รู้ทุกซอกมุมการตรวจห้องก่อนอยู่กับ ‘Mylovecondo’ | THE PROFESSIONAL

“เวลาซื้อคอนโดฯ เราซื้อหลักล้าน แต่ค่าจ้างตรวจห้องแค่หลักพัน”“เราเป็นเหมือนตัวช่วยลดปัญหาในการเข้าอยู่ ไม่ต้องมาแจ้งซ่อมทีหลัง” ในยุคที่การเป็นเจ้าของบ้านของคนเมืองเป็นไปได้ยากกว่าแต่ก่อน รูปแบบของ ‘ที่อยู่อาศัย’ จึงเริ่มกลายสภาพเป็นห้องเช่าอย่างคอนโดมิเนียม ที่แม้จะมีพื้นที่เล็กลง แต่ราคาและรายละเอียดปลีกย่อยกลับเยอะขึ้น หลายคนจึงต้องการความมั่นใจก่อนจะเสียเงินหลักแสนถึงหลักล้านบาท เพื่อจะได้ของที่ดีที่สุดและมีปัญหาน้อยที่สุด รายการ The Professional ชวนคุยกับทีมงาน ‘Mylovecondo’ ทีมตรวจห้องตรวจบ้าน ที่พร้อมเดินทางเช็กความเรียบร้อยก่อนเข้าอยู่ให้ลูกค้าหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดฯ ทั้งที่ซื้อจากโครงการหรือซื้อต่อจากเจ้าของเก่า เพื่อลดปัญหาการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมืองให้มากที่สุด

Life in KKC วิถีขอนแก่น

‘ขอนแก่น’ เป็นอีกเมืองที่น่าสนใจจากประสบการณ์ที่เราได้มีโอกาสไปทำงานที่นั่น และได้ใช้เวลาอยู่ในเมืองนั้นสักพักหนึ่ง ทำให้เราได้บันทึกภาพชุดนี้ขึ้นมา ภาพชุดนี้เป็นเรื่องราวประจำวันที่เราได้เจอหรือว่าผ่านตามา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งของและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ทั้งธรรมดาและแปลกตา ซึ่งคนในเมืองอย่างพวกเราคงไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็น รูปชุดนี้แบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ภาพที่บันทึกในชีวิตประจำวัน และภาพจากตลาดวัว เราเลือกสองเรื่องนี้มานำเสนอเพราะแต่ละรูปคือขอนแก่นที่เราได้รู้จักและไปพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นป้ายหน้ายิ้มที่มันดูแปลกตา มุ้งที่คลุมท้องฟ้า ตึกสีแปลกๆ ป้ายร้านก๋วยเตี๋ยวร้านโปรดของเรา แล้วก็ไม่รู้สังกะสีหรือกิ้งก่ากันแน่ที่มันปรับตัวเข้าหากัน รวมถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ด้วย ส่วนเหตุผลที่เราเลือกตลาดวัวมานำเสนอ เพราะเราชื่นชอบเรื่องราวของตัวตลาดมาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องตื่นเช้ามืดเพื่อไปตลาด หรือวัวแปลกๆ ที่เราได้ไปเจอ รวมไปถึงผู้คนที่มาเร่ขายวัว ทั้งหมดเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับเรา จึงอยากนำมาเล่าผ่านภาพให้ทุกคนได้เห็นกัน ติดตามผลงานของ ปีติ์ สายแสงทอง ต่อได้ที่ Instagram : georgecallmedadddy และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Resilient City เมืองปรับตัวตามอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย | Unlock the City EP.27

ในสมัยก่อนมนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกัน การวางรกรากตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มักยึดโยงและปรับตัวตามธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ใกล้แหล่งน้ำหรือพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ง่ายต่อการดำรงชีวิต

แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนไม่ได้ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติเหมือนสมัยก่อน ทำให้การมีอยู่ของเมืองเป็นการขัดขวางธรรมชาติไปโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่างการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แหล่งน้ำในปัจจุบันที่ไม่ตอบโจทย์คนทั่วไปแล้ว เนื่องจากต้องมาคอยระวังปัญหาน้ำท่วม

Resilient City คือคำนิยามถึงเมืองที่ต้องปรับตัวไปตามสภาพอากาศ เนื่องจากอากาศหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติเริ่มมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อเมืองและชาวเมืองมากขึ้น ซึ่งนอกจากมนุษย์เองที่ต้องปรับตัว ตัวเมืองเองก็ต้องปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

