พาไปดู 8 รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่จากแบรนด์ยานยนต์ระดับโลก ในงาน Bangkok International Motor Show 2024

ถ้าถามว่ารถยนต์ไฟฟ้าในประเทศบูมขึ้นแค่ไหนในช่วงที่ผ่านมา ก็คงตอบได้จากสัดส่วนของรถไฟฟ้าจากแบรนด์ยานยนต์ระดับโลก ในงาน ‘Bangkok International Motor Show 2024’ เพราะงานนี้ขนทัพรถไฟฟ้า EV มาจัดแสดงอย่างล้นหลาม หลังจากที่ประเทศไทยมีตัวเลขสถิติจำนวนรถไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ตามกฎหมายเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปี 2565 ว่าแต่ในงานนี้จะมีรถยนต์ไฟฟ้าค่ายไหน รุ่นใดน่าสนใจบ้าง Urban Creature รวบรวมมาให้แล้ว 8 รุ่นจาก 8 แบรนด์ยานยนต์ระดับโลก ที่มาสร้างสีสันในงาน Bangkok International Motor Show 2024 ที่จะจัดถึงวันที่ 7 เมษายน 2567 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 3 และอิมแพ็ค ฟอรั่ม ฮอลล์ 4 อิมแพ็ค เมืองทองธานี รถสปอร์ตไฟฟ้าสุดล้ำแห่งอนาคตVision ONE-ELEVEN จาก Mercedes-Benz เริ่มต้นคันแรกกับรถยนต์ไฟฟ้าคอนเซปต์ ‘Vision ONE-ELEVEN’ ของ Mercedes-Benz ที่ทำเอาใครหลายคนอ้าปากค้างกับดีไซน์หรูของรถสปอร์ตที่มาพร้อมความโดดเด่นเหนือจินตนาการ รถรุ่นนี้ได้แรงบันดาลใจจากรถต้นแบบทดลอง […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

คุยเรื่องหนังสือเด็กกับ ศรีสมร โซเฟร หรือ ‘สองขา’ ผู้ร่วมก่อตั้งวาดหวังหนังสือ

หลังเหตุการณ์ไล่บี้หนังสือเด็กในเดือนตุลาคม 2564 กลุ่มวาดหวังหนังสือยังคงผลิตหนังสือสม่ำเสมอ ขณะนี้มีถึงชุดที่ 4 ‘เป็นสุขที่สงสัย’ และมีแพลนทำหนังสือเด็กต่อไป นิทานเด็กของกลุ่มวาดหวังหนังสือช่วยเปลี่ยนภาพจำของหนังสือเด็กที่มักเล่าเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการหรือทักษะเรียบง่าย เพราะหนังสือเด็กนี่เองที่สามารถปูความรู้เรื่องชีวิต การเมือง หรือเพิ่มแง่มุมสดใหม่ในเรื่องเดิมๆ อย่างการเขียน ก.ไก่ ข.ไข่ ขณะเดียวกัน ช่วงโควิด-19 หนังสือเด็กกลายเป็นเทรนด์ของพ่อแม่ยุคใหม่ที่พร้อมลงทุนให้ลูกและได้ใช้เวลาด้วยกัน ก่อนคุยกับ ‘หมอน-ศรีสมร โซเฟร’ เจ้าของนามปากกา ‘สองขา’ ผู้เขียนหนังสือเด็กและผู้ก่อตั้งวาดหวังหนังสือ เธอเปรยว่า ต้องขออภัยหากมีเสียงเครื่องบินรบกวน เพราะนับตั้งแต่เธอเป็นครูโรงเรียนรัฐไทยบนดอยของชาวกะเหรี่ยง สอนเด็กที่อเมริกา ปัจจุบันเธอและครอบครัวอยู่ที่อิสราเอล (บ้านเกิดของสามี) ท่ามกลางสงครามฮามาส-อิสราเอล ที่กำลังดำเนินไป เราคุยกันเรื่องหนังสือนิทานเด็ก ชวนมองถึงวงการหนังสือเด็กไทย ความสำคัญของนิทานและการดูแลเอาใจใส่เด็ก เพราะเชื่อว่าในท้ายสุด เด็กๆ ย่อมเติบโตเป็นผีเสื้อในโลกกว้าง โบยบินสู่อนาคตที่ต้องแบกรับโลกของผู้ใหญ่ในวันนี้ คุณเริ่มต้นจับงานหนังสือเด็กได้อย่างไร เราจบปริญญาตรีประวัติศาสตร์ที่ ม.เกษตรฯ พอเรียนจบก็ทำงานที่เชียงใหม่ เมื่อถึงวันหยุดได้เดินทางท่องเที่ยว ได้เจอครูดีในหลายๆ แห่ง จึงอยากเป็นครู ตอนนั้น (พ.ศ. 2530) เป็นปีแรกที่จบสาขาอะไรมาก็สอบเป็นข้าราชการครูได้ เป็นแล้วชอบ ติดใจ เรารู้สึกว่าเด็กมีความจริงใจ คิดอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร […]

