ชื่อบ้านนามตรอกรอบ ‘ซอยวานิช 1’ เส้นเลือดใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล ในโมงยามที่ชื่อย่านรางเลือน

หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ แทนที่ด้วยภาษาไทยสำเนียงแปร่งปร่าจากปากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พร้อมกับป้ายร้านอักษรไทยฟอนต์ Tahoma และอักขรวิธีการสะกดคำที่อ่านแสนยาก ซึ่งนั่นหมายความว่ารากเหง้าของจีนเก่าที่มาก่อนก็กำลังถูกลบเลือนหายไปด้วยเช่นกัน เทศกาลตรุษจีนนี้ คอลัมน์ Neighboroot นัดพบกับพ่อค้าเชือกและนักประวัติศาสตร์ประจำย่านอีกครั้ง ชวนคุยเรื่องเก่าในละแวกบ้าน โดยมีแผนที่การค้าเก่าที่ปีนี้อายุครบร้อยปีพอดีเป็นตัวช่วยชี้ทาง เพื่อตามหาชื่อบ้านนามเมืองในสำเพ็งที่ทยอยหล่นหายไปตามเวลา ถนนคนเดินเบียดเสียด ละลานตาไปด้วยแสงไฟ อาหารสตรีทฟู้ดหลากหลาย กลายเป็นภาพจำของ ‘ไชนาทาวน์’ เมืองไทย ผู้คนจากทั่วสารทิศมาเยือนถนนสายมังกรด้วยเป้าหมายต่างกันออกไป ไม่น้อยเป็นคนไทยที่มาหาของกินยามค่ำ ไม่น้อยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแลนด์มาร์กต่างบ้านต่างเมือง และก็มีไม่น้อยที่เป็นกลุ่มทุนจีนใหม่ที่เข้ามาทำธุรกิจ เพื่อกอบโกยเม็ดเงินกลับไปยังต้นทาง หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ […]

ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ

‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]

สำรวจบทเพลงอมตะตลอดกาล ‘The Moon Represents My Heart’ ผ่านเรื่องราวของ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ พระจันทร์แทนใจที่ไม่เคยหายไป

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน (Lunar New Year) วันขึ้นปีใหม่จีนตามปฏิทินจันทรคติ หนึ่งในเทศกาลสำคัญของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากทั่วทุกมุมโลกออกมาร่วมกันเฉลิมฉลอง ถ้าไม่นับรวมเพลง ‘หมวยนี่คะ’ จาก China Dolls ศิลปินดูโอชาวไทย ที่มีเนื้อร้องติดหูจนคนต้องเผลอร้องตาม มั่นใจเลยว่าเพลงจีนที่หลายคนได้ยินในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเพลง ‘The Moon Represents My Heart’ หรือ ‘พระจันทร์แทนใจฉัน’ เพลงนี้เป็นบทเพลงอมตะในตำนานของ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ (邓丽筠) บุคคลผู้ได้รับสมญานามว่า ‘ราชินีแห่งเพลงเอเชีย’ นักร้องชาวไต้หวันที่มักมาพร้อมกับแนวเพลงป็อปแมนดาริน (Mandopop) ด้วยเทคนิคการใช้เสียงร้องที่แผ่วเบาแต่หวานปานน้ำผึ้ง เติ้ง ลี่จวิน ถือเป็นหนึ่งในศิลปินเอเชียที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากช่วงปี 1970 – 1990 และเป็นตำนานมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกับประเทศแถบเอเชีย จนบางเพลงของเธอถูกนำไปถ่ายทอดด้วยภาษาต่างประเทศถึง 7 ภาษา ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน แมนดาริน กวางตุ้ง ญี่ปุ่น อิตาลี อินโดนีเซีย หรืออังกฤษ และแม้ว่าบางบทเพลงจะไม่มีคำร้องภาษาไทย แต่เสียงของเธอก็เป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยไม่ต่างกัน ขนาดผ่านมาเกือบ 30 ปี […]

Drinks On Me แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์สู่บาร์จริง ที่ชวนคนแปลกหน้ามาฮีลใจ ด้วยบทสนทนาจากค็อกเทล