เช่าหรือซื้อที่อยู่อาศัย เสียเงินแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า ‘การเช่าบ้านคือการทิ้งเงินเปล่า’ เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘พื้นที่อยู่อาศัย’ แต่คนจำนวนไม่น้อยกลับมองว่า การจ่ายค่าเช่าทุกๆ เดือนนั้นไม่ใช่การลงทุนหรือทำให้ผู้เช่ามีทรัพย์สินที่จับต้องได้ แต่ถ้าหากนำค่าเช่านั้นไปลงทุนซื้อบ้านของตัวเองสักหลัง ท้ายที่สุดแล้วบ้านหลังนั้นก็จะเป็นทรัพย์สินที่เราถือครองได้ตลอดชีวิต ขณะเดียวกัน ไม่ใช่ทุกคนจะมีเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อบ้านได้ แถมการกู้เงินซื้อบ้านยังอาจสร้างภาระผูกพันให้ผู้ซื้อนานถึง 20 – 30 ปี ซึ่งยอดผ่อนแต่ละเดือนอาจมีราคาสูงกว่าค่าเช่าบ้านรายเดือน ทำให้กว่าจะได้เป็นเจ้าของบ้านเต็มตัว ว่าที่เจ้าของบ้านคนใหม่คงต้องประหยัดอดออมรวมไปกับการซื้อบ้าน จนอาจไม่มีเวลาหรือไม่มีเงินที่จะใช้จ่ายให้กับกิจกรรมที่ยังไม่จำเป็น ระหว่างการซื้อบ้านหรือการเช่าบ้านอยู่ ตกลงแล้วตัวเลือกไหนจะดีและเหมาะสมกับเราที่สุด เราขอชวนผู้อ่านไปเปรียบเทียบเงื่อนไขและความคุ้มค่าพร้อมกัน ที่อยู่อาศัยในเมืองมีราคาสูง จากการวิเคราะห์ของเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ Realtor.com พบว่า พื้นที่ของเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกานั้นมีราคาสูง เนื่องจากเป็นแหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่จนทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยเติบโตไปด้วย ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้มีมูลค่าที่สูงขึ้น ซึ่งถ้าหากจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่แล้ว การจ่ายค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนจะช่วยประหยัดเงินได้มากกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ซื้อบ้านถาวร เช่นเดียวกันกับในกรุงเทพฯ ที่แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในเมือง ทำให้ผู้คนจากหลายพื้นที่ต้องเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในเมือง แน่นอนว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ในทำเลทองหรือใกล้ตลาดแรงงานจึงมีราคาสูงขึ้นตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น คอนโดมิเนียมใกล้รถไฟฟ้าสถานีเพลินจิต ราคาซื้อจะอยู่ที่ 4.29 – 6.8 ล้านบาทต่อห้อง ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงสถานีเดียวกันนั้น หากเป็นราคาเช่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ 13,900 บาทต่อเดือนขึ้นไป จะเช่าหรือซื้อขึ้นอยู่กับการวางแผนอนาคต สำหรับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ การจะซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ที่มีราคาจับต้องได้จึงอาจเป็นไปได้ยากในตอนนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ในตลาดอสังหาฯ ยังมีที่อยู่อาศัยจำนวนมากที่ปล่อยเช่าในราคาหลายระดับ ตั้งแต่ราคาต่ำกว่า […]

