เปิดมุมมองงานดีไซน์ไปกับ ‘วัสดุตกแต่ง’ จาก COTTO งานสถาปนิก’68 และ COTTO LiFE ดอนเมือง 29 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2568

เรามักเห็นการออกแบบใหม่ๆ จาก ‘COTTO’ แบรนด์และผู้นำอุตสาหกรรมกระเบื้อง ก๊อกน้ำ และสุขภัณฑ์ของไทยอยู่เสมอในงานจัดแสดงและอีเวนต์ต่างๆ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันการใช้งาน คุณภาพ หรือดีไซน์หรูหรามีระดับ  ปีนี้ก็เช่นกัน COTTO ได้นำสินค้าคุณภาพดีมาจัดแสดงที่ ‘สถาปนิก’68 : งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 37’ ภายใต้แนวคิด ‘Reimagine Living Refinement’ ที่อยากให้นักออกแบบและผู้ที่สนใจมองไปยังจุดเริ่มต้นของการออกแบบ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์แบบ ทั้งด้านรูปลักษณ์ การใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความพิเศษคือ COTTO เปิดตัวไลน์วัสดุตกแต่ง (Decorative Materials) เพื่อเป็นการยกระดับและแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอีกขั้นของแบรนด์ จากเดิมที่นำเสนอเพียงกระเบื้องและสุขภัณฑ์ ก็มีการเพิ่มเติมส่วนวัสดุตกแต่งระดับไฮเอนด์ ที่มีจุดยืนเป็นอุตสาหกรรมรักษ์โลกเข้ามาอีกด้วย ภายในงานสถาปนิก’68 ทุกคนจะได้พบกับสินค้าไฮไลต์ทั้ง COTTO The Surface และ COTTO Bathroom ภายใต้การออกแบบบูทในลักษณะสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ที่สื่อถึงการเชื่อมต่อทุกพื้นที่ผ่านหลากหลายมุมมองใหม่ในทุกมิติแบบรอบด้าน ขณะเดียวกัน ทางแบรนด์ยังมีอีกหนึ่งงานแสดงที่จัดขึ้นพร้อมกันที่โชว์รูม ‘COTTO LiFE ดอนเมือง’ ภายใต้คอนเซปต์เดียวกันให้เป็นอีกตัวเลือกไปเยี่ยมเยียน สำหรับ COTTO […]

ตามแม่มาวัดยังไงไม่ให้เบื่อ ออกแบบพื้นที่ภายในวัด ให้โอบรับคนรุ่นใหม่ ใกล้ชิดศาสนามากขึ้น

อีกหนึ่งปัญหาของลูกหลานชาวพุทธที่ติดสอยห้อยตามที่บ้านไปทำบุญที่วัดทุกวันสำคัญทางศาสนาคือ การไม่รู้จะเอาตัวเองไปแปะไว้ตรงไหนของวัดดี เพราะไม่ว่าจะไปบริเวณใดก็รู้สึกเกร็งๆ เหมือนไม่ใช่ที่ของเรา คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่ภายในวัดให้เฟรนด์ลีและโอบรับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น เพื่อทำให้การไปวัดของศาสนิกชนไม่ได้จำกัดอยู่แค่การต้องไปไหว้พระหรือทำสังฆทาน แต่เป็นการที่เราได้ใช้เวลาภายในวัดอย่างสบายใจ ไม่รู้สึกแปลกแยก แบ่งโซนพื้นที่นั่งรอออกจากพื้นที่ทำบุญ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกทำอะไรไม่ถูกเวลาไปวัดคือ การต้องเจอพระพุทธรูปวางเรียงรายและพระประจำวัด โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ไม่รู้ว่าควรไหว้ นั่งนิ่งๆ หลบตา หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นอย่างเล่นโทรศัพท์ อ่านการ์ตูนไปด้วยได้หรือเปล่า การแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำบุญออกมาเป็นจุดนั่งรอที่เหมาะสม โดยมีพระประธานเป็นศูนย์กลาง อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่าการเข้าวัดไม่ใช่เรื่องยากเท่าเดิม เพราะหลังจากไหว้พระเสร็จก็ขอปลีกตัวไปทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจในอีกพื้นที่หนึ่ง คาเฟ่เล็กๆ สำหรับนั่งรอและเติมพลัง การนั่งรอเฉยๆ ทำให้เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า การมีคาเฟ่คอยให้บริการเครื่องดื่มและของหวานเล็กๆ น้อยๆ ให้พอชุบชูใจ น่าจะทำให้เวลาผ่านไปไวขึ้นอีกหน่อย  บริการปลั๊กและ Wi-Fi สำหรับทำงาน ต่อให้ไปวัดวันหยุด แต่ใช่ว่าหนุ่มสาววัยทำงานจะไม่ต้องทำงานสักหน่อย ทว่าปัญหาของการเปลี่ยนจาก Work from Home มาเป็น Work from Temple คือ การไม่มีพื้นที่ทำงานที่มีปลั๊กและ Wi-Fi ให้ใช้โดยไม่ต้องรู้สึกผิดเพราะต้องใช้ไฟวัด จะดีกว่าไหมถ้าเราบริจาคเงินให้วัดเพื่อแลกกับการใช้ไฟฟ้าและ Wi-Fi ในช่วงเวลาที่ต้องการ นอกจากจะได้ทำงานแล้วยังไม่รู้สึกผิดด้วย เข้าคลาสทำกิจกรรม ไหนๆ […]

เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง

อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]

Emergency Go Bag ออกแบบกระเป๋าฉุกเฉินขนาดกะทัดรัดแบบไทยๆ ไว้ใช้งานในช่วงฉุกเฉิน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา ทำให้คนเมืองจำนวนไม่น้อยเริ่มวางแผนหาทางหนีทีไล่เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งหนึ่งสิ่งสำคัญในฮาวทูเอาตัวรอดคือ ‘กระเป๋าฉุกเฉิน’ ที่อัดแน่นไปด้วยไอเทมจำเป็นให้เราคว้าหมับแล้วรีบลี้ภัยทันที ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอออกแบบ Emergency Go Bag ในแบบฉบับของชาว Urban Creature ให้ไว้เป็นไอเดียของทุกคน นอกจากสิ่งของที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังมีไอเทมอื่นๆ ช่วยชุบชูใจผู้พกพาด้วย อาหารและขนม กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ยิ่งถ้าอ่อนเพลียยิ่งต้องมีของกินไว้รองท้องและเติมพลังในยามฉุกเฉิน ยกตัวอย่าง ลูกอม ที่มีน้ำตาลช่วยคลายเครียด ขนมปังกรอบ เนื่องจากเก็บไว้ได้นานและให้พลังงานสูง รวมถึงอาหารแห้งเล็กๆ น้อยๆ ไว้ประทังชีวิตหากสถานการณ์ย่ำแย่ลง น้ำดื่มขนาด 600 มิลลิลิตร นอกจากอาหาร น้ำก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย เหตุผลที่ใช้ปริมาณ 600 มิลลิลิตร เพราะเป็นน้ำหนักที่รวมกับกระเป๋าแล้วยังไม่หนักจนเกินไป เอกสารสำคัญ (สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน) พกไว้ยืนยันตัวตนหรือที่อยู่หากบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านสูญหาย ยาสามัญประจำบ้าน หยูกยาพื้นฐานเป็นของจำเป็น เช่น ยาแก้ปวด สเปรย์แอลกอฮอล์ ปลาสเตอร์ปิดแผล หากเจ็บป่วยจะได้ใช้ปฐมพยาบาลทันท่วงที ยาดม ขาดไม่ได้กับปัจจัยที่ 5 ของคนไทย ใช้ทั้งแก้วิงเวียน […]