ในแต่ละวันเราคงมีปัญหาอัดอั้นที่ต้องการระบาย แต่พอจะคุยกับคนรอบตัวก็กลัวเขาลำบากใจ ครั้นจะให้ออกไปพบปะสังสรรค์กับคนแปลกหน้าในสถานที่ต่างๆ ก็อาจไม่สะดวกใจขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ใครหลายคนเริ่มมองหาการพูดคุยแลกเปลี่ยนบทสนทนากับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์มากขึ้น แอปพลิเคชันประเภทหาเพื่อนคุยจึงได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก และแอปฯ เหล่านี้ก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในเมืองขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Drinks On Me’ แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์ออนไลน์ ที่เปลี่ยนบรรยากาศการพูดคุยแบบเดิมๆ ในห้องแชตเปล่าๆ ให้ได้ความรู้สึกใหม่เหมือนกับไปอยู่ในบาร์จริงๆ โดยมีคาแรกเตอร์การ์ตูนน่ารักๆ มาสร้างความเป็นมิตรให้ตัวเว็บไซต์ พร้อมกิมมิกเจ๋งๆ อย่างการเลือกค็อกเทลที่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งาน เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนา จนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ใครหลายๆ คนกล้าแชร์ความคิดและความรู้สึกออกไป หลังจากเคยนำเสนอแพลตฟอร์มนี้ในช่วงแรกๆ ที่เปิดตัวไปแล้ว คอลัมน์ Re-desire ถือโอกาสชวน ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ที่เพิ่งครบ 1 ปีไปเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน มาพูดคุยถึงตัวแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาแนวคิดมาเรื่อยๆ ถึงขนาดมีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ใหญ่ และขยายขอบเขตกิจกรรมพาผู้คนบนโลกออนไลน์มาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่บาร์จริง รวมถึงเป้าหมายในอนาคตหลังจากนี้ของพวกเขา เริ่มต้นจากความสนุกที่อยากชวนคนมาชนแก้วบนโลกออนไลน์ ถ้าหลายคนจะคุ้นหน้าหญิงสาวในภาพก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะนะโมคือ TikToker ช่อง ‘รุงรังDiary’ ที่มีผู้ติดตามถึง 1.3 ล้านแอ็กเคานต์ และอีกบทบาทเธอก็เป็นเจ้าของ […]

นวัตกรรมการออกแบบพื้นที่ ที่สร้างประสาทสัมผัสทั้ง 4 เพื่อชีวิตที่อยู่ดีมีสุข จากเอพี ไทยแลนด์

นิทรรศการ LIVE WELL SPACE by AP THAILAND เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ผู้คนให้ความสนใจกันอย่างคึกคัก ในงาน BKKDW 2024 ที่ผ่านมา ด้วยแนวคิดการออกแบบพื้นที่ ที่มอบประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้งรูป สัมผัส กลิ่น และเสียง ให้ผู้ร่วมงานทุกคนที่เข้ามาในพื้นที่นี้ได้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น นวัตกรรมที่เรียกว่า Biophilic Design ที่เชื่อมต่อธรรมชาติอย่างแสง ลม พืชพรรณสีเขียวมาใกล้ตัวเรา หรือจะเป็นนวัตกรรม Micro Greenscape ที่จัดสวนสีเขียวบนพื้นที่เล็กๆ ที่อิงกับสถานที่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรม New Universal Design ที่ออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับทุกคน รวมถึงมีพื้นที่ Pet Parking สำหรับน้องๆ สัตว์เลี้ยงด้วย ยังไม่นับรวมนวัตกรรมการออกแบบพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย เพราะเอพีเชื่อว่าพื้นที่ที่ดีนั้น นอกจากที่ตาเห็นแล้ว ควรเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตเพื่อมีชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ งาน BKKDW 2024 ได้ปิดฉากลงไปแล้ว เราขอใช้โอกาสนี้เก็บภาพบรรยากาศและสรุปสิ่งที่เราชอบเป็นพิเศษใน LIVE WELL SPACE […]

หลงเหลือ เหนือกาลเวลา ตามหาร่องรอยเก่าในกรุงเทพฯ

ระหว่างแวะทานราดหน้าแถวบางโพ เราเหลือบไปเห็นแท่งเหล็กแท่งหนึ่งแปะข้างผนังตึกที่ถัดจากร้านนี้ไปประมาณ 2 – 3 คูหา จากรูปทรงเป็นเกลียวๆ ก็พอเดาได้ว่าเคยเป็นร้านทำผมมาก่อนแน่ๆ ทำให้นึกถึงตัวเองที่ชอบถ่ายรูปตามตึกต่างๆ ในเวลาว่าง อย่างล่าสุดช่วงปีใหม่ เราไปย่านประดิพัทธ์แล้วเจอใบปลิวอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีซ่อนอยู่ใต้ระแนงเหล็ก นี่เลยเป็นที่มาของ One Day Trip กับตัวเอง ที่พกกล้องไปตามหาตึกเก่าในกรุงเทพฯ ว่ามีร่องรอยอะไรหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะร่องรอยที่ดู ‘เหนือกาลเวลา’ แต่จะให้ตระเวนทั่วกรุงเทพฯ อาจจะไม่ไหว เลยจำกัดเอาเฉพาะย่านที่เคยไปบ่อยๆ อย่างเขตดุสิต บางซื่อ ถนนประดิพัทธ์ สวนมะลิ และตรอกโรงเลี้ยงเด็ก และนี่คือตัวอย่างภาพที่ได้จากการท้าทายตัวเอง ตามหาสิ่งของที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้ หรือร้านที่เลิกกิจการไปแล้วแต่คงเหลือไว้แค่รอยป้าย หรือป้ายที่ยังสภาพสมบูรณ์แต่แค่ซีดจางไปตามกาลเวลา สัญลักษณ์อะไรสักอย่างตรงทางเข้าชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์การทอผ้า เพราะเท่าที่พยายามค้นหาจาก Google ก็ไม่พบสัญลักษณ์ที่พอจะเทียบได้ พบเพียงแต่เอกสารพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การทอผ้า พ.ศ. 2498 จากเว็บไซต์ของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (parliament.go.th) ไฟหมุนร้านทำผม ดูจากลักษณะของฟอนต์ที่กล่องเหล็กด้านหลังไฟหมุนนั้น คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ติดอยู่ข้างร้านชำแห่งหนึ่งที่อยู่ถัดจากร้านราดหน้าบางโพไปประมาณ 3 – 4 คูหา […]

จับรถไปเดินชม Bangkok Design Week 2024 กับกิจกรรมไฮไลต์ 4 ย่านในหนึ่งวัน

สองวันสุดท้ายกับ ‘Bangkok Design Week 2024’ เทศกาลงานออกแบบประจำปีของชาวกรุงเทพฯ ที่ชวนให้เราได้ออกจากบ้านไปเดินชมความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง ภายใต้คอนเซปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ปีนี้ Bangkok Design Week ครอบคลุมพื้นที่กว่า 15 ย่าน ได้แก่ เจริญกรุง-ตลาดน้อย, พระนคร, ปากคลองตลาด, นางเลิ้ง, เยาวราช, หัวลำโพง, อารีย์-ประดิพัทธ์, บางโพ-เกียกกาย, วงเวียนใหญ่-ตลาดพลู, เกษตรฯ-บางบัว, พร้อมพงษ์, สยาม-ราชเทวี, บางกอกใหญ่-วังเดิม, พระโขนง-บางนา, บางมด และพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพฯ กับ 500 โปรแกรมที่ต่างหยิบยกของดีประจำย่านมานำเสนอผ่านความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบ เราเชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะไปจอยน์งานนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้ง แต่ใครที่ยังอยากไปอีก หรือใครที่กำลังเล็งว่าจะไปย่านไหนดี Urban Creature ขออาสานำเส้นทางเดินเที่ยวงาน BKKDW 2024 ในหนึ่งวัน พร้อมกับกิจกรรมไฮไลต์ที่ห้ามพลาดจาก 4 ย่านยอดฮิตอย่างเจริญกรุง-ตลาดน้อย, เยาวราช, ปากคลองตลาด […]

สำรวจย่าน ‘เกษตรฯ-บางบัว’ ใน BKKDW 2024ที่ SC Asset อยากให้คนมาเยี่ยมด้วยฟิลเตอร์เพื่อนบ้าน

นี่คือปีที่สองของย่าน ‘เกษตรฯ-บางบัว’ ที่เข้าร่วมอยู่ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ โดยมี SC Asset บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำที่มุ่งมั่นในการส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ผู้คนมีความสุขกับการใช้ชีวิตในบ้านหรือคอนโดฯ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เข้ามาร่วมมือสร้างสรรค์พื้นที่ให้เป็น Co-being to Livable Space พื้นที่ที่น่าอยู่และเป็นมิตรในชีวิตประจำวันสำหรับทุกคน ทั้งคนในย่านนี้และเพื่อนบ้านที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนกัน ด้วยความที่ย่านเกษตรฯ-บางบัว เป็น ‘เมืองมหาวิทยาลัย’ ที่เหล่านิสิตนักศึกษาต่างเข้ามาอาศัย และจะผลิบานจากไปเมื่อถึงเวลา ในขณะเดียวกัน ชาวพื้นที่ซึ่งปักหลักในบริเวณนี้ก็คุ้นชินกับการปรับตัวไปตามกระแสที่พร้อมเปลี่ยนไปเสมอ การหา ‘อัตลักษณ์’ ของพื้นที่แห่งนี้จึงเป็นเรื่องที่เหล่านักล่าปริญญาและคนในพื้นที่ยังคงตอบออกมาได้ไม่ตรงกัน เว้นแต่จุดร่วมเดียวนั่นคือ ความรู้สึกของการเป็น ‘เพื่อนบ้าน’ ที่อยากสรรค์สร้างให้ย่านนี้น่าเรียนรู้และน่าอยู่ไปพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนี้ SC Asset จึงร่วมกับพาร์ตเนอร์นักสร้างสรรค์ในย่านเกษตรฯ-บางบัว โดยจับมือกับทั้งมหาวิทยาลัย นักวิชาการ นักออกแบบ ศิลปิน และชุมชน จัดหลากหลายกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์คนในพื้นที่ โดยกิจกรรมหลักในย่านแบ่งออกเป็น 3 แนวคิดหลัก ได้แก่ การสร้าง Third Place ที่มีกิจกรรมสร้างความบันเทิงผ่อนคลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้กลุ่มนักศึกษามาใช้เวลาว่างกับเพื่อน สร้างบทสนทนา และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันหลังเลิกเรียน ส่วนที่สองคือการโฟกัสประเด็น ‘Livable Scape […]

Friends of Bangkok x Co-Creating City เซ็นทรัลพัฒนา และเซ็นทรัลเวิลด์ ชวนทุกเจนฯ มาแชร์ไอเดียเมืองน่าอยู่ ที่ตอบโจทย์ทุกการใช้ชีวิต ในงาน BKKDW 2024

เช็กอินกันครบหรือยังกับงาน #BangkokDesignWeek2024 สายอาร์ตทุกคนต้องไม่พลาด ‘อาคารไปรษณีย์กลาง’ ซึ่งเป็นจุดแลนด์มาร์กสำคัญของงาน และจุดนัดพบของแก๊งเพื่อน และแน่นอนว่าเราอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘เพื่อน’ ของคนกรุงเทพฯ อย่าง ‘Friends of Bangkok’ คาแรกเตอร์ยักษ์สีสันสดใส มาพร้อมพื้นที่สร้างสรรค์ Co-Creating City โดย Central Pattana & centralwOrld ที่เชื่อว่างานดีไซน์มีพลังช่วยขับเคลื่อนสร้าง ‘เมืองน่าอยู่’ ตรงกับคอนเซปต์ใหญ่ของงาน ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ที่อยากมาร่วมกันเปลี่ยน ‘เมืองกรุงเทพฯ’ ให้เป็น ‘เมืองน่าอยู่’ (กายดี ใจดี ออกแบบดี) Urban Creature ขออาสาพาไปสำรวจบูธ Friends of Bangkok x Co-Creating City ว่าที่เขาบอกกันว่า งานดีไซน์สุดพิเศษนี้เป็นการบอกเล่าเรื่องพื้นที่ที่เกิดจากการร่วมแชร์ไอเดียของคนทุกเจนฯ และพลาดไม่ได้กับกิจกรรมที่ชวนทุกคนมาต่อตัวต่อหลากสี ที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ของคนแต่ละเจนฯ ที่เมื่อต่อเสร็จจะได้เห็น Data Visualization จากฝีมือของพวกเราด้วย อีกทั้งเมื่อเดินลอดเข้าไปในตัวโดมยักษ์สีส้ม ยังได้เจอกับ […]

‘รถแดงพาร์ค’ กับไอเดียปลูกต้นไม้บนพาหนะเดินทางประจำย่านสุขุมวิทใต้ ที่ทำให้เห็นว่าอยู่ที่ไหนก็ปลูกต้นไม้ได้

สิ่งปลูกสร้างในเมืองยิ่งมีมากขึ้นเท่าไร สีเขียวของต้นไม้ก็ลดน้อยลงไปเท่านั้น โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีโครงการตึกสูงมากมาย ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นที่หรือการดูแลรักษา ทำให้หลายคนล้มเลิกแผนการปลูกต้นไม้ และไม่ได้สนใจที่จะเติมสีเขียวให้เมืองเพิ่มขึ้น ‘ภิรัชบุรี กรุ๊ป’ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่สีเขียวภายในเมือง ได้นำเสนอโปรเจกต์ ‘รถแดงพาร์ค’ ในรูปแบบของสวนสาธารณะเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นผลงานหนึ่งในเทศกาล ‘Bangkok Design Week 2024’ เพื่ออยากเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างความรู้สึกต่อชุมชนย่าน ‘สุขุมวิทใต้’ ว่าการปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องยากหรือเรื่องไกลตัว แต่เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต เช่นเดียวกับ ‘รถแดง’ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการเดินทางของคนในชุมชน ‘รถแดงพาร์ค’ เป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบ ‘รถแดง’ เอกลักษณ์ของขนส่งสาธารณะที่ชาวสุขุมวิทใต้คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ให้กลายเป็นสวนเคลื่อนที่สู่ชุมชน กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อเติมเต็มสีเขียวให้กับย่านและเชื่อมโยงชุมชนด้วยธรรมชาติ ใน 6 ทำเลตลอดทั้งย่านสุขุมวิทใต้ ไอเดียเริ่มต้นมาจากจำนวนต้นไม้ในเมืองที่มีน้อยลงทุกวัน ด้วยรูปแบบการอยู่อาศัยในคอนโดฯ และอพาร์ตเมนต์ที่มีมากขึ้น ทำให้หลายคนมองข้ามการปลูกต้นไม้ในบ้านไปเพราะพื้นที่มีน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น ไม่ว่าจะมีพื้นที่จำกัดแค่ไหนเราก็ปลูกต้นไม้ได้เหมือนเดิม ทางโครงการจึงนำเอารถแดงมาเชื่อมโยงเข้ากับต้นไม้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับคนเมืองได้เห็นว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถปลูกต้นไม้ได้ ไม่เว้นแม้แต่ในรถแดงเองก็ตาม อีกกิมมิกน่ารักๆ ของกิจกรรมนี้คือ ต้นไม้กระถางเล็กๆ บนรถแดงไม่ได้นำมาประดับรถเพื่อเป็นผลงานการออกแบบอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทุกคนที่ผ่านไปผ่านมาสามารถแวะซื้อต้นไม้กลับบ้านไปเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ที่อยู่อาศัยได้ด้วย […]

ตามไปดูเส้นทางสู่การเป็น ‘The Store of Bangkok’ ของห้างเซ็นทรัลชิดลมใน ‘THE BOX กล่องแห่งกาลเวลา’ Installation สี Chidlom Pink ที่งาน BKKDW2024

กลับมาอีกครั้งกับงาน Bangkok Design Week 2024 ที่มาในคอนเซ็ปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ เช่นเดียวกับทุกปี เราได้เห็นศิลปิน หน่วยงาน และภาคธุรกิจหลายแบรนด์กระโดดเข้าร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะให้กรุงเทพฯ ได้คึกคักและมีสีสัน และหนึ่งในนั้นคือ ‘ห้างเซ็นทรัล’ ห้างสรรพสินค้าที่อยู่คู่กับคนไทยมากว่า 77 ปี หนึ่งในไฮไลต์ของงานจากห้างเซ็นทรัลในปีนี้คือ Installation กล่องสีชมพูในชื่อ ‘THE BOX กล่องแห่งกาลเวลา’ ที่ใครเดินผ่านไปผ่านมาบริเวณหน้าไปรษณีย์กลางบางรักคงสะดุดตาอยู่ไม่เบา ความโดดเด่นของกล่องสีชมพูชิดลมพิ้งค์ ที่นอกจากจะเล่าเรื่องราวของห้างเซ็นทรัลโดยรวมแล้ว กล่องนี้ยังเน้นเล่าการเดินทางของห้างเซ็นทรัลชิดลม ซึ่งถือเป็น Flagship Store ใจกลางกรุงของเหล่าขาช้อปมานานถึง 50 ปี และกำลังจะก้าวสู่การเป็น The Store of Bangkok แลนด์มาร์กกลางใจ ใจกลางกรุง ของคนไทยตลอดไป THE BOX กล่องแห่งกาลเวลา ตั้งอยู่ลานหน้าไปรษณีย์กลางบางรัก ระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 […]

Neighborhood เปลี่ยนตึกเก่า 3 ชั้นย่านช้างม่อย ให้กลายเป็นสเปซกิน-ดื่มสุดชิกของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยเป็นถนนเส้นที่เราคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา เพราะทุกครั้งที่เดินทางมาหาซื้อของฝากที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) หาอะไรกินแถวตลาดสันป่าข่อย หรืออยากมานั่งปล่อยใจริมแม่น้ำปิง เราย่อมต้องขับผ่านถนนเส้นนี้ และภาพจำที่เรามีต่อช้างม่อยคือย่านที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายงานคราฟต์ของคนในชุมชน จากที่เคยคึกคักอยู่แล้ว หลายปีมานี้ช้างม่อยคึกคักกว่าที่เคย เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรียกนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้มาเตวแอ่ว เช็กอิน อัปสตอรีกันไม่หวาดไม่ไหว ร้านขายของชำที่รวมของดีๆ จากท้องถิ่นไทย The Goodcery หรือร้านหนังสือสีเขียวที่มีแมวสามตัวเฝ้าอยู่อย่าง Rare Finds Bookstore and Cafe คือตัวอย่างที่เราเคยไป และบอกได้เลยว่าทีเด็ดของช้างม่อยยังไม่หมดเท่านี้หรอก เพราะตอนนี้ช้างม่อยมีร้านใหม่ที่ดึงดูดให้เราแวะไปอีกร้าน อันที่จริงจะใช้คำว่าร้านก็ไม่ถูกนัก เพราะ Neighborhood เป็นคอมมูนิตี้สุดชิกที่รวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ บาร์ เวิร์กสเปซ และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมไว้ในที่เดียว ซึ่งในฐานะคนเชียงใหม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นสเปซแบบนี้เกิดขึ้น ลมหนาวที่เชียงใหม่กำลังพัดเย็นสบาย เป็นอีกครั้งที่เราเดินเลียบถนนช้างม่อยในยามสาย แล้วมาหยุดอยู่ตรงหน้าคอมมูนิตี้สเปซแห่งนี้ ท่ามกลางเสียงเครื่องทำกาแฟและกลิ่นพิซซาเตาฟืนหอมกรุ่น ‘เดียร์’ และ ‘พิม’ สองสาวผู้เป็นหุ้นส่วนของที่นี่กำลังนั่งรอเราอยู่บนชั้นสอง เปลี่ยนตึกเก่าเป็นคอมมูนิตี้ Neighborhood ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของสองสาวเท่านั้น แต่หุ้นส่วนที่นี่มีอีกสี่คน ได้แก่ ‘เจมส์’ ‘เจมี่’ ‘อู๋’ และ […]

1 3 4 5 6 7 80

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.