเจริญรัถ ฟังความเป็นมาของย่าน ทำความรู้จักร้านขายหนังและสารพัดอุปกรณ์รุ่นเก๋าที่เด็ดดวงสุดในย่าน จากปากของคนพื้นที่ที่คัดสรรมาให้แล้ว MHA Art & Craft : โรงเรียนสอนทำกระเป๋าหนังแห่งย่านเจริญรัถ “เคยพูดเล่นๆ ว่า ถ้าหาหนังแล้วที่อื่นไม่มี และที่นี่ก็ไม่มี ก็ไม่ต้องหาละ” เจ้าของ MHA Art & Craft โรงเรียนสอนทำกระเป๋าอย่าง ‘พี่แบงค์-บุญชัย บุญนพพรกุล’ บอกอย่างติดตลก ถึงนิยามความเป็นย่านเจริญรัถ ย่านค้าหนังอันเลื่องชื่อของไทย บทสนทนานี้เกิดขึ้นใต้ชายคาของตึกแถวที่เป็นทั้งโรงเรียนสอนทำกระเป๋า คาเฟ่ และประตูบานแรกก่อนเข้าสู่ถนนเจริญรัถ จากปากของทายาทโรงงานทำกระเป๋าหนังส่งออกและเจ้าของโรงเรียน เวิร์กช็อปสเปซสำหรับผู้สนใจและหลงใหลในงานหนัง ซึ่งเข้าสู่ขวบปีที่สิบแล้วในวันนี้ “ช่วงนั้นเกิดปรากฏการณ์ใหม่ คนสร้างแบรนด์เองง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย จังหวะนั้นก็เลยเกิดโรงเรียนของเรา […]
ที่มาอาหารกระป๋อง | Now You Know
เวลาเราดูหนังหรือซีรีส์ที่พูดถึงวันสิ้นโลก วันที่โลกแตก ไม่เหลืออะไรให้มนุษย์ประทังชีวิต ตัวละครในเรื่องมักจะมีเสบียงสำคัญอย่าง ‘อาหารกระป๋อง’ ที่เปิดกินได้ทุกสถานการณ์ แถมยังอยู่ได้นาน ถึงขั้นโลกแตก (ในหนัง) ก็ยังกินได้ .Now You Know เอพิโสดนี้ พาทุกคนไปรู้จักที่มาอาหารกระป๋อง ใครคือผู้ริเริ่มวิธีการถนอมอาหารโดยการเอาไปใส่ในกระป๋อง แล้วที่ว่าอาหารประเภทนี้เก็บรักษาได้นาน แท้จริงแล้วอยู่ได้นานแค่ไหน
‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่
เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]
Cloud 11 ศูนย์รวมครบวงจรดีไซน์ล้ำสมัย สำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันนี้ Content Creator กลายเป็นอาชีพใหม่ที่ไม่ว่าใครก็ศึกษาและลงมือทำเองได้ตลอดเวลา จึงไม่น่าแปลกถ้าเราจะได้เห็นผลงานสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่กันอยู่บ่อยๆ แต่ที่น่าเสียดายคือ ยังมีเหล่าครีเอเตอร์จำนวนมากที่ขาดโอกาสในการต่อยอดไอเดียหรืออุปกรณ์ในการผลิตผลงาน รวมไปถึงขาดพื้นที่ในการหาแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพราะเห็นช่องว่างนี้ และต้องการผลักดันครีเอเตอร์ไทยให้ไปไกลกว่าเดิม MQDC บริษัทธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร จึงเปิดตัวโปรเจกต์ใหม่ ‘Cloud 11’ ฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เพื่อสนับสนุนเหล่าครีเอเตอร์ด้วยการสร้างศูนย์รวมระบบนิเวศการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด ในการช่วยส่งเสริมศักยภาพให้กับเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และยกระดับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ของประเทศไทยให้ไปได้ไกลถึงระดับโลก โดยโครงการนี้ตั้งอยู่ในย่านสุขุมวิทใต้ ซึ่งเป็นย่านที่กำลังได้รับการผลักดันจากหลายภาคส่วนให้กลายเป็นย่านนวัตกรรมแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ นอกจากไอเดียการเป็นศูนย์รวมครบวงจรสำหรับเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์แล้ว Cloud 11 ยังได้ความร่วมมือจากสองบริษัททางสถาปัตยกรรมไทยชื่อดังอย่าง A49 และ Snøhetta จากประเทศนอร์เวย์ ในฐานะ Design Consultant ที่ช่วยกันสร้างสรรค์และเปลี่ยนที่ดินขนาด 27 ไร่ในย่านสุขุมวิทใต้ให้กลายเป็น Cloud 11 พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์คอนเทนต์ขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียอีกด้วย ศูนย์กลางสำหรับ Content Creator จากปรากฏการณ์เทรนด์อาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Cloud 11 เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรม Entertainment ของประเทศไทยมีศักยภาพที่สูง อีกทั้งวัฒนธรรมไทยก็โดดเด่นมีเอกลักษณ์ จึงคาดหวังว่าโครงการ Cloud 11 จะเป็นสารตั้งต้นในการผลักดันครีเอเตอร์เพื่อสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ได้ […]
ไขข้อข้องใจ จอดรถบริเวณไหนผิดกฎหมายและเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
ปัญหาหนึ่งที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน โดยเฉพาะในตัวเมืองกรุงเทพฯ ต้องเจอบ่อยๆ คือการ ‘ไม่มีที่จอดรถ’ ไม่ว่าจะเป็นตอนไปกินข้าวตามร้านอาหาร ทำธุระ หรือแม้กระทั่งในซอยบริเวณบ้านของตนเองก็ตาม ถ้าเป็นเส้นทางหลักที่มีแถบสีของฟุตพาท แดง เหลือง หรือดำ กำกับไว้ ก็คงไม่ใช่เรื่องเข้าใจยากเท่าไหร่ แต่สำหรับพื้นที่ในตรอกซอกซอย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่ไหนจอดได้หรือไม่ได้บ้าง คอลัมน์ Curiocity พาไปไขข้อข้องใจเรื่องนี้ ด้วยการเปิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจอดรถ ตั้งแต่จอดตรงไหนผิดกฎหมายบ้าง ถ้าบังเอิญจอดในพื้นที่ผิดกฎหมายจะต้องเจอกับอะไร และถ้าเราเป็นผู้เดือดร้อนจากกรณีดังกล่าวจะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน จอดตรงไหนผิดกฎหมายบ้าง นอกจากการจอดยานพาหนะทางบกไว้ในพื้นที่ของตนเองที่มีรั้วรอบขอบชิด เพื่อความถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ตามกฎหมายผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิ์จอดรถในทางสาธารณะหรือพื้นที่เอกชนโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะมีความผิดตาม ‘พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55’ ในหมวด 4 เรื่องการหยุดและจอดรถที่ว่าด้วยการมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถใน 7 กรณี ดังนี้ 1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง2) บนทางเท้า3) บนสะพานหรือในอุโมงค์4) ในทางร่วมทางแยก5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ6) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ7) ในเขตปลอดภัย พูดง่ายๆ ว่า ถึงแม้เราจะจอดรถในซอยหรือบริเวณหน้าบ้านตัวเองก็อาจผิดกฎหมายได้ หากมีลักษณะตรงตาม 7 กรณีที่กล่าวมาข้างต้น หากผิดกฎหมาย […]
10 Censored Thai Cinemas ลิสต์หนังไทยที่รัฐไทยไม่ให้ไปต่อ
เคยสงสัยไหมว่า นี่ก็ปี 2023 แล้ว ทำไมประเทศไทยยังมีข่าวคราวการแบนหนังไทยให้ได้เห็นกันอีก ทั้งที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์บ้านเราก็ไม่ได้สู้ดีนัก โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ปีปีหนึ่งหนังไทยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่สิบเรื่อง และส่วนใหญ่ก็เป็นแนวใกล้ๆ กัน เช่น หนังผี หนังตลก หนังรัก เป็นต้น โดนกีดกันประเด็นหรือแนวหนังยังไม่พอ พอผู้กำกับและทีมงานก่อร่างสร้างหนังไทยสักเรื่องมาจนเสร็จเรียบร้อย ก็ยังต้องมาไหว้พระสวดมนต์ให้ผ่าน ‘กองเซนเซอร์’ หรือ ‘คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์’ ที่รัฐเป็นกำลังสำคัญในการกำกับดูแลอีก Urban Creature ชวนพังกำแพงแห่งศีลธรรมอันดีงาม ความมั่นคงของชาติ และนานาเหตุผล แล้วมาย้อนดูหนังไทย 10 เรื่องที่โดนแบนในช่วงสิบกว่าปีนี้กัน แสงศตวรรษ (2551) ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ไทยที่โดนเซนเซอร์หรือห้ามฉายบ้าง แต่ ‘แสงศตวรรษ’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’ ผู้กำกับไทยที่เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก ก็ทำให้การเซนเซอร์ในวงการภาพยนตร์เป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ‘แสงศตวรรษ’ กล่าวถึงชีวิตของแพทย์หญิงในโรงพยาบาลเล็กๆ ที่ต่างจังหวัด ที่มีความทรงจำที่ดีต่อผู้ป่วยและความรัก และอีกชีวิตของแพทย์ทหารหนุ่มในโรงพยาบาลในเมือง กับผู้ป่วยพิการและคู่รักของเขาที่จะจากไป หนังเรื่องนี้มีกำหนดฉายในประเทศไทยในเดือนเมษายน ปี 2550 แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพราะชี้ว่ามีฉากที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรศาสนาและองค์กรทางการแพทย์ โดยมีเงื่อนไขให้ตัด 4 ฉากออกไป ได้แก่ […]
Urban Eyes 28/50 เขตลาดพร้าว Lat Phrao
เราค่อนข้างเซอร์ไพรส์ที่เพิ่งรู้ว่าห้าแยกลาดพร้าวไม่ได้อยู่ในเขตลาดพร้าว จากการหาข้อมูลลงพื้นที่ไปถ่ายภาพสตรีทที่เดินทางมาถึงเขตที่ 28 แล้ว จริงๆ แล้วเขตลาดพร้าวอยู่ตรงโซนถนนประเสริฐมนูกิจ กับถนนประดิษฐ์มนูธรรม (ถนนเลียบด่วน) ฝั่งด้านตะวันตกช่วง Central Eastville ไปทางซ้ายยาวๆ จนถึงคลองลาดพร้าว แต่ปกติเราไม่ค่อยมีโอกาสผ่านโซนด้านในของเขตลาดพร้าวเท่าไหร่ วันนี้เลยขอพาไปถ่ายภาพตามแลนด์มาร์กเด็ดของเขตนี้ซะหน่อย ซอยโชคชัย 4 ━ เราได้ยินชื่อซอยนี้มานาน เป็นแหล่งชุมชนที่คนเยอะพอสมควร แต่เราก็นึกไม่ถึงว่าจะมีร้านอาหารเยอะขนาดนี้ ตอนเย็นๆ ดูเป็นเส้นทางที่มีชีวิตชีวามาก และในอนาคตดูเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่มีโอกาสพัฒนาเติบโตขึ้นได้อีกเยอะ Central Eastville ━ เป็นศูนย์การค้าที่มีพื้นที่เอาต์ดอร์ที่น่าสนใจ มีการตกแต่งเอาธรรมชาติเข้าไปผสม แถมยังอนุญาตให้พาสัตว์เลี้ยงเข้ามาเดินเล่นได้ ส่วนใครที่ชอบถ่ายภาพ ช่วงสายๆ ถึงบ่ายๆ จะมีแสงลงมาในโซนเอาต์ดอร์ ทำให้เกิดแสง-เงา ถ่ายภาพสนุกขึ้น สโมสรเสนานิเวศน์ ━ ที่นี่เป็นแหล่งพบปะของคนในชุมชน เป็นพื้นที่สีเขียว มีสนามบอล สนามเทนนิส และพื้นที่ให้ออกกำลังกายกับเต้นแอโรบิก ช่วงเย็นๆ คนจะมารวมตัวกัน ดูอบอุ่น มีความสุข The Crystal เลียบด่วน ━ คอมมูนิตี้มอลล์ขนาดใหญ่ที่เราอาจเรียกว่าเป็นห้างฯ ก็ได้ มีส่วนเอาต์ดอร์ให้แสงส่องผ่านลงมา มีอยู่สมัยหนึ่งที่คนเล่นเซิร์ฟสเก็ตจะมารวมตัวกันที่นี่ […]
จิบเครื่องดื่มจากโฆษณาดังที่ House 20 Cat and Home Studio บาร์แมวลับเปิดเฉพาะวันที่ 20 ของเดือน
ปกติเวลาเราพูดถึง ‘บาร์ที่ไปได้ยาก’ หลายคนมักจะนึกถึงบาร์ลับ แต่บาร์ท้ายซอยสุขุมวิท 20 แห่งนี้เป็นแบบใหม่แบบสับ เพราะมันไม่ได้ลับหรือหายากอะไรเลย แต่ที่ไปได้ยากก็เพราะทั้งเดือนที่นี่เปิดแค่วันเดียว! ฟังไม่ผิดหรอก เพราะ House 20 Cat and Home Studio คือบาร์เฉพาะกิจที่เปิดเฉพาะวันที่ 20 ของเดือนตามชื่อบ้าน ซึ่งปกติเปิดทำการเป็นโฮมสตูดิโอสไตล์เรโทรให้เช่าถ่ายหนัง ซีรีส์ เอ็มวี และสื่อบันเทิงอื่นๆ (หลายคนอาจคุ้นตาจากเอ็มวีเพลง รักรักรักรักรักรักรัก ของ D Gerrard หรือ ถ้าเธอจะรักก็รักไปนานแล้ว