FYI

ชวนดู ‘เซ็นทรัลพัฒนา’ พลิกโฉมรีเทลครั้งใหญ่ด้วยโครงการระดับโลก ลงทุนต่อเนื่องขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจนั้นไม่ใช่แค่การมองเห็นแต่ประโยชน์ของธุรกิจของตัวเอง แต่ยังรวมไปถึงการขยายโอกาสให้ธุรกิจหรือภาคส่วนอื่นๆ ได้เติบโตไปด้วยกัน เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ถึงใช้โมเดล The Ecosystem for All กลยุทธ์ที่เชื่อมโยงธุรกิจหลักอย่างศูนย์การค้าที่เป็นหัวใจหลักในการสร้างความแข็งแกร่งของระบบทั้งหมด เข้ากับธุรกิจที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และโรงแรม หวังตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคน พร้อมทั้งมีการลงทุนในระยะยาวเพื่อสร้างอนาคตแห่งการใช้ชีวิต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ชวนไปดูกันว่า เซ็นทรัลพัฒนามีกระบวนการดำเนินงานอย่างไร ที่ทำให้ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งอสังหาริมทรัพย์ไทยเพื่อความยั่งยืน และส่วนการลงทุนที่ว่านั้นมีโครงการอะไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง สร้างสรรค์และพัฒนาโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งแล้วก็ตาม แต่ด้วยบทบาทของการเป็น Place Maker ทำให้เซ็นทรัลพัฒนาไม่เคยหยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์พื้นที่ใหม่ๆ เพื่อมุ่งมั่นพัฒนาโปรเจกต์และสร้างประโยชน์ในวงกว้าง จึงเกิดเป็นไอเดียและการวางแผนลงทุนบุกเบิกย่านต่างๆ ผ่านการสร้างโครงการมิกซ์ยูสเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในแต่ละพื้นที่อยู่เสมอ ถือเป็นการสร้างย่าน ผลักดันศักยภาพทั้งเมืองหลัก-เมืองรองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั่วประเทศ รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนและเมืองให้ดีขึ้น ลงทุนในระยะยาวเพื่อรองรับการสร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ก่อนหน้านี้ ทางเซ็นทรัลพัฒนาได้ลงทุนสร้างโครงการมิกซ์ยูสไปแล้วกว่า 20 โครงการทั่วประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่เซ็นทรัลพัฒนาเชื่อว่าสามารถพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกมาก โดยภายใน 5 ปีนี้ เซ็นทรัลพัฒนามีแผนการลงทุนระยะยาวตั้งแต่ปี 2567 – ปี 2571 ด้วยจำนวนเงินกว่า 121,000 ล้านบาท ในการเปิดโครงการมิกซ์ยูสแห่งใหม่ […]

Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

ฝึกเขียนจดหมายจากความรักถึงตัวเองทุกวัน เพื่อบอกว่า ‘ในวันที่โลกไม่น่ารัก ยังมีเราที่น่ารัก’

สมัยเป็นวัยรุ่นมัธยมฯ ผู้เขียนเชื่อว่า หลายคนคงเคยมีความทรงจำปั๊ปปี้เลิฟ เขียนจดหมายรักหารุ่นพี่หรือรุ่นน้องที่แอบชอบกันมาบ้าง กระทั่งบางคนอาจมีประสบการณ์เขียนจดหมายหารายการวิทยุหรือโทรทัศน์ หวังจะได้คุยกับศิลปินที่ชื่นชอบ คิดถึงตอนนั้นแล้วก็ภูมิใจในความใจใหญ่ของตัวเอง แน่นอนแหละ มันคงไม่ถึงกับคำว่า ‘รักอย่างไม่มีเงื่อนไข’ เพราะเราก็คงแอบหวังให้คนที่ชอบเขาชอบเรากลับ หรือศิลปินคนโปรดได้รับรู้ถึงความปลาบปลื้มที่เรามีให้มานานบ้างไม่มากก็น้อย แต่คำว่า ‘ใจใหญ่’ ที่เราหมายถึงคือ การกล้าได้มากกว่าเสีย การที่ความสุขอัดแน่นจนหัวใจขยาย แล้วเรื่องน่ากลัวต่างๆ เช่น กลัวเสียฟอร์ม กลัวเขาไม่สนใจ กลัวเขาเห็นว่าเราเด๋อ ฯลฯ หดลดลง จะเป็นอย่างไรถ้าความรักที่เคยส่งต่อให้ใคร จะส่งกลับมาที่เราบ้าง ‘เอลิซาเบธ กิลเบิร์ต’ (Elizabeth Gilbert) นักเขียนชื่อดัง เจ้าของงานเขียน Eat, Pray, Love ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เธอออกมาเล่าถึงกิจกรรมปลอบประโลมหัวใจตัวเองที่ทำมานานหลายปีแล้ว นั่นคือ การเขียนจดหมายจากความรักถึงตัวเอง สิ่งนี้ช่วยพยุงเธอขึ้นจากจิตใจที่อ่อนล้ามาหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่เธออยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างหนัก เธอเล่าว่า มีคนมากมายเคยทั้งเขียนจดหมายและเข้ามาคุยมาชมเธอ แต่มันก็ยังไม่ใช่ถ้อยคำที่เธอต้องการ เอลิซาเบธจึงเริ่มเขียน ‘จดหมายรัก’ ผ่านถ้อยคำจากความรักที่เธอเคยหวังว่าอยากให้มีใครสักคนมาพูดแบบนี้กับเธอ ‘คนอื่นเขาไม่สามารถอยู่กับเราตลอดเวลาได้ ถ้าเราไม่อยู่กับตัวเองในช่วงที่มืดหม่นที่สุดในชีวิต แล้วใครจะไปอยู่ตรงนั้นเพื่อเรา’ ความรักของเราหน้าตาเป็นแบบไหน ก่อนจะมีใครมาบอกว่าต้องทำยังไงถึงคู่ควรกับการได้รับความรัก “การเกลียดชังตัวเองเป็นเหมือนไวรัส” เอลิซาเบธพูดไว้ และบอกให้ผู้ฟังลองถามตัวเองว่า […]

ชวนดู 5 ภาพยนตร์สั้นเทศกาล Five Films for Freedom สร้างมุมมองใหม่เข้าใจในความหลากหลายทางเพศ

แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการตระหนักถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้สิทธิต่อคู่ชีวิตเพศวิถีอื่นๆ และรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเท่าเทียมในทุกเพศสภาวะ แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจเรื่องเพศเป็นอย่างดี การบอกเล่าเรื่องราวความหลากหลายทางเพศผ่านสื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักรู้ รวมถึงง่ายต่อการเข้าถึงของคนหลายๆ กลุ่ม คอลัมน์ Urban’s Pick ขอแนะนำ 5 ภาพยนตร์จากเทศกาลภาพยนตร์สั้นเพื่อความหลากหลายทางเพศ ‘Five Films for Freedom’ ที่จัดขึ้นโดย British Council ร่วมกับ BFI Flare เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQIA+ จากสหราชอาณาจักร ที่ใช้ภาพยนตร์สั้นเรียกร้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเปิดให้ชมฟรีทางออนไลน์ทุกปี รับชม Five Films for Freedom เทศกาลภาพยนตร์สั้น LGBTQIA+ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 24 มีนาคม 2567 ผ่านทาง youtube.com/@britishartschannel/featured Little One (เจ้าตัวเล็ก)ความรักของครอบครัวที่ไม่ว่าใครเป็นเพศใดก็ตาม แอนิเมชันจากฟิลิปปินส์ ความยาว 9 นาที หนังสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ไม่แน่ใจว่าเธอจะเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างไร หญิงสาวตัดสินใจไปสัมภาษณ์พ่อบุญธรรมของเธอที่เป็นเกย์ทั้งคู่ […]

เมื่อความเชื่ออยู่เหนือทุกสิ่ง สำรวจจักรวาล Dune ผ่านมุมมองศาสนาและความเชื่อ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘Dune : Part Two’ กลายเป็นภาพยนตร์ไซไฟขึ้นหิ้งเรื่องใหม่ในทศวรรษนี้ไม่ต่างจาก ‘Star Wars’ หรือ ‘The Matrix’ ในอดีต จากเรื่องราวอันยอดเยี่ยมผ่านปลายปากกาของ Frank Herbert สู่จอเงินด้วยทัศนะของ Denis Villeneuve ผู้กำกับมากวิสัยทัศน์ ที่พาเราท่องไปในจักรวาล Dune ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เรื่องราวของ Dune ไม่ใช่จักรวาลไซไฟในอนาคตอันหรูหราไฮเทค แต่กลับเป็นอนาคตที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและอิทธิพลของศาสนาราวกับวิวัฒนาการย้อนกลับไปในยุคกลาง (Medieval) ทั่วทั้งจักรวาลถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยองค์จักรพรรดิเพียงหนึ่งเดียว และแบ่งสันการดูแลดวงดาวให้กับกลุ่มตระกูลขุนนางต่างๆ โดยที่ประชาชนบนดาวผู้เป็นเจ้าของเดิมทำได้เพียงก้มหัวยอมรับผู้ปกครองคนใหม่เท่านั้น จนกระทั่งการมาถึงของ ‘พอล อะเทรดีส’ (Paul Atreides) ผู้ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของจักรวาลใหม่ทั้งหมด ทำไมผู้มีอำนาจถึงปกครองจักรวาลได้อย่างยาวนานโดยไร้ผู้ต่อต้าน และอะไรที่ทำให้การมาถึงของพอล อะเทรดีส สามารถปลุกระดมผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจจักรวรรดิอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาทุกคนไปสำรวจจักรวาล Dune ผ่านแนวคิดของ ‘ศาสนา’ และ ‘ความเชื่อ’ ที่ปรากฏในเรื่อง อิทธิพลของศาสนาและจุดกำเนิดความศรัทธาของมนุษย์ โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือสิ่งมีชีวิตเดียวที่สามารถสร้างแนวความคิดบางอย่างเพื่อชักจูงและรวบรวมกลุ่มก้อนของตนให้กระทำบางสิ่งที่ต้องการ […]

มองปัญหาความเหลื่อมล้ำของชนชั้นทางสังคม ผ่านตัวละครจากซีรีส์เกาหลี The Impossible Heir

คุณคิดว่าบุคคลเหล่านี้มี ‘สถานะทางสังคม’ แบบไหน และจะยกระดับมันอย่างไร เด็กหนุ่มที่มีพ่อเลี้ยงเป็นฆาตกรลูกชายนอกสมรสของตระกูลเศรษฐี (หรือแชบอล)หญิงสาวที่ต้องดิ้นรนหลังชนฝาเพราะหนี้สินที่แม่ก่อ เพราะบรรทัดฐานของสังคมที่มองมา กดทับให้พวกเขาต้องไขว่คว้าหา ‘สายป่าน’ ที่จะพาตัวเองปีนป่ายให้ได้มาซึ่งเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อยกระดับชนชั้นทางสังคมโดยไม่สนวิธีการ The Impossible Heir (2024) คือซีรีส์เกาหลีดราม่าแนวเสียดสีสังคม บน Disney+ Hotstar ที่ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า สังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำมันกัดกินตัวตนและพาเราไปสู่อะไรบ้าง โดยเมสเซจของซีรีส์จะนำเสนอผ่านเรื่องราวการร่วมมือกันของตัวละครหลักที่มาจากชนชั้นล่างสุดของห่วงโซ่ เพื่อยกระดับตัวเองในเกมการชิงอำนาจ หวังเข้าครอบครองตำแหน่งผู้นำทางสังคมบนจุดยอดของพีระมิด ใครที่อยากสัมผัสเกมการชิงอำนาจสุดเข้มข้น สตรีมได้เลยบน Disney+ Hotstar “ถ้าอยากได้คำตอบที่ถูกต้อง ให้ดูที่กระบวนการ หากกระบวนการไม่ถูกต้อง มันจะไม่พาไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง” – ฮันแทโอ แม้มองจากภายนอก ตัวเอกอย่าง ‘ฮันแทโอ’ (รับบทโดย อีแจอุค) เด็กหนุ่มนิสัยเย็นชาที่มีความฉลาดระดับหัวกะทิจนได้รับคะแนนสูงสุด 0.1 เปอร์เซ็นต์จากทั้งประเทศในการสอบจำลอง ดูเหมือนเป็นตัวละครที่มีสถานะทางสังคมที่ไม่แย่นัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว แทโอเติบโตขึ้นมาพร้อมกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นจากพ่อเลี้ยง และถูกคำว่า ‘ลูกฆาตกร’ คอยหลอกหลอนและเป็นตัวกดไม่ให้สามารถเลื่อนสถานะทางสังคมได้ตามต้องการ ความแค้นจากการโดนพ่อทารุณกรรมในช่วงวัยเด็ก และการขู่ฆ่าแม่ผู้ซึ่งเป็นคนในครอบครัวเพียงหนึ่งเดียวของแทโอที่เหลืออยู่ ทำให้เขาตัดสินใจใช้ความฉลาดและเจ้าวางแผนของตัวเองหากระบวนการที่จะนำไปสู่คำตอบที่ตัวเองต้องการ ตั้งแต่การร่วมมือช่วยเหลือ ‘คังอินฮา’ (รับบทโดย อีจุนยอง) […]

สำรวจ ‘บางอ้อ’ ถึง ‘บางพลัด’ ชิมลางย่านสร้างสรรค์ ชุมชนแขกแพและสวนผลไม้

บางพลัด-บางอ้อ กำลังจะเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คนเก่าคนแก่รู้จักย่านนี้ในฐานะสวนขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนความเจริญต่างๆ เริ่มเข้ามาทีละน้อย ทั้งถนน สะพาน อาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้า นานวันเข้าพื้นที่สีเขียวค่อยๆ หายไป และเปลี่ยนโฉมเป็นโซนที่อยู่อาศัยและการค้า บางพลัดเป็นเส้นทางผ่านที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น และเป็นเหมือนม้านอกสายตาจากบรรดาย่านน่าสนใจอื่นๆ ของเมืองกรุง ทั้งที่ความจริงแล้วที่นี่ยังซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้อีกมาก ไม่เพียงแต่พหุวัฒนธรรมพุทธและอิสลามที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ความรุ่มรวยทั้งสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตก็น่าสนใจ อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาที่สืบทอดมาในชุมชนต่างๆ รวมถึงเรือกสวนแบบโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นมรดกที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ในเขตบางพลัดเริ่มมีสเปซของคนรุ่นใหม่ๆ ทยอยมาเติมแต่งให้อดีตย่านสวนฝั่งธนฯ นี้กลายเป็นพื้นที่ที่โอบรับสำหรับคนทุกวัย น่ามาเยือนและใช้ชีวิตด้วย คอลัมน์ Neighboroot ขอชวนไปเยี่ยมอีกย่านสร้างสรรค์ที่กำลังจะจัดกิจกรรมตลอดปีนี้ ย้อนดูอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นย่านบางพลัด-บางอ้อ ไม่ว่าจะเป็นสวนดั้งเดิมอายุกว่า 100 ปี สวนใหม่เจียนเก่าจากความทรงจำของครอบครัว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของคนในย่าน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของชาวแขกแพ เหมือนกับหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อดีตของบางพลัด-บางอ้อ คือพื้นที่สวนผลไม้ไกลสุดตา หากเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง’ สวนในย่านนี้ก็คือสวนหนึ่งของสวนในบางกอกที่มีอายุย้อนไปได้เป็นร้อยปี สวนผลไม้สัมพันธ์กับอีกอัตลักษณ์ของย่านคือ ความเป็น ‘บาง’ ที่มีลำคลองสายเล็กๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมเข้ามายังพื้นที่สวนกว่าสิบสาย และกระจายเป็นโครงข่ายท้องร่องขนาดมหึมา หล่อเลี้ยงสวนป่าในพื้นที่ตอนในที่อยู่ถัดเข้าไป หากมองในระดับสายตาบนถนน ไม่มีทางรู้เลยว่าย่านนี้ยังมีสวนหลงเหลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยตึกรามห้องแถว […]

สวมวิญญาณนักเดินทาง สำรวจดาวอาร์ราคิสใน Dune ตามหา ‘สไปซ์’ เพื่อกลับไปช่วยโลก

ในอนาคตอันแสนไกลนับหมื่นปี เทคโนโลยีเดินทางในอวกาศได้ก้าวล้ำจนมนุษย์อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยการใช้ ‘สไปซ์ เมลานจ์’ (Spice Melange) สารเสพติดที่มีค่ามากที่สุดในจักรวาล เพราะใช้ในการเดินทางในอวกาศได้อย่างปลอดภัย ยืดอายุขัย และช่วยเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ทว่าสิ่งนี้กลับมีอยู่แค่ในดาว ‘อาร์ราคิส’ (Arrakis) เพียงดวงเดียวในจักรวาลเท่านั้น ในขณะที่ดาวโลกสีน้ำเงินของเรากำลังตกอยู่ในวิกฤตโลกเดือด และทุกพื้นที่กำลังกลายเป็นทะเลทรายจนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทำให้เราต้องรีบค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่สำหรับมนุษยชาติด้วยการตามหา ‘สไปซ์’ ชาว Urban Creature ขออาสาเป็นนักเดินทางจากดาวโลก พาทุกคนมาสำรวจดวงดาวอาร์ราคิสอันโด่งดังในจักรวาล ‘Dune’ กัน นอกจากการตามหาสไปซ์แล้ว เรายังควรดูดาวอาร์ราคิสเป็นกรณีศึกษาในกรณีที่โลกทั้งใบได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้วจริงๆ เทียบท่าจอด ณ ‘อาร์ราคิส’ ดวงดาวที่ร้อนกว่าประเทศไทย แค่ก้าวเท้าลงมาจากยาน อากาศที่ร้อนระอุกว่า 60 องศาเซลเซียสก็พัดกระแทกหน้าอย่างจัง ที่นี่ร้อนกว่าเมืองไทยของเราเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่เนินทรายสีทองกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก่อนเราจะก้าวลงเดินบนพื้นทราย ไกด์นำทางของเราได้ยื่นชุด ‘สติลสูท’ (Stillsuit) ให้ เพราะชุดนี้จะรีไซเคิลของเหลวในร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของเสีย เหงื่อ ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจของเรา ให้กลับมาเป็นน้ำใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ขาดน้ำตายบนความแห้งแล้งของอาร์ราคิส คืนนี้เราจะนอนกันที่ ‘อาร์ราคีน’ (Arrakeen) เมืองหลวงของดาวอาร์ราคิส ก่อนที่จะออกไปตามล่าสไปซ์ในวันรุ่งขึ้น […]

เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ

แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]

1 2 3 4 80

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.