Household คนไทยและถิ่นที่อยู่

‘ที่อยู่อาศัย’ คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นทั้งพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่ที่ให้ความสุขสบายทั้งกายและใจ ดังนั้นการมีบ้านหรือที่อยู่สักแห่งเป็นของตัวเองนั้นจึงเป็นความฝันและเป้าหมายของใครหลายคน แต่การจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในตอนนี้แทบกลายเป็น ‘ความฝัน’ ที่เอื้อมไม่ถึงของคนไทยจำนวนไม่น้อย ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้ทุกคนต้องรัดเข็มขัดให้แน่นกว่าเดิม รวมถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างวัสดุการสร้างบ้าน ค่าที่ดิน หรือดอกเบี้ยการกู้เงินที่สูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จนทำให้คนที่ตั้งใจจะซื้อที่อยู่เป็นทรัพย์สินของตัวเองต่างต้องเลื่อนโครงการในฝันนี้ออกไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วเมื่อไหร่ถึงจะได้มีบ้านในครอบครองเสียที คอลัมน์ Overview เดือนพฤษภาคมนี้ ชวนทุกคนไปสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์การเช่าอยู่ที่กำลังมาแรง ไปจนถึงแนวโน้มของที่อยู่อาศัยที่จะรองรับวิถีชีวิตของผู้คนในอนาคต ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองสูง ปัจจุบันที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ มูลค่าของตัวบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่ปรับตัวขึ้น รวมไปถึงราคาประเมินที่ดินเมื่อต้นปี 2566 ที่ปรับขึ้นถึง 8.93 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาซื้อขายที่อยู่ต้องปรับขึ้นตาม โดยทำเลไหนที่เป็นแหล่งตลาดงานและเดินทางสะดวก ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ตัวอย่างทำเลในกรุงเทพฯ ที่ใกล้แหล่งทำงานและขนส่งสาธารณะที่มีราคาสูง ได้แก่  – ถนนเพลินจิต 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสีลม 750,000 – 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสาทร 450,000 […]

Urban Eyes 36/50 เขตหนองแขม

ในระหว่างที่เขียนบทความนี้ เรารู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย โดยเฉพาะเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ที่ใกล้เข้ามาทุกที โชคดีที่เราได้ลงพื้นที่เก็บภาพประวัติศาสตร์ตามเขตต่างๆ ในยุคสมัยที่เป็นรอยต่อการปกครองนี้ ซึ่งความเป็นจริงเราก็ไม่รู้หรอกว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยแค่ไหน แต่เชื่อว่าคนไทยคงมีความหวังเพิ่มขึ้น โปรเจกต์ Bangkok Eyes กลับมาอีกครั้งกับเขตหนองแขม หนึ่งในเขตที่เราแทบไม่ค่อยได้เดินทางไป รู้แค่ว่าเป็นเขตหนึ่งที่อยู่เลยบางแคไป และจำได้เพียงแลนด์มาร์กที่ดังที่สุดคือช่องสามหนองแขม จึงถือเป็นการลงพื้นที่ถ่ายภาพสตรีทโฟโต้ที่มีความท้าทายอีกเขตหนึ่ง ทางเดินฟุตพาทเลียบถนนเพชรเกษม ━ เป็นทางเท้าที่ร่มรื่น น่าเดิน เพราะมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมทางเดินเป็นเส้นทางยาว อยากแนะนำให้มาเดินถ่ายรูปเล่นกัน แต่ถ้าจะถ่ายแนวสตรีทอาจยากหน่อยเพราะไม่ค่อยมีคนเดินเยอะเท่าไหร่ นอกจากบริเวณทางเดินที่ผ่านหน้าชุมชนตรงตลาดนัด สวนพุทธรักษ์ ━ สวนสาธารณะขนาดเล็กที่มีลู่วิ่ง สนามบาสเกตบอล สนามแบดมินตัน และสนามบอลอยู่ในที่เดียวกัน เอาเป็นว่าวิ่งแป๊บเดียวก็ครบรอบแล้ว เท่าที่ถามมาที่นี่เหมือนเป็นสวนสาธารณะแห่งเดียวในเขตนี้ แต่เราก็พอเข้าใจได้เพราะทางเดินเลียบถนนของเขตก็กว้างใหญ่พอให้ใช้วิ่งและพักผ่อนได้ตลอดทาง ที่นี่ช่วงเย็นๆ คนจะเยอะเพราะฝั่งตรงข้ามของสวนเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ คนเดินไปเดินมาตลอดเวลา ถ้าเลยเข้าไปในซอยจะมีร้านอาหารน่ากินมากมายให้ไปลิ้มลอง ตลาดนัดเพชรเกษม 77 ━ ตลาดนัดที่มีทั้งโซนกางร่มและหลังคา เรามองว่าโซนกางร่มดูน่าสนใจดี โดยเฉพาะช่วงเย็น ถ้ามองเข้าไปในตลาดจะเห็นท้องฟ้ายามเย็น วันไหนฟ้าระเบิดก็น่าจะเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพได้อีกหน่อย ยิ่งเป็นช่วงก่อนพลบค่ำ ฟ้ายังมีแสงอยู่นิดๆ ร้านต่างๆ เปิดไฟส่องสว่างเป็นดวงๆ ก็สวยไปอีกแบบ ตลาดนัดสี่แยกวัดหนองแขม ━ ส่วนตลาดนัดแห่งนี้มีที่จอดรถสะดวกสบาย เป็นตลาดนัดที่มีหลังคา อยู่ติดกับกำแพงของร้านสะดวกซื้อเซเว่นฯ […]

ปักหมุด 6 ร้านชำที่มีดีทั้งดีไซน์ คอนเซปต์ และโปรดักต์

วันหยุดนี้ชวนไปสำรวจวัตถุดิบโลคอล เสาะหาโปรดักต์ออร์แกนิก และเอนจอยกับบรรยากาศช้อปปิงในร้านขายของชำเก๋ๆ กัน! หลายคนอาจคุ้นชินกับภาพร้านโชห่วยตามซอยบ้านสมัยเด็กๆ ที่มีขนมโบราณห้อยขายเรียงรายกันอยู่ในร้าน น้ำที่แช่อยู่ในตู้แช่แบบเก่า และของใช้ที่วางขายอยู่ในตู้กระจก แต่ครั้งนี้ คอลัมน์ Urban Guide ขอพาทุกคนไปปักหมุด 6 ร้านชำในกรุงเทพฯ ที่มีความยูนีกเฉพาะตัวด้วยดีไซน์ คอนเซปต์ และโปรดักต์ที่จำหน่าย ซึ่งหาไม่ได้ง่ายๆ จากที่ไหน ตั้งแต่สินค้าออร์แกนิก วัตถุดิบท้องถิ่นจากทั่วทุกสารทิศ โปรดักต์ดีไซน์น่ารักๆ ไปจนถึงการมีพื้นที่ให้พบปะพูดคุยหรือทำงานแบบชิลๆ ด้วย MADBACON ร้านชำสุดเก๋ที่ตั้งอยู่ในโซนอารีย์ โดยมีสโลแกนหลักคือ ‘Convenience Store for Today’s Lifestyle’ ทำให้สินค้าในร้านมีความหลากหลายและตอบโจทย์คนทุกเพศ ทุกวัย ภายในร้านมีทั้งของใช้จำเป็นและของใช้ที่ถูกใจหลายอย่าง โซนเสื้อผ้าที่ตอบโจทย์ผู้คนหลากสไตล์ รวมถึงโซนพูดคุยเอาไว้แลกเปลี่ยนความคิดและนั่งจิบกาแฟยามบ่ายไปพลางๆ  MADBACONที่อยู่ : 6, 3 ซอยอารีย์ 5 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400วัน-เวลาให้บริการ : อังคาร-อาทิตย์ เวลา 11.00 – 19.00 น. […]

ซอสสูตรเด็ดจากเอเชีย สู่น้ำจิ้มสำคัญคู่อาหารฝรั่ง | Now You Know

ย้อนไปในสมัยศตวรรษที่ 15 ชาวเขมรและเวียดนามได้แนะนำให้คนจีนได้รู้จักกับ ‘น้ำปลา’ น้ำใสๆ เค็มๆ ที่เกิดจากการหมักปลาไว้กับเกลือ เวลาต่อมา ชาวจีนได้นำน้ำปลาเดินทางเผยแพร่ไปทั่วโลกจนถึงดินแดนแห่งนวัตกรรมอย่างสหรัฐอเมริกา ก่อนที่พวกเขาจะนำเอามะเขือเทศ ผสมลงไปในน้ำปลา กลายเป็นสูตรต้นตำรับอาหารชนิดใหม่ Now You Know เอพิโสดนี้ พาทุกคนไปสำรวจความเป็นมาของ ‘ซอสมะเขือเทศ’ ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ใช้กินคู่กับอาหารตะวันตกหลายชนิด แท้จริงแล้วมีต้นตระกูลเดียวกันกับน้ำปลาบ้านเรานี่เอง

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

จะเป็นอย่างไรหากในโลกใต้น้ำของ ‘The Little Mermaid’ มี ‘แอเรียล’ เป็น ‘แอ็กทิวิสต์’

ใกล้เข้ามาทุกทีกับ ‘The Little Mermaid’ ผลงานสุดคลาสสิกของดิสนีย์ที่กลับมาอีกครั้งในรูปแบบภาพยนตร์เวอร์ชันคนแสดง แต่ก่อนที่จะตีตั๋วไปดูพร้อมกันในช่วงปลายเดือนนี้ เราแอบมาคิดดูเล่นๆ ว่า ถ้าเงือกสาว ‘แอเรียล’ ที่เรารู้จักเกิดขึ้นและเติบโตภายใต้ท้องทะเลยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมและการตื่นรู้ในเรื่องต่างๆ ความใฝ่ฝันที่อยากเป็นมนุษย์เดินดิน ได้ตกหลุมรักใครสักคนจนยอมแลกเสียงของเธอ เพื่อให้กลายร่างเป็นมนุษย์ในระยะเวลาเพียงสามวันนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนดำดิ่งลงมหาสมุทรไปพบกับแอเรียลในเวอร์ชันใหม่ที่ใครๆ อาจคาดไม่ถึง ด้วยการอิเซไกให้แอเรียลเป็น ‘แอ็กทิวิสต์’ ผู้พยายามขับเคลื่อนสังคมใต้น้ำของ The Little Mermaid เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 01 | จัดทำ MOU จัดการขยะและของเสียลงสู่ทะเล สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้โลกใต้น้ำ ปัญหาใหญ่ของโลกใต้น้ำที่เราเห็นมาตั้งแต่ The Little Mermaid เวอร์ชันแอนิเมชันคงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘ขยะ’ เพราะทั้งซากเรืออับปางและเศษขยะที่เหล่ามนุษย์โยนทิ้งลงมาต่างก็ถูกแอเรียลหยิบเอามาสะสมจนกลายเป็นกรุสมบัติส่วนตัวไปหมด แต่ในยุคปัจจุบัน ถ้าจะให้แอเรียลหยิบเอาส้อมมาหวีผม เอาขยะมาสะสมเหมือนก่อน ฐานทัพเรืออับปางคงมีอยู่เต็มท้องทะเล เป็นแบบนี้เห็นทีคงไม่ดีแน่ คงต้องลุกขึ้นมาจัดทำ MOU จัดการขยะและของเสียลงสู่ทะเลระหว่างบนบกกับใต้น้ำกันสักหน่อย ไม่งั้นทั้งเงือกทั้งสัตว์น้ำคงจะตายกันหมด เพราะนอกจากเศษขยะ สารเคมีที่ติดมากับขยะเหล่านี้ก็มีไม่น้อยเช่นกัน 02 | เปลี่ยน ‘ราชา’ ให้เป็น […]

ลดเวลาทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ ช่วยสร้างสมดุลชีวิตคนทำงานและลดการใช้พลังงานได้จริง

เมื่อปีที่แล้วฝั่งยุโรปเผชิญปัญหาอากาศที่ร้อนจัดกว่าปกติ ทางฝั่งปากีสถานเจอฝนตกหนักจนน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ มองไปที่ธารน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกก็ก่อตัวในระดับต่ำกว่าที่เคยมีมา รวมถึงปัญหามลพิษทางอากาศหรือมลพิษต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้นในทุกพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้พลังงานและทรัพยากรของเราทุกคน นักวิทยาศาสตร์จาก EU Copernicus องค์กรสังเกตการณ์ความเป็นไปด้านธรรมชาติของโลก บอกว่า ‘โลกร้อนไม่ใช่ปัญหาในอนาคต แต่มันคือปัญหาในปัจจุบัน’ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความท้าทายให้เราทุกคนในฐานะประชากรโลก เพื่อหาวิธีรับมือ ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ที่นำไปสู่ความยั่งยืนให้ได้มากยิ่งขึ้น ในหลายอุตสาหกรรมต่างตั้งเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุดตามวาระที่กำหนด อีกหลายภาคส่วนก็พยายามรณรงค์ลดการเผาผลาญพลังงานที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และยังมีการหาแนวทางการแก้ปัญหาโลกร้อนนี้กันอีกมากมายหลายวิธี คอลัมน์ Green Insight อยากพาไปดูอีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่น่าสนใจ นั่นคือ การลดเวลาการทำงานให้เหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ สิ่งนี้จะมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน ลดเวลางาน เพิ่มเวลาชีวิตให้คนทำงาน ช่วงโควิดที่ผ่านมา รูปแบบการใช้ชีวิตได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และในช่วงเวลาวิกฤตของโรคระบาดก็ทำให้เห็นแล้วว่า ‘การทำงาน’ ได้แปรเปลี่ยนไปในทิศทางอื่นๆ เช่นกัน 4 Day Week Global กลุ่มองค์กรอิสระไม่แสวงผลกำไร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัยบอสตันแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ค้นคว้าและวิจัยการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน จนกลายเป็นต้นแบบของการทำงานรูปแบบใหม่กับหลายประเทศทั่วโลก หลังจากการทดลองครั้งแรกในสหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จ และพบว่าการทำงาน 4 […]

‘แต่ละคนมีช่วงเวลาผลิบานของตัวเอง’ อย่าไปกลัวโลกที่เราช้าลงเมื่อไหร่ คนอื่นพร้อมวิ่งแซงเมื่อนั้น

‘รู้สึกผิดมากเลย ที่ต้องมาเครียดเรื่องความรัก แทนที่จะไปเครียดเรื่องงาน’ สาวผู้บริหารคนหนึ่งเคยบ่นกับเรา เพราะเธอเพิ่งอกหักจากความรักที่คาดหวังไว้มาก ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ผู้คนวัยทำงานเริ่มหันมามองการดูแลทะนุถนอมหัวใจว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลา มันคืออะไรกันแน่ที่ทำให้ ‘บทสนทนาเรื่องความรู้สึก’ ได้รับการยอมรับน้อยกว่าบทสนทนาเรื่องการลงทุน ผลกำไร หรือการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เราขอตอบเลยว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเรานั้นล้วนอาศัยอยู่ในโลกแห่งทุนนิยม ทุกคนพอจะเข้าใจดีว่า หน้าตาของระบบทุนนิยมคือระบบเศรษฐกิจที่เน้นการแข่งขัน เร่งผลผลิต และคืนกำไรขึ้นไปสู่นายทุน อ่านมาถึงตรงนี้คงเริ่มคิ้วขมวดกันว่า เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเกี่ยวข้องอะไรกับสุขภาพจิตเราด้วย เพราะในความเป็นจริงแล้ว สุขภาพจิตที่ดีแทบสร้างได้ยากมากๆ หากมาจากเราเพียงฝ่ายเดียว เราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทางจิตใจไม่ว่าในทางดีหรือไม่ดี จากสังคมที่เราอยู่หรือผู้คนที่รายล้อมเราเสมอ สิ่งที่ระบบทุนนิยมมีอิทธิพลต่อการกระทบใจเราก็คือ 1) ชีวิตเสพติดการแข่งขัน2) ชีวิตที่ไม่อยากคิดจะหยุดพัก3) ชีวิตที่ไม่อยากจะสนใจเรื่องหัวใจและความรู้สึก สภาพแวดล้อมที่ดำเนินด้วยความเร็วและการแข่งขัน การทำงานในแต่ละวันที่ต้องเร่งรีบ ยิ่งทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ยิ่งดี ไปจนถึงความเครียดจากงาน บางครั้งกลายเป็นถ้วยรางวัลแห่งความมุ่งมั่นของบางคน หากวันไหนที่เราร่วงโรยจากการจดจ่อกับงาน เมื่อนั้นจะรู้สึกว่านี่คือบาดแผลของนักรบผู้ยิ่งใหญ่ ในขณะเดียวกัน ความเครียดเรื่องงานในจังหวะชีวิตที่เร่งรีบนี้เป็นบ่อเกิดของ Anxiety หรือก้อนความวิตกกังวลให้ใครหลายๆ คน อีกหนึ่งโรคใหม่ที่หนุ่มสาวออฟฟิศคุ้นเคยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ ‘โรคกลัวไลน์’ เพราะรู้สึกมีคนต้องการตามตัวเราไม่จบไม่สิ้น ต้องตื่นตัว พร้อมรับมือปัญหาจากงานตลอดเวลา หลายคนไม่ใช่แค่รู้สึกถึงความจำเป็นในการเอาชนะบริษัทคู่แข่ง แต่เพื่อนร่วมงานเองก็รู้สึกอยากเอาชนะด้วยเหมือนกัน เพียงเพราะอยากหลีกหนีให้ไกลๆ กับ ‘ความรู้สึกดีไม่พอ’ เราขอยกตัวอย่างความเร็ว ความแรง ความต้องแอ็กทีฟตลอดเวลาผ่านวงการเหล่านี้ […]

1 29 30 31 32 33 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.