ของ GoyNattyDream) ที่สนุกมากกว่าเปิดเดือนละวันคือ บาร์นี้เสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มที่ได้แรงบันดาลใจจากแมวกว่า 80 ตัวและโฆษณาที่ ‘จูดี้-จุรีพร ไทยดำรงค์’ ครีเอทีฟระดับโลกเป็นคนคิด ซึ่งเราพนันได้ว่าต้องเคยผ่านตาทุกคนมาแล้วหนึ่งรอบ โดยมีจูดี้เป็นที่ปรึกษา และคนในแวดวงครีเอทีฟอย่าง ‘วัฒน์-อภิวัฒน์ ภัทราลังการ’, ‘อดามพ์ ศิริระกา’, ‘ออยล์-สาวิทย์ แก้วทวี’, ‘จ๊อย-ชนานาถ ตันวัฒนกุล’ และ ‘แมก-ธนพล จิรธาดาพร’ คอยรันอยู่เบื้องหลัง Urban […]
Smart Factory ต้นแบบโรงงานอาหารสัตว์ของ Betagro ที่เชื่อมั่นในการสร้างความยั่งยืน
การดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมในยุคนี้ไม่เพียงแต่ต้องคำนึงถึงธุรกิจอย่างเดียวเท่านั้น แต่องค์กรต้องตระหนักถึงองค์รวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวกิจการเอง ชุมชนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโรงงาน เช่น ก่อสารมลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตในโรงงานที่ก่อให้เกิดเชื้อเพลิงเผาไหม้ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งสุขภาพและชั้นบรรยากาศ หรือ การก่อสารมลพิษทางน้ำ ที่ทำให้มีสารพิษปนเปื้อนในน้ำจนทำให้แหล่งน้ำเป็นอันตราย ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ รวมถึงชาวบ้านที่ใช้แหล่งน้ำนั้นในชีวิตประจำวันด้วย และเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน กระแสของการดำเนินงานแบบ Sustainable ในการทำให้ชุมชนคงอยู่อย่างยั่งยืน จึงมีบทบาทเป็นอย่างมากในยุคนี้ Betagro เองก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้มองแค่การดำเนินกิจการในภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความยั่งยืน ผ่านแนวคิดแบบ Proactive จนทำให้เกิด Smart Factory ต้นแบบโรงงานอาหารสัตว์ Betagro ที่อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ภายในโรงงานแห่งนี้มีการใช้สมาร์ตเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานในการสร้างความยั่งยืน และพัฒนาการทำงานของโรงงานไปพร้อมๆ กับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เพื่อเป้าหมายการเป็นมิตรกับผู้คนในพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ว่าแต่ที่นี่ดำเนินงานและใช้นวัตกรรมแบบไหน ถึงสามารถเป็น Smart Factory ต้นแบบโรงงานอาหารสัตว์ได้ ลองไปสำรวจพร้อมๆ กันเลย Sustainable Smart Production ที่นี่เน้นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสร้างความร่วมมือกับชุมชนตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้เกิดเป็น Smart Impact ที่ส่งเสริมพื้นที่หนองบุญมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการใช้นวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความยั่งยืน […]
Hong Kong เมืองที่นอนบนฟ้าและลงมาเดินดิน