ชวนปั่นจักรยาน 3 เส้นทางกลางเมือง ที่กลุ่มคนปั่นจักรยาน BUCA แนะนำ

อยากชมเมืองแบบชิลๆ ซึมซับบรรยากาศข้างทาง แต่จะเดินก็เหนื่อยเกินไป จะนั่งรถก็ไม่ได้ฟีลอีก งั้นลองปั่นจักรยานดูสิ แม้ว่าการปั่นจักรยานอาจยังไม่ใช่ตัวเลือกเดินทางที่นิยมในกรุงเทพฯ แต่นี่คือวิธีที่จะทำให้เราชมเมืองได้โดยไม่ต้องเดินจนเมื่อย ไม่ต้องพบเจอรถติด และยังปั่นเข้าตรอกซอกซอยไปชมวิถีชีวิตที่เราอาจไม่มีโอกาสเห็นบนท้องถนน คอลัมน์ Urban’s Pick อยากชวนทุกคนออกไปปั่นจักรยานผ่าน 3 เส้นทางกลางกรุงที่จะใช้ผ่อนคลายก็ดี จะปั่นเพื่อเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าก็ทำได้ แนะนำโดยภาคีจักรยานเมือง กรุงเทพฯ หรือ BUCA แต่ถ้าใครไม่มีจักรยานเป็นของตัวเอง จะถือโอกาสนี้ลองใช้งาน Bike Sharing ก็ได้นะ 01 | ปั่นทะลุซอย ชมชุมชนเจริญกรุง เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ BUCA เคยใช้ปั่นในงาน Bike Bus และพบว่าสะดวกที่สุด โดยเริ่มเส้นทางได้ตั้งแต่ลงมาจาก BTS สถานีสะพานตากสิน ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวและย่านน่าสนใจ ตั้งแต่สี่พระยา ตลาดน้อย ทรงวาด สำเพ็ง จนออกมาที่พาหุรัด ปากคลองตลาด และสิ้นสุดที่ MRT สถานีสนามไชย เส้นทางนี้เป็นเส้นทางจักรยานที่นับว่าปลอดภัยมากพอสมควร เพราะเส้นทางส่วนใหญ่จะเป็นการปั่นผ่านซอยเล็กๆ ซึ่งไม่ค่อยมีรถยนต์ผ่านได้ มีเพียงแค่บางจุดเท่านั้นที่ต้องออกมาปั่นบนถนนเจริญกรุง ข้อควรระวัง : เนื่องจากถนนทรงวาดเป็นถนนเดินรถทางเดียว […]

‘ตลาดพลูดูดี’ กลุ่มนักพัฒนาย่านรุ่นใหญ่หัวใจตลาดพลูที่รวมตัวกันส่งต่อประวัติศาสตร์และสิ่งดีๆ ให้ทุกคนได้ดู

หากเอ่ยถึง ‘ตลาดพลู’ สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงจะเป็นอาหารคาวหวานท้องถิ่นรสเลิศที่โดดเด่นไม่แพ้ที่ใด ไม่ว่าจะเป็นกุยช่าย ขนมเบื้อง ขนมชั้น ขนมผักกาด เปาะเปี๊ยะสด หรือข้าวต้มแห้ง เหล่านี้เป็นอาหารขึ้นชื่อที่ไม่ว่าใครก็ตามที่แวะมาเยือนตลาดพลูมักจะมาลองชิมและอุดหนุนเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านไปเสมอ แต่ตลาดพลูไม่ได้มีเพียงอาหารที่เป็นตัวชูโรงความโดดเด่นของย่านเท่านั้น เพราะที่นี่ยังมีประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวตลาดพลู ที่คนในย่านอยากส่งต่อเรื่องราวให้คนนอกพื้นที่ได้มาทำความรู้จักและสัมผัสพื้นที่แห่งนี้มากขึ้น ด้วยเสน่ห์ความเป็นย่านชุมชนของตลาดพลู ทำให้ที่นี่ถูกขับเคลื่อนด้วยวิถีชีวิตที่มีอยู่ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดท็อปอันดับต้นๆ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือชาวต่างชาติต่างอยากแวะเวียนมาเยี่ยมเยียน และถึงแม้กระแสตอบรับจะดีมากก็ตาม แต่ชาวตลาดพลูก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนย่านเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ยังคงอนุรักษ์ความดั้งเดิมของพื้นที่นี้เอาไว้ และตั้งใจจะปรับภาพจำของย่านด้วยการส่งเสริมให้ตลาดพลูเป็นมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยวตามกระแสชั่วคราว ด้วยการเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน จากจุดยืนที่มุ่งมั่นของชาวตลาดพลูที่จะพัฒนาย่าน คอลัมน์ คนขับเคลื่อนเมือง ครั้งนี้ ขอพาทุกคนมารู้จักกับ ‘ต้น-ชลิดา ทัฬหะกาญจนากุล’, ‘พี-พีรวัฒน์ บูรณพงศ์’, ‘จิ๋ม-อรพิณ วิไลจิตร’ และ ‘นก-สมพร เตมีพัฒนพงษา’ สี่รุ่นเก๋าหัวใจตลาดพลูที่ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในนาม ‘ตลาดพลูดูดี’ กับ 8 ปีที่ขับเคลื่อนย่านตลาดพลูให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และอยากให้ทุกคนรู้ว่าย่านที่อยู่ของพวกเขานั้นมีอะไรดีๆ ที่รอให้มาดูอีกมากมาย การรวมตัวของ 4 รุ่นใหญ่หัวใจนักพัฒนาตลาดพลู “เราทุกคนในกลุ่มผูกพันกับตลาดพลูมาก อย่างเราเองเกิดที่นี่ โตที่นี่ ทำงานที่นี่ เห็นทุกความเปลี่ยนแปลงของตลาดพลูมาตลอดชีวิต อยากทำบางอย่างที่ช่วยแชร์ให้ทุกคนรู้จักที่นี่จากข้อมูลของคนที่อาศัยอยู่จริง […]

‘พี่ๆ ขอรูตเดินฉบับคนไม่ชอบเดินหน่อย’ รวม 5 รูตจากคนไม่เดิน ที่เดินแล้วไม่เหนื่อยอย่างที่คิด

ไม่ชอบเดินแต่อยากเดิน ควรเริ่มจากตรงไหนดี จริงๆ อาจไม่ต้องคิดเยอะหรือต้องตั้งเป้าหมายให้ยาก เพราะการเดินไม่ใช่เรื่องยากเท่าที่คิด ขอเพียงแค่ในระหว่างทางมีจุดให้แวะบ้าง ไม่ว่าจะเป็นของกิน ช้อปปิง หรือเข้าไปในโซนที่มีแอร์เย็นๆ ปะทะหน้า แค่นี้ก็ทำให้การเดินกลายเป็นเรื่องสนุกขึ้นมาแล้ว และแม้ว่าชาว Urban Creature ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกชมรมนักเดิน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนที่ไม่ชอบเดินสักหน่อย คอลัมน์ Urban’s Pick วันนี้เลยขอนำ 5 รูตที่คนไม่ชอบเดินมาฝากทุกคนกัน เชื่อเถอะว่าถ้าเราเดินได้ ทุกคนก็ต้องเดินได้ ไม่แน่นะ บางรูตในนี้หลายคนอาจใช้เป็นรูตเดินประจำอยู่แล้วแบบไม่รู้ตัว 1) เดินสั้นๆ แบบเท้าไม่แตะพื้น (เริ่ม BTS สถานีสยาม จบ BTS สถานีสนามกีฬาฯ) รูตเดินขั้นเบสิกของคนมาเที่ยวสยามที่แวะเติมพลังระหว่างทางด้วยแอร์เย็นๆ จากทั้ง Siam Paragon ต่อไปยัง Siam Center ทะลุ Siam Discovery ออกทางเชื่อมแยกปทุมวัน แวะเข้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ก่อนเดินทางกลับด้วย BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทั้งหมดนี้ระยะทางเพียง 640 เมตรเท่านั้น เดินกำลังดี […]

ทางเท้ากรุงเทพฯ ทำไมถึงไม่มีทางเดินดีๆ ให้ดื่มด่ำบรรยากาศเมือง

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับปรุงทางเท้าใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงยังมีการปรับทัศนียภาพทางเท้าบางจุดที่เคยถูกบุกรุกพื้นที่ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังไม่รู้สึกว่ากรุงเทพฯ น่าเดินเล่นชิลๆ อยู่ดี บางครั้งปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากสภาพทางเท้าอย่างเดียว เพราะต่อให้ทางเดินเรียบขนาดไหน แต่ถ้ายังต้องคอยระแวงหลบสิ่งกีดขวางอยู่ประจำก็คงไม่สบอารมณ์นัก ยังไม่นับบรรยากาศรอบข้างที่ไม่เอื้อให้รู้สึกอยากเดินเสพบรรยากาศไปเรื่อยๆ ทั้งที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองท่องเที่ยวระดับโลกแท้ๆ ทำไมเราถึงเดินเดตกันแบบเมืองปารีสหรือกรุงโซลไม่ได้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนมาเดินส่องหาสาเหตุกันว่า ทำไมเราถึงไม่สามารถเอนจอยกับการเดินทางเท้ากรุงเทพฯ ได้เสียที ปรับปรุงสภาพแต่ไม่ขยายขนาด ก็ไม่อาจทำให้ทางเท้าน่าเดินได้ ปัจจุบัน กทม.ทยอยปรับปรุงทางเท้าในกรุงเทพฯ หลายจุดทั่วเมืองตามโครงการปรับปรุงทางเท้า 1,000 กิโลเมตร แต่เนื่องจากระยะเวลาที่มีจำกัดและปัญหาอื่นที่ยังรุมเร้า คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในกรุงเทพฯ ยังมีทางเท้าอีกหลายจุดที่สภาพไม่ดีนัก โดยเฉพาะบริเวณชานเมืองและพื้นที่ที่ไกลออกไป ภาพจำของทางเท้าที่ขรุขระและสมบุกสมบันจึงยังไม่ถูกลบหายไปง่ายๆ และต่อให้เป็นทางเท้าที่ปรับปรุงแล้วก็ยังไม่วายมี ‘อุปสรรค’ มากีดขวางให้ผู้คนไม่สามารถเดินตรงๆ สบายๆ ยกตัวอย่าง เสาไฟฟ้า สะพานลอย ต้นไม้ที่ขนาดใหญ่เกินครึ่งของทางเท้า กระทั่งอากาศร้อนจัดเพราะไม่มีร่มเงาใดๆ ช่วยบดบังแสงแดด แม้บางพื้นที่มีตึกแถวเป็นร่มเงา ก็ดันมีน้ำไม่พึงประสงค์ที่หยดลงมาจากตึกแถวจนต้องเดินหลบกันจ้าละหวั่น แต่ที่หนักสุดคงเป็นขนาดทางเท้าที่ไม่สามารถขยับขยายไปมากกว่านี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากการปรับปรุงทางเท้าที่กล่าวมามักเป็นการ ‘ปรับปรุง’ พื้นผิวทางเท้าอย่างเดียว ไม่ได้ขยายทางเดินให้กว้างขึ้นแต่อย่างใด มากไปกว่านั้น บางพื้นที่ยังปาดทางเท้าให้กลายเป็นถนนเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาทางเท้าแคบจึงไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนพื้นที่ที่เคยมีทางเท้ากว้างก็อาจจะแคบลงไปเรื่อยๆ ซ้ำร้ายถนนบางเส้นไม่มีทางเท้าให้เดินเลยแม้แต่เซนติเมตรเดียว อยากปรับปรุงเหมือนกัน แต่เหมือนหน่วยงานอื่นจะไม่เข้าใจ ข้อจำกัดหลักที่ทำให้ทางเท้ายังมีอุปสรรคจนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก […]

ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นประจำ แค่เดินระยะสั้นๆ แถวบ้านไม่กี่นาที ก็ช่วยให้สุขภาพจิตดีได้

หลายคนอาจหลงลืมไปว่า การเดินคือการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อย และทำได้เลย สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกังวลว่าจะต้องหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ลองให้การเดินเป็นตัวเลือกแรกดูก่อน เพราะแค่เปลี่ยนจากการนั่งมอเตอร์ไซค์เป็นการเดินเข้าซอยในระยะทางสั้นๆ เดินไปใช้บริการขนส่งสาธารณะใกล้ๆ หรือการเดินเล่นรอบๆ บ้านในเส้นทางที่คุ้นเคย เท่านี้ก็ช่วยให้เราแข็งแรงได้แล้ว ทว่ามากไปกว่าความแข็งแรงทางกายภาพ การเดินยังช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย เดินวันละนิดจิตแจ่มใส แน่นอนว่าเราพอนึกออกว่าทำไมการเดินถึงช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรงได้ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเดินช่วยเรื่องของสุขภาพจิตได้อย่างไร อย่างที่บอกไปว่าการเดินคือหนึ่งในการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ซึ่งในระหว่างที่ออกกำลังกายนั้น ร่างกายของเราจะหลั่งสาร Endorphins (เอ็นดอร์ฟิน) ที่ช่วยส่งเสริมความสุข ทำให้อารมณ์ดีออกมา รวมถึงยังช่วยคลายเครียดและบรรเทาอาการซึมเศร้า อีกทั้งการได้ขยับร่างกายยังช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดอีกด้วย Mental Health Foundation รายงานว่า การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติจะช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลของเราได้ ซึ่งธรรมชาติเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงป่า เขา หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การออกจากบ้านเพื่อเดินไปยังพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน เดินไปยังร้านค้าแถวบ้าน หรือเดินไปทำกิจกรรมในที่ต่างๆ ผ่านวิวทิวทัศน์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ดอกไม้ริมทาง หรือสวนเล็กๆ ของเพื่อนบ้าน กระทั่งพบเจอสัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวก็ช่วยเสริมสุขภาวะที่ดีได้ มีการศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยในหนานจิง ประเทศจีน ระบุว่า การเดินในระยะเวลานานหรือระยะทางไกลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ถ้าเราเดินอย่างสม่ำเสมอและกลายเป็นกิจวัตรประจำวันต่างหากที่จะช่วยสร้างประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีได้มากกว่าคนที่ไม่เดิน เมืองที่สนับสนุนการเดิน = สนับสนุนสุขภาพจิตที่ดี แม้ไม่ได้เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตโดยตรง แต่ถ้าจะบอกว่าเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการเดินเป็นอีกหนึ่งทางในการสนับสนุนให้คนเมืองมีสุขภาพจิตที่ดีก็คงไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะดูเหมือนว่าละแวกบ้านจะเป็นสถานที่ที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับการเดิน นอกจากจะพาให้เราได้ลดความเครียดด้วยการออกมาเปิดหูเปิดตา สูดลมหายใจ สังเกตสิ่งรอบข้างกว้างๆ แล้ว […]

ชวนไปส่องรองเท้าคู่ใจที่สมาคมนักเดินใน Urban Creature ยกให้เป็นเพื่อนคู่เท้าในการเดินเมือง

จอมยุทธ์ต้องมีกระบี่คู่ใจฉันใด คนที่ชอบเดินย่อมต้องมีรองเท้าคู่ใจ (หรือเท้า?) ฉันนั้น! การจะเดินในเมืองให้สนุกได้ นอกจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมแล้ว อุปกรณ์ก็ควรพร้อมเช่นกัน แค่มีรองเท้าดีๆ สวมสบาย เดินได้ไม่เมื่อยเท้า ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่มีชัยไปกว่าครึ่ง ยิ่งถ้ารองเท้าสวย ดีไซน์เก๋ แมตช์กับเสื้อผ้าที่ใส่ด้วย ก็จะยิ่งทำให้เราอยากเดินมากขึ้นไปอีก คอลัมน์ Urban’s Pick ขอชวนมาส่องรองเท้าที่ชาวสมาคมนักเดินใน Urban Creature ใช้งานกันบ่อยๆ เผื่อใครที่กำลังมองหารองเท้าสักคู่เป็นเพื่อนออกเดินไปสำรวจเมืองจะได้มีตัวเลือกเยอะๆ ไว้ในใจ ชื่อ : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editorรองเท้า : ยี่ห้อ Camper รุ่น Karst สีดำ ปกติเราเป็นคนชอบเดินมากๆ อยู่แล้ว ยิ่งเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ได้ตั้งปณิธานกับตัวเองว่าจะออกไปข้างนอกบ่อยๆ เลยยิ่งทำให้เดินมากขึ้น เฉลี่ยก็ 8,000 – 10,000 ก้าว ทำให้เวลาเลือกรองเท้าใส่ไปข้างนอกต้องเป็นรองเท้าที่มั่นใจว่าใส่สบาย เดินไม่เมื่อย คู่นี้เราได้มานานแล้ว ซื้อเพราะชอบดีไซน์และน้ำหนักเบา รวมถึงได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าแบรนด์นี้ใส่สบาย พวกวัสดุกระบวนการก็รักษ์โลก เลยลองไปด้อมๆ มองๆ จ้องๆ […]

เปลี่ยนกรุงเทพฯ จากเมืองปั่นได้เป็นเมือง ‘ปั่นดี’ ‘BUCA’ ชมรมปั่นจักรยานที่อยากชวนคนมามองเมืองบนอานในความเร็วจากสองแรงขา

ในประเทศไทย ‘จักรยาน’ มักถูกมองเป็นกิจกรรมนันทนาการหรือการออกกำลังกายซะเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อไหร่ที่จักรยานลงมาโลดแล่นอยู่บนถนน มันกลับกลายเป็นสิ่งอันตราย ไม่ตอบโจทย์การใช้งานในเมืองหลวงแห่งนี้ในสายตาของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไว้ใจให้จักรยานเป็นตัวเลือกหลักในการเดินทาง อีกทั้งยังคงจัดกิจกรรมเชิญชวนผู้คนมาปั่นจักรยาน และขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของพาหนะเดินทางประเภทนี้อยู่ ด้วยความเชื่อว่าจักรยานเป็นตัวเลือกเดินทางที่ดีของคนกรุงเทพฯ ได้มากกว่านี้ คอลัมน์ Think Thought Thought ชวนกระโดดขึ้นอาน ปั่นจักรยานไปคุยกับ ‘เป้-ธีรเมศร์ เลิศเศวตพงศ์’, ‘ปอนด์-วีรภัทร คำรัตน์’, ‘บุ๋น-จิรภัทร จิตวัฒนาศิลป์’ และ ‘แวน-วริทธิ์ธร สุขสบาย’ จากภาคีจักรยานเมือง กรุงเทพฯ (Bangkok Urban Cycling Alliance) หรือ ‘BUCA’ ที่ต้องการให้จักรยานเป็นตัวเลือกการเดินทางที่ไม่ถูกมองข้าม หากแต่การปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ ดีกว่าการเดินทางแบบอื่นอย่างไร ไว้ใจความปลอดภัยได้แค่ไหน แล้วที่ผ่านมากรุงเทพฯ ใจดีกับคนปั่นจักรยานบ้างไหม หรือจริงๆ แล้วเมืองนี้ไม่มีทางเป็นเมืองจักรยานได้ ตามไปอ่านในบรรทัดต่อไปนี้ อยากให้พวกคุณเล่าว่า BUCA คือใคร ทำอะไรกันบ้าง ธีรเมศร์ : เริ่มแรกกลุ่มเราเป็นแค่การรวมตัวกันแบบหลวมๆ ของผู้ใช้จักรยานที่เคยร่วมเป็นอาสาสมัครในนโยบายการปรับปรุงทางจักรยานใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ของ […]

ชวนเดินลัดตรอกเลาะซอยกับสถานที่ใหม่น่าตามไปเช็กอิน ในย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ ฉบับอัปเดต

สุดสัปดาห์นี้ลองชวนคนที่รักไปเดินเล่นที่ย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ กัน เจริญกรุง-บางรัก ในความทรงจำของหลายคนคงจะมีสถานที่หรือร้านรวงเก่าแก่ ไอคอนิกประจำย่านที่ไม่ว่าใครมีโอกาสไปเยือนแถวนั้นก็ต้องแวะเช็กอินกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC’ พื้นที่แห่งงานสร้างสรรค์และคลังความรู้คู่เจริญกรุง, ‘โรงภาพยนตร์ปรินซ์รามา’ โรงฉายหนังเก่าแก่ที่ผลัดเปลี่ยนเป็นโรงแรมใจกลางย่าน, ‘ประจักษ์เป็ดย่าง’ ร้านบะหมี่เป็ดเก่าแก่กว่า 100 ปี หรือร้าน ‘น้ำขม โหมงหวอ’ ที่จำหน่ายน้ำสมุนไพรโบราณในบางรักร่วม 80 ปี แต่หลังจากที่เราได้ลองกลับไปเดินเล่นในย่านนี้อีกครั้ง ก็พบว่าปัจจุบันย่านนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ในอดีต หรือที่ตั้งของเหล่าร้านรวงเก่าแก่ที่เป็นตำนานอีกต่อไป แต่เริ่มมีธุรกิจและพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของย่าน และกระจายตัวกันอยู่ตามตรอกซอกซอยมากขึ้น ครั้งนี้คอลัมน์ Urban Guide ขอแวะมาอัปเดตสถานที่ใหม่น่าแวะในย่านเจริญกรุง-บางรัก ที่จะทำให้การเดินเที่ยวเล่นในย่านนี้สนุกและแตกต่างไปจากเดิม เตรียมจดพิกัดและไปเดินด้วยกันได้เลย! 01 | Central Department Store Bangrak เริ่มต้นเดินกันจาก BTS สถานีสะพานตากสิน จะพบกับสถานที่แรกที่พลิกโฉมด้วยการอาบน้ำแต่งตัวใหม่ เปลี่ยนจาก ‘โรบินสัน บางรัก’ เป็น ‘เซ็นทรัล บางรัก’ ห้างสรรพสินค้าหนึ่งเดียวบนถนนเจริญกรุง ด้วยเหตุผลที่ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ทันสมัยและสดใสขึ้นตามยุคปัจจุบัน รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ภายในห้างฯ […]

1 2 3 4 5 98

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.