โอ้…นี่สินะความเจริญ จากสุวรรณภูมิเวลา 21.55 น. (เวลาไทย) เดินทางมาถึงสนามบินฮ่องกงเวลา 01.40 น. (เวลาฮ่องกง) ที่สนามบินมีแท็กซี่สีแดงสุดจ๊าบวิ่งไปมารอผู้โดยสาร แต่ถ้าเดินออกมาห้านาทีก็จะเจอกับท่ารถบัสที่วิ่งตลอดคืน เราเดินทางออกจากสนามบินไปถึงที่พักในเกาะ Kowloon Mongkok ประมาณสามสิบกิโลเมตร ใช้เวลาเกือบชั่วโมง และจ่ายเงินค่ารถ 23 ดอลลาร์ฮ่องกง ตีเป็นเงินไทยราว 103 บาท เป็นไปตามรายงานจาก Urban Mobility Readiness Index เมื่อปี 2022 ที่บอกว่า ฮ่องกงเป็นเมืองที่มีขนส่งสาธารณะดีที่สุดในโลก เพราะราคาถูก มีโครงสร้างระบบที่ดี แถมยังมีความหนาแน่นของสถานีต่างๆ ที่ทำให้เราเดินทางด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกสบาย จากพื้นที่ทั้งหมด 1,073 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะฮ่องกง คาบสมุทรเกาลูน เขตดินแดนใหม่เกาะลันเตา และเกาะอื่นๆ อีกกว่า 200 เกาะ ขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบสามารถเปลี่ยนเส้นทางและเชื่อมถึงกันเกือบทั้งหมดได้อย่างไร้รอยต่อ และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ขนาดเราที่มีสกิลภาษาอังกฤษไก่กา ก็ยังอาศัยการมองป้าย มองสัญญาณ หรือสังเกตสัญลักษณ์ที่มี จนนำไปสู่จุดหมายได้อย่างไม่งงงวย คอลัมน์ Urban Eyes […]
แผนการพัฒนาชีวิตชาวเมืองใน Attack on Titan ให้อยู่บนเกาะสวรรค์ได้อย่างมีความสุข
“ฉันเชื่อมาตลอดว่าอีกฟากของทะเลนั้นมีอิสระ แต่ว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่อยู่อีกฟากคือศัตรู ถ้าเราฆ่าคนอีกฟากได้หมดเราจะเป็นอิสระกันได้งั้นเหรอ” – เอเรน เยเกอร์ ติดตาม Attack on Titan มาจนถึง The Final Season Part 3 แล้ว หลายครั้งก็แอบจินตนาการว่า หากเราเป็นชาวเอลเดียในบทบาทของชาวบ้านธรรมดาทั่วไป จะใช้ชีวิตบนเกาะสวรรค์อย่างมีความสุขได้อย่างไร ถ้าต้องคอยเอาชีวิตรอดจากการรุกรานของไททัน แถมดูเหมือนว่าความเป็นอยู่ของเมืองก็ยังไม่ค่อยจะเอื้อให้อยู่รอดจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตเสียด้วย คอลัมน์ Urban Isekai ชวนมาวางแผนและหาทางพัฒนาเมืองหลังกำแพงสูงกัน จะทำอย่างไรให้ชาวเมือง Mitras บนเกาะสวรรค์แห่งนี้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดีขึ้น แม้ว่ายังต้องหาหนทางเอาชีวิตรอดจากการบุกรุกของไททันก็ตาม ซาซาเงโย! ซาซาเงโย จงอุทิศด้วยหัวใจ! สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชาวเอลเดียและชาวโลก หลังจากที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมานาน ก็ถึงเวลาที่ชาวเอลเดียจะได้มีเพื่อนบ้านสักที ด้วยการเปิดเกาะและส่งตัวแทนไปผูกสัมพันธ์กับเมืองรอบนอก เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป และนำเอาเทคโนโลยีก้าวหน้าจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมืองให้เท่าทันโลก หรือนำมาใช้พัฒนากองทัพเพื่อสร้างความแข็งแรง รองรับการบุกรุกของไททันได้อย่างเต็มที่ รวมถึงสร้างความเข้าใจกันผ่านประวัติศาสตร์ของทั้งสองฝ่าย ให้การศึกษาชาวเมือง ชาวเมืองหลายคนยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แถมเรื่องราวนอกกำแพงยังกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้เอเรนและอาร์มินในวัยเด็กต้องแอบอ่านหนังสือของคุณปู่ ถึงจะรู้เรื่องราวของมหาสมุทรกว้างใหญ่ภายนอกกำแพง ดังนั้นเราจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาการศึกษาให้กระจายไปในทุกพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าอยู่เขตไหนก็จะได้เรียนหนังสือ เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ ให้ชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความก้าวหน้าของโลกภายนอกกำแพง ข้อมูลความถูกต้องของประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน […]